Custom Search

Sep 29, 2008

ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม : 'วันนี้ ผมคือ..ผู้ที่ตื่นแล้ว'


ที่มา : http://www.doohoon.com/smf/index.php?topic=14304.0
เพิ่มเติม : http://teetwo.blogspot.com/2007/09/blog-post_20.html

'วันนี้ ผมคือ..ผู้ที่ตื่นแล้ว' จากลูกพ่อค้าชาวจีน
ที่พ่อแม่ไม่มีทรัพย์สมบัติให้เป็นทุนรอน
แต่กลับสร้างตัวจนเป็น "เดอะเฟิร์ส เจนเนอเรชั่น"
ของตระกูลเจ้าสัวเมืองไทย "บูลย์"

ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม
ผู้นี้..เขาย่อมไม่ใช่ธรรมดา
"บูลย์"
ชื่อที่คนใกล้ชิดเรียกขาน
เป็นเพียงลูกพ่อค้าชาวจีนธรรมดาๆ

หากเขาไม่มีความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าว่า
สักวันหนึ่ง..."กูต้องรวย" คงจะไม่ต่างไปจาก
"อาตี๋หนุ่ม..แซ่อึ้ง" คนอื่น
ที่ต้องสืบทอดกิจการร้านขาย

"ของชำ" เล็กๆ ย่านถนนเยาวราชของพ่อ
"ผมเริ่มบอกกับตัวเองว่า...กูต้องรวย ตั้งแต่เรียนจบ
(เกียรตินิยมนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ)
คิดว่าถ้าผมเรียนจบมาแล้ว

ต้องไปขายของชำอย่างงั้นก็ไม่ต้องไปเรียนดีกว่า"

อากู๋ เคยถ่ายทอดความคิดในวัยหนุ่มให้ฟัง
เพราะพ่อไม่มี "เงิน" ให้เป็นทุน ไม่มีนามสกุล
ถูกบรรจุอยู่ในตำนาน "เจ้าสัว"
พ่อมีแต่ความขยัน และมัธยัสถ์ ที่ปฏิบัติตัวให้เห็น
รวมทั้งคำสอนที่ว่า "อย่าเป็นหนี้"
เพราะมันจะทำให้หัวสมอง "บื้อ"

ส่วนความสำเร็จต้องไปไขว่คว้าหาเอาเอง
โรงเรียนที่หล่อหลอม "อากู๋"
ให้เติบใหญ่ทางความคิด ไม่ใช่มหาวิทยาลัย
แต่เป็นการเรียนรู้วรยุทธ์จากนายห้างเทียม โชควัฒนา
ในบริษัท ฟาร์อีสท์ แอดเวอร์ไทซิ่ง
(ปัจจุบันคือ บมจ.ฟาร์อีสท์ ดีดีบี)

ตอนมาทำแกรมมี่ลงทุนเริ่มแรกไปเท่าไร?

"สักสี่ซ๊า...ห้าแสนบาท"
บริษัท แกรมมี่ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ (จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่)
ถือกำเนิดเมื่อปี 2526 หรือเมื่อ 25 ปีที่แล้ว

แต่ไม่ได้ก่อเกิดบนความตั้งใจครั้งแรกของไพบูลย์

เขากล่าวว่า "พระเจ้าพาผมเข้ามา"

นี่อาจเป็นลิขิตชีวิตที่มี "ฟ้า" เป็นผู้กำกับ

"ผมเริ่มต้นจากการทำเพลง

"มหาดุริยางค์ไทย" ของหลวงประดิษฐ์ไพเราะ
ทำเป็นเทป 2 ม้วน นั่นแหละเป็นจุดเริ่มต้นจริงๆ"

ซึ่งขณะนั้นอากู๋มีอายุเพียง 33 ปี

และเริ่มทำเทปในนาม บริษัท แกรมมี่ ตอนอายุประมาณ 35 ปี

"ตอนนั้น ผมก็มองหาธุรกิจที่ไม่ใหญ่นัก
ก็มองที่ธุรกิจเต้นกินรำกินนี่แหละคิดว่ายังไงๆ

เราพอสู้ได้ ตอนนั้นก็มีรายใหญ่คุมอยู่
แต่คำว่า "ใหญ่" มันไม่ได้ใหญ่เหมือนกับโอสถสภา

สหพัฒน์ หรือยูนิลีเวอร์ เออ! ยังงี้...พอไหว ดูแล้วธุรกิจนี้กำไรดี"

