- http://teetwo.blogspot.com/2011/02/blog-post_07.html
- http://teetwo.blogspot.com/2012/04/blog-post_4018.html
เหนือสิ่งอื่นใด
- เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี 9 มิถุนายน 2559
- พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) ณ วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๙
- The 60th Anniversary Celebrations of his Majesty King Bhumibol Adulyadej's Accession to the Throne
- 63 ปี "พระเจ้าอยู่หัว ร.๙" ผู้นำที่ไม่เหมือนใครในโลก นำพาประเทศ "อยู่ดีมีสุข"
- Supreme Artist
- เศรษฐกิจพอเพียง : Sufficiency Economy พ.ศ. ๒๕๖๓
- ทศพิธราชธรรม ๑
- ทศพิธราชธรรม ๒
- ๑๐๐ ปี สวรรคตกาลสมเด็จพระปิยมหาราช
- ร.๙ ทรงห่วงเหตุการณ์ประเทศเพื่อนบ้าน
- พระบรมราโชวาท ร.๙
- "พูดแล้วต้องทํา" พระบรมราโชวาท "ในหลวง ร.๙" ทรงเตือน-ครม.
- ร. ๙ ทรงพระราชทานแก่พลเอกสุจินดา คราประยูร และพลตรีจำลอง ศรีเมือง
- ร.๙ ทรงรับสั่งรมต.ถวายสัตย์ฯ
- ร.๙ ทรงมีพระบรมราโชวาทแก่ตุลาการทหาร
- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.9 ทรงป้องกันน้ำท่วม ปีพุทธศักราช ๒๕๓๘
- “ในหลวง ร.๙” ทรงฝากองคมนตรีปลูกฝังคนไทยเอื้อเฟื้อ นึกถึงส่วนรวม
- “ในหลวง ร.๙” เสด็จฯ ทอดพระเนตรดนตรีที่ศิริราช
- "ในหลวง ร.๙" เสด็จเปิดประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์-สะพานภูมิพล 1,2
- ในหลวง ร. ๙ เสด็จฯทอดพระเนตรคอนเสิร์ตแจ๊ส
- ๕ ธันวาคม ๒๕๕๒
- น้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณ"ในหลวง ร.๙"กับ"ภูมิสารสนเทศ"
- ในหลวง ร.๙ ทรงพระราชทาน ส.ค.ส.2554 แก่พสกนิกรชาวไทย
- 'ในหลวง ร.๙' ทรงมีพระราชดำรัสให้คนไทย ทำหน้าที่ ไม่ประมาท มีสติ : ๕ ธันวาคม ๒๕๕๓
- วันฉัตรมงคล (ร.๙)
- ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๙
- พระราชดำรัสสุดท้าย ในหลวง รัชกาลที่ 9
- ๑๒ สิงหา วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
- "สมเด็จย่า"
- เจ้านายเล็กๆ ยุวกษัตริย์
- อาลัยพระพี่นางฯ
- ในหลวงรัชกาลที่ ๙ โปรดให้นายโคฟี อันนัน เฝ้าถวายรางวัลฯ (๒๕ พ.ค.๔๙)
- "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร" มีพระราชดำรัสเกี่ยวกับการวิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์
- พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล
- ศิลปาชีพ : ประจักษ์พยานของความรัก ผูกพัน และห่วงใย
- เพลงสรรเสริญพระบารมี
- ชีวิตที่หมุนไปไม่หยุดยั้ง...พระอารมณ์ขันของพระเทพฯ
- ถ้าเดินเรื่อยไปย่อมถึงปลายทาง นิทรรศการภาพถ่ายฝีพระหัตถ์สมเด็จพระเทพรัตนฯ
- สมเด็จพระเทพฯ กับการส่งเสริมไอที เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
- สมเด็จพระเทพฯ สนพระทัยเมล็ดพันธุ์ช่วยหล่อเลี้ยงประชากร
- เครือข่ายกาญจนาภิเษก
- สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- ทรงพระเจริญ
- ของขวัญจากก้อนดิน
- ต้นไม้ของพ่อ
- รูปที่มีทุกบ้าน
- นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ
- ติโต
- ไม่มีวันไหนที่ไม่คิดถึงในหลวงรัชกาลที่ ๙
- พระราชนิพนธ์ พระมหาชนก ที่ทุกคนพึงอ่าน
- โครงการแก้มลิง
- ทำไมเรารัก "พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร"
Custom Search
Feb 20, 2016
หลวงพ่อปราโมทย์ แสดงธรรม ณ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 18 พ.ย. 2558
