เหนือสิ่งอื่นใด
- เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี 9 มิถุนายน 2559
- พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) ณ วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๙
- The 60th Anniversary Celebrations of his Majesty King Bhumibol Adulyadej's Accession to the Throne
- 63 ปี "พระเจ้าอยู่หัว ร.๙" ผู้นำที่ไม่เหมือนใครในโลก นำพาประเทศ "อยู่ดีมีสุข"
- Supreme Artist
- เศรษฐกิจพอเพียง : Sufficiency Economy พ.ศ. ๒๕๖๓
- ทศพิธราชธรรม ๑
- ทศพิธราชธรรม ๒
- ๑๐๐ ปี สวรรคตกาลสมเด็จพระปิยมหาราช
- ร.๙ ทรงห่วงเหตุการณ์ประเทศเพื่อนบ้าน
- พระบรมราโชวาท ร.๙
- "พูดแล้วต้องทํา" พระบรมราโชวาท "ในหลวง ร.๙" ทรงเตือน-ครม.
- ร. ๙ ทรงพระราชทานแก่พลเอกสุจินดา คราประยูร และพลตรีจำลอง ศรีเมือง
- ร.๙ ทรงรับสั่งรมต.ถวายสัตย์ฯ
- ร.๙ ทรงมีพระบรมราโชวาทแก่ตุลาการทหาร
- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.9 ทรงป้องกันน้ำท่วม ปีพุทธศักราช ๒๕๓๘
- “ในหลวง ร.๙” ทรงฝากองคมนตรีปลูกฝังคนไทยเอื้อเฟื้อ นึกถึงส่วนรวม
- “ในหลวง ร.๙” เสด็จฯ ทอดพระเนตรดนตรีที่ศิริราช
- "ในหลวง ร.๙" เสด็จเปิดประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์-สะพานภูมิพล 1,2
- ในหลวง ร. ๙ เสด็จฯทอดพระเนตรคอนเสิร์ตแจ๊ส
- ๕ ธันวาคม ๒๕๕๒
- น้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณ"ในหลวง ร.๙"กับ"ภูมิสารสนเทศ"
- ในหลวง ร.๙ ทรงพระราชทาน ส.ค.ส.2554 แก่พสกนิกรชาวไทย
- 'ในหลวง ร.๙' ทรงมีพระราชดำรัสให้คนไทย ทำหน้าที่ ไม่ประมาท มีสติ : ๕ ธันวาคม ๒๕๕๓
- วันฉัตรมงคล (ร.๙)
- ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๙
- พระราชดำรัสสุดท้าย ในหลวง รัชกาลที่ 9
- ๑๒ สิงหา วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
- "สมเด็จย่า"
- เจ้านายเล็กๆ ยุวกษัตริย์
- อาลัยพระพี่นางฯ
- ในหลวงรัชกาลที่ ๙ โปรดให้นายโคฟี อันนัน เฝ้าถวายรางวัลฯ (๒๕ พ.ค.๔๙)
- "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร" มีพระราชดำรัสเกี่ยวกับการวิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์
- พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล
- ศิลปาชีพ : ประจักษ์พยานของความรัก ผูกพัน และห่วงใย
- เพลงสรรเสริญพระบารมี
- ชีวิตที่หมุนไปไม่หยุดยั้ง...พระอารมณ์ขันของพระเทพฯ
- ถ้าเดินเรื่อยไปย่อมถึงปลายทาง นิทรรศการภาพถ่ายฝีพระหัตถ์สมเด็จพระเทพรัตนฯ
- สมเด็จพระเทพฯ กับการส่งเสริมไอที เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
- สมเด็จพระเทพฯ สนพระทัยเมล็ดพันธุ์ช่วยหล่อเลี้ยงประชากร
- เครือข่ายกาญจนาภิเษก
- สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- ทรงพระเจริญ
- ของขวัญจากก้อนดิน
- ต้นไม้ของพ่อ
- รูปที่มีทุกบ้าน
- นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ
- ติโต
- ไม่มีวันไหนที่ไม่คิดถึงในหลวงรัชกาลที่ ๙
- พระราชนิพนธ์ พระมหาชนก ที่ทุกคนพึงอ่าน
- โครงการแก้มลิง
- ทำไมเรารัก "พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร"
Sep 29, 2008
ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม : 'วันนี้ ผมคือ..ผู้ที่ตื่นแล้ว'
เพิ่มเติม : http://teetwo.blogspot.com/2007/09/blog-post_20.html
'วันนี้ ผมคือ..ผู้ที่ตื่นแล้ว' จากลูกพ่อค้าชาวจีน
ที่พ่อแม่ไม่มีทรัพย์สมบัติให้เป็นทุนรอน
แต่กลับสร้างตัวจนเป็น "เดอะเฟิร์ส เจนเนอเรชั่น"
ของตระกูลเจ้าสัวเมืองไทย "บูลย์"
ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม ผู้นี้..เขาย่อมไม่ใช่ธรรมดา
"บูลย์" ชื่อที่คนใกล้ชิดเรียกขาน
เป็นเพียงลูกพ่อค้าชาวจีนธรรมดาๆ
หากเขาไม่มีความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าว่า
สักวันหนึ่ง..."กูต้องรวย" คงจะไม่ต่างไปจาก
"อาตี๋หนุ่ม..แซ่อึ้ง" คนอื่น
ที่ต้องสืบทอดกิจการร้านขาย
"ของชำ" เล็กๆ ย่านถนนเยาวราชของพ่อ
"ผมเริ่มบอกกับตัวเองว่า...กูต้องรวย ตั้งแต่เรียนจบ
(เกียรตินิยมนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ)
คิดว่าถ้าผมเรียนจบมาแล้ว
ต้องไปขายของชำอย่างงั้นก็ไม่ต้องไปเรียนดีกว่า"
อากู๋ เคยถ่ายทอดความคิดในวัยหนุ่มให้ฟัง
เพราะพ่อไม่มี "เงิน" ให้เป็นทุน ไม่มีนามสกุล
ถูกบรรจุอยู่ในตำนาน "เจ้าสัว"
พ่อมีแต่ความขยัน และมัธยัสถ์ ที่ปฏิบัติตัวให้เห็น
รวมทั้งคำสอนที่ว่า "อย่าเป็นหนี้"
เพราะมันจะทำให้หัวสมอง "บื้อ"
ส่วนความสำเร็จต้องไปไขว่คว้าหาเอาเอง
โรงเรียนที่หล่อหลอม "อากู๋"
ให้เติบใหญ่ทางความคิด ไม่ใช่มหาวิทยาลัย
แต่เป็นการเรียนรู้วรยุทธ์จากนายห้างเทียม โชควัฒนา
ในบริษัท ฟาร์อีสท์ แอดเวอร์ไทซิ่ง
(ปัจจุบันคือ บมจ.ฟาร์อีสท์ ดีดีบี)
ตอนมาทำแกรมมี่ลงทุนเริ่มแรกไปเท่าไร?
"สักสี่ซ๊า...ห้าแสนบาท"
บริษัท แกรมมี่ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ (จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่)
ถือกำเนิดเมื่อปี 2526 หรือเมื่อ 25 ปีที่แล้ว
แต่ไม่ได้ก่อเกิดบนความตั้งใจครั้งแรกของไพบูลย์
เขากล่าวว่า "พระเจ้าพาผมเข้ามา"
นี่อาจเป็นลิขิตชีวิตที่มี "ฟ้า" เป็นผู้กำกับ
"ผมเริ่มต้นจากการทำเพลง
"มหาดุริยางค์ไทย" ของหลวงประดิษฐ์ไพเราะ
ทำเป็นเทป 2 ม้วน นั่นแหละเป็นจุดเริ่มต้นจริงๆ"
ซึ่งขณะนั้นอากู๋มีอายุเพียง 33 ปี
และเริ่มทำเทปในนาม บริษัท แกรมมี่ ตอนอายุประมาณ 35 ปี
"ตอนนั้น ผมก็มองหาธุรกิจที่ไม่ใหญ่นัก
ก็มองที่ธุรกิจเต้นกินรำกินนี่แหละคิดว่ายังไงๆ
เราพอสู้ได้ ตอนนั้นก็มีรายใหญ่คุมอยู่
แต่คำว่า "ใหญ่" มันไม่ได้ใหญ่เหมือนกับโอสถสภา
สหพัฒน์ หรือยูนิลีเวอร์ เออ! ยังงี้...พอไหว ดูแล้วธุรกิจนี้กำไรดี"
พ่อยังสอนด้วยว่า..ถ้าแกมีเงินให้นั่งทับไว้ที่ก้น หัวมันจะฉลาดเอง
เพราะฉะนั้นวิธีการทำธุรกิจของไพบูลย์
เขาจึงไม่ชอบกู้เงินมาทำธุรกิจ (ถ้าไม่จำเป็น)
นี่คือ 1 ในสิ่งที่เจ้าพ่อวงการบันเทิงเมืองไทยบอกว่า
คือ "Key to Success"
ของเขาถ้าเผื่อให้ทางเลือกผม 2 ทาง
ทางแรกบอกว่า "เสี่ยงมาก...รวยมาก"
ทางที่สองบอกว่า "เสี่ยงน้อย...รวยน้อย"
คุณจะเอาทางไหน?..
ถ้าผมมีทุนน้อยผมจะเลือกทางที่เสี่ยงน้อยที่สุดเอาไว้ก่อน
แต่ทุกวันนี้ผมมีเงินทุนแล้ว ผมรู้ว่าความเสี่ยงนั้นถึงจะมาก
แต่ก็ยังเสี่ยงอยู่ในขอบเขต
หลายคนอาจจะบอกว่าผมทำธุรกิจที่ผมไม่เคยทำ
นั่นคือความเสี่ยง แต่สำหรับผมจะมองว่ามันไม่ใช่ความเสี่ยง"อากู๋"
มีหลักการธุรกิจอยู่อย่างหนึ่งว่า...
