Custom Search

Apr 27, 2010

ชิงแชมป์เจ้าภาพ World Expo 2020 ”ก้าวที่กล้า” อีกขั้นของคนไทย


ปัจจุบันขีดความสามารถ
การแข่งขันของประเทศไทยอยู่ในอันดับ ที่ 26 ของโลก
ซึ่งเป็นรองจากประเทศอื่น ๆ ในเอเชียอย่างประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์
ดังนั้น ประเทศไทยจึงจำเป็นต้องเสริมขีดความสามารถ
ในการแข่งขันให้กับทุกภาคส่วนด้วย
การเสริมสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ลงทุน
ในด้านการพัฒนาทักษะแรงงาน
และอุปสรรค กฎหมาย ระเบียบจากภาครัฐ
รวมถึงการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องความท้าทาย
ด้านการพัฒนาเศ
รษฐกิจและประชากรไปสู่การเป็น
Creative Knowledge Economy เสริมสร้าง
ความมั่นใจให้แก่ผู้ลงทุนให้แก่ผู้ลงทุน
ในด้านการพัฒนาทักษะแรงงาน และอุปสรรค
กฎหมาย ระเบียบจากภาครัฐ

นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาจากอันดับของไทยเปรียบเทียบ
กับประเทศต่าง ๆ ในอาเซียน พบว่า สิงคโปร์ ฮ่องกง
และโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศคู่แข่งของไทย เช่น
มาเลเซีย ดีกว่าไทยในทุก ๆ ด้าน
ถึงแม้มาเลเซียจะมีอันดับดีกว่าไทยในทุกด้าน
แต่ก็ยังอยู่ในระดับที่ไม่ห่างกันมากนัก
โดยเฉพาะด้าน Government Efficiency และ
Economic Performance
ดังนั้น การให้ความสำคัญกับเกณฑ์ชี้วัดในกลุ่มทั้งสองให้มาก
น่าจะทำให้ความสามารถในการแข่งขันของไทย
ขยับเข้าใกล้มาเลเซียได้ในเวลาอันใกล้


จากรายงาน การศึกษ
า World Expo
จากข้อมูลทุติยภูมิ ของบริษัท เดอะนีลเส็น คอมปะนี (ประเทศไทย) จำกัด
พบว่า การจัดงาน World Expo ก่อให้เกิดประโยชน์
ในเชิงเศรษฐกิจหลายประการ ที่เห็นได้โดยตรงก็คือ
การเพิ่มขึ้นด้านรายได้ของประเทศเจ้าภาพ
แนวโน้มการเพิ่มขึ้นของตัวเลขจำนวนนักท่องเที่ยว
และจากประเทศที่เข้าร่วมงาน World Expo
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513-2553 พบว่า
จำนวนผู้เข้าชมงาน World Expo
มากกว่า 10 ล้านคนมีปริมาณมากกว่างาน World Event อื่น
เช่น โอลิมปิก (น้อยกว่า 10 ล้านคน)
ส่งผลให้เกิดการกระ
ตุ้นการใช้จ่ายและช่วยเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยว
การจัดงาน World Expo ส่วนใหญ่ในช่วงหลัง
จะมีผลการดำเนินงานเป็นบวก
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP)
ของเมืองที่เป็นเจ้าภาพส่วนใหญ่
มีอัตราการเติบโตที่สูงขึ้นในช่วงปีก่อนการ
จัดงาน World Expo จะมีส่วนเอื้อต่อ
การเติบโตทางเศรษฐกิจของเมืองที่
จัดงาน มีแนวโน้มการเติบโตขึ้นของ
Inward FDI ในประเทศที่จัดงาน World Expo
มีรายได้จากการลงทุนจากประเทศต่าง ๆ
ในการปลูกสร้าง Pavillion
ในงานโดยกระจายไปยังอุตสาหกรรมการก่อสร้าง
การบริการ การคมนาคม ภาครัฐและการสื่อสาร
เป็นหลักและทำให้เกิดรายได้หมุนเวียนในประเทศ
ที่สำคัญยังช่วยลดอัตราก
ารว่างงาน
การว่างงานในเมืองที่จัด World Expo
ส่วนมากมีอัตราลดลงในช่วงก่อนปีที่จัดงาน
โดยในส่วนของเมือง ปักกิ่ง/เซี่ยงไฮ้ พบว่า
การจัดงาน World Expo
ช่วยให้เกิดการสร้างงานจำนวน 600,000 อัตราเลยทีเดียว


นอกจากนี้ การจัดงาน World Expo
ยังเสริมสร้างการเรียนรู้ของประชากร
โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เรียนรู้และมีประสบการณ์ต่าง ๆ
เช่น ศิลปวัฒนธรรม เทคโนโลยีจากประเทศอื่น ๆ
รวมทั้งช่วยกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์
อีกทั้งยังเป็นช่องทางการโฆษณา
ประชาสัมพันธ์ประเทศเจ้าภาพด้วย 73% ของประเทศ
ที่เข้าร่วม มีจุดประสงค์เพื่อทำ Nation branding ประเทศ
รวมทั้งประเทศผู้จัด ซึ่งเปิดโอกาสให้ประเทศเจ้าภาพ
ได้ประชาสัมพันธ์ประเทศในเชิงการท่องเที่ยว
ศักยภาพในทางการค้า ก
ารลงทุนและอื่นๆที่สำคัญ
World Expo ยังเป็นเครื่องมือ
ในการประสานความร่วมมือระหว่างประเทศ
เนื่องจากมีประเทศเข้าร่วมมากกว่า 100 ประเทศในรอบ 20 ปี
และดึงดูดผู้เข้าร่วมงานจำนวนมากและช่วยส่งเสริมการเรียนรู้
แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างประเทศ
และผลพลอยได้จากการใช้ประโยชน์จากสิ่งก่อสร้างหลังงาน คือ
โครงสร้างการคมนาคม หอประชุม
เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้ประเทศเจ้าภาพ
ในการเป็น MICE Destination


อ่านราย ละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นิตยสาร Logistics Time ฉบับที่ 68 เดือนมีนาคม 2553

สสปน.ตีปี๊บลุ้นเวิลด์ เอ็กซ์โป 2020






อรรคพล สรสุชาติ

ภาพ/เรื่อง: ไทยรัฐ

ชี้ความร่วมมือ ระหว่างภาครัฐและเอกชนต่อการเสนอตัว
เป็นเจ้าภาพเวิลด์เอ็กซ์โป 2020 ในครั้งนี้
ถือเป็นนิมิตหมายที่ดีของประเทศไทย...


นาย อรรคพล สรสุชาติ
ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริม
การจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ สสปน.
เปิดเผยถึงการจัดงานสัมมนา "โอเพ่นเดย์"
ภายใต้แนวคิด Thailand for World Expo 2020
เมื่อวันที่ 22 ก.พ.ที่ผ่านมาว่า ได้รับการตอบรับอย่างมาก
โดยมีผู้แทนองค์กรภาครัฐและเอกชนเข้าร่วมกว่า 400 คน
ที่ต่างให้ความสำคัญในการร่วมแสดงความคิดเห็น
และพร้อมศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม
ในแต่ละภาคส่วนบนพื้นฐานควา เป็นไปได้
และสอดคล้องกับแผนแม่บทในการพัฒนาประเทศ
ซึ่งผลศึกษาที่ได้นั้น ประเทศไทยมีศักยภาพสูงและมีความพร้อมเต็มกำลัง
แต่รัฐบาลต้องให้การสนับสนุนเต็มที่

การสัมมนาในครั้งนี้ทั้งภาค รัฐและเอกชน
ได้รับทราบข้อมูลที่ประเทศไทย
จะได้รับจากการเป็นเจ้าภาพงาน "เวิลด์ เอ็กซ์โป 2020"
ทั้งข้อมูลจากผลการศึกษาการจัดงานในอดีต
รวมถึงการเก็บข้อมูลจากการจัดงานเวิลด์เอ็กซ์โปที่เซี่ยงไฮ้
สาธารณรัฐประชาชนจีนและเมืองไอจิ ประเทศญี่ปุ่น
ในช่วงที่ ผ่านมา ซึ่งข้อมูลเบื้องต้นที่ได้
ระบุชัดเจนว่าตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี)
ของประเทศที่ได้เป็นเจ้าภาพส่วนใหญ่ จะ มีอัตราการเติบโตที่สูงขึ้น
ทั้งในช่วงก่อนการจัดงาน รวมทั้งจะมีการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ
การจ้างงาน และการกระจายรายได้

นายอนุศักดิ์ อินทรภูวิศักดิ์ ประธานบอร์ด สสปน. กล่าวว่า
ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน
ต่อการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพเวิลด์เอ็กซ์โป 2020 ในครั้งนี้
ถือเป็นนิมิตหมายที่ดีของประเทศไทย
แม้ในกรณีเลวร้ายสุดที่แม้ไทยจะไม่ได้รับคัดเลือก
แต่ก็จะทำให้ชื่อเสียงของประเทศไทยได้รับการกล่าวขาน
ถึงในฐานะประเทศที่มีความพร้อม
ในการเสนอตัวเข้าเป็นเจ้าภาพจัดงานดังกล่าว.
ไปยังอุตสาหกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง
ตลอดช่วงกว่า 6 เดือนของการจัดงาน












อยู่อย่างหมอประเวศ



ที่มา : โดย คนข่าวอิสระ หน้ากระแสทรรศน
หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน
ฉบับวันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๕


ครั้งหนึ่ง ในรายการโทรทัศน์ มีผู้สัมภาษณ์
ศาสตราจารย์ นายแพทย์ประเวศ วะสี
ด้วยคำถามประโยคหนึ่งว่า คุณหมอ เป็นหมอแล้วไม่มีคลินิก
คุณหมอไม่จนแย่หรือ?


หมอประเวศ ที่ผู้เขียนกำลังจะเล่าเบื้องหลังชีวิตของท่านผู้นี้
ตอบทันทีทันใดว่า ผมรวยมาก รวยความสุขไงล่ะ


สั้น/และจับใจยิ่งนักที่ได้รับฟังจากศาสตราจารย์ผู้จบแพทย์เกียรตินิยม
นักเรียนทุนส่วนพระองค์ไปเรียนต่อต่างประเทศ
ต่อด้านทุนอานันทมหิดล จนจบปริญญาเอก
แล้วกลับมารับราชการ จนได้รับเหรียญดุษฎีมาลาศิลปะวิทยา เป็นศาสตราจารย์
ได้รับรางวัล แม็กไซไซ สาขาการบริหารราชการ
เหรียญรางวัลโคมิเนียสจาก ยูเนสโก
ในฐานะนักการศึกษาดีเด่น
นักเขียนบทความวิชาการแพทย์ การศึกษา
การให้ความเห็นในด้านสังคม การเมือง และอื่นๆ มากมาย


นักการเมืองฉ้อฉล และนักการเมืองที่เข้ามาเพื่อเล่นการเมือง
หรือนักธุรกิจการเมือง อาจจะไม่ชอบหน้านัก
บ้างเจ็บๆ คันๆ เมื่อท่านผู้นี้แสดงความคิดเห็นอะไรออกมาสู่สังคมแต่ละครั้ง


แต่เนื้อแท้ในฐานะที่มาจากครอบครัวชั้นกลางจังหวัดกาญจนบุรี
เรียนโรงเรียนประถมศึกษาธรรมดาๆ
จนเข้าเรียนแพทย์ได้ด้วยความวิริยะอุตสาหะนั้น
ไม่ธรรมดานักสำหรับบุคคลธรรมดาสามัญ
จากผู้ที่เคยร่วมทำงานและรับรู้ถึงแนวคิดมานานพอสมควรยอมรับว่า นี้คือ
ทรัพยากรมนุษย์ ในจำนวนไม่กี่คนที่มีอยู่ในสังคมไทยยุคปัจจุบัน


ตลอดระยะเวลากว่า 20 ปี ที่ทำงานร่วมกับ หมอประเวศ
ตามที่ผู้เขียนเรียกมาตลอด เมื่อก่อตั้ง มูลนิธิเด็ก ขึ้น
โดยมี ศ.น.พ.เสม พริ้งพวงแก้ว
เป็นประธานมูลนิธินั้นสถานที่ตั้งของมูลนิธิก็ยังไม่มีเป็นหลักแหล่ง
ต้องอาศัยประชุมที่ตึก อนันตราช
ซึ่งเป็นห้องทำงานของหมอประเวศ
ในฐานะอาจารย์คณะแพทยศาสตร์ศิริราช
ไม่มีเฟอร์นิเจอร์ตบแต่งโอ่อ่าแต่อย่างไร
และทุกครั้งหมอประเวศจะนั่งฟังความคิดเห็นของบรรดากรรมการฝ่ายต่างๆ
ที่รายงานเข้ามาด้วยความสงบ
เมื่อจบลงแล้ว
นั่นเองจะถึงบทสรุปด้วยถ้อยคำนิ่มนวลตะล่อมเข้าหา
ทั้งสองฝ่ายเพื่อให้เกิดมติขึ้นมา
ไม่ว่าฝ่ายเห็นด้วยหรือไม่ก็ต้องยอมรับ


เพราะความเชื่อมั่นใจทางสันติ ขันติธรรม
คุณธรรมที่หายากในหมู่ผู้นำ


ความจริงก็ปรากฏหลายครั้ง
แม้จะไม่ออกมาจากปากของหมอประเวศเองว่า
การปลีกตัวออกไปสู่ความวิเวก(โดยเฉพาะไม่ใช่ปัญหาส่วนตัว)
หลวงพ่อเทียนเป็นอาจารย์ที่หมอประเวศ
ให้ความนับถือในทางส่งผลให้จิตใจสงบ
เคยเล่าถึงวัตรปฏิบัติของหลวงพ่อท่านนั้น
ให้ผู้ใกล้ชิดฟังและอีกท่านหนึ่งที่หมอประเวศนับถือยิ่งคือ
พุทธทาสภิกขุ ท่านผู้นี้นอกจากได้เรียนรู้ถึง
แก่นแท้ของศาสนา ที่นำมาประยุกต์ใช้แล้ว
ในวันที่ท่านพุทธทาสป่วยหนัก
หมอประเวศเฝ้าไข้ในฐานะแพทย์
จนวาระสุดท้ายที่นำร่างของท่านพุทธทาสกลับสวนโมกข์


จะเห็นว่า การเรียนรู้ถึง แก่นพุทธศาสนา
ได้ออกมาจากแนวคิดที่ว่า
ท่านพุทธทาสบอกเราเรียนรู้จากทุกอย่าง
รวมทั้งจากความเจ็บป่วยต้องทำให้เราฉลาดขึ้น
และเป็นคนดีขึ้น ถ้าเรียนรู้อะไรแล้วเห็นแก่ตัวมากขึ้น
ก็เหมือนกับเราโง่ลง
ถ้าฉลาดขึ้นต้องเป็นคนดีขึ้นคือเห็นแก่ตัวน้อยลง...
(จากเส้นทางชีวิตภายใน)


