เหนือสิ่งอื่นใด
- เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี 9 มิถุนายน 2559
- พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) ณ วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๙
- The 60th Anniversary Celebrations of his Majesty King Bhumibol Adulyadej's Accession to the Throne
- 63 ปี "พระเจ้าอยู่หัว ร.๙" ผู้นำที่ไม่เหมือนใครในโลก นำพาประเทศ "อยู่ดีมีสุข"
- Supreme Artist
- เศรษฐกิจพอเพียง : Sufficiency Economy พ.ศ. ๒๕๖๓
- ทศพิธราชธรรม ๑
- ทศพิธราชธรรม ๒
- ๑๐๐ ปี สวรรคตกาลสมเด็จพระปิยมหาราช
- ร.๙ ทรงห่วงเหตุการณ์ประเทศเพื่อนบ้าน
- พระบรมราโชวาท ร.๙
- "พูดแล้วต้องทํา" พระบรมราโชวาท "ในหลวง ร.๙" ทรงเตือน-ครม.
- ร. ๙ ทรงพระราชทานแก่พลเอกสุจินดา คราประยูร และพลตรีจำลอง ศรีเมือง
- ร.๙ ทรงรับสั่งรมต.ถวายสัตย์ฯ
- ร.๙ ทรงมีพระบรมราโชวาทแก่ตุลาการทหาร
- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.9 ทรงป้องกันน้ำท่วม ปีพุทธศักราช ๒๕๓๘
- “ในหลวง ร.๙” ทรงฝากองคมนตรีปลูกฝังคนไทยเอื้อเฟื้อ นึกถึงส่วนรวม
- “ในหลวง ร.๙” เสด็จฯ ทอดพระเนตรดนตรีที่ศิริราช
- "ในหลวง ร.๙" เสด็จเปิดประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์-สะพานภูมิพล 1,2
- ในหลวง ร. ๙ เสด็จฯทอดพระเนตรคอนเสิร์ตแจ๊ส
- ๕ ธันวาคม ๒๕๕๒
- น้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณ"ในหลวง ร.๙"กับ"ภูมิสารสนเทศ"
- ในหลวง ร.๙ ทรงพระราชทาน ส.ค.ส.2554 แก่พสกนิกรชาวไทย
- 'ในหลวง ร.๙' ทรงมีพระราชดำรัสให้คนไทย ทำหน้าที่ ไม่ประมาท มีสติ : ๕ ธันวาคม ๒๕๕๓
- วันฉัตรมงคล (ร.๙)
- ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๙
- พระราชดำรัสสุดท้าย ในหลวง รัชกาลที่ 9
- ๑๒ สิงหา วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
- "สมเด็จย่า"
- เจ้านายเล็กๆ ยุวกษัตริย์
- อาลัยพระพี่นางฯ
- ในหลวงรัชกาลที่ ๙ โปรดให้นายโคฟี อันนัน เฝ้าถวายรางวัลฯ (๒๕ พ.ค.๔๙)
- "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร" มีพระราชดำรัสเกี่ยวกับการวิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์
- พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล
- ศิลปาชีพ : ประจักษ์พยานของความรัก ผูกพัน และห่วงใย
- เพลงสรรเสริญพระบารมี
- ชีวิตที่หมุนไปไม่หยุดยั้ง...พระอารมณ์ขันของพระเทพฯ
- ถ้าเดินเรื่อยไปย่อมถึงปลายทาง นิทรรศการภาพถ่ายฝีพระหัตถ์สมเด็จพระเทพรัตนฯ
- สมเด็จพระเทพฯ กับการส่งเสริมไอที เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
- สมเด็จพระเทพฯ สนพระทัยเมล็ดพันธุ์ช่วยหล่อเลี้ยงประชากร
- เครือข่ายกาญจนาภิเษก
- สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- ทรงพระเจริญ
- ของขวัญจากก้อนดิน
- ต้นไม้ของพ่อ
- รูปที่มีทุกบ้าน
- นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ
- ติโต
- ไม่มีวันไหนที่ไม่คิดถึงในหลวงรัชกาลที่ ๙
- พระราชนิพนธ์ พระมหาชนก ที่ทุกคนพึงอ่าน
- โครงการแก้มลิง
- ทำไมเรารัก "พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร"
Custom Search
Apr 30, 2012
เลอ คอร์บูซิเยร์ : Le Corbusier
- http://www.nokhook.thapat.com/board/index.php?topic=252.0
- http://tristonrobinson.wordpress.com/tag/le-corbusier/
เลอ คอบูซิเยร์ (Le Corbusier) มีชื่อจริงว่า Charles-Edouard Jeanneret
เป็นสถาปนิก
นักวางผังเมือง จิตรกร ชาวฝรั่งเศส
เกิดที่เมือง Chaux-de-Fonds
ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม ค.ศ. 1887 เสียชีวิต
ในแถบเมดิเตอร์เรเนียน
ในเดือน 27 สิงหาคม ค.ศ. 1965
เขาได้คิดค้นระบบของสัดส่วน
ของการออกแบบทางสถาปัตยกรรม - Modulor
ซึ่งกำหนดจากพื้นฐานของสัดส่วนมนุษย์
จากความสูง 1829 มม
ประวัติ
เลอ คอบูซิเยร์ (1887-1965) เกิดเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม ค.ศ. 1887 ที่เมือง Chaux-de-Fonds ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ซึ่งเป็นเมืองเล็กๆ ในแถบสวิสซึ่งที่นั้นเป็นศูนย์กลาง ของการทำนาฬิกา พ่อเป็นคนสลักและลงยาหน้าปัทม์นาฬิกา ส่วนแม่เป็นครูสอนเปียโน
พอ อายุได้ 13 ปี เขาออกจากกิจการของครอบครัวออกเที่ยวไปในยุโรปและเมดิเตอร์เรเนียน ไปอยู่ปารีสและได้ทำงานกับ Auguste Perret ต่อจากนั้น ไปอยู่เยอรมันไปเป็นผู้ช่วย behren และกลับมาเป็นครูที่โรงเรียน Chaux-de-Fonds เขาได้ไปทำงานเป็นจิตรกร ที่ปารีส และได้ทำงานด้านผังเมือง ได้สร้างเมืองใหม่ Chandigarh ซึ่งเป็นเมืองหลวงของรัฐปัญจาบ ประเทศอินเดีย
ใน ปี 1913 ไปอยู่ปารีส ซึ่งในขณะนั้นเป็นศูนย์กลางของศิลปะคิวบิสม์ และเซอร์เรียวลิสม์ ต่อมาในปี 1930 ได้โอนสัญชาติมาเป็นสัญชาติฝรั่งเศส และเขาได้เสียชีวิตขณะว่ายน้ำเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม ค.ศ. 1965
แนวความคิดในการออกแบบ
ตัว เขาไปสร้างศิลปะแบบ purism โดยยึดถือความคิดเกี่ยวกับรูปทรงอย่างเดียว พร้อมกับคำพูดของเขาที่ว่า “ a house is a living in “ หมายความว่า บ้านพักอาศัยควรสนองประโยชน์ใช้สอยอย่างแท้จริง คอร์บูมองเห็นว่า บ้านนั้นเป็นผลิตผลของผู้บริโภคเหมือนกับรถยนต์ ซึ่งผลิตชิ้นส่วนออกมาจากโรงงานและด้วยการผลิตทางอุตสาหกรรมนี้ บ้านก็ควรมีชิ้นส่วนที่ผลิตออกมาจากโรงงาน(แล้วเลื่อนออกมาตามสายพานเหมือน ชิ้นส่วนของรถยนต์ ) และด้วยหลักการนี้ก็เข้าครอบงำสถาปนิกตั้งแต่นั้นมา ความจริงแล้วคอร์บู ได้แรงบันดาลใจจากภาพจำลองของเครื่องจักรและอาศัยสิ่งเหล่านี้ไปสร้างสรรค์ สไตล์ใหม่ๆ ซึ่งไม่มีการเกี่ยวข้องกับสถาปัตยกรรมแบบดั้งเดิม บ้านของเขาก็ดูคล้ายๆ เครื่องจักร แต่ละส่วนแสดงออกอย่างชัดแจ้งเหมือนชิ้นส่วนของเครื่องจักร ปล่องระบายอากาศบนหลังคาก็ดูคล้ายปล่องเรือกลไฟ บ้านที่รู้จักกันดีก็คือ Villa Savoye นอกกรุงปารีส ซึ่งถูกเปรียบเทียบกับเฮลิคอปเตอร์ที่ตั้งอยู่บน landscape ที่เกี่ยวเนื่องกับคติทางคลาสสิคและยุคเครื่องจักรกล คอร์บูเป็นผู้สนับสนุนความคิดแบบฟิวเจอร์ริสท์ โดยการแสดงออกให้เห็นสังคมใหม่แทนที่จะให้สถาปัตยกรรมเป็นผู้กำหนดโลกใหม่ เขากลับมีความต้องการที่จะออกแบบสังคมใหม่ด้วยจินตนาการของเขาเอง ชื่อ คอร์บูสิเอร์เป็นฉายาที่ตั้งขึ้นเองแปลว่าอีกา
คอร์บูได้เปลี่ยน สไตล์ของเขา หลังสงครามเขาก็ทิ้งความตั้งใจที่ชอบผลิตผลของเครื่องจักรที่มีผิวพื้นที่ เรียบลื่นและหันไปชอบสไตล์ใหม่ ซึ่งเขาเรียกว่า brutism คือความหยาบของผิววัสดุ เมื่อเป็นเช่นนี้จะเห็นว่าคอร์บูมักทำโครงสร้างแบบ “ คอนกรีตเปลือย “ และเขาเห็นว่าอาคารนั้นไม่เหมาะกับคนแต่ควรทำให้คนเหมาะกับอาคารจึงกำหนดสัด ส่วนของอาคารให้เหมาะสมแทน
ด้วยแรงบันดาลใจและความคิดสร้างสรรค์ใน ยุค modern movement เขาได้ออกแบบโบสถ์ chaple at ronchamp ถือเป็นงานชั้นโบว์แดงของเขา มีลักษณะเล่น ลูกเล่นแบบ plastic quality ของดินเหนียว ใช้รูปทรงที่แรงแทนสัญญลักษณ์ทางศาสนา งานนี้มีลักษณะเห็นถึงพลัง และมีความเป็นตัวเองได้อย่างมีเอกลักษณ์
คอร์ บูได้สร้างสรรค์ ศิลปะหลายแขนง เป็นประติมากร โดยทุกเช้าจะเล่นน้ำทะเลให้คลื่นสัดสาดตัวแล้วจะขึ้นมาทำงานประติมากรรม เสร็จแล้วก็จะเรี่มงานสถาปัตยกรรม เป็นนักผังเมืองมีความคิดกว้างไกลจากยุคที่ตนมีชีวิตอยู่ ว่าควรจัดระบบ จัดโซนของการใช้เมืองอย่างไรจึงจะได้ผล เขาถือความงามเป็นสิ่งสัจจะ เป็นสิ่งที่ดีและหาได้ยากจะได้มาก็ต้องผ่านการเลือกเฟ้นเท่านั้น
ลักษณะสถาปัตยกรรม 5 ประการของ เลอคอบูซิเยร์
ในสิ่งตีพิมพ์ เขาได้เสนอความคิดที่สำคัญตั้งแต่สมัยแรกๆ คือ five points of modern architecture
ยกพื้นสูงลอยตัว มีลักษณะเบา แบบนี้เป็นเรื่องใหม่ของตะวันตกที่เคยชินกับ
มีรูปทรง (Mass) ที่ทึบตันและติดดิน
จัดแผนผังพื้นที่ใช้สอย เป็นอิสระจากโครงสร้าง (free plan)
ใช้ ribbon window
ใช้ roof garden
งานนิพนธ์สำคัญ
Vers une Architecture (Towards a New Architecture)
Urbanisme (The City of Tomorrow)
L'Art decoratif daujourd'hui
La Peinture Moderne
le moduler
ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ เช้าข่าวข้น
ออกอากาศเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2552
พบกับ ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ
เล่าถึงประสบการณ์สอนที่ จุฬาฯ
จนได้ฉายา ว่า อาจารย์ GTO
จากนิสิตนักศักษา
"ให้ความรักก่อนให้ความรู้"
ท่านมีความรู้หลายแขนง(จับฉ่ายแมน)
พุทธศาสนากับสุดยอดวิทยาศาสตร์
ผลงานที่นาซ่า เซรามิกเคลือบใบพัดเครื่องบินไอพ่น
ท่านชอบอ่านหนังสือ จนชำนาญในการอ่านหนังสือ
แนะนำหนังสือ Dialogue
"คิดลงสู่ใจ ไหลเป็นปัญญา"
ฟังกันลึกๆ ฟังกันให้จบสนทนาแบบเคารพความแตกต่าง
ทุนมนุษย์ แนะนำให้
คบบัณฑิต คบเพื่อนดี การสร้างแรงบันดาลใจ
ตึกหุ่นยนต์ ~ ดร. สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา
ดร.สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา~สถาปนิกไทย
Sumet Jumsai designed the Bank of Asia Building,
the so-called "Robot Building" on Bangkok's Sathorn Road.
Sumet Jumsai designed the Bank of Asia Building,
the so-called "Robot Building" on Bangkok's Sathorn Road.
มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก ป้องกันได้ รักษาหายได้
พล.ต.รศ.นพ.ปริญญา ทวีชัยการ
ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญระบบ ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
ท่านได้กรุณาสร้างองค์ความรู้
และที่ youtube ท่านกรุณามากที่มอบความรู้ให้สาธารณะ
มะเร็งลำไส้ใหญ่ (colon cancer)
"มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก (Colon and rectal cancer)
ป้องกันได้ รักษาหายได้ เอาชนะได้"
บรรยายโดย พล.ต.รศ.นพ.ปริญญา ทวีชัยการ
ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญระบบลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
The Society of Colon and Rectal Surgeons Thailand
ด้วยความอาลัย
ดร.อภิวัฒน์ วัฒนางกูร
ศรัณยู วงษ์กระจ่าง
สุทธิพงษ์ ธรรมวุฒิ
ไม่บ่อยนักที่ Role Model ของ "ผู้จัดการ"
จะเป็นเจ้าของธุรกิจที่มีพนักงานทั้งสิ้นเพียงร้อยเศษๆ
มีผลประกอบการประจำปีแค่เกือบร้อยล้านบาท
แม้เขาคนนี้จะไม่ใช่กัปตันที่ประจำการบน "เรือธง" ลำยักษ์
ที่ชื่อบริษัทถูกตบท้ายด้วยคำว่า "(มหาชน)" เหมือน Role Model อีก 5 คน
แต่เขาก็เป็น "คนคัดท้าย" เรือลำน้อยๆ ที่ตระหนักดีว่า "แม่น้ำ"
ย่อมมีอายุยืนยาวและสำคัญมากกว่า "คน"
นานนับสิบปีที่พรมแดนบนจอแก้วส่วนใหญ่ถูกครอบครองด้วยละคร เกมโชว์ โฆษณา ที่ทำหน้าที่รับใช้ "ทุนนิยม" ที่หล่อเลี้ยงกิเลสของผู้คนในสังคมให้เติบโตอย่างไม่มีที่สิ้นสุด แต่ดูเหมือนว่าจะไม่มีแรงขัดขืนจากผู้มีส่วนรับผิดชอบ ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของสถานี ผู้ผลิตสื่อ เจ้าของรายการคนทำงานทีวี เอเยนซี่โฆษณา เจ้าของสินค้า ตลอดจนคนทำงานทีวีที่เหมือนจะสมคบคิดกัน ขณะที่ผู้รับสื่อเองก็ดูสมยอมกับภาวะนั้น
กระทั่งกว่า 4 ปีที่แล้ว วงการทีวีแบบเดิมถูกทำให้สั่นคลอน เมื่อรายการสารคดีรายการหนึ่งใช้เวลาเพียงไม่นานในการชิงพื้นที่ความสนใจของ คนในสังคมกลุ่มหนึ่งให้หันกลับมาตระหนักถึงความเป็นจริงในอีกส่วนเสี้ยวของ สังคม จนชีวิตชายขอบที่มีอยู่ก็เหมือนไม่มีของคนหลายคนกลายเป็น "Talk of the Town" เพียงชั่วข้ามคืน รายการดังกล่าวมีชื่อว่า "คนค้นฅน"
โดยมีผู้ที่อยู่เบื้องหลังการค้นฅน คนสำคัญนั่นก็คือ "เช็ค" หรือ
นานนับสิบปีที่พรมแดนบนจอแก้วส่วนใหญ่ถูกครอบครองด้วยละคร เกมโชว์ โฆษณา ที่ทำหน้าที่รับใช้ "ทุนนิยม" ที่หล่อเลี้ยงกิเลสของผู้คนในสังคมให้เติบโตอย่างไม่มีที่สิ้นสุด แต่ดูเหมือนว่าจะไม่มีแรงขัดขืนจากผู้มีส่วนรับผิดชอบ ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของสถานี ผู้ผลิตสื่อ เจ้าของรายการคนทำงานทีวี เอเยนซี่โฆษณา เจ้าของสินค้า ตลอดจนคนทำงานทีวีที่เหมือนจะสมคบคิดกัน ขณะที่ผู้รับสื่อเองก็ดูสมยอมกับภาวะนั้น
กระทั่งกว่า 4 ปีที่แล้ว วงการทีวีแบบเดิมถูกทำให้สั่นคลอน เมื่อรายการสารคดีรายการหนึ่งใช้เวลาเพียงไม่นานในการชิงพื้นที่ความสนใจของ คนในสังคมกลุ่มหนึ่งให้หันกลับมาตระหนักถึงความเป็นจริงในอีกส่วนเสี้ยวของ สังคม จนชีวิตชายขอบที่มีอยู่ก็เหมือนไม่มีของคนหลายคนกลายเป็น "Talk of the Town" เพียงชั่วข้ามคืน รายการดังกล่าวมีชื่อว่า "คนค้นฅน"
โดยมีผู้ที่อยู่เบื้องหลังการค้นฅน คนสำคัญนั่นก็คือ "เช็ค" หรือ
สุทธิพงษ์ ธรรมวุฒิ หนุ่มใหญ่ชาวชุมพร อายุราว 45 ปี
ผู้คร่ำหวอดวนเวียนอยู่ในวงการทีวีมาเกือบครึ่งชีวิต
"หากจะเปลี่ยนแปลงอะไรในวงการภาพยนตร์ ผมเชื่อว่ามันไม่ใช่มาจากเจ้าของโรงหนัง หรือค่ายหนัง แต่ต้องมาจากผู้กำกับ คนเขียนบท เหมือนกันถ้าจะเปลี่ยนแปลงอะไร ในวงการโทรทัศน์ สถานีโทรทัศน์เขาไม่มีทาง ที่จะมองเห็นแล้วหาคนมาทำรายการประเภทนี้ มันต้องเริ่มต้นจากผู้ผลิตรายการและคนทำงาน
ตลอดมาสารคดีก็ไม่ได้หายไปไหน เพียงแต่ผู้ผลิตรายการไม่พยายามต่อสู้ที่จะทำ อาจจะเห็นว่าแนวอื่นทำได้ง่ายกว่า เห็นประโยชน์มากกว่า รายการสารคดีก็เลยแทบจะสูญพันธุ์ในทางทีวี มีแต่รายการประเภทอื่น ที่ยึดครองพื้นที่อยู่เยอะมากโดยเฉพาะช่วงไพรม์ไทม์"
เช็คสรุปว่า ทางเลือกที่สังคมมีอยู่ แม้ จะดูว่าหลากหลาย แต่กลับเป็นไปในทิศทาง เดียวกัน นั่นคือวิถีของการกระตุ้นเร้าให้สังคม เข้าใจว่าชีวิตที่ดีที่สุดเป็นชีวิตที่มุ่งตอบสนอง ต่อกิเลสอย่างไร้ขีดจำกัด และโดยไม่ต้องยับยั้ง ชั่งใจ
แม้ตระหนักว่าตัวเองเป็นเพียงจุดเล็กๆ ที่อาจจะไม่สามารถเคลื่อนย้ายความเป็นจริงที่ใหญ่กว่าได้ แต่อย่างเดียวที่เป็นแรงบันดาล ใจผลักดันคนทำสื่ออย่างเขา ให้ลุกขึ้นมาใช้ความเป็นมืออาชีพนำพารายการสารคดีที่มีกลิ่นอายเพื่อสังคม ไปปักธงแบ่งแดนอยู่ในช่วงไพรม์ไทม์ของโมเดิร์นไนน์ทีวีได้นั้น
มาจากความเชื่อส่วนตัวที่รอการพิสูจน์ ให้สังคมประจักษ์ว่า รายการสารคดีสามารถมีที่ทางในสังคม ตอบโจทย์ทางธุรกิจได้
ผู้ชายผิวคล้ำ ใบหน้าขรึม ในมาดเข้ม กับบทบาทคนเบื้องหน้า เช็คอาจเป็นเพียงผู้ดำเนินรายการ "โนเนม" แต่ในฐานะคนเบื้องหลังผู้คลุกคลีในแวดวงสื่อมาร่วม 20 ปี เขามีประวัติการทำงานที่ถือได้ว่าโชกโชน ผลงานของเขาหลายชิ้นสร้างชื่อและความสำเร็จให้กับทั้งตัวรายการ ตัวบริษัท JSL และตัวเขาเอง (?)
เช่น รายการเจาะใจ ซึ่งเช็คคลุกคลีอยู่นานร่วม 10 ปีเลยทีเดียว และเป็นมาตั้งแต่ครีเอทีฟ, โค-โปรดิวเซอร์, โปรดิวเซอร์ และที่ปรึกษาของรายการ นอกจากนี้เขายังเป็นโปรดิวเซอร์, คนคิดคอนเซ็ปต์ วางรูปแบบเนื้อหาในรายการสัญญา มหาชน และยังเป็นที่ปรึกษาให้กับรายการจันทร์กะพริบ
ตำแหน่งหลังสุดของเช็คในบริษัท JSL เขาได้รับความไว้วางใจ จาก "เจ้านาย" ให้ดำรงตำแหน่งเป็น ถึงรองผู้จัดการฝ่ายผลิตเลยทีเดียว
ในปี 2542 เช็คจบชีวิตลูกจ้างของเขา แล้วเปิดฉากชีวิตใหม่ในบทบาท "เจ้าของบริษัท" ด้วยการร่วมทุนกับเพื่อนๆ และดำรง พุฒตาล ก่อตั้งบริษัท 2000 ทรู-ทรีโอ โปรดักชั่น จำกัด รับจ้างผลิตรายการโทรทัศน์ ซึ่งมีถึง 4 รายการ ภายในไม่เกิน 4 ปี ได้แก่ รายการ 7 กะรัต, คนนี้ที่หนึ่ง, รักเกินร้อย และสู้แล้วรวย
แต่เมื่อ "สู้แล้วรวย" จะหลุดผังจากไอทีวี เช็คยังรู้สึกมีพันธะที่ต้องรับผิดชอบต่อชีวิตทีมงาน เขาจึงคิดคอนเซ็ปต์รายการขึ้นใหม่กลายเป็นที่มาของ "คนค้นฅน"
อาจกล่าวได้ว่า ความโด่งดังราวพลุแตกของรายการนี้มาจากการต่อสู้ดิ้นรนของ "คนเดิน เรื่อง" อย่างเช็ค อาจจะไม่ยากลำบากเท่าชีวิตต้องสู้ของ "คนต้นเรื่อง" แต่ไม่ง่ายเลยเมื่อเทียบ กับคนทำงานทีวีบันเทิง
"ผมเอารายการไปเสนอที่ต่างๆ ไม่มีใครเอา หุ้นส่วนเก่าก็ไม่เอาด้วย เพราะเขาเห็นว่า ทุกช่องปฏิเสธหมด เขาก็ไม่มั่นใจเพราะไม่เห็นอนาคต สุดท้ายผมก็เลยต้องเอารายการนี้ไปเสนอ เจ้านายเก่าที่ JSL"
จำนรรค์ ศิริตัน อดีตเจ้านายที่แสนดี บอสใหญ่แห่ง JSL ยื่นเงื่อนไขข้อเดียวคือ ขอให้ JSL เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ดีลนี้จึงปิดที่ JSL ถือหุ้น 55% ที่เหลือเป็นเช็คและหุ้นส่วน แต่ถึงจะถือหุ้น เพียงส่วนน้อย แต่อิสระทางความคิดและการทำงาน 100%
บริษัท ทีวีบูรพา ก่อตั้งเมื่อปี 2546 แต่รายการคนค้นฅนเตรียมการก่อนหน้านั้นมาเป็น เวลากว่าปี
เพื่อก่อตั้งทีวีบูรพา เช็คลงทุนขายรถ รีไฟแนนซ์บ้าน เรียกว่า "เทหมดหน้าตัก" ทั้งที่ยังไม่รู้เลยว่า รายการจะมีอนาคตได้ออกอากาศหรือไม่ เพราะราว 5 ปีก่อน สารคดีแทบจะไม่มีพื้นที่บนจอแก้ว ราวกับว่าถูกคุมกำเนิด ไม่ให้มีโอกาสเกิดบนหน้าจอฟรีทีวี
ขณะที่เช็ครับผิดชอบการผลิตรายการ อย่างเข้มข้น "บริษัทแม่" ก็ดูแลเรื่องการประชาสัมพันธ์ และการตลาดให้ "ลูก" อย่าง เข้มแข็ง เพียงไม่นานรายการแรกของทีวีบูรพาก็ได้โผล่ในช่วงไพรม์ไทม์ของช่องโม เดิร์นไนน์
"เหตุปัจจัยหนึ่งของการเกิดของคนค้นฅน มาจากการสะทกสะท้อนใจกับความขัดแย้งที่มีอยู่ในสังคม และการห้ำหั่นกันเพราะเรื่องเล็กๆ เราจึงอยากผลิตรายการที่ช่วยให้เกิดความเข้าใจกันในสังคม ถามว่าเข้าใจเพื่ออะไร ก็เพื่อจะได้อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข" เป็นจุดหมายของสารคดีคนรายการนี้
ปลายทางของรายการที่เช็คมุ่งไปให้ถึงช่างดูแสนไกล หากรายการคนค้นฅนต้องทำหน้าที่เพียงลำพัง
รูปแบบของ "คนค้นฅน" เป็นรายการ สารคดีที่เล่าเรื่องราวชีวิตอย่างมีมิติและมีเหลี่ยมมุม
คนต้นเรื่องในรายการ บ่อยครั้งเป็นคนพิการ คนเร่ร่อน หญิงโสเภณี คนชายขอบ คนด้อยโอกาสทางสังคม คนที่ถูกตราหน้าว่า "บ้า" คนที่ถูกมองอย่างไร้ค่า ฯลฯ เกือบทุกคนเรียก ได้ว่าเป็น "nobody" ในสังคมฉาบฉวยแห่งนี้ และดูเหมือนว่าสื่อสาธารณะอย่างทีวีจะไม่เคยสำรองพื้นที่ไว้ให้กับคนกลุ่ม นี้เลย
ยิ่งไม่มีที่ทางในสังคม "nobody" ก็ยิ่งกลายเป็น nobody ที่สังคมก็ยิ่งทอดทิ้ง จนบางครั้งการมีอยู่ของบางชีวิตกลับเหมือน "ไม่เคยมีอยู่"
เช็คเลือกใช้ "ฅน" ในคำสุดท้าย เพื่อสร้างความตระหนักว่า ตัวอักษร ฅ.ฅน ที่ถูกใช้น้อยจนแทบไม่มีโอกาสโผล่หน้ามาบนบรรทัดหนังสือ เปรียบได้กับคนต้นเรื่อง ที่มักไม่ใช่คนแถวหน้าของสังคม ไม่มี spotlight ของสังคมไปโฟกัส แต่คนเหล่านี้ก็ที่มีอยู่จริง เป็นส่วนหนึ่ง ของสังคม และมีคุณค่าความเป็นคนไม่ต่างกัน
ไม่เพียงค้นหาคนต้นเรื่อง ทีมงานคนค้นฅนยังต้องค้นหาให้พบแง่งามในชีวิตเหล่านั้น แล้วเปิดเปลือยชีวิตของคนต้นเรื่องอย่างตรงไปตรงมา ตามความหมายของ M.D. แห่งทีวีบูรพา แง่งามแห่งชีวิตอาจเป็นบางเสี้ยวมุมดีๆ ที่ตรงกับกรอบความดีของสังคม และอยู่ในกรอบความ เชื่อส่วนตัวของเขา
เป็นความเชื่อที่อาจขัดแย้งกับกระแสที่เป็นอยู่ในขณะนั้น เขาเชื่อว่า ชีวิตที่ดีคือชีวิตที่รู้จักระงับความอยาก และมีความสุขแบบพอดี ดังนั้น ความเชื่อนี้จึงเป็นเครื่องมือคัดกรองชั้นดี ในการค้นหาคนต้นเรื่องที่อาจจะกลายเป็น "ต้นแบบ" ของคนอื่นในสังคม
"โดยทั่วไป คนที่ spotlight ของสังคมจับหรือโฟกัสเข้าไป มักจะมีเหตุปัจจัยมาจากเรื่องอื่น จากความดัง ความรวย ความสวย และเรื่องภายนอกอื่นๆ หรือเพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง แต่คนที่ spotlight ของสังคมจับไป บางคนก็ไม่ใช่คนที่อาจจะเป็นต้นแบบให้กับคนอื่นได้" ความเห็นของคนสื่ออย่างเช็ค
