ประวัติความเป็นมา
มรณกรรมของ คุณชูเกียรติ อุทกะพันธุ์ ประธานกรรมการบริหาร
บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน)
เมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๕๔๕
ไม่เพียงเป็นความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ของญาติมิตร
และพนักงานทุกระดับของบริษัทซึ่งท่านเป็นผู้ก่อตั้งเท่านั้น
หากยังเป็นความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ของวงการหนังสือไทยด้วย
ในฐานะผู้ประกอบธุรกิจสิ่งพิมพ์ คุณชูเกียรติได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า
การที่ท่านประสบความสำเร็จและเป็นที่ยอมรับนับถือนั้น
มิได้เกิดจากความเก่งด้านการบริหาร และการมองเห็นช่องทาง
หรือโอกาสทางธุรกิจเท่านั้น แต่รวมถึงต้นทุนอันสำคัญที่มีอยู่ในตัว
นั่นคือความรักและความใฝ่รู้
ความรักเป็นแรงผลักดันให้ท่านกล้าคิด กล้าผลิต
และกล้าลงทุนพิมพ์หนังสือดีๆ ฉันใด
ความใฝ่รู้ก็ทำให้ท่านต้องพัฒนาตน พัฒนางาน
และพัฒนาปัญญาให้เจริญรุดหน้าฉันนั้น
ด้วยเหตุนี้หนังสือดีบางเล่ม เช่น สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้
นอกจากไม่เก็บค่าพิมพ์แล้ว คุณชูเกียรติยังสมทบให้เป็นทุน
ในการสร้างสถาบันทักษิณคดีศึกษา ที่จังหวัดสงขลา
ส่วนหนังสือดรรชนีค้นคำในกฎหมายตราสามดวง
ประชุมพงศาวดารฉบับราษฎร์ ตำราพระโอสถพระนายรายณ์
คุณชูเกียรติก็ตัดสินใจพิมพ์
เพราะเล็งเห็นประโยชน์ในด้านการศึกษาเป็นหลัก
สิ่งที่คุณชูเกียรติเน้นเสมอมาคือคุณภาพด้านเนื้อหา
คุณภาพการผลิต และคุณภาพการพิมพ์
ซึ่งเน้นว่าต้องรักษาระดับให้คงเส้นคงวา
"และถ้าวันนี้ดีแล้ว พรุ่งนี้ต้องให้ดียิ่งๆ ขึ้นไปอีก"
โดยนัยนี้ การทำหนังสือเล่มแล้ว เล่มเล่า
ของเขาจึงไม่ต่างอะไรกับเกษตรกร
ผู้หว่านเมล็ดพันธุ์แห่งความรักลงบนแผ่นดินกระดาษ
เพื่อให้งอกงามในความรู้สึกนึกคิดของผู้คนที่ได้อ่าน
การที่คุณชูเกียรติ ในนามบริษัทเครืออมรินทร์
ได้รับรางวัล Tokyo Creation Award
ในสาขาเอเชียนอะวอร์ด
จากสมาคมโตเกียวแฟชั่นแห่งประเทศญี่ปุ่น เมื่อปี ๒๕๓๓
ในฐานะที่เป็นผู้สร้างสรรค์และพัฒนากิจการพิมพ์ และสิ่งพิมพ์ดีเด่น
ซึ่งมีผลอย่างมากต่อชีวิตวัฒนธรรมของสังคมไทย
รวมทั้งเป็นผู้อุทิศตนเพื่อความก้าวหน้า
ในการใช้เทคโนโลยีการพิมพ์ในระดับสูงสุดของประเทศไทย
