Custom Search

Aug 31, 2010

"ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกุล" กับเกร็ดเรื่อง "อนาคตของข่าวสารออนไลน์"

มติชน
1 กันยายาน 2553

ในกา
รอบรมเชิงปฎิบัติการ "ผู้สื่อข่าวออนไลน์"
เมื่อวันที่ 28-29 สิงหาคมที่ผ่านมา

ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกุล

ผู้อำนวยการ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
กล่าวปฐกถาพิเศษหัวข้อ "อนาคตของข่าวสารออนไลน์"

ระหว่างการอบรมว่า

บรอด์แบนด์

มีความสำคัญกับการติดต่อสื่อสารที่ผ่านมา

เราผลิตข้อความเยอะเพราะเขียนข่าว พิมพ์หนังสือพิมพ์

แต่ปัจจุบันเนื้อหาที่เราผลิตก็ย้ายที่อยู่มาปรากฎบน

จอแอลซีดี และฮาร์ดดิสก์

แต่พฤติกรรมการบันทึกด้วยการเขียนยังเหมือนเดิม


อุปกรณ์ใหม่ๆ พื้นที่ใหม่ๆกำลังจะมา

ยกตัวอย่างอุปกรณ์ "ไอแพด"

ซึ่งคาดว่าจะทำพฤิตกรรมการบริโภคเปลี่ยนไป

องค์กรธุรกิจต้องเตรียมความพร้อมรับมือให้ทัน

"องค์ความรู้เหล่านี้เกิดขึ้นรอบตัว แต่เราไม่สามารถจัดการกับมัน"

ประเทศไทยต้องบริหารทรัพยากรหากบริหารไม่เป็น
ติดตั้งอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพได้

แต่ไม่ได้เอามาใช้ให้เป็นประโยชน์

ก็เหมือนเป็นการสูญเปล่าอย่างเช่น

สายไฟเบอร์ออฟติกที่ฝังอยู่ใต้ดิน

ที่ไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์

กลับติดปัญหาเรื่องการจัดสรรสัมปทาน


สำหรับเรื่องของ
เครือข่ายสังคมออนไลน์
กล่าวได้ว่ามีอิทธิพลในการทำลายล้าง

สร้างความแตกแยกได้สูง

ไม่ว่าจะเป็นอังกฤษ หรือสหรัฐ

ก็เริ่มมีคำแนะนำให้เด็กในห้องเรียน

ได้เรียนรู้ผลกระทบของการใช้

ยกตัวอย่าง หากครูประจำชั้นใช้เฟสบุ๊ค

แล้วมีเพื่อนในหน้าส่วนตัวของตัวเองเป็นนักเรียนมากมาย

สมมติว่าหากครูไปงานปาร์ตี้แล้วเกิดไปเต้นรำ

กับนักเรียนในท่วงท่าที่ไม่ เหมาะสม

หากมีนักเรียนนำรูปมาขึ้นหน้าเฟสบุ๊คในกลุ่มของตัวเอง

ที่ทุกคนในเครือข่ายต่างรู้จักครูคนนี้ทั้งนั้น

"ความเป็นครู" ก็จะลดน้อยลง

คนในเครือข่ายไม่รู้ว่าบริบทที่แท้จริงเป็นอย่างไร

ก็อาจเข้าใจได้คนละแบบ


ข่าวสารออนไลน์เป็นข้อเขียนหรือบทความซึ่ง

ถ้าเขียนอย่างตั้งใจและเป็นงาน

ที่มีคุณภาพก็จะยังเป็นที่ต้องการอยู่แต่โซเชียล เน็ตเวิร์ค

เป็นการเขียนด้วยตัวอักษรไม่กี่คำ

ซึ่งคนก็ยังคงต้องการคุณภาพอยู่

ไม่ได้ต้องการสื่อสารด้วย

คำเพียง 140 ตัวอักษรเท่านั้น


อีกทั้งการขายเนื้อหาของสื่อ

ที่กำลังจะถูกขายลงบนอุปกรณ์ที่พัฒนาขึ้นมากด้วย

เนื้อหาแบบใหม่ๆเหล่าผู้ที่เกี่ยวข้อง

ต้องเริ่มหาลู่ทางธุรกิจแบบใหม่ๆ

และโฆษณาออนไลน์จะเป็นการกรองเป้าหมาย

ทำให้องค์การธุรกิจรู้ได้ว่า

ลูกค้าจะเข้ามาอ่านเนื้อหาแบบไหน

ทำให้เกิดการวัดผลได้ชัดขึ้น
"อย่าลืมว่าใครทำก่อนจะได้เปรียบ"
ดร.ทวีศักดิ์กล่า








Aug 29, 2010

Aug 27, 2010

ธรรมะ 4 ประการ โดยท่าน ว.วชิรเมธี



1. อย่าเป็นนักจับผิด
คนที่คอยจับผิดคนอื่น แสดงว่า
หลงตัวเองว่าเป็นคนดีกว่าคนอื่น
ไม่เห็นข้อบกพร่องของตนเอง
" กิเลสฟูท่วมหัว ยังไม่รู้จักตัวอีก "
คนที่ชอบจับผิด จิตใจจะหม่นหมอง
ไม่มีโอกาส " จิตประภัสสร "
ฉะนั้น "จงมองคน มองโลกในแง่ดี
แม้ในสิ่งที่เป็นทุกข์ ถ้ามองเป็น ก็เป็นสุข "

2. อย่ามัวแต่คิดริษยา
" แข่งกันดี ไม่ดีสักคน ผลัดกันดี ได้ดีทุกคน "
คนเราต้องมีพรหมวิหาร 4 คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
คนที่เราริษยาเป็นการส่วนตัว มีชื่อว่า
" เจ้ากรรมนายเวร " ถ้าเขาสุข เราจะทุกข์ ฉะนั้น
เราต้องถอดถอนความริษยาออกจากใจเรา
เพราะไฟริษยา เป็น " ไฟสุมขอน " ( ไฟเย็น) เราริษยา 1 คน

เราก็มีทุกข์ 1 ก้อน เราสามารถถอดถอน
ความริษยาออกจากใจเราโดยใช้วิธี " แผ่เมตตา "

หรือ ซื้อโคมมา แล้วเขียนชื่อคนที่เราริษยา แล้วปล่อยให้ลอยไป

3. อย่าเสียเวลากับความหลัง
90% ของคนที่ทุกข์ เกิดจากการย้ำคิดย้ำทำ
"ปล่อยไม่ลง ปลงไม่เป็น "

มนุษย์ที่สลัดความหลังไม่ออก เหมือนมนุษย์ที่เดินขึ้น
เขาพร้อมแบกเครื่องเคราต่างๆ ไว้ที่หลังขึ้นไป

ด้วยความทุกข์ที่เกิดขึ้นแล้ว จงปล่อยมันซะ "
อย่าปล่อยให้คมมีดแห่งอดีต มากรีดปัจจุบัน "

อยู่กับปัจจุบันให้เป็น ให้กายอยู่กับจิต
จิตอยู่กับกาย คือมี "สติ" กำกับตลอดเวลา


4. อย่าพังเพราะไม่รู้จักพอ
"ตัณหา" ที่มีปัญหา คือ ความโลภ ความอยากที่เกินพอดี
เหมือนทะเลไม่เคยอิ่มด้วยน้ำ ไฟไม่

เคยอิ่มด้วยเชื้อ ธรรมชาติของตัณหา คือ "ยิ่งเติมยิ่งไม่เต็ม"
ทุกอย่างต้องดูคุณค่าที่แท้ ไม่ใช่ คุณค่าเทียม

เช่น คุณค่าที่แท้ของนาฬิกา คืออะไร คือ ไว้ดูเวลา ไม่ใช่มีไว้ใส่
เพื่อความโก้หรูคุณค่าที่แท้ของโทรศัพท์มือถือคืออะไร
คือ ไว้สื่อสาร แต่องค์ประกอบอื่นๆ
ที่เสริมมาไม่ใช่คุณค่าที่แท้ของโทรศัพท์

เราต้องถามตัวเองว่า 'เิกิดมาทำไม'
'คุณค่าที่แท้จริงของการเกิดมาเป็นมนุษย์อยู่ตรงไหน

ตามหา "แก่น" ของชีวิตให้เจอคำว่า "พอดี" คือ ถ้า "พอ"
แล้วจะ "ดี" รู้จัก "พอ
จะมีชีวิตอย่างมีความสุข...









Aug 26, 2010

มอนเตนิโกร สวรรค์แห่งการแจกสัญชาติ









วรากรณ์ สามโกเศศ
มหาวิ
ทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
มติชนออนไลน์
วันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ประเทศมอนเตนิโกร (Montenegro)

ที่อดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
ได้สัญชาติมานั้น เป็นที่รู้จักกันพอควรในบ้านเรา
และเป็นที่รู้จักกันดีในโลกยิ่งขึ้น
หลังจากหนังสือพิมพ์International Herald Tribune
ได้ตีพิมพ์เรื่องของประเทศนี้
เมื่อวันที่ 20 สิงหาคมที่ผ่านมา

ความเป็นมาของประเทศนี้พอสรุปได้ว่า
เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงของดุล
อำนาจในยุโรปตะวันออกที่มีสหภาพโซเวียต
เป็นพี่ใหญ่ในปี 1989 อันเป็นปีแห่งการเปลี่ยนแปลงมากมาย
หลายอย่างนับตั้งแต่การพังทลายของกำแพง เบอร์ลิน
การดิ้นรนเป็นอิสระของนานาประเทศ เช่น
การเติบโตของ Solidarity ในโปแลนด์/ Velvet Revolution
ในประเทศเช็กโกสโลวาเกีย ฯลฯ

มอนเตนิโกรเป็นดินแดนเก่าแก่แห่งหนึ่ง
มีรัฐธรรมนูญเป็นของตนเองใน ค.ศ.1855 ในปี 1904
ประเทศนี้ก็หาญกล้าประกาศสงครามกับญี่ปุ่นที่ทำสงครามกับรัสเซีย
มอนเตนิโกรเป็นอาณาจักรอย่างแท้จริงใน ค.ศ.1910
และใน ค.ศ.1918 ถูกบังคับโดยมหาอำนาจ
เมื่อถูกบุกยึดครองโดย Austria-Hungary
ให้ไปรวมกับ Serbia และในที่สุดก็กลาย
เป็นส่วนหนึ่งของ Kingdom of Yugoslavia ในปี ค.ศ.1929

อาณาจักร Yugoslavia ก่อนปี 1992 ซึ่งมีชื่อว่า
The Socialist Federal Republic of Yugoslavia (SFRY)
ประกอบด้วย 6 สาธารณรัฐย่อย
(Slovenia, Croatia, Bosnia and Herzegovina,
Macedonia, Montenegro และ Serbia
และ 2 เขตปกครองพิเศษ Kosovo และ Vojvodina
โดยแบ่งพื้นที่การปกครองหยาบๆ ตามชาติพันธุ์

เมื่อปัญหาเศรษฐกิจภายใน SFRY ซึ่งคุกรุ่นมานานถูกกระหน่ำ
โดยคลื่นการดิ้นรนแยกออกเป็นเอกราชของหลายประเทศ
ตามชาติพันธุ์ในยุโรปตะวันออกหลังการเปลี่ยนแปลงในปี 1989
ก็เกิดสงครามขึ้นระหว่างชาติพันธุ์เหล่านี้
หลายคู่ซัดกันนัวระหว่างปี 1991-1995 ในหลายพื้นที่
โดยเฉพาะในบริเวณที่ไม่มีความแน่ชัดในการเป็นเจ้าของ
เช่นใน Bosnia/ Croatia/ Serbia ฯลฯ

สงครามชาติพันธุ์คร่าวๆ ก็คือระหว่างชาว Serbia
กับชาว Croatia (โดยมีชาว Bosnia เป็นพวก
และระหว่างชาว Bosnia กับชาว Croatia ใน Bosnia อีกต่างหาก
(กลุ่มย่อยของชาว Bosnia ใน Bosnia ก็ฆ่าฟันกันอีก)

ชาวมอนเตนิโกรโดยทั่วไปอยู่ข้างพวก Serbia
และพวก Slovenia อยู่ข้างพวก Croatia และ Bosnia

สงครามฆ่ากันใน Yugoslavia ครั้งนั้นถือว่าดุเดือด
และโหดร้ายที่สุดนับแต่สงครามโลกครั้งที่ 2

เพราะเล่นกันแบบล้างเผ่าพันธุ์ เมื่อ UN เข้าแทรกแซง

ก็จบลงได้ในที่สุดโดยแตกแยกออกเป็นประเทศต่างๆ

และมอนเตนิโกรก็เป็นหนึ่งในนั้น


ปัจจุบันมอนเตนิโกรมีประชากรประมาณ 670,000 คน

มีพื้นที่ประมาณ 13,812 ตารางกิโลเมตร

(1.8 เท่าของกรุงเทพฯและปริมณฑล)
ตั้งอยู่ในทิศตะวันออกเฉียงใต้ของยุโรป
โดยติดทะเล Adriatic มี Podgorica

เมืองใหญ่ที่สุดเป็นเมืองหลวง ปกครองในระบอบประชาธิปไตย
โดยเลือกตั้งประธานาธิบดีทุก 5 ปี

สภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ลงคะแนนเลือก
นายกรัฐมนตรีซึ่งเสนอชื่อโดยประธานาธิบดี


มอนเตนิโกรเป็นประเทศที่มีภูเขาสูงติดทะเล
จึงมีความงดงามที่สุดแห่งหนึ่งจน

ทำให้นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันคือนาย Milo Djukanovic
ฝันให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของเศรษฐียุโรปและอาหรับ


เขาต้องการพัฒนาให้ Tivat เป็นเมืองท่าจอดเรือยอชต์
ของเหล่าเศรษฐีเช่นเดียวกับ Porto Mantenegro
ล่าสุดเขาได้ประกาศว่าใครก็ตามที่ลงทุนระหว่าง 500,000-645,000 ยูโร
หรือ 20-25.8 ล้านบาท ก็จะได้สัญชาติของมอนเตนิโกร
ซึ่งคุณทักษิณได้ไปก่อนหน้านี้แล้ว

ถึงแม้การเปิดให้คนทั่วไปมาลงทุนและใจถึงให้สัญชาติแบบนี้จะถูก
วิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นการ "ขายประเทศ"
โดย MANS หรือกลุ่มเฝ้าดูคอร์รัปชั่น
(ซึ่งเป็นเครือข่ายกับ Transparency International
กลุ่มเฝ้าติดตามคอร์รัปชั่นในระดับโลก)
เพราะเป็นการเปิดช่องให้ผู้คนหลากหลายประเภทมาเป็นพลเมือง

แต่เขาก็ไม่สะทกสะท้านเพราะมีฐานการเมืองในประเทศหนุนอย่างมั่นคง

Djukanovic เป็นนักการเมืองหน้าเก่าที่เป็นคนสำคัญ
ของประเทศมานานพอควรถึงแม้ว่าจะมี
อายุในปัจจุบันเพียง 48 ปีก็ตาม
เขาเป็นประธานาธิบดีมา 7 ปี เป็นนายกรัฐมนตรีมา 8 ปี
ล่าสุดพรรคเขาได้รับเลือกตั้งในต้นปี 2009
ด้วยจำนวนที่นั่งเกินกว่าครึ่งจนได้อยู่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ซึ่งทั้งหมดรวมกันแล้วเขามีอำนาจอยู่รวม 6 สมัยด้วยกัน


Djukanovic
เป็นคนอื้อฉาวพอควร
เมื่อก่อนเป็นสมัครพรรคพวกใกล้ชิดกับนาย Slobodan Milosevic
ผู้ร้ายฆาตกรของโลกชาว Serbia
แต่ต่อมาในปี 1996 ก็โดดหนี
และทิ้งระยะห่างของมอนเตนิโกรจาก Serbia

เขาถูกกล่าวหาว่าในทศวรรษ 1990
เป็นหัวเรือใหญ่ในการค้าบุหรี่เถื่อนระหว่างสงคราม
และมีเอี่ยวในธุรกิจหลายประการในชื่อของคนอื่น
ถึงแม้จะมีเงินเดือนเพียง 1,256 ยูโรต่อเดือน (50,000 บาท)
แต่เขาก็มีเงินลงทุนในบริษัทหลายแห่ง
(คำชี้แจงก็คือในช่วงปี 2006 ที่ไม่ได้มีตำแหน่งใด
เขาทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จนรวยจึงมีเงินลงทุนได้)

Djukanovic ผู้มีความสูงถึง 1.9 เมตร
ถูกกล่าวหาว่าช่วยเหลือนาย Stanko Subotic ชาว Serb
ผู้เกี่ยวพันกับการลักลอบนำบุหรี่หนีภาษี
ให้มาทำธุรกิจในประเทศอย่างเปิดเผย
นอกจากนี้รัฐบาลช่วยเหลือทางการเงินแก่ธนาคาร First Bank ของประเทศ
ซึ่งน้องชายของเขาถือหุ้นร้อยละ 46 และตัวเขาถือร้อยละ 2.8
โดยเป็นธนาคารเดียวเท่านั้นที่ได้รับเงินช่วยเหลือฉุกเฉิน
44 ล้านยูโร (1,760 ล้านบาท) จากรัฐบาล

การกระทำของนาย Djukanovic
ในเรื่องการต้อนรับคนมีเงินให้ไปลงทุนอย่างไม่สนใจประวัติ
ตลอดจนความอื้อฉาวในเรื่องคอร์รัปชั่น
ทำให้สั่นคลอนสถานภาพของมอนเตนิโกรใน
การสมัครเข้าเป็นสมาชิกของ EU