เห็นไหม ถ้อยคำเหล่านี้ไม่ใช่หลักศาสนาอย่างเดียว
หากนำมาเป็นปรัชญาของชีวิตได้ทุกคน
ไม่เว้นผู้บริหารประเทศ นักการเมือง ข้าราชการ
หรือสามัญชนคนเดินถนน


ถ้าถามถึงหลักขันธ์ 5 ซึ่งเป็นเรื่องหนักหนาของทุกคน
หมอประเวศก็ตอบง่ายๆ อย่างที่ใครๆ ก็เข้าใจ
คิดไปในอดีตกับคิดไปในอนาคต แต่ไม่รู้ปัจจุบัน เช่น
ขณะหายใจเข้าหายใจออก แต่ไม่รู้เพราะอยู่ในความคิดเป็นประจำ
มีความคิดเป็นที่อาศัยของจิต
ใช้คำว่า จินตาลัย จินแปลว่าคิด
อาลัยแปลว่าอาศัยอยู่


โดยเฉพาะที่ผู้เขียนเรียนรู้จากการสัมผัสมานานวันก็คือ
วัตรปฏิบัติ ของหมอประเวศเองแม้ใครจะมองอย่างไร
ใครจะพูดส่อเสียด คำเดียวไม่เคยตอบโต้ แรงที่สุดก็คือ
ขาดวจีสุจริต ซึ่งความหมายก็บ่งแล้วว่า
นั่นเป็นการตอบโต้ที่ผู้ฟังต้องสะอึก


ครั้งหนึ่ง เคยนั่งรถโดยหมอประเวศขับเอง
รถเฟียตหรือมอริสเก่าๆ อะไรนี่นานหลายปีแล้ว
ควบปุเลงๆ ไปตามถนนราชดำเนิน
ลองหลับตาคิดดูว่าระหว่างศาสตราจารย์
ที่มีผู้นับหน้าถือตาทั่วเมือง
ไม่นับลูกศิษย์ลูกหาแพทย์รุ่นแล้วรุ่นเล่า
ยังขับรถเก่าๆ ไปและกลับบ้านเอง


เวลานี้เลิกขับแล้วหลังเกษียณอายุ
แต่ยังไปนั่งทำงานสอนพิเศษที่ศิริราช
ใครจะตามไปพูดคุยที่ไหนหรือไปประชุม
ก็เอารถแวนนั่นแหละไปรับ นี้ก็คือบุคลิกที่เขาบอกว่า


ชีวิตนี้มันร่ำรวยจัง เงินไม่มีก็ร่ำรวยความสุข
เห็นใบไม้เห็นหยดน้ำ มันกลายเป็นความงาม
เป็นความสุขไปหมด
แหม! มันเรียกว่ากำไรจริงๆ
และร่ำรวยมาก และอยากให้คนอื่นได้เจอ


ฟังดูเป็นปรัชญาชีวิตที่ใครๆ ปฏิบัติได้หรือไม่
แต่เขาเองก็ปฏิบัต ิมันได้ ไม่ว่ารุ่นเด็กๆ
ในมูลนิธิเด็กหรือองค์กรอื่นที่หมอประเวศ
เข้าไปช่วยเหลือก่อตั้งมากมายนับสิบๆ แห่ง
ไม่เคยกลัวหมอประเวศ แต่ยำเกรง เคารพ บูชา
และยกย่องทั้งต่อหน้าและลับหลัง
ผ่านหน้าเจ้าหน้าที่ใบหน้ายิ้มรับความเคารพนบนอบ
จากเจ้าหน้าที่เหล่านั้น ถามไถ่สารทุกข์สุกดิบ
เอื้ออาทรต่อปัญหาไม่ว่าจะเป็นเรื่องส่วนรวมหรือส่วนตัว
หมอประเวศไม่เคยทิ้งความเป็น
สามัญชนลูกชายชาวบ้านคนหนึ่งแม้ในวัยสูงอายุแล้ว

เสื้อแขนยาวพร้อมกับเสื้อวอร์มจะมีอยู่เป็นประจำตัว
พร้อมกับสมุดเล่มเล็กๆ
ในกระเป๋าเสื้อสำหรับจดนัดหมายงานมากมายไม่ว่า
ใครจะขอไปปาฐกถาหาความรู้ ความคิด
หรือบางครั้งจะเห็นชายสูงอายุผู้นี้
เอาผ้าขาวม้าคาดพุงนั่งจิ้มข้าวกับชาวบ้านในชนบท
นั่นคือศาสตราจารย์นายแพทย์ประเวศ วะสี เขาละ


การเรียนรู้จากชาวบ้านคืองานประจำ ไม่ว่าภาคใต้ ภาคอีสาน
ภาคเหนือเขาไปมาทั่ว ดังนั้น
แต่ละครั้งที่หมอประเวศพูดเตือนอะไรออกมา
ก็คือเสียงสะท้อนจากชาวบ้านที่เขาไปรับฟัง


คีรีวง ดินแดนที่ใครต่อใครสมัยนี้รู้จัก
หมอประเวศไปมากว่าสิบปีแล้ว
และเป็นคนแรกที่เรียกขานหมู่บ้านที่รู้จักน้อย
ก่อนเกิดอุทกภัยถล่มนครศรีธรรมราชปี 2531 ว่า
สวรรค์บนดิน เพราะที่นั่นเป็นแหล่งของ คนดีมีศีลธรรม


เมื่อผู้นำชาวบ้าน คีรีวง คือ นายตรีวุธ พาระพัฒน์
ถึงแก่กรรมระหว่างมาประชุม หมอเวศนี่แหละที่เขียนสดุดีสามัญชน
คนดีศรีสังคม คนแรกของโครงการ คนดีศรีสังคม
ซึ่งทำมาติดต่อกัน 12 ปีแล้ว และแผ่พืชพันธุ์ไปทั่วประเทศ
จนเกิด สภาภูมิปัญญาไทย ขึ้นมาเมื่อ 2 ปีที่แล้ว
และปีนี้เอง เขาเป็นคนจุดประกายเรื่อง วิสาหกิจชุมชน
ที่จะกลายเป็นกฎหมายรองรับในไม่ช้า
หากรัฐบาลไม่เมินเฉยเสีย


เพื่อให้ชุมชนช่วยตัวเองได้ด้วยตัวของตัวเอง
นี่คือเป้าหมายของวิสาหกิจชุมชน

การจุดประกาย คนดีศรีสังคม
เป็นส่วนหนึ่งของการบรรยายปาฐกถาให้ชุมชนพึ่งตนเองขึ้นมาได้
ใช้เวลา 12 ปี สร้างคนดีขึ้นมา
และมีผู้หลักผู้ใหญ่เข้ามาร่วมไม่ว่าจะ
เป็น ศ.น.พ.เสม พริ้งพวงแก้ว ศ.รพี สาคริก
ศ.ดร.น.พ.กระแสร์ ชนะวงศ์
ก่อนเข้ามาเล่นการเมืองเสียอีก
ศ.ดร.เอกวิทย์ ณ ถลาง ดร.เสรี พงษ์พิศ
คุณโสภณ สุภาพงษ์ ฯลฯ เป็นต้น
เป็นการระดมคนดีเข้ามาร่วมกันทำงานโดยไม่หวังอะไรแม้แต่น้อย


ถ้าหากใครจะถามหมอประเวศว่า เกลียดอะไรมากที่สุด
ก็จะได้คำตอบจากหมอประเวศว่า

ผมเกลียดคน 2 ประเภท ฝังใจเลย
คือเกลียดคนขี้โกง กับเกลียดคนขี้เกียจ

หมอประเวศเปิดใจ ในรายการโทรทัศน์
รายการหนึ่งด้วยถ้อยคำเตือนใจผู้คนทั่วไปว่า

ถ้าคนเรามีจิตสำนึกใหม่ เป็นจิตสำนึกใหญ่
ที่เห็นความเป็นหนึ่งเดียวทั้งหมด
จิตใจผู้คนจะเปลี่ยน อันนี้เรียกว่า ปัญญา

นี่แหละครับที่เรา รุ่นเด็กรุ่นใหญ่เรียกศาสตราจารย์ผู้นี้
โดยไม่ขัดเขินว่า อาจารย์หมอประเวศ
โดยมิได้เป็นลูกศิษย์ ลูกหานักเรียนแพทย์ที่ท่านสอนรุ่นไหนเลย...


ชื่อหนังสือ : ชีวิตงาม...หมอประเวศ
หมวด : บุคคล
ผู้แต่ง : ประเวศ วะสี , ศ.น.พ.
จัด พิมพ์โดย : สนพ.มติชน
0 กระดาษปอนด์ขาว
ปกอ่อน
จำนวน หน้า : 256 หน้า
ขนาดหนังสือ : 14.6 cm. x 25 cm.
ISBN : 974-322-462-9



นายแพทย์ประเวศ วะสี นักคิดและนักปฏิบัติ
ผู้ที่เปรียบเสมือนอะตอมนิวตรอนอิสระ
ที่เคลื่อนไหวอยู่ท่ามกลางสังคมที่เป็นโปรตรอนและอิเล็กตรอน
ที่คอยแต่จะมุ่งเข้าหากันเกาะกุมซึ่งกันและกัน
หมอประเวศนั้นปราศจาการเกาะเกี่ยวจากผลประโยชน์ใดๆ
จึงทำงานได้เต็มที่และเต็มกำลัง หากจะกล่าวว่า
"หมอประเวศคือมันสมองของสังคมไทย"
เห็นจะพูดได้อย่างเต็มปากเต็มคำ และเต็มใจ

รายละเอียด

ความใฝ่ ฝันของหมอประเวศ คือค้นหา
มรรคผล
วิธีที่จะพาสังคมออกจาก
วัฏฏะ หรือ วังวนวิกฤต
โดยสรุปบทเรียน
เป็นจริง
ของการเคลื่อนไหวของสังคมของทั้งในและต่างประเทศ
ทั้งในแง่มุมของวิทยาศาสตร์การแพทย์ การสาธารณสุข
ทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม วัฒนธรรม และทางด้านปัญญา

"พุทธปัญญา" คือสิ่งล่ำเลิศที่หมอประเวศค้นพบว่า
สามารถนำมาติดอาวุธยอดความรู้รวมทั้งปวงของมนุษยชาติ
สำหรับแสวงหาทางออกจากวิกฤตที่ไม่เพียงแต่ประเทศไทยเท่านั้น
แต่ยังรวมถึงมนุษย์ทั้งโลกด้วย

ด้วย
"จิตเมตตา" และวิธีคิดตามหลัก "อิทัปปัจจยตา"
ทำให้หมอประเวศสามารถเชื่อยงโยงความรู้ความเข้าใจ
ที่มีอยู่อย่างกว้างขวางและลึกซึ้ง ทั้งที่มาจากการศึกษาวิจัย
จากประสบการณ์จริงของการปฎิบัติและการลงลึกถึง
"ภูมิปัญญาชาวบ้าน" ในระดับ "รากฐาน" ของสังคมที่สั่งสมต่อเนื่องมา
นานในรูปของวิถีชีวิตวัฒนธรรม รวมทั้งได้จากการเรียนการสอน

ด้วยกระบวนการวิเคราะห์และสังเคราะห์ในระดับ
"บูรณาการ"
ยังผลให้หมอประเวศ "เห็น" ภาพรวมของสังคม
ไทยและสังคมโลกที่เป็นจริง "เห็น" ความเป็น
ทั้งหมดของสิ่งจากนี้นำไปสู่การ
"ผุดบังเกิด" (Emerge) "จิตใหญ่" แผ่ไพศาล

หมอประเวศกลายเป็น
"แบบอย่าง" ของการทำดี
ทำประโยชน์ไม่ใช่เพื่อ
"ตน" เป็น "ขุมกำลังใจ"
ของคนที่มุ่งดีที่ตระหนักในคุณค่าของชีวิต

ผลงานด้านต่างๆที่ผ่านมาตลอดชีวิตความเป็นหมอประเวศนั้น
คงจะพอเป็นข้อพิสูจน์ให้เห็นชัดเจนอยู่ทั่วกัน
ถึงความงามของชีวิต ที่เบ่งบานและออกดอกผล
เติมเต็มและประดับให้สังคมไทยงดงามยิ่งขึ้น

ปัจจุบันหมอประเวศและกลุ่ม
"กัลยาณมิตร" ทุกระดับกำลังร่วมกัน
ถักทอสายใยแห่งปัญญาและความสุขอย่างขะมักเขม้นไปทั่วทุก
อณูของแผ่นดิน