ย่อมเป็นหลักฐานพยานในเรื่องนี้ดีอยู่แล้ว
http://www.amarin.co.th
http://www.baanlaesuan.com
20 ปีแห่งความสำเร็จของ ชูเกียรติ อุทกะพันธุ์
มานิตา เข็มทอง
นิตยสารผู้จัดการ
(มกราคม 2540)
เมื่อเอ่ยถึงชื่อหนังสือ "บ้านและสวน"
น้อยคนนักที่จะไม่รู้จักหนังสือเล่มนี้
แต่จะมีสักกี่คนทรู้ว่า "บ้านและสวน"
ได้เติบโตมาพร้อม ๆ กับสำนักพิมพ์อมรินทร์
ujหรือที่คุ้นเคยกันในนามของ
บริษัทอมรินทร์ พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน)
เจ้าของนิตยสารชื่อดังอีก 4 ฉบับ "แพรว" "แพรวสุดสัปดาห์"
"LIFE & DECOR" และ "TRENDY MAN"
รวมถึงหนังสือเล่มอีกหลายร้อยเรื่อง
สำนักพิมพ์อมรินทร์ไม่ได้พิมพ์
แต่หนังสือที่ให้แต่ความบันเทิง อาทิ นวนิยาย
เรื่องสั้น วรรณกรรมสำหรับเด็ก งานแปลเท่านั้น
หากยังพิมพ์งานในเชิงวิชาการ
งานวิจัยต่าง ๆ และที่สำคัญที่สุดก็คือ สำนักพิมพ์อมรินทร์ฯ
ได้รับมอบหมายจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
ให้เป็นผู้พิมพ์และเป็นตัวแทนจำหน่ายหนังสือพระราชนิพนธ์ของพระองค์
และพระนิพนธ์ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ด้วย
การที่เกริ่น เริ่มเรื่องด้วยหนังสือ "บ้านและสวน" นั้น
สืบเนื่องจากศักราชใหม่นี้
อมรินทร์ฯ และ "บ้านและสวน" ก็จะก้าวเข้าสู่ปีที่ 21
ซึ่งถ้าเปรียบกับอายุคนก็ถือว่าบรรลุนิติภาวะแล้ว
และกว่าจะมีวันนี้ได้…แน่นอน…ไม่ใช่สิ่งที่ง่ายนักสำหรับ
ชูเกียรติ อุทกะพันธุ์ กรรมการผู้จัดการของอมรินทร์ฯ
หรือเจ้าของตัวจริงนั้นเอง
" การเติบโตที่ผ่านมา เป็นการเติบโตเพื่อที่จะให้บริการลูกค้าให้ดีขึ้น
มากกว่าการที่จะเติบโตใน ลักษณะที่มีการวางแผนหรือ
คิดล่วงหน้าว่า เราจะโตแค่ไหน"
จาก ความรับผิดชอบต่อลูกค้านี้เองที่ทำให้อมรินทร์ฯ จากเดิมที่มีเพียง
"บ้านและสวน" ฉบับเดียวก็ไม่โดดเดี่ยวอีกต่อไป
เพราะ 2 - 3 ปีต่อจากนั้นก็มี "แพรว"
เว้นระยะสักนิดก็ตามมาด้วย "แพรวสุดสัปดาห์"
"LIFE & DECOR" และ "TRENDY MAN"
น้องใหม่วัย 5 ขวบ ซึ่งก็คงไม่ใช่น้องสุดท้องอย่างแน่นอน…
ตลอดระยะเวลา 20 ปีของการทำงานของชูเกียรติ "พ่อใหญ่" ของอมรินทร์ฯ
ก็ไม่ได้หยุดอยู่เพียงแค่หนังสือไม่กี่เล่ม
ตรงกันข้ามกลับมีการขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่อง