นอกจากนี้การลดภาษี VAT (ภาษีมูลค่าเพิ่ม)
จากร้อยละ 17 เป็น 7 เป็นการพิเศษให้แก่การลงทุนในโครงการสร้าง Tivat
ก็ทำให้ EU ไม่พอใจเนื่องจากถือว่า
เป็นการกระทำที่ไม่ก่อให้เกิดการแข่งขัน
มีนักลงทุนคนสำคัญเช่นเจ้าของบริษัทเหมืองทองใหญ่ที่สุดใน

โลกชาวแคนาดา และนักลงทุนใหญ่อื่นๆ

สนใจลงทุนในโครงการท่าเรือและการท่องเที่ยวต่างๆ

แต่ปัจจุบันก็ยังไม่ได้รับผลตอบแทนสูง

ดังที่ตั้งใจกันไว้จนถอนสมอกันไปหลายราย


ปัจจุบันมอนเตนิโกรมีปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ
เช่นประเทศยุโรปทั้งหลาย
ผลผลิตอะลูมิเนียมและเหล็กสร้างรายได้จากการส่งออกอย่างสำคัญ
แต่ที่สำคัญก็คือภาคการท่องเที่ยว
ในปี 2008 มีนักท่องเที่ยวประมาณ 1 ล้านคน
จนรายได้จากการท่องเที่ยวควบคู่กับเงินลงทุน
จากต่างประเทศเป็นตัวขับเคลื่อน สำคัญของเศรษฐกิจ

ความจำเป็นในการอยู่รอดและการพยายามรักษา
ความกินดีอยู่ดีของประชาชน
ให้อยู่ในระดับเดียวกับคนยุโรปอื่นๆ
(รายได้ต่อหัวเป็นเพียงร้อยละ 47 ของรายได้ต่อหัวเฉลี่ยของ EU)
และแข่งขันได้กับประเทศที่เคยเป็นสมาชิกของยูโกสลาเวียมาด้วยกัน
ทำให้ประเทศเล็กอย่างมอนเตนิโกร
ต้องใช้กลยุทธ์ในการระดมทุนที่เสี่ยง
ต่อชื่อเสียงของประเทศและตัวนายกรัฐมนตรีเอง

ถึงแม้
Milo Djukanovic ในวัย 48 ปี
จะเก๋าเกมส์การเมืองเพียงใด
เช่นเดียวกับผู้นำประเทศในวัย 40 ปี คนอื่นๆ เช่น
ประธานาธิบดี Obama และ
Julia Galliard นายกรัฐมนตรีออสเตรเลียวัยเดียวกัน คือ 49 ปี
นาย David Cameron นายกรัฐมนตรีอังกฤษวัย 44 ปี
แต่ทั้งหมดก็ไม่เคยผ่านประสบการณ์
ที่น่าตื่นเต้นเท่านายกรัฐมนตรีวัย 46 ปีของไทย
ผู้ซึ่งถูกรุมไล่ทุบรถ ฝ่าฟันความเป็นความตาย
เลือดเทหน้าบ้าน ต้องตัดสินใจยามวิกฤต
หน้าสิ่วหน้าขวานหลายครั้งหลายหน
ถูกปองร้าย และที่สำคัญ.....ถูกเอาอึปาบ้านถึง สองครั้ง

มีประเทศไหนบ้างครับที่นายกรัฐมนตรีต้องเผชิญกับอะไรขนาดนี้








สัมภาษณ์ : รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ “กำหนดเป้าหมายการปฏิรูปการศึกษา เด็กไทยต้องมีคุณภาพ”





รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ
อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
หนึ่งในสมาชิกเครือข่ายสถาบันทางปัญญา
ผู้เป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อนสร้างระบบการศึกษา
และเป็นอีกครั้งที่ทีมข่าวศูนย์ข้อมูลข่าวปฏิรูปประเทศไทยได้
รับเกียรตินั่งพูดคุยถึงการทำงาน
หลังจากอาจารย์วรากรณ์สวมหมวกอีกใบในฐานะรองประธานคนที่ 2
ของคณะกรรมการนโยบายปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2

ถึงวันนี้ได้จุดเน้นการปฏิรูปการศึกษารอบ 2 แล้วหรือยัง

รศ.ดร.วรากรณ์ : “ในภาพรวมของการปฏิรูปการศึกษารอบ 2 มีกรอบวางไว้แล้ว
อาจารย์ยงยุทธ ยุทธวงศ์ ได้วางไว้ของสคศ.ได้ทำไว้แล้ว ภายในปี 2556
จะพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา
และการเรียนรู้ของคนไทย เพิ่มโอกาสการเรียนรู้
และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
โดยมีกรอบการปฏิรูปอย่างเป็นระบบ 4 กรอบด้วยกัน คือ
1.พัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม่
2.พัฒนาคุณภาพครูยุคใหม่
3.พัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้ยุคใหม่ และ
4.พัฒนาการบริหารจัดการใหม่ เป็นกรอบที่ต้องดำเนินการตามนี้
เพียงแต่ว่าจะปฏิบัติอะไรได้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งเป็นสิ่งที่คณะกรรมการต้องพิจารณาต่อไป

สำหรับแนวทางที่นายกรัฐมนตรีพูดไว้แล้ว คิดว่าเป็นส่วนประกอบที่สำคัญมาก
นายกรัฐมนตรีพูดถึงความล้มเหลวที่ผ่านมาของการปฏิรูปการศึกษา
มีความจริงที่ต้องยอมรับในการทำงานด้านการศึกษา คือ
การศึกษาเป็นเพียงส่วนหนึ่งของกระบวนการสร้างคนเท่านั้น
ถ้าจะให้ไปข้างหน้าได้ต้องขับเคลื่อนทุกภาคส่วนในสังคมให้ไปในทิศทางเดียว กันด้วย
ภาคเอกชน ภาคสื่อสารมวลชน สื่อก็ต้องขยับเคลื่อนไปด้วยกัน
ไม่ใช่เพียงแต่กระทรวงศึกษาธิการเพียงอย่างเดียว ขณะที่หน่วยงานของราชการ
ยังผูกขาดอำนาจในเรื่องของการจัดการที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการเปลี่ยนแปลง”

ถามถึงเป้าหมายสำคัญการปฏิรูปการศึกษารอบนี้

รศ.ดร.วรากรณ์ : “เป้าหมายของการปฏิรูปอยู่ที่เด็ก เยาวชน และลูกหลาน
ไม่ได้อยู่ที่ในความก้าวหน้าในเรื่องซีของบุคคลที่ทำงานอยู่ในวงการศึกษา
หัวใจสำคัญอยู่ที่ว่าจะทำอย่างไรให้ลูกหลานของเรามีคุณภาพ
ซึ่งเป็นสิ่งที่นายกรัฐมนตรีได้พูดไว้สองข้อ ซึ่งผมเชื่อว่า
เป็นความจริงที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าถ้าเราจะมาปฏิรูปกัน
แล้วดูแต่ในเรื่องของโครงสร้างเพียงอย่างเดียว
แม้ว่าโครงสร้างจะต้องมีการปรับปรุงบ้าง แต่จุดสนใจไม่ควรไปที่เรื่องของโครงสร้าง
อยู่ที่จะทำอย่างไรให้เด็กได้รับประโยชน์มากที่สุด ควรมุ่งเน้นไปที่ตัวเด็ก
ถ้าเริ่มคิดที่จะไปจากกรอบการบริหารไปถึงโรงเรียน ขอให้คิดกลับทาง
ควรจะเริ่มต้นที่ตัวเด็กก่อน ตรงไปที่โรงเรียนแล้ว
ย้อนกลับไปว่าต้องบริหารอย่างไร เพื่อจะได้สิ่งที่เราต้องการ”

“เด็กจะดีได้ต้องมาจากครู ถามว่าแล้วครูที่ดีจะมาจากไหน
ต้องไล่ไปเรื่อยๆ แต่ถ้าไปเริ่มต้นต้องพัฒนาพื้นฐานเป็นทบวง กว่าจะไปถึงครูถึงเด็ก
ผมว่าก็หายไประหว่างทางเรียบร้อยแล้ว
แต่ถ้าคิดกลับกันเริ่มต้นจากเด็กว่าเด็กต้องการอะไรบ้าง
อะไรที่ทำให้โรงเรียนดีขึ้น อะไรที่ทำให้เด็กดีขึ้น
ก็ต้องย้อนกลับไปว่าต้องการอะไรบ้าง
สิ่งนี้อาจจะเป็นวิธีการที่จะช่วยให้การมองเห็นเรื่องนี้ชัดเจนมากขึ้น”
พูดถึง “สมัชชาปฏิรูปการรูปการศึกษา”
เหมือนหรือต่างกับสมัชชาสุขภาพ

“สมัชชาปฏิรูปการรูปการศึกษา เป็นการเชิญคนหลากหลายมาประชุมกัน
และรับฟังความคิดเห็น แล้วก็พูดกันถึงเรื่องวิธีปฏิบัติ
ลำดับความสำคัญความเห็นต่างๆ เพราะว่าเป้าหมายได้ออกมาแล้ว
ให้วิธีการปฏิบัติทั้งหลายคณะกรรมการของอาจารย์ยงยุทธ ยุทธวงศ์
ได้ออกมาแล้วก็เหลือแต่ปฏิบัติ
ทางสมัชชาฯ จะฟังความเห็นคนที่หลากหลาย เพื่อให้การปฏิรูปการศึกษา
มีความชัดเจนยิ่งขึ้น เพราะการศึกษานั้นสำคัญเกินกว่า
การที่จะทิ้งไว้ในมือคนในวงการศึกษา
ต้องมอบให้กับคนที่อยู่นอกวงการศึกษาด้วย
และคงไม่เหมือนกับสมัชชาสุขภาพ
สำหรับสมัชชาการปฏิรูปการศึกษาในความเห็นส่วนตัว
คิดว่าหมายถึงการประชุม มากกว่า”
เมื่อถามถึงความไม่เป็นธรรมทางสังคม
ที่หลบซ่อนอยู่ลึกๆ ในระบบการศึกษาไทย

รศ.ดร.วรากรณ์ ได้ยกกรณีที่หลายมหาวิทยาลัย
พยายามตั้งแคมป์กวดวิชาเพื่อการสอบตรงของเด็ก
เพื่อฝึกเด็กให้เข้ามาในมหาวิทยาลัย โดยเห็นว่า
จะเกิดความเหลื่อมล้ำระหว่างเด็กที่มีเงินและไม่มีเงิน
“คนอื่นหรือมหาวิทยาลัยเอกชนทำคงไม่เป็นไร
แต่ประเด็นคือเป็นเรื่องเชื่อมต่อโยงกับอาจารย์คณะที่เข้ามหาวิทยาลัย
อย่างนี้ก็ไม่ค่อยดี เพราะว่าทำให้เกิดข้อได้เปรียบเสียเปรียบขึ้นมา
ว่า ในการติวในการสอน ถ้ามีอาจารย์จากคณะนั้น
สถาบันนั้นมา ก็ทำให้เกิดความสงสัย
ความกริ่งเกรงว่ามีข้อได้เปรียบเสียอะไรเกิดขึ้น
(จากการเข้าแคมป์กวดวิชาของสถาบันนั้นๆ)
ก็คล้ายๆ กับโรงเรียนติวที่มีอาจารย์
จากโรงเรียนนั้นมาสอนเรื่องนี้ไม่ค่อยสวย”

“มหาวิทยาลัยต้องพิจารณา หลายคณะทำแบบนี้สมควรทำหรือไม่
ถ้าเอกชนทำก็ทำโดยที่ต้องไม่มีอะไรเกี่ยวพันกับมหาวิทยาลัยหรือคณะเลย
แต่ถ้ามีคนของคณะเข้าไปเกี่ยวทำให้สงสัยในการได้เปรียบเสียเปรียบ
เหมือนกับอาจารย์ในมหาวิทยาลัยไปตั้งโรงเรียนกวดวิชเสียเอง ผมก็ไม่เห็นด้วย
ซึ่งทางสภามหาวิทยาลัยมีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงในการกำกับดูแล
ฉะนั้นต้องกำกับในเรื่องนี้ว่าสมควรให้มีเหตุการณ์ลักษณะนี้หรือไม่”

จริงหรือไม่ที่รัฐลงทุนการศึกษาไปที่อุดมศึกษามากกว่าการศึกษาขั้นพื้นฐาน

รศ.ดร.วรากรณ์ : “คงไม่จริง ถ้าการลงทุนในที่นี้หมายถึงเงินที่ลงไปนั้น
เงินส่วนใหญ่ลงไปที่การศึกษาพื้นฐานมาก
ส่วนอุดมศึกษาได้เพียง 50,000 ล้านบาทต่อปี
การศึกษาขั้นพื้นฐานได้ตั้ง 250,000 ล้านบาท
ถ้าดูในรูปงบประมาณแต่ถ้าดูในรูปความช่วยเหลืออุดมศึกษา
ได้รับการช่วยเหลือมากมีการกู้ยืมต่างๆ
ทำให้คนในอุดมศึกษาสามารถได้เรียน ได้รับทุน เรียกว่าได้มาก
เพราะคนที่เรียนในมหาวิทยาลัยไม่ได้จ่ายตามทุนจริง เช่น
คนเรียนแพทย์ต้นทุนปีละล้านกว่าบาท
วิศวกรรมศาสตร์ประมาณปีละ 800,000 กว่าบาท
ต้นทุนคนที่เรียนจ่ายเพียงปีละไม่กี่หมื่นบาท

อย่างนี้เท่ากับว่ารัฐเก็บเงิน 800,000 บาท แต่บอกว่าช่วยเหลือคนที่เรียน
โดยออกเองแค่ 50,000 บาท อีก 750,000 บาทเอาคืนไป
ถ้าถามว่าคนเหล่านี้เป็นใครก็คนมีฐานะมีการศึกษาทั้งนั้น
ที่ลูกสามารถจะไปสอบเข้าได้
คนพวกที่ไม่มีฐานะก็แพ้ตกออกตั้งแต่ม.5 ม.6 ป.4 ป.5 ป.6 แล้ว”

เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม ดร.วรากรณ์ เห็นว่า แพ้คัดออกเด็กพวกนี้
ต้องได้รับการอุดหนุนช่วยเหลือด้านการศึกษาด้วย
มีการศึกษานอกระบบตามอัธยาศัยที่มีประสิทธิภาพ
"แน่นอนประเทศไทยจำเป็นต้องการคนที่มีการศึกษาทางด้านแพทย์ วิศวกร
แต่ว่าไม่ใช่ในราคาที่ต่ำ ต้องเก็บในราคาที่สูงกว่านี้
เชื่อว่าแพงกว่านี้พ่อแม่คนที่มีลูกเรียนวิศวกรรมศาสตร์ก็ยินดีที่จะจ่าย ได้
คนไหนไม่มีทุนก็ให้เรียนฟรีไป นำเงินที่ได้มากๆ
จากคนมีฐานะที่สามารถจะจ่ายได้มาเก็บไว้
แล้วนำมาเป็นทุนไว้ให้คนที่ไม่มีได้รับสิทธิตรงนี้
เราจะได้ไม่ต้องจ่ายเงิน ส่วนนี้ให้กับอุดมศึกษา
แต่ให้กับสพฐ. (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน) แทน”

เมื่อถามว่า สุดท้ายการศึกษาจะช่วยสร้างความสมานฉันท์
ช่วยแก้ความทุกข์ยากของแผ่นดิน ได้อย่างไรบ้าง

รศ.ดร.วรากรณ์ นั่งคิดอยู่นาน ก่อนจะยอมรับว่า

“ยังหาคำตอบเรื่องนี้ไม่ได้ กำลังคิดและทำการศึกษาเรื่องนี้อยู่”



มติชน
วันที่ 08 สิงหาคม พ.ศ. 2553

"นักการเมือง-นักวิชาการ"สับแหลกระบบการศึกษาสอนไม่เชื่อมโลกความจริง
ปั้นเด็กให้เก่งด้านเดียว


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 13.00 น. เมื่อวันที่ 8 ส.ค. ที่ห้องประชุมอาคารข่าวสด
เครือมติชนได้จัดโครงการอบรม "ผู้นำ-นำการเปลี่ยนแปลง"
และมีการเสวนาพิเศษในหัวข้อ "การปฏิรูปการศึกษา"
โดยมีนายวรากรณ์ สามโกเศศ อธิการบดี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
รองประธานคนที่ 2 ของคณะกรรมการนโยบายปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2
นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา
และนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ
สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมเสวนา

นายวรากรณ์ กล่าวว่า ขณะนี้ประเทศไทยมีโรงเรียน 31,000 โรง
ขณะที่มีครูจำนวน 430,000 คน ซึ่งกระจายในแต่ละโรงเรียนไม่เท่ากัน
ส่วนมากกระจุกตัวอยู่ในเขตเมือง เนื่องจากกระทรวงศึกษาธิการ
ไม่สามารถสั่งให้ครูไปในพื้นที่ต่างๆได้ ไม่เหมือนอัยการ
นอกจากนี้ครูยังเป็นองค์กรการเมืองใหญ่ที่สุด
หลายคนที่เป็นนักการเมือง ก็มีเส้นทางการเมืองมาจากครู
นอกจากนี้ อีก 10 ปีข้างหน้า ครูประมาณ 2 แสนคนจะเกษียณอายุราชการ
เราจึงต้องหาคนมีคุณภาพเติมเข้าไป ยิ่งไปกว่านั้น
อาจารย์ในคณะครุศาสตร์อีก 48% ก็จะเกษียณเช่นกัน