สารบัญ
คำนำสำนักพิมพ์ ๑๐
คำนำสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ๑๑
คำนำผู้เขียน ๑๓
บทนำ ๑๗
ภาค ๑ ชีวิตบ้านป่า
‘ เกิดที่เมืองกาญจน์ ๒๓
‘ ความเป็นมาของครอบครัว "วะสี" ๒๔
‘ ชีวิตช่วงก่อนวัยเรียน ๒๖
‘ เริ่มการเรียนเขียนและอ่าน ๒๘
‘ ชีวิตในกองผสมสัตว์ ๓๐
‘ การเรียนหนังสือในกองผสมสัตว์ ๓๓
‘ ชีวิตเรียนรู้ที่กองผสมสัตว์ ๓๕
‘ ขยันขันแข็งในงานบ้าน ๓๘
‘ ชอบอ่านหนังสือตั้งแต่เป็นเด็ก ๔๐
‘ นิยมคนดี รังเกียจคนเลว ๔๑
‘ ชีวิตคือผู้ปั้น ๔๒
‘ ความอบอุ่นภายในครอบครัว ๔๓
‘ ฝึกน้ำอดน้ำทน ๔๗
‘ บุคคลตัวอย่างในกองผสมสัตว์ ๔๙
‘ กลับสู่เมืองกาญจน์ เรียนชั้นมัธยม (พ.ศ. ๒๔๘๔) ๕๑
‘ ระหกเหินไปเรียนต่างเมือง ๕๔
‘ ได้ข่าวใหญ่เรื่องในหลวง ร. ๘ ๕๘
ภาค ๒ เข้าสู่ลู่วิ่งแห่งชีวิต
‘ สอบเข้าเรียนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ๖๒
‘ ใช้ชีวิตเรียบง่าย ประหยัด และสำรวม ๖๖
‘ ยังไม่เกิดความสนใจในด้านอื่น ๖๗
‘ ชีวิตนักเรียนแพทย์ (พ.ศ. ๒๔๙๒) ๖๘
‘ ข้ามฟาก (พ.ศ. ๒๔๙๔) ๗๐
‘ ประทับใจในอาจารย์ ๒ ท่าน ๗๒
‘ พักอาศัยอยู่ที่โรงเรียนพระนครวิทยาลัย ๗๔
‘ ได้รับรางวัลเรียนดี ๗๖
‘ เลือกสายแพทย์ตามแรงบันดาลใจ ๘๐
‘ การเรียนในปีที่ ๓ และ ๔ (พ.ศ. ๒๔๙๖-๒๔๙๗) ๘๒
‘ เริ่มสัมผัสกลิ่นเหรียญทอง ๘๔
‘ เป็นแพทย์ประจำบ้าน ๘๖
‘ ปรับทิศทางการทำงานครั้งสำคัญ ๘๙
‘ ได้ทุนส่วนพระองค์ไปเรียนต่อต่างประเทศ ๙๒
‘ มุ่งสู่แดนอารยะ ๙๔
‘ ข่าวร้ายจากเมืองไทย ๙๖
‘ สร้างชื่อระบือไกลในต่างแดน ๑๐๐
‘ มุ่งสู่อังกฤษ ๑๐๒
‘ พบความแตกต่างระหว่างคนอังกฤษกับคนอเมริกัน ๑๐๖
‘ เจอความหนาวเหน็บแทบทนไม่ไหว ๑๐๗
ภาค ๓ เทใจใส่งาน
‘ เริ่มชีวิตข้าราชการทันที ๑๑๐
‘ เป็นนักเรียนทุนมูลนิธิ "อานันทมหิดล"
คนแรกที่กลับจากต่างประเทศ ๑๑๒
‘ จับงานวิจัยธาลัสซีเมีย ๑๑๔
‘ มีผลงานวิจัยโดดเด่น ๑๑๖
‘ ชอบสอนวิชาพันธุศาสตร์ ๑๑๙
‘ ได้ตึก "อานันทราช" ๑๑๙
‘ ต้องออกสู่ชนบท ๑๒๔
‘ สนใจปัญหาสังคม พร้อม ๆ กับสนใจเสียงวิพากษ์สังคม ๑๒๗
‘ รวมพลังต้านเด็กฝาก ๑๓๑
‘ ควบคู่ไปกับความสนใจในทางพุทธศาสนา ๑๓๒
‘ แต่งงานและได้รับรางวัลครูแพทย์ที่ดี
ของศิริราชเป็นคนแรก ๑๔๑
‘ เขียนบทความวิพากษ์วิจารณ์ศิริราช ๑๔๕
‘ ฟ้องแพทย์ใหญ่ที่หลอกต้มชาวบ้าน ๑๔๙
‘ เริ่มเข้าถึงปัญหาสาธารณสุขของชาติ ๑๕๒
‘ ถูกกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์ ๑๖๓
‘ เป็นนักคิดและนักปฏิบัติเพื่อศานติสุขของสังคมรวม ๑๖๕
‘ พัฒนาพลังขับเคลื่อนนอกระบบราชการ ๑๖๗
‘ สรุปบทบาทรวบยอดในระหว่างการเป็นอาจารย์
โรงเรียนแพทย์จนถึงการเป็นนักพัฒนาสังคม ๑๖๙
‘ บทบาทในสังคมวงกว้าง ๑๗๓
ภาค ๔ มุ่งขับเคลื่อนสังคมด้วยปัญญา
‘ เลือกเส้นทางที่ไม่ใช่แบบทางการ ๑๗๘
‘ บทบาทขององค์กรพัฒนาเอกชนมีลักษณะ "สากล" ๑๗๙
‘ สัมผัสปราชญ์ชาวบ้าน ๑๘๓
‘ "การพัฒนา" ที่ก่อความหายนะแก่คนส่วนใหญ่ ๑๘๘
‘ มองเห็น "ฐาน" สำหรับรองรับการปรับเปลี่ยน
ให้สังคมไทยพ้นจากวิกฤติ ๑๙๒
‘ พุทธเศรษฐกิจ-พุทธสังคม ๑๙๕
‘ เป้าหมายของการพัฒนาคือ "เสรีภาพ" ๑๙๙
‘ บทบาทก่อนและหลังเหตุการณ์ "พฤษภาทมิฬ" ๒๐๑
‘ เสนอแนวทางการฟื้นฟูบูรณะชาติบ้านเมือง ๒๐๕
‘ วัฒนธรรมอำนาจนิยมและความรุนแรงทางโครงสร้าง ๒๐๖
‘ "นวัตกรรมทางสังคม" คือทางออก ๒๐๙
‘ เสนอแนวทางปฏิรูปที่สามารถลดความรุนแรงลงได้ ๒๑๐
‘ จากวัฒนธรรมอำนาจนิยมไปสู่วัฒนธรรม "ฉันทะ"
ในการเรียนรู้ ๒๑๑
‘ ค้นพบพลังทางวัฒนธรรม ๒๑๕
‘ วัฒนธรรม ๘ ประการที่สังคมไทยควรส่งเสริม ๒๑๗
‘ การเข้าถึงความหลากหลายเป็นธรรมะอย่างยิ่ง ๒๑๙
‘ สังคมสมานุภาพ ความหลากหลายที่สมดุล ๒๒๐
‘ กระบวนการสร้างพลังทางสังคมเพื่อก้าวไปสู่
ความเป็นสังคมสมานุภาพ ๒๒๑
‘ การสร้างพลังทางสังคม เป็นกระบวนการทางสังคม ๒๒๓
‘ ความเป็นชุมชนและวิธีการไม่เป็นทางการ ๒๒๔
‘ วิธีการไม่เป็นทางการ ๒๒๗
‘ บุคลากรในระบบก็ทำงานนอกระบบได้ ๒๒๘
‘ ความเป็นกลาง วิธีการนอกระบบ ผสานเข้ากับ
กระบวนการทางสังคม (ประกอบเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ
"สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา") ๒๓๒
‘ ขับเคลื่อนการปฏิรูปการเมืองตามแนวทาง
รัฐธรรมนูญนิยม ๒๓๕
‘ ใช้กฎหมายรัฐธรรมนูญเป็น "กลไก"
จัดระบบและโครงสร้างใหม่ ๒๓๘
‘ ยุทธศาสตร์การสร้างความรู้ ๒๓๙
‘ ยุทธศาสตร์การนำความรู้ไปสู่การเรียนรู้
ของสังคมไทยโดยกว้างขวาง ๒๔๐
‘ กระบวนการ "ถักทอทางสังคม" ๒๔๓
‘ เดินยุทธศาสตร์ปฏิรูปการเมืองโดยทางสายกลาง ๒๔๔
‘ ความฝันของหมอประเวศ ๒๔๙
แหล่งค้นคว้าสำคัญ... ๒๕๔
เกี่ยวกับผู้เขียน... ๒๕๕






ปณิธาน 3 ประการ ที่จะช่วยให้มนุษย์พ้นวิกฤต


ประเวศ วะสี
โครงการจิตวิวัฒน์ มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์
สนับสนุนโดย
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

NewConsciousness@thainhf.org

คอลัมน์ จิตวิวัฒน์
มติชน
ฉบับวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2548

ปีที่ 27 ฉบับที่ 9800 หน้า 8


ในสมัยโบราณมนุษย์อยู่กันตามกระเปาะทางวัฒนธรรม (cultural pockets)
ตามสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างหลากหลาย เรียกว่า
มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม
ความหลายหลายทางวัฒนธรรมเป็นธรรมชาติ
เพราะวัฒนธรรมสัมพันธ์อยู่กับสิ่งแวดล้อมซึ่งแตกต่างกัน เช่น
คนที่ขั้วโลก คนในทะเลทราย คนในเขตหนาว
คนในเขตร้อน คนบนเขา คนริมทะเล
ย่อมมีวิถีชีวิตที่แตกต่างกัน


กลุ่มวัฒนธรรมใหญ่ ๆ เรียกว่า “อารยธรรม” เช่น
อารยธรรมเมโสโปเตเมีย อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ
อารยธรรมลุ่มแม่น้ำฮวงโห เป็นต้น


เมื่อชาวยุโรปค้นพบวิทยาศาสตร์
แล้วนำวิทยาศาสตร์มาสร้างอาวุธที่มีอำนาจมาก เช่น
เรือรบ ปืนใหญ่ ปืนกล ทำให้เกิดอำนาจมหาศาล
อย่างที่มนุษย์ไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์
อารยธรรมใหญ่ ๆ ที่มีอายุประมาณ 5,000 ปี
อย่างอารยธรรมอินเดีย และอารยธรรมจีน
ไม่สามารถต้านทานอำนาจการยิงอันมหึมาของชาวยุโรปได้


อำนาจอันรุนแรงของชาวยุโรป
ทำให้โลกมีโครงสร้างใหม่แทนที่ความหลากหลายทาง วัฒนธรรม
โลกทั้งโลกถูกบังคับให้มีอารยธรรมเดียว
จะเรียกว่าโลกาภิวัตน์หรืออะไรก็ตามที

แต่แก่นแกนของมันคือ
อารยธรรมวัตถุนิยมบริโภคนิยม


อารยธรรมวัตถุนิยมบริโภคนิยมได้เข้า ครอบงำโลก
ทั้งในด้านโลกทัศน์และวิธีคิด การศึกษา โครงสร้างทางสังคมต่าง ๆ


ในอารยธรรมนี้ได้เกิดขนาดเงินอันมโหฬารอย่างที่แต่ก่อนไม่มี
และด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารสมัยใหม่
เงินจำนวนมหาศาลนี้วิ่งรอบโลกด้วยความเร็วของแสง


เงินอันมหึมานี้ส่วนใหญ่ไม่ได้ทำหน้าที่ทาง เศรษฐกิจ
แต่ไปดูดเงินที่มีน้อยกว่าของส่วนที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์
และมีการจัดการไม่ดี เท่า เงินอันมหึมาได้เข้าทำลายคุณค่าต่าง ๆ เช่น
ประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน วัฒนธรรม
จิตวิญญาณ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์


โลกที่เชื่อมโยงกันทั้งหมดก่อให้เกิดระบบซับซ้อน (complex system)
ที่ขับเคลื่อนด้วยโลภจริตขนาดใหญ่ สภาพโกลาหล (chaos)
และวิกฤตการณ์จึงเป็นปรากฏการณ์ถาวร


คนทั้งโลกถูกโครงสร้างโลกครอบงำ กดทับ บีบคั้น
จึงเกิดความเครียด ความทุกข์ ความท้อแท้สิ้นหวัง
เป็นโรคซึมเศร้า ฆ่าตัวตาย ติดยาเสพติด
มีความรุนแรง ขาดอิสรภาพ
ไม่สามารถใช้ศักยภาพที่ตนมีเพื่อสร้างสรรค์ได้อย่างที่ควรเป็น

อารยธรรมวัตถุนิยมบริโภคนิยมกำลังพาโลกทั้ง
โลกไปสู่สภาวะวิกฤตอย่างยิ่ง


นักปราชญ์ตะวันตกได้มองเห็นวิกฤตการณ์
ของอารยธรรมวัตถุนิยมบริโภคนิยมแล้วในขณะนี้
แต่นักปราชญ์ไทยท่านหนึ่งเห็นมาก่อนใคร
ตั้งแต่ พ.ศ.2547 โน่นแล้วที่ใคร ๆ ยังมองไม่เห็น
ท่านได้พยายามตะโกนบอกเพื่อนมนุษย์เป็นอเนกปริยายว่า

"วิกฤตแล้วโว้ย ๆ"
ท่านผู้นี้เป็นมหาบุรุษร่วมสมัยกับเรา คือ
ท่านอาจารย์พุทธทาสมหาเถร แห่งสวนโมกขพลาราม
ซึ่งมรณภาพไปเมื่อ พ.ศ.2536
และจะครบ 1 รอบศตวรรษแห่งชาตกาล
ในวันที่ 27 พฤษภาคม 2549 นี้


ท่านอาจารย์พุทธทาสได้ฝากปณิธานไว้ 3 ข้อ โดยความดังนี้

1. ขอให้ศาสนิกของแต่ละศาสนา
เข้าถึงหัวใจของหลักธรรมของศาสนาของตน ๆ

2. ขอให้มีความร่วมมือระหว่างศาสนา

3. ขอให้มนุษย์ถอนตัวออกจากวัตถุนิยม


ในช่วงที่โลกก็วิกฤต ไทยก็วิกฤตไปตามโลกด้วยอย่างไม่มีทางออก
และเรากำลังจะเข้าสู่ 1 ศตวรรษแห่งชาตกาลของท่านมหาเถระ
คนไทยน่าจะพากันศึกษาปณิธานทั้ง 3 ประการกันอย่างจริงจัง
อันจะทำให้พบทางออกจากวิกฤต


การคิดภายใต้ความครอบงำของสภาพที่ดำรงอยู่
ไม่ทำให้พ้นวิกฤตได้ แต่มนุษย์สามารถหลุดจากมายาคติทั้งปวง
ไปสู่อิสรภาพและประสบความจริง ความงาม
ความถูกต้องได้โดยการเข้าถึงศาสนธรรม


ปณิธาน 3 ประการของอาจารย์พุทธทาสมหาเถระ

อาจถอดออกเป็นการปฏิบัติและการสนับสนุนการปฏิบัติได้ 4 ประการ ดังนี้

1. ทุกคนควรพยายามศึกษาศาสนธรรมของศาสนา
ที่ตนนับถือให้มากเป็นกิจวัตร จะทำให้พบอิสรภาพ ปัญญา และสันติ

2. สำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติควรส่งเสริมการเจริญสติเป็นวิถีชีวิต
โดยส่งเสริมให้มีสำนักสอนวิปัสสนากัมมัฏฐานที่ดีให้เป็นที่นิยมแพร่หลาย
กับส่งเสริมให้ระบบการศึกษาทุกระดับมีหลักสูตรพัฒนาจิตภาคปฏิบัติ

3. มหาวิทยาลัยทุกแห่งควรมีศูนย์วิจัยและพัฒนาจิต
ที่จะให้นิสิตนักศึกษามีการพัฒนาจิต
ด้วยวิธีที่แตกต่างหลากหลายอันถูกจริต
ของแต่ละบุคคล มหาวิทยาลัยต่าง ๆ
ควรจะเป็นเจ้าภาพจัดให้มีการสานเสวนา (dialogue)
ระหว่างศาสนาต่าง ๆ และมีการเผยแพร่การเสวนานั้นให้แพร่หลาย

4. กรมการศาสนาควรจะทำยุทธศาสตร์ส่งเสริมข้อ 1-3 ข้างต้น
รวมทั้งให้มีการสานเสวนาระหว่างศาสนาทาง
วิทยุและโทรทัศน์เป็นประจำ

มนุษย์สามารถประสบความสุขและอิสรภาพจากการ
เข้าถึงธรรม ซึ่งเป็นความสุขอันประณีต ก็จะค่อย ๆ
ถอนตัวออกจากวัตถุนิยม การเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานทางจิตใจ
(mental transformation)
จะไปก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
ทางโครงสร้างทางสังคมและพฤติกรรม
อันจักเป็นไปเพื่อความสุขและศานติ

จุดเทียนแห่งธรรมให้สว่างไสวทั้งแผ่นดิน


ประเวศ วะสี
มติชนออนไลน์
วันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2553


ธรรม กำลังนำไทยพ้นมิคสัญญีกลียุค

เพราะธรรมใหญ่ที่สุด ธรรมมีอำนาจที่สุด
แม้เทวดา พระอินทร์ พระพรหม ก็เคารพธรรม
พระศาสดาก็ทรงเคารพธรรม จะเห็นได้ว่าในสภาวะที่วิกฤติสุด ๆ
จะเข้าสู่ประตูมิคสัญญีกลียุค ความรู้ก็ดี
เหตุผลก็ดี อุดมการณ์ก็ดี อำนาจก็ดี
ไม่มีพลังพอที่จะพาเราออกจากวิกฤติ
เพราะความรู้ก็ดี เหตุผลก็ดี อุดมการณ์ก็ดี อำนาจก็ดี
ตกเป็นเหยื่อของกิเลสได้ง่าย ทฤษฏีก็กลายเป็นทิฏฐิไป
ศาสตร์ก็กลายเป็นศาสตรา พากันไปสู่ความรุนแรงได้
ธรรมนั้นเหมือนทฤษฎีศาสตร์ หรืออุดมการณ์