Feb 19, 2016
DIGITAL ECONOMY
Digital Economy
โดย : ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ
คนไทยรู้จักคำว่าDigital Economy เมื่อรองนายกรัฐมนตรีท่านใหม่ผู้รับผิดชอบด้านเศรษฐกิจคือ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล
แถลงนโยบายว่าต้องสนับสนุนให้เกิด Digital Economy ขึ้นเพื่อเปลี่ยนรูปภาคเกษตร อุตสาหกรรม และบริการดั้งเดิมของเรา
ลองมาดูความหมายของคำนี้กัน
Digital Economy หมายถึงเศรษฐกิจที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศหรือไอที (ซึ่งมีอินเทอร์เน็ตเป็นหลัก)
เป็นปัจจัยสำคัญ สิ่งที่เราเรียกว่า E-Commerce หรือการค้าขายกันทางอินเทอร์เน็ตคือลักษณะหนึ่งของ Digital Economy
ผู้บัญญัติศัพท์นี้ขึ้นเป็นคนแรกคือ Don Tapscott ผู้เขียนหนังสือชื่อ
“The Digital Economy : Promise and Peril in the Age of Networked Intelligence”
ในปี 1995 หนังสือเล่มนี้เป็นเบสต์เซลเลอร์ ระดับชาติภายในเวลา 1 เดือน และคงความเป็นหนังสือยอดฮิตอยู่หลายเดือน
ในที่สุดก็ได้เป็นหนังสือด้านไอเดียธุรกิจที่ฮิตอันดับ 1 ในปี 1996
Tapscott ชี้ให้เห็นว่าอินเทอร์เน็ตจะเปลี่ยนวิถีของการค้าขายอย่างชนิดที่โลกไม่เคยเห็นมาก่อนโดยจำเป็นต้องมี
โครงสร้างพื้นฐานด้านไอที กฎกติกาและกฎหมาย การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ตลอดจนการปรับตัวและปรับทัศนคติของประชาชน
Digital Economy มีชื่ออื่นอีกเช่น The Internet Economy / The New Economy หรือ Web Economy
อย่างไรก็ดีชื่อที่คนนิยมที่สุดคือ Digital Economy
Digital Technology เป็นฐานสำคัญของไอทีซึ่งอาศัยการใช้เลข 0 และ 1 ซึ่งอยู่ในลักษณะของ Binary System
(ถ้าเป็น Decimal System ก็จะเป็นฐาน 10 กล่าวคือประกอบด้วยเลข 0 ถึง 9) ในการส่งสัญญาณ
ซึ่งการส่งสัญญาณ 0 และ 1 ส่วนใหญ่กระทำผ่านใยแก้วนำแสง (Optic Fiber)
ไอทีคือการผนวกเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ากับเทคโนโลยีโทรคมนาคม สังคมที่มีโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม
(เช่นเครือข่ายใยแก้วนำแสงเป็นตัวกลางนำเสียง ข้อมูลและภาพสู่โทรศัพท์และอุปกรณ์ไอทีทั้งหลาย
/ ชุมสาย / เสาส่งสัญญาณ / สถานีรีเลย์สัญญาณ ฯลฯ) ที่มีคุณภาพและครอบคลุมกว้างขวาง
มีการบริหารจัดการเครือข่ายที่ดี ตลอดจนมีการประยุกต์ซอฟต์แวร์ และมีกลไกในการประสานการใช้โครงสร้างพื้นฐานที่ดี
จะเป็นกุญแจสำคัญสู่การเป็น Digital Economy
การเป็น Digital Economy ทำให้เกิดสิ่งต่อไปนี้ (1) การลดต่ำลงของต้นทุนในการประกอบการไม่ว่าในด้านการผลิต
ด้านการขาย (ลองจินตนาการสังคมที่ไม่มีอีเมล์ ไม่มีโทรศัพท์มือถือ ไม่มี Conference Call ดูว่าจะมีโสหุ้ยหรือ
Transaction Cost ในการดำเนินการสูงเพียงใด)
(2) อำนวยให้เกิดการต่อยอดในการผลิตสินค้าและบริการใหม่ออกสู่ตลอดเพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภค
ตัวอย่างเช่นการได้รับข้อมูลข่าวสารในเรื่องต่าง ๆ จากแหล่งอื่น ๆ ทั่วโลกเพื่อนำมาช่วยออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ ฯลฯ
(3) การขยายตัวอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้นของ E-commerce ท่ามกลางสภาวการณ์ที่ต้นทุนในการดำเนินการลดต่ำลง
เช่น การขายของทางอินเทอร์เน็ตโดยไม่ต้องมีร้านค้า ความสะดวกของผู้ซื้อที่ไม่ต้องเดินทางไปหาซื้อของ
