Custom Search

Oct 23, 2019

NUVO Now or Never (2019) Concert


ไม่เป็นไร NUVO Version 2019



Credit
ผู้ประพันธ์ทำนอง/เนื้อร้อง
โสฬส ปุณกะบุตร
นิติพงษ์ ห่อนาค


เป็นอย่างงี้ตั้งแต่เกิดเลย - NUVO Version 2019

Credit
ผู้ประพันธ์ทำนอง/เนื้อร้อง
เขตต์อรัญ เลิศพิพัฒน์
พงษ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา


สองคนในร่างเดียว- NUVO Version 2019

Credit
ผู้ประพันธ์ทำนอง/เนื้อร้อง
เขตต์อรัญ เลิศพิพัฒน์
กฤษณ์ โชคทิพย์พัฒนา















วันปิยมหาราช 23 ตุลาคม พ.ศ. 2562



ข้อมูลจาก PressReader.com



Oct 20, 2019

ถอดคมคิดธุรกิจและการใช้ชีวิตของ “เจ้าสัวธนินท์” สู่ “ความสำเร็จ ดีใจได้วันเดียว” หนังสือที่เจ้าสัวใช้เวลาเขียนถึง 8 ปี #6

                                          

1) http://teetwo.blogspot.com/2019/10/8.html
2) https://teetwo.blogspot.com/2019/10/8-2.html
3) https://teetwo.blogspot.com/2019/10/8-3.html
4) https://teetwo.blogspot.com/2019/10/8-4.html
5) https://teetwo.blogspot.com/2019/10/8-5.html


ถอดคมคิดธุรกิจและการใช้ชีวิตของ “เจ้าสัวธนินท์” สู่ “ความสำเร็จ ดีใจได้วันเดียว” หนังสือที่เจ้าสัวใช้เวลาเขียนถึง 8 ปี
10 ตุลาคม 2019 เขียนโดย Workpoint News




หนังสือจะหมดไป”

ความสำเร็จ ดีใจได้วันเดียว: ความล้มเหลว

ก็เสียใจได้วันเดียวเช่นกัน

ในช่วงท้ายของงาน คุณสุทธิชัย หยุ่น

ซึ่งเป็นนักข่าวคนเดียวที่เคยได้สัมภาษณ์เจ้าสัวธนินท์ออกทางทีวี เมื่อประมาณ 30 ปีก่อน
ได้ร่วมปันประสบการณ์ที่เคยได้พบและพูดคุยกับเจ้าสัวธนินท์ว่า…

“ผมรู้จักคุณธนินท์ครั้งแรก แกพาผมไปเล้าหมู

เชื่อไหมครับว่าเจอครั้งแรกนี่ก็คือนวัตกรรม
คุณธนินท์เอาขี้หมูมาทำเป็นไบโอแก๊ส…

ครั้งแรกที่ผมขอสัมภาษณ์คุณธนินท์ ยากลำบากมาก

เพราะคุณธนินท์ไม่ยอมออกทีวี
ปฏิเสธมาตลอด ผมต้องตื๊อแล้วตื๊ออีก
ผมคุยกับคุณธนินท์ตอนก่อนสัมภาษณ์
รู้เลยว่าสิ่งที่คุณธนินท์คิด วางแผน และมอง
มันไม่ใช่แค่เรื่องธุรกิจ มันเป็นเรื่องวิสัยทัศน์สำหรับทั้งประเทศ

ผมบอกคุณธนินท์ว่าอยากให้คนไทยได้ฟัง 

แล้วผมจะเล่าสิ่งที่น้อยคนจะรู้ สิ่งสำคัญระดับสากล
คุณธนินท์ได้มองไปข้างนอก

มองอย่าง Global entrepreneur

มองอย่างผู้ประกอบการระดับโลก ความจริงใจ ความทุ่มเท
ความเสี่ยงที่คุณธนินท์ว่านี่ ไม่ใช่ความเสี่ยงเฉพาะเรื่องกำไร
ขาดทุน ความเสี่ยงเรื่องการเมือง
ความเสี่ยงเรื่องความมั่นคง ปี 1989
เกิดเหตุการณ์เทียนอันเหมิน ที่เมืองจีน เติ้งเสี่ยวผิง
บริษัทฝรั่งที่ตอนนั้นไปอยู่ในจีนทั้งหมดเลย เรียกว่า 90%
ถอยหมดเลย

ผมจำได้ว่าคุณธนินท์และเพื่อนผมที่อยู่ในจีนก็เล่าให้ฟัง

บอกว่า คุณธนินท์ประชุมแล้วบอกว่าเราต้องอยู่
เพราะธุรกิจมันไม่สำคัญเท่ากับใจ
ที่เราบอกเจ้าของบ้านว่า เวลาคุณลำบากที่สุด เราอยู่กับคุณ
นั่นเป็นสิ่งที่ผมเชื่อว่า มันไม่อยู่ในตำราไหน…

คุณธนินท์ตัดสินว่า ซีพีต้องอยู่ เขายิ่งลำบาก เรายิ่งต้องอยู่

ผมเชื่อว่าเรื่องนี้แหละที่ชนะใจผู้นำจีนจนถึงทุกวันนี้

เขาถึงมองว่าซีพีนั้นไม่ได้เป็นเพียงธุรกิจ

แต่เป็นเพื่อนเป็นมิตรช่วงหลังนี้ผมก็ได้รับทราบว่า
ซีพีไปรัสเซีย ไปอินเดียไปตะวันออกกลาง
ไปอีกหลายประเทศที่ไปสร้างพื้นฐานทางด้านการเกษตร
ทางธุรกิจอื่นๆ ที่เกิดขึ้นมา
ฉะนั้นตรงนี้ที่สำคัญผมคิดว่าคือใจ ต้องใจถึงจริงๆ…
ความสำเร็จของคุณธนินท์ ไม่ใช่แค่มองเห็นโอกาส
รู้ว่าอะไรกำไร ขาดทุน รู้ว่าควรเสี่ยง 30% 70%
แต่อยู่ที่ลึกๆ แล้วคือใจ ใจของความเป็นนักเลง
รู้ว่าอะไรคือเนื้อหาของการทำธุรกิจให้สำเร็จ” 
ก่อนจะทิ้งท้ายถามเจ้าสัวธนินท์ว่า