ธรรมวิชัย หรือการชนะด้วยธรรม
กำลังปรากฎบนฟากฟ้าประเทศไทย


ธรรมที่ซึมซ่านอยู่ทั่วไปในแผ่นดินไทยอย่างหนึ่งคือ
คนไทยส่วนใหญ่ หรือคนไทยเกือบทั้งหมดไม่ต้องการความรุนแรง
เจตนารมณ์ของสังคมที่ปฏิเสธความรุนแรง
ช่วยกำกับพฤติกรรมของการต่อสู้
จนเกิดกติกาว่าถ้าใครใช้ความรุนแรงจะแพ้
สังคมไทยได้ผ่านการทดสอบที่ยิ่งใหญ่มาแล้ว
มีผู้จงใจใช้ความรุนแรงเข่นฆ่าผู้คน
มาหลายครั้งตั้งแต่ ๒๕๕๑ เป็นต้นมา
โดยหวังจะยั่วยุให้เกิดจลาจลเผาบ้านเผาเมือง
และมิคสัญญีกลียุค แต่ก็ไม่สำเร็จ
คนไทยไม่บ้าคลั่งเสียสติล้างแค้น
ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ ๗ ตุลาคม ก็ดี หรือ
๑๐ เมษายนก็ดี การที่ทหารยอมบาดเจ็บ
และตายโดยไม่ใช้อาวุธตอบโต้
ช่วยไม่ให้เหตุการณ์บานปลายอย่าง
ที่ผู้ก่อความรุนแรงต้องการ
นับเป็นความก้าวหน้าที่ยิ่งใหญ่
และชัยชนะของสันติวิธี


การใช้อาวุธร้ายแรงเข่นฆ่าทั้งประชาชนผู้ชุมชนุมและ ทหาร
ถือเป็นความอำมหิตสุดๆ ที่ต้องการยั่วยุอย่างรุนแรงที่จะให้เกิดจราจล
แต่ไม่สำเร็จ แสดงว่าสังคมไทยมีความอดทนอดกลั้นสูง
แสดงให้เห็นว่าการใช้ความรุนแรงเป็นเรื่องของกลุ่มคนส่วนน้อย
สังคมไทยส่วนใหญ่ไม่ต้องการความรุนแรง
มีความเคลื่อนไหวเรียกร้องไม่ต้องการความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ
มีแต่สันติวิธีเท่านั้นที่ได้ผล ความรุนแรงไม่ได้ผล
ธรรมย่อมชนะอธรรม คนไทยอาจจะตระหนกตกใจ
และรู้สึกหมดหวังต่อความรุนแรงที่เกิดขึ้น
แต่ดูจริงๆแล้วคนส่วนน้อยที่ใช้ความรุนแรงกำลังพ่ายแพ้
คนส่วนใหญ่ผู้ไม่ต้องการความรุนแรงจะชนะ
สังคมไทยกำลังชนะด้วยธรรมหรือธรรมวิชัย
ของให้มีความมั่นใจในธรรม
ช่วยกันจุดเทียนแห่งธรรมให้สว่างไสวทั้งแผ่นดิน
ประเทศไทยจะพ้นมิคสัญญีกลียุค
ไปสู่สังคมสันติสุข


ขอจงทำธรรมให้ สมบูรณ์ทั้ง ๓ ประการคือ


๑.สันติธรรม ประกอบด้วยความเมตตา กรุณา
อภัยธรรม ขันติธรรม ไม่พยาบาท ทำบุญทำทาน
ไหว้พรสวดมนต์ อุทิศส่วนกุศลให้ทุกฝ่าย
รวมทั้งผู้ที่คิดว่าขาดกุศลธรรม
ปฏิเสธความรุนแรงทุกชนิด
ทั้งกาย วาจา ใจ บนเส้นทางแห่งอหิสา
ตัวอย่างเล็กๆของชาวอโศกธานี
ในวันที่ ๒๕ เมษายน ที่มีกลุ่มคนยกพวกไปกดดัน
กลับยิ้มแย้มแจ่มใสเอาน้ำไปเลี้ยงกลุ่ม
ที่มากดดันด้วยความเมตตากรุณา
ทำให้ความรุนแรงเกิดขึ้นไม่ได้
นี่แหละเป็นชัยชนะของสันติอหิงสา สันติบท
เป็นเส้นทางที่ปลอดภัย จะมีคนมาร่วมมากขึ้นเรื่อยๆ
ขอให้ทำให้มาก เคลื่อนไหวให้มาก
จนสันติธรรมซึมซ่านไปทั่วแผ่นดินไทย
จำกัดความรุนแรงให้เล็กลงๆ


๒.นิติธรรม กฎหมายเป็นกฎกติกาเพื่อการอยู่ร่วมกันด้วยสันติ
กระบวนการสันติธรรมต้องส่งเสริมสนับสนุนความเข้มแข็งของนิติธรรม
ในอนาคตสังคมไทยต้องปลอดอาวุธ
ไม่ใช่เต็มไปด้วย เอ็ม ๗๙ อาร์พีจี เอ็ม๑๖ ฯลฯ
เยี่ยงปัจจุบัน ระบบความายุติธรรมต้องพร้อม
บริบูรณ์ทั้งระบบป้องกัน ระบบรักษา
และระบบฟื้นฟู (Restorative Justice)


๓.สังคมธรรม สังคมที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
จะต้องมีความเป็นธรรมในส่วนที่ลึกที่สุด
ต้องมีการเคารพศักดิ์ศรีและคุณค่าความ
เป็นคนของคนทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน
มีความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจ
ทางสังคม ทางกฎหมาย ทางการเมือง การปกครอง
สังคมต้องมีความเข้มแข็งที่จะกำหนดความเป็นธรรมได้
การขาดความเป็นธรรมเป็นบ่อเกิดของความขัดแย้งรุนแรง
คราวนี้เมื่อความรุนแรงเฉพาะหน้าระงับไปได้ด้วยสันติธรรม
และนิติธรรมตามข้อ ๑ และ ๒
คนไทยทุกภาคส่วนจะต้องรวมตัวกันร่วมคิดร่วมทำในข้อ ๓ คือ
สังคมธรรม มิฉะนั้นความรุนแรงที่ระงับไปชั่วคราวจะกลับมาใหม่
คนไทยต้องปฏิรูปประเทศไทยให้เกิดความเป็นธรรมทุกด้าน


ธรรมเป็นใหญ่ ธรรมมีอำนาจที่สุด
ขอให้คนไทยทุกฝ่ายมีศรัทธาในธรรม
ใช้ธรรมปฏิปทาให้สมบูรณทั้ง ๓ ประการ คือ
สันติธรรม นิติธรรม และสังคมธรรม


ขอให้จุดเทียน แห่งธรรมให้ส่องสว่างทั้งแผ่นดิน
ธรรมวิชัยจะทำให้ไทยก้าวข้ามมิคสัญญีกลียุค
ไปสู่สังคมสันติสุขศรีอาริยะได้



Apr 23, 2010

สบายๆสไตล์สีกากี : บูชาเทพเจ้ากวนอู กับ "พล.ต.ต.วิสุทธิ์ วานิชบุตร"

ทีมข่าวรายงานพิเศษ : เรื่อง นัทพล ทิพย์วารีอมร : ภาพ
คม ชัด ลึก


ภายในสำนักงานผู้บังคับการ กองปราบปราม

การกระทำผิดต่อเด็กเยาวชนและ สตรี (ปดส.)
ริมถนนพหลโยธิน มีผู้คนมากหน้าหลายตาแวะเวียน
เข้าไปร้องขอความช่วยเหลืออยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน


จนบางครั้งถึงกับ เกิดความวุ่นวายเมื่อเรื่องถึงหูสื่อมวลชน
กระนั้น "พล.ต.ต.วิสุทธิ์ วานิชบุตร" ผบก.ปดส.
ก็ยังเจียดเวลาอันแสนยุ่งเหยิงมาพูดคุยกับ "คม ชัด ลึก"
ถึงวันสบายๆ สไตล์สีกากี ที่ส่วนใหญ่จะเน้นไป
ที่การกราบไหว้บูชาและศรัทธาตั้งมั่นดำเนินรอยตาม
"เทพเจ้ากวนอู" เทพแห่งความซื่อสัตย์
ตามความเชื่อของคนจีนนั่นเอง

เพียงก้าวผ่านประตูห้องทำงานรูปปั้นเทพเจ้ากวนอูใบหน้าสีแดงเข้ม
น่าเกรงขามทว่าสง่างาม ตั้งเด่นอยู่
และยังมีอยู่ตามมุมต่างๆ รวมแล้ว 4 องค์ใหญ่
"ใครไม่แน่จริงอย่าไหว้เทพเจ้ากวนอู
เพราะเป็นเทพเจ้าแห่งความซื่อสัตย์
ซื่อตรงเป็นตัวแทนแห่งความกล้าหาญ ใครบูชา
และดำเนินรอยตามได้คนผู้นั้นจะมีความเจริญ
ตรงกันข้ามใครโกงกิน ไม่มีความซื่อสัตย์
ก็จะต้องถูกลงโทษร้อยเท่าพันเท่าเช่นกัน"
พล.ต.ต.วิสุทธิ์ เอื้อนเอ่ยทักทายอย่างอารมณ์ดี

เมื่อ 35 ปีก่อนครั้งยังเป็นนักศึกษา
มหาวิทยาลัยรามคำแหง ปี 2516
นายวิสุทธิ์สนใจใคร่รู้และชื่นชอบในประวัติศาสตร์
ความกล้าหาญและซื่อสัตย์ ของเทพเจ้ากวนอู
จากหนังสือแปลจากต้นฉบับภาษาจีน
ทำให้รู้ถึงความเป็นมาของแม่ทัพผู้ปราบโจรผู้ร้าย
และผู้หาประโยชน์ในทางมิ ชอบ จนได้เป็นเทพเจ้า
กระทั่งเก็บเอาไปฝันว่าตัวเองเคยเป็น
ทหารเอกของกวนอูเมื่อตื่นขึ้นมาจึง
อธิษฐานว่าหากความฝันเป็นจริง
ขอให้ได้เทพเจ้ากวนอูมาบูชา โดยไม่ต้องซื้อหา
ครั้นแล้วในวันเกิดของพ่อในปีเดียวกันนั้นเอง
มีคนนำเทพเจ้ากวนอูขนาด 12 นิ้วจากประเทศจีน
มามอบให้เป็นของขวัญวันเกิด แล้วพ่อก็มอบต่อให้แก่วิสุทธิ์
ซึ่งเจ้าของบอกว่าเป็นเรื่องที่น่าแปลกใจมาก
แทนที่พ่อจะให้พี่ชายคนโตกลับให้เขา
ทั้งที่เป็นลูกคนที่ 6 จากทั้งหมด 8 คน เป็นผู้ชาย 5 ผู้หญิง 3
นับตั้งแต่นั้นมาวิสุทธิ์มีโอกาสบูชาเทพเจ้ากวนอู
จากญาติสนิทมิตรสหายที่นำ มามอบให้จน
เข้ารับราชการตำรวจ รวมแล้วทั้งที่บ้านและ
ที่ทำงานมีเทพเจ้ากวนอูองค์เล็ก
องค์ใหญ่ ทรงม้า ทรงมังกร ฯลฯ
กว่า 30 องค์ นอกจากนี้
ยังพกเหรียญเทพเจ้ากวนอูไว้ในกระเป๋าสตางค์
เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจ
ถึงความซื่อสัตย์อยู่ตลอดเวลาด้วย
"เทพเจ้ากวนอูอยู่ในใจผมตลอด ทุกครั้งที่ทำงาน
เข้าไปจับกุมคนทำผิดกฎหมาย ผมไม่เคยเกรงกลัวใคร
หลายครั้งเหมือนกันที่ไปกระทบผู้ใหญ่ ถูกเด้ง
แต่ถ้าทำด้วยความซื่อสัตย์แล้ว
อย่ากลัวงานที่ทำจะเป็นเกราะป้องกันเราเอง"

ในวิกิพีเดียให้คำนิยาม "เทพเจ้ากวนอู" เอาไว้ว่า
กวนอูเป็นหนึ่งในห้าทหารเสือแห่งจ๊กก๊ก
และน้องร่วมสาบานคนรองของเล่าปี่และเตียวหุย
หน้าแดงเหมือนผลพุทราสุก
จักษุเรียวงามคล้ายนกการเวก
คิ้วโก่งดั่งตัวหนอนไหม หนวดเคราสีดำงามยาวละเอียด
มีง้าวมังกรเขียวยาว 8 ศอก หนัก 82 ชั่งจีนเป็นอาวุธคู่กาย
ร่วมต่อสู้กับเล่าปี่ตลอดชีวิตต่อสู้ด้วย
ความจงรักภักดี คุณธรรม และความกล้าหาญ
ถึงจะพ่ายแพ้ศึก และยอมเป็นข้ารับใช้โจโฉ
แต่ใจก็ยังคงภักดีต่อเล่าปี่เพียงผู้เดียว
สร้างชื่อเสียงลือไกลด้วยการสังหารฮัวหยง
แม่ทัพของตั๋งโต๊ะโดยสุรายังอุ่นๆ อยู่
เอาชนะงันเหลียงและบุนทิว 2 แม่ทัพของอ้วนเสี้ยว
ฝ่า 5 ด่าน สังหาร 6 แม่ทัพของโจโฉ
และยังครองใจผู้คนไม่ว่าเลียวฮัวและจิวฉอง
รวมถึงเตียวเลี้ยวแม่ทัพของโจโฉและฮองตง
ที่แม้เคยเป็นศัตรู ขี่ม้าเซ็กเธาว์อาชาชั้นยอดของลิโป้

ต่อมาได้เป็นเจ้าเมืองเกงจิ๋วอยู่ร่วมกับ
กวนเป๋งบุตรบุญธรรมกับจิวฉอง
ภายหลังถูกแผนกลยุทธ์ของลกซุนและลิบองฆ่าตาย
แต่ถึงจะตายไปก็ยังทำให้ลิบองตายตามไปด้วย
หลังจากนั้นก็ได้รับการยกย่องเป็นเทพเจ้าแห่งความซื่อสัตย์
หลายคนอาจหาเวลาไปไหว้พระทำบุญตักบาตร
ช่วงวันพระหรือเทศกาลสำคัญ แต่สำหรับ ผบก.ปดส.
แบ่งเวลาช่วงเช้าอันเงียบสงบอยู่ในห้องพระ
กราบไหว้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว
ตั้งจิตแสดงความกตัญญูต่อพ่อแม่และผู้มีพระคุณ
แล้วจึงบูชาเทพเจ้ากวนอู
หากวันไหนมีปัญหาก็จะใช้เวลาอยู่ในห้องพระนานหน่อย
ขอพรจากเทพเจ้ากวนอูให้ปัญหาคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น
เป็นเช่นนี้เสมอ จนกลายเป็นกิจวัตรสบายๆ
สไตล์สีกากีที่คนรอบข้างต่างก็รู้ดี