อันที่จริง คนที่เป็น "somebody" ของสังคม บางคนก็อาจมีบางแง่มุมที่มี "เนื้อสาร" พอที่จะถูกหยิบยกมาเป็นคนต้นเรื่องได้ แต่มักติดอยู่กับเงื่อนไขที่เขาเหล่านั้นมักจะไม่ยอมเปลื้องเปลือยตัว เองอย่างตรงไปตรงมา ตรงกันข้ามกลับบิดเบือน และเลือกหันบางด้านที่ดูดีกว่าเข้าหา spotlight ของสังคม
ถ้าสมยอมไปตามนั้น สื่อก็ถูก (หลอก) ใช้เป็นแค่เครื่องมือ "propaganda" ให้กับคนเหล่านั้น
"สำหรับคนที่ไม่มีมายาคติ หรือไม่ยึด ติดกับมายาคติบางอย่าง พวกเขาสามารถที่จะแสดงออกได้แบบไม่มีข้อแม้ ไม่สร้างภาพ มันก็เลยต้องกลายเป็นเรื่องของคนที่ไม่ติดข้อแม้เหล่านี้"
คนต้นเรื่องถูกสรรหามาได้จากหลากหลายช่องทาง เช่น คนที่ทีมงานรู้จักหรือเชื่อมโยงด้วยทีมวิจัยที่ลงพื้นที่ ข่าวสารจากแหล่งข่าว ตั้งโจทย์แล้วออกไปค้นหา ใช้รถออกไปประกาศ หรือแจกใบปลิวตามชุมชน ฯลฯ แต่ยังมีอีกแหล่งสำคัญ นั่นก็คือ แฟนรายการที่โทร จดหมาย อีเมล หรือเดินเข้ามา บอกทีมงาน
ความเป็นจริงในการผลิตเป็นอีกเครื่อง มือคัดแยกคนต้นเรื่องออกจากตัวละคร
นั่นก็คือ คนต้นเรื่องต้องมีบริบทหรือเหตุการณ์ชีวิตของตัวละครที่จะสนับสนุนประเด็น ของทีมงานได้ และต้องให้ความร่วมมืออันดี เพราะการติดตามเฝ้ามองชีวิตของพวกเขา อาจใช้เวลาแรมปี
จุดยืนของรายการตั้งอยู่บนหลักการของผู้เฝ้ามองชีวิต ทีมงานจึงทำตัวเป็นอากาศธาตุ หรือเป็นเพียงเงา หลายครั้งที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากสังคม เช่น ตอน "แม่ไม่ต้องร้องไห้" เช็คถูกต่อว่าที่เอาแต่จับจ้องดูแสงไฟแห่งชีวิตริบหรี่และดับลง โดยที่ไม่ทำอะไรมากไปกว่าการเฝ้ามองและถ่ายทำ
"หลายครั้งที่เราก็เกิดความขัดแย้งในใจ แต่ก็ต้องชั่งน้ำหนักให้ดี เพราะถ้าเข้า ไปแทรกแซงก็จะทำให้ชีวิตของเขาเปลี่ยนไปเลย และก็บิดเบือนข้อเท็จจริงในชีวิตของเขา บางทีด้วยเหตุผลทางมนุษยธรรมที่มีน้ำหนักกว่าเราก็เข้าไปช่วยเหลือ แต่บางทีก็ทำได้แค่ข่มใจและเฝ้าต่อไปอย่างเงียบๆ"
หลายครั้งที่เรื่องราวของคนต้นเรื่องกลายเป็นที่พูดถึงทั่วบ้านทั่ว เมืองแค่เพียงข้ามคืน หลายคนชมเชยพรสวรรค์ในการค้นหาคนต้นเรื่อง แต่ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า อารมณ์สะเทือนใจที่เป็นตัวเหนี่ยวรั้งให้ผู้ชมติดตามรายการในตอนนั้นๆ มีที่มาจากทักษะทาง ภาษาหนังและภาษาวรรณกรรมของเช็ค
ในเรื่องทักษะภาษาหนัง ที่หมายถึงมุมกล้อง ภาพ การเดินเรื่อง การเล่าเรื่อง การตัดต่อภาพ ฯลฯ ซึ่งเห็นได้บ่อยครั้งในรายการนี้ ความสามารถทางนี้ เช็คสั่งสมมาตั้งแต่สมัยที่ได้ทุนสหมงคลฟิล์ม และได้เรียนรู้กับบรมครูแห่ง วงการภาพยนตร์ของไทย รวมถึงประสบการณ์การเป็นผู้ช่วยผู้กำกับให้กับหนัง "หลังคาแดง"
สำหรับทักษะทางวรรณกรรมของเช็ค มาจากการฝึกฝนผ่านการอ่าน โดยมีผู้จุดประกาย ก็คือพ่อของเขา ซึ่งเป็นครูบ้านนอกที่ชื่นชอบการอ่าน และใช้แรงบันดาลใจที่ได้จากเรื่องที่อ่าน มาตั้งเป็นชื่อลูก
ราวกับรู้ว่าลูกชายคนนี้ เมื่อโตขึ้นจะหลงใหลและวนเวียนอยู่ในแวดวงวรรณกรรม พ่อจึงตั้งชื่อให้เขาว่าเช็ค ซึ่งมาจาก "William Shakespeare"
ภาษาสละสลวยดั่งงานวรรณกรรม เป็นความงามที่สัมผัสได้ในคนค้นฅนจนกลายเป็น "ลายเซ็น" ของรายการไปแล้ว กล่าวได้ว่าเป็นอัจฉริยภาพทางภาษาของเช็ค
ความสามารถตรงนี้ของเขาได้รับการยอมรับในหมู่มวลนักประพันธ์แห่งแวดวง วรรณกรรม มานานนมแล้ว ก่อนหน้านี้เขาเคยมีผลงานรวมเรื่องสั้นหลายเรื่อง เช่น รากเหง้า, ตามหาข้าพเจ้า, เนื้อสองชิ้น, ผู้เจ็บป่วย เป็นต้น เขายังมีรางวัลจากนิตยสารช่อการะเกด และแพรวสำนักพิมพ์ การันตีคุณภาพ
อีกเทคนิคที่ช่วยตรึงคนดูให้อยู่ตลอดรายการ ก็คือ "โศกนาฏกรรม" อันเป็นขนบแห่งหนังและละคร
"ในการเล่าเรื่องของคนที่ไม่เป็น somebody ให้คนดูติดตาม การนำเสนอต้อง เร้าคนดู ซึ่งจะเร้าได้ก็ด้วยภาษาหนังและความเป็นดราม่า เมื่อมีการปะทะความรู้สึก ก็จะเกิดพลังโน้มน้าวให้คนดูติดตามและคล้อยตาม แล้วทีนี้ก็ง่ายแล้วที่จะตั้งคำถามเกี่ยวกับชีวิต เพื่อให้คนดูได้ขบคิดหาคำตอบถึงเหตุผลของการมีชีวิต" แม้เขาจะไม่โปรดละคร แต่ก็ยอมรับแง่งามของขนบละครจุดนี้
แต่ทั้งหมดล้วนมาจากทรัพยากรที่เคลื่อนไปตามความเป็นจริงในชีวิตคนต้น เรื่อง โดยปราศจากการกำกับ หรือประดิษฐ์ อันเป็นเงื่อนไขสำคัญของสารคดี
ขั้นตอนที่อาจกล่าวได้ว่ายากและสำคัญ ในการผลิตรายการนี้อยู่ที่กระบวนการตัดต่อ เพราะเทปมากมายที่ถ่ายมาอีเหละเขะขะ น้อยที่สุดยังมากถึง 25-30 เทป ส่วนที่มาก สุดก็มากถึง 100 เทป แต่ต้องตัดต่อให้ลง 40 นาที
สุดท้ายเมื่อรายการออกอากาศ "เนื้อสาร" อันหนึ่งที่ผู้ชม รายการคนค้นฅนน่าจะได้รับทันทีที่จบรายการ นั่นก็คือการตระหนัก ถึงความเป็นจริงของสังคมที่ถ่ายทอดผ่านเรื่องราวของคนต้นเรื่อง แต่สำหรับปลายทางของรายการที่ต้องการสร้างความเข้าใจในชีวิต อาจมีผู้ชมเพียงไม่กี่คนที่ไปถึงจุดนี้
"ไม่ใช่ว่าคนดูทุกคนเมื่อดูรายการจบแล้วจะขบคิดและตั้งคำถามกับชีวิต แล้วนำไปสู่ความเข้าใจชีวิต บางคนอาจรับได้แค่อารมณ์สะเทือนใจ และมิติที่ไม่ซับซ้อนอย่างความขยัน ความกตัญญู ฯลฯ ขณะที่บางคนอาจได้รับกำลังใจ แรงบันดาลใจ"
อย่างไรก็ดี เช็คเชื่อว่าเมื่อถูกตั้งคำถามเกี่ยวกับชีวิตบ่อยเข้า ในที่สุดก็น่าจะเกิดการเรียนรู้ การหล่อหลอม และเกิดอิทธิพลบาง อย่างที่อาจผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง "อะไร" ขึ้นมาภายหลัง ได้เหมือนกัน ส่วนสิ่งที่แทบจะไม่ต้องรอ นั่นก็คือความอาทรเกื้อกูล และความช่วยเหลือที่มักจะหลั่งไหลเข้ามาเพียงชั่วข้ามคืน
กรณีของปู่เย็นแห่งลุ่มแม่น้ำเพชรบุรี เป็นตัวอย่างที่ชัดเจน เพราะหลังจากออกอากาศแล้ว รุ่งขึ้นผู้คนมากมายก็หลั่งไหลไปมอบสิ่งของเงินทองให้ปู่ และบรรดาสิ่งของมากมาย มีชิ้นหนึ่งเป็น เรือพระราชทานจากสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ
แม้รายการคนค้นฅน จะได้ทั้งชื่อ ทั้งเงิน และกล่อง แต่ดูเหมือนว่ายังมีบางคนที่มีข้อกังขากับความสำเร็จนี้ ไม่ว่าจะเป็นเอเยนซี่ ตัวสถานีเอง และผู้ชมกลุ่มหนึ่ง บ้างก็เชื่อว่าฟลุค บ้างก็ บอกว่าขายได้เพราะเป็นรายการใหม่ บ้างเสียดสีว่าขายโศกนาฏ-กรรม ขณะที่บางคนทำนายว่าคงทำได้รายการเดียว และคงยืนหยัด อยู่ได้ไม่นาน
"ถ้าผมจะมีความมั่นคงในชีวิตการงาน และเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่างในวงการนี้ได้ ผมก็ต้องตอกย้ำความเชื่อของผมให้พวกเขา (เอเยนซี่และสถานี) เห็นว่า สารคดีสามารถที่จะตอบสนองเงื่อนไขความเป็นจริงต่างๆ ที่สถานีต้องการ เช่น คำชม โฆษณา เรตติ้ง อะไรต่างๆ ได้" น้ำเสียงของเขาหนักแน่น
เพื่อลบข้อครหา และพิสูจน์ให้เห็นอีกครั้ง เช็คตัดสินใจผลิตรายการสารคดีอีกครั้ง แต่คราวนี้เขาตัดทอนอารมณ์ที่เป็นเครื่องปรุง แต่งออกหมด เหลือเพียงความรู้ที่เป็นเนื้อแท้ของสารคดีรายการที่ 2
"กบนอกกะลา" มีขนบสารคดีล้วน เน้นเนื้อหาที่เป็นความรู้ ผ่านการนำเสนอที่สนุกสนานและชักชวนผู้ชมตั้งคำถามและหาคำตอบจากจุดเล็กๆ ใกล้ตัว และเชื่อมโยง ไปสู่ความรู้ที่กว้างใหญ่ขึ้น ตบท้ายด้วยการ บูรณาการความรู้นั้นกับการใช้ชีวิต
ความสำเร็จอย่างสูงของกบนอกกะลา อาจเพียงทำให้หลายคนหายกังขา แต่สำหรับ เช็ค นี่เป็นการตอกย้ำความเชื่อเดิมของเขาที่ว่า สารคดีก็มีที่ทางอย่างสง่างามบนจอแก้ว ได้เหมือนกัน หากเป็น "มืออาชีพ" มากพอ
หลังจากนั้น เช็คและทีวีบูรพาก็ผลิตรายการสารคดีดีๆ ออกมาต่อเนื่องเป็นระยะ เพียง 4 ปีกว่า ชุมชนทีวีบูรพามีสารคดีอยู่ใน มือ 4 เรื่อง สารคดีน้องใหม่อีก 2 รายการ ได้แก่ "จุดเปลี่ยน" อันเป็นภาคสว่างที่มีเนื้อหา เดียวกับ "หลุมดำ" ซึ่งเป็นรายการสารคดีที่นำเสนอด้านมืดของสังคม
และล่าสุด "แผ่นดินเดียวกัน บ้านฉัน บ้านเธอ" รายการสารคดีสำหรับเด็กที่มีปลาย ทางอยู่ที่เดียวกับ "รายการรุ่นพี่" อย่างคนค้น ฅน นั่นก็คือเพื่อสร้างความเข้าใจในชีวิตและการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
รูปแบบรายการเป็นสารคดีกึ่งเรียลลิตี้ ของเด็ก โดยทางรายการจะนำเด็กจากถิ่นฐาน หนึ่งไปเยี่ยมเยือนเพื่อนใหม่ในดินแดนต่างถิ่น เพื่อไปสัมผัสวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ และวัฒนธรรมอันดีของแต่ละท้องถิ่น เป็นการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจในความเป็นจริงของชีวิตและสังคม
ในวันเปิดตัวรายการแผ่นดินเดียวกันฯ ยังถือเป็นวันเปิดตัวบริษัทน้องใหม่ในรั้วทีวีบูรพาที่มีชื่อเพราะๆ ว่า บริษัท บ้านบันดาลใจ ซึ่งเป็นผู้ผลิตรายการเด็กรายการนี้นั่นเอง
บริษัทใหม่นี้แสดงให้เห็น ถึงความพยายามในการตอบแทน ความอุตสาหะ อดทน และทุ่มเท ของทีมงาน ซึ่งเป็นความเพียรที่เช็คมีมาตั้งแต่ก่อตั้งทีวีบูรพาในปีแรกๆ
"ตอนทำรายการคนค้นฅน ผมปฏิญญาไว้กับพนักงานที่ยังมีแค่ 20 กว่าคน ว่าเราจะนำพาบริษัทไปสู่จุดนี้ คือจะไม่ให้พนักงานกินแค่เงินเดือน แต่จะพยายามให้มีความเป็นเจ้าของ และมีหุ้น ไม่ว่าจะลักษณะไหน" เช็คพูดเรื่องนี้ซ้ำในที่ประชุมทุกปี
แม้เชิงนิติกรรมจะทำไม่ได้ง่ายๆ แต่ด้วยความจริงใจของ M.D. คนนี้ เมื่อบริษัทมีกำไร เช็คสละหุ้นของตัวเองและภรรยา ไปซื้อคืนหุ้นบางส่วนของเพื่อนๆ ไปขอปันหุ้นอดีตเจ้านายที่แสนดีของเขา รวบรวมมาจนได้ 10% แล้วกระจายให้ทีมงานทีวีบูรพาทั้งหมดซึ่งมีร่วม 110 คน ณ วันนี้
นอกจากโบนัสที่ได้ทุกปีตั้งแต่เริ่มมีกำไร ปีที่แล้วทีมงานทุกคนได้รับเงินปันผลในฐานะผู้ถือหุ้นของบริษัทเป็นปีแรก "มันเหมือนยังไม่จุใจ เราคิดว่ามันน่าที่จะทำอะไรมากกว่านี้ ก่อน หน้านี้ไปคุยกับเจ้านาย ไปบอกว่าผมขอตั้งบริษัทอีกบริษัทแต่ให้หุ้นกับทีมงานทั้ง 2 บริษัท"
บ้านบันดาลใจถือหุ้นโดย JSL 30% หุ้นที่เหลือถือโดยหุ้นส่วนเก่าและทีมงานทั้งหมด โดย ที่ทีวีบูรพาไม่ถือสักหุ้นเดียว แต่รู้กันเองระหว่างทีมงานของทั้ง 2 บริษัทว่ารายได้ของบริษัทน้อง ต้องนำมาแบ่งปันให้บริษัทพี่ด้วย ซึ่งเช็คบอกว่า หากบริษัทใหม่มีกำไร ก็เป็นเรื่องที่ทีมงานร้อยกว่าคนต้องไปตกลงกันเอง