เขาจะไม่ทุ่มเงินก้อนหนึ่งไปทุ่มให้กับธุรกิจเพียงสิ่งเดียว
แต่เขาจะกระจายการลงทุนให้อยู่ในเนื้อหาสาระ
อยู่ในโครงสร้างที่เกื้อกูลซึ่งกันและกัน
เมื่อชีวิตเดินทางมาไกลกว่าที่ฝัน
ไพบูลย์ตัดสินใจสานฝันให้ไกลออกไป
โดยตัดสินใจสร้าง "ขาหยั่ง"
เพื่อเสริมสร้างความมั่งคั่งอีกครั้ง
ด้วยการรุกธุรกิจส่วนตัวหลายอย่างพร้อมๆ กัน
เริ่มตั้งแต่การซื้อตึกโรจนะ ทาวเวอร์ (ตึกแกรมมี่)
มูลค่าประมาณ 1,100 ล้านบาท
เพื่อให้บริษัทในเครือเช่า ลงทุนธุรกิจบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป "โฟร์มี"
ธุรกิจขายตรงเครื่องสำอาง "ยูสตาร์"
และ ธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่น "โฮยู" เป็นต้น
สำหรับธุรกิจในเครือแกรมมี่ ก็กระจายไปลงทุนที่หลากหลาย
แต่อยู่ภายใต้การเกื้อกูลซึ่งกันและกัน บ้างก็สำเร็จ..บ้างก็ล้มเหลว
ล่าสุดถามอากู๋ว่า ที่ผ่านมา
ได้รับ “บทเรียน” อะไรบ้างจากการทำธุรกิจ
ได้รับคำตอบว่า ได้รู้ว่าความ “ขี้เกียจ”
ทำให้ชีวิตไม่เจริญรุ่งเรือง
ถ้าสลัดตัวขี้เกียจออกไปได้จะไม่มีคำว่า
“ล้มเหลว” เกิดขึ้นเลย
อีกอย่างหนึ่งที่ได้รับคือ
หากเราไม่วางยุทธศาสตร์ให้
สอดคล้องกับวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป
ก็จะทำให้ “ทุนหายกำไรหด”
"ผมยอมรับว่าที่ผ่านมา คิดเข้าข้างตัวเองมาตลอดว่า
สิ่งที่เรามองเห็น “ถูกต้องที่สุด..ดีที่สุด”
โดยไม่ได้มองว่าวันนี้โลกกำลังหมุนไปทิศทางไหน
ที่ผ่านมาผมเหมือนคนย่ำอยู่กับที่ ทั้งๆ ที่รู้
และเห็นอยู่แล้วว่าเดินทางนี้มันผิดแต่ก็ยังทำ
สุดท้ายก็สะท้อนผ่านผลประกอบการ(ขาดทุน)"
ทุกวันนี้ อากู๋ จึงบอกว่า พร้อมจะ
นำบทเรียนราคาแพงมาเป็นเครื่องเตือนสติ
และสอนใจ จากนี้คิดจะทำอะไรให้
ดูคนอื่นด้วยว่าเขาเดินไปทางไหนกัน
วันนี้อยากให้ผู้ถือหุ้นไว้ใจว่า
ในการทำธุรกิจ “ผม..คือผู้ที่ตื่นแล้ว”
Sep 25, 2008
ขงเบ้ง “จิ๋ว ลงจากหลังเสือ
บรรดานายทหารที่ผันตัวเองมาเล่นการเมือง
ปฏิเสธไม่ได้ว่า “บิ๊กจิ๋ว” พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ
เจ้าของฉายา “ขงเบ้ง”
เป็นนายทหารที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด
บนเวทีการเมืองยุค ปัจจุบัน
พล.อ.ชวลิต เป็นนักเรียนนายร้อยที่เรียนดี
ด้วยความเป็นคงแก่เรียนจึงถูกบรรจุอยู่ในเหล่าสื่อสาร
ไม่ใช่นายทหารที่คุมกำลังที่มักจะก้าวถึงจุดสูงสุด
ของการเป็นข้าราชการทหาร
แต่ พล.อ.ชวลิต เป็นคนที่สนใจการเมือง ศึกษาปรัชญาการเมืองทุกสำนักอย่างลึกซึ้ง
เป็นจุดพลิกผันให้เขาก้าวเข้ามาสู่แวดวงการเมือง
ชื่อ “ชวลิต” เป็นที่รู้จักของสาธารณชน
เมื่อครั้ง พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์
ก้าวจากผู้บัญชาการทหารบก มาสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
โดยเป็นผู้อยู่เบื้องหลังนโยบาย 66/23
ให้โอกาสสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย
เข้ามาเป็นผู้พัฒนาชาติไทย เป็น
การยุติสงครามกลางเมืองที่สู้รบมาตั้งแต่ ปี 2507
อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด
ผลงานดังกล่าว ส่งผลให้ พล.อ.ชวลิต
ก้าวขึ้นมาเป็นผู้บัญชาการทหารบกในที่สุด
และเมื่อพล.อ.อาทิตย์ กำลังเอก เกษียณ อายุราชการ
พล.อ.ชวลิต จึงนั่งในตำแหน่งรักษาการ
ผู้บัญชาการทหารสูงสุดอีกตำแหน่งหนึ่ง
8 ปี ของการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของพล.อ.เปรม
จะเรียกว่า พล.อ.ชวลิตเป็นขุนพลผู้ค้ำบัลลังค์ก็ไม่ผิด
โดยเฉพาะการจัดตั้งรัฐบาลของพล.อ.เปรม
จะมีเงาร่างของ พล.อ.ชวลิต เป็นผู้ล็อบบี้พรรคการเมืองต่างๆ
และประสบความสำเร็จทุกครั้งจนได้รับการขนานนามว่า เป็น “ขงเบ้ง”
หมดยุคพล.อ.เปรม ถึงยุคพล.อ.ชาติชาย ชุณหวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี
พล.อ.ชวลิต ถูกวางตัวให้เป็นทายาททางการเมือง
หากพล.อ.ชาติชาย ก้าวลงจากการเมือง
พล.อ.ชวลิต ได้ลาออกราชการด้วยวัยเพียง 55 ปี
เพื่อเข้าสู่เวทีการเมือง
โดยรับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
ในรัฐบาลพล.อ.ชาติชาย
แต่ถูกกลเกมในพรรคชาติไทย เล่นงาน
จนเจ้าตัวต้องลาออกไปตั้งพรรคความหวังใหม่
มุ่งมั่นเป็นนายกรัฐมนตรีกลายเป็นตำนานการเดินทาง 200,000 ไมล์
ในเวลาต่อมาพล.อ.ชวลิต ลงเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2535 ที่จ.นนทบุรี
ได้รับการเลือกตั้งเข้ามาแบบต้องลุ้นจนนาทีสุดท้าย
ต่อมาจึงย้ายไปลงสมัครที่จังหวัดนครพนมพื้นที่ของบิดาในอดีต
จนกลายเป็นยุทธศาสตร์สำคัญนำพรรคความหวังใหม่
ประสบความสำเร็จในการยึดครองพื้นที่ภาคอีสานได้สำเร็จ
แม้ว่า จะไม่เบ็ดเสร็จเด็ดขาดก็ตาม
พล.อ.ชวลิต ต้องลงสมัครรับเลือกตั้งถึง 4 ครั้ง พรรคความหวังใหม่
จึงมีเสียงข้างมาก ก้าวขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี ได้สำเร็จ
เป็นนายทหารคนแรกที่ก้าวขึ้นดำรงตำแหน่งผู้นำฝ่ายบริหาร
โดยผ่านการเลือกตั้ง
การก้าวขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี กลายเป็น บาดแผลสำคัญที่ติดตัว
พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธมาตลอด เพราะเป็นคนเปิดลอยตัวค่าเงินบาท
จนคนไทยจำนวนมากที่กู้เงินมาจากต่างประเทศ มีหนี้สินเพิ่มอีกเท่าตัว
ต้องล้มละลายครึ่งค่อนประเทศ
ที่คนส่วนใหญ่เจ็บใจ เพราะ พล.อ.ชวลิต
ออกโทรทัศน์ยืนยันหนักแน่นว่า
ไม่ลดค่าเงินบาท แต่ไม่ถึง 2 วัน
ก็ประกาศลอยตัวค่าเงินบาท จนตั้งตัวกันไม่ได้
การลดค่าเงินบาทเป็นมาจากการธนาคารแห่งประเทศไทย
นำทุนสำรองไปปกป้องค่าเงินบาท จนหมดหน้าตัก
จำเป็นที่รัฐบาลพล.อ.ชวลิต ต้องนำประเทศ เข้าสู่
โปรแกรมของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ
เป็นวิกฤติการทางเศรษฐกิจที่รุนแรง
นับตั้งแต่มีการก่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์เป็นต้นมาวิกฤติการดังกล่าว
กดดันให้ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
เพื่อเปิดโอกาสให้ พล.อ.ชาติชาย ชุณหวัณ
หัวหน้าพรรคชาติพัฒนาในเวลานั้น
เป็นนายกรัฐมนตรี แต่สุดท้ายถูกเกมของพรรคประชาธิปัตย์
ดึงส.ส.จากแกนนำพรรคร่วมรัฐบาลเดิม
