เหนือสิ่งอื่นใด
- เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี 9 มิถุนายน 2559
- พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) ณ วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๙
- The 60th Anniversary Celebrations of his Majesty King Bhumibol Adulyadej's Accession to the Throne
- 63 ปี "พระเจ้าอยู่หัว ร.๙" ผู้นำที่ไม่เหมือนใครในโลก นำพาประเทศ "อยู่ดีมีสุข"
- Supreme Artist
- เศรษฐกิจพอเพียง : Sufficiency Economy พ.ศ. ๒๕๖๓
- ทศพิธราชธรรม ๑
- ทศพิธราชธรรม ๒
- ๑๐๐ ปี สวรรคตกาลสมเด็จพระปิยมหาราช
- ร.๙ ทรงห่วงเหตุการณ์ประเทศเพื่อนบ้าน
- พระบรมราโชวาท ร.๙
- "พูดแล้วต้องทํา" พระบรมราโชวาท "ในหลวง ร.๙" ทรงเตือน-ครม.
- ร. ๙ ทรงพระราชทานแก่พลเอกสุจินดา คราประยูร และพลตรีจำลอง ศรีเมือง
- ร.๙ ทรงรับสั่งรมต.ถวายสัตย์ฯ
- ร.๙ ทรงมีพระบรมราโชวาทแก่ตุลาการทหาร
- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.9 ทรงป้องกันน้ำท่วม ปีพุทธศักราช ๒๕๓๘
- “ในหลวง ร.๙” ทรงฝากองคมนตรีปลูกฝังคนไทยเอื้อเฟื้อ นึกถึงส่วนรวม
- “ในหลวง ร.๙” เสด็จฯ ทอดพระเนตรดนตรีที่ศิริราช
- "ในหลวง ร.๙" เสด็จเปิดประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์-สะพานภูมิพล 1,2
- ในหลวง ร. ๙ เสด็จฯทอดพระเนตรคอนเสิร์ตแจ๊ส
- ๕ ธันวาคม ๒๕๕๒
- น้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณ"ในหลวง ร.๙"กับ"ภูมิสารสนเทศ"
- ในหลวง ร.๙ ทรงพระราชทาน ส.ค.ส.2554 แก่พสกนิกรชาวไทย
- 'ในหลวง ร.๙' ทรงมีพระราชดำรัสให้คนไทย ทำหน้าที่ ไม่ประมาท มีสติ : ๕ ธันวาคม ๒๕๕๓
- วันฉัตรมงคล (ร.๙)
- ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๙
- พระราชดำรัสสุดท้าย ในหลวง รัชกาลที่ 9
- ๑๒ สิงหา วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
- "สมเด็จย่า"
- เจ้านายเล็กๆ ยุวกษัตริย์
- อาลัยพระพี่นางฯ
- ในหลวงรัชกาลที่ ๙ โปรดให้นายโคฟี อันนัน เฝ้าถวายรางวัลฯ (๒๕ พ.ค.๔๙)
- "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร" มีพระราชดำรัสเกี่ยวกับการวิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์
- พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล
- ศิลปาชีพ : ประจักษ์พยานของความรัก ผูกพัน และห่วงใย
- เพลงสรรเสริญพระบารมี
- ชีวิตที่หมุนไปไม่หยุดยั้ง...พระอารมณ์ขันของพระเทพฯ
- ถ้าเดินเรื่อยไปย่อมถึงปลายทาง นิทรรศการภาพถ่ายฝีพระหัตถ์สมเด็จพระเทพรัตนฯ
- สมเด็จพระเทพฯ กับการส่งเสริมไอที เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
- สมเด็จพระเทพฯ สนพระทัยเมล็ดพันธุ์ช่วยหล่อเลี้ยงประชากร
- เครือข่ายกาญจนาภิเษก
- สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- ทรงพระเจริญ
- ของขวัญจากก้อนดิน
- ต้นไม้ของพ่อ
- รูปที่มีทุกบ้าน
- นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ
- ติโต
- ไม่มีวันไหนที่ไม่คิดถึงในหลวงรัชกาลที่ ๙
- พระราชนิพนธ์ พระมหาชนก ที่ทุกคนพึงอ่าน
- โครงการแก้มลิง
- ทำไมเรารัก "พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร"

Mar 31, 2025
Mar 30, 2025
Mar 29, 2025
First Things First Every Day: Daily Reflections- Because Where You're Headed Is More Important Than How Fast You Get There : (March 29)
Mar 28, 2025
เกิดเหตุแผ่นดินไหว เมียนมา ขนาด 7.4 ริกเตอร์ สะเทือนทั่วประเทศไทย