ซึ่งดูเหมือนจะขัดกับคำพูดของเขาที่กล่าวกับ "ผู้จัดการรายเดือน" ว่า
" จริง ๆ เราไม่อยากโตเท่าไหร่หรอก…เหนื่อย…"
และเขาเองก็เป็นผู้ลบความขัดแย้งนั้นด้วยตัวเอง
"แต่ความรับผิดชอบที่เรามีต่อลูกค้าเป็นตัวผลักดันที่ทำให้เราต้องทำ
และต้องทำให้สำเร็จ เราก็เลยต้องโตมาเรื่อย ๆ"
และเมื่อ 4 ปีที่แล้ว อมรินทร์ฯ ก็กลายเป็นหนึ่งในบริษัทจดทะเบียน
ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ก้าวนี้เองที่ทำให้อมรินทร์ฯ ต้องโตอย่างเป็นระบบมากขึ้น
อมรินทร์ฯ ภายใต้การบริหารงานของชูเกียรติ
ประกอบด้วย ธุรกิจ 3 กลุ่มหลัก คือ
ธุรกิจโรงพิมพ์ ธุรกิจการจัดจำหน่ายและธุรกิจสำนักพิมพ์
"ความ จำเป็นที่เราต้องเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ
ก็เนื่องจากเราต้องการระดมทุนเพื่อใช้ในการขยายโรงพิมพ์
ซึ่งโรงพิมพ์นี้ถือเป็นส่วนที่ทำรายได้ให้อมรินทร์มากที่สุดในปัจจุบัน
และเงินที่ได้จากการระดมทุนเมื่อครั้งนั้น
เราก็นำมาลงทุนที่โรงพิมพ์ทั้งหมด ซึ่งตอนนี้ก็เริ่มเห็นผลแล้วว่า
เราสามารถทำงานได้เร็วขึ้น รับงานได้ในปริมาณที่มากขึ้น
และได้รับความเชื่อถือจากสำนักพิมพ์อื่นที่มาใช้บริการของเรามากขึ้น
ซึ่งกำลังการผลิตของเราในปัจจุบันสามารถรองรับ
งานพิมพ์ภายในและภายนอกได้ อย่างสบาย
แต่ในอนาคตหากงานพิมพ์ของเรามีมากขึ้น
เราคงต้องรับงานนอกให้น้อยลง" ชูเกียรติเล่า
นอกจากนี้ เขายังมองว่า ธุรกิจโรงพิมพ์ยังสามารถเติบโตได้อีกมาก
หากสามารถพัฒนาบุคลากรผู้มีความชำนาญ
ในเรื่องของเทคโนโลยีการพิมพ์สมัยใหม่
ซึ่งมีคอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ และเขาก็ความเชื่อว่า
" ในอนาคต ธุรกิจการพิมพ์จะอยู่บนเส้นทางของ IT คือ
ไม่จำเป็นต้องเป็นอุตสาหกรรมใหญ่โต
อาจเป็นเพียงเครื่อง PRINTER หรือ SERVER ย่อยลงมา
เพื่อรองรับชุมชนหรือหน้าร้านเท่านั้น"
ส่วน ธุรกิจการจัดจำหน่ายก็เป็นอีกหนึ่งธุรกิจ
ที่มีความสำคัญต่ออมรินทร์ฯ ซึ่งอมรินทร์ฯ
ก็มีร้านค้าปลีกเป็นของตนเอง โดยใช้ชื่อว่า "ร้านนายอินทร์"
ที่เรารู้จักกันดีว่าเป็นชื่อเดียวกับพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ (ร.๙)
"เราขอพระราชทานชื่อ "นายอินทร์" มาเป็นชื่อร้าน
หลังจากที่ได้พิมพ์หนังสือนายอินทร์เรียบร้อยแล้ว
เพราะรู้สึกประทับใจในชื่อของนายอินทร์ และ CONCEPT