ขณะเดียวกัน บ้านบันดาลใจยังเป็นเสมือนเวทีซ้อมใหญ่สำหรับทีมงาน ในวันที่อาจจะไม่มี "พี่เช็คของน้องๆ" มานั่งทำงานทุกอย่างเช่นทุกวันนี้ อีกต่อไป
จากวันนี้ทีมงานบ้านบันดาลใจต้องทำทุกอย่างเอง ทั้งคิดคอนเซ็ปต์รายการ ผลิตรายการ จนถึงทำการตลาดเอง เหลือก็แต่หน้าที่ประชาสัมพันธ์ ซึ่งยังเป็นของ JSL แต่สุดท้ายแล้ว เช็คที่ควบตำแหน่ง M.D. เอื้ออาทรให้กับบริษัทน้องใหม่ก็ยังมาทำหน้าที่ QC คุณภาพ ของรายการให้ได้มาตรฐาน ก่อนจะปล่อยให้ออนแอร์
"สุดท้ายแล้ว ธุรกิจนี้จะมั่นคงมันไม่ได้อยู่ที่ผม ตอนนี้ทุกรายการที่ทำเป็นความคิด ผมหมด แล้วส่งคนไปทำ มันไม่ได้ มันต้องฝึก ทุกคนให้คิดได้ ควบคุมดูแลคุณภาพงานเองได้ รู้ว่าจะทำการตลาดยังไง รู้ว่าจะปกครองดูแล แก้ไขปัญหาความขัดแย้ง จับสัญญาณธุรกิจโทรทัศน์ได้"
เชื่อว่าเมื่อทีมงานทีวีบูรพาได้ยินหัวเรือ หลักพูดเช่นนี้ คงจะต้องใจหาย
อาจเรียกได้ว่า การมีอยู่และการเติบโต ของจำนวนรายการสารคดีของทีวีบูรพานั้น มีรากเหง้ามาจากความเชื่อหลายอย่างของผู้ก่อตั้งผิวเข้มคนนี้ และความเชื่อหนึ่งในนั้นก็คือ มนุษย์ควรจะถูกทำให้เรียนรู้แล้วบูรณา การความรู้เหล่านั้น และสังเคราะห์ให้เป็น
"เราต้องทำสิ่งที่เราเชื่อว่าดีที่สุด" เป็นคำตอบง่ายๆ สั้นๆ ที่อธิบายสิ่งที่เช็คทำทั้งหมดได้ดีเหลือเกิน
สำหรับรายการในอนาคต เช็คยังคงยึดมั่นอยู่บนจุดยืนความเป็นมืออาชีพในการสร้างสรรค์สารคดี อาจจะเรียกได้ว่าเป็นความฝันสูงสุดของเขา บนเส้นทางคนทำรายการสารคดี นั่นก็คือ การผลิตรายการ "เจ้าภาพจงเจริญ" ที่มีคอนซ็ปต์หลักคือ ใช้สื่อโทรทัศน์ทำหน้าที่เชื่อมโยงคนทุกหมู่เหล่าในสังคมให้เกิดความเข้าใจ ความช่วยเหลือ ความอาทรเกื้อกูลกันเพื่อเป็นพลังบริสุทธิ์ในการทำให้เกิดมิติดีๆ ในสังคม
"ถ้าทำถึงรายการนี้ ผมก็คิดว่าผมพอแล้ว คงทำอะไรต่อไม่ไหวแล้ว" น้ำเสียงมีพลังแห่งความหวังแต่ก็แฝงไว้ด้วยความเหนื่อยล้า
จากคนค้นฅนจนถึงเจ้าภาพจงเจริญที่ยังคงเหลือค้างอยู่ในพอร์ตแห่งความฝัน ของเช็ค พัฒนาการที่เห็นชัดเจน นอกจากความเป็นมืออาชีพทางด้านการผลิตรายการสารคดี ยังเห็นดีกรี "เพื่อสังคม" ในแต่ละรายการเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
เช็คสันนิษฐานว่า ส่วนหนึ่งมาจากทัศนคติที่ชัดเจนที่คอยบอกว่าตัวเธอเสมอว่าควรจะทำหน้าที่ อะไรในสังคมนี้ โดยทัศนคติเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นเอง แต่เกิดจากการปลูกฝังจากครอบครัว และสะสมมาในทุกช่วงวัย แต่ชัดเจนยิ่งขึ้นในช่วงมหาวิทยาลัย ที่เขาได้มีโอกาสไปสัมผัสความเป็นจริงในสังคมกับรุ่นพี่ หลังเรียนจบก็ได้ไปทำงานอยู่กับเพื่อนสนิท ซึ่งส่วนใหญ่จบแล้วก็หันไปทำงานเป็น NGO เกือบหมด
"พอตัวเองได้มาทำสื่อ ก็เลยเชื่อมโยง เรื่องราวเหล่านี้เข้าด้วยกัน ยิ่งรู้ว่าสื่อโทรทัศน์ มันไปเร้าหรือมีอิทธิพลต่อสังคมอย่างไรบ้าง มันก็เลยทำให้เราค่อนข้างชัดเจนว่าจะต้องใช้สื่อที่มีอยู่ในมือเราไปใน ประโยชน์หรือทิศทางไหน"
อย่างไรก็ดี เช็คยอมรับว่า เคยมีช่วงหนึ่งในชีวิตเหมือนกันที่สับสน "หลงทาง" และยังค้นหาตัวเองไม่เจอ คิดแค่หางานทำหาเงินไปวันๆ เขาเคยขายเสื้อผ้าในตลาดนัด เคยสมัครทำงานในบาร์ ฯลฯ จนพบกับจุดเปลี่ยนในชีวิตครั้งแรกที่เป็นดั่งประตูสู่แวดวง "คนเบื้องหลัง"
"พอมาทำละครเวทีกับคณะละคร 28 ก็เริ่มเห็นถึงการซ่อนนัยการสื่อสารอะไรบางอย่างไปยังสังคมผ่านสื่อละครเวที พอได้อ่านหนังสือหลายเล่มที่เพื่อนในคณะละครให้มาก็เริ่มรู้สึกว่า การเป็นคนที่ทำหน้าที่แบบนี้มันดีนะ และคนส่วนใหญ่มาทำแบบนี้น้อย"
สำหรับจุดเปลี่ยนในอาชีพคนทำสื่อของเช็ค เกิดขึ้นวันหนึ่งในห้องสัมมนาของบริษัท JSL วิทยากรที่กำลังพูดอยู่ในขณะนั้นมีชื่อว่า เสกสรร ประเสริฐกุล
"ถ้ามันมีแต่คนคิดว่า จะทำอันนี้ไปขายแล้วจะขายดี แล้วเราต้องทำไอ้นี่ด้วย โลกนี้ก็จะไม่มีตัวงานอะไรที่มีคุณค่าหลงเหลือ อยู่ เหมือนช่างทำมีดที่สุดยอด ตีเองด้วยมือ ปีหนึ่งทำได้เล่มเดียว ตัวคุณภาพมันจะอยู่ในมีดนั้นตลอดไป ส่วนมีดปั๊มปีหนึ่งอาจได้หลาย เล่ม เป็น mass แต่มันก็แค่มีดเล่มหนึ่งที่ไม่มีอะไรพิเศษ ทีนี้คุณต้องเลือกเองว่าจะเป็น คนทำงานประเภทไหน?" แม้จะจำได้ไม่หมด แต่เช็คก็เล่าได้ถึงพลังที่ซ่อนอยู่ในวาทะนี้
อาจกล่าวได้ว่า เพราะคำพูดนี้ที่หนุนนำให้เกิดรายการสารคดีดีๆ ในวงการโทรทัศน์ บ้านเรา
"ผมสะดุดมากกับการโยนคำถามเกี่ยวกับชีวิต ว่าแล้วเราจะเป็นคนทำงานประเภทไหน ฉะนั้นในการทำงาน ผมก็เลยไม่คิดว่าจะต้องทำงานที่ mass แต่จะคิดก่อนว่าเราจำเป็นต้องทำอะไร หรือควรจะทำอะไร แล้วค่อยคิดว่าเราจะต้องทำอย่างไรให้มันอยู่ได้"
นอกจากสารคดีทางจอแก้ว เช็คขยายพรมแดน "ท่อน้ำดี" จากทีวี เข้าสู่พื้นที่นิตยสาร ด้วยเหตุผลคล้ายกับวิถีทางของคนค้นฅน เพราะธรรมชาติของสื่อนิตยสารบ้านเราก็ไม่ต่างจาก ฟรีทีวี ที่ดูเหมือนจะมีความหลากหลาย แต่ล้วนไปในทิศทางเดียวกัน นั่นก็คือ การทำหน้าที่รับใช้ทุนนิยมอย่างซื่อสัตย์
"นิตยสาร ฅ.คน" มีบางส่วนเป็นการต่อยอดข้อมูลที่เคยถูกนำเสนอในรายการคนค้นฅน อีกส่วนเป็นคอลัมน์เชิงวรรณกรรม ซึ่งเปรียบได้กับยุทธจักรที่รวบรวมนักเขียนยอดฝีมือมาไว้รวมกัน เช่น อธิคม คุณาวุฒิ, เสกสรร ประเสริฐกุล, เสี้ยวจันทร์ แรมไพร และเวียง-วชิระ บัวสนธิ์ เป็นต้น
เทียบกับราคาหน้าปก 80 บาท เรียกได้ว่าเกินคุ้มที่จะได้อ่านน้ำหมึกของบรมครูในแวดวงวรรณกรรมจำนวนมากที่จับมาอยู่รวมกันเช่นนี้
"คนทำหนังสือก็เตือนว่า ไม่มีทาง แต่เหมือนกับว่าไม้บรรทัดวัดความสำเร็จของ เราไม่ใช่ยอดขายหรือรายได้ค่าโฆษณามหาศาล แต่เราอยากจะให้มีอะไรบางอย่างอยู่ในสังคมนี้ที่เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ รับ บางกลุ่มที่เป็นคนอ่านที่เคร่งครัดและมีคุณภาพ" เช็คเองก็ถือว่าเป็นคนอ่านกลุ่มนี้
ด้วยความลุ่มหลงแวดวงวรรณกรรมเป็นการส่วนตัว เช็คในฐานะที่เป็นศิษย์เก่านิตยสารเรื่องสั้น "ช่อการะเกด" เขายังเป็นหนึ่งในโต้โผสำคัญที่ทำการคืนชีพให้กับนิตยสารเล่มนี้ เพื่อกระตุ้นเร้าให้คนรุ่นใหม่หันมาสนใจงานเขียนที่มีคุณภาพ และเป็นเวทีแจ้งเกิดให้กับนักเขียนคุณภาพรุ่นใหม่ เหมือนกับที่เขาและนักเขียนมีชื่อหลายคนก็เคยแจ้งเกิดบนเวทีนี้มาแล้ว
นอกจากนี้ยังมีสำนักพิมพ์พิมพ์บูรพา ที่ผลิตพ็อกเก็ตบุ๊กออกมาแล้วกว่า 20 เล่ม มีทั้งเรื่องสั้นและข้อมูลที่มีเนื้อหาจากรายการ ของบริษัทที่เคยออนแอร์ และยังมี VCD ที่มีแนวคิดเดียวกัน ซึ่งมูลค่าทางธุรกิจตรงนี้ เช็ค ยืนยันแค่ครอบคลุมต้นทุนและจ่ายทีมที่ทำงาน ตรงนี้ แต่สำหรับเขามันคุ้มค่าอย่างยิ่งในเชิง "มูลค่าทางสังคม"
คงเป็นความถนัด เช็คใช้ความเป็นมือ อาชีพในฐานะคนทำสื่อและพลังวรรณกรรมที่อัดแน่นอยู่ในตัวตนของเขา เพื่อผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่างในสังคม
จากวันแรกที่ออฟฟิศเป็นเพียงตึกแถว 3 ชั้นเพียง 1 ห้อง ที่ตั้งในซอยรามคำแหง 43/1 ผ่านมา 4 ปีกว่า อาณาจักรชุมชนทีวีบูรพาที่ยังอยู่ที่เดิม แต่ขยายไปยังห้องข้างเคียง อีก 4 ห้อง ตามจำนวนรายการบวกนิตยสารอีกเล่ม โดยในกลุ่มอาคารทั้ง 5 ห้องนี้ ซื้อขาดมา 4 ห้องในราคาห้องละ 3.5 ล้านบาท อีก 1 ห้องเป็นการเช่า
"ตอนนี้ปัญหาที่มีมากก็คือเรื่องสถานที่ คือมันไม่รู้จะขยับขยายยังไง พอจะมีรายการใหม่ ก็ต้องมีทีมงานเพิ่ม มีเครื่องตัดต่อเพิ่ม ทีนี้มันไม่มีที่แล้ว การขยับขยายต่อไปถือเป็นการบ้านหนักอึ้งของผมเลย" แม้จะดูเป็นปัญหา แต่ก็เป็นปัญหาที่เชื่อว่าเช็คอยากให้เกิดขึ้นในเร็ววัน
สำหรับรายได้และกำไรของทั้งบริษัท เมื่อปีที่แล้ว ทีวีบูรพามีบิลลิ่งทั้งหมดประมาณ 100 ล้านบาท เป็นส่วนของกำไรประมาณ 20%
ความสำเร็จที่ต่อยอดออกดอกผลเติบโตเป็นอาณาจักรทีวีบูรพาในวันนี้ อาจบอกได้ว่ามีพื้นฐานที่แข็งแรงมาจากรายการคนค้นฅน ที่แน่นทั้งคอนเซ็ปต์ ชัดเจนทั้งจุดหมายของคนทำ และปลายทางของรายการ ดีงามในแง่ของคุณค่าทางศิลปะและทางสังคม
แต่กว่าจะได้ "คน" ค้นคน แง่งามในเรื่องราวชีวิตของเช็คในฐานะคนต้นเรื่องของ "ผู้จัดการ" ซึ่งเป็น "somebody" ที่น่าจะเป็น "ต้นแบบ" ได้ นั่นก็คือ ก่อนจะค้นหาคนอื่นต้องค้นหาตัวเองให้เจอก่อน ก่อนจะเข้าใจคนอื่นต้องเข้าใจตัวเอง เมื่อค้นพบและเข้าใจแล้วก็มุ่งมั่นในสิ่งที่ตัวเองเชื่อว่าดีที่สุด
"หากจะเปลี่ยนแปลงอะไรในวงการภาพยนตร์ ผมเชื่อว่ามันไม่ใช่มาจากเจ้าของโรงหนัง หรือค่ายหนัง แต่ต้องมาจากผู้กำกับ คนเขียนบท เหมือนกันถ้าจะเปลี่ยนแปลงอะไร ในวงการโทรทัศน์ สถานีโทรทัศน์เขาไม่มีทาง ที่จะมองเห็นแล้วหาคนมาทำรายการประเภทนี้ มันต้องเริ่มต้นจากผู้ผลิตรายการและคนทำงาน
ตลอดมาสารคดีก็ไม่ได้หายไปไหน เพียงแต่ผู้ผลิตรายการไม่พยายามต่อสู้ที่จะทำ อาจจะเห็นว่าแนวอื่นทำได้ง่ายกว่า เห็นประโยชน์มากกว่า รายการสารคดีก็เลยแทบจะสูญพันธุ์ในทางทีวี มีแต่รายการประเภทอื่น ที่ยึดครองพื้นที่อยู่เยอะมากโดยเฉพาะช่วงไพรม์ไทม์"
เช็คสรุปว่า ทางเลือกที่สังคมมีอยู่ แม้ จะดูว่าหลากหลาย แต่กลับเป็นไปในทิศทาง เดียวกัน นั่นคือวิถีของการกระตุ้นเร้าให้สังคม เข้าใจว่าชีวิตที่ดีที่สุดเป็นชีวิตที่มุ่งตอบสนอง ต่อกิเลสอย่างไร้ขีดจำกัด และโดยไม่ต้องยับยั้ง ชั่งใจ
แม้ตระหนักว่าตัวเองเป็นเพียงจุดเล็กๆ ที่อาจจะไม่สามารถเคลื่อนย้ายความเป็นจริงที่ใหญ่กว่าได้ แต่อย่างเดียวที่เป็นแรงบันดาล ใจผลักดันคนทำสื่ออย่างเขา ให้ลุกขึ้นมาใช้ความเป็นมืออาชีพนำพารายการสารคดีที่มีกลิ่นอายเพื่อสังคม ไปปักธงแบ่งแดนอยู่ในช่วงไพรม์ไทม์ของโมเดิร์นไนน์ทีวีได้นั้น
มาจากความเชื่อส่วนตัวที่รอการพิสูจน์ ให้สังคมประจักษ์ว่า รายการสารคดีสามารถมีที่ทางในสังคม ตอบโจทย์ทางธุรกิจได้
ผู้ชายผิวคล้ำ ใบหน้าขรึม ในมาดเข้ม กับบทบาทคนเบื้องหน้า เช็คอาจเป็นเพียงผู้ดำเนินรายการ "โนเนม" แต่ในฐานะคนเบื้องหลังผู้คลุกคลีในแวดวงสื่อมาร่วม 20 ปี เขามีประวัติการทำงานที่ถือได้ว่าโชกโชน ผลงานของเขาหลายชิ้นสร้างชื่อและความสำเร็จให้กับทั้งตัวรายการ ตัวบริษัท JSL และตัวเขาเอง (?)