“ถ้าความสำเร็จดีใจได้วันเดียว ความล้มเหลวเสียใจได้กี่วัน”

และคำตอบของเจ้าสัวธนินท์ก็คือ
ทั้งความสำเร็จและความล้มเหลว
ให้เวลากับมันวันเดียวก็พอ “เราต้องทำใจ ต้องรู้แพ้รู้ชนะ
เราตั้งใจว่าเราสำเร็จเนี่ยดีใจได้วันเดียว
ล้มเหลวก็เหมือนกัน เพราะมันล้มเหลวไปแล้ว
จะไปกลุ้มใจก็ไม่มีประโยชน์
แต่ต้องไปทบทวนว่าทำไมเราถึงล้มเหลว ให้เป็นบทเรียน
เพราะมันไม่มีใครหรอกที่ทำสำเร็จได้ทุกเรื่อง
ทำมากเรื่องก็ต้องมีผิดพลาดบ้าง ในโลกนี้
นอกจากเป็นเทวดา หรือไม่ทำก็ไม่ผิด
ตอนที่สำเร็จเราก็ต้องทำใจ ว่าถ้าวันนึงล้มเหลว
แต่อย่าให้ล้มละลายก็แล้วกัน อย่าตาย
ถ้ายังมีชีวิตอยู่
บริษัทที่ขาดทุนไปก็ยังมีโอกาสเอากลับมา
เป็นบทเรียน ล้มเหลว เพื่อจะได้ไม่ล้มเหลวอีก”

ถอดคมคิดธุรกิจและการใช้ชีวิตของ “เจ้าสัวธนินท์” สู่ “ความสำเร็จ ดีใจได้วันเดียว” หนังสือที่เจ้าสัวใช้เวลาเขียนถึง 8 ปี #5



1) https://teetwo.blogspot.com/2019/10/8.html
2) https://teetwo.blogspot.com/2019/10/8-2.html
3) https://teetwo.blogspot.com/2019/10/8-3.html
4) https://teetwo.blogspot.com/2019/10/8-4.html
6) https://teetwo.blogspot.com/2019/10/8-6.html






ถอดคมคิดธุรกิจและการใช้ชีวิตของ “เจ้าสัวธนินท์” สู่ “ความสำเร็จ ดีใจได้วันเดียว” หนังสือที่เจ้าสัวใช้เวลาเขียนถึง 8 ปี
10 ตุลาคม 2019 เขียนโดย Workpoint News


ไม่เปลี่ยนแปลง ไม่พัฒนา ไม่ก้าวหน้า
เราเปลี่ยนแปลงเมื่อไหร่ ก็มีปัญหาใหม่เกิดขึ้นเมื่อนั้น
สมมติเราอ้วนขึ้น อายุมากขึ้น เสื้อผ้าเราก็ต้องเปลี่ยน
การเปลี่ยนแปลงต้องมีปัญหา
ถ้าคนเคยทำธุรกิจ
ต้องเจอปัญหาแน่นอน ยิ่งเปลี่ยนแปลงเร็ว ปัญหาก็ยิ่งมาก
ยิ่งเปลี่ยนแปลงมาก ปัญหาก็ตามมายิ่งมาก
ฉะนั้น ต้องแก้
ต้องถือว่าปัญหามาคู่กับการเปลี่ยนแปลงเพราะเลี่ยงไม่ได้”


ธุรกิจตัวเบา: การเปลี่ยนแปลงคือ “โอกาส”
มีคนถามว่า หากวันนี้เจ้าสัวธนินท์อายุ 30 กว่า
และไม่ได้มีเงินเหมือนในวันนี้
จะเริ่มต้นด้วยธุรกิจอะไร

เจ้าสัวมองว่าต้องเลือกทำสิ่งใหม่
เพราะของเก่ามีคนทำอยู่แล้ว เมื่อโลกเปลี่ยนแปลง
โอกาสก็มากับความเปลี่ยนแปลงนี้ด้วย
อย่างในทุกวันนี้ คนไทยกำลังติด “ความสะดวกซื้อ”
สั่งสินค้าผ่านจอก็มีคนเอาของมาส่งให้ถึงที่
ซึ่งเจ้าสัวมองว่าเป็นเรื่องลอจิสติก
หรือความสะดวกในการขนส่งที่กำลังสร้างให้คนไทยเปลี่ยนนิสัย
ซึ่งสะเทือนมาถึงธุรกิจของเซเว่นอีเลฟเว่น
และแม้จะเป็นเบอร์ 1 ก็ต้องปรับตัวเช่นกัน
“เรื่องลอจิสติกนี่กำลังสร้างให้คนไทยเปลี่ยนนิสัย
นี่เป็นโอกาสของเซเว่นอย่างมหาศาล
ถ้ายังหลับอยู่ เซเว่นก็มีโอกาสล้มละลายเหมือนกัน
เพราะพวกนี้ส่งแทนหมด รู้จักลูกค้าหมด
อีกหน่อยเขาก็ไม่ต้องมาซื้อจากเซเว่น
เขามีโกดังมืดก็พอ ซื้อขายทางเว็บไซต์
คุณไปเปิดร้านเซเว่นทุนหนัก ช้า แต่บนเว็บไซต์ของเขา
เซเว่นมีอะไร เขามีหมด เซเว่นไม่มี เขายังมี
ส่งเสื้อผ้าอีก ภัตตาคารอีก นี่คือ “ธุรกิจตัวเบา”