ของร้านเราก็เป็นการทำงานลักษณะปิดทองหลังพระเช่นกัน คือ
เราพยายามที่จะสร้างร้านหนังสือให้สามารถทำหน้าที่
ได้มากกว่าความเป็นเพียง ร้านหนังสือ
ดังนั้น ร้านของเราจึงมีบรรยากาศที่น่าเข้า
ทั้ง ๆ ที่ตั้งอยู่ในทำเลที่จอแจ วุ่นวาย
แต่เมื่อลูกค้าได้เข้าไปในร้านเรากลับมีความรู้สึกสบาย
เหมือนอยู่ในห้องสมุด มีมุมให้นั่งจิบกาแฟ อ่านหนังสือ
หรือร่วมเสวนากับนักเขียนที่เราเชิญมาทุกสัปดาห์
ซึ่งขณะนี้เรามีทั้งหมด 4 สาขา และในอนาคตข้างหน้า
ถ้าเรามีความพร้อมเราก็จะเปิดสาขาต่อ ๆ ไป
แต่ไม่ได้หมายความว่าเราจะให้ร้านนายอินทร์
กลายเป็นร้านที่มีจำนวนมากที่สุดในประเทศไทย
เนื่องจากการเลือกทำเลสถานที่เป็นปัจจัยที่สำคัญ
รวมทั้งการฝึกอบรมบุคลากร การสร้างโปรแกรมการขาย
การบริหารสินค้า ซึ่งเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาในการพัฒนาอีกนาน"
ชูเกียรติเล่าถึงร้านนายอินทร์ ร้านหนังสือที่มีความเป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่าง
จากร้านหนังสือทั่วไป นอกจากร้านนายอินทร์แล้ว
อมรินทร์ฯ ยังมีซุ้มหนังสือไว้วสำหรับจำหน่าย
หนังสือทั้งในและต่างประเทศประจำโรงเรียน ต่าง ๆ ด้วย
สำหรับธุรกิจสำนักพิมพ์นั้น ชูเกียรติได้มีแนวคิด
ที่จะเปิดสำนักพิมพ์เพิ่มขึ้นอีกหลายสำนักพิมพ์ เช่น
สำนักพิมพ์แพรวเพื่อนเด็ก สำนักพิมพ์แพรวเยาวชน
สำนักพิมพ์อมรินทร์วิชาการ สำนักพิมพ์อมรินทร์ภูมิปัญญา เป็นต้น
โดยขณะนี้ก็สามารถเปิดทำการไปแล้วหลายสำนักพิมพ์
ซึ่งแต่ละกลุ่มสำนักพิมพ์ก็จะมีบุคลากรที่มีความชำนาญเฉพาะด้าน
" เราจะไม่ทำในสิ่งที่เราไม่ถนัด เพราะไม่คุ้มกับการเป็น NEW COMMER"
ชูเกียรติกล่าวถึงจุดยืนในการทำธุรกิจ และจากจุดยืนนี้เอง
ทำให้เราไม่มีโอกาสเห็นเขาไปจับงานรายวัน ดังเช่น
บริษัทอื่นที่จดทะเบียนอยู่ในหมวดเดียวกัน
อมรินทร์จึงเป็นบริษัทเดียวที่ไม่มีหนังสือพิมพ์รายวันเป็นของตนเอง
ซึ่งนั่นก็ไม่ใช่แนวทางที่ชูเกียรติต้องการจะให้เป็นไปอยู่แล้ว
จาก ลักษณะการดำเนินธุรกิจที่ค่อนข้างเป็นแบบ CONSERVATIVE
ไม่ได้ทำให้อมรินทร์ฯ ล้าหลังหรือตามโลกไม่ทัน
ตรงกันข้าม "พ่อใหญ่" แห่งอมรินทร์ฯ
กลับมีวิสัยทัศน์ที่ล้าสมัยด้วยซ้ำ เขามองว่า
" สังคมไทยกำลังเคลื่อนตัวเข้าสู่ยุคที่เรียกว่า สังคมแห่งการเรียนรู้
อมรินทร์ในฐานะผู้ผลิตสื่อก็ต้องพยายามที่จะผลิตสื่อ