ส่วนจะปฏิรูปอย่างไรนั้น ทุกคนต้องมีความคิดตรงกันว่า
การศึกษาสำคัญกว่าจะทิ้งไว้ในมือของกระทรวงศึกษาธิการ
ทุกคนต้องร่วมมือกัน รวมทั้งต้องยกเครื่องบริหารจัดการครู
พัฒนาคุณภาพครู เช่น หาคนมีคุณภาพมาเป็นครู
ให้โรงเรียนมีความเป็นอิสระมากขึ้น ปรับปรุงหลักสูตรครั้งใหญ่
เพื่อให้ปฏิสัมพันธ์กับความเป็นจริง


"ถ้าทำให้การศึกษาเป็นเรื่องธรรมดา
เป็นธรรมชาติของเราเอง ทุกคนก็จะมีส่วนร่วมแก้ไข"
นายวรากรณ์ กล่าว


ด้านนายวีระศักดิ์ กล่าวว่า ปัญหาใหญ่ของระบบการศึกษา คือ
1.ความเหลื่อมล้ำ ทุกคนอยากอยู่ในเขตการศึกษา1 ไม่มีใครอยากไปอยู่บ้านนอก
2.ความยืดหยุ่น ต่างประเทศบางแห่งให้นักเรียนข้ามไปเรียนบางวิชากับโรงเรียนแห่งอื่นได้
หากคิดว่าตลาดวิชาในโรงเรียนไม่มีวิชาที่ตัวเองสนใจ เรียกว่า Cross Education
แต่เมืองไทยยังไม่มีแบบนี้ ทางออกคือต้องเชื่อมหลักสูตรเข้าหากันให้มากที่สุด


"เรื่องของการไม่เชื่อมชีวิตจริงกับเข้าชีวิต ในโรงเรียน
ลูกผมอยู่ป.2 เพิ่งสอบมิดเทอม ถามว่าวันนี้สอบอะไร
เขาก็ตอบกลับมาว่าวันนี้ข้อสอบถามว่า สิทธิกับเสรีภาพต่างกันอย่างไร
ผมยังตอบไม่ค่อยได้ คำถามก็คือว่าเขาเอาความรู้ที่มันเหมาะกับช่วงวัย
ความรู้ที่เหมาะจะไปใช้ชีวิตของเขามากน้อยแค่ไหน
เป็นการท่องอย่างเดียวหรือเปล่า เราจะเอาระบบข้าราชการไปแก้ปัญหานี้ไม่ได้
ต้อง ทำให้โรงเรียนรับความช่วยเหลือจากผู้มีประสบการณ์ในระบบการทำงาน
คนจากโรงงาน คนจากออฟฟิศต่างๆ หน่วยต่างๆ
ช่วยกันให้คำแนะนำให้ความรู้กับเด็ก เพราะคนนั้นจะรู้ดีกว่า"


ขณะที่นายกิตติรัตน์ กล่าวว่า การเรียนแบบ "อะไร" และ "ทำอย่างไร"
ดูเหมือนไม่พอ เพราะจะได้ผลชั่วคราว แต่ควรให้ความสำคัญกับสิ่งที่เรียกว่า "ทำไม" เช่น
นักเรียนจีนเรียนวิชาภาษาอังกฤษ พวกเขารู้ว่าเรียนแล้วจะสามารถเปิดโลกทัศน์ได้
นำไปสู่ความรู้อื่นๆได้ เขาก็ตื่นตัวและรู้ว่าเรียนทำไม
จากนั้นจะตะเกียกตะกายไปหาสิ่งนั้นอย่างสนุกสนาน ไม่ใช่แค่เรียนให้สอบผ่าน


"มีโรงเรียนบางโรงเรียนอ้าง วิชาการดีเลิศ ดนตรีดีเยี่ยม กีฬาเด่น
แต่ที่จริงพบว่ามีเด็กกลุ่มหนึ่งวิชาการอย่างเดียว
รูปร่างอ้วนท้วนใส่แว่นหนาเตอะ กีฬาไม่เล่น ดนตรีไม่รู้จัก
และในโรงเรียนเดียวกัน นักเรียนเล่นกีฬาอย่างเดียว เป็นช้างเผือก
แข่งขันตลอดเวลา เวลาเข้าเรียนแทบไม่มี อ่านหนังสือแทบไม่ออก
แต่ว่าเป็นนักกีฬาทีมชาติในชนิดนั้น
โรงเรียนเดียวกันอีกมีวงโยธวาทิตที่ส่งไปแข่งขันระดับนานาชาติได้
เชิดหน้าชูตาสถาบัน เด็กเหล่านั้นกีฬาไม่เล่น
วิชาการก็ไม่เคยแตะ เพราะซ้อมอยู่ตลอด คำถามคือ
อย่างนี้หรือคือสิ่งที่เราต้องการให้เกิดขึ้นในเด็กคนหนึ่ง
ซึ่งกำลังจะออกมาเป็นคนที่มีความสามารถในสังคม
เราแค่ต้องการให้มีนักเรียนที่ถึงพร้อมด้วยวิชาการพอสมควร
เข้าใจเรื่องกีฬา รู้จักแพ้รู้จักชนะ
เข้าใจเรื่องของดนตรีที่มีส่วนทำให้เกิดสมาธิ
เข้าใจศิลปวัฒนธรรมที่นำไปสู่ความงดงามของโลกอื่นๆ"

นายกิตติรัตน์ กล่าวว่า มีกลุ่มโรงเรียนจำนวน หนึ่ง เรียกว่า"โรงเรียนทางเลือก"
บางโรงเรียนอยู่กลางท้องนา อยู่ต่างจังหวัด และอยู่ฝั่งธนบุรี
ได้จัดการเรียนการสอนแบบใหม่ ทำให้เด็กขวนขวาย
หิวกระหายอยากได้ความรู้ เรียนรู้ร่วมกันไปกับโรงเรียน
ซึ่งเป็นความหวังของกระบวนการศึกษา
เราต้องคิดว่าทำอย่างไรที่จะทำให้โรงเรียนทางหลักเหล่านั้น
กลายเป็นโรงเรียนทางเก่า ซึ่งต้องเปลี่ยนแปลงสักที














ศ. ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ (ว่าที่) อธิการบดีม.ธรรมศาสตร์คนใหม่

มติชนออนไลน์
วันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2553


ทำความรู้จัก "ดร.สมคิด" (ว่าที่) อธิการบดีม.ธรรมศาสตร์คนใหม่ เส้นทางและความใฝ่ฝัน

ถ้าไม่มีฟ้าผ่า!!!
ว่าที่ผู้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(มธ.)คนใหม่
น่าจะได้แก่ ศ.ดร. สมคิด เลิศไพฑูรย์ รองอธิการบดี ฝ่ายการคลัง
ซึ่งจากผลการหยั่ง 3 ฝ่ายเมื่อไม่นานมานี้
ศ.ดร.สมคิด คว้าชัยมาได้ทั้งหมด 30 หน่วย
ที่คะแนน 1,722 คะแนน จากทั้งหมด 45 จุดเสนอชื่อแซงหน้าคู่แข่งอย่าง
ศ.ม.ร.ว. พงษ์สวัสดิ์ สวัสดิวัตน์ คณบดีวิทยาลัยนวัตกรรม
และ รศ.ดร.กําชัย จงจักรพันธ์ อดีตรองอธิการบดี ม.ธรรมศาสตร์
ไปได้ตามความคาดหมาย
และแม้ว่า การหยั่งเสียงดังกล่าวจะยังไม่สิ้นสุดเพราะต้องฝ่าด่าน สภามหาวิทยาลัยอีกครั้ง
เพื่อชี้ขาดเป็นขั้นตอนสุดท้าย
แต่เชื่อว่า ชั่วโมงนี้ หลายคนคงอยากจะทำความรู้จัก
ว่าที่ อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โดมผู้นี้กันมากขึ้นอย่างแน่นอน
ถ้าอย่างนั้นมติชนออนไลน์ขอนำเสนอประวัติคร่าวๆของ ศ.ดร.สมคิด
หรืออาจารย์ตู่ ของเหล่านักศึกษา
รวมถึงขออนุญาตหยิบยกข้อมูลการแนะนำตัวของเขาต่อ
ลูกแม่โดมมานำเสนอมาให้ได้ทราบกัน
ศาสตราจารย์ ดร. สมคิด เลิศไพฑูรย์
เกิดเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2502 ที่กรุงเทพมหานคร
จบการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย
จากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา พญาไท ใน พ.ศ. 2520
และคว้าปริญญาตรีจากคณะนิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เมื่อ พ.ศ. 2525 จากนั้นก็สำเร็จด้านเนติบัณฑิตไทย
พ.ศ. 2527
รวมถึงไปศึกษาต่อด้าน D.E.A. de droit public interne (Paris II, FRANCE)
และได้ประกาศนียบัตรว่าด้วยการปกครองท้องถิ่น
จากสถาบัน IIAP. จากประเทศฝรั่งเศส
ด้านสถานะครอบครัว สมรสกับนางฉัตรแก้ว นิธิอุทัย
มีบุตรฝาแฝด 2 คน คือ ด.ช.ฐากร และ ด.ช.ฐากูร เลิศไพฑูรย์
ดร. สมคิด เริ่มรับรับราชการที่ มธ. เมื่อวันที่ 11 ตุลาค
ม 2526

ซึ่งจนถึงปัจจุบันเขาทำงานในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มาแล้ว 27 ปี
โดยตำแหน่งปัจจุบัน คือ รองอธิการบดี ฝ่ายการคลัง
และคณบดีคณะนิติศาสตร์ รวมถึงยังเป็น
ศาสตราจารย์ประจำภาควิชากฎหมายมหาชน ระดับ 1
0 คณะนิติศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ศ.ดร.สมคิด ได้เขียนไว้ในคำแนะนำตัวการสมัคร
เป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เนื่อง
ด้วยที่เขามีความมั่นใจว่า เขามีความรู้ ความสามารถ
และประสบการณ์เพียงพอที่จะนำพามหาวิทยาลัยไปยังจุดหมายปลายทางที่ประชาคม ธรรมศาสตร์ตั้งความหวังไว้
"ผมภูมิใจในความเป็นธรรมศาสตร์ ไม่เคยคิดย้ายมหาวิทยาลัยไปอยู่ที่อื่น
แม้แต่ วินาทีเดียว ในวันที่รุ่นพี่รับเพื่อนใหม่
รุ่นพี่ถามถึงคำขวัญของธรรมศาสตร์
ผมตอบรุ่นพี่คนนั้นอย่างเต็มปากเต็มคำว่า
ที่ผมตั้งใจมาอยู่ธรรมศาสตร์เพราะ ผมรักธรรมศาสต
ร์
เพราะ “ธรรมศาสตร์สอนให้ผมรักประชาชน
สี่ปีที่ผมอยู่ในธรรมศาสตร์ในฐานะนักศึกษา
ผมไม่ได้พอใจแต่เพียงการสะสมความรู้ทางวิชาการกฎหมายเท่านั้น
นอกเหนือจากวิชาการที่อาจารย์ทั้งหลายได้สั่งสอน
ผมได้ เข้าร่วมกิจกรรมอย่างเข้มแข็งกับพรรคแสงธรรม
พรรคนักศึกษาที่ได้รับการเลือกตั้งเป็น อมธ.ตลอดสมัยที่ผมเป็นนักศึกษา ผมได้ซึมซับจิตวิญญาณธรรมศาสตร์
จิตวิญญาณที่รักความ เป็นธรรม
กล้าต่อสู้เพื่อความถูกต้อง
กล้าท้าทายสิ่งใหม่ๆ ที่ดีที่งาม..."
ว่าที่อธิการบดี มธ. คนใหม่ระบุไว้เมื่อครั้งที่ ศ.ดร.สมคิด เข้ามาเป็นอาจารย์ธรรมศาสตร์ในปี 2526
เขาก็ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ช่วยคณบดีฝ่ายการนักศึกษา คณะนิติศาสตร์
ควบคู่ไปกับการสอนหนังสือ หลังจากนั้นเขาก็รู้สึกว่า
เป็น "หนี้"ธรรมศาสตร์ หลังจากถูกส่งไปเรียนปริญญาเอกด้วยทุนรัฐบาลฝรั่งเศส
โดยใช้เวลา 5 ปี ที่มหาวิทยาลัยปารีส
เขาก็สามารถคว้าด๊อกเตอร์อองดัวร์กลับมาทำงานเพื่อใช้หนี้ธรรมศาสตร์เมื่อ อายุ 30 ปี
จากนั้นก็ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ช่วยรองอธิการบดีฝ่ายการนักศึกษา
ของผู้ช่วย ศาสตราจารย์ ดร.ปรีชา สุวรรณทัต
และผช.ศาสตราจารย์ ดร. พนม เอี่ยมประยูร
เป็นบรรณาธิการวารสารธรรมศาสตร์ เป็นประธานสภาอา
จารย์
เป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์
เป็นผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและ
ให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TURAC)
คนแรก เป็นผู้อำนวยการสถาบันสัญญา ธรรมศักดิ์ เพื่อประชาธิปไตย
เป็นรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคลและกฎหมายเป็นประธานกรรมการข้อมูลข่าวสารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เป็นประธานกรรมการระเบียบและกฎหมายของมหาวิทยาลัย
และเป็นคณบดีคณะนิติศาสตร์คนปัจจุบัน
นอกจากงานของมหาวิทยาลัยและคณะนิติศาสตร์ดังกล่าวแล้ว
ศ.ดร.ยังได้รับเชิญจากหน่วยงานภายในธรรมศาสตร์
ให้ดำรงตำแหน่งอีกหลายตำแหน่ง ไม่ว่าจะเป็น
กรรมการสถาบัน SIIT กรรมการประจำคณะสาธารณสุขศาสตร์
กรรมการประจำวิทยาลัยนวัตกรรม
กรรมการบริหารโรงพยาบาลธรรมศาสตร์
กรรมการบริหารสำนักเสริมศึกษาและบริการสังคมกรรมการหอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เป็นที่ปรึกษาชุมนุมเทนนิสในอดีตและชุมนุมกรีฑาในปัจจุบัน
ซึ่งการได้ทำงาน "หลายหน้า" ในธรรมศาสตร์
ทำให้ ว่าที่อธิการมธ.ผู้นี้ เชื่อว่า
เขาเป็นคนที่เข้าใจและรู้จักธรรมศาสตร์มากที่สุดคนหนึ่งในยุคปัจจุบัน
ประสบการณ์ดังกล่าวน่าจะนำไปผลักดันให้ธรรมศาสตร์ก้าวไปข้างหน้าได้อย่าง เต็มภาคภูมิ
ในทางกฎหมาย ศ.ดร.สมคิดได้รับโปรดเกล้าฯ
ให้เป็นกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
(ต่อมาหน่วยงานนี้ได้ยกฐานะขึ้นเป็นศาลปกครอง)
ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.)
ในปี 2540 ,เลขานุการกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
พ.ศ. 2550
ในปัจจุบันยังได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นคณะกรรมการกฤษฎีกา คณะที่ 10
ซึ่งเป็นแหล่งรวมนักคิดทางกฎหมายของประเทศ
ในทางการบริหารมหาวิทยาลัย ศ.ดร.สมคิดได้รับโปรดเกล้าฯ
เป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทามหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต มหาวิทยาลัยราชมงคลรัตนโกสินทร์
และเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภาสถาบันพระปกเกล้า
เป็นผู้ก่อตั้งและรักษาการคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
ส่วนบริหารวิชาการ
เป็นกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการของมรภ.สวนสุนันทา
มรภ.ภูเก็ต มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยทัก
ษิณ ฯลฯ
ภารกิจด้านอื่นๆ ที่ได้รับการยอมรับระดับประเทศยังมีอีกหลายประการ เช่น
การเป็นกรรมการปฏิรูประบบราชการ กรรมการกระจายอำนาจ
ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
เป็นบอร์ดรัฐวิสาหกิจคือเป็นกรรมการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย
จากความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เรื่องกฎหมายการปกครองท้องถิ่น
ตำราเรื่องกฎหมายการปกครองท้องถิ่นที่ศ.ดร.สมคิดเขียนขึ้นในปี 2546 ซึ่งถือได้ว่า
เป็นตำรากฎหมายการปกครองท้องถิ่นที่ดีที่สุดเล่มหนึ่งในประเทศไทย
ทำให้เขาได้รับโปรดเกล้าฯเป็นศาสตราจารย์ทางกฎหมายมหาชนเมื่อปี พ.ศ. 2547
ศ.ดร.สมคิด กล่าวถึงตัวเองเอาไว้
"ยี่สิบหกปีที่ผมอยู่ในฐานะอาจารย์ธรรมศาสตร์ผมไม่เพียงแต่สอนหนังสือ ทำงานบริหาร
แต่ผมยังทำงานวิชาการด้วยการเขียนบทความ ตำรา
และงานวิจัยอีกเป็นจำนวนมาก (ตำราและหนังสือ 19 เล่ม
งานวิจัย 54 เรื่อง บทความ 126 ชิ้น) เพราะผมถือว่า
“งานวิจัยคือหัวใจของการพัฒนา” และ“งานวิชาการทำให้อาจารย์ไม่เป็นแก้วที่มีน้ำล้น”
สิ่งเหล่านี้สะท้อนได้จากการได้รับยกย่องจาก
ทั้งหน่วยงานภายในและหน่วยงาน ภายนอก เช่น
การได้รับรางวัลผลงานวิจัยดีเยี่ยมสาขานิติศาสตร์ประจำปี 2541
จากสภาวิจัยแห่งชาติ รางวัลชมเชยผลงานวิจัยสาขารัฐศาสตร์
และรัฐประศาสนศาสตร์ประจำปี 2546 จากสภาวิจัย
แห่งชาติ
รางวัลโครงการวิจัยดีเด่นด้านนโยบายสาธารณะ
ของคณะกรรมการนโยบายกองทุนสนับ สนุนการวิจัย
ประจำปี 2538 และรางวัลเชิดชูเกียรตินักวิจัย
ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 3 ปีซ้อน
(2550 - 2552) "
การได้รับการยอมรับจากองค์กรภายนอกมหาวิทยาลัยก็ทำให้
ศ.ดร.มีโอกาสผลักดัน ให้เกิดกฎหมายหลายฉบับที่เกิดประโยชน์แก่ประเทศไทย
ไม่ว่าจะเป็นรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน พ.ศ. 2540
รัฐธรรมนูญฉบับประชามติ พ.ศ. 2550
พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจาย
อำนาจ
ให้แก่องค์ปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542

