เหนือสิ่งอื่นใด
- เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี 9 มิถุนายน 2559
- พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) ณ วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๙
- The 60th Anniversary Celebrations of his Majesty King Bhumibol Adulyadej's Accession to the Throne
- 63 ปี "พระเจ้าอยู่หัว ร.๙" ผู้นำที่ไม่เหมือนใครในโลก นำพาประเทศ "อยู่ดีมีสุข"
- Supreme Artist
- เศรษฐกิจพอเพียง : Sufficiency Economy พ.ศ. ๒๕๖๓
- ทศพิธราชธรรม ๑
- ทศพิธราชธรรม ๒
- ๑๐๐ ปี สวรรคตกาลสมเด็จพระปิยมหาราช
- ร.๙ ทรงห่วงเหตุการณ์ประเทศเพื่อนบ้าน
- พระบรมราโชวาท ร.๙
- "พูดแล้วต้องทํา" พระบรมราโชวาท "ในหลวง ร.๙" ทรงเตือน-ครม.
- ร. ๙ ทรงพระราชทานแก่พลเอกสุจินดา คราประยูร และพลตรีจำลอง ศรีเมือง
- ร.๙ ทรงรับสั่งรมต.ถวายสัตย์ฯ
- ร.๙ ทรงมีพระบรมราโชวาทแก่ตุลาการทหาร
- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.9 ทรงป้องกันน้ำท่วม ปีพุทธศักราช ๒๕๓๘
- “ในหลวง ร.๙” ทรงฝากองคมนตรีปลูกฝังคนไทยเอื้อเฟื้อ นึกถึงส่วนรวม
- “ในหลวง ร.๙” เสด็จฯ ทอดพระเนตรดนตรีที่ศิริราช
- "ในหลวง ร.๙" เสด็จเปิดประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์-สะพานภูมิพล 1,2
- ในหลวง ร. ๙ เสด็จฯทอดพระเนตรคอนเสิร์ตแจ๊ส
- ๕ ธันวาคม ๒๕๕๒
- น้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณ"ในหลวง ร.๙"กับ"ภูมิสารสนเทศ"
- ในหลวง ร.๙ ทรงพระราชทาน ส.ค.ส.2554 แก่พสกนิกรชาวไทย
- 'ในหลวง ร.๙' ทรงมีพระราชดำรัสให้คนไทย ทำหน้าที่ ไม่ประมาท มีสติ : ๕ ธันวาคม ๒๕๕๓
- วันฉัตรมงคล (ร.๙)
- ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๙
- พระราชดำรัสสุดท้าย ในหลวง รัชกาลที่ 9
- ๑๒ สิงหา วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
- "สมเด็จย่า"
- เจ้านายเล็กๆ ยุวกษัตริย์
- อาลัยพระพี่นางฯ
- ในหลวงรัชกาลที่ ๙ โปรดให้นายโคฟี อันนัน เฝ้าถวายรางวัลฯ (๒๕ พ.ค.๔๙)
- "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร" มีพระราชดำรัสเกี่ยวกับการวิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์
- พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล
- ศิลปาชีพ : ประจักษ์พยานของความรัก ผูกพัน และห่วงใย
- เพลงสรรเสริญพระบารมี
- ชีวิตที่หมุนไปไม่หยุดยั้ง...พระอารมณ์ขันของพระเทพฯ
- ถ้าเดินเรื่อยไปย่อมถึงปลายทาง นิทรรศการภาพถ่ายฝีพระหัตถ์สมเด็จพระเทพรัตนฯ
- สมเด็จพระเทพฯ กับการส่งเสริมไอที เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
- สมเด็จพระเทพฯ สนพระทัยเมล็ดพันธุ์ช่วยหล่อเลี้ยงประชากร
- เครือข่ายกาญจนาภิเษก
- สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- ทรงพระเจริญ
- ของขวัญจากก้อนดิน
- ต้นไม้ของพ่อ
- รูปที่มีทุกบ้าน
- นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ
- ติโต
- ไม่มีวันไหนที่ไม่คิดถึงในหลวงรัชกาลที่ ๙
- พระราชนิพนธ์ พระมหาชนก ที่ทุกคนพึงอ่าน
- โครงการแก้มลิง
- ทำไมเรารัก "พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร"
Custom Search
Jul 27, 2015
Jul 19, 2015
66 ปี เรวัต พุทธินันทน์ (พี่เต๋อ)
ข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ของ เรวัต พุทธินันทน์ (พี่เต๋อ)
Song for R.W. by Ohm Chatree Kongsuwan
- http://teetwo.blogspot.com/2007/03/blog-post_07.html
- http://teetwo.blogspot.com/2006/08/blog-post_31.html
- http://teetwo.blogspot.com/2007/04/blog-post.html
- http://teetwo.blogspot.com/2007/08/remembered.html
- http://teetwo.blogspot.com/2007/09/99.html
- http://teetwo.blogspot.com/2008/01/rewat-buddhinan-alive.html
- http://teetwo.blogspot.com/2008/01/blog-post_30.html
- http://teetwo.blogspot.com/2008/01/blog-post_6039.html
- http://teetwo.blogspot.com/2009/05/rewat-buddhinan-alive.html
- http://teetwo.blogspot.com/2009/06/ddt-beloved-memories-of-rewat-buddhinan.html
- http://teetwo.blogspot.com/2009/08/blog-post_06.html
- http://teetwo.blogspot.com/2009/10/blog-post_7833.html
- http://teetwo.blogspot.com/2010/02/2-14.html
- http://teetwo.blogspot.com/2010/09/5.html
- http://teetwo.blogspot.com/2010/11/3.html
- http://teetwo.blogspot.com/2011/02/blog-post_11.html
- http://teetwo.blogspot.com/2013/03/rewat-buddhinan.html
- http://teetwo.blogspot.com/2013/12/blog-post_12.html
- http://teetwo.blogspot.com/2016/08/blog-post_29.html
- http://teetwo.blogspot.com/2016/09/5-2559.html
- http://teetwo.blogspot.com/2017/05/1983.html
- http://teetwo.blogspot.com/2015/03/blog-post_22.html
- http://teetwo.blogspot.com/2019/02/blog-post_23.html
- https://teetwo.blogspot.com/2019/03/blog-post_11.html
- http://teetwo.blogspot.com/2019/05/32.html
- https://teetwo.blogspot.com/2019/07/blog-post_22.html
- https://teetwo.blogspot.com/2019/09/blog-post.html
- https://teetwo.blogspot.com/2020/01/gmm-grammy-official.html
- https://teetwo.blogspot.com/2020/01/1.html
- https://teetwo.blogspot.com/2020/03/23.html
- https://teetwo.blogspot.com/2021/05/blog-post_5.html
- https://teetwo.blogspot.com/2022/10/27-2565.html
- https://teetwo.blogspot.com/2024/04/blog-post_16.html
- https://teetwo.blogspot.com/2024/06/blog-post.html
- https://teetwo.blogspot.com/2024/04/patedshoppannee.html
- https://teetwo.blogspot.com/2024/06/blog-post_19.html