ที่จะสนองความต้องการ ของผู้บริโภคให้ได้มากที่สุด"
ดังนั้น แนวทางที่อมรินทร์ฯ จะเดินต่อไปนับจากวันนี้ก็คือ
การสร้างสำนักพิมพ์ให้มีมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันอมรินทร์ฯ
มีหนังสือภายใต้สำนักพิมพ์ต่าง ๆ ในเครือกว่า 400 เรื่อง
ในขณะที่นิตยสารก็ยังคงมีอยู่ 5 ฉบับ และหากในปีนี้
ตลาดมีความพร้อมและความต้องการมากขึ้น
เราอาจได้เห็นนิตยสารฉบับใหม่ในเครืออมรินทร์ฯ
ออกมาท้าทายอยู่บนแผงหนังสือก็เป็นได้
เขาเริ่มต้นเล่าถึงแนว ทางการดำเนินธุรกิจของอมรินทร์ฯ ในอนาคตว่า
สำนักพิมพ์ที่จะเกิดขึ้นใหม่นั้น
แต่ละสำนักพิมพ์ก็จะมีกองบรรณาธิการของตัวเอง
และในช่วงระยะเวลา 2 - 3 ปีที่ผ่านมา อมรินทร์ฯ
ได้มีกองบรรณาธิการใหม่ ๆ เกิดขึ้นหลายกองด้วยกัน อาทิ
กองบรรณาธิการแพรวเพื่อนเด็ก ซึ่งจะผลิตหนังสือที่เกี่ยวกับเด็กทั้งหมด
ด้วยวัตถุประสงค์ที่จะสร้างนิสัยรักการอ่านให้กับเด็กเล็กระดับอนุบาล
โดยมีการจัดสัมมนา ฝึกอบรมให้ครูและนักเรียนเข้าใจถึง
แนวคิดใหม่ในการที่จะให้พ่อแม่ใช้หนังสือ
เป็นสื่อกลางในการสื่อสารกับลูก
นอกจากนั้น ยังมีกองบรรณาธิการแพรวเยาวชน
ซึ่งผลิตวรรณกรรมเยาวชน ซึ่งปัจจุบันมีกว่า 20 เรื่อง
และส่วนใหญ่เป็นวรรณกรรมที่มีชื่อเสียงจากประเทศต่าง ๆ
ขณะเดียวกัน อมรินทร์ฯ ก็พยายามที่จะ
สร้างวรรณกรรมของไทยขึ้นด้วย
" วรรณกรรมเยาวชนเป็นหนังสือที่น่าสนใจ
เพราะยังเป็นที่แพร่หลายในเมืองไทย
ส่วนใหญ่หนังสือในเมืองไทยจะเป็นหนังสือสำหรับเด็กเล็ก
ประเภทการ์ตูนต่าง ๆ แล้วก็ข้ามไปเป็นหนังสือผู้ใหญ่เลย
แต่หนังสือสำหรับเด็กอายุ 10 ขวบขึ้นไปจะมีน้อยมาก
ถ้าพวกเขาอยากอ่านหนังสือก็ต้องข้ามไป
อ่านหนังสืออย่างงานของดอกไม้สด อรวรรณ เป็นต้น
แต่หากเรามีวรรณกรรมมากขึ้น
ก็จะช่วยให้เด็กสนใจการอ่านมากขึ้น
เนื่องจากวรรณกรรมเหล่านี้จะไม่มีความซับซ้อนและหยาบ
เท่ากับหนังสือผู้ใหญ่ เพราะเรื่องราวส่วนใหญ่จะสอดคล้องกับความสนใจ
และจินตนาการของเด็ก ซึ่งเราก็จะเป็นตัวเชื่อมให้วรรณกรรมเยาวชน
เป็นที่รู้จักมากขึ้นในสังคมไทย" ชูเกียรติกล่าวอย่างมุ่งมั่น
นอกจากนั้น อมรินทร์ฯ ยังมีการสั่งสมข้อมูลที่เรียกว่า
ทรัพย์สินทางปัญญาเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะนำออกเผยแพร่
ในลักษณะของการตีพิมพ์บนกระดาษและ