งานวิจัยหลายชิ้นของว่าที่อธิการ มธ. คนใหม่
ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและปฏิรูประบบกฎหมายและการบริหารงานภาค
รัฐหลายกรณี เช่น การเกิดขึ้นของพระราชบัญญัติประกอบรัฐ
ธรรมนูญ
การยกเลิกงบพัฒนาจังหวัด
การเกิดขึ้นของคณะกรรมการพิทักษ์
ระบบคุณธรรมในกฎหมาย ก.พ. ฉบับใหม่ พ.ศ. 2550
การปรับปรุงยกฐานะวิทยาลัยชุมชนให้มีความเป็นอิสระ
อย่างแท้จริงตามร่างพระราชบัญญัติวิทยาลัยชุมชนฉบับใหม่ที่กำลังอยู่ใน ระหว่างการพิจารณาของรัฐสภา

นี่คงเป็นส่วนหนึ่งที่พอจะเป็นเครื่องยืนยันและการันตีได้ว่า
"ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์" เหมาะสมด้วยคุณสมบัติครบถ้วน
และคับไปด้วยการเป็นคนคุณภาพแบบเน้นๆ ที่จะนั่งเก้าอี้อธิการบดีมาหวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คนต่อไปอย่างแท้จริง

*******************************

ตำแหน่งปัจจุบัน

* คณบดีคณะนิติศาสตร์ และศาสตราจารย์ประจำภาควิชากฎหมายมหาชน
ระดับ 10 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
* ประธานกรรมการบริหารสถาบันสัญญา ธรรมศักดิ์ เพื่
อประชาธิปไตย
* กรรมการกฤษฎีกา คณะที่ 10 และคณะกรรมการพัฒนากฎหมาย
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
* รองประธานคณะกรรมการที่ปรึกษากฎหมายนายกรัฐมนตรี (นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ)
* กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
และกรรมการสภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิ สถาบันพระปกเกล้า
* อกพ. วิสามัญเกี่ยวกับการอุทธรณ์ และการร้องทุกข์ สำนักงาน ก.พ.
* อนุกรรมการเกี่ยวกับการอุทธรณ์ ร้องทุกข์ และจรรยา
บรรณ
สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา
* อกพร. เฉพาะกิจเกี่ยวกับการจัดและพัฒนาระบบโครงสร้างราชการ
และ อกพร. วิสามัญเฉพาะกิจเกี่ยวกับการรับรองมาตรฐานนักกฎหมายภาครัฐสำนักงาน ก.พ.ร.
* คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ มหาวิทย
าลัยราชภัฎสวนสุนันทา
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ฯลฯ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์และรางวัลที่ได้รับ
* มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.),ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.),
ประถมาภรณ์มงกฎไทย (ป.ม.),จตุตถดิเรกคุณาภรณ์
(จ.ภ.)
* เหรียญจักรพรรดิมาลา
* รางวัลโครงการวิจัยดีเด่นด้านนโยบายสาธารณะของคณะกรรมการ
นโยบายกองทุนสนับสนุนการวิจัย ประจำปี 2538
* รางวัลผลงานวิจัยดีเยี่ยมสาขานิติศาสตร์ ประจำปี 2541 จากสภาวิจัยแห่งชาติ
* รางวัลชมเชยผลงานวิจัยสาขารัฐศาสตร์และรัฐประศ
าสนศาสตร์ประจำปี 2546 จากสภาวิจัยแห่งชาติ
* รางวัลเชิดชูเกียรตินักวิจัยของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2550 – 2552)
* ศิษย์เก่าดีเด่นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2550

ผลงานทางวิชาการ
ตำราและหนังสือ 19 เล่ม
* กฎหมายการปกครองท้องถิ่น
* กฎหมายรัฐธรรมนูญ : หลักการใหม่ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2540* ตุลาการรัฐธรรมนูญ
* รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน : ข้อสังเกตพร้อมเชิงอรรถเรียงมาตรา
* คำบรรยายกฎหมายการคลังและภาษีอากร
* สิทธิและเสรีภาพของประชาชน
* กฎหมายเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน
* การกระจายอำนาจตามพระราชบัญญัติกำหนดแผ
นและ
ขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
* การปกครองส่วนท้องถิ่น
* การปกครองท้องถิ่นประเทศฝรั่งเศส
* คำอธิบายกฎหมายการคลัง พร้อมด้วยภาคผนวกรวม
กฎหมายการคลังและการงบประมาณ
* การตรวจสอบนักการเมืองตามรัฐธรรมนูญฉบับปั
จจุบัน
* การตรวจเงินแผ่นดิน
* หลักการใหม่ในกระบวนการการนิติบัญญัติ
* รวมบทความกฎหมายการปกครองท้องถิ่น
* รวมบทความกฎหมายการคลังและงบประมาณ (บรรณาธิการ)
* ศาลปกครอง (บรรณาธิการ)* รวมกฎหมายปกครอง (บรรณาธิการ)
* รวมกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญและกฎหมายสำคัญ
ที่ออกตามความในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 (บรรณาธิการ)
งานวิจัย 54 เรื่อง

* ระยะเวลาหนึ่งปีของงบประมาณ เสนอต่อมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
* รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันกับบทบัญญัติเรื่องการปกครองท้องถิ่น
งานวิจัยเสริมหลักสูตร เสนอต่อคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
* พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ เสนอต่อคณะกรรมการพัฒนาประชาธิปไตย (คพป.)
ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่และรางวัลโครงการวิจัยดีเ
ด่นโดยสำนักงานกองทุนสนับ สนุนการวิจัย, 2538
* แนวทางการพัฒนากฎหมายเกี่ยวกับการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองท้องถิ่น (วิจัยร่วม)
เสนอต่อคณะกรรมการพัฒนากฎหมาย คณะกรรมการกฤษฎีกา
* การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาประชาธิปไ
ตย : ศึกษาเฉพาะกรณีองค์การบริหารส่วนตำบล (วิจัยร่วม)
เสนอต่อสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2541
* งบพัฒนาจังหวัดของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (หัวหน้าคณะผู้วิจัย) เสนอต่อสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
* คำพิพากษาฎีกาที่เกี่ยวกับคดีปกครอง เสนอต่อส
ถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2541
* การจัดการปกครองท้องถิ่นแบบพิเศษ ศึกษากรณีจังหวัดภูเก็ต (หัวหน้าคณะผู้วิจัย)
เสนอต่อศูนย์ศึกษาการพัฒนาประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2541
* ความเหมาะสมในการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และแผนการดำเนินงานในการโอนกิจการขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานครเสนอต่อกระทรวงคมนาคม (วิจัยร่วม) (งานวิจัยดีเด่นด้านนิติศาสตร์ ของสภาวิจัยแห่งชาติปี พ.ศ.2540)
* Education Management and Financing in Thailand (วิจัยร่วม) เสนอต่อ UNESCO
* เขตอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรา 264
และมาตรา 266 (หัวหน้าคณะผู้วิจัย) เสนอต่อสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ, 2543
* Medium Term Recovery Strategy Assessment and Recommendations :
NESDB’s Ninth Plan Strategies (วิจัยร่วม) เสนอต่อ
National Economic and Social Development Board and Asian Development Bank, 2543
* การคลังรัฐบาลเพื่อสนับสนุนประสิทธิภาพและสร้
างความเป็นธรรมในสังคม (วิจัยร่วม), 2544
* สถานภาพและบทบาทของราชการบริหารส่วนภูมิภาคในอนาคต (หัวหน้าคณะผู้วิจัย)
เสนอต่อสถาบันดำรงราชานุภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย, 2544
* แนวทางพัฒนากฎหมายในบทบาทของผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอให้เอื้อต่อประสิทธิภาพการบริหารราชการส่วนภูมิภาค, 2544
* งานวิจัยกฎหมายข้อมูลข่าวสารทางปกครองของ
ประเทศฝรั่งเศส เสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, 2545
* การเสริมสร้างสมรรถนะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (วิจัยร่วม)
เสนอต่อกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย, 2545 (โครงการวิจัยร่วมกันระหว่างไทย
และญี่ปุ่น ภายใต้ความช่วยเหลือทางวิชาการจากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศญี่ปุ่น (JICA))
* การจัดตั้งสำนักงานประกันสังคมเป็นองค์การมหา
ชน (วิจัยร่วม) เสนอต่อสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน, 2545
* ประสิทธิผลของรัฐสภาไทย (วิจัยร่วม) ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยและสถาบันพระปกเกล้า, 2546
* การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยอาศัยกลไกของ
สำนักงานคลังเขตและสำนักงานคลังจังหวัด (หัวห
น้าคณะผู้วิจัย) เสนอต่อกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง, 2546
* ปรับปรุงแก้ไขและพัฒนากฎหมายเกี่ยวกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและกฎหมายที่
เกี่ยวกับการกระจายอำนาจ (หัวหน้าคณะผู้วิจัย) เสนอต่อสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี, 2546
* การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนโดยศาลรัฐธรรมนูญ (วิจัยร่วม)
โดยศูนย์การศึกษาพัฒนาประชาธิปไตย มหาวิทยา
ลัยธรรมศาสตร์, 2546
* การพัฒนาการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น (วิจัยร่วม) เสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการมาตรฐาน
การบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย, 2546
* การมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจสอบการ
ดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบล (วิจัยร่วม)
สนับสนุนทุนการวิจัยโดยสำนักงาน ป.ป.ช. และ The United States Agency for International Development, 2546
* โครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการลดสภาพความเป็นนิติบุคคลของส่วนราชการ (หัวหน้าคณะผู้วิจัย)เสนอต่อคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.), 2547
* การศึกษาสภาพปัญหา แนวทางการปรับปรุงรูปแบบการบริหาร และแนวทางการพัฒนาพื้นที่เกาะสมุย (วิจัยร่วม)
เสนอต่อกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย, 2547
* โครงการศึกษาปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติการ
ท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522 (หัวหน้าคณะผู้วิจัย)
เสนอต่อการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, 2547
* โครงการศึกษาเพื่อทบทวนกระบวนการทำงานของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่ผ่านมา
และแนวทางที่พึงปฏิบัติในอนาคต (หัวหน้าคณะผู้วิจัย) เสนอต่อสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2548* คณะตุลาการรัฐธรรมนูญในประเทศฝรั่งเศส เสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, 2548
* ข้อบกพร่องและแนวทางแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน เสนอต่อสถาบันสัญญาธรรมศักดิ์เพื่อพัฒนาประชาธิปไตย, 2548
* การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดบริการสาธารณะที่เ
ชื่อมโยงระหว่างราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และท้องถิ่น (วิจัยร่วม)
เสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ, 2549
* แนวทางการปรับปรุงโครงสร้างและระบบการทำงานสำนักบริหารการลงทุน สำนักงานประกันสังคม (หัวหน้าคณะผู้วิจัย)เสนอต่อสำนักงานประกันสังคม, 2549
* โครงการศึกษาเพื่อวางระบบวิธีพิจารณาด้านพิทักษ์ระบบคุณธรรมและดำเนินการ
เพื่อออกกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการพิจารณาอุทธรณ์ ร้องทุกข์ ร้องเรียน
และเตรียมความพร้อม (วิจัยร่วม) เสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน, 2549
* ศึกษาและจัดทำพระราชบัญญัติวิทยาลัยชุมช
น เสนอต่อสำนักบริหารงานวิทยาลัยชุมชน, 2549
* โครงการวางระบบการบริหารจัดการเกี่ยวกับคณะกรรมการ (ก.พ.ค.) และเตรียมความพร้อมในการสรรหาคณะกรรมการ ก.พ.ค.
และองค์คณะวินิจฉัย (หัวหน้าคณะผู้วิจัย) เสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน, 2549
* ศึกษาเพื่อพัฒนากฎหมายเกี่ยวกับการงบปร
ะมาณในบระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน ตามยุทธศาสตร์ในเชิงนโยบาย (Agenda)
มิติโครงสร้างหน้าที่ (Function) และมิติพื้นที่ (Area) (หัวหน้าคณะผู้วิจัย) เสนอต่อสำนักงบประมาณ, 2549
* พัฒนาเครือข่ายศูนย์ความรู้สาธารณะด้านก
ารจัดการทุนมนุษย์ (วิจัยร่วม) เสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน, 2549
* เสนอแนะแนวทางในการพัฒนาการจัดทำความเห็นและข้อเสนอแนะ รวมทั้งเสริมสร้างระบบงานติดตามและประสานงานเกี่ยวกับความเห็น
และข้อเสนอแนะของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เสนอต่อคณะ รัฐมนตรี (วิจัยร่วม) เสนอต่อสำนักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2549
* แนวทางการพัฒนาและปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย
ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปการศึกษา เสนอต่อสำนักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2549
* ศึกษาวิจัย วิเคราะห์ และปรับปรุงหลักสูตรฝึกอบรมบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (วิจัยร่วม) เสนอต่อกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น, 2550
* พัฒนาระบบบริหารงานและศักยภาพของคณะกร
รมการและผู้บริหารระดับสูง เสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ, 2550
* ศึกษาวิจัยเพื่อยกร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยธรรมาภิบาลทางการคลังที่ดี เสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ, 2550
* เสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพผู้นำการบริหารก
ารเปลี่ยนแปลง (Chief Change Officer : CCO)
เสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ, 2550
* การพัฒนาปรับปรุงกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดทางละเมิดของ เจ้าหน้าที่รัฐ (หัวหน้าคณะผู้วิจัย)
เสนอต่อกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง, 2550
* การติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของส
ภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ชุดที่ 2 (หัวหน้าคณะผู้วิจัย)
เสนอต่อสำนักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2550
* การศึกษาวิจัยกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยด้านอาหารเพื่อปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย
ว่าด้วยการควบคุมการฆ่าสัตว์และจำหน่ายเนื้อสัตว์ (วิจัยร่วม) เสนอต่อกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, 2550
* โครงการยกร่างกฎหมายเกี่ยวกับการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมของท้อง ถิ่น (วิจัยร่วม)เสนอต่อกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2551
* การศึกษาทัศนคติของสังคมต่อศาลยุติธรรมภายหลังการแยกศาลยุติธรรมออก จากกระทรวงยุติธรรม (หัวหน้าคณะผู้วิจัย)เสนอต่อสำนักงานศาลยุติธรรม, 2551
* การพิจารณาวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของบทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ
หรือการกระทำของบุคคลตามรัฐธรรมนูญซึ่งเสนอโดยศาลหรือผู้ตรวจการแผ่นดินของ รัฐสภา เสนอต่อสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ, 2551* โครงการศึกษาวิจัยเสริมสร้างประสิทธิภาพการบริหารจัดการเพื่อรองรับการ
ดำเนินงานของคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) (หัวหน้าคณะผู้วิจัย) เสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน, 2551
* การถ่ายโอนภารกิจหน้าที่ของรัฐให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เสนอต่อสถาบันสัญญาธรรมศักดิ์เพื่อประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรร
มศาสตร์, 2551
* โครงการวิจัยประเมินผลสัมฤทธิ์ขององค์การมหาชน (หัวหน้าคณะผู้วิจัย) เสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ, 2551
* โครงการศึกษาวิจัยรูปแบบและแนวทางการกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
กรณีศึกษาเปรียบเทียบแนวทางของต่างประเทศ (หัวหน้าคณะผู้วิจัย) เสนอต่อกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น, 2551* โครงการระบบบริหารราชการแผ่นดินเพื่อการจัดการงบประมาณในระบบงบประมาณแบบ
มุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ในเชิงมิติพื้นที่ (Area) (หัวหน้าคณะผู้วิจัย) เสนอต่อสำนักงบประมาณ, 2552