เช่น รายการเจาะใจ ซึ่งเช็คคลุกคลีอยู่นานร่วม 10 ปีเลยทีเดียว และเป็นมาตั้งแต่ครีเอทีฟ, โค-โปรดิวเซอร์, โปรดิวเซอร์ และที่ปรึกษาของรายการ นอกจากนี้เขายังเป็นโปรดิวเซอร์, คนคิดคอนเซ็ปต์ วางรูปแบบเนื้อหาในรายการสัญญา มหาชน และยังเป็นที่ปรึกษาให้กับรายการจันทร์กะพริบ
ตำแหน่งหลังสุดของเช็คในบริษัท JSL เขาได้รับความไว้วางใจ จาก "เจ้านาย" ให้ดำรงตำแหน่งเป็น ถึงรองผู้จัดการฝ่ายผลิตเลยทีเดียว
ในปี 2542 เช็คจบชีวิตลูกจ้างของเขา แล้วเปิดฉากชีวิตใหม่ในบทบาท "เจ้าของบริษัท" ด้วยการร่วมทุนกับเพื่อนๆ และดำรง พุฒตาล ก่อตั้งบริษัท 2000 ทรู-ทรีโอ โปรดักชั่น จำกัด รับจ้างผลิตรายการโทรทัศน์ ซึ่งมีถึง 4 รายการ ภายในไม่เกิน 4 ปี ได้แก่ รายการ 7 กะรัต, คนนี้ที่หนึ่ง, รักเกินร้อย และสู้แล้วรวย
แต่เมื่อ "สู้แล้วรวย" จะหลุดผังจากไอทีวี เช็คยังรู้สึกมีพันธะที่ต้องรับผิดชอบต่อชีวิตทีมงาน เขาจึงคิดคอนเซ็ปต์รายการขึ้นใหม่กลายเป็นที่มาของ "คนค้นฅน"
อาจกล่าวได้ว่า ความโด่งดังราวพลุแตกของรายการนี้มาจากการต่อสู้ดิ้นรนของ "คนเดิน เรื่อง" อย่างเช็ค อาจจะไม่ยากลำบากเท่าชีวิตต้องสู้ของ "คนต้นเรื่อง" แต่ไม่ง่ายเลยเมื่อเทียบ กับคนทำงานทีวีบันเทิง
"ผมเอารายการไปเสนอที่ต่างๆ ไม่มีใครเอา หุ้นส่วนเก่าก็ไม่เอาด้วย เพราะเขาเห็นว่า ทุกช่องปฏิเสธหมด เขาก็ไม่มั่นใจเพราะไม่เห็นอนาคต สุดท้ายผมก็เลยต้องเอารายการนี้ไปเสนอ เจ้านายเก่าที่ JSL"
จำนรรค์ ศิริตัน อดีตเจ้านายที่แสนดี บอสใหญ่แห่ง JSL ยื่นเงื่อนไขข้อเดียวคือ ขอให้ JSL เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ดีลนี้จึงปิดที่ JSL ถือหุ้น 55% ที่เหลือเป็นเช็คและหุ้นส่วน แต่ถึงจะถือหุ้น เพียงส่วนน้อย แต่อิสระทางความคิดและการทำงาน 100%
บริษัท ทีวีบูรพา ก่อตั้งเมื่อปี 2546 แต่รายการคนค้นฅนเตรียมการก่อนหน้านั้นมาเป็น เวลากว่าปี
เพื่อก่อตั้งทีวีบูรพา เช็คลงทุนขายรถ รีไฟแนนซ์บ้าน เรียกว่า "เทหมดหน้าตัก" ทั้งที่ยังไม่รู้เลยว่า รายการจะมีอนาคตได้ออกอากาศหรือไม่ เพราะราว 5 ปีก่อน สารคดีแทบจะไม่มีพื้นที่บนจอแก้ว ราวกับว่าถูกคุมกำเนิด ไม่ให้มีโอกาสเกิดบนหน้าจอฟรีทีวี
ขณะที่เช็ครับผิดชอบการผลิตรายการ อย่างเข้มข้น "บริษัทแม่" ก็ดูแลเรื่องการประชาสัมพันธ์ และการตลาดให้ "ลูก" อย่าง เข้มแข็ง เพียงไม่นานรายการแรกของทีวีบูรพาก็ได้โผล่ในช่วงไพรม์ไทม์ของช่องโม เดิร์นไนน์
"เหตุปัจจัยหนึ่งของการเกิดของคนค้นฅน มาจากการสะทกสะท้อนใจกับความขัดแย้งที่มีอยู่ในสังคม และการห้ำหั่นกันเพราะเรื่องเล็กๆ เราจึงอยากผลิตรายการที่ช่วยให้เกิดความเข้าใจกันในสังคม ถามว่าเข้าใจเพื่ออะไร ก็เพื่อจะได้อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข" เป็นจุดหมายของสารคดีคนรายการนี้
ปลายทางของรายการที่เช็คมุ่งไปให้ถึงช่างดูแสนไกล หากรายการคนค้นฅนต้องทำหน้าที่เพียงลำพัง
รูปแบบของ "คนค้นฅน" เป็นรายการ สารคดีที่เล่าเรื่องราวชีวิตอย่างมีมิติและมีเหลี่ยมมุม
คนต้นเรื่องในรายการ บ่อยครั้งเป็นคนพิการ คนเร่ร่อน หญิงโสเภณี คนชายขอบ คนด้อยโอกาสทางสังคม คนที่ถูกตราหน้าว่า "บ้า" คนที่ถูกมองอย่างไร้ค่า ฯลฯ เกือบทุกคนเรียก ได้ว่าเป็น "nobody" ในสังคมฉาบฉวยแห่งนี้ และดูเหมือนว่าสื่อสาธารณะอย่างทีวีจะไม่เคยสำรองพื้นที่ไว้ให้กับคนกลุ่ม นี้เลย
ยิ่งไม่มีที่ทางในสังคม "nobody" ก็ยิ่งกลายเป็น nobody ที่สังคมก็ยิ่งทอดทิ้ง จนบางครั้งการมีอยู่ของบางชีวิตกลับเหมือน "ไม่เคยมีอยู่"
เช็คเลือกใช้ "ฅน" ในคำสุดท้าย เพื่อสร้างความตระหนักว่า ตัวอักษร ฅ.ฅน ที่ถูกใช้น้อยจนแทบไม่มีโอกาสโผล่หน้ามาบนบรรทัดหนังสือ เปรียบได้กับคนต้นเรื่อง ที่มักไม่ใช่คนแถวหน้าของสังคม ไม่มี spotlight ของสังคมไปโฟกัส แต่คนเหล่านี้ก็ที่มีอยู่จริง เป็นส่วนหนึ่ง ของสังคม และมีคุณค่าความเป็นคนไม่ต่างกัน
ไม่เพียงค้นหาคนต้นเรื่อง ทีมงานคนค้นฅนยังต้องค้นหาให้พบแง่งามในชีวิตเหล่านั้น แล้วเปิดเปลือยชีวิตของคนต้นเรื่องอย่างตรงไปตรงมา ตามความหมายของ M.D. แห่งทีวีบูรพา แง่งามแห่งชีวิตอาจเป็นบางเสี้ยวมุมดีๆ ที่ตรงกับกรอบความดีของสังคม และอยู่ในกรอบความ เชื่อส่วนตัวของเขา
เป็นความเชื่อที่อาจขัดแย้งกับกระแสที่เป็นอยู่ในขณะนั้น เขาเชื่อว่า ชีวิตที่ดีคือชีวิตที่รู้จักระงับความอยาก และมีความสุขแบบพอดี ดังนั้น ความเชื่อนี้จึงเป็นเครื่องมือคัดกรองชั้นดี ในการค้นหาคนต้นเรื่องที่อาจจะกลายเป็น "ต้นแบบ" ของคนอื่นในสังคม
"โดยทั่วไป คนที่ spotlight ของสังคมจับหรือโฟกัสเข้าไป มักจะมีเหตุปัจจัยมาจากเรื่องอื่น จากความดัง ความรวย ความสวย และเรื่องภายนอกอื่นๆ หรือเพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง แต่คนที่ spotlight ของสังคมจับไป บางคนก็ไม่ใช่คนที่อาจจะเป็นต้นแบบให้กับคนอื่นได้" ความเห็นของคนสื่ออย่างเช็ค
อันที่จริง คนที่เป็น "somebody" ของสังคม บางคนก็อาจมีบางแง่มุมที่มี "เนื้อสาร" พอที่จะถูกหยิบยกมาเป็นคนต้นเรื่องได้ แต่มักติดอยู่กับเงื่อนไขที่เขาเหล่านั้นมักจะไม่ยอมเปลื้องเปลือยตัว เองอย่างตรงไปตรงมา ตรงกันข้ามกลับบิดเบือน และเลือกหันบางด้านที่ดูดีกว่าเข้าหา spotlight ของสังคม
ถ้าสมยอมไปตามนั้น สื่อก็ถูก (หลอก) ใช้เป็นแค่เครื่องมือ "propaganda" ให้กับคนเหล่านั้น
"สำหรับคนที่ไม่มีมายาคติ หรือไม่ยึด ติดกับมายาคติบางอย่าง พวกเขาสามารถที่จะแสดงออกได้แบบไม่มีข้อแม้ ไม่สร้างภาพ มันก็เลยต้องกลายเป็นเรื่องของคนที่ไม่ติดข้อแม้เหล่านี้"
คนต้นเรื่องถูกสรรหามาได้จากหลากหลายช่องทาง เช่น คนที่ทีมงานรู้จักหรือเชื่อมโยงด้วยทีมวิจัยที่ลงพื้นที่ ข่าวสารจากแหล่งข่าว ตั้งโจทย์แล้วออกไปค้นหา ใช้รถออกไปประกาศ หรือแจกใบปลิวตามชุมชน ฯลฯ แต่ยังมีอีกแหล่งสำคัญ นั่นก็คือ แฟนรายการที่โทร จดหมาย อีเมล หรือเดินเข้ามา บอกทีมงาน
ความเป็นจริงในการผลิตเป็นอีกเครื่อง มือคัดแยกคนต้นเรื่องออกจากตัวละคร
นั่นก็คือ คนต้นเรื่องต้องมีบริบทหรือเหตุการณ์ชีวิตของตัวละครที่จะสนับสนุนประเด็น ของทีมงานได้ และต้องให้ความร่วมมืออันดี เพราะการติดตามเฝ้ามองชีวิตของพวกเขา อาจใช้เวลาแรมปี
จุดยืนของรายการตั้งอยู่บนหลักการของผู้เฝ้ามองชีวิต ทีมงานจึงทำตัวเป็นอากาศธาตุ หรือเป็นเพียงเงา หลายครั้งที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากสังคม เช่น ตอน "แม่ไม่ต้องร้องไห้" เช็คถูกต่อว่าที่เอาแต่จับจ้องดูแสงไฟแห่งชีวิตริบหรี่และดับลง โดยที่ไม่ทำอะไรมากไปกว่าการเฝ้ามองและถ่ายทำ
"หลายครั้งที่เราก็เกิดความขัดแย้งในใจ แต่ก็ต้องชั่งน้ำหนักให้ดี เพราะถ้าเข้า ไปแทรกแซงก็จะทำให้ชีวิตของเขาเปลี่ยนไปเลย และก็บิดเบือนข้อเท็จจริงในชีวิตของเขา บางทีด้วยเหตุผลทางมนุษยธรรมที่มีน้ำหนักกว่าเราก็เข้าไปช่วยเหลือ แต่บางทีก็ทำได้แค่ข่มใจและเฝ้าต่อไปอย่างเงียบๆ"
หลายครั้งที่เรื่องราวของคนต้นเรื่องกลายเป็นที่พูดถึงทั่วบ้านทั่ว เมืองแค่เพียงข้ามคืน หลายคนชมเชยพรสวรรค์ในการค้นหาคนต้นเรื่อง แต่ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า อารมณ์สะเทือนใจที่เป็นตัวเหนี่ยวรั้งให้ผู้ชมติดตามรายการในตอนนั้นๆ มีที่มาจากทักษะทาง ภาษาหนังและภาษาวรรณกรรมของเช็ค
ในเรื่องทักษะภาษาหนัง ที่หมายถึงมุมกล้อง ภาพ การเดินเรื่อง การเล่าเรื่อง การตัดต่อภาพ ฯลฯ ซึ่งเห็นได้บ่อยครั้งในรายการนี้ ความสามารถทางนี้ เช็คสั่งสมมาตั้งแต่สมัยที่ได้ทุนสหมงคลฟิล์ม และได้เรียนรู้กับบรมครูแห่ง วงการภาพยนตร์ของไทย รวมถึงประสบการณ์การเป็นผู้ช่วยผู้กำกับให้กับหนัง "หลังคาแดง"
สำหรับทักษะทางวรรณกรรมของเช็ค มาจากการฝึกฝนผ่านการอ่าน โดยมีผู้จุดประกาย ก็คือพ่อของเขา ซึ่งเป็นครูบ้านนอกที่ชื่นชอบการอ่าน และใช้แรงบันดาลใจที่ได้จากเรื่องที่อ่าน มาตั้งเป็นชื่อลูก
ราวกับรู้ว่าลูกชายคนนี้ เมื่อโตขึ้นจะหลงใหลและวนเวียนอยู่ในแวดวงวรรณกรรม พ่อจึงตั้งชื่อให้เขาว่าเช็ค ซึ่งมาจาก "William Shakespeare"
ภาษาสละสลวยดั่งงานวรรณกรรม เป็นความงามที่สัมผัสได้ในคนค้นฅนจนกลายเป็น "ลายเซ็น" ของรายการไปแล้ว กล่าวได้ว่าเป็นอัจฉริยภาพทางภาษาของเช็ค
ความสามารถตรงนี้ของเขาได้รับการยอมรับในหมู่มวลนักประพันธ์แห่งแวดวง วรรณกรรม มานานนมแล้ว ก่อนหน้านี้เขาเคยมีผลงานรวมเรื่องสั้นหลายเรื่อง เช่น รากเหง้า, ตามหาข้าพเจ้า, เนื้อสองชิ้น, ผู้เจ็บป่วย เป็นต้น เขายังมีรางวัลจากนิตยสารช่อการะเกด และแพรวสำนักพิมพ์ การันตีคุณภาพ
อีกเทคนิคที่ช่วยตรึงคนดูให้อยู่ตลอดรายการ ก็คือ "โศกนาฏกรรม" อันเป็นขนบแห่งหนังและละคร
"ในการเล่าเรื่องของคนที่ไม่เป็น somebody ให้คนดูติดตาม การนำเสนอต้อง เร้าคนดู ซึ่งจะเร้าได้ก็ด้วยภาษาหนังและความเป็นดราม่า เมื่อมีการปะทะความรู้สึก ก็จะเกิดพลังโน้มน้าวให้คนดูติดตามและคล้อยตาม แล้วทีนี้ก็ง่ายแล้วที่จะตั้งคำถามเกี่ยวกับชีวิต เพื่อให้คนดูได้ขบคิดหาคำตอบถึงเหตุผลของการมีชีวิต" แม้เขาจะไม่โปรดละคร แต่ก็ยอมรับแง่งามของขนบละครจุดนี้
แต่ทั้งหมดล้วนมาจากทรัพยากรที่เคลื่อนไปตามความเป็นจริงในชีวิตคนต้น เรื่อง โดยปราศจากการกำกับ หรือประดิษฐ์ อันเป็นเงื่อนไขสำคัญของสารคดี
ขั้นตอนที่อาจกล่าวได้ว่ายากและสำคัญ ในการผลิตรายการนี้อยู่ที่กระบวนการตัดต่อ เพราะเทปมากมายที่ถ่ายมาอีเหละเขะขะ น้อยที่สุดยังมากถึง 25-30 เทป ส่วนที่มาก สุดก็มากถึง 100 เทป แต่ต้องตัดต่อให้ลง 40 นาที