มาจัดตั้งรัฐบาลแทน นายชวน หลีกภัย
ก้าวขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีเป็นคำรบสอง ว่ากันว่า พล.อ.ชวลิต
เหมาะที่จะนั่งเป็นที่ปรึกษามากกว่ามานั่งเป็นผู้บัญชาการเกมเสียเอง
การตัดสินใจของพล.อ.ชวลิต ส่งผลให้ พรรความหวังใหม่
ตกอยู่ในภาวะระส่ำระสายอย่างหนัก แกนนำคนสำคัญ
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นายเสนาะ เทียนทอง
ได้นำพาส.ส.ไปอยู่ กับพรรคไทยรักไทย
ของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่กำลังก่อตั้ง
ใขณะที่พล.อ.ชวลิต นำพรรคความหวังใหม่
ลงสู่สนามการเลือกตั้งเป็น ครั้งสุดท้าย
มีนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา เป็นขุนพลคู่ใจ
หลังการเลือกตั้ง พล.อ.ชวลิต
ร่วมจัดตั้งรัฐบาลกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
ยอมลดตัวจากที่เคยเป็นนายกรัฐมนตรี
มาเป็นรองนายกรัฐมนตรี
และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
ต่อมาก็ได้ยุบพรรคความหวังใหม่
รวบกับพรรคไทยรักไทยในที่สุด
เป็นการปิดฉากพรรคความหวังใหม่ที่ตั้งมากับมือ
เพื่อหาทางลงการเมืองด้วยความสง่างาม
ต่อมาพล.อ.ชวลิต ถูกปรับออกจาก
ตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
เหลือตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีคนที่ 1
เพียงตำแหน่งเดียว
ถูกมอบหมายงานสำคัญคือ ปราบปราม ยาเสพติด
และปราบปรามผู้มีอิทธิพล
เป็นจนประสบความสำเร็จ
เมื่อไม่กี่วันก่อน พล.อ.ชวลิต
ประกาศลาจากการเมืองอย่างเด็ดขาด
ภายหลังสิ้นสุดรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ต้นปี 2548
แต่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร พยายามดึงให้อยู่ ช่วยงานต่อไป
เพราะเห็นว่า เป็นบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ
พล.อ.ชวลิต วางแผนไว้ว่าหลังจากที่ตัวเองปลดระวางจากการเมือง
จะผลักดันให้คุณหญิงพันธ์เครือ ยงใจยุทธ
ภริยาที่เพิ่งจบปริญญาตรี
รัฐศาสตร์บัณฑิตจากมหาวิทยาลัย รามคำแหง
และกำลังศึกษาต่อในระดับปริญญาโท
จากมหาวิทยาลัยเดียวกัน ลงสมัครเป็น ส.ว.นครพนม
แม้หลายคนไม่ชมชอบ แต่หลายคนก็ชมชอบพล.อ.ชวลิต
โดยเฉพาะความเป็นสุภาพบุรุษ จะเห็นได้ว่า
ตลอดระยะเวลาการเล่นการเมือง พล.อ.ชวลิต ไม่เคยฟ้องร้องใคร
ไม่เคยให้ร้ายใคร แม้ว่า ตัวเองจะถูกถล่มอย่างหนักก็ตาม
ที่น่ายกย่องมากที่สุด คือ สปิริตของนักประชาธิปไตย แม้ว่า
ต้องการเป็นนายกรัฐมนตรี แต่ พล.อ.ชวลิต
ก็ยอมก้าวเดินตามวิถีทางประชาธิปไตยที่หนักและเหนื่อย
ไม่ยอมเดินทางลัดด้วยการใช้กำลั
แม้ว่าจะอยู่ในวิสัยที่ทำได้ก็ตาม
หลายคนชมชอบ พล.อ.ชวลิต
ที่รับฟังความเห็นของบุคคลอื่น
และยอมเปลี่ยนแปลงการตัดสินใจ เมื่อถูกคัดค้าน
แต่ข้อดีนี้ อีกฝ่ายกลับมองว่า เป็นข้อเสียเหมือนคนโลเล
พล.อ.ชวลิต ยังมีฉายาว่า จิ๋วหวานเจี๊ยบ เพราะปากหวาน
และรับปากกับคนทั่วไปหมดด้วยความเกรงใจ
แต่สุดท้าย ก็ไม่ได้ตามที่รับปาก
บทบาทสุดท้ายของ พล.อ.ชวลิต
คือ การปราบปรามยาเสพติดและผู้มีอิทธิพล
หากทำสำเร็จ พล.อ.ชวลิต ก็จะก้าวลงจากหลังเสือ
ด้วยความสง่างามที่น้อยคนจะทำได้
2 ตุลาคม 2552
พล.ท.พิรัช สวามิวัศดุ์ นายทหารคนสนิท พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกฯ เผยว่า
ในเวลา 09.00น. วันที่ 2 ต.ค. พล.อ.ชวลิต
กำหนดเดินทางไปพรรคเพื่อไทย ตามคำเชิญ
เพื่อรับตำแหน่งประธานพรรคเพื่อไทย
ช่วยบริหารพรรค รวมทั้งแก้ปัญหาวิกฤติบ้านเมือง
โดยตั้งใจขออุทิศตัวเองในการรับใช้ชาติบ้านเมืองป็นครั้งสุดท้าย
ชื่อ -สกุล : พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ
ชื่อเล่น - นามแฝง/ฉายา : ตึ๋ง/บิ๊กจิ๋ว
วันเกิด : 15 พฤษภาคม 2475
ครอบครัว : เป็นบุตร ของ ร.อ.ชั้น และ
นางสุรีย์ศรี (เดิมชื่อ ละมุน ) ยงใจยุทธ
มีพี่สาวร่วมมารดาเดียวกัน 1 คน ชื่อ สุมน สมสาร
และน้องชายต่างมารดา 1 คน ชื่อ ธรรมนูญ ยงใจยุทธ
สมรส กับ คุณหญิงพันธุ์เครือ นามสกุลเดิมของคู่สมรส ลิมปิภมร
มีบุตร 3 คน คือ นายคฤกพล ยงใจยุทธ (ต้อย)
นางอรพินท์ นววงศ์ (ติ๋ม)
และนางสาวศรีสุภางค์ ยงใจยุทธ (แต๋ม)
การศึกษา :
28 ตุลาคม 2532 ประกาศเกียรติคุณ
และปริญญาเอก นิติศาสตร์ ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยศรีปทุม
4 พฤศจิกายน 2531 ประกาศเกียรติคุณและปริญญาเอก วิทยาศาสตร์
ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาเกษตรศาสตร์
จากบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น
23 กรกฎาคม 2530 ประกาศเกียรติคุณและปริญญาเอก ศิลปศาสตร์
ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากบัณฑิต วิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
27 มีนาคม 2530 ประกาศเกียรติคุณและปริญญาเอก นิติศาสตร์
ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัย เปปเปอร์ไดน์ สหรัฐอเมริกา
ปี 2515 หลักสูตรชั้น NOVICE ได้รับเครื่องหมาย
แสดงความสามารถในการกระโดดร่ม จาก กองทัพบก สหรัฐอเมริกา
ปี 2512 หลักสูตรกระโดดร่มนายทหารชั้นผู้ใหญ่ รุ่นที่ 2 จากกองทัพบกไทย
ปี 2507 หลักสูตรเสนาธิการกิจ โรงเรียนเสนาธิการทหารบก ประเทศไทย
- หลักสูตรเสนาธิการทหารบก
โรงเรียนเสนาธิการทหารบก ที่ฟอร์ด ลีเวินเวิทร์ สหรัฐฯ
ปี 2505 หลักสูตรผู้บังคับกองพัน โรงเรียนการสื่อสาร ประเทศไทย
ปี 2504 หลักสูตรฝึกงานการประกอบและซ่อมเครื่องมือสื่อสาร
กองทัพน้อยที่ 9 เกาะริวกิว โอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น
ปี 2502 หลักสูตรการซ่อมเครื่องไมโครเวฟ
โรงเรียนสื่อสารกองทัพบก ฟอร์ตบอนมัธ สหรัฐอเมริกา
ปี 2496 ปริญญาตรี วิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ประเทศไทย
ปี 2492 โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
(จปร.1/นตน.08 : หมายเลขประจำตัว 5565)
ปี 2492 มัธยมศึกษา โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
ปี 2492 มัธยมศึกษา โรงเรียนอำนวยศิลป์
ปี 2491 มัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอำนวยศิลป์ รุ่นลมหวล
การทำงาน/ตำแหน่งหน้าที่ :