บทความในวารสารทางวิชาการ 59 ชิ้น
* วุฒิสภาไทย เพื่อประชาธิปไตยหรือเพื่อใคร ?, รพี, 2528
* งบประมาณขององค์การปกครองท้องถิ่นในประเทศฝรั่งเศส วารสารนิติศาสตร์, มีนาคม 2531* การควบคุมรัฐวิสาหกิจโดยศาลบัญชีในประเทศฝรั่งเศส วารสารนิติศาสตร์, กันยายน 2531
* ข้อความคิดเกี่ยวกับการควบคุมกำกับทางปกครอง ใน 60 ปี ดร.ปรีดี เกษมทรัพย์ รวมบทความเนื่องในโอกาสเกษียณอายุราชการ, 2532
* ข้อสังเกตบางประการในทางกฎหมายเกี่ยว
กับคำว่า “ภาษี” วารสารนิติศาสตร์, มีนาคม 2532
* รายได้จากภาษีขององค์การปกครองท้องถิ่นในประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน (แปล) วารสารอัยการ, พฤศจิกายน 2532
* องค์กรวิชาชีพ วารสารอัยการ, พฤศจิกายน 2532
* การควบคุมกำกับทางปกครอง (แปล) วารสาร
อัยการ, ธันวาคม 2532
* ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ “องค์การมหาชนอิสระ” วารสารนิติศาสตร์, ธันวาคม 2532
* นิติกรรมทางตุลาการ วารสารกฎหมายปกครอง เล่ม 9, เมษายน 2533
* การก่อตั้งหรือถือหุ้นในบริษัทจำกัดขององค์กรปกครองท้องถิ่น วารสารนิติศาสตร์, มิถุนายน 2533* หลักแห่งความได้สัดส่วน (แปล) วารสารนิติศาสตร์, ธันวาคม 2533
* การควบคุมกำกับของรัฐเหนือองค์กรปกครองท้องถิ่นในประเทศไทย วารสารกฎหมายปกครอง, เมษายน 2534
* รัฐธรรมนูญกับบทบัญญัติเรื่องการกระจายอำนาจ
วารสารกฎหมายสุโขทัยธรรมาธิราช, กรกฎาคม 2534
* ปัญหาการนำระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุมาใช้กับสัมปทาน บริการสาธารณะ, รพี 34
* ทฤษฎีว่าด้วยหนี้สาธารณะ วารสารนิติศาสตร์, กันยายน 2534
* การสืบทอดอำนาจของคณะรัฐประหารด้วยการบัญญั
ติเรื่องวุฒิสภาไว้ใน บทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญ จุลสารไทยคดีศึกษาฉบับพิเศษ, ธันวาคม 2534
* องค์กรที่ปรึกษาในประเทศฝรั่งเศส (แปล) วารสารกฎหมายปกครอง, กรกฎาคม 2535
* การปกครองท้องถิ่นตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน วารสารนิติศาสตร์, กรกฎาคม 2535
* ศาลรัฐธรรมนูญ ข่าวเนติบัณฑิตยสภา, สิงหาคม 2535
* องค์ประกอบของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญในประเทศไ
ทย ในรวมบทความทางวิชาการ
เนื่องในโอกาสครบรอบ 80 ปี ศาสตราจารย์ไพโรจน์ ชัยนาม พ.ศ. 2535
* ร่างพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาทางปกครอง รพีสาร, ตุลาคม – ธันวาคม 2535
* หลัก “ระยะเวลาหนึ่งปีของงบประมาณ” ในกฎหมาย
การคลัง วารสารนิติศาสตร์, ธันวาคม 2535
* กระบวนการวินิจฉัยสั่งการของฝ่ายปกครองตามพระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าสัตว์
และจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ. 2535 วารสารนิติศาสตร์, มีนาคม 2536
* การปรับปรุงประกาศของคณะปฏิวัติ รพีสาร เมษายน - มิถุนายน 2536
* ความคืบหน้าของการปรับปรุงประกาศของคณะปฏิวัติ รพีสาร, กรกฎาคม - กันยายน 2536
* การจัดตั้งศาลปกครองขึ้นในคณะกรรมการกฤษฎีกา รพีส
าร มกราคม – มีนาคม 2537
* การจัดตั้งสำนักงานรัฐสภาประจำจังหวัด รพีสาร, เมษายน – กันยายน 2537
* จากสภาตำบลสู่สภาตำบลนิติบุคคล รพีสาร, กรกฎาคม – มิถุนายน 2537
* สภาตำบลนิติบุคคลและองค์การบริหารส่วนตำบล วารสา
รนิติศาสตร์, กันยายน 2537
* การรวมกลุ่มขององค์การปกครองท้องถิ่นเพื่อจัดทำบริการสาธารณะ
เอกสารนิทรรศการสัมมนาฝรั่งเศส - ไทย เรื่องการปกครองท้องถิ่น, ธันวาคม 2537
* ผู้บริหารองค์การบริหารส่วนจังหวัดในประเทศฝรั่งเศส รพีสาร, มกราคม - มีนาคม 2538
* หลักการใหม่ๆ ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน รพีสาร, มกราคม – มีนาคม 2538
* พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญในประเทศฝรั่งเศส ใน
อาจาริยบูชา
รวมบทความทางวิชาการแด่ ศ.ไพโรจน์ ชัยนาม, มีนาคม 2538
* กระบวนการนิติบัญญัติในประเทศฝรั่งเศส เอกสารประกอบการอบรม
เรื่องรัฐสภาและกระบวนการนิติบัญญัติเปรียบเทียบ สถาบันพระปกเกล้า วันที่ 22 มีนาคม 2538
* เขต (arrondissement) ในปารีส ลียอง และมาเซย์
(แปล) วารสารนิติศาสตร์, มีนาคม 2538
* รัฐธรรมนูญกับการปฏิรูปการเมือง รพี 38
* กระบวนการงบประมาณแผ่นดินในประเทศฝรั่งเศส วารสารนิติศาสตร์, มีนาคม 2539
* การรวมกลุ่มขององค์การปกครองท้องถิ่น เพื่อจัดทำบริการสาธารณะ : สหการ วารสารนิติศาสตร์, มิถุนายน 2539* ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ : สิ่งใหม่ๆ ในร่างรัฐธรรมนูญ วารสารนิติศาสตร์, มีนาคม 2540
* กระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ วารสารนิติศาสตร์, กันยายน 2540
* สถานะทางกฎหมายของสภาตำบลนิติบุคคล ในรวมบทความเนื่องในโอกาสครบรอบ 84 ปี
ศ.ดร.ประยูร กาญจนดุล คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,
2540
* การคลังท้องถิ่น : ทัศนะในทางกฎหมายมหาชน วารสารนิติศาสตร์, มีนาคม 2541
* การปฏิรูปการปกครองท้องถิ่นตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ในรวมสาระรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน มติชน, มิถุนายน 2541
* รูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองส่วนท้องถิ่นตามรัฐธรรมนูญ
เอกสารประกอบการประชุมสัมมนาเพื่อรับฟังความคิดเห็น
เกี่ยวกับการมีส่วนร่วม ของประชาชนในการปกครองท้องถิ่น กรมการปกครอง, 2541
* หลักการใหม่ในกระบวนการนิติบัญญัติ สารานุกรมฉบับชาวบ้าน สถาบันพระปกเกล้า, 2542
* การปกครองส่วนท้องถิ่น สารานุกรมฉบับชาวบ้าน สถาบันพระปกเกล้า, 2542
* เทศบาลในประเทศฝรั่งเศส นิติสยามปริทัศน์, 2543
* รัฐธรรมนูญในอุดมคติของปรีดี พนมยงค์ เอกสารประกอบการสัมมนาวิชาการ
เนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปี ชาตกาลของ ศ.ดร.ปรีดี พ
นมยงค์, 2543
* หลักความเสมอภาค วารสารนิติศาสตร์, มิถุนายน 2543
* การเมืองของรัฐกับการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่น เอกสารประกอบการสัมมนาของสถาบันพระปกเกล้า
* 3 ปี แห่งการปฏิรูปการปกครองส่วนท้องถิ่นตามบทบั
ญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราช อาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2540 เอกสารประกอบการสัมมนา “สามปีแห่งการปฏิรูปการเมือง : ปฏิรูปได้แค่ไหน?”, 2543
* การปฏิรูปการปกครองท้องถิ่นภายใต้รัฐธรรมนูญ 2540 ใน นรนิติ เศรษฐบุตร 60 ปี กีรติยาจารย์, 2544* ภาษีมรดก วารสารนิติศาสตร์ ปีที่ 31 ฉบับที่ 2, มิถุนายน 2544
* การควบคุมและตรวจสอบ Double Standard ที่กระทำโดยหน่วยงานของรัฐ ในอาจาริยบูชา
รวมบทความทางวิชาการเนื่องในโอกาสครบรอบ 72 ปี ศาสตราจารย์ดร.อมร จันทรสมบูรณ์, 2545
* คดีทางปกครองที่เกี่ยวกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกสารประกอบการประชุมใหญ่
สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 46, 2546
* การถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในประเทศไ
ทย รพี 46

* คดี ป.ป.ช. : มิชอบด้วยกฎหมาย Vs ไม่ชอบด้วยกฎหมาย วารสารศาลรัฐธรรมนูญ ปีที่ 7 เล่มที่ 21 กันยายน–ธันวาคม 2548 *
รัฐธรรมนูญสิ้นสุดลง กฎหมายทั้งหลายสิ้นสุดลงด้วยหรือไม่ www.pub-law.net 23 พฤศจิกายน 2549
บทความอื่นๆ อีก 67 เรื่อง เช่น
* งบพัฒนาจังหวัดปัญหาในทางกฎหมายการคลังและกฎหมายรัฐธรรมนูญ สยามโพสต์ 17 สิงหาคม 2537
* แผนแม่บทกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ฐานสัปดาห์วิจารณ์ ฉบับที่ 181 วันที่ 11 - 17 ตุลาคม 2540
* การเลือกตั้งนายกเทศมนตรีโดยตรง ฐานสัปดา
ห์วิจารณ์ ฉบับที่ 225 วันที่ 15 - 21 สิงหาคม 2541
* ดูการเมืองฝรั่งเศสแล้วย้อนดูปฏิรูปการเมืองไทย วัฎจักร ฉบับที่ 3782 วันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2540
* มหาวิทยาลัยไทยกับการฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจ วัฎจักร 28 สิงหาคม พ.ศ. 2540
* การแสดงทรัพย์สินและหนี้สิน มิติใหม่ของนักการ
เมืองไทย วัฎจักร 9 ตุลาคม พ.ศ. 2540
* คุณสมบัติของนายกรัฐมนตรีไทยที่ถูกใจประชาชน วัฎจักร 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540
* รัฐธรรมนูญภาคพิสดารว่าด้วยชาวนากับงูเห่า วัฎจักร 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540
* โรคทุจริตรักษาไม่หายจริงหรือ? กรุงเทพธุรกิจ เมษายน 2553 ฯลฯ
ประสบการณ์การทำงาน
งานสอน
* อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (บรรยายกฎหมายรัฐธรรมนูญ
กฎหมายการคลังและภาษีอากร กฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมายปกครอง
กฎหมายภาษีทรัพย์สินและความ
มั่งคั่ง และกฎหมายว่าด้วยการปกครองท้องถิ่น)
* อาจารย์พิเศษคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (บรรยายวิชาการปกครองท้องถิ่นเปรียบเทียบ
สัมมนาการเมืองการปกครองของไทย และรัฐธรรมนูญพิสดาร)
และคณะวารสารศาสตร์ (บรรยายวิชาสั
มมนากฎหมายและจริยธรรมของสื่อสารมวลชน)
* อาจารย์พิเศษจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยบูรพา โรงเรียนนายร้อยตำรวจสามพราน สถาบันพัฒนาข้าราชการตำรวจ
* อาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยกรุงเทพ มหาวิ
ทยาลัยเกษมบัณฑิต มหาวิทยาลัยสยาม มหาวิทยาลัยพายัพ
มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ วิทยาลัยรัตนบัณฑิต

งานบริหารในธรรมศาสตร์* คณบดีคณะนิติศาสตร์
* รองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคลและกฎหมาย
* ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TU–RAC)
* ประธานสภาอาจารย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาส
ตร์
* บรรณาธิการวารสารธรรมศาสตร์
* กรรมการสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
* ประธานกรรมการบริหารสถาบันสัญญา ธรรมศักดิ์ เพื่อประชาธิปไตย
* ประธานกรรมการข้อมูลข่าวสารประจำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
* ประธานคณะกรรมการพิจารณาระเบียบและหลั
กเกณฑ์เกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงิน
* กรรมการประจำคณะนิติศาสตร์และคณะสาธารณสุขศาสตร์
* กรรมการประจำสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร
สำนักเสริมศึกษาและบริการสังคม วิทยาลัยนวัตกรรม
* กรรมการบริหารโรงพยาบาลธรรมศาสตร์
* หัวหน้าภาควิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์* ผู้อำนวยการโครงการประกาศนียบัตรกฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์

งานภายนอกมหาวิทยาลัยที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาและอุดมศึกษา
* คณะกรรมการปฏิรูปการศึกษาระดับอุดมศึกษา ทบวงมหาวิทยาลัย
* กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต มหาวิทยาลัยราชมงคลรัตนโกสินทร์
* กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภาสถาบันพระปกเกล้า
* คณะกรรมการบริหารงานพนักงานมหาวิทยาลัยทักษิณ
* กรรมการยกร่างหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลั
ยทักษิณ
* กรรมการบริหารหลักสูตรของวิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า
* ประธานคณะกรรมการวิจัยสถาบันพระปกเกล้า
* คณะกรรมการวิชาการสถาบันพระปกเกล้า
* เลขาธิการที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย
* อนุกรรมการกองทุนสงเคราะห์ครูใหญ่และครูโรงเรียน
เอกชน
* อนุกรรมการจัดทำและบริหารหลักสูตรกฎหมายปกครองสำหรับวิชาชีพทนายความ สภาทนายความ
* อนุกรรมการเกี่ยวกับการพัฒนาระบบบริหารงานบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
* อนุกรรมการเกี่ยวกับอุทธรณ์ ร้องทุกข์ และจรรยาบรร
ณ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
* กรรมการพัฒนาระบบราชการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
* กรรมการเสนอรูปแบบและกระบวนการในการจัดสรรทรัพยากรและการลงทุน เพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

งานด้านกฎหมายและนิติบัญญัติ
* กรรมการกฤษฎีกาคณะที่ 10 และกรรมการพัฒนากฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
* กรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ คณะกรรมการกฤษฎีกา
* ที่ปรึกษากฎหมายนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และประธานรัฐสภา* สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญประเภทผู้เชี่ยวชาญกฎหมายมหาชน พ.ศ. 2540
* เลขานุการกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550
* กรรมการยกร่างกฎหมายเกี่ยวกับวิธีพิจารณาทางปกครอง
* ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการการคลังการธนาคาร และสถาบันการเงิน สภาผู้แทนราษฎร
* กรรมการพิจารณาปรับปรุงประกาศของคณะปฏิวัติ
และประกาศหรือคำสั่งอื่นในลักษณะเดียวกัน
* กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการแสดงทรัพย์สินและหนี้สินของสมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
* คณะกรรมการศึกษาการจัดตั้งสำนักงานรัฐสภาประจำจังหวัด รัฐสภา
* คณะทำงานและอนุกรรมาธิการร่างพระราชบัญญัติผู้ตรวจราชการแผ่นดินของรัฐสภา
* คณะอนุกรรมการศึกษาพิจารณาเรียบเรียงบทบัญ
ญัติของรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง คณะกรรมการพัฒนาประชาธิปไตย
* ผู้เชี่ยวชาญกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ
* คณะอนุกรรมาธิการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางการปฏิรูปงบประมาณของคณะกรรมาธิการนโยบายและติดตามผล

งานงบประมาณรายจ่ายประจำปี สภาผู้แทนราษฎร* ผู้เชี่ยวชาญประจำตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และผู้ทรงคุณวุฒิประจำศาลรัฐธรรมนูญ
* กรรมการปรับปรุงกฎหมายการปกครองท้องถิ่นและการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่น
* คณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงกระบวนการนำเสนอ การพิจารณา และการอนุมัติพระราชบัญญัติของรัฐสภา
* อ.ก.พ. วิสามัญเกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบราช
การ สำนักงาน ก.พ.
* คณะกลุ่มงานด้านกฎหมาย สำนักงานปฏิรูปการศึกษา
* อนุกรรมการกฎหมายและระเบียบ ป.ป.ช.
* อนุกรรมการปรับปรุงกฎหมายเพื่อปฏิรูประบบราชการ
* อนุกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาและติดตามการปฏิรูประ
บบงบประมาณ
* ผู้ชำนาญการประจำคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง สภาผู้แทนราษฎร
* อนุกรรมการและคณะทำงานปรับปรุงพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535
* กรรมการกฎหมายสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
* ประธานอนุกรรมการเฉพาะกิจศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น
* กรรมการปฏิรูปการบริหารราชการฝ่ายรัฐสภา สำนักงานเลขาธิก
ารรัฐสภา