ทุกๆ ครั้งที่เปลี่ยนแปลง มันจะนำมาด้วยโอกาสอย่างมหาศาล
เพียงแต่เราเข้าใจหรือเปล่า เรารู้จักโอกาสนี้หรือเปล่า
ใช้โอกาสนี้หรือเปล่า ใช้โอกาสนี้ให้เป็นประโยชน์ยังไง
ผมกล้าพูดตรงนี้ว่า หลังจากนี้โอกาสจะมากมายกว่านี้อีกเยอะ
ผมเชื่อว่าทั่วโลกพิมพ์เงินอย่างมหาศาลนะ

ทำไมเงินไม่เฟ้อ
เพราะสินค้ามันก็ผลิตออกมาอย่างมหาศาลเหมือนกัน
เพราะเครื่องจักรอัตโนมัติมากขึ้น ทุกอย่างมันเร็วขึ้น
ตามประวัติศาสตร์ ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง
มันจะเพิ่มอาชีพ เพิ่มโอกาสมาอีกเยอะ
แล้วถ้าใครได้โอกาสนี้ คนนั้นก็เป็นใหญ่ไป
คนไหนละเลยไป แม้ว่าบริษัทยักษ์ใหญ่ก็ล้มละลายได้
เปลี่ยนเก้าอี้นั่งแล้ว อย่างอาลีบาบาก็นั่งเป็นเบอร์ 1
แล้วของนักธุรกิจที่จีน คำว่า “บัลลังก์มหาเศรษฐี”
ก็อาจเปลี่ยนคนนั่งได้” กระตุ้นรัฐบาล
โอกาสของไทยมาถึงแล้ว อย่ามัวแต่หลับใหล
นอกจากเรื่องธุรกิจส่วนตัว
เจ้าสัวธนินท์ยังมองเห็นโอกาสของประเทศไทย
โดยเฉพาะด้านสินค้าเกษตรและการเป็นฐานการผลิต
ในช่วงเวลาที่จีนกับอเมริกามีปัญหากัน 
“ตอนนี้ เวลานี้ ผมว่าถ้าเมืองไทยทำเป็นนะ
เป็นโอกาสอย่างยิ่งเลย อย่างอเมริกากับจีนมีปัญหากัน
เป็นโอกาสของประเทศไทยอย่างยิ่ง คนจะย้ายฐานการผลิตจากจีน บางอย่างที่จะไปขายให้อเมริกา ไปไหนล่ะ
มาเมืองไทยดีที่สุด แต่ถ้าเราไม่ฉวยโอกาสนี้
เขาก็ไปเวียดนาม ไปอินโดนีเซีย แล้วโอกาสนี้ก็หายไป…
อย่างเรื่องสินค้าเกษตร เกษตรเป็นน้ำมันบนดิน
เป็นทรัพย์สมบัติของชาติ แต่เรายังละเลยสินค้าเกษตร
คิดว่าจำนวนไม่มาก ทั้งที่จริงๆ แล้วมีมากมาย
เกษตรของเราเกิดขึ้นจากแผ่นดินไทย
ตรงนี้ต้องปกป้อง ต้องให้ราคาดี ยุคนี้ต้องเร็ว
อย่างเรื่องการเชื่อม 3 สนามบินความเร็วสูง
ทำให้ต่อไปคนอยู่ระยองก็เหมือนกับอยู่กรุงเทพฯ
เพราะเพียง 45 นาที ก็ถึงใจกลางเมืองกรุงเทพฯ แล้ว
จีนไปหลายหมื่นกิโลแล้ว เรายังชักช้าอยู่
เขาก็จะย้ายฐานจากเราไปเวียดนามกับอินโดนีเซียแทน
ปิโตรเคมีถึงจุดอิ่มตัวและเปลี่ยนแปลงแล้ว รถยนต์ก็ถึงจุดเปลี่ยนแปลงแล้ว กำลังเปลี่ยนจากรถยนต์เป็นรถไฟฟ้า
แน่นอนทุกบริษัทที่ผลิตในเมืองไทย
ก็อยากเอารถไฟฟ้าไปผลิตที่ประเทศอื่น
ถ้าเรายังไม่รีบมีมาตรการดีๆ ให้เขาอย่าย้ายฐาน
ตรงนี้ผมว่ารัฐบาลยังมองไม่เห็นความสำคัญ
ปิโตรเคมีก็จะค่อยๆ หายไป
พวกอิเล็กทรอนิกส์ก็จะเริ่มย้ายฐาน
เหมือนกัน วันนี้เราต้องรีบลดหย่อนเรื่องอิเล็กทรอนิกส์
เป็นโอกาสดีอย่างยิ่ง ดึงคนมาลงทุน
ยิ่งอเมริกากับจีนมีปัญหากัน ยิ่งเป็นโอกาสของไทย
ทำไมเรายังนอนหลับอยู่”


ความฝันวัยเด็ก: อยากเป็นนักสร้างหนัง
“ตอนที่ผมเรียนหนังสืออยู่ ก็ชอบไปดูถ่ายทำ
อยากจะมาเขียนบทหนัง แล้วก็จะมาสร้างหนัง
ตอนนั้นอายุ 10 กว่าขวบ แต่ตอนนี้ผมหมดอายุ
หมดเวลาแล้ว ตอนนี้ลูกเขยกำลังทำอยู่
แต่นี่ก็คือเป็นบันเทิง เป็นอาหารสมองส่วนหนึ่ง
แล้วต่อไป มนุษย์จะมีเวลามากขึ้น

งานมากขึ้นแต่มีเวลามากขึ้น
เพราะใช้เวลาน้อยทำงานใหญ่ เทรนด์จะเป็นอย่างนี้แน่นอน”
ความหมายของชื่อหนังสือ “ความสำเร็จ ดีใจได้วันเดียว”