ตำแหน่งทางทหาร :
1 ตุลาคม 2530 รักษาราชการผู้บัญชาการทหารสูงสุด
คนที่ 12 (รักษาราชการ) (1 ต.ค.2530-28 มี.ค.2533)
27 พฤษภาคม 2529 ผู้บัญชาการทหารบก คนที่ 24
( 27 พ.ค.2529-29 มี.ค.2533 )
1 ตุลาคม 2528 เสนาธิการทหารบก
1 ตุลาคม 2526 รองเสนาธิการทหารบก
1 ตุลาคม 2525 ผู้ช่วยเสนาธิการทหารบก ฝ่ายยุทธการ
2524 เจ้ากรมยุทธการทหารบก และหัวหน้าฝ่ายยุทธการ
กองอำนวยการร่วมรักษาความสงบแห่งชาติ
1 ตุลาคม 2523 เจ้ากรมยุทธการทหารบก
1 ตุลาคม 2522 เสนาธิการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
4 ตุลาคม 2522 นายทหารคนสนิทรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
(พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์) และประจำกองบัญชาการทหารบก
9 กรกฎาคม 2514 หัวหน้ากอง กรมยุทธการทหารบก
2511 นายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำกรม กรมยุทธการทหารบก
2510 นายทหารฝ่ายยุทธการและการฝึกกรมทหารอาสาสมัคร
2503 ผู้บังคับกองร้อยซ่อมบำรุงเครื่องสื่อสารเขตหลัง กรมการทหารสื่อสาร
- อาจารย์โรงเรียนเสนาธิการทหารบก
25 มกราคม 2497 ว่าที่ร้อยตรี ประจำกองกลาง กรมทหารสื่อสาร
ตำแหน่งทางการเมือง :
24 กันยายน 2551 รองนายกรัฐมนตรี (ลาออก 7 ต.ค.2551)
3 ตุลาคม 2545 รองนายกรัฐมนตรี
14 กรกฎาคม 2545 กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย
(ลาออก 1 มี.ค.2548)
17 กุมภาพันธ์ 2544 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
(พ้น 3 ต.ค.2545)
17 กุมภาพันธ์ 2544 รองนายกรัฐมนตรี
6 มกราคม 2544 ส.ส. ปาร์ตี้ลิสต์ พรรคความหวังใหม่
(สมัยที่ 5)
16 พฤษภาคม 2543 หัวหน้าพรรคความหวังใหม่
(ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยยุพรรค 28 มี.ค.2545)
12 พฤษภาคม 2542 ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
(ลาออก 30 เม.ย.2543)
2 กันยายน 2541 ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
(ลาออก 27 เม.ย.2542)
2 กันยายน 2541 หัวหน้าพรรคความหวังใหม่
(ลาออก 19 เม.ย.2542)
26 พฤศจิกายน 2540 ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
(ลาออก 2 มิ.ย.2541)
25 พฤศจิกายน 2539 นายกรัฐมนตรี คนที่ 22
(ลาออก 6 พ.ย.2540)
29 พฤศจิกายน 2539 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
17 พฤศจิกายน 2539 ส.ส. นครพนม
เขต 1 พรรคความหวังใหม่ (สมัยที่ 4)
18 กรกฎาคม 2538 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
(ยุบสภา 27 ก.ย.2539)
18 กรกฎาคม 2538 รองนายกรัฐมนตรี
(ยุบสภา 27 ก.ย.2539)
2 กรกฎาคม 2538 ส.ส. นครพนม เขต 1
พรรคความหวังใหม่ (สมัยที่ 3) (ยุบสภา 27 ก.ย.2539)
14 กรกฎาคม 2537 รองนายกรัฐมนตรี
(ลาออก 25 ต.ค.2537)
23 กันยายน 2536 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
คนที่ 1 (23 ก.ย.2536-7 ม.ค.2537)
20 พฤศจิกายน 2535 ประธานกรรมการพิสูจน์
และสืบหาบุคคลที่สูญหายจากเหตุชุมนุมประท้วง
29 กันยายน 2535 ประธานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ
29 กันยายน 2535 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
(ลาออก 11 ธ.ค. 2537)
13 กันยายน 2535 ส.ส. นนทบุรี เขต 1
พรรคความหวังใหม่ (สมัยที่ 2) (ยุบสภา 19 พ.ค. 2538)
23 พฤษภาคม 2535 ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
22 มีนาคม 2535 ส.ส. นนทบุรี เขต 1
พรรคความหวังใหม่ (สมัยแรก)
4 เมษายน 2534 หัวหน้าพรรคความหวังใหม่
(ลาออก 2 มิ.ย. 2541)
30 มีนาคม 2533 รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง
และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (ลาออก)
22 เมษายน 2530 สมาชิกวุฒิสภา (ลาออก 31 ส.ค. 2533)
2526 สมาชิกวุฒิสภา
24 เมษายน 2524 ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี
22 เมษายน 2524 สมาชิกวุฒิสภา
ราชการพิเศษ :
มกราคม 2531 นายทหารพิเศษ ประจำกองนักเรียนนายเรือรักษาพระองค์
โรงเรียนนายเรือ กรมยุทธศึกษา ทหารเรือ ,
ประจำกองบัญชาการ กรมทหารราบที่ 3 รักษาพระองค์ นาวิกโยธิน ,
ประจำกรม นักเรียนนายเรืออากาศรักษาพระองค์
โรงเรียนนายเรืออากาศ กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ
และประจำกองพันอากาศโยธินที่ 1 รักษาพระองค์ กรมอากาศโยธิน
ธันวาคม 2530 นายกองเอก กองอาสารักษาดินแดน
เมษายน 2529 นายทหารพิเศษประจำกรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์,
ประจำกรมทหารราบ ที่ 11 รักษาพระองค์ ,
ประจำกรมนักเรียนนายร้อยรักษาพระองค์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
มกราคม 2529 ตุลาการศาลทหารสูงสุด
ตุลาคม 2526 นายทหารพิเศษประจำกรมทหารราบที่ 1
มหาดเล็กรักษาพระองค์ และประจำกรมทหารม้า ที่ 4 รักษาพระองค์
กันยายน 2526 นายทหารพิเศษประจำกรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์
เมษายน 2526 ราชองครักษ์เวรพิเศษ
มีนาคม 2526 ผู้อำนวยการศูนย์ยุทธการกองทัพบก
และหัวหน้าฝ่ายยุทธการศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก
กองอำนวยการรักษาความมั่นคงแห่งชาติ
2524 ประธานกรรมการ คณะกรรมการศึกษา
เรื่องพลังงานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม พฤษภาคม
2524 ราชองครักษ์เวร
2512-2515 ราชการพิเศษปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์
2510 ราชการสงครามเวียดนาม
2508-2509 ราชการพิเศษ
ในการยับยั้งการรุกรานของฝ่ายคอมมิวนิสต์
2494 ราชการพิเศษกรณีปราบจราจล
ตำแหน่งอื่นๆ :
27 มิถุนายน 2549 ประธานที่ปรึกษา
ศูนย์อำนวยการต่อสู่เพื่อเอาชนะความยากจนแห่งชาติ
15 มีนาคม 2549 นายกสภามหาวิทยาลัยนครพนม
27 ธันวาคม 2548 ผู้อำนวยการศูนย์อำนวย
การต่อสู่เพื่อเอาชนะความยากจนแห่งชาติ
27 ธันวาคม 2548 ประธานที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี
ด้านนโยบายขจัดความยากจน
17 กุมภาพันธ์ 2544 ประธานกรรมการป้องกัน
และปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.)