เกิดเหตุแผ่นดินไหว ประเทศเมียนมา ขนาด 7.4 ริกเตอร์ ลึก 10 เมตร สะเทือนทั่วประเทศไทย อินเตอร์ลิงค์บางนา อพยพพนักงานออกจากอาคารอย่างเร่งด่วน
วันที่ 28 มี.ค. 2568 เมื่อเวลา 13:20 น. เกิดเหตุแผ่นดินไหววัดขนาดได้ 7.4 ริกเตอร์ ความลึก 10 เมตร จุดศูนย์กลางบริเวณเมืองมัณฑะเลย์ ประเทศเมียนมาห่างจากอำเภอปางมะผ้าจังหวัดแม่ฮ่องสอนประมาณ 320 กิโลเมตร แรงสั่นสะเทือนรับรู้ได้บริเวณประเทศไทยรวมถึงกรุงเทพฯ
กรมอุตุนิยมวิทยาและศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติได้ติดตามสถานการณ์แผ่นดินไหวอย่างใกล้ชิดและได้รับรายงาน after shock เป็นระยะ ๆ ขณะนี้เหตุการณ์ยังไม่สงบและได้รับรายงานความเสียหายในบางส่วน ได้รับแจ้งรู้สึกสั่นไหวในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ บริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง รวมถึงกรุงเทพมหานคร https://earthquake.tmd.go.th/EQ12893
ทำให้ตึกสูงในกรุงเทพฯ และ ปริมณฑล เกิดการสั่นไหวโยกไป ทั้งนี้จะหากมีความคืบหน้าจะรายงานต่อไป
ส่วนที่ บางนา กทม. ที่สถานีโทรทัศน์เนชั่นทีวี และ กอง.บก.กรุงเทพธุรกิจ กองบก.ฐานเศรษฐกิจ อพยพพนักงานออกจากอาคารสำนักงานอย่างเร่งด่วน
ล่าสุด กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศว่าในเบื้องต้นขอให้ประชาชนออกมาในพื้นที่กลางแจ้งปลอดภัยและรอจนกว่าสถานการณ์สงบและรอประกาศจากทางการเป็นระยะ ๆ ทั้งนี้กรมอุตุฯกำลังจะดำเนินการแถลงข่าวทางด้าน facebook live ของกรมอุตุนิยมวิทยา
ล่าสุด กรมอุตุนิยิมวิทยา แถลงข่าวผ่าน facebook live ของกรมอุตุนิยมวิทยา
Mar 26, 2025
Mar 25, 2025
Mar 23, 2025
Mar 22, 2025
How to ทิ้ง ของ ชิโฮมิ ชิโมมูระ
f Wichian Nick Rerkpaisan
ช่วงนี้ว่างงานเลยอยากจัดบ้าน
เลยขอเอาวิชา “how to ทิ้ง“ ของ ชิโฮมิ ชิโมมูระ ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดบ้าน
และลดสิ่งของแบบมินิมอลจากญี่ปุ่นมาเป็นแนวทาง
นางแนะว่า “การทิ้งของไม่ใช่แค่เรื่องการกำจัด แต่เป็นการสร้างพื้นที่ให้กับความสุขและความสงบในชีวิต”
1. เริ่มจากสิ่งที่ “ไม่ต้องคิดมาก” ก่อน
เริ่มจากหมวดที่ง่าย เช่น ถุง กล่องเปล่า แผ่นพับ
ของที่พังแล้ว ไม่ต้องใช้ความรู้สึกมากในการตัดสินใจ
จะได้เริ่มต้นได้เร็ว
2. ถามตัวเองว่า “ใช้มันครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่?”
ถ้าคำตอบคือ “จำไม่ได้” มีโอกาสสูงที่เราไม่จำเป็นต้องเก็บมันไว้
3. ของบางอย่างไม่ต้องเก็บเพื่อเป็นที่ระลึก
การ “เก็บความทรงจำ” ไม่จำเป็นต้อง “เก็บของ” ถ่ายรูปของนั้นเก็บไว้แทนก็ได้
4. อย่ารู้สึกผิดกับของที่เราไม่ได้ใช้
แต่ได้เรียนรู้ว่ามันไม่เหมาะกับเราแล้วปล่อยมันไป
5. “การทิ้ง” คือการเลือกสิ่งที่อยากมีในชีวิต
นี่ไม่ใช่แค่การกำจัดของเก่า แต่เป็นการตัดสินใจว่า “สิ่งไหนที่เราอยากให้เหลืออยู่รอบตัวเรา”
6. จัดพื้นที่ที่ว่างให้เป็น “ที่ว่างที่มีค่า”
“พื้นที่ว่าง” ไม่ใช่ของเสียเปล่า มันคือพื้นที่สำหรับความสบายตา การหายใจ และจิตใจที่สงบ
ชิโฮมิ ชิโมมูระ แนะนำให้ “คัดแยกของตามหมวดหมู่”
ไม่ใช่ตามห้อง ซึ่งต่างจากวิธีจัดบ้านแบบทั่วไป
เพราะมันทำให้เรามองเห็นภาพรวมของสิ่งที่เรามี และตัดสินใจได้ง่ายขึ้น เริ่มต้นจาก…
1. เสื้อผ้า (Clothes)
เป้าหมาย: เหลือแค่ชุดที่ “ใส่บ่อย” และ “รู้สึกดีตอนใส่”
แนวทาง:
• วางเสื้อผ้าทั้งหมดรวมไว้ที่เดียว (ไม่ว่าอยู่ห้องไหน)
• หยิบขึ้นมาทีละชิ้นแล้วถามตัวเองว่า
→ “ฉันอยากใส่อันนี้ไปข้างนอกวันนี้ไหม?”
