ปรัญญาของมนุษย์แม้จะเกิดต่างที่ ต่างภาษา
ต่างอุดมการณ์ก็อาจมีบางสิ่งที่สอดคล้องกันได้
ลองมาฟังนิทานธรรมะของพม่าดูก่อน
ชายคนหนึ่งได้พายเรือไปในลำคลอง
เพื่อที่จะตกปลามาเป็นอาหาร
เค้าสามารถตกปลาได้สามตัว เวลาที่เค้าตกปลาได้
เค้าก็จะเอาปลาไปไว้ในท้องเรือซึ่งมีน้ำขังอยู่ในระดับหนึ่ง
ทำให้ปลาไม่ตาย
ปลาตัวแรกมีชื่อว่า เฉย ปลาตัวนี้ไม่ทำอะไรเลย
เพราะปลาตัวนี้คิดว่า
อะไรจะเกิดก็ต้องเกิด ปลาตัวนี้ก็นอนนิ่งงงง
ปลาตัวที่สองมีชื่อว่า มานะ ปลาตัวนี้
แตกต่างจากตัวแรกอย่างสิ้นเชิง
ปลาตัวนี้จะพยายามทุกวิถีทางเพื่อที่
จะรอดพ้นจากการถูกกิน
ปลาตัวนี้จะพยายามกระโดดเพื่อที่จะได้ออกจากเรือลำนี้
กระโดดแล้วกระโดดเล่า
ชายคนที่ตกปลาเห็นปลาตัวนี้ก็คิดในใจว่า
ปลาตัวนี้ช่างมีความพยายามสูงจริงๆ
ถ้ากระโดดไปเรื่อยๆ คงจะกระโดดออกจากเรือ
เพื่อกลับลงไปในคลองได้แน่ๆ
ดังนั้นแล้ว ชายคนนี้จึงเอาไม้พายฝาดหัวปลาตัวนี้เลย
ปลาก็ตายก่อนเพื่อน
ปลาตัวที่สามมีชื่อว่า ปัญญา ปลาตัวนี้ก็ทำตัวนิ่งๆ
เหมือนกับปลาตัวแรก
ไม่ทำอะไร รอ รอ รอ
แต่พอจังหวะที่คนตกปลาถึงบ้าน
เวลาที่เค้าลุกขึ้นเพื่อที่จะเอาเรือไปผูกไว้กับเสา
เรือจะเกิดการโคลงเคลงขึ้น
เมื่อเรือเอนไปเอนมาในจังหวะที่ดี
ปลาตัวนี้ก็กระโดดสุดชีวิต
ทำให้สามารถกระโดดพ้นออกมาจากตัวเรือได้ภายในครั้งเดียว
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ตาม
สิ่งแรกที่เราจะต้องใช้คือปัญญาและสติ
เมื่อเราใช้ปัญญาและสติอย่างเต็มที่แล้ว
เราจะรู้ว่าเมื่อไรที่เราควรจะนิ่ง
และเมื่อไรที่เราควรจะใช้ความพยายาม
และความขยันอย่างสุดกำลัง
น่าแปลกที่ทางฝั่งตะวันตกก็มีปรัชญาประมาณนี้
เหมือนกันแต่มาจากจอมโหดอย่างฮิตเลอร์
ฮิตเลอร์เปรียบเปรยทหารในกองทัพนาซีแบ่งแยกออก
เป็น 4 ประเภท
ฉลาด-ขยัน คนเหล่านี้สมควรให้เป็นนายร้อย-นายพัน
คุมการรบภาคสนาม
ฉลาด-ขี้เกียจ คนเหล่านี้สมควรให้เป็นนายพล
คุมกลยุทธ์ในภาพใหญ่
โง่-ขี้เกียจ คนเหล่านี้ควรให้เป็นพลทหาร
ใช้เลือดเนื้อแรงงานตามคำสั่ง
ส่วนกลุ่มคนสุดท้าย...