สุดท้ายเมื่อรายการออกอากาศ "เนื้อสาร" อันหนึ่งที่ผู้ชม รายการคนค้นฅนน่าจะได้รับทันทีที่จบรายการ นั่นก็คือการตระหนัก ถึงความเป็นจริงของสังคมที่ถ่ายทอดผ่านเรื่องราวของคนต้นเรื่อง แต่สำหรับปลายทางของรายการที่ต้องการสร้างความเข้าใจในชีวิต อาจมีผู้ชมเพียงไม่กี่คนที่ไปถึงจุดนี้
"ไม่ใช่ว่าคนดูทุกคนเมื่อดูรายการจบแล้วจะขบคิดและตั้งคำถามกับชีวิต แล้วนำไปสู่ความเข้าใจชีวิต บางคนอาจรับได้แค่อารมณ์สะเทือนใจ และมิติที่ไม่ซับซ้อนอย่างความขยัน ความกตัญญู ฯลฯ ขณะที่บางคนอาจได้รับกำลังใจ แรงบันดาลใจ"
อย่างไรก็ดี เช็คเชื่อว่าเมื่อถูกตั้งคำถามเกี่ยวกับชีวิตบ่อยเข้า ในที่สุดก็น่าจะเกิดการเรียนรู้ การหล่อหลอม และเกิดอิทธิพลบาง อย่างที่อาจผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง "อะไร" ขึ้นมาภายหลัง ได้เหมือนกัน ส่วนสิ่งที่แทบจะไม่ต้องรอ นั่นก็คือความอาทรเกื้อกูล และความช่วยเหลือที่มักจะหลั่งไหลเข้ามาเพียงชั่วข้ามคืน
กรณีของปู่เย็นแห่งลุ่มแม่น้ำเพชรบุรี เป็นตัวอย่างที่ชัดเจน เพราะหลังจากออกอากาศแล้ว รุ่งขึ้นผู้คนมากมายก็หลั่งไหลไปมอบสิ่งของเงินทองให้ปู่ และบรรดาสิ่งของมากมาย มีชิ้นหนึ่งเป็น เรือพระราชทานจากสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ
แม้รายการคนค้นฅน จะได้ทั้งชื่อ ทั้งเงิน และกล่อง แต่ดูเหมือนว่ายังมีบางคนที่มีข้อกังขากับความสำเร็จนี้ ไม่ว่าจะเป็นเอเยนซี่ ตัวสถานีเอง และผู้ชมกลุ่มหนึ่ง บ้างก็เชื่อว่าฟลุค บ้างก็ บอกว่าขายได้เพราะเป็นรายการใหม่ บ้างเสียดสีว่าขายโศกนาฏ-กรรม ขณะที่บางคนทำนายว่าคงทำได้รายการเดียว และคงยืนหยัด อยู่ได้ไม่นาน
"ถ้าผมจะมีความมั่นคงในชีวิตการงาน และเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่างในวงการนี้ได้ ผมก็ต้องตอกย้ำความเชื่อของผมให้พวกเขา (เอเยนซี่และสถานี) เห็นว่า สารคดีสามารถที่จะตอบสนองเงื่อนไขความเป็นจริงต่างๆ ที่สถานีต้องการ เช่น คำชม โฆษณา เรตติ้ง อะไรต่างๆ ได้" น้ำเสียงของเขาหนักแน่น
เพื่อลบข้อครหา และพิสูจน์ให้เห็นอีกครั้ง เช็คตัดสินใจผลิตรายการสารคดีอีกครั้ง แต่คราวนี้เขาตัดทอนอารมณ์ที่เป็นเครื่องปรุง แต่งออกหมด เหลือเพียงความรู้ที่เป็นเนื้อแท้ของสารคดีรายการที่ 2
"กบนอกกะลา" มีขนบสารคดีล้วน เน้นเนื้อหาที่เป็นความรู้ ผ่านการนำเสนอที่สนุกสนานและชักชวนผู้ชมตั้งคำถามและหาคำตอบจากจุดเล็กๆ ใกล้ตัว และเชื่อมโยง ไปสู่ความรู้ที่กว้างใหญ่ขึ้น ตบท้ายด้วยการ บูรณาการความรู้นั้นกับการใช้ชีวิต
ความสำเร็จอย่างสูงของกบนอกกะลา อาจเพียงทำให้หลายคนหายกังขา แต่สำหรับ เช็ค นี่เป็นการตอกย้ำความเชื่อเดิมของเขาที่ว่า สารคดีก็มีที่ทางอย่างสง่างามบนจอแก้ว ได้เหมือนกัน หากเป็น "มืออาชีพ" มากพอ
หลังจากนั้น เช็คและทีวีบูรพาก็ผลิตรายการสารคดีดีๆ ออกมาต่อเนื่องเป็นระยะ เพียง 4 ปีกว่า ชุมชนทีวีบูรพามีสารคดีอยู่ใน มือ 4 เรื่อง สารคดีน้องใหม่อีก 2 รายการ ได้แก่ "จุดเปลี่ยน" อันเป็นภาคสว่างที่มีเนื้อหา เดียวกับ "หลุมดำ" ซึ่งเป็นรายการสารคดีที่นำเสนอด้านมืดของสังคม
และล่าสุด "แผ่นดินเดียวกัน บ้านฉัน บ้านเธอ" รายการสารคดีสำหรับเด็กที่มีปลาย ทางอยู่ที่เดียวกับ "รายการรุ่นพี่" อย่างคนค้น ฅน นั่นก็คือเพื่อสร้างความเข้าใจในชีวิตและการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
รูปแบบรายการเป็นสารคดีกึ่งเรียลลิตี้ ของเด็ก โดยทางรายการจะนำเด็กจากถิ่นฐาน หนึ่งไปเยี่ยมเยือนเพื่อนใหม่ในดินแดนต่างถิ่น เพื่อไปสัมผัสวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ และวัฒนธรรมอันดีของแต่ละท้องถิ่น เป็นการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจในความเป็นจริงของชีวิตและสังคม
ในวันเปิดตัวรายการแผ่นดินเดียวกันฯ ยังถือเป็นวันเปิดตัวบริษัทน้องใหม่ในรั้วทีวีบูรพาที่มีชื่อเพราะๆ ว่า บริษัท บ้านบันดาลใจ ซึ่งเป็นผู้ผลิตรายการเด็กรายการนี้นั่นเอง
บริษัทใหม่นี้แสดงให้เห็น ถึงความพยายามในการตอบแทน ความอุตสาหะ อดทน และทุ่มเท ของทีมงาน ซึ่งเป็นความเพียรที่เช็คมีมาตั้งแต่ก่อตั้งทีวีบูรพาในปีแรกๆ
"ตอนทำรายการคนค้นฅน ผมปฏิญญาไว้กับพนักงานที่ยังมีแค่ 20 กว่าคน ว่าเราจะนำพาบริษัทไปสู่จุดนี้ คือจะไม่ให้พนักงานกินแค่เงินเดือน แต่จะพยายามให้มีความเป็นเจ้าของ และมีหุ้น ไม่ว่าจะลักษณะไหน" เช็คพูดเรื่องนี้ซ้ำในที่ประชุมทุกปี
แม้เชิงนิติกรรมจะทำไม่ได้ง่ายๆ แต่ด้วยความจริงใจของ M.D. คนนี้ เมื่อบริษัทมีกำไร เช็คสละหุ้นของตัวเองและภรรยา ไปซื้อคืนหุ้นบางส่วนของเพื่อนๆ ไปขอปันหุ้นอดีตเจ้านายที่แสนดีของเขา รวบรวมมาจนได้ 10% แล้วกระจายให้ทีมงานทีวีบูรพาทั้งหมดซึ่งมีร่วม 110 คน ณ วันนี้
นอกจากโบนัสที่ได้ทุกปีตั้งแต่เริ่มมีกำไร ปีที่แล้วทีมงานทุกคนได้รับเงินปันผลในฐานะผู้ถือหุ้นของบริษัทเป็นปีแรก "มันเหมือนยังไม่จุใจ เราคิดว่ามันน่าที่จะทำอะไรมากกว่านี้ ก่อน หน้านี้ไปคุยกับเจ้านาย ไปบอกว่าผมขอตั้งบริษัทอีกบริษัทแต่ให้หุ้นกับทีมงานทั้ง 2 บริษัท"
บ้านบันดาลใจถือหุ้นโดย JSL 30% หุ้นที่เหลือถือโดยหุ้นส่วนเก่าและทีมงานทั้งหมด โดย ที่ทีวีบูรพาไม่ถือสักหุ้นเดียว แต่รู้กันเองระหว่างทีมงานของทั้ง 2 บริษัทว่ารายได้ของบริษัทน้อง ต้องนำมาแบ่งปันให้บริษัทพี่ด้วย ซึ่งเช็คบอกว่า หากบริษัทใหม่มีกำไร ก็เป็นเรื่องที่ทีมงานร้อยกว่าคนต้องไปตกลงกันเอง
ขณะเดียวกัน บ้านบันดาลใจยังเป็นเสมือนเวทีซ้อมใหญ่สำหรับทีมงาน ในวันที่อาจจะไม่มี "พี่เช็คของน้องๆ" มานั่งทำงานทุกอย่างเช่นทุกวันนี้ อีกต่อไป
จากวันนี้ทีมงานบ้านบันดาลใจต้องทำทุกอย่างเอง ทั้งคิดคอนเซ็ปต์รายการ ผลิตรายการ จนถึงทำการตลาดเอง เหลือก็แต่หน้าที่ประชาสัมพันธ์ ซึ่งยังเป็นของ JSL แต่สุดท้ายแล้ว เช็คที่ควบตำแหน่ง M.D. เอื้ออาทรให้กับบริษัทน้องใหม่ก็ยังมาทำหน้าที่ QC คุณภาพ ของรายการให้ได้มาตรฐาน ก่อนจะปล่อยให้ออนแอร์
"สุดท้ายแล้ว ธุรกิจนี้จะมั่นคงมันไม่ได้อยู่ที่ผม ตอนนี้ทุกรายการที่ทำเป็นความคิด ผมหมด แล้วส่งคนไปทำ มันไม่ได้ มันต้องฝึก ทุกคนให้คิดได้ ควบคุมดูแลคุณภาพงานเองได้ รู้ว่าจะทำการตลาดยังไง รู้ว่าจะปกครองดูแล แก้ไขปัญหาความขัดแย้ง จับสัญญาณธุรกิจโทรทัศน์ได้"
เชื่อว่าเมื่อทีมงานทีวีบูรพาได้ยินหัวเรือ หลักพูดเช่นนี้ คงจะต้องใจหาย
อาจเรียกได้ว่า การมีอยู่และการเติบโต ของจำนวนรายการสารคดีของทีวีบูรพานั้น มีรากเหง้ามาจากความเชื่อหลายอย่างของผู้ก่อตั้งผิวเข้มคนนี้ และความเชื่อหนึ่งในนั้นก็คือ มนุษย์ควรจะถูกทำให้เรียนรู้แล้วบูรณา การความรู้เหล่านั้น และสังเคราะห์ให้เป็น
"เราต้องทำสิ่งที่เราเชื่อว่าดีที่สุด" เป็นคำตอบง่ายๆ สั้นๆ ที่อธิบายสิ่งที่เช็คทำทั้งหมดได้ดีเหลือเกิน
สำหรับรายการในอนาคต เช็คยังคงยึดมั่นอยู่บนจุดยืนความเป็นมืออาชีพในการสร้างสรรค์สารคดี อาจจะเรียกได้ว่าเป็นความฝันสูงสุดของเขา บนเส้นทางคนทำรายการสารคดี นั่นก็คือ การผลิตรายการ "เจ้าภาพจงเจริญ" ที่มีคอนซ็ปต์หลักคือ ใช้สื่อโทรทัศน์ทำหน้าที่เชื่อมโยงคนทุกหมู่เหล่าในสังคมให้เกิดความเข้าใจ ความช่วยเหลือ ความอาทรเกื้อกูลกันเพื่อเป็นพลังบริสุทธิ์ในการทำให้เกิดมิติดีๆ ในสังคม
"ถ้าทำถึงรายการนี้ ผมก็คิดว่าผมพอแล้ว คงทำอะไรต่อไม่ไหวแล้ว" น้ำเสียงมีพลังแห่งความหวังแต่ก็แฝงไว้ด้วยความเหนื่อยล้า
จากคนค้นฅนจนถึงเจ้าภาพจงเจริญที่ยังคงเหลือค้างอยู่ในพอร์ตแห่งความฝัน ของเช็ค พัฒนาการที่เห็นชัดเจน นอกจากความเป็นมืออาชีพทางด้านการผลิตรายการสารคดี ยังเห็นดีกรี "เพื่อสังคม" ในแต่ละรายการเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
เช็คสันนิษฐานว่า ส่วนหนึ่งมาจากทัศนคติที่ชัดเจนที่คอยบอกว่าตัวเธอเสมอว่าควรจะทำหน้าที่ อะไรในสังคมนี้ โดยทัศนคติเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นเอง แต่เกิดจากการปลูกฝังจากครอบครัว และสะสมมาในทุกช่วงวัย แต่ชัดเจนยิ่งขึ้นในช่วงมหาวิทยาลัย ที่เขาได้มีโอกาสไปสัมผัสความเป็นจริงในสังคมกับรุ่นพี่ หลังเรียนจบก็ได้ไปทำงานอยู่กับเพื่อนสนิท ซึ่งส่วนใหญ่จบแล้วก็หันไปทำงานเป็น NGO เกือบหมด
"พอตัวเองได้มาทำสื่อ ก็เลยเชื่อมโยง เรื่องราวเหล่านี้เข้าด้วยกัน ยิ่งรู้ว่าสื่อโทรทัศน์ มันไปเร้าหรือมีอิทธิพลต่อสังคมอย่างไรบ้าง มันก็เลยทำให้เราค่อนข้างชัดเจนว่าจะต้องใช้สื่อที่มีอยู่ในมือเราไปใน ประโยชน์หรือทิศทางไหน"
อย่างไรก็ดี เช็คยอมรับว่า เคยมีช่วงหนึ่งในชีวิตเหมือนกันที่สับสน "หลงทาง" และยังค้นหาตัวเองไม่เจอ คิดแค่หางานทำหาเงินไปวันๆ เขาเคยขายเสื้อผ้าในตลาดนัด เคยสมัครทำงานในบาร์ ฯลฯ จนพบกับจุดเปลี่ยนในชีวิตครั้งแรกที่เป็นดั่งประตูสู่แวดวง "คนเบื้องหลัง"
"พอมาทำละครเวทีกับคณะละคร 28 ก็เริ่มเห็นถึงการซ่อนนัยการสื่อสารอะไรบางอย่างไปยังสังคมผ่านสื่อละครเวที พอได้อ่านหนังสือหลายเล่มที่เพื่อนในคณะละครให้มาก็เริ่มรู้สึกว่า การเป็นคนที่ทำหน้าที่แบบนี้มันดีนะ และคนส่วนใหญ่มาทำแบบนี้น้อย"
สำหรับจุดเปลี่ยนในอาชีพคนทำสื่อของเช็ค เกิดขึ้นวันหนึ่งในห้องสัมมนาของบริษัท JSL วิทยากรที่กำลังพูดอยู่ในขณะนั้นมีชื่อว่า เสกสรร ประเสริฐกุล