งานบริหารอื่นๆ
* กรรมการปฏิรูประบบราชการ
* กรรมการและประธานอนุกรรมการกฎหมาย การทางพิเศษแห่
งประเทศไทย
* คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการของข้าราชการองค์การบริหาร
ส่วนจังหวัด พนักงานเทศบาลและเมืองพัทยา และพนักงานส่วนตำบล
* คณะอนุกรรมการบริหารราชการส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น คณะกรรมการปรับปรุงระบบบริหารการปกครองท้องถิ่น* กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
* คณะกรรมการพัฒนาระบบกระจายอำนาจและการมอบอำนาจระหว่างส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค
และส่วนท้องถิ่นคณะกรรมการปฏิรูประบบราชการ
* กรรมการอำนวยการตามกฎหมายว่าด้วยการกำหนดแผ
นและขั้นตอนการกระจายอำนาจ กรุงเทพมหานคร
* ที่ปรึกษาสมาคมสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย
* ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการบริหารสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย
* อนุกรรมการด้านการถ่ายโอนบุคลากรและอำนาจหน้าที่
คณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
* คณะทำงานพิจารณาปรับโครงสร้างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ทั้งระบบ
* อนุกรรมการจัดทำคู่มือผู้ว่าราชการจังหวัดในการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ
* คณะอนุกรรมการองค์กรกลาง
* คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบกระจายอำนาจการบริหาร คณะกรรมการพัฒนาระบบบริหารราชการแผ่นดิน
* คณะอนุกรรมการฝ่ายมาตรการป้องกันและวางแผน คณะกรรม
การ ป.ป.ป.
* เลขานุการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปการเมือง
* เลขานุการและกรรมการพิจารณาจัดทำร่างแผนพัฒนาการเมือง
* คณะกรรมการสถาบันรัฐธรรมนูญศึกษา สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ
* คณะอนุกรรมการพิจารณาการคัดค้านการเลือกตั้ง กรรมการการเลือกตั้ง
* ที่ปรึกษาพิเศษสำนักงานศาลปกครอง* กรรมการพิจารณาจัดทำแผนพัฒนาการเมือง
* อ.ก.พ. วิสามัญเกี่ยวกับวินัยและการออกจากราชการ สำนักงาน ก.พ.
* อนุกรรมการพิจารณาการอุทธรณ์ของพนักงาน/ลูกจ้าง บริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)* คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการจัดทำนโยบายและแผนปฏิบัติการแม่บทด้านสิทธิมนุษยชน
* อนุกรรมการพัฒนาระบบราชการ คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
* อนุกรรมการเฉพาะกิจจัดสรรเงินอุดหนุนทั่วไปเพื่อลดช่องว่างทางการคลังฯ
* กรรมการพัฒนานโยบายและยุทธศาสตร์กำลังคนด้านสาธารณสุข
สำนักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ




Aug 25, 2010

ตาสว่างอย่าง สัญญา คุณากร




ในยุคนี้ ถ้าจะพูดถึงพิธีกรอันดับต้นๆของวงการบันเทิงไทย คงไม่มีใครไม่นึกถึง
สัญญา คุณากร ผู้ชายหน้าตี๋ อารมณ์ ยิ้มแย้ม
วันที่พบกัน เขาทักทายพูดคุยกับทุกคนที่พบเจออย่างเป็นธรรมชาติ
ขอย้ำว่า “อย่างเป็นธรรมชาติ”
จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ทุกครั้งที่ได้ชมเขา
สัมภาษณ์แขกรับเชิญในรายการจึงดู สบายๆ และเป็นกันเอง
ผู้ชายคนนี้ยังคงยืนหยัดอยู่ในวงการบันเทิงมาเป็นเวลานาน
โดยไม่เคยมีข่าวเสื่อมเสีย
คงจะเป็นเรื่องที่น่าเสียดายมากหากจะไม่เชิญเขามาพูดคุยสักครั้ง

สิ่งดีๆ ที่ได้จากการทำงาน

ตอน ที่ปฏิเสธเพราะรู้สึกไม่ถนัดที่จะสัมภาษณ์คน
และเจาะใจยุคแรกสุดมีช่วงละคร ด้วย
เขาเชิญแขกรับเชิญมาสัมภาษณ์แล้วก็ให้เล่นละคร เราก็เล่นกับเขา ด้วย
แต่ในส่วนของสัมภาษณ์ คุณดำรง พุฒตาล เป็นคนสัมภาษณ์
ส่วนผมก็นั่งเป็นไม้ประดับ มีจังหวะก็ถามนิดๆหน่อยๆ
แต่หลังจากนั้นรูปแบบรายการค่อยๆปรับเปลี่ยนเป็นทอล์คโชว์มากขึ้นๆ
ผมค่อยๆมีประสบการณ์ เพราะได้เรียนรู้วิธีการทำงานจากคุณดำรงก็เลยทำได้

ไปๆมาๆ เลยกลายเป็นพิธีกรคิวทอง แถมยังได้ค่าตัวเป็นเลขถึงหกหลัก

ไม่ ได้คิวทอง (เสียงสูง) พูดจริงๆนะ ผมไม่ใช่พิธีกรคิวทอง
ผมเป็นพิธีกรธรรมดา ค่าตัวของรายการไม่ถึงหกหลัก
เลขหกหลักเป็นงานนอกครับ ผมทำตั้งแต่ค่าตัว 20,000 บาท
แล้วทำมาตั้งสิบกว่าปีจะให้เท่าเดิมก็กระไรอยู่ (ยิ้ม)

อะไรทำให้พบว่าจริงๆ แล้วเกิดมาเพื่อทำหน้าที่พิธีกร

จน ทุกวันนี้ก็ยังไม่แน่ใจว่าเกิดมาเพื่อทำหน้าที่พิธีกรหรือเปล่า
แต่เป็นสิ่งที่ทำแล้วเรารู้สึกเพลิดเพลิน
รู้สึกดี ได้ความรู้ ฉลาดขึ้นในหลายๆเรื่อง
ถ้าผมไม่ได้เป็นพิธีกรผมอาจจะไม่ได้เจอ
ไม่ได้พูดคุยและรับรู้ถึงเรื่องราวต่างๆ
จากคนหลากหลายที่กรุณาให้ความรู้เรา
โดยเราเป็นตัวกลางถ่ายทอดความรู้นั้นไปสู่ท่านผู้ชม
เหมือนเราพยายามทำให้น้ำไหลผ่านตัวเราไปสู่จอทีวี ให้ท่านผู้ชมได้รับน้ำดีๆ
และเราก็พลอยได้ซึมซับความดีต่างๆ เหล่านั้นด้วย
ถือว่าอาชีพนี้เป็นบุญคุณกับตัวผมและครอบครัว

เวลาคนบอกว่าผมเป็นพิธีกรที่เก่ง ขอบอกว่ายังมีคนเก่งกว่าผม
อีกหรือพิธีกรอายุน้อยๆ ที่มีวิธีคิดดีๆก็หลายคน
ผมเชื่อว่าคนที่สามารถเป็นพิธีกรเก่งๆ ได้มีเยอะ
เพราะฉะนั้นเมื่อได้โอกาสนั้นแล้วหน้าที่ของเราคือทำสิ่งนั้นให้ดีที่สุด

ตอนเด็กๆ มีแววอะไรไหม เช่น พูดเก่งหรือชอบแสดงออก

ไม่ ได้พูดเก่ง ไม่ได้มีแวว ไม่ได้หน้าตาดี
เวลาเขาเลือกคนที่ต้องไปแสงดละครของห้องหรือทำกิจกรรม
ผมไม่เคยได้รับการเลือกใดๆเลย แต่ถ้าจะให้คิดจริงๆ
ผมว่าผมเป็นคนขี้สงสัย มีข้อสงสัยตลอดเวลา
ตอนเด็กๆ อายุประมาณสิบขวบ นั่งรถไปเที่ยวกับครอบครัว
พ่อเป็นคนขับ แม่นั่งข้างพ่อ เราลูกสี่คนนั่งเบาะหลัง
ตอนนั้นพ่อผมอายุประมาณสามสิบกว่า ผมสงสัยว่า
ถ้าผมอายุเท่าพ่อ ผมต้องมีรถต้องมีงานทำเพื่อมีเงินมาซื้อรถแบบนี้
ต้องมีลูกนั่งอยู่ข้างหลัง แล้วจะทำได้หรือจะทำอย่างไร

สิบขวบคิดแบบนี้แล้วหรือคะ

ก็แค่สงสัย แต่ก็ไม่ได้คำตอบ

ในชีวิตการเป็นพิธีกร ตอนไหนที่ประทับอยู่ในความทรงจำมากที่สุด

ตอน ทำครั้งแรก ตื่นเต้นมาก มีทั้งประหม่า มือสั่น และเหงื่อแตก
ทุกวันนี้ก็ยังตื่นเต้นอยู่ เคยคุยกับคุณดำรง
เขามีความคิดเห็นตรงกับผมว่าเป็นเรื่องดี พิธีกรรุ่นน้องมักจะถามว่า
ทำอย่างไรดีพี่ตื่นเต้น กดดัน เครียด ผมก็จะบอกว่า
บางคนสอนว่าให้หายใจ ลึกๆ สามครั้ง บางคนให้คิดถึงครูบาอาจารย์
แต่ผมมีคำตอบเดียว “อย่าปฏิเสธมัน” อย่าไปปฏิเสธที่ตัวเราเป็น
ยอมรับและอยู่มัน เพราะนั่นเป็นสิ่งสะท้อนว่าเรายังมีลมหายใจอยู่
เรายังมีความศรัทธาอยากจะทำให้งานออกมาดี เราจึงตื่นเต้น
ทุกวันนี้ถ้าผมตื่นเต้น ผมก็ยอมรับและอยู่กับมันไป

ได้นำความรู้ทางสถาปัตย์ มาประยุกต์ใช้กับการทำงานบันเทิงอย่างไรบ้างคะ

ส่วน ที่เกี่ยวกันก็คือ วิธีมองของสถาปนิก คือเราต้องรู้ก่อนว่าเราทำอะไร
ถ้าเราทำบ้าน เรากำลังทำเพื่อสนองเจ้าของบ้าน เขาอยากได้แบบไหน
แต่บางที่สิ่งที่เขาอยากได้มันชุดความรู้ที่เขาไม่รู้ เราก็ไปโน้มน้าวให้เขาเข้าใจ
ว่าถ้าทำอีกแบบจะดีกว่า แต่ทั้งหมดนี้ทำเพื่อให้เขาอยู่อย่างมีความสุข

ผม นำวิธีการคิดแบบเดียวกันมาใช้กับการทำรายการ
คุณกำลังทำรายการอะไร ต้องการอะไร เพื่อใคร โทรทัศน์ไม่ใช่ของคุณ
ต่อให้คุณเป็นเจ้าของรายการ มันก็ไม่ใช่ของคุณ เป็นของประชาชน
เพราะสถานีสร้างด้วยภาษีประชาชน เราเพียงได้โอกาส
ตอบโจทย์ข้อแรกให้ได้ว่าเราทำอะไรและจะทำอย่างไรให้ไปสู่จุดนั้น
นี่คือวิธีคิดอย่างเป็นระบบของสถาปนิก นำมาแก้ปัญหาทุกปัญหาที่เกิด
รวมทั้งบริหารงานในบริษัทด้วย บางทีปัญหากองอยู่
แล้วเราไม่ถอยออกมา เรากระโดดไปคลุกอยู่กับมัน ก็ไม่ได้เรื่อง
แต่ถ้าถอยออกมา จะรู้ว่าเราจะทำอะไรและเพื่ออะไร

เวลาจัดรายการสด และมีปัญหาเฉพาะหน้าเกิดขึ้น ควบคุมสถานการณ์อย่างไรคะ

ก็ พยายามผ่อนหนักเป็นเบา ทำให้เป็นเรื่องสนุกเสีย
เพราะชีวิตคนเราเดินไปยังหกล้มได้เลย
กระบวนการที่ทำงานกับคนจำนวนมากและ
ออกอากาศสด อะไรก็เกิดขึ้นได้และเกิดขึ้นเยอะมาก
อย่างในรายการ ตาสว่าง ถ้าเป็นสมัยก่อนเวลาเกิดความผิดพลาด
ผมจะรู้สึกเสียหน้า เสียหาย เสียฟอร์ม
แต่ตอนนี้ผมมองเป็นเรื่องธรรมชาติ
มองว่านี้คือบรรยากาศ ของรายการสด
เพียงแต่ว่าสิ่งที่เกิดมันเสียหายขนาดไหน
ถ้ารายการเสียหาย ผมเสียหายไม่เป็นไร
แต่ถ้าแขกรับเชิญเสียหาย
ถ้าช่องเสียหาย ถ้าเราทำให้บุคคลอื่นเสียหาย
นั่นเป็นเรื่องพึงระวัง

ครั้ง หนึ่ง ตาสว่าง เอาหมูมา เขาบอกว่า
มันกระโดดลอดห่วงไฟได้ มันคิดเลขได้
ก็เอามาซ้อมตอนหกโมงเย็น
บอกทีมงานให้ซ้อมก่อนว่ามันทำได้จริงหรือเปล่า
โอ้โอ พลิ้ว โดดฟึ่บฟั่บ เลยลองให้ซ้อมแบบเปิดไฟจริง
มีดนตรี มีเสียงปรบมือ
ดูซิว่ามันจะตื่นเวทีหรือเปล่าปรากฏว่ามันก็ทำได้
พอออกอากาศจริงห้าทุ่ม หมูหลับ
ไปปลุกมาเล่นมันก็ไม่เล่น มันเหมือนเด็กน่ะ
ไม่ได้ต้องการอามิสสินจ้าง
ให้เงินฉันแล้วฉันจะกระโดดให้ดู ไม่ใช่ เพิ่งตื่น ไม่รู้ไม่ชี้
แล้วเอาไปไว้ในสตูดิโอแอร์เย็นๆมันก็หลับ แถมยังวิ่งเฉี่ยวห่วง
ไฟก็ไหม้หูเราก็บอกได้แค่ว่า มันกระโดดจริงๆ นะครับ
มันเคยกระโดด เอาจิงโจ้ จิงโจ้ก็กระโดดไปนอกกรง
อะไรก็เกิดขึ้นได้เยอะแยะ

การที่รายการ ตาสว่าง โดนปลดจากผัง มีผลกระทบกับชีวิตไหมคะ

มี บางส่วน แต่ผมมองว่าเป็นวงจรชีวิต อะไรที่มีชีวิตจะมีอายุขัยของมัน
จะยาวจะสั้นก็แล้วแต่ วันที่ทำรายการวันแรก พระอาจารย์ว.วชิรเมธี
ส่งของขวัญมาให้ผม เป็นรูปถ่ายตอนที่ผมเดินทางไปอินเดียกับท่าน
และมีกลอนเขียนมาด้วย กลอนนั้นบอกให้
เราทำรายการนี้อย่างมีความตั้งใจที่จะเสนอความรู้และสาระให้ สังคม
สำหรับผมของขวัญชิ้นนี้
เหมือนพระได้ขอผมว่ารายการนี้ต้องเป็นประโยชน์
แต่เนื่องจากนโยบายของช่องมี
การเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาตามสภาพสังคมยุคนี้
เขาอยากให้เป็นความเพลิดเพลิน ความสนุกสนานบันเทิง
เดิมรายการนี้เกิดในยุคที่เป็นสาระ
แต่เราก็พยายามปรับเปลี่ยนให้มีความสนุกสนาน
แต่ในความสนุกผมก็ยังยืนยันว่าผมต้องทำให้เป็นประโยชน์
ซึ่งมันอาจจะไม่บันเทิงพอก็ได้ หรืออาจจะไม่เหมาะกับสภาพตอนนี้
ซึ่งผมมองว่าไม่เป็นไร เพราะตอนเราได้เวลามาทำรายการ
เราเคารพในการตัดสินใจของผู้มีอำนาจในการให้ทำ
ตอนเขาไม่ให้ทำ เราก็ต้องเคารพใน
การตัดสินใจของคนที่เขามีสิทธิ์ที่จะไม่ให้ทำ

ผมไม่ได้โกรธ ไม่ได้โมโห ไม่ได้เสียใจ ไม่ได้อะไรเลย
ม่มีรายการ ตาสว่าง ผมก็เหลืออีกสามรายการ
ไม่ได้ตกงาน ไม่ได้อัตคัดอะไรเลย

เวลาโดนวิพากษ์วิจารณ์เรื่องการทำรายการ บั่นทอนกำลังใจบ้างไหมคะ

มี บ้าง แต่วิธีคิดของผมคือ โทรทัศน์มีคนดูทุกเพศทุกวัย ทุกความรู้
ทุกทัศนคติ ทุกรสนิยม เวลาเราได้รับคำตำหนิ
เราต้องกลับมาดูว่าคนที่ตำหนิเขามองด้วยมุมมองอะไร

ส่วน มากบางทีที่รู้สึกไม่สบายใจเพราะคิดว่าทำดีแล้ว
แต่ผมจะบอกคนในบริษัทว่า ไม่แน่หรอกว่าเราทำดีแล้ว
เพราะกำลังสติปัญญาของผมมีแค่นี้
ดีของผมอาจจะยังไม่ดีสำหรับคนอื่นที่เขาฉลาดกว่าผม
ถ้าคิดแบบนี้เราก็จะกลับมาดูใหม่ กลับมาหาว่าเราผิดตามที่เขาว่าไหม

ตาสว่าง นี่โดนวิพากษ์หนักสุดเลย มีทั้งไม่ชอบพิธีกร มีทั้งไม่ ชอบรายการ
มีทุกแบบ ซึ่งอันไหนจริงก็ต้องยอมรับ
ผมมองว่าถ้าเราไม่เอาตัวตนของเราเป็นใหญ่ว่าฉันเจ๋ง ฉันเทพ
ฉันสุดยอดพิธีกรแล้ว เราจะไม่โกรธเลย
ถูกตำหนิเราก็กลับไปดูว่าจริงหรือเปล่า
ก็มีหลายอย่างที่เขาตำหนิแล้วถูกต้อง

ข้อ ดีอย่างหนึ่งของการถูกตำหนิคือ ไม่ว่าเขาจะตำหนิเพราะเกลียด
หรือตำหนิเพราะหวังดีก็ตาม มันทำให้เราไม่เหลิง
เรารู้ว่ามีบางส่วนที่ยังด้อยอยู่ ยังมีคนเกลียดเราอยู่
และถ้าใครเกลียดคุณ ก็ให้คิดว่า มนุษย์ไม่ได้เกิดมาเพื่อเกลียดกัน
ลองมองหาซิว่าเขาเกลียดเพราะอะไร ถ้าหาเจอแล้วแก้ได้ก็จงแก้
ไม่จำเป็นจะต้องหยิ่งยโสว่าเกลียดก็เกลียดสิวะ ไม่ใช่อย่างนั้น