"ผมจับทุกอย่างที่พบว่าเป็นการกระทำผิด
ทุกวันนี้ได้รับฉายาจากสื่อมวลชนนับไม่ถ้วน
ไม่ว่าจะเป็นมือปราบจั่นเจา มือปราบน้องแนท
มือปราบปักเป้า มือปราบค้ามนุษย์
มือปราบเปาบุ้นจิ้น มือปราบแรมโบ้ 2 มือปราบเทปผีซีดีเถื่อน
เยอะมากผมจำไม่ได้แล้ว"
พล.ต.ต.วิสุทธิ์กล่าวด้วยใบหน้าเปื้อนยิ้ม
ท่ามกลางฉายามากมายนี้
นายตำรวจชื่นชอบฉายามือปราบปักเป้ามากที่สุด
เขาให้เหตุผลว่าเป็นเพราะปลาชนิดนี้อันตรายมาก
คนไทยไม่รู้ ไม่มีใครให้ความสนใจ
จึงคิดเพียงว่าต้องทำงานตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน
และเมื่อตายไปก็อยากทำคุณต่อประเทศชาติ
จึงบริจาคร่างกายให้สภากาชาดไทย
เอาไว้ทำประโยชน์ให้แก่นักศึกษาแพทย์ต่อไป
...กลิ่นไม้หอมและเครื่องบูชามาลัยดอกมะลิฟุ้ง
อบอวลมาจากรูปปั้นไม้หอมแกะ
สลักเทพเจ้ากวนอูขนาดเท่าคนจริงในท่านั่งชันเข่า
มือขวาถือดาบ เด่นสง่าอยู่ในห้องทำงานผบก.ปดส.
หนวดและเคราทำมาจากผมจริง
เสมือนเป็นเครื่องย้ำเตือนความซื่อสัตย์ของผู้เคารพบูชา

ล้อมกรอบ
ประวัติกวนอู
เดิมทีแผ่นดินจีน เป็นสุขมาช้านานแล้วเกิดศึ
ครั้นศึกสงบแล้วก็เป็นสุข เป็นวัฏจักรวนเวียนมา
จวบจนสมัยพระเจ้าเลนเต้ เกิดขบถโจรโพกผ้าเหลือง
เล่าปี่ซึ่งมีเชื้อพระวงศ์ฮั่นได้พบกับเตียวหุยและกวนอูเกิดต้องชะตากัน
จึงทำพิธีสาบานเป็นพี่น้องร่วมสาบานในสวนดอกท้อ
ออกปราบโจรโพกผ้าเหลือง
ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมากวนอูก็สวามิภักดิ์ซื่อสัตย์ภักดีต่อเล่าปี่เรื่อยมา

ต่อมาโจโฉสถาปนาตัวขึ้นเป็นมหาอุปราช
เล่าปี่รวบรวมสมัครพรรคพวกคิดกำจัด
แต่แผนแตกทำให้เล่าปี่และเตียวหุยต้องหลบหนีไป
ส่วนกวนอูอยู่รักษาครอบครัวเล่าปี่ที่เมืองแห้ผือ
โจโฉเข้าเกลี้ยกล่อม กวนอูยอมเข้าด้วยโจโฉแต่มีข้อแม้อยู่ 3 ประการคือ
1.จะอยู่รับใช้พระเจ้าเหี้ยนเต้มิใช่โจโฉ
2.ขออยู่รับใช้พี่สะใภ้ทั้งสองมิให้ใครกล้ำกราย
3.หากรู้ว่าเล่าปี่อยู่ที่ไหนจะรีบไปหาโดยไม่รีรอ

ระหว่างนี้โจโฉเอาใจแต่งโต๊ะเลี้ยงทุกวันมิได้ขาด
เพื่อหวังให้กวนอูลืมเล่าปี่ วันหนึ่งได้ยกม้าเซ็กเธาว์ให้
กวนอูดีใจนัก ด้วยคิดว่าจะได้รีบไปหาเล่าปี่ได้เร็วขึ้น
และเมื่อได้ข่าวพี่ใหญ่กวนอูจึงพา
ครอบครัวเล่าปี่หักด่านรายทางไปหาจนได้

ครั้งหนึ่งโจโฉคิดกำจัดซุนกวนซึ่งกำลังเป็นใหญ่ทางใต้
จึงยกทัพเรือลงไปปราบปราม แต่ถูกอุบายให้ผูกเรือเป็นแพติดกัน
เพื่อป้องกันไม่ให้ทหารที่ชำนาญแต่การรบบนพื้นดินเกิดเมาคลื่น
สุดท้ายถูกเผาจนแตกทัพเรือ
โจโฉหนีไปทางไหนก็เจอแต่ทหารของซุนกวนและเล่าปี่
สกัดกั้นไว้ทุกทางคับขัน ยิ่งนัก
กระทั่งไปพบทางเข้าลำกุ๋นซึ่งเป็นซอกเขาเล็กๆ
พอพ้นก็หัวเราะขึ้นว่าหากขงเบ้งให้คนมาคุมอยู่ด้านนี้
เห็นตัวจะมิรอดแน่ ครั้นแล้วก็ได้ยินเสียงประทัด
กวนอูยืนถือง้าวสกัดหน้าอยู่
โจโฉเห็นท่าจะมิรอดแน่เพราะมีทหารเหลือติดมาแค่
ร้อยเศษจึงอ้อนวอนให้กวนอู ปล่อยตัว
กวนอูนึกถึงสมัยโจโฉเลี้ยงดูนึกสงสารจึงปล่อยตัวไป
ด้วยวีรกรรมทั้งสองเรื่องนี้เองที่ทำให้
กวนอูได้ชื่อว่าเป็นเทพเจ้าแห่งความซื่อสัตย์ ซื่อตรง ! 






“แซม-ยุรนันท์” พา “ภรรยา-ลูก” ออกทีวีรอบ 10 ปี

นำเสนอข่าวโดย : ณิภา ก้อนคำ
แหล่งที่มาข่าวโดย : ไทยทาวน์ ยูเอสเอนิวส์


ไม่รู้ว่า วู้ดดี้ มิลินทจินดา หว่านล้อมยังไง

ถึงทำให้อดีตพระเอกสุดหล่อที่ตอนนี้ก็ยังคงความหล่อเหมือนเดิม

“แซม ยุรนันท์ ภมรมนตรี” ถึงยอมใจอ่อน พาครอบครัว

ควงภรรยาคนสวย “มุก มาริษา ภมรมนตรี”

พร้อมทั้งลูกชาย แมมโบ้ และน้องมายด์

ลูกๆ สุดที่รักมาออกรายการ วู้ดดี้เกิดมาคุย
ทั้งที่ แซม ยุรนันท์ ยอมรับว่า

ไม่ได้พาครอบครัวออกทีวีมานานเป็น 10 ปีแล้ว

แถมยังโต้ วู้ดดี้ อีกด้วยว่า ไม่ได้หวงครอบครัว
แต่อยากใช้ชีวิตเรียบง่าย และยังเอ่ยชมภรรยาคนสวยว่า
เป็นคนดีทำอาหารเก่ง ถูกใจคนในบ้าน

พร้อมทั้งเป็นครั้งแรกที่อดีตพระเอกแซม และลูก 2 คน

ยอมเต้นออกทีวี กับเพลง sorry sorry
ของ
วงบอยแบนด์เกาหลีสุดฮอต ซุปเปอร์จูเนียร์

ที่วู้ดดี้ ลงทุนทำเป็นมิวสิกวิดีโอ มาให้ดูความอบอุ่นของครอบครัวนี้
สำหรับบรรยากาศในการถ่ายทำสนุกสนาน
และอบอุ่นมาก
โดยได้แบ่งการถ่ายทำเป็น 2 วัน วันแรก
แซม ยุรนันท์ ได้พาภรรยา พร้อมลูก 2 คน
มาเปิดตัวและพูดคุย ที่ร้านอาหารสวนทิพย์ แถวปากเกร็ด
ซึ่งตอนแรก ทั้ง แมมโบ้ ลูกชาย วัย 13
และ น้องมายด์ ลูกสาว วัย 12

ต่างก็ออกอาการเขินๆ ไม่ค่อยกล้าพูดคุย

ยังอายอยู่ เพราะไม่ได้ออกรายการทีวีมานานเป็นสิบแล้ว

แต่พอทานข้าวพูดคุยกันไปสักพัก

ทุกคนก็เริ่มจะพูดคุยกันเยอะขึ้น
หยอกเย้าแซวกันอย่างสนุกสนาน
โดยเฉพาะมุก ที่ดูจะสนิทสนมกับลูกๆ มาก

ซึ่งเธอบอกว่า สามี และลูกๆ

นอนห้องเดียวกันมาตั้งลูกเกิดแล้ว
ทำให้มีความสนิทสนมกันมาก
เพราะได้เห็นหน้าเจอกันทุกวัน

ส่วนวันที่สอง เป็นวันที่ถ่ายมิวสิกวิดีโอเพลง sorry sorry

งานนี้ กว่าแมมโม้ และน้องมายด์ จะยอมเต้นได้
ทางคุณพ่อและคุณแม่ ต้องเกลี้ยกล่อมกันนานพอสมควร

โดยเฉพาะคุณแม่ แม้จะยอมไฟเขียวให้ลูกเต้นแล้ว

แต่ก็รอลุ้นตัวโก่งพอสมควร
เพราะรู้อยู่แล้วว่าลูกคงไม่กล้าเต้น

แต่ด้วยเจอแรงยุ แรงดันจากทุกคน

ไม่ว่าจะเป็นคุณพ่อคุณแม่ วู้ดดี้ และทีมงาน
ทำให้ แมมโบ้ และน้องมายด์ ยอมเต้นเป็นครั้งแรก

แต่กว่าจะถ่ายมิวสิกเสร็จ ก็เล่นเอาทุกคนเหนื่อยกันทีเดียว

เพราะต้องซ้อมท่าเต้นก่อน แล้วก็ถ่ายจริง
ถ่ายหลายมุมกล้อง เพื่อให้ได้ภาพฮิปถูกใจ วู้ดดี้
โดย แซม ยุรนันท์ เล่าความสัมพันธ์ ในครอบครัวว่า
“ตั้งแต่ก่อนแต่งงานแล้ว
เคยบอกว่าอยากมีชีวิตธรรมดาเรียบง่าย

ผมไม่ได้หวงครอบครัวแต่เก็บความเป็นครอบครัว

เพราะผมรู้ว่าตนเองเป็นคนสาธารณะอยู่แล้วครับ
แต่ผมว่าไม่ยุติธรรมที่นำครอบครัวมาเป็นคนสาธารณะด้วย
เค้าอยากอยู่กันง่ายๆ
ผมไม่ค่อยได้พาครอบครัวไปงาน ออกงานมากนัก”


ประวัติคร่าวๆ ของแซม

นายยุรนันท์ ภมรมนตรี มีชื่อเล่นว่า แซม
เกิดเมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ.2506 ที่กทม.
เป็นบุตรชายของ พลโทประยูร ภมรมนตรี

และนางเรณู ภมรมนตรี (นามสกุลเดิม: พิบูลภานุวัฒน์)

นายยุรนันท์สมรสกับ นางสาวมาริษา สุจริตกุล (ชื่อเล่น: มุก)

มีบุตรชาย คือ ด.ช.ยุรการ และบุตรสาว คือ ด.ญ.ยุรริษา

ซึ่งนายยุรนันท์และนางมาริษา
ได้นำชื่อจริงของทั้งบุตรชายและบุตรสาว
มาตั้งเป็นชื่อบริษัทของทั้งสองคนด้วย
ในวงการบันเทิงนายยุรนันท์ได้มีผลงานมากมาย

ทั้งด้านการแสดง พิธีกร และนักร้อง

จนเป็นที่รู้จักในชื่อว่า "แซม ยุรนันท์"

นายยุรนันท์เริ่มเล่นการเมือง

ด้วยการเข้าสังกัดพรรคไทยรักไทยใน พ.ศ.2548



One Day With Sam, สัมภาษณ์ คุณมุกหลังบ้านของแซม ยุรนันทน์

Apr 21, 2010

รางวัล ชูเกียรติ อุทกะพันธุ์


ประวัติความเป็นมา

มรณกรรมของ คุณชูเกียรติ อุทกะพันธุ์ ประธานกรรมการบริหาร
บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน)
เมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๕๔๕
ไม่เพียงเป็นความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ของญาติมิตร
และพนักงานทุกระดับของบริษัทซึ่งท่านเป็นผู้ก่อตั้งเท่านั้น
หากยังเป็นความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ของวงการหนังสือไทยด้วย
ในฐานะผู้ประกอบธุรกิจสิ่งพิมพ์ คุณชูเกียรติได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า
การที่ท่านประสบความสำเร็จและเป็นที่ยอมรับนับถือนั้น
มิได้เกิดจากความเก่งด้านการบริหาร และการมองเห็นช่องทาง
หรือโอกาสทางธุรกิจเท่านั้น แต่รวมถึงต้นทุนอันสำคัญที่มีอยู่ในตัว
นั่นคือความรักและความใฝ่รู้
ความรักเป็นแรงผลักดันให้ท่านกล้าคิด กล้าผลิต
และกล้าลงทุนพิมพ์หนังสือดีๆ ฉันใด
ความใฝ่รู้ก็ทำให้ท่านต้องพัฒนาตน พัฒนางาน
และพัฒนาปัญญาให้เจริญรุดหน้าฉันนั้น
ด้วยเหตุนี้หนังสือดีบางเล่ม เช่น สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้
นอกจากไม่เก็บค่าพิมพ์แล้ว คุณชูเกียรติยังสมทบให้เป็นทุน
ในการสร้างสถาบันทักษิณคดีศึกษา ที่จังหวัดสงขลา
ส่วนหนังสือดรรชนีค้นคำในกฎหมายตราสามดวง
ประชุมพงศาวดารฉบับราษฎร์ ตำราพระโอสถพระนายรายณ์
คุณชูเกียรติก็ตัดสินใจพิมพ์
เพราะเล็งเห็นประโยชน์ในด้านการศึกษาเป็นหลัก
สิ่งที่คุณชูเกียรติเน้นเสมอมาคือคุณภาพด้านเนื้อหา
คุณภาพการผลิต และคุณภาพการพิมพ์
ซึ่งเน้นว่าต้องรักษาระดับให้คงเส้นคงวา
"และถ้าวันนี้ดีแล้ว พรุ่งนี้ต้องให้ดียิ่งๆ ขึ้นไปอีก"
โดยนัยนี้ การทำหนังสือเล่มแล้ว เล่มเล่า
ของเขาจึงไม่ต่างอะไรกับเกษตรกร
ผู้หว่านเมล็ดพันธุ์แห่งความรักลงบนแผ่นดินกระดาษ
เพื่อให้งอกงามในความรู้สึกนึกคิดของผู้คนที่ได้อ่าน
การที่คุณชูเกียรติ ในนามบริษัทเครืออมรินทร์
ได้รับรางวัล Tokyo Creation Award
ในสาขาเอเชียนอะวอร์ด
จากสมาคมโตเกียวแฟชั่นแห่งประเทศญี่ปุ่น เมื่อปี ๒๕๓๓
ในฐานะที่เป็นผู้สร้างสรรค์และพัฒนากิจการพิมพ์ และสิ่งพิมพ์ดีเด่น
ซึ่งมีผลอย่างมากต่อชีวิตวัฒนธรรมของสังคมไทย
รวมทั้งเป็นผู้อุทิศตนเพื่อความก้าวหน้า
ในการใช้เทคโนโลยีการพิมพ์ในระดับสูงสุดของประเทศไทย
ย่อมเป็นหลักฐานพยานในเรื่องนี้ดีอยู่แล้ว


http://www.amarin.co.th
http://www.baanlaesuan.com

20 ปีแห่งความสำเร็จของ ชูเกียรติ อุทกะพันธุ์
มานิตา เข็มทอง
นิตยสารผู้จัดการ
(มกราคม 2540)