"ถ้ามันมีแต่คนคิดว่า จะทำอันนี้ไปขายแล้วจะขายดี แล้วเราต้องทำไอ้นี่ด้วย โลกนี้ก็จะไม่มีตัวงานอะไรที่มีคุณค่าหลงเหลือ อยู่ เหมือนช่างทำมีดที่สุดยอด ตีเองด้วยมือ ปีหนึ่งทำได้เล่มเดียว ตัวคุณภาพมันจะอยู่ในมีดนั้นตลอดไป ส่วนมีดปั๊มปีหนึ่งอาจได้หลาย เล่ม เป็น mass แต่มันก็แค่มีดเล่มหนึ่งที่ไม่มีอะไรพิเศษ ทีนี้คุณต้องเลือกเองว่าจะเป็น คนทำงานประเภทไหน?" แม้จะจำได้ไม่หมด แต่เช็คก็เล่าได้ถึงพลังที่ซ่อนอยู่ในวาทะนี้
อาจกล่าวได้ว่า เพราะคำพูดนี้ที่หนุนนำให้เกิดรายการสารคดีดีๆ ในวงการโทรทัศน์ บ้านเรา
"ผมสะดุดมากกับการโยนคำถามเกี่ยวกับชีวิต ว่าแล้วเราจะเป็นคนทำงานประเภทไหน ฉะนั้นในการทำงาน ผมก็เลยไม่คิดว่าจะต้องทำงานที่ mass แต่จะคิดก่อนว่าเราจำเป็นต้องทำอะไร หรือควรจะทำอะไร แล้วค่อยคิดว่าเราจะต้องทำอย่างไรให้มันอยู่ได้"
นอกจากสารคดีทางจอแก้ว เช็คขยายพรมแดน "ท่อน้ำดี" จากทีวี เข้าสู่พื้นที่นิตยสาร ด้วยเหตุผลคล้ายกับวิถีทางของคนค้นฅน เพราะธรรมชาติของสื่อนิตยสารบ้านเราก็ไม่ต่างจาก ฟรีทีวี ที่ดูเหมือนจะมีความหลากหลาย แต่ล้วนไปในทิศทางเดียวกัน นั่นก็คือ การทำหน้าที่รับใช้ทุนนิยมอย่างซื่อสัตย์
"นิตยสาร ฅ.คน" มีบางส่วนเป็นการต่อยอดข้อมูลที่เคยถูกนำเสนอในรายการคนค้นฅน อีกส่วนเป็นคอลัมน์เชิงวรรณกรรม ซึ่งเปรียบได้กับยุทธจักรที่รวบรวมนักเขียนยอดฝีมือมาไว้รวมกัน เช่น อธิคม คุณาวุฒิ, เสกสรร ประเสริฐกุล, เสี้ยวจันทร์ แรมไพร และเวียง-วชิระ บัวสนธิ์ เป็นต้น
เทียบกับราคาหน้าปก 80 บาท เรียกได้ว่าเกินคุ้มที่จะได้อ่านน้ำหมึกของบรมครูในแวดวงวรรณกรรมจำนวนมากที่จับมาอยู่รวมกันเช่นนี้
"คนทำหนังสือก็เตือนว่า ไม่มีทาง แต่เหมือนกับว่าไม้บรรทัดวัดความสำเร็จของ เราไม่ใช่ยอดขายหรือรายได้ค่าโฆษณามหาศาล แต่เราอยากจะให้มีอะไรบางอย่างอยู่ในสังคมนี้ที่เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ รับ บางกลุ่มที่เป็นคนอ่านที่เคร่งครัดและมีคุณภาพ" เช็คเองก็ถือว่าเป็นคนอ่านกลุ่มนี้
ด้วยความลุ่มหลงแวดวงวรรณกรรมเป็นการส่วนตัว เช็คในฐานะที่เป็นศิษย์เก่านิตยสารเรื่องสั้น "ช่อการะเกด" เขายังเป็นหนึ่งในโต้โผสำคัญที่ทำการคืนชีพให้กับนิตยสารเล่มนี้ เพื่อกระตุ้นเร้าให้คนรุ่นใหม่หันมาสนใจงานเขียนที่มีคุณภาพ และเป็นเวทีแจ้งเกิดให้กับนักเขียนคุณภาพรุ่นใหม่ เหมือนกับที่เขาและนักเขียนมีชื่อหลายคนก็เคยแจ้งเกิดบนเวทีนี้มาแล้ว
นอกจากนี้ยังมีสำนักพิมพ์พิมพ์บูรพา ที่ผลิตพ็อกเก็ตบุ๊กออกมาแล้วกว่า 20 เล่ม มีทั้งเรื่องสั้นและข้อมูลที่มีเนื้อหาจากรายการ ของบริษัทที่เคยออนแอร์ และยังมี VCD ที่มีแนวคิดเดียวกัน ซึ่งมูลค่าทางธุรกิจตรงนี้ เช็ค ยืนยันแค่ครอบคลุมต้นทุนและจ่ายทีมที่ทำงาน ตรงนี้ แต่สำหรับเขามันคุ้มค่าอย่างยิ่งในเชิง "มูลค่าทางสังคม"
คงเป็นความถนัด เช็คใช้ความเป็นมือ อาชีพในฐานะคนทำสื่อและพลังวรรณกรรมที่อัดแน่นอยู่ในตัวตนของเขา เพื่อผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่างในสังคม
จากวันแรกที่ออฟฟิศเป็นเพียงตึกแถว 3 ชั้นเพียง 1 ห้อง ที่ตั้งในซอยรามคำแหง 43/1 ผ่านมา 4 ปีกว่า อาณาจักรชุมชนทีวีบูรพาที่ยังอยู่ที่เดิม แต่ขยายไปยังห้องข้างเคียง อีก 4 ห้อง ตามจำนวนรายการบวกนิตยสารอีกเล่ม โดยในกลุ่มอาคารทั้ง 5 ห้องนี้ ซื้อขาดมา 4 ห้องในราคาห้องละ 3.5 ล้านบาท อีก 1 ห้องเป็นการเช่า
"ตอนนี้ปัญหาที่มีมากก็คือเรื่องสถานที่ คือมันไม่รู้จะขยับขยายยังไง พอจะมีรายการใหม่ ก็ต้องมีทีมงานเพิ่ม มีเครื่องตัดต่อเพิ่ม ทีนี้มันไม่มีที่แล้ว การขยับขยายต่อไปถือเป็นการบ้านหนักอึ้งของผมเลย" แม้จะดูเป็นปัญหา แต่ก็เป็นปัญหาที่เชื่อว่าเช็คอยากให้เกิดขึ้นในเร็ววัน
สำหรับรายได้และกำไรของทั้งบริษัท เมื่อปีที่แล้ว ทีวีบูรพามีบิลลิ่งทั้งหมดประมาณ 100 ล้านบาท เป็นส่วนของกำไรประมาณ 20%
ความสำเร็จที่ต่อยอดออกดอกผลเติบโตเป็นอาณาจักรทีวีบูรพาในวันนี้ อาจบอกได้ว่ามีพื้นฐานที่แข็งแรงมาจากรายการคนค้นฅน ที่แน่นทั้งคอนเซ็ปต์ ชัดเจนทั้งจุดหมายของคนทำ และปลายทางของรายการ ดีงามในแง่ของคุณค่าทางศิลปะและทางสังคม
แต่กว่าจะได้ "คน" ค้นคน แง่งามในเรื่องราวชีวิตของเช็คในฐานะคนต้นเรื่องของ "ผู้จัดการ" ซึ่งเป็น "somebody" ที่น่าจะเป็น "ต้นแบบ" ได้ นั่นก็คือ ก่อนจะค้นหาคนอื่นต้องค้นหาตัวเองให้เจอก่อน ก่อนจะเข้าใจคนอื่นต้องเข้าใจตัวเอง เมื่อค้นพบและเข้าใจแล้วก็มุ่งมั่นในสิ่งที่ตัวเองเชื่อว่าดีที่สุด
Apr 29, 2012
สู้แล้วรวย - ชายสี่ บะหมี่เกี๊ยว
Sunday, 15 February 2009
http://www.gracezone.org/index.php/motivate/296-chay4-history
Picture : ThaiFranchiseCenter.com
เมื่อปี 2535 คุณพันธ์รบ กำลา ประธานกรรมการผู้จัดการบริษัทฯ
เริ่ม ขายก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นน้ำใสก่อน ระหว่างนั้นได้ติดต่อกับน้องชายที่ไปมาหาสู่กันเป็นประจำก็เห็นว่าน้องชาย ขายบะหมี่มีรายได้ดี จึงคิดอยากขายบ้าง จากนั้นจึงเริ่มขายบะหมี่ – เกี๊ยว ควบคู่กับก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นน้ำใส จัดรถเข็นสองคันขายควบกัน ก็สังเกตเห็นว่าลูกค้าส่วนใหญ่ชอบกินเส้นบะหมี่ – เกี๊ยว มากกว่าก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นน้ำใส
ระหว่างนี้ใช้เวลา 2 ปี ในการขายและเก็บหอมรอบริบ จนมีเงินเก็บจำนวนหนึ่ง พร้อมกับตอนที่ขายบะหมี่ - เกี๊ยว อยู่นั้น ก็พบปัญหาที่ทำให้หงุดหงิดเป็นประจำ เช่น เส้นขาดบ้าง,เส้นลอยบ้าง,และปัญหาอื่นๆ อีกมากมาย จุดนี้เองที่ทำให้เริ่มมีความคิดที่จะผลิตเส้นบะหมี่ – เกี๊ยวเองดูบ้าง
ปี 2537 คุณพันธ์รบ กำลา จึงได้ตัดสินใจนำเงินที่เก็บหอมรอบริบจำนวนหนึ่งไปซื้อเครื่องจักรผลิตเส้น บะหมี่ – แผ่นเกี๊ยวเอง ในตอนแรกไม่มีความรู้ด้านนี้เลย ก็อาศัยการหาผู้ที่มีความรู้ด้านนี้ จ้างให้มาทำให้ดู จ้างมาหลายคนก็ยังทำไม่ได้สักที ส่วนเงินที่เก็บหอมรอบริบก็เริ่มหมดลงเรื่อยๆ จากนั้นก็อาศัยข้อมูลที่สะสมมาจากคนที่จ้างให้มาทำให้ดู ทดลอง ลองผิดลองถูก นับครั้งไม่ถ้วน ซึ่งเส้นบะหมี่ – แผ่นเกี๊ยว ที่ผลิตออกมา ในตอนแรกๆ ก็ขายในร้านของตนเองก่อน อาศัยลูกค้าที่มากินในร้านเป็นประจำทดลอง ลูกค้าติมาพบปัญหาก็แก้ไขไปเรื่อยๆ จนสูตรเริ่มลงตัว เมื่อสูตรเริ่มลงตัว และ เส้นบะหมี่ – แผ่นเกี๊ยว มีคุณภาพดีขึ้น จึงได้ตั้งชื่อใหม่ขึ้นว่า “ชายสี่ บะหมี่เกี๊ยว” และนี่คือจุดเริ่มต้นของบะหมี่ยี่ห้อดังอันดับหนึ่งของประเทศไทย
ปี 2538 เมื่อคุณพันธ์รบ กำลา ซึ่งขายบะหมี่ – เกี๊ยว ในตอนนั้นขายดี มีรายได้ดีมากๆ เริ่มมีฐานะดีขึ้นมาตามลำดับ ระหว่างนั้นได้เดินทางกลับบ้านเกิดที่ บ้านหนองมะเขือ ต.สระบัว อ.ปทุมรัตต์ จ.ร้อยเอ็ด ชาวบ้านใกล้ๆ เรือนเคียงเห็นก็สอบถามว่า “ไปทำอะไรมาถึง มีเงินมีทอง ร่ำรวยขนาดนี้ได้ ” คุณพันธ์รบ ก็ตอบว่า “ที่ร่ำรวยได้ก็เพราะไปขายชายสี่ บะหมี่ – เกี๊ยว มา”
จุดนี้เองที่ทำให้ ชื่อเสียงของ คุณพันธ์รบ กำลา เริ่มแพร่กระจายออกไปตามหมู่บ้านข้างเคียง พร้อมกับทุกคนก็เริ่มอยากมาขาย “ชายสี่บะหมี่ – เกี๊ยว”
ต่อมาญาติๆ บ้านใกล้เรือนเคียงก็เริ่มมาขาย “ชายสี่บะหมี่ – เกี๊ยว” ดูบ้าง ก็ผล ปรากฏว่าขายดี มีเงินเก็บกลับบ้านกันทุกคน ทำให้ชื่อเสียง “ชายสี่ บะหมี่-เกี๊ยว” เริ่มแตกสาขา ขยายออกไปเรื่อยๆ
ปี 2543 จึงได้ไปจดทะเบียนจัดตั้งในรูปแบบ “บริษัท ชายสี่บะหมี่เกี๊ยว จำกัด” พร้อมกับสร้างโรงงานใหม่ขึ้นมาเพื่อรองรับ ตั้งอยู่ที่ 7/7 ม.8 ต.คลองหก อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120 และดำเนินการมาจนถึงปัจจุบัน
http://www.gracezone.org/index.php/motivate/296-chay4-history
Picture : ThaiFranchiseCenter.com
เมื่อปี 2535 คุณพันธ์รบ กำลา ประธานกรรมการผู้จัดการบริษัทฯ
เริ่ม ขายก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นน้ำใสก่อน ระหว่างนั้นได้ติดต่อกับน้องชายที่ไปมาหาสู่กันเป็นประจำก็เห็นว่าน้องชาย ขายบะหมี่มีรายได้ดี จึงคิดอยากขายบ้าง จากนั้นจึงเริ่มขายบะหมี่ – เกี๊ยว ควบคู่กับก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นน้ำใส จัดรถเข็นสองคันขายควบกัน ก็สังเกตเห็นว่าลูกค้าส่วนใหญ่ชอบกินเส้นบะหมี่ – เกี๊ยว มากกว่าก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นน้ำใส
ระหว่างนี้ใช้เวลา 2 ปี ในการขายและเก็บหอมรอบริบ จนมีเงินเก็บจำนวนหนึ่ง พร้อมกับตอนที่ขายบะหมี่ - เกี๊ยว อยู่นั้น ก็พบปัญหาที่ทำให้หงุดหงิดเป็นประจำ เช่น เส้นขาดบ้าง,เส้นลอยบ้าง,และปัญหาอื่นๆ อีกมากมาย จุดนี้เองที่ทำให้เริ่มมีความคิดที่จะผลิตเส้นบะหมี่ – เกี๊ยวเองดูบ้าง
ปี 2537 คุณพันธ์รบ กำลา จึงได้ตัดสินใจนำเงินที่เก็บหอมรอบริบจำนวนหนึ่งไปซื้อเครื่องจักรผลิตเส้น บะหมี่ – แผ่นเกี๊ยวเอง ในตอนแรกไม่มีความรู้ด้านนี้เลย ก็อาศัยการหาผู้ที่มีความรู้ด้านนี้ จ้างให้มาทำให้ดู จ้างมาหลายคนก็ยังทำไม่ได้สักที ส่วนเงินที่เก็บหอมรอบริบก็เริ่มหมดลงเรื่อยๆ จากนั้นก็อาศัยข้อมูลที่สะสมมาจากคนที่จ้างให้มาทำให้ดู ทดลอง ลองผิดลองถูก นับครั้งไม่ถ้วน ซึ่งเส้นบะหมี่ – แผ่นเกี๊ยว ที่ผลิตออกมา ในตอนแรกๆ ก็ขายในร้านของตนเองก่อน อาศัยลูกค้าที่มากินในร้านเป็นประจำทดลอง ลูกค้าติมาพบปัญหาก็แก้ไขไปเรื่อยๆ จนสูตรเริ่มลงตัว เมื่อสูตรเริ่มลงตัว และ เส้นบะหมี่ – แผ่นเกี๊ยว มีคุณภาพดีขึ้น จึงได้ตั้งชื่อใหม่ขึ้นว่า “ชายสี่ บะหมี่เกี๊ยว” และนี่คือจุดเริ่มต้นของบะหมี่ยี่ห้อดังอันดับหนึ่งของประเทศไทย