- ประธานกรรมการข้าราชการตำรวจ
17 กุมภาพันธ์ 2544 ประธานกรรมการป้องกัน
และปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) (ลาออก 19 มี.ค.2545)
9 มกราคม 2540 ประธานกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ)
กรมทหารราบที่ ๗
- พ.อ. พระยาศักดาภิเดชวรฤทธิ์ ผบ.พล.๘ พ.ศ. ๒๔๕๒ - ๒๔๕๓
- พ.ท. หลวงสรชิตพลการ ผบ.ร.๘ พ.ศ. ๒๔๕๓ - ๒๔๕๔
- พ.ท. พระยาพิพิชเดชะ ผบ.พล.๘ พ.ศ. ๒๔๕๔ - ๒๔๕๔
- พ.ท. หลวงสรศักดิ์ประสิทธิ์ ผบ.ร.๘ พ.ศ. ๒๔๕๔ - ๒๔๕๕
- พล.ต. พระยาพิพิชเดชะ ผบ.พล.๘ พ.ศ. ๒๔๕๕ - ๒๔๕๖
- พ.ท. หลวงรามรณภพ ผบ.ร.๘ พ.ศ. ๒๔๕๕ - ๒๔๕๗
- พ.ต. หลวงแผลงศรศาสตร์ ผบ.ร.๘ พ.ศ. ๒๔๕๖ - ๒๔๕๗
- พ.ต. หลวงรำบาลประจามิตร ผบ.ร.๘ พ.ศ. ๒๔๕๗ - ๒๔๕๘
- พล.ต. พระยารามคำแหง ผบ.พล.๘ พ.ศ. ๒๔๕๘ - ๒๔๖๒
- พ.ท. พระยาบาลภูวนาถ ผบ.พล.๘ พ.ศ. ๒๔๖๒ - ๒๔๖๙
- พ.ท. พระยาพิชัยชาญณรงค์ ผบ.ร.๘ พ.ศ. ๒๔๖๒ - ๒๔๖๗
- พ.ท. พระยาศักดิศัลยาวุธ ผบ.ร.๘ พ.ศ. ๒๔๖๗ - ๒๔๖๙
- พล.ต. พระยาอมรวิสัยสรเดช ผบ.พล.๘ พ.ศ. ๒๔๖๙ - ๒๔๗๑
- พ.อ. พระยามหาณรงค์เรืองเดช ผบ.ร.๘ พ.ศ. ๒๔๗๑ - ๒๔๗๓
- พ.อ. พระยาดัสกรปลาศ ผบ.ร.๘ พ.ศ. ๒๔๗๓ - ๒๔๗๕
- พ.ท. หลวงวิชิตโยธา ผบ.พัน.ร.๑๔ พ.ศ. ๒๔๗๕ - ๒๔๗๖
- พ.ท. หลวงเสนารณรงค์ ผบ.พัน.ร.๑๔ พ.ศ. ๒๔๗๖ - ๒๔๗๙
- พ.ต. หลวงเดชณรงค์ ผบ.พัน.ร.๑๔ พ.ศ. ๒๔๗๙ - ๒๔๘๑
- พ.ต. หลวงเสนีย์ยุทธกาจ ผบ.พัน.ร.๓๑ พ.ศ. ๒๔๘๑ - ๒๔๘๓
- พ.ต. ขุนวัฒนโยธิน ผบ.พัน.ร.๓๑ พ.ศ. ๒๔๘๓ - ๒๔๘๕
- พ.ท. สว่าง แสง-ชูโต ผบ.พัน.ร.๓๑ พ.ศ. ๒๔๘๕ - ๒๔๘๖
- พ.อ. หลวงสรสิทธิ์สมบูรณ์ ผบ.พัน.ร.๓๑ พ.ศ. ๒๔๘๖ - ๒๔๘๙
- พ.ท. สงวน อัมมวรรณ ผบ.พัน.ร.๓๑ พ.ศ. ๒๔๘๙ - ๒๔๘๙
- พ.ท. สง่า เดชกล้า ผบ.พัน.ร.๓๑ พ.ศ. ๒๔๘๙ - ๒๔๙๑
- พ.อ. ขุนเข้มข้นเพิ่มกำลังเมือง ผบ.พัน.ร.๑๔ พ.ศ. ๒๔๙๑ - ๒๔๙๓
- พ.อ. ประยูร สุคนธทรัพย์ ผบ.ร.๗ พ.ศ. ๒๔๙๓ - ๒๔๙๔
- พ.อ. ขุนสุจิตรบรรจงยุทธ ผบ.ร.๗ พ.ศ. ๒๔๙๔ - ๒๔๙๕
- พล.จ. ประเสริฐ เสนานิกรม ผบ.ร.๗ พ.ศ. ๒๔๙๕ - ๒๕๐๒
- พ.อ. อยู่รบ กรเพ็ชร์ ผบ.ผส.๗ พ.ศ. ๒๕๐๒ - ๒๕๐๘
- พ.อ. การุณ บุญบันดาล ผบ.ผส.๗ พ.ศ. ๒๕๐๘ - ๒๕๑๔
- พ.อ. ประดิษฐ์ พันธาภา ผบ.ผส.๗ พ.ศ. ๒๕๑๔ - ๒๕๑๕
- พ.อ. วงศ์ บุญกล้า ผบ.ผส.๗ พ.ศ. ๒๕๑๕ - ๒๕๑๙
- พ.อ. อำนวย ชูเกษ ผบ.ผส.๗/ผบ.ร.๗ พ.ศ. ๒๕๑๙ - ๒๕๒๓
- พ.อ. จำกัด กลันทะกะสุวรรณ ผบ.ร.๗ พ.ศ. ๒๕๒๓ - ๒๕๒๘
- พ.อ. ศิลกัล กัลยาณมิตร ผบ.ร.๗ พ.ศ. ๒๕๒๘ - ๒๕๓๒
- พ.อ. สุทิน จันทร์กระจ่าง ผบ.ร.๗ พ.ศ. ๒๕๓๒ - ๒๕๓๕
- พ.อ. ยืนยง ศรีดามา ผบ.ร.๗ พ.ศ. ๒๕๓๕ - ๒๕๓๖
- พ.อ. ธวัชชัย วัฒนะ ผบ.ร.๗ พ.ศ. ๒๕๓๖ - ๒๕๓๘
- พ.อ. สมหมาย วงษ์มาก ผบ.ร.๗ พ.ศ. ๒๕๓๘ - ๒๕๔๒
- พ.อ. ชาญชัย นาคประไพ ผบ.ร.๗ พ.ศ. ๒๕๔๒ - ๒๕๔๔
- พ.อ. ชัยณรงค์ ธนารุณ ผบ.ร.๗ พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๔๗
- พ.อ. สุทัศน์ จารุมณี ผบ.ร.๗ พ.ศ. ๒๕๔๗ - ๒๕๔๘
- พ.อ. สุรเชษฐ์ ชัยวงค์ ผบ.ร.๗ พ.ศ. ๒๕๔๘ - ๒๕๕๐
- พ.อ. นพพร เรือนจันทร์ ผบ.ร.๗ พ.ศ. ๒๕๕๐ - ๒๕๕๑
- พ.อ. อุทัย ชัยชนะ ผบ.ร.๗ พ.ศ. ๒๕๕๑ -
Sep 24, 2008
หมอประเวศ วะสี ชู "การเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งใหม่ที่ดี โอกาสอันยิ่งใหญ่ของประเทศไทย"
วันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2551
"คนไทยเหมือนไก่อยู่ในเข่ง" เป็นความหมายที่นพ.ประเวศสื่อให้เห็นภาพ และแสดงกระแสทรรศน์ชี้ จุดเด่น จุดด้อยของพันธมิตรฯ ที่หวังจะปฏิรูปการเมืองให้เข้มแข็ง แต่ต้องไม่หลง จนคิดว่าตัวเองเป็น "พรรคการเมือง"เสียเอง
วิกฤต คือ โอกาส
ประเทศไทยวิกฤตสุดๆ ก็เป็นโอกาสสุดๆ เหมือนกัน
โอกาสอะไร โอกาสเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งใหม่ที่ดี
ถ้าเราเข้าใจปรากฏการณ์ว่าเป็นโอกาส เราจะได้ไม่ทุกข์ไม่เครียดจนเกินไป มีสติปัญญา ช่วยให้การเปลี่ยนผ่านไปสู่ภวะใหม่ที่ดีเกิดขึ้นโดยเจ็บปวดน้อยที่สุด สูญเสียน้อยที่สุด หรือไม่สูญเสียเลย
๑. ตามปรกติวิกฤตนำไปสู่สงคราม
ตามปรกติในประเทศใดประเทศหนึ่งเมื่อวิกฤตสุดๆ จนไม่มีทางไปก็จะเกิดสงครามหรือสงครามกลางเมือง เช่น สงครามกลางเมืองของสหรัฐอเมริกา หรือการที่เยอรมนีและญี่ปุ่นเข้าสู่สงครามมีคนตายและทำให้คนตายหลายสิบล้านคน การแพ้สงครามของเยอรมนีและญี่ปุ่นเป็นวิกฤตสุดๆ ของประเทศของเขา แต่หลังจากแพ้สงครามปรากฎว่า เยอรมันและญี่ปุ่นเจริญอย่างรวดเร็ว เพราะการแพ้สงครามเป็นโอกาสแก้ปัญหาที่ตามปรกติแก้ไม่ได้ และปัญหาที่แก้ไม่ได้ ได้นำประเทศทั้งสองเข้าไปสู่สงคราม
สำหรับประเทศไทยซึ่งวิกฤตมากขึ้นเรื่อยๆ จนถึง “วิกฤตที่สุดในโลก” มีผู้ตั้งคำถามกันมานานแล้วว่า เราจะพ้นวิกฤตโดยไม่ต้องนองเลือดได้อย่างไร และก็มองไม่เห็นว่าจะไม่นองเลือดได้อย่างไร อาจจะเป็นบุญของประเทศเรา บุญซึ่งเกิดจากเหตุปัจจัยเฉพาะบางอย่าง ประเทศของเรากำลังจะผ่านสภาวะวิกฤตสุดๆ ไปสู่สิ่งใหม่ที่ดีโดยไม่ต้องนองเลือด
๒.มหาวิกฤตการณ์สยาม
สังคมไทยไม่สามารถแก้ปัญหาหลักๆ อันได้แก่ ความยากจนและความอยุติธรรมในสังคม ช่องว่างระหว่างคนจนกับคนรวยถ่างกว้างมากขึ้น ก่อให้เกิดปัญหาทางสังคม สิ่งแวดล้อม และการเมืองอันสลับซับซ้อน การเอารัดเอาเปรียบและฉ้อฉลเพิ่มขึ้นทุกวงการ เป็นวิกฤตการณ์ทางศีลธรรมที่บีบคั้นคนไทยมากขึ้นๆ อย่างมองไม่เห็นทางออก เครื่องมือต่างๆ เช่น กลไกรัฐ ระบบการศึกษา ระบบการเมืองดูไม่มีน้ำยาที่จะแก้ไขสภาพวิกฤต หรือตัวเองก่อให้เกิดปัญหาวิกฤตมากขึ้น อย่างที่เรียกว่า การเมืองน้ำเน่า ก็วนเวียนอย่างนั้นและเลวร้ายกว่าเดิม รัฐประหารก็ทำกันมาหลายครั้ง รัฐธรรมนูญก็ร่างกันมาหลายฉบับ เรียกว่าลองกันมาหมดทุกอย่างก็ไม่หายวิกฤต นี่แหละที่เรียกว่าวิกฤตสุดๆ หรือวิกฤตที่สุดในโลก จนไม่มีทางไปในภวะเดิม ต้องเปลี่ยนแปลงไปสู่ภวะใหม่
๓.พลังอำนาจทางสังคม
เราคุ้นเคยอยู่กับพลังอำนาจ ๒ ประเภท คือ
พลังอำนาจรัฐ (รัฐฐานุภาพ) ใช้กฎหมายและกำลังติดอาวุธ คือทหารและตำรวจ
พลังอำนาจเงิน (ธนานุภาพ) ใช้เงินเป็นอำนาจ ซึ่งอาจครอบงำอำนาจรัฐได้ด้วย