“ในชีวิตผมไม่เคยฉลอง สำเร็จจะใหญ่เล็กไม่เคยฉลอง
เพราะเรารู้ว่าเมื่อสำเร็จแล้วมันจะตามมาด้วยปัญหาอีก
ยิ่งสำเร็จใหญ่ ปัญหาก็จะยิ่งใหญ่
แล้วเราต้องเตรียมแก้ปัญหา เปลี่ยนแปลง
ดังนั้น ผมดีใจเพียงวันเดียว เพราะพรุ่งนี้ไม่ใช่แล้ว
พรุ่งนี้อาจจะมีคู่แข่งเหนือกว่าเรา
ทุกๆ วันต้องศึกษาดูว่า เรามีอะไรที่ต้องเปลี่ยนแปลงไหม

เราอย่าไปอิจฉาใคร ต้องดูตัวเราเอง
สร้างตัวเราเองให้เข้มแข็งอยู่ตลอดเวลา
ต้องเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
อย่าดีใจนานไป ไม่มีประโยชน์”

เลือกถ่ายทอดประสบการณ์เป็น “หนังสือ”
เพราะเก็บไว้เป็นที่ระลึกได้
แม้จะมีแพลตฟอร์มมากมายในยุคปัจจุบัน
ที่บันทึกประสบการณ์และความทรงจำไว้บนโลกออนไลน์ได้
แต่เจ้าสัวธนินท์ก็เลือกที่จะทำเป็น “หนังสือ”
เพราะเก็บไว้เป็นที่ระลึกได้โดยไม่หายไป 
“ในชีวิตไม่เคยคิดทำหนังสือ
แต่อ่านหนังสือของ แจ็ค เวลส์ จึงประทับใจว่า
เขาเปลี่ยนแปลงยังไง ผมใช้ระยะเวลายาวนานถึง 8 ปี
ในการเขียนหนังสือ “ความสำเร็จ ดีใจได้วันเดียว”

เพราะต้องการตรวจสอบก่อนว่า
ยังมีอะไรที่เปลี่ยนแปลงหรือเป็นประโยชน์
กับคนอ่านที่ต้องแก้ไขหรือเพิ่มเติมหรือไม่

หนังสือเก็บไว้เป็นที่ระลึกได้

ถอดคมคิดธุรกิจและการใช้ชีวิตของ “เจ้าสัวธนินท์” สู่ “ความสำเร็จ ดีใจได้วันเดียว” หนังสือที่เจ้าสัวใช้เวลาเขียนถึง 8 ปี #4

1) https://teetwo.blogspot.com/2019/10/8.html
2) https://teetwo.blogspot.com/2019/10/8-2.html
3) https://teetwo.blogspot.com/2019/10/8-3.html
5) https://teetwo.blogspot.com/2019/10/8-5.html
6) https://teetwo.blogspot.com/2019/10/8-6.html
ถอดคมคิดธุรกิจและการใช้ชีวิตของ “เจ้าสัวธนินท์” สู่ “ความสำเร็จ ดีใจได้วันเดียว” หนังสือที่เจ้าสัวใช้เวลาเขียนถึง 8 ปี
10 ตุลาคม 2019 เขียนโดย Workpoint News