พ่อยังสอนด้วยว่า..ถ้าแกมีเงินให้นั่งทับไว้ที่ก้น หัวมันจะฉลาดเอง
เพราะฉะนั้นวิธีการทำธุรกิจของ
ไพบูลย์
เขาจึงไม่ชอบกู้เงินมาทำธุรกิจ (ถ้าไม่จำเป็น)
นี่คือ 1 ในสิ่งที่เจ้าพ่อวงการบันเทิงเมืองไทยบอกว่า
คือ "Key to Success"

ของเขาถ้าเผื่อให้ทางเลือกผม 2 ทาง
ทางแรกบอกว่า
"เสี่ยงมาก...รวยมาก"
ทางที่สองบอกว่า
"เสี่ยงน้อย...รวยน้อย"
คุณจะเอาทางไหน?..
ถ้าผมมีทุนน้อยผมจะเลือกทางที่เสี่ยงน้อยที่สุดเอาไว้ก่อน
แต่ทุกวันนี้ผมมีเงินทุนแล้ว ผมรู้ว่าความเสี่ยงนั้นถึงจะมาก
แต่ก็ยังเสี่ยงอยู่ในขอบเขต
หลายคนอาจจะบอกว่าผมทำธุรกิจที่ผมไม่เคยทำ

นั่นคือความเสี่ยง แต่สำหรับผมจะมองว่ามันไม่ใช่ความเสี่ยง"อากู๋"
มีหลักการธุรกิจอยู่อย่างหนึ่งว่า...
เขาจะไม่ทุ่มเงินก้อนหนึ่งไปทุ่มให้กับธุรกิจเพียงสิ่งเดียว
แต่เขาจะกระจายการลงทุนให้อยู่ในเนื้อหาสาระ
อยู่ในโครงสร้างที่เกื้อกูลซึ่งกันและกัน
เมื่อชีวิตเดินทางมาไกลกว่าที่ฝัน

ไพบูลย์
ตัดสินใจสานฝันให้ไกลออกไป
โดยตัดสินใจสร้าง "ขาหยั่ง"

เพื่อเสริมสร้างความมั่งคั่งอีกครั้ง
ด้วยการรุกธุรกิจส่วนตัวหลายอย่างพร้อมๆ กัน
เริ่มตั้งแต่การซื้อตึกโรจนะ ทาวเวอร์ (ตึกแกรมมี่)
มูลค่าประมาณ 1,100 ล้านบาท
เพื่อให้บริษัทในเครือเช่า ลงทุนธุรกิจบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป "โฟร์มี"
ธุรกิจขายตรงเครื่องสำอาง "ยูสตาร์"
และ ธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่น "โฮยู" เป็นต้น
สำหรับธุรกิจในเครือแกรมมี่ ก็กระจายไปลงทุนที่หลากหลาย

แต่อยู่ภายใต้การเกื้อกูลซึ่งกันและกัน บ้างก็สำเร็จ..บ้างก็ล้มเหลว
ล่าสุดถามอากู๋ว่า ที่ผ่านมา

ได้รับ “บทเรียน” อะไรบ้างจากการทำธุรกิจ

ได้รับคำตอบว่า ได้รู้ว่าความ “ขี้เกียจ”

ทำให้ชีวิตไม่เจริญรุ่งเรือง

ถ้าสลัดตัวขี้เกียจออกไปได้จะไม่มีคำว่า

“ล้มเหลว” เกิดขึ้นเลย

อีกอย่างหนึ่งที่ได้รับคือ
หากเราไม่วางยุทธศาสตร์ให้
สอดคล้องกับวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป

ก็จะทำให้ “ทุนหายกำไรหด”

"ผมยอมรับว่าที่ผ่านมา คิดเข้าข้างตัวเองมาตลอดว่า
สิ่งที่เรามองเห็น “ถูกต้องที่สุด..ดีที่สุด”
โดยไม่ได้มองว่าวันนี้โลกกำลังหมุนไปทิศทางไหน

ที่ผ่านมาผมเหมือนคนย่ำอยู่กับที่ ทั้งๆ ที่รู้

และเห็นอยู่แล้วว่าเดินทางนี้มันผิดแต่ก็ยังทำ

สุดท้ายก็สะท้อนผ่านผลประกอบการ(ขาดทุน
)"


ทุกวันนี้ อากู๋ จึงบอกว่า พร้อมจะ

นำบทเรียนราคาแพงมาเป็นเครื่องเตือนสติ

และสอนใจ จากนี้คิดจะทำอะไรให้
ดูคนอื่นด้วยว่าเขาเดินไปทางไหนกัน
วันนี้อยากให้ผู้ถือหุ้นไว้ใจว่า
ในการทำธุรกิจ
“ผม..คือผู้ที่ตื่นแล้ว”