ทั้งสองอำนาจนี้ประสบความล้มเหลวในการขจัดความไม่ถูกต้องเป็นธรรม หรือกลับเป็นปัญหาเสียเอง ในสังคมสมัยใหม่ที่ซับซ้อนการใช้อำนาจเกือบจะแก้ปัญหาอะไรไม่ได้เลย แต่กลับสร้างปัญหามากขึ้น ดังที่การปฏิวัติรัฐประหาร หรือการที่ทุนขนาดใหญ่เข้ามายึดอำนาจรัฐก็แก้ปัญหาอะไรไม่ได้แต่กลับเป็นปัญหาเสียเอง
มีพลังอำนาจอีกชนิดหนึ่งที่เราไม่ค่อยรู้จักกัน คือ พลังอำนาจทางสังคมหรือสังคมมานุภาพ
อำนาจสังคมยุติความชั่วร้ายทั้งปวง ดังตัวอย่างต่อไปนี้
(๑) สมัยก่อนโจรปล้นควายชุกชุม โจรปล้นควายเป็นคนกลุ่มเล็กๆ มีปืนเที่ยวปล้นควายชาวบ้านก่อความเดือดร้อนทั่วไป เจ้าหน้าที่บ้านเมืองแก้ไขไม่ได้ ต่อเมื่อชาวบ้านทั้งหมู่บ้านรวมตัวกันจัดเวรยามตีเกราะเคาะไม้ เมื่อโจรมาชาวบ้านตื่นขึ้นมาพร้อมกันทั้งหมู่บ้าน โจรก็ทำอะไรไม่ได้ การที่ชาวบ้านรวมตัวกันทั้งหมู่บ้านนั่นแหละ คืออำนาจสังคมหรืออำนาจแห่งการรวมตัวกัน
(๒) ที่อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง ย้อนหลังไป ๒๐ ปี ชาวบ้านเดือดร้อนมาก จากการให้สัมปทานป่าชายเลน และการที่มีเรือประมงขนาดใหญ่เข้ามาใช้อวนรุนชิดชายฝั่ง ซึ่งคราดเอาหญ้าทะเลไปหมด กุ้งหอย ปูปลาไม่มีที่อนุบาล ชาวบ้านยากจนลงเพราะขาดแคลนอาหาร ชาวบ้านจะร้องเรียนทางราชการอย่างไร ๆ ก็ไม่ได้ผล เพราะเจ้าของเรือประมงขนาดใหญ่มีอำนาจมากกว่า ต่อมาชาวบ้านรวมตัวกันสร้างเครื่องป้องกันไม่ให้เรือประมงขนาดใหญ่เข้ามาลากอวนชิดชายฝั่งซึ่งผิดกฎหมาย เอาปะการังเทียมและหญ้าทะเลลง ความสมบูรณ์ของสภาพแวดล้อมกลับคืนมา กุ้งหอยปูปลากลับมา ชาวบ้านพ้นจากความอดอยากยากแค้น และขณะนี้รวมตัวกันรักษาชายฝั่งทะเลอันดามันขยายตัวออกไปทั้งทางเหนือและทางใต้ อำนาจแห่งการรวมตัวกันหรือความเป็นสังคมทำให้ความไม่ดียุติลงได้
(๓) ที่ดอนสามหมื่นจังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มลักลอบตัดต้นไม้ขึ้นไปพร้อมทั้งเครื่องมือ คือรถยนต์ เลื่อยไฟฟ้า ปืนเครื่องมือสื่อสาร คนตัดไม้ทำลายป่ามีอำนาจเกินกำลังเจ้าหน้าที่ของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ดีๆ จึงถูกฆ่าตายหรือฆ่าตัวตาย เช่น คุณสืบ นาคะเสถียร แต่เมื่อโจรตัดต้นไม้กลุ่มนี้ขึ้นไปเจอชาวบ้านรวมตัวกันอยู่หนึ่งพันคน ก็ไม่กล้าตัดต้นไม้
จึงกล่าวว่า
อำนาจสังคมหรืออำนาจแห่งการรวมตัวของประชาชนคือเครื่องยุติความชั่วร้ายทั้งปวง
สังคมคือผู้กำกับความถูกต้อง ตัวอย่าง
(๑) เมื่อครั้งพุทธกาล พระที่กรุงโกสัมพีแบ่งเป็นสองพวกทะเลาะกันยืดเยื้อทำอย่างไรๆ ก็ไม่หยุด พระพุทธองค์เสด็จไปทรงห้ามก็ไม่เชื่อแถมยังว่าพระพุทธเจ้าเสียอีก พระบรมศาสดาจึงเสด็จหลีกเข้าป่าปาเลไลย์ไป ต่อมาชาวบ้านรำคาญหยุดใส่บาตรพระทั้งนั้น ทั้งสองฝ่ายจึงหมดกำลัง หยุดทะเลาะ เรื่องนี้แสดงให้เห็นว่าแม้แต่พระศาสดาของพระเหล่านั้นเองยังยุติความขัดแจ้งไม่ได้ แต่สังคมคือชาวบ้านทั้งหลายสามารถทำได้
(๒) คนเราจากทุกประเทศจะเจริญหรือไม่เจริญอย่างไรก็ไปเล่นฟุตบอลกันได้ทั่วโลก เพราะในการเล่นฟุตบอลมีกรอบ กติกา และกลไกชัดเจน มีผู้กำกับเส้นดูแลให้เล่นอยู่ในกรอบ มีกรรมการกำกับให้เล่นตามกติกา กรรมการและผู้กำกับเส้นอาจโกงได้ แต่โกงไม่ได้ เพราะมีคนดูคอยกำกับอยู่อีกทีหนึ่ง คนดูคือสังคมคอยกำกับความถูกต้อง
ผู้มีอำนาจใด ๆ ไม่ว่าอำนาจรัฐ อำนาจเงิน หรือกรรมการหรือแม้แต่พระอาจโกงได้เสมอถ้าไม่มีสังคมคอยกำกับ อำนาจสังคมคืออำนาจที่กำกับทำให้เกิดความถูกต้อง นี่เป็นข้อที่เราจะต้องตราไว้ ว่าจะไม่ไปเรียกร้องผู้มีอำนาจใดๆ ให้เข้ามาแก้ปัญหา เพราะไม่สามารถแก้ได้ แต่อำนาจสังคมนั่นแหละที่จะกำกับให้เกิดความถูกต้อง
๔.พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยกับระบอบทักษิณ
พธม.กับระบอบทักษิณเป็นตัวอย่างให้เราเรียนรู้อย่างเป็นรูปธรรมถึงพลังอำนาจทางสังคม ระบอบทักษิณคงจะมีทั้งคุณและโทษสุดแต่ผู้มอง
แต่ที่แน่ๆ ก็คือระบอบทักษิณทรงพลังอำนาจมหาศาล ทักษิณานุภาพนี้ไม่มีองค์กรหรือสถาบันใดๆ จะต้านทานได้ พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจะถูกหรือผิดแล้วแต่ผู้มอง แต่ที่แน่ๆ คือเป็นการรวมตัวของมหาชนอันหลากหลายจำนวนมากนับแสนนับล้าน เป็นพลังทางสังคมที่ทำให้ทักษิณานุภาพแม้ทรงมหิธานุภาพเพียงใด ก็อ่อนกำลังลงและเปิดโอกาสให้กระบวนการยุติธรรมเข้มแข็งขึ้น
การที่ขบวนการการเมืองภาคประชาชนเติบโตเข้มแข็งขึ้น ส่วนหนึ่งเกิดจากวิกฤตการณ์สุดๆ ไม่มีทางไป และอีกส่วนหนึ่งเกิดจากมีคนอย่างคุณทักษิณ และคุณสมัคร ถ้าปราศจากคนอย่างคุณทักษิณและคุณสมัครขบวนการประชาชนก็จะไม่เติบโตอย่างนี้ การที่คนในชาติรวมตัวกันเป็นสังคมเข้มแข็ง เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ยาก แต่ถ้าเกิดขึ้นเป็นทุนทางสังคมอันยิ่งใหญ่
การรวมตัวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของประชาชนจำนวนมากเกิดจากการมีเป้าหมายร่วม ประชาชนควรจะรวมตัวร่วมคิดร่วมทำในทุกพื้นที่ ในทุกองค์กร และในทุกเรื่อง เกิด เป็นประชาสังคมหรือสังคมเข้มแข็ง
สังคมเข้มแข็งนั่นแหละคือประชาธิปไตยโดยสาระ ในขณะที่กลไกทางการเมืองอาจเป็นเพียงรูปแบบ
ประเทศใดที่สังคมเข้มแข็ง เศรษฐกิจจะดี การเมืองจะดี และศีลธรรมจะดี นี้เป็นสัจจะซึ่งสามารถตรวจสอบจากหลักฐานในข้อเท็จจริงจากทั่วโลก
๕. ประชาธิปไตยมาก่อนรัฐธรรมนูญ
เมื่อผมเป็นประธานคณะกรรมการพัฒนาประชาธิปไตย (คพป.) เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๗ และ คพป.เสนอให้ยกร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่เพื่อปฏิรูปการเมืองนั้น มิตรที่เป็นนักทฤษฎีประชาธิปไตยเตือนผมว่าลัทธิรัฐธรรมนูญไม่นำไปสู่ประชาธิปไตย ประชาธิปไตยต้องมาก่อนรัฐธรรมนูญ ผมเป็นหมอไม่มีความรู้ความชำนาญใดๆ ทางการเมือง แต่สังคมไทยได้เรียนรู้แล้วว่ารัฐธรรมนูญไม่มีพลังที่จะต้านอำนาจเผด็จการ เรามีรัฐธรรมนูญมาหลายฉบับแล้วไม่สามารถสร้างประชาธิปไตยที่แท้ได้
สมมติว่าลองคิดกลับกันเสียว่าประชาธิปไตยมาก่อนรัฐธรรมนูญ
นั่นคือประชาชนจำนวนมากมีความสำนึกในอิสรภาพและศักดิ์ศรีแห่งความเป็นคนของตนเอง และพยายามทำอะไรดีๆ รวมตัวร่วมคิดร่วมทำเป็นกลุ่มและเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่าย ในโครงสร้างเผด็จการ (รูป ก.)