ในรูปแบบของสื่อ อิเล็กทรอนิกส์ด้วย
"เราจะต้องขยายตัวทั้งในแนวขวาง คือ การที่มีสำนักพิมพ์มากขึ้น
พร้อมทั้งขยายตัวในแนวดิ่ง คือ การเป็นสื่อในหลาย ๆ รูปแบบ เช่น
การยิงเข้าอินเตอร์เน็ต การออกรายการวิทยุโทรทัศน์
รวมทั้งการทำในรูปของวิดีโอ เทปคาสเซตต์ หรือดิสเก็ตต์ เป็นต้น"
นี่คือ ทิศทางการเติบโตของอมรินทร์ฯ แต่สำหรับคำถามที่ว่า
อมรินทร์ฯ จะขยายตัวได้มากน้อยแค่ไหนนั้น
เขาไม่สามารถให้คำตอบได้ เนื่องจากยังมีปัจจัยอื่นอีก
ที่อยู่นอกเหนือจากการควบคุมของเขา เช่น
ภาวะเศรษฐกิจ การสนับสนุนจากรัฐบาล
โอกาส ในการเติบโตของทั้ง 3 กลุ่มธุรกิจยังมีช่องทางอีกมาก
แต่จะเติบโตได้แค่ไหนภายใน 3 - 5 ปีข้างหน้า
ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยภายในของเราเองว่า
เรามีความพร้อมเรื่องบุคลากร
และสามารถวิ่งตามเทคโนโลยีได้มากน้อยแค่ไหน
เงินทองอาจจะไม่ใช่ปัญหาสำหรับเรา
เพราะเรามีช่องทางในการระดมทุนจากตลาดฯ
เป็นฐานที่แข็งแรงอยู่แล้ว ส่วนการแข่งขันก็ไม่ใช่ปัญหา
เพราะธุรกิจที่เราทำ เป็นสินค้าที่คนต้องการอยู่แล้ว
แต่ปัจจัยที่สำคัญอีกปัจจัยก็คือ
ภาวะเศรษฐกิจที่เอื้ออำนวยและเหมาะสมมากน้อยเพียงใด
ต่อการลงทุนของเรา
หรือแม้แต่ตลาดในต่างประเทศเอง
มีความเหมาะสมกับเราแค่ไหนที่เราจะขยายธุรกิจ ไป
…นับระยะเวลาต่อจากนี้
อมรินทร์ฯจะต้องให้ความสำคัญกับทรัพยากรบุคคลให้มากขึ้น
รวมทั้งการพัฒนาเทคโนโลยี
อันจะเป็นพื้นฐานสำคัญในการดำเนินธุรกิจในอนาคต
ซึ่งเราจะต้องแข็งแรงทั้งคนและระบบ และที่สำคัญ
คนที่ทำงานกับเราจะต้องมีความสุขกับงานที่ทำ
เพราะไม่ว่างานจะยากลำบากเพียงใด
หากเขามีความสุขแล้ว
เขาก็สามารถทำงานนั้นให้สำเร็จจนได้
เป็นความใส่ใจที่ "พ่อใหญ่"
แห่งอมรินทร์ฯ ถ่ายทอดออกมา
สำหรับภาครัฐบาล ชูเกียรติกล่าวว่า
เป็นตัวแปรสำคัญทีเดียวในการที่จะทำให้
อุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ของไทยแข็งแกร่งหรือไม่
ปัจจุบัน รายได้หลักของอมรินทร์ฯ
นอกจากจะมาจากธุรกิจโรงพิมพ์แล้ว
ยังมาจากค่าโฆษณาในนิตยสารทั้ง 5 ฉบับ
และรายได้จากการขายหนังสือเล่ม
ซึ่งส่วนหลังนี้จะไม่มากนัก
เนื่องจากปัจจุบันต้นทุนการผลิตหนังสืออยู่ในระดับที่สูงมากขึ้น
จากภาวะราคากระดาษที่มีแนวโน้มที่จะไม่ลงต่ำกว่าในปัจจุบันแล้ว
ยังมาจากการที่ประเทศไทยมีการเก็บภาษีกระดาษที่สูงถึง 20%