เก่งอย่างเดียวไม่พอ ต้องเฮงด้วย อายุเป็นเพียงตัวเลข
เพราะคนวัย 80 อย่างเจ้าสัวธนินท์
ยังรับความรู้ใหม่ๆ ได้เรื่อยๆ โดยมีเทคนิคคือต้องเปิดใจกว้าง
และมองว่าคนที่จะสำเร็จได้
ต้องมีทั้งความเก่งและเฮงประกอบกัน
“เราเก่งอย่างเดียวไม่พอ ต้องบวกเฮงด้วย
บวกโอกาสด้วยทุกคนมีโอกาส เพียงแต่โอกาสมากหรือน้อย
โอกาสมาเร็วหรือช้า บางคนอายุ 60 แล้วถึงจะเจอโอกาส
เรื่องอย่างนี้ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ ผมเจอโอกาสมาเร็ว
แล้วผมก็ทุ่มเท สู้ ผ่านวิกฤติ ผ่านปัญหา
ยิ่งผ่านวิกฤติมากก็ยิ่งเก่งขึ้นมาก
คนที่ประสบความสำเร็จเหมือนกัน
แต่คนนึงผ่านวิกฤติมาก่อนอีกคนราบรื่น
คนผ่านวิกฤติมาเก่งกว่าเยอะ
ดังนั้น ผมเข้าใจคนหนุ่ม ผมอายุ 21 ก็ทำงานแล้ว
แต่วันนี้คนหนุ่มที่จบมาอายุ 22 จบมหาวิทยาลัยมา
ความรู้มากกว่าผมเยอะแยะ เพียงแต่เขาขาดโอกาส
ผมคิดว่าการเรียนนี่ไม่ต้องถึง 4 ปีหรอก
มหาวิทยาลัยเรียนมากไปแล้วครับ
ถ้าจะเรียน 4 ปี เรียนไปทำงานไปดีกว่า
ออกมาเรียนครบ 4 ปี เป็นผู้จัดการได้เลย
การปฏิบัติเป็นสิ่งสำคัญ รู้จริง
อย่าไปเสียเวลาอ่านทฤษฎี
เคสบางเคสเราเอามาใช้จริงไม่ได้
เพียงแต่เอามาเป็นไกด์ไลน์ เป็นข้อมูลได้
จริงๆ แล้วต้องทำไปแก้ไป
พวกสตาร์ทอัพที่สำเร็จมีตำราที่ไหน อย่าง “แจ็ค หม่า”
ไม่มีตำรา ทำไป แก้ไป เปลี่ยนแปลงไป พัฒนาไป”
ทำเรื่องใหม่ต้องใช้คนใหม่
เพราะลูกวัวไม่กลัวเสือ เจ้าสัวธนินท์กล่าวถึง
การทำเรื่องใหม่ๆ ว่า ที่จริงคนเก่าก็ใช้ได้
แต่ช้ากว่าใช้คนใหม่ คนเก่ารู้เรื่องเก่า ถ้ารู้ยิ่งลึก
เปลี่ยนยิ่งยาก แต่คนใหม่นั้นเหมือน “ลูกวัวไม่กลัวเสือ”
กล้าคิดกล้าทำ “เรื่องใหม่ต้องใช้คนใหม่
ผมเคยพูดอยู่คำนึงว่า ลูกวัวไม่กลัวเสือ คนเก่า
เวลาจะให้เปลี่ยนทำเรื่องใหม่ กลายเป็นว่า
เขาเคยทำเรื่องนี้สำเร็จ ทำได้ผลมาก
แต่พอไปทำเรื่องใหม่นี่ เขาไม่รู้ ไม่เคยทำ
ถ้าไม่เคยทำ อย่าเพิ่งทำ บัวช้ำน้ำขุ่น เอาคนใหม่มาทำ
แล้วไม่ต้องเสียเวลาไปล้างสมองเขา
คนเก่าติดความเคยชินเดิม แต่ถ้าเราเอาคนใหม่ทำของใหม่
แล้วทำให้คนเก่าเห็น อันนั้นเปลี่ยนได้
เพราะมนุษย์จะไม่ค่อยยอมรับการเปลี่ยนแปลง”
เราทำทุกเรื่องไม่ได้ ต้องเลือก และทำสิ่งที่ถนัด
เพราะเป็นคนเก่งที่ประสบความสำเร็จในระดับโลก
จึงมีโอกาสต่างๆ พุ่งเข้าหาเจ้าสัวธนินท์อย่างมหาศาล
แต่เจ้าสัวไม่เลือกที่จะคว้าไว้ทั้งหมด
แต่เลือกที่จะทำธุรกิจที่จำกัดความได้ 2 อย่าง คือ
อาหารสมอง และ อาหารอิ่มท้อง “มีอะไรที่อยากทำอีกเยอะ
แต่มันไม่ไหวหรอกครับ ต้องเลือกทำ
เพราะพลังเราก็มีจำกัด แล้วเราไม่ใช่เก่งทุกเรื่อง
เราต้องเลือกอะไรที่เราถนัด แต่สำคัญต้องเลือกที่มีอนาคต
เราทำธุรกิจทุกเรื่องไม่ได้หรอก คนมองว่าเราไปเรื่องโทรศัพท์
ไปเรื่องทีวีทำไม
ผมตั้งว่าเป็นเรื่อง “อาหารสมอง”
มนุษย์จะขาด 2 เรื่องไม่ได้
คือ ความรู้ซึ่งเป็นอาหารสมอง ดูทีวี ฟังเพลง เป็นความสุข
ก็เป็นอาหารสมอง ได้ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้
ก็จากอาหารสมอง ซีพีทำ 2 เรื่อง
อีกเรื่องก็ “อาหารอิ่มท้อง”
แต่อาหารอิ่มท้องสำคัญกว่าอาหารสมองอีก
สองตัวนี้คู่กันกับมนุษย์ แต่ถ้าให้เลือกก็ต้องมีชีวิตไว้ก่อน
ฉะนั้น การเลือกธุรกิจเป็นเรื่องสำคัญคู่กับมนุษย์
นอกเหนือจากนี้เราไม่ทำ
ของซีพีอย่างค้าปลีกนี่มันต่อเนื่องจากการขายสินค้าอาหาร
การให้ความสะดวกเป็นเรื่องจำเป็นของมนุษย์ประจำวัน
ที่ซีพีทำมามันต่อเนื่อง ต่อไปธุรกิจทุกเรื่องมันต้องต่อเนื่องกัน
มันจะเอื้อกันมากขึ้น อย่างรถยนต์มีชิ้นส่วน 4-5 พันชิ้นส่วน
เขาต้องมาผนึกกำลังอยู่ที่เดียวกัน เพื่อลดขั้นตอนขนส่ง
ลดค่าใช้จ่ายต่างๆ”
ค่านิยม 6 ข้อ ของซีพี
“ข้อที่ 1 ทำอะไรต้องเป็นประโยชน์ 3 ส่วน
คือ ประโยชน์ต่อชาติ ต่อประชาชน และต่อบริษัท 
ข้อที่ 2 ต้องเร็วและต้องมีคุณภาพ
ข้อที่ 3 ต้องสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ
ข้อที่ 4 ต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลง
ข้อที่ 5 ต้องทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย เรื่องนี้สำคัญมาก
เพราะคนฉลาดชอบทำของง่ายๆ คนฉลาดต้องเก่ง
ถ้าคนฉลาดกว่าต้องเลือกทำของยากๆ ทำให้มันง่ายขึ้น
อย่างผมต้องเอาของยากที่สุด
เพราะพอผมทำของยากนี่คนเก่งไม่มา
เพราะคนเก่งคนฉลาดจะมองว่า
อย่างนี้มันไม่มีทางสำเร็จหรอก เราก็เจอปัญหาเหมือนกัน
เหมือนการต่อยมวย ขึ้นต่อยมวยคนเดียว
สะดุดขาล้มไปนับ 10 ตื่นขึ้นมาก็เป็นแชมป์
เพราะไม่มีคู่ต่อย ถ้าเราสำเร็จเมื่อไหร่
คนค่อยมาตาม ก็สายไปแล้ว
ซีพีถึงถูกมองว่าผูกขาด เราผูกขาดที่ไหน เราทำก่อน
อย่างเช่นสินค้าเกษตรเอย เซเว่นเอย
ทุกคนมองว่าขาดทุน จนเราสำเร็จค่อยมาตาม
ข้อที่ 6 เห็นโอกาสก่อน เริ่มต้นก่อน
โดยเฉพาะเริ่มต้นในสิ่งที่คนคิดว่ายาก
แล้วพอเราทำสำเร็จ คนจะตามก็ยาก”