เรียนรู้คุณค่าชีวิตในเสี้ยวนาทีวิกฤติ

ทราบมาว่าชอบขี่มอเตอร์ไซค์ ถึงขนาดภรรยาเคยให้เป็นของขวัญวันเกิด
งานมากอย่างนี้เคยมีเวลาได้ขี่ได้เที่ยวบ้างไหมคะ

ช่วง เห่อๆก็หาเรื่องขี่ เวลามีงานพิธีกรข้างนอก็ขี่ไป
มีก๊วนเพื่อนที่ขี่ยี่ห้อเดียวกันก็มักจะนัดกันขี่ไปเที่ยวต่างจังหวัด
ไปเขื่อน ตอนนั้นยังไม่มีลูก แต่พอมีลูก
ภรรยาก็จะบอกว่า ขี่ให้มันน้อยๆหน่อย ต่างจังหวัดก็ไม่ต้องไปแล้ว

มี ครั้งหนึ่งขี่ไปชัยนาทแล้วเขาค้างคืนกัน แต่ผมกลับ
เพราะบอกภรรยาไว้ว่าจะกลับ ก็ขี่กลับมาตอนประมาณโพล้เพล้หกโมงเย็น
มากันสามคัน ผมเป็นคันที่สาม สองคันแรกนำหน้าผมไป
เขาขี่เก่งมากเป็นช่างมอเตอร์ไซค์เลยขี่เร็ว
ผมตามไม่ทันก็จะเร่งให้ ทัน วิ่งมา 150 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
มาถึงกลางทางมีรถอีแต๊กที่ข้างหน้ามีเครื่อง
ข้างหลังมีกระบะขนฟางข้าวโผล่ขึ้นมาข้างทาง
ตอนนั้นสมองคำนวณด้วยความเร็วสูงมาก เราจะเบรกทันไหม
ถ้าไม่ เราจะสไลด์เข้าอย่างไร จะล้มอย่างไร
เพราะเคยเรียนว่าถ้าเกิดอุบัติเหตุจะล้มอย่างไรถึงจะเจ็บน้อยที่สุด
แต่ด้วยความเร็วขนาดนั้น ถ้าตัวเราไปฟาดกับอะไรเข้าก็คงได้รับบาดเจ็บ
ไม่มีทางเลือก เบรกไม่ทันแน่ๆ เมื่อเบรกไม่ได้ก็จะต้องผ่านหน้าหรือผ่านหลัง
คราวนี้ถามตัวเองย้อนกลับไปอีกว่าถ้าคุณลุงคนนั้นได้ยินเสียงมอเตอร์ไซค์
คุณลุงจะเร่งเครื่องให้ผ่านไปหรือคุณลงจะจอดให้เราผ่านหน้า
ถ้าคุณลุงจอด หลังจะไม่พ้น เราจะตกลงในทุ่งนา
แต่ถ้าคุณลุงไม่จอด เราก็ต้องผ่านข้างหลัง ทั้งหมดนี้คิดในเสี้ยววินาที

ที่ สุดผมตัดสินใจเลือกผ่านหลัง เพราะผมเดาว่าคุณลุงไม่จอดโชคดีที่ผมเดาถูก
พอขับเลยมาแล้วมือสั่นเลยนะ นึกได้ว่า เออ เฮ้ย ชีวิตเรามีแค่นี้เอง
ถ้าเมื่อกี้เลือกผิด ไม่ตายก็อะไรสักอย่าง เพราะฉะนั้นอย่าไปอะไรกับชีวิตนักเลย
เวลาคนด่าผมก็จะเฉยๆ ถ้าอันไหนเราผิด ก็ขอโทษเขาเสีย แก้ไข ปรับปรุง
คุณไม่ได้เก่งอะไรหรอก ถ้ามอเตอร์ไซค์คว่ำคุณก็ตายเหมือนคนอื่น
พอผมเล่าให้ภรรยาฟัง เขาเลยไม่ให้ขี่ไปต่างจังหวัดอีก

ผมเลยคิดได้ว่า ชีวิตคนเราทุกวันมีประโยชน์ ถ้าเกิดมีใครบอกคุณว่า
ไม่มีพรุ่งนี้อีกแล้วนะ ตายเลย ชีวิตโคตรมีค่าเลย

นี่คือสิ่งที่ได้เรียนรู้จากเสี้ยววินาทีนั้นเอง

ใช่ เพราะทุกอย่างสอนเราเสมอ แต่ก่อนผมปั่นจักรยานไปทำงาน
ที่เจเอสแอลซึ่งอยู่ลาดพร้าว 107 บ้านผมอยู่สุขุมวิท 49 ปั่นไป 16.5 กิโลเมตร
สมัยนั้นปั่นจักรยานด้วยความรู้สึกดี เพราะไม่ต้องใช้น้ำมันประหยัดพื้นที่
พอย้ายบ้านมาอยู่แจ้งวัฒนะ ก็ปั่นจากแจ้งวัฒนะไปเจเอสแอลอีก
คราวนี้ 27.5 กิโลเมตร ขากลับ โอ้โฮ...มืดแล้วยังไม่ถึงบ้าน แต่ก็มีความสุข

ที่ บอกว่าทุกอย่างสอนเราคือ จักรยานสอนว่าถ้าคุณเป็นคนที่ตัวเล็กที่สุดในสังคม
คุณจะอยู่รอดด้วยอะไร ถนนเปรียบเหมือนสังคมสังคมหนึ่ง
ทุกคนไม่รู้จักกัน คนกล้ามใหญ่คือพวกรถเมล์ โฟร์วีลบิ๊กฟุต
พวกคนที่มีบรรดาศักดิ์คือพวกรถแพงๆ รถเบนซ์ รถอะไรมี่มันยาวๆ ใหญ่ๆ
ส่วนคนที่ช่ำชองคือพวกแท็กซี่ พวกวัยรุ่นคือสามล้อและมอเตอร์ไซค์
แต่ จักรยานคือพวกที่ไม่มีอะไรเลย ใครมาคุณก็ต้องหลบ
ใครแถเข้ามาคุณก็ต้องกลัวเขา ความเร็วก็สู้มอเตอร์ไซค์ไม่ได้
รถเมล์ก็ทำเป็นมองเห็นบ้างไม่เห็นบ้าง เห็นเราปั่นมา
แต่เขาจะเข้าป้าย เขาก็ปาดหน้าไป เราก็ต้องหลบขึ้นฟุตปาธ

บางทีจักรยานสอนให้รู้ว่า ชีวิตคนที่เป็นตาสีตาสา
คนที่ไม่มีอะไร ไม่ใช่คนใหญ่คนโตนี่ ต้องยอมจริงๆเลย
ขับมาตรงๆ ดีๆ แต่เขาอยากจะทำอย่างนั้นก็ต้องยอม ต้องอดทน
ต้องเข้าใจ ดมควันก็ต้องทนถนนตรงไหนไม่ดี รถใหญ่เขาไม่รู้สึก
แต่จักรยานรู้สึกหมด เลย ฝาท่อตรงไหนเปิดถ้าตกลงไปแย่เลย
เพราะฉะนั้นเวลาปั่นต้องมีสติตลอด
ต้องระแวดระวังมองหน้ามองหลัง เป็นการสอนการใช้ชีวิต
ถ้าผมเป็นคนไม่มีอะไรในสังคม
ผมก็ต้องใช้ชีวิตแบบระมัดระวัง เจียมเนื้อเจียมตัว อดทน นี่จักรยานสอนเรา

ความคิดไม่ธรรมดาของผู้ชายธรรมดา

ในสายตาคนทั่วไปมักจะมองว่าเป็นแฟมิลี่แมน

ผม ไม่ได้เป็นแฟมิลี่แมน เป็นคนธรรมดา
เคยมีคนสัมภาษณ์แล้วผมถามกลับไปว่า
อะไรคือแฟมิลี่แมนจ๊ะ เขาตอบกลับมาว่า
อ๋อ..แฟมิลี่แมนก็คือคนที่รักครอบครัว ผมถามว่า
แล้วทุกคนที่มีครอบครัวเขาไม่รักครอบครัวหรือ
ผมคิดว่าคนทุกคนรักครอบครัว แต่ขีดจำกัด
ขีดความสามารถในการดูแลครอบครัวมีแค่ไหน
บางคนเขาต้องทำงานหนักจริงๆ เช่นทหารต้องไปรบชายแดน
ได้กลับมาเจอลูกเมียสองอาทิตย์ครั้ง ถ้าเขาไม่เจอ ไม่ได้แปลว่าเขาไม่รัก
แต่เขามีโอกาสในการแสดงความรักน้อย ในขณะที่บางคนมีโอกาส
แต่ไม่ทำเพราะเห็นอย่างอื่นดีกว่า เช่น ความบันเทิงเริงรมย์หรืออะไรก็ตามแต่
อย่างนั้นสิแปลก แต่ผมเป็นคนธรรมดา

บริหารจัดการเวลาให้ลงตัวได้อย่างไร

อันดับ 1 งาน การถ่ายรายการบางทีกำหนดเวลาไม่ได้
บางครั้งได้คิวแขกรับเชิญจำเป็นต้องทำก็ต้องรีบทำ อันดับ 2 ครอบครัว
เสร็จจากงานถ้าไม่มีอะไรจะรี บกลับบ้าน กลับไปดูลูกทำการบ้าน
เฮ้ยวันนี้ลูกแข่งว่ายน้ำไปเชียร์หน่อยสิ เคยดูหนังฝรั่งใช่ไหม
ลูกเศร้าใจพ่อไม่มาเชียร์ ผมเลย เอ๊...ทำไมเราจะไม่ไป
ถึงไม่ใช่แข่งระดับชาติ แต่มันก็คือการแข่งนะ ต้องไปเชียร์ แพ็ก็ไม่เป็นไร
อย่างน้อยเราได้ไปยืนดู เฮ้..สู้เขานะลูก และเดี๋ยวนี้ก็ยังไปส่งลูกที่โรงเรียนทุกเช้า
อันดับ 3 ตัวเอง เหลือจากสองอันนี้ไม่มีอะไรทำแล้ว
ลูกไปโรงเรียนเราก็ไปตีกอล์ฟ ไปเฮฮากับเพื่อน

เป็นคนรักครอบครัวอย่างนี้ มีแบบอย่างจากไหน

ประสบการณ์ ในชีวิต ผมมีครอบครัวเดียว พ่อแม่เดียว
แล้วผมก็เข้าใจเอาเองว่ารูปแบบของครอบครัวมีแบบเดียว
แม่ผมอยู่กับลูกมากที่สุด เพราะเขาไม่ได้ออกไปทำงานข้างนอก
เปิดร้านขายของ แม่ก็จะขายของและดูแลลูก
ไปโรงเรียนกลับมาเจอแม่แน่ๆ ตกเย็นพ่อกลับมาแน่ๆ
วันเสาร์-อาทิตย์ถ้าพ่อไปตีเทนนิส พ่อก็จะชวนผมไป
ผมรู้สึกว่าการอยู่ด้วยกันแบบนี้คือปกติ
ผมอยู่มาแบบนี้ โตขึ้นมาเลยอยากอยู่แบบนี้
พอตอนโตถึงรู้ว่า อ๋อ...จะเป็นแบบไหนก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเหมือนกันทุกคน

กับลูกแสดงความรักด้วยวิธีไหน

ผมกอด ผมหอมเขาตลอด ทำแล้วรู้สึกดี ไม่รู้ลูกรู้สึกดีหรือเปล่าแต่เราน่ะรู้สึกดี
ผมเป็นคนสอนลูกปั่นจักรยาน เป็นคนสอนลูกให้ว่ายน้ำ

เคยคิดจะให้น้องเอม (ลูกชาย) เข้าวงการบันเทิงไหมคะ

เขา ไม่ชอบ โดยพื้นฐานเขาไม่ใช่คนพูดมาก ไม่ใช่คนชอบแสดง
ไม่ใช่คนอยากออกโทรทัศน์ แบบไหนที่เขาไม่ต้องแสดง
ปล่อยให้เขาเป็นไปตามธรรมชาติน่ะเขาโอเค
แต่แบบไหนที่เป็นฉากต้องออกมาทำอย่างโน้นอย่างนี้เขาจะอาย
เขาไม่ได้มีความรู้สึกอยากทำ แถมเด็กไม่เหมือนผู้ใหญ่
ผู้ใหญ่นี่อยากได้เงินก็ต้องไปเล่นต้องไปทำเพราะอยากได้ เด็กไม่ได้อยากได้อะไร

ตอนเขาเล็กๆ ผมพาไปถ่ายโฆษณา แล้วบอกทางทีมงานบอกว่า
จะซื้อของเล่นให้ แต่เราก็ดันฝึกลูกไว้ว่าของเล่นไม่ใช่สิ่งสำคัญในชีวิต
เพราะฉะนั้นจะติดสินบนเขาก็ไม่ได้อยากได้
เลยต้องใช้วิธีพูดว่า “ทำให้พ่อภูมิใจนะ ทำให้แม่มีความสุขนะ”

ตัวคุณสัญญาเองล่ะคะ ได้แบบอย่างอะไรจากคุณพ่อบ้าง

พ่อผมเป็นแรงบันดาลใจเรื่องขยัน แต่ผมเหมือนพ่อตรงหนีปัญหาลึกๆ
มันจะหนีว่า โอ๊ย ! เรื่องนี้ไม่อยากพูด แต่แม่นี่ไม่ได้ ถ้าผิดต้องลุย
ซึ่งภรรยาผมก็เป็นอย่างนี้ แต่ผมนี่ จะไม่อะไรกับมันมาก
แต่บางทีถ้าเราไม่บาลานซ์ตัวเอง เราจะยอมทุกคน
ยอมทุกอย่างเกินไปก็ไม่ดี จะไม่ยอมใครเลยในชีวิตก็ไม่ดี
หนทางสายกลางที่เราเจอ เกิดจากประสบการณ์ที่เราเห็นมา
ผมเชื่อว่าไม่มีใครเกิดมาแล้วเป็นแบบนั้นตลอดชีวิต
ผ่านไปสิบปีย้อนกลับไปดูเรื่องเดิม วิธีคิดของคุณก็เปลี่ยนไป

พอรู้ว่าทุกอย่างเปลี่ยนเราก็จะเข้าใจ ได้คุยกับท่านว.
ท่านบอกว่า จริงๆแล้ว เราเกิดใหม่ตลอดเวลา
เซลล์ในร่างกายเราตายลงทุกวันและเกิดใหม่ตลอด
เพราะฉะนั้นอะไรที่คุณรู้สึกไม่ดี
คุณปรับแก้ได้อะไรที่คุณรู้สึกว่าจะช่วยพัฒนาตัวเอง
คุณทำได้เสมอ เพราะเราเกิดใหม่ตลอดเวลา

ทำไมถึงชอบทำบุญด้วยการบริจาคเลือด

ก่อน หน้านี้แม่ผมไม่สบาย ป่วยเป็นโรคไขสันหลังไม่ผลิตเกล็ดเลือด
เวลาเป็นแผลเลือดจะไหลไม่หยุด
ทางโรงพยาบาลต้องการเลือดกรุ๊ปอะไรก็ได้
มาปั่นแยกเอาเกล็ดเลือดเพื่อมาใส่ใน
ตัวแม่ หมอบอกกับพ่อว่ามีเพื่อนจะบริจาคไหม
ตอนเช้าผมไปบอกเพื่อน ตอนนั้นรู้สึกจะเป็นวันแข่งกีฬาสี
เพื่อนก็รับปาก พอตอนเย็นกลับมาบ้านปรากฏว่าแม่เสียแล้ว

เช้าอีกวันจะไปรับศพแม่ เพื่อนมากันเต็มโรงพยาบาล เขาไม่
รู้ว่าแม่ผมเสียแล้ว เขาจะมาบริจาคเลือดกัน
หยุดเรียนมายกห้องเลยครูประจำชั้นก็มา
ความรู้สึกตอนนั้นบรรยายได้ยากมาก จากไม่ร้องไห้ก็ร้องจน..
ผมมีความรู้สึกว่ามนุษย์ที่แสดงความปรารถนาดีต่อ
มนุษย์คนอื่นที่ไม่ใช่ญาติ ไม่ใช่เพื่อน ไม่ใช่อะไรเลย
เป็นสุดยอดของความยิ่งใหญ่ที่มนุษย์พึงกระทำต่อกัน
มันเจ๋งกว่าสร้างโบสถ์ สร้างวิหารสร้างเจดีย์ อันนั้นเราก็อนุโมทนานะ
แต่สำหรับผม มันไม่งดงามและยิ่งใหญ่เท่ากับการปรารถนาดีกับใครก็ไม่รู้
ด้วยอะไรก็ตามแต่ที่คุณมีให้ จะเลือดหรือจะอะไรก็ตาม