Jul 5, 2015
"ประสิทธิภาพตลาด" ลดมนต์ขลัง
วรากรณ์ สามโกเศศ
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ Varakorn@dpu.ac.th
มติชนรายวัน วันที่ 04 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 ปีที่ 27 ฉบับที่ 9734
ความเชื่อทางเศรษฐศาสตร์อันหนึ่งที่พร่ำสอนกันมายาวนานและมีผลกระทบต่อชีวิตคนเดินถนนอย่างลึกซึ้ง
กำลังถูกทอดทิ้งมากขึ้นทุกทีเพราะขัดแย้งกับความเป็นจริงในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา
ในงานสัมมนาเป็นเกียรติแก่การเกษียณอายุของ Eugene Fama แห่งมหาวิทยาลัยชิคาโก
บิดาของสิ่งที่มีชื่อว่า Efficient-Market Hypotheses(EMH)
เขาได้เสนอบทความที่ดูจะยอมรับว่าความเชื่อดั้งเดิมของเขามีข้อบกพร่องEMH ปรากฏตัวในโลกในปี 1965 ด้วยบทความของ Fama
ที่ชี้ให้เห็นว่าตลาดทำงานอย่างมีประสิทธิภาพเสมอ ตลาดจะกลั่นกรองข้อมูลใหม่ทั้งหลายด้วยความรวดเร็วอย่างยิ่ง
และให้ค่าประมาณการของมูลค่าที่แท้จริงของหุ้นที่อยู่ในตลาดที่ดีที่สุดพูดอีกอย่างหนึ่งว่าในตลาดซึ่งมีกลไกเคลื่อนไหวอย่างเสรีนั้น
ไม่ว่าเวลาใดก็ตามราคาของหลักทรัพย์จะสะท้อนซึ่งมูลค่าที่แท้จริงของมันเสมอแนวคิดนี้ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางเป็นไฟไหม้ป่าในเวลาต่อมา
มันถูกขยายออกไปกินความถึงประสิทธิภาพของตลาดอื่นที่ไม่ใช่ตลาดหุ้นด้วย และเป็นสาเหตุสำคัญส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิด
ความเชื่อมั่นในประสิทธิภาพของกลไกตลาดมากขึ้นเป็นลำดับในเวลา 40 ปีที่ผ่านมา
จนมีส่วนทำให้เศรษฐกิจเสรีเป็นที่ชื่นชมของทั้งโลก อย่างไรก็ดี ใน 20 ปีเศษที่ผ่านมา ได้เกิดแนวคิดที่เรียกว่า Behaviorist(กลุ่มพฤติกรรม) ขึ้นมาท้าทาย EMH
จนล่าสุดแนวคิด Behaviorist ดูจะได้รับการยอมรับมากขึ้น จน EMH ต้องยอมถอยร่นEMH ของ Fama
เป็นผลพวงของความเชื่อของ Milton Friedman แห่งมหาวิทยาลัยเดียวกัน
ยักษ์ใหญ่ของวงการเศรษฐศาสตร์ผู้ได้รับรางวัลโนเบลและเป็นแชมเปี้ยนของแนวคิดตลาดเสรีและประชาธิปไตย
แนวคิดที่เรียกว่าฝ่ายขวาสุดโต่งนี้เชื่ออย่างแน่วแน่ในประสิทธิภาพของกลไกตลาด เชื่อในการไม่แทรกแซงของภาครัฐ
แนวคิดนี้มีอิทธิพลต่อความคิดของประธานาธิบดีเรแกน นางมาร์กาเร็ต แทตเชอร์ และสองพ่อลูกตระกูล BUSH
และผู้นำความคิดอีกจำนวนมากมายในโลก ในดีกรีที่แตกต่างกันตลอดเวลากว่า 40 ปีที่ผ่านมาอย่างมีผลกระทบที่กว้างไกลยิ่งต่อชีวิตของคนเดินถนนEMH
ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า Stock-Index Mutual Fund
เป็นครั้งแรกในโลกในปี 1976 กล่าวคือเงินที่ประชาชนออมได้และนำไปซื้อหุ้นกองทุนรวม(Mutual Fund) นั้น
ผู้จัดการกองทุนรวมจะนำไปซื้อหุ้นต่างๆ ในตลาดหลักทรัพย์ โดยกระจายน้ำหนักไปตามส่วนประกอบของดัชนีของราคาตลาดหลักทรัพย์