ปี 2538 เมื่อคุณพันธ์รบ กำลา ซึ่งขายบะหมี่ – เกี๊ยว ในตอนนั้นขายดี มีรายได้ดีมากๆ เริ่มมีฐานะดีขึ้นมาตามลำดับ ระหว่างนั้นได้เดินทางกลับบ้านเกิดที่ บ้านหนองมะเขือ ต.สระบัว อ.ปทุมรัตต์ จ.ร้อยเอ็ด ชาวบ้านใกล้ๆ เรือนเคียงเห็นก็สอบถามว่า “ไปทำอะไรมาถึง มีเงินมีทอง ร่ำรวยขนาดนี้ได้ ” คุณพันธ์รบ ก็ตอบว่า “ที่ร่ำรวยได้ก็เพราะไปขายชายสี่ บะหมี่ – เกี๊ยว มา”
จุดนี้เองที่ทำให้ ชื่อเสียงของ คุณพันธ์รบ กำลา เริ่มแพร่กระจายออกไปตามหมู่บ้านข้างเคียง พร้อมกับทุกคนก็เริ่มอยากมาขาย “ชายสี่บะหมี่ – เกี๊ยว”
ต่อมาญาติๆ บ้านใกล้เรือนเคียงก็เริ่มมาขาย “ชายสี่บะหมี่ – เกี๊ยว” ดูบ้าง ก็ผล ปรากฏว่าขายดี มีเงินเก็บกลับบ้านกันทุกคน ทำให้ชื่อเสียง “ชายสี่ บะหมี่-เกี๊ยว” เริ่มแตกสาขา ขยายออกไปเรื่อยๆ
ปี 2542 “ชายสี่
บะหมี่เกี๊ยว” ได้รับเชิญให้ไปออกรายการทีวี “เกมแก้จน”
ผลของการออกรายการทีวีครั้งนั้น ดังเหมือนระเบิด
ลูกค้าโทรเข้ามาสนใจอยากขาย “ชายสี่ บะหมี่เกี๊ยว”
หลั่งไหลมาเป็นจำนวนมากมาย จากสาขาที่มีอยู่ตอนนั้นประมาณ 150 สาขา
เพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 800 สาขา เมื่อมีลูกค้ามากมายขนาดนี้
ปัญหาก็ตามมาเป็นเงา ก็เลยเริ่มคิดจัดการให้เป็นระบบขึ้น
ปี 2543 จึงได้ไปจดทะเบียนจัดตั้งในรูปแบบ “บริษัท ชายสี่บะหมี่เกี๊ยว จำกัด” พร้อมกับสร้างโรงงานใหม่ขึ้นมาเพื่อรองรับ ตั้งอยู่ที่ 7/7 ม.8 ต.คลองหก อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120 และดำเนินการมาจนถึงปัจจุบัน
Apr 28, 2012
"ชีวิตนี้ เพื่อใคร" ~ พล.อ.ต.นพ.บุญเลิศ จุลเกียรติ
งานแสดงธรรม-ปฏิบัติธรรมเป็นธรรมทาน ครั้งที่ ๒๑
จัดโดย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
ร่วมกับ ชมรมกัลยาณธรรม ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๔
Apr 26, 2012
พิชัย วาศนาส่ง
( 8 เม.ย.2555 )เราได้สูญเสียกูรูผู้รอบรู้บุคคลสำคัญ
อาจารย์พิชัย วาศนาส่ง ในวัย 82 ปี ด้วยโรคชรา
อาจารย์พิชัยได้เคยให้สัมภาษณ์กับ " คมชัดลึก "
ก่อนถึงแก่กรรมถึงความห่วงใยที่มีต่อประเทศชาติในยามนี้ว่า......
" ประชาชนต้องไม่หูเบา ต้องดูมรรค 8 ให้เป็นฐานหากไม่ใช้มรรค
ตัดสินก็ไม่รู้ว่าใครมีมิจฉาทิฐิ หรือสัมมาทิฐิ....คนจบปริญญาเอกมี
อยู่ทั่วบ้านทั่วเมือง
ทำไมบ้านเมืองถึงยุ่ง เพราะสัมมาทิฐิกับสัมมากัปปะไม่มี เอาวิชา
มาเป็นเครื่องในการหากินเอาเปรียบคนอื่นเขา สังคมเดี๋ยวนี้ไม่ได้ดูว่า
ใครดีใครชั่ว แต่เชื่อการชักจูง...ใตรพูดที่มีโลจิกดีก็เชื่อไปตามที่เขา
บอก มันจะแดงจะเหลืองหรืออะไรก็ไม่รู้ วันนี้ผมใส่เหลือง แต่ผมไม่ยุ่ง
กับอะไรทั้งนั้น แต่ผมอยู่กับสัจธรรมเท่านั้นเอง "
ที่มา : มติชนออนไลน์
"ข้างครู" เป็นมากกว่าประวัติชีวิตของพิชัย วาศนาส่ง
ในวาระครบรอบ 80 ปี พิชัย วาสนาส่ง นักคิดนักเขียน
เรื่องราวของเขาถ่ายทอดผ่าน หนังสือชื่อ " ข้างครู "
ซึ่งนักอ่านจะได้รู้จักกับชายผู้ที่คร่ำหวอดในทุกวงการของประเทศและ
ทุกบทในหนังสือยังสอดแทรกหลักการดำเนินชีวิตที่ประสบความ
สำเร็จของเขาด้วยติดตามรายงานได้จาก
คุณ กวินทรา นาวิกนันทน์
ช่วงชีวิต 80 ปีที่ผ่านมาของพิชัย วาสนาส่ง นักคิด นักเขียน
อดีตสมาชิกวุฒิสภาและครูของคนดังในประเทศไทย
ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ กว่าจะถึงวันนี้
เขาต้องดิ้นรนใฝ่หาความรู้ ด้วยการอ่าน ลองผิด ลองถูก
จนรู้ลึกในเรื่องราวของศาสตร์และศิลป์แต่ละแขนง
และเป็นที่นับน่าถือตาของบุคคลทุกวงการ
ชายคนนี้ เปรียบเหมือนห้องสมุดเคลื่อนที่ ที่ทุกคนสามารถขอคำ
ปรึกษาได้ไม่ว่าจะเป็นด้านสถาปัตยกรรม การวางผังเมือง
ธุรกิจภาษา โฆษณา หรือประชาสัมพันธ์
ทั้งยังรอบรู้แม้กระทั่งเรื่องกล้อง การใช้แสงและสี
รวมถึงเป็นนักเขียนฝีมือดีคนหนึ่งของไทยด้วย
เรื่องราวที่น่าศึกษา และเจริญรอยตามนี้
ทำให้ ปวีณา สิงห์บูรณา 1 ใน ลูกศิษย์ของครูคนนี้
ถ่ายทอดเรื่องราวที่น่าสนใจลงในหนังสือที่ชื่อ " ข้างครู "
ซึ่งผู้เขียนบอกว่าแตกต่างจากหนังสืออัตชีวประวัติของบุคคลทั่วไป
เพราะเป็นการสะท้อนมุมมอง และแนวคิด ที่พิชัย วาสนาส่ง
ใช้ในการดำเนินชีวิตตลอดมา ซึ่งจะทำให้ผู้อ่านได้พบกับคำตอบ
ที่น่าประทับใจและรู้สึกอบอุ่นไปพร้อมกัน
" ไม่ได้ขออะไรจากลูกๆมาก ขอเพียงให้เป็นคนซื่อสัตย์ สุจริต
รู้จักธรรมะ ไม่คดโกง เท่านี้
พ่อกับแม่ก็พอใจแล้ว " เป็นประโยค
ที่ยังคงก้องอยู่ในใจของพิชัยเสมอมา
เพราะเป็นคำขอที่พ่อบอกไว้ และเขายึดเป็นหลักในการดำเนินชีวิต
จนประสบความสำเร็จถึงทุกวันนี้
พ่อ ของเขายังเป็นต้นแบบที่ดี
โดยเฉพาะเรื่องการฝึกภาษาอังกฤษด้วยตัวเอง
จนเข้ารับราชการทหารได้ และการนำหลักธรรมะมาใช้
เพื่อความพอเพียงของชีวิต
ซึ่งเมื่อพิชัย ประสบความสำเร็จ และได้เป็นครูของลูกศิษย์
เขาก็ยังพร่ำสอนหลักการเหล่านี้อยู่เนื่อง ๆ
จึงกลายเป็นที่รักและเป็นต้นแบบของลูกศิษย์ที่ผ่านมือครูผู้นี้
อีกหลายคน
บทบาทในชีวิตตลอด 80 ปีที่หลายคนอาจคุ้นหูกับชื่อ
พิชัย วาสนาส่ง อาจเป็นช่วงที่เขาเดินบนเส้นทางการเมือง
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2501ได้รับแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกวุฒิสภา
คณะที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีสมัย ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูสานนท์
ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
และ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ซึ่งตำแหน่งนี้ทำให้พิชัยได้เดินทางไปเปิดโลกกว้างในหลายๆประเทศ
ทั่วโลกและพบปะผู้นำระดับชาติของหลายประเทศ
รวมไปถึงเติ้ง เสี่ยวผิง อดีต ผู้นำของจีนด้วย
แต่ตำแหน่งต่างๆที่ได้รับพิชัยบอกว่า ไม่ยั่งยืนเท่ากับ
เป็นนายพิชัย วาสนาส่งเพราะเมื่อวันหนึ่งที่ไม่ได้ทำ
เขายังคงเป็นตัวเอง เป็นครูของลูกศิษย์
ที่ไม่มีใครสามารถเอาคืนได้
และนี่คือสัจธรรมอีกข้อหนึ่งที่พิชัยใช้ในการดำรงชีวิตเสมอมา
ในวาระครบรอบ 80 ปี พิชัย วาสนาส่ง นักคิดนักเขียน
เรื่องราวของเขาถ่ายทอดผ่าน หนังสือชื่อ " ข้างครู "
ซึ่งนักอ่านจะได้รู้จักกับชายผู้ที่คร่ำหวอดในทุกวงการของประเทศและ
ทุกบทในหนังสือยังสอดแทรกหลักการดำเนินชีวิตที่ประสบความ
สำเร็จของเขาด้วยติดตามรายงานได้จาก
คุณ กวินทรา นาวิกนันทน์
ช่วงชีวิต 80 ปีที่ผ่านมาของพิชัย วาสนาส่ง นักคิด นักเขียน
อดีตสมาชิกวุฒิสภาและครูของคนดังในประเทศไทย
ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ กว่าจะถึงวันนี้
เขาต้องดิ้นรนใฝ่หาความรู้ ด้วยการอ่าน ลองผิด ลองถูก
จนรู้ลึกในเรื่องราวของศาสตร์และศิลป์แต่ละแขนง
และเป็นที่นับน่าถือตาของบุคคลทุกวงการ
ชายคนนี้ เปรียบเหมือนห้องสมุดเคลื่อนที่ ที่ทุกคนสามารถขอคำ
ปรึกษาได้ไม่ว่าจะเป็นด้านสถาปัตยกรรม การวางผังเมือง
ธุรกิจภาษา โฆษณา หรือประชาสัมพันธ์
ทั้งยังรอบรู้แม้กระทั่งเรื่องกล้อง การใช้แสงและสี
รวมถึงเป็นนักเขียนฝีมือดีคนหนึ่งของไทยด้วย
เรื่องราวที่น่าศึกษา และเจริญรอยตามนี้
ทำให้ ปวีณา สิงห์บูรณา 1 ใน ลูกศิษย์ของครูคนนี้
ถ่ายทอดเรื่องราวที่น่าสนใจลงในหนังสือที่ชื่อ " ข้างครู "
ซึ่งผู้เขียนบอกว่าแตกต่างจากหนังสืออัตชีวประวัติของบุคคลทั่วไป
เพราะเป็นการสะท้อนมุมมอง และแนวคิด ที่พิชัย วาสนาส่ง
ใช้ในการดำเนินชีวิตตลอดมา ซึ่งจะทำให้ผู้อ่านได้พบกับคำตอบ
ที่น่าประทับใจและรู้สึกอบอุ่นไปพร้อมกัน
" ไม่ได้ขออะไรจากลูกๆมาก ขอเพียงให้เป็นคนซื่อสัตย์ สุจริต
รู้จักธรรมะ ไม่คดโกง เท่านี้
พ่อกับแม่ก็พอใจแล้ว " เป็นประโยค
ที่ยังคงก้องอยู่ในใจของพิชัยเสมอมา
เพราะเป็นคำขอที่พ่อบอกไว้ และเขายึดเป็นหลักในการดำเนินชีวิต
จนประสบความสำเร็จถึงทุกวันนี้
พ่อ ของเขายังเป็นต้นแบบที่ดี
โดยเฉพาะเรื่องการฝึกภาษาอังกฤษด้วยตัวเอง
จนเข้ารับราชการทหารได้ และการนำหลักธรรมะมาใช้
เพื่อความพอเพียงของชีวิต
ซึ่งเมื่อพิชัย ประสบความสำเร็จ และได้เป็นครูของลูกศิษย์
เขาก็ยังพร่ำสอนหลักการเหล่านี้อยู่เนื่อง ๆ
จึงกลายเป็นที่รักและเป็นต้นแบบของลูกศิษย์ที่ผ่านมือครูผู้นี้
อีกหลายคน
บทบาทในชีวิตตลอด 80 ปีที่หลายคนอาจคุ้นหูกับชื่อ
พิชัย วาสนาส่ง อาจเป็นช่วงที่เขาเดินบนเส้นทางการเมือง
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2501ได้รับแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกวุฒิสภา
คณะที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีสมัย ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูสานนท์
ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
และ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ซึ่งตำแหน่งนี้ทำให้พิชัยได้เดินทางไปเปิดโลกกว้างในหลายๆประเทศ
ทั่วโลกและพบปะผู้นำระดับชาติของหลายประเทศ
รวมไปถึงเติ้ง เสี่ยวผิง อดีต ผู้นำของจีนด้วย
แต่ตำแหน่งต่างๆที่ได้รับพิชัยบอกว่า ไม่ยั่งยืนเท่ากับ
เป็นนายพิชัย วาสนาส่งเพราะเมื่อวันหนึ่งที่ไม่ได้ทำ
เขายังคงเป็นตัวเอง เป็นครูของลูกศิษย์
ที่ไม่มีใครสามารถเอาคืนได้
และนี่คือสัจธรรมอีกข้อหนึ่งที่พิชัยใช้ในการดำรงชีวิตเสมอมา
ที่มา : Voice TV
Subscribe to:
Posts (Atom)