(ก) โครงสร้างเผด็จการ (ข) โครงสร้างประชาธิปไตย มีการรวมตัวใช้อำนาจสั่งการจากบนลงล่าง ร่วมทำด้วยความสมัครใจ เล็กหรือใหญ่
อาจใหญ่เป็นมวลชนมหาชนที่มีวัตถุประสงค์ร่วมกัน
มีการใช้อำนาจสั่งการจากบนลงล่าง โครงสร้างชนิดนี้มีความไม่เป็นธรรมสูงมีการเรียนรู้น้อย ไม่มีพลังที่จะแก้ปัญหาที่ซับซ้อน ในโครงสร้างประชาธิปไตย (รูป ข.) คนแต่ละคนมีเสรีภาพ ใช้ศักยภาพของตนเองได้เต็มที่ รวมตัวร่วมคิดร่วมทำด้วยความสมัครใจ ด้วยความเสมอภาคและภราดรภาพ เชื่อมโยงกันเป็นเครือข่าย เกิดเป็นผลในทางสังคม หรือสังคมเข้มแข็ง
พลังทางสังคมที่เข้ามาตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐและมีส่วนในนโยบายสาธารณะ (ตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๘๗) เป็นการเมืองภาคพลเมืองหรือการเมืองภาคประชาชน
การเมืองภาคประชาชนมีพลังการตรวจสอบและกำกับให้เกิดความถูกต้องทางการเมืองมากกว่ารัฐสภา และมากกว่าองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ในสภาพการณ์ปัจจุบันนี่เป็นที่มาของคำกล่าวที่ว่าประชาธิปไตยมาก่อนรัฐธรรมนูญ เพราะประชาชนสามารถรวมตัวกันเคลื่อนไหวประชาธิปไตยก่อนมีรัฐธรรมนูญ
๖.ขบวนการมหาประชนเพื่อธรรมาธิปไตย-ประชาธิปไตย
พธม.คงจะมีทำผิดบ้าง แต่ภาพรวมคือขบวนการประชาชนขนาดใหญ่ที่ตรวจสอบอำนาจทางการเมือง การเมืองภาคประชาชนถ้าทะนุบำรุงหล่อเลี้ยงให้เติบโตแข็งแรงมีความถูกต้องก็จะเป็นพลังทางศีลธรรมอันยิ่งใหญ่ที่จะกำกับตรวจสอบ และส่งเสริมให้เกิดความถูกต้องทุกด้าน ทั้งการเมือง สังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม การศึกษา การพัฒนาจิตใจ และสันติวิธี
การเมืองภาคประชาชนต้องเป็นพลังทางจิตสำนึก พลังทางความรู้ พลังทางการสื่อสาร พลังทางสังคม ซึ่งถ้าทำได้ธรรมาธิปไตยกับประชาธิปไตย จะเข้ามาซ้อนทับกัน ประชาธิปไตยกับธรรมะจะต้องผนวกกัน
ขบวนการมหาประชาชนเพื่อธรรมาธิปไตย ประชาธิปไตย จะเป็นปราการอันแข็งแกร่งที่ทำให้การเมืองดีและขบวนการยุติธรรมแข็งแรง รวมทั้งสิ่งดีๆ อื่นๆ เกิดตามมา
พธม.ควรจะอยู่กับจุดแข็งของ พธม. คือ สร้างขบวนการมหาประชาชนเพื่อธรรมาธิปไตย-ประชาธิปไตย มากกว่าเข้าไปสู่กลไกและรูปแบบทางการเมือง ซึ่งจะเปลืองตัวและทำให้ตัวเองอ่อนแอลง ขบวนการมหาประชาชนเพื่อธรรมาธิปไตย-ประชาธิปไตย จะไปทำให้เกิดกลไกและรูปแบบทางการเมืองต้องปรับตัวไปสู่ประชาธิปไตยเอง ซึ่งการกระจายอำนาจไปอย่างทั่วถึง และทุกส่วนของสังคม จะปฏิสัมพันธ์ด้วยการเรียนรู้และตรวจสอบซึ่งกันและกัน แทนที่การใช้อำนาจจากบนลงล่างแบบแยกส่วนตายตัวซึ่งเป็นการเมืองแบบเก่า ประชาธิปไตยจะกลายเป็นวัฒนธรรมที่เข้ามาอยู่เหนือกลไกทางการเมือง
๗.ความมุ่งมั่นร่วมกันของคนไทยทั้งมวลในการบินออกจากเข่ง
การที่ประเทศใดประเทศหนึ่งจะมีการปฏิวัติประชาธิปไตยโดยมวลชน ด้วยสันติวิธีเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ยาก แต่โอกาสกำลังอยู่ต่อหน้าเราแล้ว ด้วยลักษณะพิเศษของคนไทยทำให้การปฏิวัติด้วยสันติวิธีเป็นไปได้และถ้าเป็นจริงจะเป็นศักดิ์ศรีอันยิ่งใหญ่ของคนไทยว่าเราเป็นคนที่เจริญ
คนไทยเหมือนไก่อยู่ในเข่ง ขณะที่รอความพินาศต่อชีวิตจะมาถึงด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น ยังจิกตีกันร่ำไป ที่จิกตีเพราะในเข่งมันคับแคบบีบคั้นทำให้กระทบกระทั่งกัน
เข่งคือระบอบเผด็จการอันคับแคบ ต้องรวมตัวกันบินออกจากเข่ง นั่นคือสร้างระบอบประชาธิปไตยการปฏิวัติประชาธิปไตยโดยคนไทยทั้งมวลสามารถทำได้ด้วยสันติวิธี ไม่มีการยึดอำนาจหรือการฆ่าแกงอะไรใครทั้งสิ้น แต่โดยคนไทยมีสำนึกประชาธิปไตยแล้วรวมตัวกันเป็นเครือข่ายประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่เชื่อมโยงกันเต็มประเทศ โดยไม่ต้องรอรัฐธรรมนูญ เพราะประชาธิปไตยต้องมาก่อนรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญและองค์กรทางการเมืองที่จะเกิดตามมาเป็นระบบ ภายใต้ระบอบประชาธิปไตย
ขบวนการมหาประชาชนเพื่อธรรมาธิปไตย-ประชาธิปไตย เป็นขบวนการที่ใครๆ ก็เข้าร่วมได้ เพราะไม่ได้เป็นศัตรูกับใครและไม่ได้โค่นล้มอะไรใคร แต่เป็นการที่ประชาชนจับมือกันสถาปนาระบอบประชาธิปไตยขึ้นเองด้วยสันติวิธี
โอกาสอยู่ต่อหน้าเราแล้ว ที่จะร่วมกันเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งใหม่ที่ดีในระบอบประชาธิปไตยอันเป็นธรรมนี้ ความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันเป็นเรื่องไม่ยาก ยุคศรีอาริยะที่คนไทยใฝ่ฝันกันมาเนิ่นนานจะเป็นจริงได้
ประเทศไทยที่เข้มแข็งเป็นธรรมและศานติ นอกจากประโยชน์ของตัวเองแล้ว ยังช่วยชาวโลกได้ด้วย เพราะล้วนเป็นเพื่อนมนุษย์ร่วมโลกเดียวกัน
Sep 23, 2008
รับภัยเศรษฐกิจสหรัฐ รู้พอเพียงถึงจะรอด
24 ก.ย. 51
ที่มา : http://www.thairath.co.th/news.php?section=hotnews02&content=105186
“ปัญหาเศรษฐกิจในสหรัฐฯ ที่เกิดขึ้น ถ้าเปรียบเทียบเป็นการชกมวยสากล ต้องบอกว่า การชกยังไม่ครบ 12 ยก ตอนนี้แค่ยกที่ 6 เท่านั้น ยังไม่ถึงจุดต่ำสุดของวิกฤติแต่อย่างใด”
ดร.สมภพ มานะรังสรรค์ นักวิชาการเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าว
ก่อนหน้านี้ เมื่อเดือนมกราคม 2551 ได้ชี้ให้เห็นว่า
ปัญหาเศรษฐกิจสหรัฐฯยังอยู่ในขั้นยกที่ 2 ขณะนั้น ธุรกิจขนาดใหญ่ของสหรัฐฯ ซิตี้แบงก์
หรือซิตี้กรุ๊ป และ บริษัท เมอร์ริล ลินซ์ ประสบปัญหาขาดทุน
จากหนี้เน่ามหาศาลในการปล่อยกู้ให้แก่ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ที่รู้จักกันในชื่อ “ซับไพร์ม”
จนต้องซมซานให้กลุ่มธุรกิจจากสิงคโปร์ และโลกอาหรับ ขนเงินเข้ามาช่วยอุ้มชูกิจการ
เป็นแค่ยกที่ 2 เทียบกับวิกฤติเศรษฐกิจไทย เมื่อปี 2540
ก็คือ... รัฐบาล พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ กำลังอยู่ในขั้นจะตัดสินใจว่า