ดังนั้นมูลค่าของหุ้นของกองทุนรวมที่ประชาชนถือไว้ก็จะขึ้นลงตามดัชนีตลาดหลักทรัพย์เมื่อ EMH
เชื่อว่าราคาของหุ้นในตลาดในเวลาใดเวลาหนึ่งจะสะท้อนมูลค่าหุ้นที่แท้จริงเสมอ การลงทุนในลักษณะนี้จึงเท่ากับว่าลงทุน(ซื้อหุ้น)
ในราคาที่ถูกต้องและมูลค่าหุ้นกองทุนรวมก็จะขึ้นลงอย่างเป็นไปตามดัชนีของตลาด หรือพูดอีกอย่างหนึ่งว่าเล่นตามตลาด คนที่เชื่อ EMH
จะบอกว่าเล่นหุ้นแบบอื่นจะไม่มีวันกำไร เพราะตลาดสะท้อนราคาจริงของหุ้น ดังที่ได้ยินกันบ่อยๆ ว่าไม่มีทางเอาชนะตลาดได้ถ้าเชื่อใน EMH
ก็หมายความว่าเชื่อว่ามนุษย์นักลงทุนมีเหตุมีผล กระทำทุกสิ่งไปอย่างใช้เหตุและผล เพราะทุกคนย่อมกระทำในสิ่งที่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ตนเองเป็นสำคัญ
เมื่อตลาดหุ้นสะท้อนความเป็นจริงของมูลค่าหุ้นทั้งหลายในตลาด ดังนั้น หากลงทุนในตลาดหุ้นก็ไม่อาจจะหวังเก็งกำไรซื้อหุ้นที่ราคาต่ำกว่าความเป็นจริงและขายในราคาที่สูงกว่าในเวลาต่อมาได้
ยกเว้นในบางช่วงเวลาสั้นๆ ที่ตลาดย่อยข้อมูลตามไม่ทันจึงพอมีช่องทางหากำไรได้บ้างในปี 1979 Daniel Kahneman
นักจิตวิทยาเสนอแนะแนวคิดในเรื่องเศรษฐศาสตร์ พฤติกรรมมนุษย์(ต่อมาเป็นผู้นำคนหนึ่งของกลุ่มพฤติกรรม) โดยเสนอทฤษฎีสำคัญที่เรียกว่า Prospect Theory
ซึ่งทำให้เกิดข้อสงสัยในความมีเหตุมีผลของพฤติกรรมมนุษย์ ตัวอย่างหนึ่งของทฤษฎีนี้ก็คือ มนุษย์เจ็บปวดจากการสูญเสียมากกว่าการได้รับความสุขจากเงินจำนวนเดียวกัน
ซึ่งเมื่อประยุกต์กับตลาดหุ้นแล้วก็หมายความว่ามนุษย์จะมีพฤติกรรมที่ไม่สม่ำเสมอ ไม่คงเส้นคงวา ในเรื่องการรับความเสี่ยง
เช่นจะอนุรักษนิยมเมื่อขายหุ้นดีเพื่อให้ได้กำไรไว้ก่อน แต่เมื่อจะหลีกหนีการขาดทุนก็จะกอดหุ้นที่ขาดทุนไว้ไม่ยอมขาย
โดยหวังว่าเมื่อราคาสูงขึ้นแล้วจึงค่อยขายพฤติกรรมเช่นนี้หมายความว่าเวลาตลาดปั่นป่วนจะรีบพากันขายหุ้นเพราะกลัวขาดทุน
แต่เมื่อตลาดหุ้นดีขึ้นก็ยังไม่เข้าไปซื้อในระดับเดียวกับที่ขาย เพราะยังกลัวขาดทุน พฤติกรรมที่ไม่มีเหตุผลเช่นนี้ทำให้ตลาดหุ้นปั่นป่วนกว่าที่เป็นจริง
ดังนั้น กลุ่มพฤติกรรมจึงโจมตีว่า EMH ห่างไกลจากความเป็นจริงเพราะราคาหุ้นในเวลาใดเวลาหนึ่งไม่ได้สะท้อนมูลค่าที่แท้จริงของหุ้นนั้น
แต่ที่ราคาผันผวนก็เพราะมนุษย์ไม่ได้มีเหตุมีผลเหมือนที่พวก EMH ซึ่งศรัทธาประสิทธิภาพของตลาดเชื่อกันในปี 1985 Richard Thaler
ซึ่งต่อมาเป็นคู่ปรับทางวิชาการคนสำคัญของ Fama ก็ได้เสนอหลักฐานว่า นักลงทุนมักจะมีปฏิกิริยาตอบโต้ที่เกินกว่าความเป็นจริง
กลุ่มพฤติกรรมหรือกลุ่มที่เชื่อว่า มนุษย์ไม่มีพฤติกรรมที่มีเหตุมีผล และคงเส้นคงวาเสมอไปมีผู้คล้อยตามมากขึ้น
เมื่อมีงานวิจัยที่มาจากการทดลองในห้องแล็บมาสนับสนุน ยิ่งเมื่อเกิดหุ้นตกต่ำหนักในปี 1987 ก็ยิ่งมีผู้เชื่อ EMH น้อยลง
และเมื่อเกิดวิกฤตกาลหุ้น NASDAQ(หุ้นเทคโนโลยี) ตกต่ำอย่างรุนแรงในปี 2000 EMH ก็หมดบารมีไปมากในปี 2002