เมื่อเอ่ยถึงชื่อหนังสือ "บ้านและสวน"
น้อยคนนักที่จะไม่รู้จักหนังสือเล่มนี้

แต่จะมีสักกี่คนทรู้ว่า "บ้านและสวน"
ได้เติบโตมาพร้อม ๆ กับสำนักพิมพ์อมรินทร์

ujหรือที่คุ้นเคยกันในนามของ
บริษัทอมรินทร์ พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน)

เจ้าของนิตยสารชื่อดังอีก 4 ฉบับ "แพรว" "แพรวสุดสัปดาห์"


"LIFE & DECOR" และ "TRENDY MAN"
รวมถึงหนังสือเล่มอีกหลายร้อยเรื่อง

สำนักพิมพ์อมรินทร์ไม่ได้พิมพ์
แต่หนังสือที่ให้แต่ความบันเทิง อาทิ นวนิยาย

เรื่องสั้น วรรณกรรมสำหรับเด็ก งานแปลเท่านั้น
หากยังพิมพ์งานในเชิงวิชาการ

งานวิจัยต่าง ๆ และที่สำคัญที่สุดก็คือ สำนักพิมพ์อมรินทร์ฯ
ได้รับมอบหมายจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
ให้เป็นผู้พิมพ์และเป็นตัวแทนจำหน่ายหนังสือพระราชนิพนธ์ของพระองค์
และพระนิพนธ์ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ด้วย

การที่เกริ่น เริ่มเรื่องด้วยหนังสือ "บ้านและสวน" นั้น
สืบเนื่องจากศักราชใหม่นี้

อมรินทร์ฯ และ "บ้านและสวน" ก็จะก้าวเข้าสู่ปีที่ 21
ซึ่งถ้าเปรียบกับอายุคนก็ถือว่าบรรลุนิติภาวะแล้ว
และกว่าจะมีวันนี้ได้…แน่นอน…ไม่ใช่สิ่งที่ง่ายนักสำหรับ
ชูเกียรติ อุทกะพันธุ์ กรรมการผู้จัดการของอมรินทร์ฯ
หรือเจ้าของตัวจริงนั้นเอง

" การเติบโตที่ผ่านมา เป็นการเติบโตเพื่อที่จะให้บริการลูกค้าให้ดีขึ้น
มากกว่าการที่จะเติบโตใน ลักษณะที่มีการวางแผนหรือ
คิดล่วงหน้าว่า เราจะโตแค่ไหน"

จาก ความรับผิดชอบต่อลูกค้านี้เองที่ทำให้อมรินทร์ฯ จากเดิมที่มีเพียง
"บ้านและสวน" ฉบับเดียวก็ไม่โดดเดี่ยวอีกต่อไป
เพราะ 2 - 3 ปีต่อจากนั้นก็มี "แพรว"
เว้นระยะสักนิดก็ตามมาด้วย "แพรวสุดสัปดาห์"
"LIFE & DECOR" และ "TRENDY MAN"
น้องใหม่วัย 5 ขวบ ซึ่งก็คงไม่ใช่น้องสุดท้องอย่างแน่นอน…

ตลอดระยะเวลา 20 ปีของการทำงานของชูเกียรติ "พ่อใหญ่" ของอมรินทร์ฯ

ก็ไม่ได้หยุดอยู่เพียงแค่หนังสือไม่กี่เล่ม
ตรงกันข้ามกลับมีการขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่อง
ซึ่งดูเหมือนจะขัดกับคำพูดของเขาที่กล่าวกับ "ผู้จัดการรายเดือน" ว่า

" จริง ๆ เราไม่อยากโตเท่าไหร่หรอก…เหนื่อย…"
และเขาเองก็เป็นผู้ลบความขัดแย้งนั้นด้วยตัวเอง
"แต่ความรับผิดชอบที่เรามีต่อลูกค้าเป็นตัวผลักดันที่ทำให้เราต้องทำ
และต้องทำให้สำเร็จ เราก็เลยต้องโตมาเรื่อย ๆ"

และเมื่อ 4 ปีที่แล้ว อมรินทร์ฯ ก็กลายเป็นหนึ่งในบริษัทจดทะเบียน
ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ก้าวนี้เองที่ทำให้อมรินทร์ฯ ต้องโตอย่างเป็นระบบมากขึ้น

อมรินทร์ฯ ภายใต้การบริหารงานของชูเกียรติ
ประกอบด้วย ธุรกิจ 3 กลุ่มหลัก คือ
ธุรกิจโรงพิมพ์ ธุรกิจการจัดจำหน่ายและธุรกิจสำนักพิมพ์

"ความ จำเป็นที่เราต้องเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ
ก็เนื่องจากเราต้องการระดมทุนเพื่อใช้ในการขยายโรงพิมพ์
ซึ่งโรงพิมพ์นี้ถือเป็นส่วนที่ทำรายได้ให้อมรินทร์มากที่สุดในปัจจุบัน
และเงินที่ได้จากการระดมทุนเมื่อครั้งนั้น
เราก็นำมาลงทุนที่โรงพิมพ์ทั้งหมด ซึ่งตอนนี้ก็เริ่มเห็นผลแล้วว่า
เราสามารถทำงานได้เร็วขึ้น รับงานได้ในปริมาณที่มากขึ้น
และได้รับความเชื่อถือจากสำนักพิมพ์อื่นที่มาใช้บริการของเรามากขึ้น
ซึ่งกำลังการผลิตของเราในปัจจุบันสามารถรองรับ
งานพิมพ์ภายในและภายนอกได้ อย่างสบาย

แต่ในอนาคตหากงานพิมพ์ของเรามีมากขึ้น
เราคงต้องรับงานนอกให้น้อยลง" ชูเกียรติเล่า
นอกจากนี้ เขายังมองว่า ธุรกิจโรงพิมพ์ยังสามารถเติบโตได้อีกมาก

หากสามารถพัฒนาบุคลากรผู้มีความชำนาญ
ในเรื่องของเทคโนโลยีการพิมพ์สมัยใหม่

ซึ่งมีคอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ และเขาก็ความเชื่อว่า

" ในอนาคต ธุรกิจการพิมพ์จะอยู่บนเส้นทางของ IT คือ
ไม่จำเป็นต้องเป็นอุตสาหกรรมใหญ่โต
อาจเป็นเพียงเครื่อง PRINTER หรือ SERVER ย่อยลงมา
เพื่อรองรับชุมชนหรือหน้าร้านเท่านั้น"

ส่วน ธุรกิจการจัดจำหน่ายก็เป็นอีกหนึ่งธุรกิจ
ที่มีความสำคัญต่ออมรินทร์ฯ ซึ่งอมรินทร์ฯ

ก็มีร้านค้าปลีกเป็นของตนเอง โดยใช้ชื่อว่า "ร้านนายอินทร์"
ที่เรารู้จักกันดีว่าเป็นชื่อเดียวกับพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ (ร.๙)

"เราขอพระราชทานชื่อ "นายอินทร์" มาเป็นชื่อร้าน
หลังจากที่ได้พิมพ์หนังสือนายอินทร์เรียบร้อยแล้ว
เพราะรู้สึกประทับใจในชื่อของนายอินทร์ และ CONCEPT
ของร้านเราก็เป็นการทำงานลักษณะปิดทองหลังพระเช่นกัน คือ
เราพยายามที่จะสร้างร้านหนังสือให้สามารถทำหน้าที่
ได้มากกว่าความเป็นเพียง ร้านหนังสือ

ดังนั้น ร้านของเราจึงมีบรรยากาศที่น่าเข้า
ทั้ง ๆ ที่ตั้งอยู่ในทำเลที่จอแจ วุ่นวาย

แต่เมื่อลูกค้าได้เข้าไปในร้านเรากลับมีความรู้สึกสบาย
เหมือนอยู่ในห้องสมุด มีมุมให้นั่งจิบกาแฟ อ่านหนังสือ
หรือร่วมเสวนากับนักเขียนที่เราเชิญมาทุกสัปดาห์
ซึ่งขณะนี้เรามีทั้งหมด 4 สาขา และในอนาคตข้างหน้า
ถ้าเรามีความพร้อมเราก็จะเปิดสาขาต่อ ๆ ไป
แต่ไม่ได้หมายความว่าเราจะให้ร้านนายอินทร์
กลายเป็นร้านที่มีจำนวนมากที่สุดในประเทศไทย

เนื่องจากการเลือกทำเลสถานที่เป็นปัจจัยที่สำคัญ
รวมทั้งการฝึกอบรมบุคลากร การสร้างโปรแกรมการขาย
การบริหารสินค้า ซึ่งเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาในการพัฒนาอีกนาน"
ชูเกียรติเล่าถึงร้านนายอินทร์ ร้านหนังสือที่มีความเป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่าง
จากร้านหนังสือทั่วไป นอกจากร้านนายอินทร์แล้ว
อมรินทร์ฯ ยังมีซุ้มหนังสือไว้วสำหรับจำหน่าย
หนังสือทั้งในและต่างประเทศประจำโรงเรียน ต่าง ๆ ด้วย

สำหรับธุรกิจสำนักพิมพ์นั้น ชูเกียรติได้มีแนวคิด
ที่จะเปิดสำนักพิมพ์เพิ่มขึ้นอีกหลายสำนักพิมพ์ เช่น

สำนักพิมพ์แพรวเพื่อนเด็ก สำนักพิมพ์แพรวเยาวชน
สำนักพิมพ์อมรินทร์วิชาการ สำนักพิมพ์อมรินทร์ภูมิปัญญา เป็นต้น
โดยขณะนี้ก็สามารถเปิดทำการไปแล้วหลายสำนักพิมพ์
ซึ่งแต่ละกลุ่มสำนักพิมพ์ก็จะมีบุคลากรที่มีความชำนาญเฉพาะด้าน

" เราจะไม่ทำในสิ่งที่เราไม่ถนัด เพราะไม่คุ้มกับการเป็น NEW COMMER"
ชูเกียรติกล่าวถึงจุดยืนในการทำธุรกิจ และจากจุดยืนนี้เอง
ทำให้เราไม่มีโอกาสเห็นเขาไปจับงานรายวัน ดังเช่น
บริษัทอื่นที่จดทะเบียนอยู่ในหมวดเดียวกัน
อมรินทร์จึงเป็นบริษัทเดียวที่ไม่มีหนังสือพิมพ์รายวันเป็นของตนเอง
ซึ่งนั่นก็ไม่ใช่แนวทางที่ชูเกียรติต้องการจะให้เป็นไปอยู่แล้ว

จาก ลักษณะการดำเนินธุรกิจที่ค่อนข้างเป็นแบบ CONSERVATIVE
ไม่ได้ทำให้อมรินทร์ฯ ล้าหลังหรือตามโลกไม่ทัน
ตรงกันข้าม "พ่อใหญ่" แห่งอมรินทร์ฯ
กลับมีวิสัยทัศน์ที่ล้าสมัยด้วยซ้ำ เขามองว่า

" สังคมไทยกำลังเคลื่อนตัวเข้าสู่ยุคที่เรียกว่า สังคมแห่งการเรียนรู้
อมรินทร์ในฐานะผู้ผลิตสื่อก็ต้องพยายามที่จะผลิตสื่อ
ที่จะสนองความต้องการ ของผู้บริโภคให้ได้มากที่สุด"

ดังนั้น แนวทางที่อมรินทร์ฯ จะเดินต่อไปนับจากวันนี้ก็คือ
การสร้างสำนักพิมพ์ให้มีมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันอมรินทร์ฯ
มีหนังสือภายใต้สำนักพิมพ์ต่าง ๆ ในเครือกว่า 400 เรื่อง
ในขณะที่นิตยสารก็ยังคงมีอยู่ 5 ฉบับ และหากในปีนี้
ตลาดมีความพร้อมและความต้องการมากขึ้น
เราอาจได้เห็นนิตยสารฉบับใหม่ในเครืออมรินทร์ฯ
ออกมาท้าทายอยู่บนแผงหนังสือก็เป็นได้

เขาเริ่มต้นเล่าถึงแนว ทางการดำเนินธุรกิจของอมรินทร์ฯ ในอนาคตว่า
สำนักพิมพ์ที่จะเกิดขึ้นใหม่นั้น
แต่ละสำนักพิมพ์ก็จะมีกองบรรณาธิการของตัวเอง
และในช่วงระยะเวลา 2 - 3 ปีที่ผ่านมา อมรินทร์ฯ
ได้มีกองบรรณาธิการใหม่ ๆ เกิดขึ้นหลายกองด้วยกัน อาทิ
กองบรรณาธิการแพรวเพื่อนเด็ก ซึ่งจะผลิตหนังสือที่เกี่ยวกับเด็กทั้งหมด
ด้วยวัตถุประสงค์ที่จะสร้างนิสัยรักการอ่านให้กับเด็กเล็กระดับอนุบาล
โดยมีการจัดสัมมนา ฝึกอบรมให้ครูและนักเรียนเข้าใจถึง
แนวคิดใหม่ในการที่จะให้พ่อแม่ใช้หนังสือ
เป็นสื่อกลางในการสื่อสารกับลูก

นอกจากนั้น ยังมีกองบรรณาธิการแพรวเยาวชน
ซึ่งผลิตวรรณกรรมเยาวชน ซึ่งปัจจุบันมีกว่า 20 เรื่อง
และส่วนใหญ่เป็นวรรณกรรมที่มีชื่อเสียงจากประเทศต่าง ๆ
ขณะเดียวกัน อมรินทร์ฯ ก็พยายามที่จะ
สร้างวรรณกรรมของไทยขึ้นด้วย