จะปิด 58 สถาบันการเงินที่ปล่อยกู้จนเกิดหนี้เน่า ดีหรือไม่ และปัญหาวิกฤติซับไพร์มที่ลุกลามมาถึงจุดที่บริษัท เลห์แมน บราเธอร์ส วาณิชธนกิจยักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯ ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอพิทักษ์ทรัพย์ จากภาวะล้มละลาย กับบริษัทอเมริกัน อินเตอร์เนชั่นแนล กรุ๊ป หรือเอไอจี
เจ๊งไม่เป็นท่า... จนธนาคารกลางสหรัฐฯต้องเข้าไปอุ้มกิจการให้อยู่รอด...อันเป็นยกที่ 6 นั้น
ไม่ต่างกับเหตุการณ์รัฐบาลไทยในยุคต้มยำกุ้งตัดสินใจปิดสถาบันการเงิน
จนก่อให้เกิดวิกฤติต้มยำกุ้งตามมาในยก 12 นั่นแหละ
แต่วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ ที่เกิดขึ้นในสหรัฐฯ ดร.สมภพ บอกว่า ยกที่ 12 จะไม่มาเร็วเหมือนอย่างวิกฤติต้มยำกุ้ง ด้วยศักยภาพความสามารถ
ด้านการเงินของไทยกับสหรัฐฯต่างกันลิบลับ
“แม้ยกที่ 12 ยังมาไม่ถึง แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก
และเศรษฐกิจของประเทศไทยไม่น้อย เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนี้
เป็นสัญญาณเตือนบอกให้เรารู้ล่วงหน้าว่าต่อไป คนจะจนกันทั้งโลก
ไม่เพียงแต่สหรัฐฯเท่านั้นที่จนลง ปัญหาวิกฤตินี้ได้ลุกลามไปในหลายประเทศ
อังกฤษมีอัตราการขยายตัวของจีดีพีเท่ากับศูนย์ เยอรมนี, ฝรั่งเศส, ญี่ปุ่น
อัตราการเติบโตของจีดีพีติดลบ 5 ประเทศนี้มีความสำคัญต่อการทำมาค้าขายของโลกมาก เพราะสั่งสินค้าเข้าประเทศมากถึง 2 ใน 3 ของโลก”
เมื่อประเทศเหล่านี้จนลง การสั่งซื้อสินค้าลดลง...ประเทศไทยเจอปัญหาขายสินค้าไม่ได้อย่างไม่ต้องสงสัย
นี่เป็นปัญหาอันดับแรก ที่ ดร.สมภพ บอกว่า จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อประเทศไทย
และกระทบไม่ใช่น้อย เศรษฐกิจของประเทศไทยเน้นพึ่งพาการส่งออกเป็นหลัก
จนทุกวันนี้ การส่งออกเป็นเสาหลักเกือบจะเสาเดียว
ที่ค้ำชูเศรษฐกิจประเทศไม่ให้หกคะเมน
ไม่เพียงเราจะขายสินค้าให้กับ 5 ประเทศผู้นำของโลกไม่ได้เท่านั้น
การขายสินค้าให้กับประเทศอื่นๆ ประเทศเล็กๆ ประเทศเพิ่งจะเกิดใหม่
ที่เราเพิ่งจะรู้จักทำมาค้าขายด้วย เราก็จะขายได้น้อยลงเหมือนกัน
เนื่องจากประเทศที่เกิดใหม่ หันมาค้าขาย มาซื้อสินค้าจากเรา
เพราะเขามีเงิน มีรายได้มาจากการขายสินค้าให้กับ 5 ประเทศยักษ์ใหญ่เหล่านั้นเหมือนกัน
เมื่อ 5 ประเทศนั้นจนลง ประเทศเกิดใหม่ขายของไม่ได้ ก็ไม่มีเงินมาซื้อสินค้าจากเรา
เรียกว่า ส่งผลกระทบทำให้ยากจนกันไปทั้งโลกกันเลยทีเดียว
นับจากนี้ไป ดร.สมภพมองว่า เศรษฐกิจของประเทศไทยจะหวังพึ่งพาการส่งออกเหมือนที่ผ่านมาไม่ได้อีกแล้ว นโยบายเศรษฐกิจต้องเน้นการลงทุนภายในประเทศ
และส่งเสริมการบริโภคในประเทศให้มากขึ้น
“แต่ต้องไม่ใช่ส่งเสริมการบริโภคแบบประชานิยม ลดแลกแจกแถม
หาคะแนนเสียงเหมือนที่ผ่านมา เพราะไม่ได้เป็นการส่งเสริมการสร้างงาน
สร้างรายได้แบบยั่งยืน
ถ้าจะแจกก็ให้แจกแบบพระเวสสันดร เอาทรัพย์สินส่วนตัวของตัวเองไปบริจาคได้
ไม่มีใครว่า แต่อย่าเอาเงินภาษีของคนส่วนใหญ่ไปแจก
เพราะจะเป็นการเพิ่มภาระให้กับประเทศชาติ และประชาชนผู้เสียภาษี”
ไม่เพียงแต่ภาครัฐเท่านั้นที่จะต้องปรับตัว ภาคประชาชนก็ปรับตัวรับวิกฤตินี้เช่นกัน
สิ่งที่จะเกิดผลกระทบตามมาของวิกฤติครั้งนี้ก็คือ
บริษัทต่างชาติที่มาลงทุนในบ้านเรา จะรีบทยอยขายสินทรัพย์ต่างๆ
เพื่อเอาเงินไปช่วยเหลือในบริษัทแม่ จะมีการเทขายเงินบาท
กว้านซื้อดอลลาร์อย่างเกิดขึ้น
จะส่งผลให้เงินบาทอ่อนค่า ดอลลาร์แข็งตัว ในบางครั้งบางคราว
อย่างที่เราเห็นในปัจจุบัน...เศรษฐกิจสหรัฐฯแย่
แต่ทำไมดอลลาร์ถึงได้แข็งค่าเงินบาทอ่อน
นั่นเป็นเพราะบริษัทที่มาลงทุนต่างกว้านซื้อดอลลาร์เอากลับไปจุนเจือ
บริษัทแม่ในสหรัฐฯ
นับแต่นี้ต่อไปจะเกิดความผันผวนทางการเงิน และธุรกิจเก็งกำไรรุนแรง
และมีความเสี่ยงสูง...ฉะนั้นแมลงหวี่ แมลงเม่าทั้งหลายระวังให้ดี
ในสถานการณ์ที่บริษัทโบรกเกอร์ยักษ์ ผู้เชี่ยวศึกการปั่นหุ้น ปั่นราคา
ตกอยู่สภาพใกล้หมดตัวอย่างนี้ การปั่นราคา เก็งกำไรต่างๆ
จะเกิดขึ้นแบบเหนือความคาดหมาย...
มิต่างอะไรกับลีลาการเล่นฟุตบอลตุกติกของทีมเกาหลี
ที่จะทำทุกอย่างเพื่อเอาเงิน เอากำไรไปอุดโปะหน้าตักตัวเอง
แมลงเม่าที่รู้ไม่เท่าทัน ถูกไฟเผาเป็นจุณ
กระนั้นก็ตาม ในวิกฤติยังมีโอกาสซ่อนอยู่...
ตอนนี้ใครที่คิดจะซื้อบ้าน ซื้อคอนโดฯ ดร.สมภพ บอกว่า
ให้เก็บเงินให้กับตัวก่อน อย่าเพิ่งรีบร้อนซื้อ
ปลายปีนี้ ต้นปีหน้าได้เห็นบ้าน คอนโดฯลดกระหน่ำรับปีใหม่...
เมื่อบริษัทต่างชาติที่มาลงทุนร้อนเงิน เทขายสินทรัพย์ขนเงินกลับไปช่วยบริษัทแม่
ส่วนภาคเกษตรรากหญ้า...มีคำแนะนำ
ต้องหันให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจแบบพอเพียงให้มากขึ้น
“เมื่อคนจนลงทั้งโลก คนซื้อสินค้าน้อยลง
ราคาสินค้าเกษตรจะไม่ดีเหมือนที่ผ่านมา
เกษตรกรต้องรู้จักการบริหารความเสี่ยง อย่าคิดแต่ปลูกพืชชนิดเดียว
หวังได้เงินก้อนใหญ่ก้อนเดียวเหมือนที่ผ่านมาไม่ได้ เพราะจะขาดทุน
ต้องยึดแนวเศรษฐกิจแบบพอเพียง กระจายความเสี่ยงโดยปลูกพืชหลายชนิด
รวมทั้งหยุดคิดว่า จะปลูกเพื่อขายอย่างเดียว ต้องคิดแบบพอเพียง
ปลูกไว้ให้ตัวเองมีกินมีใช้ไว้ก่อน ที่เหลือถึงจะขาย ถึงฝ่าฟันวิกฤติไปได้”
และที่สำคัญเหนืออื่นใด รัฐบาลชุดใหม่ ทีมงานแก้ปัญหาเศรษฐกิจ
รัฐมนตรีเศรษฐกิจที่จะมารับงาน...จะใช้มือสมัครเล่นไม่ได้อีกต่อไป
วิกฤติเศรษฐกิจสหรัฐฯที่ลามลุกไปทั่วโลกในขณะนี้...ถึงจะอยู่ที่ยก 6 ก็ตาม
แต่ไม่แน่ว่า ศึกครั้งนี้จะต่อยกันครบ 12 ยกหรือเปล่า
ถ้าครบ 12 ยก...ประเทศไทยยังพอมีเวลาปรับตัว
แต่ถ้าครบไม่ครบ 12 มีการน็อกขึ้นมาก่อน...เราอาจจะรับมือไม่ทัน
จะครบไม่ครบ 12 ยก ดร.สมภพ แนะให้จับตา 2 บริษัทยักษ์ใหญ่
ถัดมาว่า จะมีอาการส่อไปในทิศทางใด นั่นก็คือ...
มอร์แกน สแตนเลย์ กับ โกลด์แมน แซกส์
สองยักษ์ใหญ่นี้ล้มเมื่อไร เตรียมตัวเตรียมใจให้ดี
ประเทศชาติได้รัฐมนตรีงั้นๆ วิกฤติ 2540 ที่ว่าแน่...จะเป็นแค่จิ๊บๆ.