กลุ่ม Behaviorist ก็ดังยิ่งขึ้นเมื่อหัวโจกคนหนึ่งคือ Daniel Kahneman ได้รับรางวัลโนเบลจาก Prospect Theory
และงานวิจัยทดลองพฤติกรรมนุษย์ในเชิงเศรษฐศาสตร์Robert Shiller สมาชิกคนหนึ่งของกลุ่ม Behaviorist
ได้ตีพิมพ์หนังสือชื่อว่า Irratioal Exuberance ซึ่งหมายถึงความรู้สึกยินดีปรีดาอย่างยิ่งแต่เป็นไปอย่างขาดเหตุผลเมื่อตลาดหุ้นอยู่ในช่วงขาขึ้นการต่อสู้ระหว่าง EMH
และ Behaviorist ยังไม่จบ แต่การสนับสนุน EMH ดูจะยากขึ้นทุกวัน เมื่อเห็นหลักฐานที่เกิดขึ้นจากการบูม
และตกต่ำของตลาดหุ้น และพฤติกรรมของนักลงทุน ที่ขาดเหตุผลหวือหวาจนตลาดไม่ได้สะท้อนความเป็นจริงของมูลค่าหุ้นคำถามสำคัญก็คือ เมื่อรู้ว่า EMH
ไม่ใกล้ความจริงแล้วจะมีผลกระทบอย่างไรต่อชีวิตคนเดินถนน? เมื่อ EMH กำลังรุ่งนั้น นัยสำคัญที่สื่อออกไปในโลกในทศวรรษ 1980 และ 1990
ก็คือ กลไกตลาดเป็นสิ่งมีประสิทธิภาพ เศรษฐกิจเสรีเป็นสิ่งพึงปรารถนา การแทรกแซงควบคุมกำกับของภาครัฐเป็นสิ่งพึงหลีกเลี่ยง
เพราะรังแต่จะทำให้ตลาดขาดประสิทธิภาพ ฯลฯ แต่เมื่อ EMH มีปัญหา ผู้กำหนดนโยบายในประเทศต่างๆ จึงให้ความสนใจในเรื่องประสิทธิภาพของกลไกตลาดหุ้น
และเลยออกไปถึงความเชื่อมั่นในกลไกตลาดโดยทั่วไปน้อยลงไปด้วยความไม่เชื่อถือใน EMH
มีความหมายในระดับบุคคลว่าจะต้องระวังในเรื่องการลงทุนในตลาดหุ้น ไม่ว่าจะเป็นกองทุนรวมหรือซื้อหุ้นเอง เนื่องจากราคาของหุ้นมิได้สะท้อนมูลค่าที่แท้จริงของหุ้น
นอกจากนี้ นักลงทุนส่วนใหญ่มีพฤติกรรมที่ขาดเหตุผล จนอาจทำให้นักลงทุนอื่นๆ เจ็บตัวไปด้วยได้นอกจากนี้
ในระดับรวมก็หมายถึงว่าตลาดมิได้มีประสิทธิภาพมากดังที่เคยเข้าใจกัน เพราะบุคคลที่ซื้อขายหุ้นโดยทั่วไปนั้นมีพฤติกรรมที่ขาดเหตุและผล
ถ้ายอมให้บุคคลใช้เงินออมบางส่วนที่ได้มาจากการออมแบบบังคับ(หักเงินเดือนแบบบังคับทุกเดือนสำหรับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ)
ไปลงทุนในตลาดหุ้นเอง แทนที่ภาครัฐจะเก็บเงินนี้ไว้ทั้งหมดแล้ว ก็จะเป็นผลเสียต่อบุคคลนั้นเองในที่สุด
เพราะเขาไม่อาจใช้ราคาตลาดเป็นข้อมูลในการตัดสินใจลงทุนได้อย่างถูกต้อง ทั้งนี้ เนื่องจาก EMH ไม่เป็นจริงถึงแม้ว่ากระแสความเชื่อใน EMH
จะลดลงไป เพราะแม้แต่เจ้าของไอเดียเองก็ถอยร่นยอมรับว่า นักลงทุนบางคนที่มีข้อมูลไม่สมบูรณ์มีพฤติกรรมที่ขาดเหตุผลจน
อาจนำไปสู่การออกนอกลู่นอกทางของตลาดได้ ซึ่งตรงกับที่กลุ่มพฤติกรรมได้กล่าวไว้นานแล้ว แต่คงจะเป็นไปได้ยากว่าผู้คนจะหมดความเลื่อมใสในกลไกตลาดจน
ทำให้กระแสของโลกในเรื่องการเปิดกว้างของระบบเศรษฐกิจ และการสนับสนุนตลาดเสรีหยุดชะงักลงได้
ไอเดียเก่าอาจถูกต้องใช้ได้ในขอบเขตหนึ่งในอดีต แต่เมื่อถูกท้าทาย และลบล้างด้วยไอเดียใหม่อย่างน่าเชื่อถือในเวลาต่อมา
ก็เป็นธรรมดาอยู่เองที่จะต้องมีการแก้ไขปรับเปลี่ยนต่อไปเรื่อยๆ อย่างไม่มีวันสิ้นสุด และนี่แหละคือสัจธรรมของวิชาการ