" วรรณกรรมเยาวชนเป็นหนังสือที่น่าสนใจ
เพราะยังเป็นที่แพร่หลายในเมืองไทย
ส่วนใหญ่หนังสือในเมืองไทยจะเป็นหนังสือสำหรับเด็กเล็ก
ประเภทการ์ตูนต่าง ๆ แล้วก็ข้ามไปเป็นหนังสือผู้ใหญ่เลย
แต่หนังสือสำหรับเด็กอายุ 10 ขวบขึ้นไปจะมีน้อยมาก
ถ้าพวกเขาอยากอ่านหนังสือก็ต้องข้ามไป
อ่านหนังสืออย่างงานของดอกไม้สด อรวรรณ เป็นต้น
แต่หากเรามีวรรณกรรมมากขึ้น
ก็จะช่วยให้เด็กสนใจการอ่านมากขึ้น
เนื่องจากวรรณกรรมเหล่านี้จะไม่มีความซับซ้อนและหยาบ
เท่ากับหนังสือผู้ใหญ่ เพราะเรื่องราวส่วนใหญ่จะสอดคล้องกับความสนใจ
และจินตนาการของเด็ก ซึ่งเราก็จะเป็นตัวเชื่อมให้วรรณกรรมเยาวชน
เป็นที่รู้จักมากขึ้นในสังคมไทย" ชูเกียรติกล่าวอย่างมุ่งมั่น

นอกจากนั้น อมรินทร์ฯ ยังมีการสั่งสมข้อมูลที่เรียกว่า
ทรัพย์สินทางปัญญาเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะนำออกเผยแพร่
ในลักษณะของการตีพิมพ์บนกระดาษและ
ในรูปแบบของสื่อ อิเล็กทรอนิกส์ด้วย

"เราจะต้องขยายตัวทั้งในแนวขวาง คือ การที่มีสำนักพิมพ์มากขึ้น
พร้อมทั้งขยายตัวในแนวดิ่ง คือ การเป็นสื่อในหลาย ๆ รูปแบบ เช่น
การยิงเข้าอินเตอร์เน็ต การออกรายการวิทยุโทรทัศน์
รวมทั้งการทำในรูปของวิดีโอ เทปคาสเซตต์ หรือดิสเก็ตต์ เป็นต้น"
นี่คือ ทิศทางการเติบโตของอมรินทร์ฯ แต่สำหรับคำถามที่ว่า
อมรินทร์ฯ จะขยายตัวได้มากน้อยแค่ไหนนั้น
เขาไม่สามารถให้คำตอบได้ เนื่องจากยังมีปัจจัยอื่นอีก
ที่อยู่นอกเหนือจากการควบคุมของเขา เช่น
ภาวะเศรษฐกิจ การสนับสนุนจากรัฐบาล

โอกาส ในการเติบโตของทั้ง 3 กลุ่มธุรกิจยังมีช่องทางอีกมาก
แต่จะเติบโตได้แค่ไหนภายใน 3 - 5 ปีข้างหน้า
ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยภายในของเราเองว่า

เรามีความพร้อมเรื่องบุคลากร
และสามารถวิ่งตามเทคโนโลยีได้มากน้อยแค่ไหน

เงินทองอาจจะไม่ใช่ปัญหาสำหรับเรา
เพราะเรามีช่องทางในการระดมทุนจากตลาดฯ
เป็นฐานที่แข็งแรงอยู่แล้ว ส่วนการแข่งขันก็ไม่ใช่ปัญหา
เพราะธุรกิจที่เราทำ เป็นสินค้าที่คนต้องการอยู่แล้ว
แต่ปัจจัยที่สำคัญอีกปัจจัยก็คือ
ภาวะเศรษฐกิจที่เอื้ออำนวยและเหมาะสมมากน้อยเพียงใด
ต่อการลงทุนของเรา
หรือแม้แต่ตลาดในต่างประเทศเอง
มีความเหมาะสมกับเราแค่ไหนที่เราจะขยายธุรกิจ ไป

…นับระยะเวลาต่อจากนี้
อมรินทร์ฯจะต้องให้ความสำคัญกับทรัพยากรบุคคลให้มากขึ้น
รวมทั้งการพัฒนาเทคโนโลยี
อันจะเป็นพื้นฐานสำคัญในการดำเนินธุรกิจในอนาคต
ซึ่งเราจะต้องแข็งแรงทั้งคนและระบบ และที่สำคัญ
คนที่ทำงานกับเราจะต้องมีความสุขกับงานที่ทำ
เพราะไม่ว่างานจะยากลำบากเพียงใด
หากเขามีความสุขแล้ว
เขาก็สามารถทำงานนั้นให้สำเร็จจนได้
เป็นความใส่ใจที่ "พ่อใหญ่"
แห่งอมรินทร์ฯ ถ่ายทอดออกมา

สำหรับภาครัฐบาล ชูเกียรติกล่าวว่า
เป็นตัวแปรสำคัญทีเดียวในการที่จะทำให้
อุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ของไทยแข็งแกร่งหรือไม่

ปัจจุบัน รายได้หลักของอมรินทร์ฯ
นอกจากจะมาจากธุรกิจโรงพิมพ์แล้ว
ยังมาจากค่าโฆษณาในนิตยสารทั้ง 5 ฉบับ
และรายได้จากการขายหนังสือเล่ม
ซึ่งส่วนหลังนี้จะไม่มากนัก
เนื่องจากปัจจุบันต้นทุนการผลิตหนังสืออยู่ในระดับที่สูงมากขึ้น
จากภาวะราคากระดาษที่มีแนวโน้มที่จะไม่ลงต่ำกว่าในปัจจุบันแล้ว
ยังมาจากการที่ประเทศไทยมีการเก็บภาษีกระดาษที่สูงถึง 20%
ซึ่งมากกว่าประเทศเพื่อนบ้าน ที่ไม่มีการเก็บภาษีนี้เลย
ปัจจัยเหล่านี้เองที่ทำให้ราคาหนังสือของไทย
ขยับตัวค่อนข้างสูงขึ้นมากในปัจจุบัน

"ต้นทุนการผลิตหนังสือประมาณ 65 - 70% มาจากค่ากระดาษ
และหากรัฐยังคงเก็บภาษีตัวนี้อยู่ ต้นทุนก็จะยิ่งสูงขึ้น
ราคาหนังสือก็จะแพงอย่างที่เป็นอยู่
ในทางกลับกันหากฐานภาษีตัวนี้ลดลง
หรือคิดเหมือนเพื่อนบ้าน คือ 0%
จะทำให้ราคาหนังสือลดลง 25 - 50% ทีเดียว
ถ้ารัฐให้ความสนับสนุนตรงนี้อย่างจริงจัง
คนไทยจะมีหนังสือดี ๆ ให้อ่านอีกเยอะ
และผลพลอยได้ที่ตามมา คือ อุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์จะแข็งแรงขึ้น"

ในขณะเดียวกัน ชูเกียรติก็ยอมรับว่า
รายได้ของบริษัทที่มาจากค่าโฆษณาในนิตยสารนั้น
ก็มีการเติบโตที่ช้าลง
เนื่องจากการโฆษณาในวิทยุและโทรทัศน์จะเห็นผลตอบสนองที่ชัดเจนกว่า

ดังนั้น เพื่อเป็นการรักษารายได้ในส่วนนี้ให้ยังคงอยู่นั้น
ก็เป็นหน้าที่ของคนทำงานที่จะต้องหาวิถีทางที่จะเสริมจุดอ่อนตรงนี้
…INTERNET จึงเป็นสิ่งที่ไม่ถูกมองข้ามสำหรับผู้บริหารอย่างชูเกียรติ
และจากนี้เองที่อมรินทร์ฯ เริ่มมี HOMEPAGE เป็นของตัวเอง

"INTERNET จะมาเป็นตัวเสริมและสร้างความได้เปรียบ
ให้กับนิตยสารของเรา เราสามารถทำให้โฆษณาที่อยู่บนหน้าหนังสือของเรา
ไปปรากฏอยู่บนจอคอมพิวเตอร์ ที่สามารถสื่อสารไปทั่วทุกมุมโลกได้
และความแตกต่างที่การโฆษณาในวิทยุ โทรทัศน์
ไม่สามารถทำได้ก็คือ
การสัมผัสเพียงปลายนิ้วก็สามารถสั่งซื้อของที่ต้องการได้

ความ ก้าวหน้าของเทคโนโลยีนี้เองที่ทำให้โฆษณาที่ลงกับเรามีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น
นับจากนี้ก็จะเป็นการดึงดูดความสนใจของผู้ลงทุนที่จะซื้อโฆษณากับเรามากขึ้น
และผมคิดว่า ยุคทองของรายได้จากค่าโฆษณาจะกลับมาในไม่ช้า
ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่า เราจะสามารถสร้าง HOMEPAGE
และสามารถใส่ข้อมูลทาง INTERNET
ให้มีคุณภาพและดึงดูดได้มากแค่ไหน ซึ่งเรื่องนี้ต้องใช้เวลาระยะหนึ่ง"

แม้ว่าเรื่องราวของอมรินทร์ฯ ที่ชูเกียรติเล่ามาทั้งหมดนี้
จะเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่นำ
บริษัท เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ แล้วก็ตาม
แต่เขาก็ไม่ลืมที่จะเล่าย้ำอีกว่า" อมรินทร์ฯ
เริ่มต้นจากหนังสือเล่มเดียว คือ "บ้านและสวน"

สมัยนั้นเรายังไม่มีโรงพิมพ์เป็นของตัวเอง ต้องไปจ้างคนอื่นพิมพ์
จนในที่สุดก็มีคนชักชวนให้ตั้งโรงพิมพ์เอง
เราก็เริ่มต้นจับงานโรงพิมพ์เป็นครั้งแรกโดยพิมพ์บ้าแนละสวนของเราเอง
และใช้เวลาว่างจากการพิมพ์งานของเราเองรับจ้างพิมพ์งานนอกด้วย
และจากวันนั้นเอง เราก็เติบโตมาเรื่อย ๆ
แม้จะล้มลุกคลุกคลานบ้างในปีแรก ๆ "
และเขายังเล่าถึงที่มาของชื่อบริษัท "อมรินทร์"

ซึ่งน้อยคนนักที่จะทราบอีกด้วยว่า
"อมรินทร์เป็นชื่อของวัดที่อยู่ใกล้กับที่ตั้งบริษัทของเรา
นึกชอบก็เลยอาศัยชื่อวัดมาเป็นชื่อบริษัท
เราก็เลยเดินตามหลังพระมาตลอด"

" การเดินตามหลังพระ" ของชูเกียรติ
คงจะหมายถึงการทำธุรกิจอย่างมีศีลธรรม มีจรรยาบรรณ
จึงทำให้ธุรกิจที่เดินเคียงคู่มากับเขา
ประสบความสำเร็จและก้าวต่อไปอย่าง มั่นคง

นอกจากนี้ "พ่อใหญ่" แห่งอมรินทร์ฯ ยังกล่าวอีกว่า
"ธุรกิจหนังสือเป็นธุรกิจที่ไม่มีเพดาน
แต่ธุรกิจนี้จะแข็งแรงแค่ไหนนั้นขึ้นอยู่กับ
จินตนาการและวิสัยทัศน์ของแต่ละบริษัทฯ
คำกล่าวนี้น่าจะประยุกต์ใช้ได้กับทุกบริษัท


ชูเกียรติ อุทกะพันธ์ จากวงแชร์ ยกระดับเข้าสู่ตลาดหุ้น
นิตยสารผู้จัดการ
(กรกฎาคม 2534)

ผู้ชายวัย 40 ปีคนนี้ ดูอย่างไรๆ ก็ไม่มีเถ้าแก่โรงพิมพ์อยู่เลย
บุคลิกภูมิฐานท่วงท่าสุขุม และน้ำเสียงนุ่มนวลแบบเขา
น่าจะเป็นมาดของราชการชั้นผู้ใหญ่มากกว่า
แต่เขาก็เป็นเจ้าของโรงพิมพ์ที่ระดับคุณภาพ
ที่กำลังจะเข้าเป็นบริษัทรับอนุญาต
ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในไม่ช้านี้

ชูเกียรติ อุทกะพันธ์ เป็นเจ้าของและ
กรรมการผู้จัดการบริษัท อมรินทร์ พริ้นติ้งกรุ๊ฟ จำกัด
ซึ่งดำเนินธุรกิจโรงพิมพ์นิตยสารบ้านและสวน
นิตยสารแพรวและแพรวสุดสัปดาห์

จุดเริ่มต้นของก้าวเข้ามาในธุรกิจสิ่งตีพิมพ์ของเขา
มาจากพื้นเพทางการศึกษา

และประสบการณ์ทำงานในช่วงต้นของชีวิต
ที่คลุกคลีอยู่กับหนังสือมาตลอด

ชูเกียรติจบการศึกษาระดับปริญญาตรีจาก
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ เมื่อ พ.ศ 2508
เขาเริ่มต้นงานแรกที่โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิชด้วยการ
เป็นพนักงานดูแลตรวจตรา แบบเรียนซึ่ง
เป็นสินค้าหลักของไทยวัฒนาพานิช
แล้วไต่เต้าขึ้นมาเป็นบรรณาธิการหนังสือตำราเรียน

สุดท้ายช่วงเวลา 6 ปีที่ไทยวัฒนาพานิช
ชูเกียรติเป็นหน้าบรรณาธิการนิตยสารวิทยาสาร
ซึ่งเป็นนิตยสารทางการศึกษาที่มีบทบาท
เผยทางด้านควาทคิดทางสังคม
และการศึกษาที่ก้าวหน้ามากในยุค

"ฉันจึงมาหาความหมาย"
ระหว่างปี 2510-2516
ชูเกียรติลาออกจากไทยพัฒนาพานิช
มาเป็นหน้าฝ่ายประชาสัมพันธ์ของการเคหะแห่งชาติ
ที่รากของแนวคิดในการทำหนังสือเกี่ยวกับ
การตกแต่งบ้านเริ่มก่อตัวขึ้น

การเคหะแห่งชาติในยจุคที่ชูเกียรติเข้าไปทำงานนั้น
เป็นยุคแรกสุดของการก่อตั้ง
ในฐานะหัวหน้าฝ่ายประชาสัมพันธ์
เขาจำเป็นที่จะต้องสร้างสื่อที่จะต้องสื่อสารกับประชาชน
เขาใช้ความชัดเจนจากการทำหนังสือ
ออกหนังสือ "บ้าน" ขึ้นมาขายในท้องตลาดเป็นเล่มแรก
หลังจากนั้นอีก 2 ปีต่อมาที่
"บ้านใหม่" เป็นหนังสือแจก ฟรีออกมา

ความจำเป็นที่ต้องทำงานกับเคหะฯ
ทำให้เขาต้องศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับเรื่องบ้าน
และประสบการณ์จากการทำหนังสือเกี่ยวกับบ้าน
ให้กับการเคหะทำให้เขารู้ว่ายังมีผู้อ่านอีกมาก
ที่ต้องการความรู้ในด้านนี้
แต่ไม่มีหนังสือที่จะตอบสนองในท้องตลาดได้
หนังสือบ้านที่เขาทำในยุคนั้นส่งไปขายไกลถึงเวียงจันทน์
และได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี

สองส่วนนี้ทำให้เขามีข้อสรุปว่า
"เรามีความพร้อมที่จะทำธุรกิจเองได้"
ประกอบกับความอึดอัดกับระบบการทำงานแบบราชการ
เขาจึงลาออกมาทำหนังสือเองหลังจากที่อยู่การเคหะฯได้ 4 ปี