สมัย ก่อนผมไม่ชอบเจ็บตัว ตอนเรียนลูกเสือหรือเรียน ร.ด.
เขาบอกว่าใครบริจาคเลือดวันนี้จะให้หยุด
บริจาคเสร็จกลับบ้านได้เลย ผมยอมฝึกเพราะไม่อยากเจ็บตัว
เพื่อนมาคุยกันว่าเข็มที่ใช้ใหญ่เท่าก้านไม้ขีด ผมมีความรู้สึกว่ามันน่ากลัว
แต่หลังจากกรณีแม่ ผมรู้สึกว่าถ้ามีโอกาสผมจะทำ
ต่อให้มันเจ็บอย่างที่ว่า แต่ถ้ามีโอกาสผมจะทำ
เพราะผมรู้สึกว่าเจ็บแค่นี้เพื่อแลกกับชีวิตคนอื่น คุณจะทนเจ็บไม่ได้เชียวหรือ

ทุก วันนี้ผมจะพยายามบริจาคเลือดเท่าที่มีโอกาส สมมุติผมไปถ่ายรายการ
ผ่านสภากาชาดผมก็จะเข้าไปบริจาค หรือมีเทศกาล
และวาระใดที่เกี่ยวกับการบริจารเลือด เช่น
มีรับบริจาคในรายการ ผมจะเป็นคนแรกเลย
สุดท้ายเอาเข้าจริงมันไม่เจ็บเท่าถูกฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ
ถูกฉีดยาเจ็บกว่าบริจาคเลือดอีก ขอยืนยัน
เพราะนี่แทงเข้าเส้นเลือดใหญ่แล้ว ดูดออกไม่เจ็บเลย
นี่เป็นเรื่องดี เป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่และงดงาม
ผมเชื่อว่าถ้าโลกเราจะพอมีโอกาสอยู่รอดได้
ซึ่งความจริงนักวิทยาศาสตร์วิเคราะห์แล้วว่า อย่างไรโลกเราก็ไม่รอด
ถึงแม้ว่าวันหนึ่งจะไม่มีโลก
แต่สิ่งที่จะขับเคลื่อนให้โลกอยู่ได้นานขึ้นกว่าเดิมคือ
ความรู้สึกดีๆที่เรา มีให้คนที่เราไม่รู้จัก ภาษาทางพุทธศาสนาเรียกว่า
พรหมวิหาร 4 คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
ถ้าเรามีสิ่งเหล่านี้ต่อสัตว์ ต่อพืช ต่อคนอื่น
สิ่งนี้จะขับเคลื่อนโลก ให้คนเยอะๆ อยู่ในสังคมด้วยกันได้

สำหรับ ผม การรู้สึกดีต่อญาติของคุณเอง
บุพการีของคุณ ลูกคุณ น้องคุณ เพื่อนคุณ
เป็นเรื่องธรรมดา แต่ที่ดีกว่านั้นคือคุณต้องรู้สึกแบบนั้นต่อคนที่ไม่รู้จักกันเลย
ที่พระท่านบอกว่าสิ่งเหล่านี้ไม่กลับมาโลกาจะวินาศ...แน่นอน
ยิ่งนับวันเราก็ยิ่งค้นพบว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องจริงๆมาก
ทุกวันนี้ที่ประเทศเราเป็นอย่างนี้เพราะ
“ถ้าไม่ใช่พวกกู มึงตาย ถ้าไม่ใช่เพื่อนกูมึงก็ตาย แต่ถ้าพวกกู..อย่างไรก็ไม่ผิด”

คิดว่าธรรมะคืออะไร เคยสวดมนต์ไหว้พระบ้างหรือเปล่า

ตอน เด็กๆ แม่ผมให้สวดมนต์ก็สวดไป ไม่เข้าใจด้วยว่าสวดทำไม
รู้แต่ว่าให้สวดก็สวด แต่เวลาสวดเสร็จก่อนนอน แม่ก็จะให้อธิษฐาน
ขอให้หนูเป็นเด็กดี เป็นเด็กที่น่ารักของพ่อแม่และทุกคน
แต่ผมจะเพิ่มอันหนึ่งเสมอว่า ขอให้ผมไม่มีวันตาย
ขอให้พ่อผมไม่มีวันตาย เพราะผมเสียดาย จะสุขจะทุกข์ขอให้ได้เจอคนที่ผมรัก
ผมสงสัยว่า ตายแล้วเราไปอยู่ไหน เขาจะไปต่ออย่างไร
ซึ่งถ้าใครเคยมีคำถามแบบนี้ในใจ ผมเชื่อว่านั่นคือธรรมะ
พระพุทธเจ้าทรงสอนเราเพื่อจะบอกว่าเราคืออะไร
ไม่ใช่เกิดมาทำงาน เจอทุกข์ เจอสุข ดีใจ เสียใจ แล้วก็ตายเท่านั้น

เคยให้สัมภาษณ์ว่าอยากบวช พูดเล่นหรือพูดจริงคะ

พูด จริง แต่การบวชสำหรับผมคือต้องทำเมื่อพร้อม ไม่ใช่เราพร้อมคนเดียว
แต่ทุกคนต้องพร้อม หมายถึง งานการพร้อม ภรรยาพร้อม ลูกพร้อม ถ้าผมไม่
อยู่ดูแลกันได้ไหม ผมน่ะพร้อม แต่งานการก็ยังต้องทำอยู่
จะบวชสามวันแล้วรีบสึกออกมาทำงานมันก็ไม่ได้ มันต้องใช้เวลามากกว่านั้น
กว่าจะเรียนรู้เรื่องแบบนี้ให้เข้าใจ ผมตั้งใจไว้ว่าจะบวชแบบไม่มีกำหนด
บวชเมื่อพร้อม สึกเมื่ออยากสึก แต่อยากบวชกับลูก

ดูเป็นคนอารมณ์ดี อยากทราบว่าเรื่องอะไรบ้างที่จะทำให้โกรธ

สิ่ง ที่จะทำโกรธมักจะเป็นความเลวร้ายที่มนุษย์กระทำต่อคนที่ด้อย ว่า เช่น
เด็ก ผู้หญิง คนแก่ ผมจะรู้สึกแย่กับการที่เด็กวัยรุ่นรู้สึกว่าปู่แก่
พ่อแม่ พูดไม่รู้เรื่อง ช้า เฟอะฟะ เงอะงะ หรือผู้ใหญ่รังแกเด็ก
เพราะรู้ว่าสถานะตัวเองเหนือกว่าในทุกด้าน
รังแกมีตั้งแต่ระดับทำให้เสียใจไปจนถึงระดับข่มขืน ฆ่า
นี่เป็นเรื่องเลวร้ายที่มนุษย์ไม่ควรจะทำ
เพราะ เรามีหลายอย่างที่เหนือกว่าสัตว์
แต่ว่าคนที่ทำอย่างนั้น เขาลดระดับตัวเองลงไป
เหลือแค่สัญชาติญาณของการฆ่าหรือ
ทำร้ายตัวอื่น
ผมว่าเรื่องนี้เป็นสิ่งเลวที่สุดที่มนุษย์พึงจะกระทำต่อกัน

เชื่อเรื่องเวรกรรมไหมคะ

เชื่อ มันเป็นวิทยาศาสตร์นะ ไม่ใช่เรื่องอภินิหาร
เป็นวิทยาศาสตร์ ตรงที่ว่า
ในทางฟิสิกส์ แรงไม่หายไปไหน
คุณกระทำไปก็ต้องมีแรงกระทำกลับ ในทางเคมี
สสารไม่สูญสลาย เปลี่ยนสภาพเป็นพลังงาน
หรืออะไร มันไม่หายไปไหน
ในทางเดียวกัน การกระทำใดๆ จะส่งผลต่อเนื่อง
และจะเด้งกลับมาโดนคุณเมื่อไรก็ได้

ผม เคยแย้งพระว่า ไม่จริง ทำไมคนทำไม่ดีได้ดีตั้งเยอะ
พระก็ถามกลับว่า ได้ดีคืออะไร
รวยไมได้แปลว่าได้ดี รวยไม่ได้แปลว่ามีความสุขเสมอไป
เพราะรวยแล้วไม่มีความสุขก็มี แต่สังคมยุคใหม่ดันสรุปกันว่ารวยคือเก่ง
รวยคือมีความสุข รวยคือดี เดินมาไม่ รู้จักกันถ้าแต่งตัวดีก็ดูเป็นคนดี
กับอีกคนแต่งตัวไม่ดีก็ดูเป็นคนไม่ดี
ไอ้ความเพี้ยนแบบนี้เลยเพี้ยนไปถึงการเข้าใจคำว่าความสุขผิดไป

อายุ 46 แล้ว มองความสุขและความทุกข์ในชีวิตอย่างไร

ผม จำได้ว่ามีประธาน บริษัทมัตสุชิตะ อิเล็คทริค อินดัสเตรียลจำกัด
ตอนนี้เปลี่ยนชื่อเป็นบริษัทพานาโซนิค คอร์ปอเรชั่น จำกัด แล้ว
ผมจำชื่อเขาไม่ได้ เขาบอกว่า “ชีวิตเหมือนเกลียวเชือกที่ฟั่นกันคู่กันไปตลอด
อันหนึ่งคือสุข อันหนึ่งคือทุกข์ เมื่อรวมกันนั่นคือชีวิต”

คุณ ต้องทำความเข้าใจว่า เกลียวเชือกที่ฟั่นกัน
หมายถึงชีวิตต้องมีทั้งสิ่งที่ชอบและไม่ชอบ
แล้วคุณก็ต้องเข้าใจด้วยว่าเราถูกสอนมาผิด สังคมสอนให้คุณหนีความทุกข์
หาความสุข ซึ่งในทางธรรม คุณจะหนีทุกข์ เจอแต่สุขไม่ได้
แต่สังคมสอนให้เราปฏิเสธความทุกข์ ไม่พูดถึงมัน ไม่คิดถึงมัน หนีไปให้ได้
ความสบาย ความเพลิดเพลินสิ่งเหล่านี้ถูกรวบรวมอยู่ในหมวดของคำว่าสุข
ส่วนทุกข์คือความเหนื่อย ลำบาก หิว อด ซึ่งมันผิด
ความลำบากไม่ได้แปลว่าทุกข์เสมอไป

เรา ถูกสอนกันมาว่า โตขึ้นถ้าได้ทำงานที่ไม่ต้องออกแรงจึงจะเป็นคนฉลาด
แต่ถ้าเราเลือกที่จะเป็นเจ้าคนนายคนกันอย่างเดียว แล้วใครจะเป็นลูกน้อง
ใครจะสร้างถนน สร้างสะพาน ขุดบ่อน้ำ ปลูกต้นไม้โดยจะอยู่ได้อย่างไร
ถ้าทุกคนเป็นคนสั่ง แล้วใครจะเป็นคนรอรับคำสั่ง คนที่มีความสุขคือ
คนที่สั่งเท่านั้นหรือ คนเป็นลูกน้อง คนที่ต้องออกแรง
คือคนที่มีความทุกข์งั้นหรือ มันไม่จริงหรอก

บาง ทีคนที่ออกแรงมีความสุขกว่าคนที่ไม่ออกแรงเสียอีก เขาค้นพบว่า
คนที่ไม่ออกแรงจะอายุสั้น ป่วยเป็นโรคโน้นโรคนี้สารพัด
คุณลองทำงานแบบไม่ออกแรงสักปีหนึ่งสิ ชีวิตไม่เคยทำอะไรเลย
เดี๋ยวก็ตาย เดี๋ยวก็อ้วน เดี๋ยวก็เบาหวานฯลฯ

ชีวิต เรามีสองอย่าง ชีวิตไม่ได้เกิดมาเพื่อเจอ
แต่ความสุขอย่างเดียว ต้องเจอทุกข์ด้วย
และถ้าวันไหนเจอความทุกข์ก็ต้องไม่เสียใจไม่ต้องร้องไห้
เพราะมันต้องเจอ เหมือนมีมือซ้ายก็ต้องมีมือขวานี่คือเรื่องปกติ

อะไรคือความสุขของสัญญา คุณากร

ทุก สิ่งเป็นความสุขของชีวิต สมมุติคุณมีความรู้สึกว่าตอนนี้ไม่มีความสุขเลย
อยากหาอะไรมากินให้มีความสุข อยากหาอะไรมาดื่มให้สนุก
คุณก็ลอง โดยจับไปวิ่งรอบสนาม 110 รอบ ลุยโคลน
เอาหัวปักดินกลางทรายกลางแดด
เหนื่อยก็เหนื่อย หิวก็หิว ร้อนก็ร้อน ตะคริวจะกิน จะตายอยู่แล้ว
เสร็จแล้วพอเขาให้นั่งเฉยๆ 5 นาที มีน้ำเย็นให้กิน 1 แก้ว
โห..แต่นี้โคตรสุขเลย
ขอนั่งอยู่ตรงนี้มากกว่า 5 นาทีได้ไหม ขอน้ำเพิ่มเป็น 2 แก้วได้หรือเปล่า
ในขณะที่ให้คุณไปนั่งที่ไหนก็ได้ 5 นาที ได้นั่งในร่ม
มีน้ำเปล่าให้แก้วหนึ่ง
เรากลับคิดว่าไม่มีอะไรเลย น่าเบื่อ แปลว่าทั้งหมด
มันถูกสร้างจากข้างในใจเราเป็นผู้เลือก
ถ้าเราไม่รู้เท่าทัน เราจะคิดว่ามันต้องมีอะไรดีกว่านี้อีก
แต่จริงๆ แล้วรอบๆ ตัวเราเป็นความสุขได้ทั้งนั้น อยู่ในใจเราคิด

ถ้า วันไหนคุณต้องนอนอยู่แต่บนเตียงในโรงพยาบาล
คุณจะรู้สึกว่าการได้นั่งโซฟา
ได้เดินไปไหนมาไหน ได้ทำอะไรต่ออะไร
มันรู้สึกดีจริงๆ ผมเคยประสบอุบัติเหตุ
ถชน กระดูกคอร้าว ตอนนั้นยังไม่เข้าวงการ
นอนอยู่โรงพยาบาล ขยับไปไหนไม่ได้
ใส่เฝือกดามคอไว้ ผมนอนนับรูฝ้าเพดาน
วนไปวนมาอยู่อย่างนั้น
เทียบกับการได้ออกมาเดินตากแดด มาดมควันรถเมล์บ้าง
มันช่างเป็นชีวิตที่ดีเสียนี่กระไร (เน้นหนักแน่น)
สำหรับผมแล้ว ผมมีความสุขมากที่ได้ใช้ชีวิตในทุกๆวัน

งานเขียนของบุคคลที่ชื่นชมและนับถือ

งานสัมฤทธิ์ ชีวิตรื่นรมย์ ของ ว.วชิรเมธี บางคนงานสัมฤทธิ์ แต่ชีวิตไม่รื่นรมย์
ถ้าเราเข้าใจหลายเรื่อง เราก็จะทำงานและใช้ชีวิตควบคู่กันไปได้
เพราะงานเป็นแค่ส่วนหนึ่งของชีวิตเท่านั้น

งาน ของคุณ “รงค์ วงษ์สวรรค์ เขียนอะไรก็ดีไปหมด ไม่ได้อ่านทุกเล่ม
แต่ไม่เคยมีเล่มไหนที่หยิบมาอ่านแล้วผิดหวัง
ติดตามงานท่านตั้งแต่สมัยที่ตีพิมพ์ในลลนา
จนท่านเสีย เป็นคนที่ผมจัดอันดับให้อยู่ในระดับเดียวกับโกวเล้ง
ซึ่งเสียชีวิตไปแล้วเช่นเดียวกันสำหรับผม ผมว่านักเขียนอย่างคุณ”
รงค์กับโกวเล้งเป็นแบบที่ไม่รู้ว่าชั่วชีวิตนี้ จะได้เจออีกหรือเปล่า

เพียรพูดความจริงในวัยสนธยาแห่งชีวิต ของ ส.ศิวรักษ์
เคยสัมภาษณ์คุณ ส.ครั้งหนึ่งท่านเป็นคนที่มีเมตตามาก
เป็นนักปราชญ์ที่มองสังคมอย่างปรุโปร่งและตรงไปตรงมา
เล่มนี้เป็นการรวบรวมบทบรรยายที่ท่านไปบรรยายตามที่ต่างๆ
เป็นอีกเล่มหนึ่งที่อ่านรวดเดียวจบ

ถ้าเหลือเวลาใช้ชีวิตอีกไม่นาน สิ่งที่อยากทำคืออะไร

อยาก เดินทางรอบโลก ซึ่งก็เหลือไม่กี่ทวีปแล้ว
เพราะชีวิตมีความแตกต่าง การได้ไปเจอ
คุณจึงจะเข้าใจความแตกต่างนั้น บางครั้ง
ถ้าคุณไม่เข้าใจความแตกต่าง
คุณจะรู้สึกไม่เป็นมิตรกับเขา เช่น คุณเห็นแมลงสาบเดินมา
มันไม่ได้ทำอะไรให้คุณ
แต่คุณไม่ชอบมัน ถ้าฆ่ามันได้ก็จะฆ่า คิดดูสิ
คุณพร้อมจะทำลายชีวิตที่ไม่รู้จักกันเลย
เพราะคุณไม่เข้าใจเขา แต่ถ้าเราเข้าใจว่าทุกอย่างต้องประกอบกัน
ความหลากหลายมารวมกันจึงเกิดเป็นโลก ถ้าโลกมีแต่มนุษย์
มันคงเป็นโลกที่ระยำที่สุด เพราะฉะนั้นเกิดมาครั้งหนึ่ง
ถ้ามีโอกาสได้เห็นด้านอื่นๆ ได้เรียนรู้และทำความเข้าใจเขา
ไม่ต้องรู้เพื่อให้ตัวเองเก่งหรือฉลาดขึ้นหรอก
แต่รู้เพื่อรู้ก็มีความสุขแล้ว











Newer Posts Older Posts Home