การทำงานคือการไปเที่ยว: มองอุปสรรคให้เป็นอาหาร 3 มื้อ

แม้วัยจะล่วงเลยมาถึง 80 และมีความพร้อมทุกอย่างแล้วในชีวิต
แต่เจ้าสัวธนินท์ยังสนุกกับการทำงานในทุกๆ วัน
โดยมอบหมายงานหลักแต่ละส่วนให้ผู้บริหารงานทำ
ส่วนตัวเจ้าสัวทำเรื่องใหม่ คือการใช้เงินเพื่อสร้างคนเก่ง 

“ผมถือว่าการไปทำงานคือการไปเที่ยว

ต้องคิดว่าเป็นเรื่องเล่นเกม ท้าทายตัวเอง
คือถ้าเราไม่ทำงาน วันนึงก็ผ่านไป
สมมติว่าผมไปเที่ยวสบายเลย
วันนึงก็ผ่านไป ปีนึงก็ผ่านไป 10 ปีก็ผ่านไป
แต่ถามว่าแล้วเราสนุกอะไรกับสิ่งที่เป็นความฝัน
เราไม่ได้อะไรเลย ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป
แต่เราทำงานก็ต้องคิดว่าสนุก ไปเที่ยวเหมือนกัน
อย่าคิดว่าเป็นภาระ เจออุปสรรคก็คิดว่าเป็นอาหาร 3 มื้อ
เป็นเรื่องธรรมดาของนักธุรกิจ

มีปัญหาไหม มี อย่างผมก็ผ่อนถ่ายให้กับผู้บริหารทั้งหลาย

อะไรที่เรากลุ้มใจก็ให้คนอื่นไปกลุ้มใจเสีย
ก็ฝึกฝนเขาด้วย แล้วเราค่อยให้การสนับสนุน ให้ข้อคิด 
ผมไปออฟฟิศนี่มีความสุข
เจอปัญหาก็ท้าทาย เราต้องเปลี่ยนแปลงโลก
แล้วโลกเปลี่ยนแปลงเร็ว ปัญหาทั้งคน ทั้งการลงทุน
อะไรต่ออะไร งานส่วนใหญ่มีคนเก่งๆ
ทำอยู่แล้ว อย่าง 3 ธุรกิจหลักในเมืองไทยก็มี CPF
เป็นเรื่องอาหาร นี่เป็นธุรกิจเก่าแก่
เรื่องค้าปลีก เรื่องทรู ทรูนี่กำลังจะมาแซงซีพีออลล์แล้ว
อาหารสมอง กินไม่อิ่มน่ะ เราก็มีคนรับผิดชอบอยู่ 3 คน
ส่วนจีนกับญี่ปุ่น ต่างประเทศ ก็มีคนดูแล
หลักใหญ่จริงๆ ก็มีคนดูแลแล้ว 
ส่วนผมก็ทำเรื่องใหม่ เรื่องใช้เงิน
คือการเปลี่ยนแปลงมีปัญหาแน่นอน
การเปลี่ยนแปลงต้องใช้เงิน
อย่างศูนย์ฝึกผู้ นำ เราต้องใช้เงิน
แล้วผมก็บอกเพื่อนร่วมงานทุกท่านว่า
ตรงนี้ให้คิดว่าเราลงทุนทำโรงงานที่ทันสมัยที่สุด
โรงงานผลิตของออกมามีค่า
แต่ศูนย์ผู้นำ ประเมินค่าไม่ได้ เราสร้างคนเก่งคนนึง
เขาจะสร้างธุรกิจให้เราอีกเป็นแสนล้าน
แต่ถ้าเราสร้างสินค้าออกมาก็จะมีราคาระบุว่า
นี่กิโลนึงราคาเท่าไหร่ ถ้าเราสร้างคนเก่ง ไม่มีมูลค่าที่เทียบ
ตรงนี้สำคัญที่สุด พ่อแม่เสียเงินส่งเสียให้คุณเรียนไปเท่าไหร่
กว่าจะเลี้ยงขึ้นมาจนโตอีก
แต่ธุรกิจโดยเฉพาะยุค 4.0
มันกำลังจะเปลี่ยนแปลงจากหน้ามือเป็นหลังมือ
บริษัทใหญ่ๆ ล้มละลายได้
ถ้าไม่เปลี่ยนแปลง เชื่อผม ธุรกิจเปลี่ยนแปลง
แล้วพวกสตาร์ทอัพก็จะมานั่งเป็นผู้ใหญ่ อย่าง อาลีบาบา
เปิดมา 18 ปี แซงบริษัทที่ 100 ปีแล้ว”
ปัญหามาคู่กับการเปลี่ยนแปลง
“ไม่มีอะไรที่ไม่มีปัญหา เชื่อผม นอกจากเราไม่ทำ

ถอดคมคิดธุรกิจและการใช้ชีวิตของ “เจ้าสัวธนินท์” สู่ “ความสำเร็จ ดีใจได้วันเดียว” หนังสือที่เจ้าสัวใช้เวลาเขียนถึง 8 ปี #3