ปี 2519 ชูเกียรติออกหนังสือ "บ้านและสวน"
และเป็นเล่นแรกในขณะนั้นหนังสือในแนวเดียวกันออกจาก
"บ้าน" ของการเคหะฯ และก็ยังมี
" เฮ้าส์ซิ่ง" อีกเล่นหนึ่ง แต่ในที่สุดก็เหลือ "บ้านและสวน"
ที่มีอายุยาวต่อมาอีก 15ปี จนถึงทุกวันนี้

"เราต้องเปลี่ยนตัวสินค้าอยู่ตลอดเวลาให้มีอะไรแปลกใหม่อยู่เสมอ"
ชูเกียรติพูดถึงปัจจัยแห่งความยั่งยืนของ
"บ้าน และสวน" ข้อแรกและข้อที่สองคือ
คุณภาพและความสวยงามของหนังสือของหนังสือ

การทำหนังสือบ้านและสวนออกมาทำให้
ชูเกียรติต้องก้าวหน้าไปธุรกิจโรงพิมพ์อย่างไม่ได้ตั้งใจ
"ผมไม่ได้ใฝ่ฝันที่จะตั้งโรงพิมพ์เป็นของตัวเองเลย"
ชูเกียรติบอกว่าสิ่งที่เขาอยากจะทำมีอยู่อย่างเดียว
คือหนังสือสวยๆ งามๆ และขายได้

ปีแรกของบ้านและสวนชูเกียรติจ้างโรงพิมพ์ของคนอื่นพิมพ์
ช่วงนั้นเป็นช่วงที่เทคโนโลยีกำลังเปลี่ยนแปลงมา
สู่ยุคของการพิมพ์ ออฟเซท
โรงพิมพ์ที่มีเครื่องพิมพ์ออฟเซทยังมีจำกัด
ทำให้เขามีปัญหามากในการหาโรงพิมพ์
ที่พิมพ์งานที่มีคุณภาพได้ดี

ปี 2520 ชูเกียรติจำเป็นต้องตั้งโรงพิมพ์ของตัวเองขึ้น
มาพิมพ์หนังสือของตัวเอง
ในซื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด อัมรินทร์การพิมพ์
เริ่มต้นด้วยแท่นพิมพ์เพียงตัวเดียว
ช่วง 2-3 ปี แรกเป็นช่วงของความยากลำบากที่สุด
ในการประคับประคองธุรกิจดรงพิมพ์ให้อยู่รอด
เมื่อต้องลงทุนซื้อ แท่นพิมพ์เองปัญหาการสะดุด
ติดขจัดในเรื่องเงินหมุนเวียนจึงเป็นเรื่องเฉพาะ
เจ้าหน้าที่ที่ต้องฝ่าฟันไปให้ให้ได้

เมตตา ภารยาของชูเกียรติต้องลาออกจากการ
เป็นอาจารย์สอนภาษาอังกฤษที่มหาวิทยาลัยศรีนคินทรวิโรฒ
มาช่วยดูแลทางด้านการเงิน
แหล่งเงินทุนที่สำคัญที่สุดในเวลานั้นคือ
การตั้งโรงแซร์ระหว่างโรงพิมพ์ต่างๆ ด้วยกันเอง
ซึ่งเป็นวิธีที่ทำให้อมรินทร์การพิมพ์
หลุดพ้นจากความยากลำบากในช่วงแรกมาได้

ปี 2521 ชูเกียรติออกหนังสือเล่นใหม่ชื่อ "แพรว"
เป็นหนังสือผู้หญิงลายปักษ์
"ตอนนั้นมีหนังสือผู้หญิงเล่มหนึ่งเลิกไปเราเห็นว่ามีช่องว่างอยู่พอดี"
คุณภาวดี หรือ สุภาวดี โกมารทัต
ซึ่งปัจจุบันเป็นบรรณาธิการอำนวยการของหนังสือในเครือทุกเล่ม
ซึ่งประสบการณ์ทางด้านนี้อยากทำด้วย

กว่าที่แพรวจะอยู่ตัวได้และเป็นที่ยอมรับของตนอ่านใช่เวลาถึง 4 ปี
หลังจากนั้นอีกไม่นานก็ตามมาด้วยแพรวสุดสัปดาห์ซึ่งเจาะผู้อ่านกลุ่มวัยรุ่น
ในขณะที่แพรวกลุ่มผู้อ่านจะเป็นผู้หญิงวัยทำงานแล้ว
ความตั้งใจแรกเริ่มของชูเกียรตินั้น
จะรวมแพรวเข้ามาอยู่เล่มเดียวกันในเวลา ต่อมา

" โชคดีที่เราไม่ทำอย่างนั้น"
ชูเกียรติอธิบายว่าถ้ายุบเหลือเล่มเดียว
จะไม่มีหน้าที่รองรับโฆษณา
ที่เป็นรายได้หลักของหนังสือได้พอ

ปีที่แล้วอมรินทร์ พริ้นติ้งกรุ๊ปซึ่งปรับโครงสร้าง
และระบบบัญซีใหม่รวมเอากิจการโรงพิมพ์หนังสือในเครือทั้ง 3 เล่ม
และธุรกิจจัดจำหน่ายเข้าด้วยกัน
มียอดขาย 190 ล้านบาท 50 %
เป็นรายได้จากค่าโฆษณาในหนังสือทั้งสามเล่ม
อีกครั้งหนึ่งที่เหลือเป็นรายได้
จากการขายหนังสือ 20 % และรับจ้างพิมพ์ 30 %

"ปลายปีนี้เราจะออกหนังสือรายเดือนเล่มใหม่
เป็นหนังสือที่จะรวมเอาจุดเด่นของแพรว
กับบ้านและสวนมาไว้ด้วยกัน" ชูเกียรติกล่าว

รายได้ 30% ที่มาจากการรับจ้างพิมพ์ของอมรินทร์นั้น
70 % คืองานพิมพ์หนังสือในเครือและอีก 30% เป็นงานข้างนอก
รายได้จากการรับจ้างพิมพ์จะเพิ่มขึ้นประมาณ 25 % ต่อปี
ส่วนรายได้อื่นๆ จะเพิ่มไม่มากนัก
ชูเกียรติให้ภาพทิศทางธุรกิจของเขาในอนาคต
หลังจากที่เข้าตลาดหลักทรัพย์แล้วจะเน้นไปที่ธุรกิจโรงพิมพ์มากกว่า
รายได้จากการทำหนังสือ

จากแท่นพิมพ์เพียงแท่นเดียวเมื่อ 10 ปีก่อน
ปัจจุบันอมรินทร์เฟิร์สติ้งกรุ๊ป
มีแท่นพิมพ์ประเภทต่างๆ รวมกัน 20 ยูนิต
ซึ่งเดินเครื่องตลอด 24 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 6 วัน

การเพิ่มทุนอีก 7 ล้านบาท จากที่ 39 ล้านบาทเป็น 46 ล้านบาท นั้น
ชูเกียรติหวังว่าจะได้รับเงินจากการขายหุ้น 100 ล้านบาท
มาลงทุนเพิ่มในส่วนของโรงพิมพ์
ซึ่งย้ายจากที่เดิมมาตั้งที่ตลิ่งชัน ในเนื้อที่ 5 ไร่

ตามแผ่นการลงทุน โรงพิมพ์แห่งใหม่ของเขาจะมีระบบการผลิตแบบครบวงจร
โดยการสั่งซื้อแท่น 4 สี เครื่องพิมพ์กระดาษม้วน 4 สี อย่างละหนึ่งเครื่อง
เครื่องและจัดซื้อเครื่องแยกสีพร้อมอุปกรณ์หนึ่งเครื่อง

14 ปีที่แล้ว ที่เขาตั้งวงแซร์หาเงินมาตั้งโรงพิมพ์
เป็นช่วงที่เทคโนโลยีการพิมพ์กำลังก้าวเข้าสู่การพิมพ์แบบออฟเซท
เป็นความจำเป็นที่จะต้องสร้างเครื่องมือการผลิต
เพื่อตอบสนองความต้องทำหนังสือคุณภาพดี

มาถึงปีนี้วิทยาการพิมพ์ยกระดับจากออฟเซทธรรมดาขึ้นไป
สู่ระดับการพิมพ์ที่ทำงานด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์
แหล่งเงินทุนจากการพัฒนาจากวงแชร์ขึ้นมาเป็นตลาดหลักทรัพย์
จุดมุ่งหมายเฉพาะหน้าในการทำบริษัทเข้าตลาด
เพื่อหาเงินมาซื้อเทคโนโลยีการพิมพ์ใหม่ของชูเกียรติ
คือการขยายกำลังการผลิตทั้งในแง่ปริมาณและคุณภาพ

ส่วนเป้าหมายระยะต่อไปซึ่งอยู่ในความคิดของเขาคือ
การขยายตลอดรับจ้างพิมพ์งานจากสำนักพิมพ์ต่างประเทศ
โดยเฉพาะการพิมพ์หนังสือปกแข็งซึ่งจาการเดินทางไปดู
งานหนังสือที่อังกฤษเมื่อเร็วๆ นี้
เขาพบว่าเอเยนต์ของสำนักพิมพ์หลายๆ
พร้อมที่จะป้อนงานให้โรงพิมพ์ให้ประเทศไทยหากว่าคุณภาพถึงขั้น

" ปัญหาที่ผ่านมาคือ เราอยากที่จะให้มีออร์เดอร์ก่อนถึงจะลงทุน
ส่วนทางต่างประเทศก็อยากจะเห็นผลงานก่อนถึงจะตัดสินใจให้งานมา"
ชูเกียรติพูดถึงจุดที่ไม่ลงตัวระหว่างผู้ผลิตในบ้านเรากับต่างประเทศซึ่งออก คือ
โรงพิมพ์จะต้องกล้าลงทุนไปก่อน
บนความเชื่อมันในคุณภาพของตัวเอง เขาประมาณว่า
จะต้องเงินราว 200 ล้านบาทเพื่อลงทุนติดตั้งเครื่องพิมพ์หนังสือปกแข็ง
ซึ่งดูเหมือนจะเป็นเป้าหมายอันหนึ่งของเขาบนเส้นทางชีวิตเถ้าแก่โรงพิมพ์
ที่เขาก้าวมาด้วยไม่ได้ตั้งใจ



ประวัติผู้ก่อตั้งกองทุน

คุณชูเกียรติ อุทกะพันธุ์ เป็น
บุตรของ คุณรัฐ และคุณระเบียบ อุทกะพันธุ์
เกิดเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2485
ที่อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส
ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2545
รวมอายุ 60 ปี 7 เดือน มีพี่น้องรวม 6 คน ดังนี้

1. คุณประณต อุทกะพันธ์
2. คุณสุนันทา อุทกะพันธุ์
3. คุณเกษมศักดิ์ อุทกะพันธุ์
4. คุณชูเกียรติ อุทกะพันธุ์
5. คุณพวงน้อย อุทกะพันธุ์
6. คุณอรนิตย์ อุทกะพันธุ์

เมื่ออายุ 3 ขวบ คุณอาระริ่น อุทกะพันธุ์
ได้รับมาเลี้ยงดูที่จังหวัดสงขลา
เพื่อให้คุณแม่เลี้ยงดูบุตรสาวคนใหม่ได้เต็มที่

ประวัติการศึกษา
ได้เริ่มเรียนชั้นมูลที่โรงเรียนภูผาภักดี จังหวัดนราธิวาส
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-4 ที่โรงเรียนเทศบาล 1
( ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนเทศบาล 2 )
อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
มัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ที่โรงเรียนมัธยมนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส
มัธยม ศึกษาปีที่ 7-8 ที่โรงเรียนมหาวชิราวุธ
แผนกการเรียนสายศิลป์
สมัยนั้นการเรียนสายศิลป์ต้องเรียน ณ โรงเรียนวรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลา
ปริญญาตรีคณะอักษรศาสตร์และครุศาสตร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สถานภาพการสมรส สมรสกับคุณ
เมตตา อุทกะพันธุ์ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร
และกรรมการผู้จัดการใหญ่
บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พัพลิชชิ่งจำกัด ( มหาชน )
มีบุตร-ธิดา 2 คน คือ
1. น.ส. ระริน อุทกะพันธุ์
ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการผู้จัดการสายธุรกิจ
สำนักพิมพ์บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พัพลิชชิ่งจำกัด ( มหาชน )
2. นายระพี อุทกะพันธุ์ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายค้าปลีก
บริษัทอมรินทร์บุ้คเซนเตอร์ จำกัด

ประวัติการทำงาน
เริ่มทำงานครั้งแรก ที่การท่องเที่ยวหาดใหญ่ อยู่ 7 เดือนจึงลาออก
จากนั้นจึงทำงานกับบริษัทไทยวัฒนาพาณิช จำกัด
ในตำแหน่งหัวหน้าบรรณาธิการวารสาร วิทยาสาร

ลาออกจากบริษัทไทยวัฒนาพาณิชจำกัดไปทำงานที่
การเคหะแห่งชาติ ตำแหน่งหัวหน้ากองประชาสัมพันธ์

ลาออกจากการเคหะแห่งชาติไปทำหนังสือเอง คือ
บ้านและสวน และจัดตั้งโรงพิมพ์อมรินทร์
ด้วยเงินทุนเริ่มแรกเพียง 50,000 บาท
ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น
บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พัพลิชชิ่งจำกัด ( มหาชน )
ซึ่งเป็นธุรกิจสิ่งพิมพ์ครบวงจรที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย
โดยผลิตนิตยสาร
บ้านและสวน
แพรว
ชีวจิตร
health & cuisine,
National Geographic ฉบับภาษาไทย Room
we,
Real parenting
shape
และ Instyle
ทั้งยังได้จัดพิมพ์และจำหน่ายหนังสือพระราชนิพนธ์
พระราชนิพนธ์แปลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทุกเล่ม
และพระนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดา สยามมกุฎราชกุมารี
พร้อมทั้งรับและจัดพิมพ์หนังสืออื่นอีกมากมาย

ตำแหน่งสุดท้าย ของการทำงานของคุณชูเกียรติ อุทกะพันธุ์ คือ
ประธานกรรมการบริหารบริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พัพลิชชิ่งจำกัด ( มหาชน )
กรรมการและเลขานุการมูลนิธิภูมิปัญญาไทย
เป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีของกระทรวงคมนาคม คุณประสิทธิ์ ณรงค์เดช เป็นเวลา 1 ปี

คุณชูเกียรติ อุทกะพันธุ์ เป็น
บุคคลอีกท่านที่เห็นความสำคัญของการศึกษา
และการอ่านเป็นอย่างมาก
เป็นผู้ที่มีความกตัญญูเป็นอย่างยิ่ง ระลึกอยู่เสมอว่า
คุณอารักมากและฝากชีวิตไว้กับหลานคนนี้
แต่เนื่องจากมีความจำเป็นในภารกิจ
ไม่สามารถมาดูแลคุณอาในบั้นปลายของชีวิตได้อย่างเต็มที่
จึงได้จัดตั้งกองทุน
คุณอาระริ่น อุทกะพันธุ์
โดยใช้ชื่อของคุณอาเป็นชื่อของกองทุน