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ Varakorn@dpu.ac.th
มติชนรายวัน วันที่ 04 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 ปีที่ 27 ฉบับที่ 9734
ความเชื่อทางเศรษฐศาสตร์อันหนึ่งที่พร่ำสอนกันมายาวนานและมีผลกระทบต่อชีวิตคนเดินถนนอย่างลึกซึ้ง
กำลังถูกทอดทิ้งมากขึ้นทุกทีเพราะขัดแย้งกับความเป็นจริงในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา
ในงานสัมมนาเป็นเกียรติแก่การเกษียณอายุของ Eugene Fama แห่งมหาวิทยาลัยชิคาโก
บิดาของสิ่งที่มีชื่อว่า Efficient-Market Hypotheses(EMH)
เขาได้เสนอบทความที่ดูจะยอมรับว่าความเชื่อดั้งเดิมของเขามีข้อบกพร่องEMH ปรากฏตัวในโลกในปี 1965 ด้วยบทความของ Fama
ที่ชี้ให้เห็นว่าตลาดทำงานอย่างมีประสิทธิภาพเสมอ ตลาดจะกลั่นกรองข้อมูลใหม่ทั้งหลายด้วยความรวดเร็วอย่างยิ่ง
และให้ค่าประมาณการของมูลค่าที่แท้จริงของหุ้นที่อยู่ในตลาดที่ดีที่สุดพูดอีกอย่างหนึ่งว่าในตลาดซึ่งมีกลไกเคลื่อนไหวอย่างเสรีนั้น
ไม่ว่าเวลาใดก็ตามราคาของหลักทรัพย์จะสะท้อนซึ่งมูลค่าที่แท้จริงของมันเสมอแนวคิดนี้ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางเป็นไฟไหม้ป่าในเวลาต่อมา
มันถูกขยายออกไปกินความถึงประสิทธิภาพของตลาดอื่นที่ไม่ใช่ตลาดหุ้นด้วย และเป็นสาเหตุสำคัญส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิด
ความเชื่อมั่นในประสิทธิภาพของกลไกตลาดมากขึ้นเป็นลำดับในเวลา 40 ปีที่ผ่านมา
จนมีส่วนทำให้เศรษฐกิจเสรีเป็นที่ชื่นชมของทั้งโลก อย่างไรก็ดี ใน 20 ปีเศษที่ผ่านมา ได้เกิดแนวคิดที่เรียกว่า Behaviorist(กลุ่มพฤติกรรม) ขึ้นมาท้าทาย EMH
จนล่าสุดแนวคิด Behaviorist ดูจะได้รับการยอมรับมากขึ้น จน EMH ต้องยอมถอยร่นEMH ของ Fama
เป็นผลพวงของความเชื่อของ Milton Friedman แห่งมหาวิทยาลัยเดียวกัน
ยักษ์ใหญ่ของวงการเศรษฐศาสตร์ผู้ได้รับรางวัลโนเบลและเป็นแชมเปี้ยนของแนวคิดตลาดเสรีและประชาธิปไตย
แนวคิดที่เรียกว่าฝ่ายขวาสุดโต่งนี้เชื่ออย่างแน่วแน่ในประสิทธิภาพของกลไกตลาด เชื่อในการไม่แทรกแซงของภาครัฐ
แนวคิดนี้มีอิทธิพลต่อความคิดของประธานาธิบดีเรแกน นางมาร์กาเร็ต แทตเชอร์ และสองพ่อลูกตระกูล BUSH
และผู้นำความคิดอีกจำนวนมากมายในโลก ในดีกรีที่แตกต่างกันตลอดเวลากว่า 40 ปีที่ผ่านมาอย่างมีผลกระทบที่กว้างไกลยิ่งต่อชีวิตของคนเดินถนนEMH
ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า Stock-Index Mutual Fund
เป็นครั้งแรกในโลกในปี 1976 กล่าวคือเงินที่ประชาชนออมได้และนำไปซื้อหุ้นกองทุนรวม(Mutual Fund) นั้น
ผู้จัดการกองทุนรวมจะนำไปซื้อหุ้นต่างๆ ในตลาดหลักทรัพย์ โดยกระจายน้ำหนักไปตามส่วนประกอบของดัชนีของราคาตลาดหลักทรัพย์
ดังนั้นมูลค่าของหุ้นของกองทุนรวมที่ประชาชนถือไว้ก็จะขึ้นลงตามดัชนีตลาดหลักทรัพย์เมื่อ EMH