เกษตรกรเปิด Application และรู้ได้ทันทีจากตำแหน่ง GPS ที่ตนอยู่ว่าในพื้นที่นั้นในปีนั้นควรปลูกพืชอะไร ฯลฯ
(4) ขยายการจ้างงานและสร้างการจ้างงานในลักษณะใหม่ ๆ อันเป็นผลจากการเกิดสินค้าการตลาดและรูปแบบการค้าขายใหม่
เช่น นักกลยุทธ์การตลาดทาง social media ที่ปรึกษา E-commerce นักโฆษณาสินค้าทาง Social Media ฯลฯ
(5) อำนวยให้เกิดการลงทุนธุรกิจข้ามพรมแดนมากยิ่งขึ้น เช่น การจองโรงแรมและ ทริปท่องเที่ยว การลงทุนซื้อหุ้นต่างประเทศ
การค้าขายเงินตราต่างประเทศ ฯลฯ
(6) สนับสนุนการเรียนรู้ของประชาชนซึ่งช่วยส่งเสริมคุณภาพของมนุษย์และแรงงาน เช่น
การเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต / E-Learning ฯลฯ
ประการสำคัญ Digital Economy อำนวยให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจของภาคต่างๆ มีมูลค่าสูงยิ่งขึ้นและมีประสิทธิภาพสูงขึ้นด้วย
นอกจากนี้ยังสนับสนุนความแข็งแกร่งในการกำหนดกลยุทธ์การตลาดอันเนื่องมาจากการมีข่าวสารข้อมูลที่กว้างขวางและลึกซึ้งยิ่งขึ้น
ภาค Hospitality ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมท่องเที่ยว พักผ่อนหย่อนใจ อาหาร บันเทิง การเดินทาง wellness
(นวด สปา รักษาพยาบาล) ซึ่งกำลังจะมีความสำคัญในภูมิภาคของ CLMV (Cambodia-Laos-Myanmar-Vietnam)
จีนตอนใต้และไทยมากยิ่งขึ้นจะได้อานิสงส์เป็นอย่างมากจากการเป็น Digital Economy
ปัจจุบันบ้านเรามีเครือข่ายใยแก้วนำแสงอย่างกว้างขวางไปถึงประชาชน 1 ใน 3 ของอำเภอทั้งหมด และตำบลใหญ่ ๆ
เครือข่ายโทรคมนาคมของเราก็กระจายตัวไปเกือบทั่วประเทศอีกทั้งมีการผนวกกิจกรรมเศรษฐกิจเข้ากับ
ไอทีจนอาจเรียกได้ว่าเราเป็น Digital Economy ในระดับหนึ่ง ในภาครัฐเองสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สรอ.)
ซึ่งทำหน้าที่ส่งเสริมการใช้ไอทีของงานภาครัฐก็วางโครงสร้างพื้นฐานของอินเทอร์เน็ตของภาครัฐไว้กว้างขวาง
และสามารถนำเอาฐานข้อมูลของหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐจำนวนหนึ่งมารวมกันไว้เพื่อความสะดวกในการใช้ของประชาชน
หน่วยงานของรัฐชื่อสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สพธอ.)
ก็ได้วางรากฐานกฎหมายของการต่อยอดขึ้นไปเป็น Digital Economy ไว้พอควรแล้ว
เช่นเดียวกับองค์กรของภาครัฐที่สนับสนุนการผลิตซอฟต์แวร์ และการใช้ไอทีในการผลิตและให้บริการ
ถ้ารัฐบาลเอาจริงในเรื่องการสร้าง Digital Economy ก็จะทำให้สามารถต่อยอดขึ้นไปจาก
ฐานที่มีอยู่ได้เป็นอย่างดีด้วยการประสานงานของหน่วยงานต่าง ๆ เข้าด้วยกัน มีแผนพัฒนาเป็นขั้นตอนโดยมีลำดับความสำคัญ
อะไรที่ขาดก็เติมให้เต็มและร่วมใช้ทรัพยากรกัน ก็เชื่อได้ว่าจะทำได้สำเร็จในระดับหนึ่งในเวลาพอควร
และจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันและอนาคต
ปัจจุบัน Tapscott คนแคนาดาผู้ประดิษฐ์คำว่า Digital Economy
เป็นกูรูสำคัญของโลกในด้านการให้คำปรึกษาทางธุรกิจ เขาเขียนหนังสือธุรกิจร่วมกับคนอื่นรวม 15 เล่ม
หลายเล่มดังระดับโลก เมื่อไม่นานมานี้กลุ่ม Thinkers50 ได้เรียงลำดับท็อป 50 คน
ในโลกซึ่งยังมีชีวิตอยู่ที่มีอิทธิพลต่อแนวคิดด้านธุรกิจมากที่สุด ผลก็คือ Tapscott อยู่ในอันดับที่ 4
ผู้เขียนรู้สึกตื่นเต้นและยินดีกับความสำเร็จของ Tapscott ผู้เกิดวันเดียวเดือนเดียวและ
ปีเดียวกับผู้เขียน จำนวนนาทีที่เราสองคนมีชีวิตอยู่บนโลกใบนี้ต่างกันอย่างมากก็ไม่เกิน 60 x 24 หรือ 1,440 นาที
Subscribe to:
Posts (Atom)