ซึ่งมากกว่าประเทศเพื่อนบ้าน ที่ไม่มีการเก็บภาษีนี้เลย
ปัจจัยเหล่านี้เองที่ทำให้ราคาหนังสือของไทย
ขยับตัวค่อนข้างสูงขึ้นมากในปัจจุบัน
"ต้นทุนการผลิตหนังสือประมาณ 65 - 70% มาจากค่ากระดาษ
และหากรัฐยังคงเก็บภาษีตัวนี้อยู่ ต้นทุนก็จะยิ่งสูงขึ้น
ราคาหนังสือก็จะแพงอย่างที่เป็นอยู่
ในทางกลับกันหากฐานภาษีตัวนี้ลดลง
หรือคิดเหมือนเพื่อนบ้าน คือ 0%
จะทำให้ราคาหนังสือลดลง 25 - 50% ทีเดียว
ถ้ารัฐให้ความสนับสนุนตรงนี้อย่างจริงจัง
คนไทยจะมีหนังสือดี ๆ ให้อ่านอีกเยอะ
และผลพลอยได้ที่ตามมา คือ อุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์จะแข็งแรงขึ้น"
ในขณะเดียวกัน ชูเกียรติก็ยอมรับว่า
รายได้ของบริษัทที่มาจากค่าโฆษณาในนิตยสารนั้น
ก็มีการเติบโตที่ช้าลง
เนื่องจากการโฆษณาในวิทยุและโทรทัศน์จะเห็นผลตอบสนองที่ชัดเจนกว่า
ดังนั้น เพื่อเป็นการรักษารายได้ในส่วนนี้ให้ยังคงอยู่นั้น
ก็เป็นหน้าที่ของคนทำงานที่จะต้องหาวิถีทางที่จะเสริมจุดอ่อนตรงนี้
…INTERNET จึงเป็นสิ่งที่ไม่ถูกมองข้ามสำหรับผู้บริหารอย่างชูเกียรติ
และจากนี้เองที่อมรินทร์ฯ เริ่มมี HOMEPAGE เป็นของตัวเอง
"INTERNET จะมาเป็นตัวเสริมและสร้างความได้เปรียบ
ให้กับนิตยสารของเรา เราสามารถทำให้โฆษณาที่อยู่บนหน้าหนังสือของเรา
ไปปรากฏอยู่บนจอคอมพิวเตอร์ ที่สามารถสื่อสารไปทั่วทุกมุมโลกได้
และความแตกต่างที่การโฆษณาในวิทยุ โทรทัศน์
ไม่สามารถทำได้ก็คือ
การสัมผัสเพียงปลายนิ้วก็สามารถสั่งซื้อของที่ต้องการได้
ความ ก้าวหน้าของเทคโนโลยีนี้เองที่ทำให้โฆษณาที่ลงกับเรามีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น
นับจากนี้ก็จะเป็นการดึงดูดความสนใจของผู้ลงทุนที่จะซื้อโฆษณากับเรามากขึ้น
และผมคิดว่า ยุคทองของรายได้จากค่าโฆษณาจะกลับมาในไม่ช้า
ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่า เราจะสามารถสร้าง HOMEPAGE
และสามารถใส่ข้อมูลทาง INTERNET
ให้มีคุณภาพและดึงดูดได้มากแค่ไหน ซึ่งเรื่องนี้ต้องใช้เวลาระยะหนึ่ง"
แม้ว่าเรื่องราวของอมรินทร์ฯ ที่ชูเกียรติเล่ามาทั้งหมดนี้
จะเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่นำ
บริษัท เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ แล้วก็ตาม
แต่เขาก็ไม่ลืมที่จะเล่าย้ำอีกว่า" อมรินทร์ฯ