1) https://teetwo.blogspot.com/2019/10/8.html
2) https://teetwo.blogspot.com/2019/10/8-2.html
4) https://teetwo.blogspot.com/2019/10/8-4.html
5) https://teetwo.blogspot.com/2019/10/8-5.html
6) https://teetwo.blogspot.com/2019/10/8-6.html
ถอดคมคิดธุรกิจและการใช้ชีวิตของ “เจ้าสัวธนินท์” สู่ “ความสำเร็จ ดีใจได้วันเดียว” หนังสือที่เจ้าสัวใช้เวลาเขียนถึง 8 ปี
10 ตุลาคม 2019 เขียนโดย Workpoint News




ถ้าตอนนั้นอันนี้ก็จะรักษาไว้ อันนู้นก็จะรักษาไว้
สุดท้ายล้มทั้งลำ ก็เหลือเฉพาะที่มีอนาคต
โดยเฉพาะที่พี่น้องสร้างเอาไว้
ยังไม่ทันขายเซเว่น ขายแค่แมคโคร, โลตัส เราก็ผ่านวิกฤติแล้ว” วิกฤติและโอกาสเป็นของคู่กัน:
ตอนมีอย่าเหลิง ตอนเจออย่าท้อ และอย่าตาย
เจ้าสัวธนินท์เป็นคนที่ชอบศึกษา และ “วิกฤติ”
ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่เจ้าสัวศึกษาและได้บทเรียน 
“ความจริงวิกฤติเป็นโอกาสเหมือนกันนะ
ลองไปศึกษาให้ดีๆ ผมชอบศึกษาและเป็นบทเรียนของเราด้วย
อยากเตือนทุกท่าน ตอนที่ดีที่สุด
ตอนที่เรารุ่งเรืองที่สุดเราต้องคิดตลอดเวลาแล้วว่า
ถ้าเกิดมันมืดลงมาล่ะ เกิดวิกฤติมา เรารับไหวไหม
เราต้องทำการบ้านแล้วนะ อย่าเหลิง
แต่ตอนที่วิกฤติแล้วมืดที่สุด อย่าท้อใจ แสงสว่างจะมาแล้ว
ตอนวิกฤติ ตอนกำลังแย่ๆ นี่ อย่าตาย
ถ้าตายไปก็เอาคืนไม่ได้ หมดโอกาส
วิกฤติตามมาด้วยโอกาส โอกาสก็จะตามมาด้วยวิกฤติ อันนี้คู่กัน
เมื่อผ่านวิกฤติได้ต้องคิดแล้วว่า
หลังจากวิกฤติแล้วมีโอกาสอะไร เราต้องเตรียม”
คำนึงถึงพี่น้องและพนักงาน: ขายแล้วต้องขยายด้วย
แม้อยู่ในช่วงประสบวิกฤติเศรษฐกิจ
แต่เจ้าสัวก็ไม่ละเลยความรู้สึกของพี่น้องและพนักงาน
โดยให้พี่น้องอีก 3 คน ไปเที่ยวพักผ่อนให้สบายใจ
เพื่อจะได้เป็นคนที่ปวดหัวคนเดียวพอ
ซึ่งจะทำให้มีเวลาคิดแก้ไขปัญหา
และแม้ปัญหาจะถาโถม ก็ยังเลือกมองไปข้างหน้า
นอกจากขายบางอย่างเพื่อรักษาส่วนสำคัญให้รอดแล้ว
เจ้าสัวมองว่ายังต้องขยายด้วย
“เรื่องวิกฤติมีความน่าสนใจ
1. เรื่องพี่น้อง ถ้าเราไม่เครียดไม่ต้องมานั่งรับโทรศัพท์พวกเขา
เราจะมีเวลานั่งคิดแก้ปัญหา
2. เวลาเรืออับปาง ต้องโยนบางอย่างทิ้ง
3. แค่รักษาเฉยๆ ไม่ได้ ต้องขยายด้วย เพื่อหาเงินอื่นๆ เสริมมา
และเป็นเรื่องขวัญกำลังใจพนักงาน
อนาคตเราต้องขยายอีก ขยายธุรกิจที่เราเห็นว่าดี
ถ้าเราไม่ขยาย ก็กินของเก่าเท่านั้นก็ไม่ได้
โลกมันเปลี่ยนแปลง
ถ้าตอนนั้นใครมีเงินขยายก็จะได้เปรียบที่สุด
เพราะของถูกที่สุด” สนับสนุนคนเก่ง และสร้าง “ผู้นำ” ที่ดี
ซีพีเป็นองค์กรใหญ่มาก ทั่วโลกมีพนักงาน 3 แสนกว่าคน
สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจคือการพัฒนาบุคลากร
โดยเฉพาะผู้นำ ซึ่งเจ้าสัวธนินท์ให้ความสำคัญกับการสร้าง
“ผู้นำ” เป็นอย่างมาก
และมอบเวลาส่วนใหญ่ให้กับสถาบันฝึกผู้นำของซีพีที่เขาใหญ่
โดยให้เด็กจบใหม่ฝึกปฏิบัติงานจริง
ด้วยการตั้งงบประมาณ 1 แสนบาท
ให้เด็กทำธุรกิจอะไรก็ได้ ขาดทุนไม่เป็นไร
ขอเพียงกล้าทำ โดยไม่มีอะไรครอบงำ
ให้เด็กนำเสนอเส้นทางที่จะพาธุรกิจไปสู่ความสำเร็จ
แล้วเจ้าสัวจะตั้งคำถามถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้น
ฝึกให้เด็กคิดแก้ไขปัญหา ต้องกล้าเอาปัญหามาพูด
ที่สำคัญคือต้องรู้กำไรขาดทุนทุกวัน
โดยเจ้าสัวจะเป็นคนคอยชี้แนะ แต่ไม่ชี้นำ
“ดีที่สุดในการพัฒนาคนคือต้องให้เขาลงมือทำ
ต้องให้อำนาจ แล้วเขาจะสนุก ต้องให้เขาคิดเอง ทำเอง
เราเพียงแต่ให้ข้อเสนอแนะ อย่าไปชี้นำ ทำผิดก็ถือเป็นค่าเล่าเรียน ให้เขารู้ว่าอันนี้เขาทำเสียหายไปแล้ว เขาผิดพลาดแล้ว
ก็ให้โอกาสทำต่อ การสนับสนุนคนเก่ง
ต้องให้อำนาจเป็นอันดับ 1 เพื่อให้เขาแสดงความสามารถ
อย่าไปกำกับ อย่าไปครอบงำเขา อย่าไปชี้นำ
ชี้แนะได้แล้วให้เขาทำ ให้เขาแสดงความสามารถ
และให้เกียรติ
ต้องมีตำแหน่ง ตามด้วย เงิน ทำงานมาก
เงินก็ต้องมากพอสมควร ผู้นำนี่สำคัญมาก
ต้องเอาผลประโยชน์ตัวเองอยู่เป็นที่ 3
ผลประโยชน์ที่ 1 ต้องเป็นบริษัท