โง่-ขยัน คนเหล่านี้สมควรจับไปยิงเป้าเสียให้หมด
เพราะสร้างความเสียหายจากความไม่รู้แก่กองทัพได้มากที่สุด
โชคดีของนาซีที่ฮิตเลอร์ไม่ได้ทำอย่างนั้นจริงๆ
ไม่งั้นกองทัพนาซีจะพ่ายแพ้เร็วกว่านี้
(แต่อาจเป็นโชคร้ายของชาวโลก -_-)
แม้แนวคิดสุดโต่งแบบนี้จะออกจากปากจอมโหดอย่างฮิตเลอร์
แต่ก็สอดคล้องแนวคิดทางพุทธศาสนา
แสดงให้เห็นว่าไม่ว่าจะเป็นสายธรรมะหรือสายอธรรม
ก็ให้ความสำคัญกับปัญญาเหนือกว่ามานะ (ศรัทธา)
ปัญญาจะเป็นตัวกำหนดให้เราเดินเส้นทางที่ถูก
ส่วนมานะจะเป็นตัวผลักดันให้เราเข้าสู่จุดหมายได้เร็วขึ้น
มานะที่ขาดปัญญานี่น่ากลัวมาก
เพราะจะนำเราไปสู่ความวิบัติได้อย่างรวดเร็ว
โดยที่เราไม่รู้ตัวพุทธศาสนาจึงจะสอนมานะ (หรือศรัทธา)
ไว้คู่กับปัญญาเสมอ
แม้พระธรรมแห่งพุทธศาสนาเอง
พระพุทธเจ้าก็มุ่งหวังให้สัตว์โลกพิจารณา
คำสอนของพระองค์ให้ดีก่อนศรัทธา
สมัยที่พระพุทธเจ้ายังประทับอยู่บนโลก
ก็ยินดีจะตอบข้อซักถาม และข้อโต้แต้งของผู้ไม่เห็นด้วย
โดยเหตุและผล
ไม่ได้บังคับโดยอิทธิฤทธ์
หรืออ้างปาฎิหารย์เพื่อชักจูงให้ผู้ไม่เห็นด้วยคล้อยตาม
ถ้าใช้เหตุและผลถึงที่สุดแล้วไม่สามารถโปรดสัตว์รายใดได้
ก็จะปล่อยวาง เพรากรรมของสัตว์ตนนั้น
บดบังโอกาสดวงตาเห็นธรรม
พระพุทธเจ้าสอนให้ใช้หลักวินิจฉัยด้วยตนเอง
โดยมิให้ปลงใจเชื่อถือ ด้วยเหตุ ๑๐ ประการ (กาลามาสูตร)
ดังต่อไปนี้
๑) มาอนุสสะเวนะ อย่าเชื่อถือเพียงเพราะได้ยินได้ฟังอยู่เนือง ๆ
๒) มาปรัมปรายะ อย่าเชื่อถือเพียงเพราะเป็นไปตามประเพณีสืบ ๆ กันมา
๓) มาอิติกิรายะ อย่าเชื่อถือตามคำที่เขาเล่าลือกัน
๔) มาปิฏะกะสัมปะทาเนนะ อย่าเชื่อถือเพียงเพราะตรงกับตำรา
๕) มาตักกะเหตุ อย่าเชื่อถือเพราะคาดคะเนเอา
๖) มานะยะเหตุ อย่าเชื่อถือเพราะมีนัยเทียบเคียงกันได้
๗) มาอาการะปริวิตักเกนะ อย่าเชื่อถือเพียงเพราะคิดไปตามอาการที่ได้เห็น
๘) มาทิฏฐินิชฌานักขันติยา อย่าเชื่อถือเพียงเพราะเข้ากันได้กับทฤษฎี
๙) มาภัพพะรูปะตายะ อย่าเชื่อถือเพียงเพราะคนพูดน่าเชื่อถือ
๑๐) มาสะมะโณ โนคะรูติ อย่าเชื่อถือเพียงเพราะผู้พูดเป็นสมณะหรือครูอาจารย์
พระพุทธเจ้าท่านสอนไม่ให้เชื่ออะไรง่าย ๆ
เพียงเพราะเหตุใดเหตุหนึ่งใน ๑๐ ประการ
ดังกล่าวข้างต้น แต่ให้ใช้สติปัญญาไตร่ตรองอย่างรอบคอบ
ก่อนจะใช้มานะ(หรือศรัทธา)ในเรื่องใด
ควรใช้ปัญญาพิจารณาให้ถ้วนถี่เสียก่อนเสมอ :)
ขอบคุณ Thailand Investment Forum
ที่นำนิทานธรรมพม่ามาเล่าสู่กันฟัง