ถ้าลังเล = ไม่ต้องเก็บ
• แยกประเภท: ใช้บ่อย / นานๆ ใส่ที / ไม่เคยใส่
• เสื้อผ้าบางตัวเราเก็บไว้ “เผื่อผอมลง” หรือ “เผื่อโอกาสพิเศษ” ถ้าไม่ได้ใส่มานานแล้ว = ปล่อยไปได้เลย
2. หนังสือ (Books)
เป้าหมาย: เหลือเฉพาะเล่มที่ “อยากอ่านตอนนี้” หรือ “ให้แรงบันดาลใจ”
แนวทาง:
• รวบรวมหนังสือทุกเล่มมากองไว้
• หยิบทีละเล่มแล้วถาม
→ “ถ้ามีเวลา 1 ชั่วโมง ฉันอยากอ่านเล่มนี้ไหม?”
• เล่มที่อ่านแล้วแต่ไม่คิดจะกลับมาอ่านอีก = ปล่อยไป
• หนังสือเรียนเก่า / คู่มือที่ไม่ได้ใช้ = บริจาคหรือรีไซเคิล
• เธอบอกว่า “ถ้าเราจำเนื้อหาไม่ได้ แสดงว่ามันไม่สำคัญพอ”
3. เอกสาร (Papers)
เป้าหมาย: เหลือแค่สิ่งที่ “ต้องใช้จริงๆ”
แนวทาง:
• แบ่งเป็น 3 กอง:
1. ต้องเก็บ (เอกสารทางราชการ สำเนาสำคัญ)
2. กำลังใช้ (บิลเดือนนี้ เอกสารโครงการที่ยังทำอยู่)
3. ทิ้งได้ (ใบปลิว แพมเฟล็ต ใบเสร็จที่หมดอายุ)
• ใช้แฟ้มแยกประเภทชัดเจน
• เอกสารที่สแกนได้ ก็ควรเก็บไว้ในรูปแบบดิจิทัล
4. ของเบ็ดเตล็ด (Komono / Miscellaneous)
เป้าหมาย: เหลือแค่ของที่ “ใช้จริง” หรือ “ทำให้รู้สึกดี”
แนวทาง:
• แยกเป็นกลุ่มย่อย: เครื่องครัว, เครื่องสำอาง, ของใช้ในบ้าน, สายไฟ, ของจุกจิก
• พิจารณา:
→ “ฉันใช้มันในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาไหม?”
→ “มันยังใช้งานได้ดีไหม?”
• ตัวอย่าง:
• สายชาร์จเก่า = ทิ้ง
• กล่องเปล่า/ถุงกระดาษ = ถ้าไม่ใช้งานจริง ให้ปล่อย
• เครื่องครัวที่ไม่ได้ใช้เลย = ปล่อยให้คนอื่นได้ใช้แทน
5. ของที่มีคุณค่าทางใจ (Sentimental Items)
เป้าหมาย: เก็บเฉพาะที่ “สำคัญจริงๆ กับหัวใจ”
แนวทาง:
• ทำเป็นหมวดสุดท้าย เพราะใช้พลังใจเยอะที่สุด
• หยิบของแต่ละชิ้นขึ้นมาแล้วถาม
→ “ฉันอยากเก็บไว้เพราะความสุข หรือเพราะรู้สึกผิด?”
• ถ้าแค่เก็บไว้เพราะ “เสียดาย” หรือ “กลัวลืม” ให้ถ่ายรูปไว้แทน
Mar 21, 2025
Mar 20, 2025
Mar 19, 2025
ใครมีกากกาแฟ อย่าทิ้ง
f นานาความรู้
ใครมีกากกาแฟ อย่าทิ้ง มีประโยชน์ของกากกาแฟมาฝากค่ะ กากกาแฟเป็นวัสดุเหลือใช้ที่มีประโยชน์มากมายกว่าที่คิด
Mar 18, 2025
Mar 16, 2025
Mar 15, 2025
Mar 14, 2025
Mar 13, 2025
Mar 12, 2025
50 สิ่งของต้องทิ้ง
f WA-Japan
สำหรับใครที่อยากจัดบ้าน อยากเคลียของ เพื่อเริ่มต้นปีใหม่ มาเช็คลิสต์กันว่ามีอะไรควรทิ้งบ้าง