เพราะบริษัทไม่มีวิญญาณตัวผู้นำต้องใส่วิญญาณให้บริษัท

ถ้าเขาเห็นแก่ตัว บริษัทล้มละลายแน่
ต้องเห็นแก่บริษัทก่อน แล้วก็พนักงาน
เพื่อนร่วมงาน จะเป็นผู้นำได้
ตัวเองต้องอยู่ที่ร้อนได้ แม้จะเป็นธุรกิจตัวเอง
คุณก็ต้องทำทุกอย่างเพื่อบริษัทที่ตั้งขึ้นมา
แล้วก็เพื่อพนักงาน พนักงานต้องมาก่อนคุณ
เพราะถ้าไม่มีเพื่อนร่วมงานช่วยทำ
คุณคนเดียวจะสำเร็จได้ยังไง” เคารพคนเก่งด้วยความจริงใจ
มองจุดเด่น อย่ามองจุดอ่อน
วิธีเรียนลัดของเจ้าสัวธนินท์คือการไปพบคนเก่ง
เพื่อให้คนเก่งเป็นอาจารย์ โดยไม่ต้องมองเรื่องอายุ
หรือจุดด้อย จุดอ่อน ให้มองที่จุดเด่น
และเคารพนับถือเขาด้วยความจริงใจ
“เราต้องยอมรับของใหม่ๆ ผมไม่ได้ดูถูกคนที่จบใหม่เลย
ที่ผมสร้างอยู่นี่ (สถาบันฝึกผู้นำ) รับรองปีนึงเขาเป็นผู้จัดการได้ เผลอๆ เก่งกว่าผู้จัดการอีก เพราะทำจริง
ไปสัมผัสจริง เราเพียงแต่ชี้แนะ
แล้วคนเก่งในโลกนี้โผล่ขึ้นมาเรื่อย
เราเรียนลัดที่สุดคือไปคุยกับเขา
ไปยอมให้เขาเป็นอาจารย์ อย่างผมพอมีชื่อเสียง
ถ้าผมยอมไปเคารพเขา ผมว่าคนเก่งในโลกนี้
ไม่มีใครปฏิเสธคนที่มาเรียนรู้กับเขา มาเคารพเขา
มีความจริงใจกับเขา ยกย่องเขา ผมชอบยกย่องคนอื่น
คนเก่งอยู่ที่ไหน ผมไม่เคยไปมองความด้อยเขาเลย
ถ้าจะดูความด้อย ทุกคนก็มีจุดอ่อน พนักงานก็เหมือนกัน
เพื่อนร่วมงานก็เหมือนกัน
ผมต้องมองว่าความเก่งเขาอยู่ตรงไหน
หาจุดเด่นของเขาให้เจอ
แล้วเราก็จะเคารพนับถือเขาด้วยความจริงใจ
ถ้าเราไปมองจุดอ่อนเขา คุยกับเขาแล้วบางทีก็ดูถูกเขาแล้วล่ะ
แต่ความจริงเขามีจุดแข็งกว่าเราเยอะบางอย่าง
ฉะนั้น ผมจึงชอบเรียนรู้ ทุกวันนี้ผมก็ยังเรียนรู้
แล้ววันนี้ผมมีข้อดีอยู่ว่า ผมเคารพนับถือคนหนุ่มสาว
เด็กเพิ่งจบ เพราะผมรู้ว่าเด็กทุกคนเก่ง แล้วผมก็คัด
บริษัทก็คัดหัวหน้านักเรียน พวกทำกิจกรรมมา
แล้วก็ให้โอกาสเขา ให้เป็นเถ้าแก่น้อย เลย
ทำไมให้เป็นเถ้าแก่ เพราะผมก็เคยทำเถ้าแก่เล็ก
ทุกอย่างต้องรู้หมด ต้องรู้เรื่องบัญชี
การเงิน รู้จักจัดซื้อ รู้จักขาย เพราะเรายังเล็ก
ไปจ้างคนเก่งๆ เขาก็ไม่มา
ถ้าไปจ้างคนไม่เก่งก็สู้เราไม่ได้
ฉะนั้น คำว่า “เถ้าแก่” ต้องรู้ทุกเรื่อง
แต่พอธุรกิจใหญ่ขึ้น เราก็ต้องหาผู้เชี่ยวชาญ
ชำนาญเรื่องนี้โดยเฉพาะ เราก็จ้างเขาไหว
เขาก็อยากจะมา ดีทั้งคู่ ตอนที่เรายังเล็กอยู่
คนเก่งเราก็จ้างเขาไม่ไหว
มันก็เล็กเกินไปสำหรับความสามารถเขา
ดังนั้น ผมตั้งเป็นเถ้าแก่น้อย
พอ 6 เดือนขึ้นมาเป็นเถ้าแก่เล็กแล้ว
ปีนึงเป็นเถ้าแก่กลางได้แล้ว ถ้ามีผลงาน”