เชื่อว่าราคาของหุ้นในตลาดในเวลาใดเวลาหนึ่งจะสะท้อนมูลค่าหุ้นที่แท้จริงเสมอ การลงทุนในลักษณะนี้จึงเท่ากับว่าลงทุน(ซื้อหุ้น)
ในราคาที่ถูกต้องและมูลค่าหุ้นกองทุนรวมก็จะขึ้นลงอย่างเป็นไปตามดัชนีของตลาด หรือพูดอีกอย่างหนึ่งว่าเล่นตามตลาด คนที่เชื่อ EMH
จะบอกว่าเล่นหุ้นแบบอื่นจะไม่มีวันกำไร เพราะตลาดสะท้อนราคาจริงของหุ้น ดังที่ได้ยินกันบ่อยๆ ว่าไม่มีทางเอาชนะตลาดได้ถ้าเชื่อใน EMH
ก็หมายความว่าเชื่อว่ามนุษย์นักลงทุนมีเหตุมีผล กระทำทุกสิ่งไปอย่างใช้เหตุและผล เพราะทุกคนย่อมกระทำในสิ่งที่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ตนเองเป็นสำคัญ
เมื่อตลาดหุ้นสะท้อนความเป็นจริงของมูลค่าหุ้นทั้งหลายในตลาด ดังนั้น หากลงทุนในตลาดหุ้นก็ไม่อาจจะหวังเก็งกำไรซื้อหุ้นที่ราคาต่ำกว่าความเป็นจริงและขายในราคาที่สูงกว่าในเวลาต่อมาได้
ยกเว้นในบางช่วงเวลาสั้นๆ ที่ตลาดย่อยข้อมูลตามไม่ทันจึงพอมีช่องทางหากำไรได้บ้างในปี 1979 Daniel Kahneman
นักจิตวิทยาเสนอแนะแนวคิดในเรื่องเศรษฐศาสตร์ พฤติกรรมมนุษย์(ต่อมาเป็นผู้นำคนหนึ่งของกลุ่มพฤติกรรม) โดยเสนอทฤษฎีสำคัญที่เรียกว่า Prospect Theory
ซึ่งทำให้เกิดข้อสงสัยในความมีเหตุมีผลของพฤติกรรมมนุษย์ ตัวอย่างหนึ่งของทฤษฎีนี้ก็คือ มนุษย์เจ็บปวดจากการสูญเสียมากกว่าการได้รับความสุขจากเงินจำนวนเดียวกัน
ซึ่งเมื่อประยุกต์กับตลาดหุ้นแล้วก็หมายความว่ามนุษย์จะมีพฤติกรรมที่ไม่สม่ำเสมอ ไม่คงเส้นคงวา ในเรื่องการรับความเสี่ยง
เช่นจะอนุรักษนิยมเมื่อขายหุ้นดีเพื่อให้ได้กำไรไว้ก่อน แต่เมื่อจะหลีกหนีการขาดทุนก็จะกอดหุ้นที่ขาดทุนไว้ไม่ยอมขาย
โดยหวังว่าเมื่อราคาสูงขึ้นแล้วจึงค่อยขายพฤติกรรมเช่นนี้หมายความว่าเวลาตลาดปั่นป่วนจะรีบพากันขายหุ้นเพราะกลัวขาดทุน
แต่เมื่อตลาดหุ้นดีขึ้นก็ยังไม่เข้าไปซื้อในระดับเดียวกับที่ขาย เพราะยังกลัวขาดทุน พฤติกรรมที่ไม่มีเหตุผลเช่นนี้ทำให้ตลาดหุ้นปั่นป่วนกว่าที่เป็นจริง
ดังนั้น กลุ่มพฤติกรรมจึงโจมตีว่า EMH ห่างไกลจากความเป็นจริงเพราะราคาหุ้นในเวลาใดเวลาหนึ่งไม่ได้สะท้อนมูลค่าที่แท้จริงของหุ้นนั้น
แต่ที่ราคาผันผวนก็เพราะมนุษย์ไม่ได้มีเหตุมีผลเหมือนที่พวก EMH ซึ่งศรัทธาประสิทธิภาพของตลาดเชื่อกันในปี 1985 Richard Thaler
ซึ่งต่อมาเป็นคู่ปรับทางวิชาการคนสำคัญของ Fama ก็ได้เสนอหลักฐานว่า นักลงทุนมักจะมีปฏิกิริยาตอบโต้ที่เกินกว่าความเป็นจริง
กลุ่มพฤติกรรมหรือกลุ่มที่เชื่อว่า มนุษย์ไม่มีพฤติกรรมที่มีเหตุมีผล และคงเส้นคงวาเสมอไปมีผู้คล้อยตามมากขึ้น
เมื่อมีงานวิจัยที่มาจากการทดลองในห้องแล็บมาสนับสนุน ยิ่งเมื่อเกิดหุ้นตกต่ำหนักในปี 1987 ก็ยิ่งมีผู้เชื่อ EMH น้อยลง
และเมื่อเกิดวิกฤตกาลหุ้น NASDAQ(หุ้นเทคโนโลยี) ตกต่ำอย่างรุนแรงในปี 2000 EMH ก็หมดบารมีไปมากในปี 2002
กลุ่ม Behaviorist ก็ดังยิ่งขึ้นเมื่อหัวโจกคนหนึ่งคือ Daniel Kahneman ได้รับรางวัลโนเบลจาก Prospect Theory
และงานวิจัยทดลองพฤติกรรมนุษย์ในเชิงเศรษฐศาสตร์Robert Shiller สมาชิกคนหนึ่งของกลุ่ม Behaviorist
ได้ตีพิมพ์หนังสือชื่อว่า Irratioal Exuberance ซึ่งหมายถึงความรู้สึกยินดีปรีดาอย่างยิ่งแต่เป็นไปอย่างขาดเหตุผลเมื่อตลาดหุ้นอยู่ในช่วงขาขึ้นการต่อสู้ระหว่าง EMH
และ Behaviorist ยังไม่จบ แต่การสนับสนุน EMH ดูจะยากขึ้นทุกวัน เมื่อเห็นหลักฐานที่เกิดขึ้นจากการบูม
และตกต่ำของตลาดหุ้น และพฤติกรรมของนักลงทุน ที่ขาดเหตุผลหวือหวาจนตลาดไม่ได้สะท้อนความเป็นจริงของมูลค่าหุ้นคำถามสำคัญก็คือ เมื่อรู้ว่า EMH
ไม่ใกล้ความจริงแล้วจะมีผลกระทบอย่างไรต่อชีวิตคนเดินถนน? เมื่อ EMH กำลังรุ่งนั้น นัยสำคัญที่สื่อออกไปในโลกในทศวรรษ 1980 และ 1990
ก็คือ กลไกตลาดเป็นสิ่งมีประสิทธิภาพ เศรษฐกิจเสรีเป็นสิ่งพึงปรารถนา การแทรกแซงควบคุมกำกับของภาครัฐเป็นสิ่งพึงหลีกเลี่ยง
เพราะรังแต่จะทำให้ตลาดขาดประสิทธิภาพ ฯลฯ แต่เมื่อ EMH มีปัญหา ผู้กำหนดนโยบายในประเทศต่างๆ จึงให้ความสนใจในเรื่องประสิทธิภาพของกลไกตลาดหุ้น
และเลยออกไปถึงความเชื่อมั่นในกลไกตลาดโดยทั่วไปน้อยลงไปด้วยความไม่เชื่อถือใน EMH
มีความหมายในระดับบุคคลว่าจะต้องระวังในเรื่องการลงทุนในตลาดหุ้น ไม่ว่าจะเป็นกองทุนรวมหรือซื้อหุ้นเอง เนื่องจากราคาของหุ้นมิได้สะท้อนมูลค่าที่แท้จริงของหุ้น
นอกจากนี้ นักลงทุนส่วนใหญ่มีพฤติกรรมที่ขาดเหตุผล จนอาจทำให้นักลงทุนอื่นๆ เจ็บตัวไปด้วยได้นอกจากนี้
ในระดับรวมก็หมายถึงว่าตลาดมิได้มีประสิทธิภาพมากดังที่เคยเข้าใจกัน เพราะบุคคลที่ซื้อขายหุ้นโดยทั่วไปนั้นมีพฤติกรรมที่ขาดเหตุและผล
ถ้ายอมให้บุคคลใช้เงินออมบางส่วนที่ได้มาจากการออมแบบบังคับ(หักเงินเดือนแบบบังคับทุกเดือนสำหรับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ)
ไปลงทุนในตลาดหุ้นเอง แทนที่ภาครัฐจะเก็บเงินนี้ไว้ทั้งหมดแล้ว ก็จะเป็นผลเสียต่อบุคคลนั้นเองในที่สุด
เพราะเขาไม่อาจใช้ราคาตลาดเป็นข้อมูลในการตัดสินใจลงทุนได้อย่างถูกต้อง ทั้งนี้ เนื่องจาก EMH ไม่เป็นจริงถึงแม้ว่ากระแสความเชื่อใน EMH
จะลดลงไป เพราะแม้แต่เจ้าของไอเดียเองก็ถอยร่นยอมรับว่า นักลงทุนบางคนที่มีข้อมูลไม่สมบูรณ์มีพฤติกรรมที่ขาดเหตุผลจน
อาจนำไปสู่การออกนอกลู่นอกทางของตลาดได้ ซึ่งตรงกับที่กลุ่มพฤติกรรมได้กล่าวไว้นานแล้ว แต่คงจะเป็นไปได้ยากว่าผู้คนจะหมดความเลื่อมใสในกลไกตลาดจน
ทำให้กระแสของโลกในเรื่องการเปิดกว้างของระบบเศรษฐกิจ และการสนับสนุนตลาดเสรีหยุดชะงักลงได้
ไอเดียเก่าอาจถูกต้องใช้ได้ในขอบเขตหนึ่งในอดีต แต่เมื่อถูกท้าทาย และลบล้างด้วยไอเดียใหม่อย่างน่าเชื่อถือในเวลาต่อมา
ก็เป็นธรรมดาอยู่เองที่จะต้องมีการแก้ไขปรับเปลี่ยนต่อไปเรื่อยๆ อย่างไม่มีวันสิ้นสุด และนี่แหละคือสัจธรรมของวิชาการ
Subscribe to:
Posts (Atom)