เริ่มต้นจากหนังสือเล่มเดียว คือ "บ้านและสวน"
สมัยนั้นเรายังไม่มีโรงพิมพ์เป็นของตัวเอง ต้องไปจ้างคนอื่นพิมพ์
จนในที่สุดก็มีคนชักชวนให้ตั้งโรงพิมพ์เอง
เราก็เริ่มต้นจับงานโรงพิมพ์เป็นครั้งแรกโดยพิมพ์บ้าแนละสวนของเราเอง
และใช้เวลาว่างจากการพิมพ์งานของเราเองรับจ้างพิมพ์งานนอกด้วย
และจากวันนั้นเอง เราก็เติบโตมาเรื่อย ๆ
แม้จะล้มลุกคลุกคลานบ้างในปีแรก ๆ "
และเขายังเล่าถึงที่มาของชื่อบริษัท "อมรินทร์"
ซึ่งน้อยคนนักที่จะทราบอีกด้วยว่า
"อมรินทร์เป็นชื่อของวัดที่อยู่ใกล้กับที่ตั้งบริษัทของเรา
นึกชอบก็เลยอาศัยชื่อวัดมาเป็นชื่อบริษัท
เราก็เลยเดินตามหลังพระมาตลอด"
" การเดินตามหลังพระ" ของชูเกียรติ
คงจะหมายถึงการทำธุรกิจอย่างมีศีลธรรม มีจรรยาบรรณ
จึงทำให้ธุรกิจที่เดินเคียงคู่มากับเขา
ประสบความสำเร็จและก้าวต่อไปอย่าง มั่นคง
นอกจากนี้ "พ่อใหญ่" แห่งอมรินทร์ฯ ยังกล่าวอีกว่า
"ธุรกิจหนังสือเป็นธุรกิจที่ไม่มีเพดาน
แต่ธุรกิจนี้จะแข็งแรงแค่ไหนนั้นขึ้นอยู่กับ
จินตนาการและวิสัยทัศน์ของแต่ละบริษัทฯ
คำกล่าวนี้น่าจะประยุกต์ใช้ได้กับทุกบริษัท
ชูเกียรติ อุทกะพันธ์ จากวงแชร์ ยกระดับเข้าสู่ตลาดหุ้น
นิตยสารผู้จัดการ
(กรกฎาคม 2534)
ผู้ชายวัย 40 ปีคนนี้ ดูอย่างไรๆ ก็ไม่มีเถ้าแก่โรงพิมพ์อยู่เลย
บุคลิกภูมิฐานท่วงท่าสุขุม และน้ำเสียงนุ่มนวลแบบเขา
น่าจะเป็นมาดของราชการชั้นผู้ใหญ่มากกว่า
แต่เขาก็เป็นเจ้าของโรงพิมพ์ที่ระดับคุณภาพ
ที่กำลังจะเข้าเป็นบริษัทรับอนุญาต
ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในไม่ช้านี้
ชูเกียรติ อุทกะพันธ์ เป็นเจ้าของและ
กรรมการผู้จัดการบริษัท อมรินทร์ พริ้นติ้งกรุ๊ฟ จำกัด
ซึ่งดำเนินธุรกิจโรงพิมพ์นิตยสารบ้านและสวน
นิตยสารแพรวและแพรวสุดสัปดาห์
จุดเริ่มต้นของก้าวเข้ามาในธุรกิจสิ่งตีพิมพ์ของเขา
มาจากพื้นเพทางการศึกษา
และประสบการณ์ทำงานในช่วงต้นของชีวิต
ที่คลุกคลีอยู่กับหนังสือมาตลอด
ชูเกียรติจบการศึกษาระดับปริญญาตรีจาก
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ เมื่อ พ.ศ 2508
เขาเริ่มต้นงานแรกที่โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิชด้วยการ
เป็นพนักงานดูแลตรวจตรา แบบเรียนซึ่ง
เป็นสินค้าหลักของไทยวัฒนาพานิช
แล้วไต่เต้าขึ้นมาเป็นบรรณาธิการหนังสือตำราเรียน
สุดท้ายช่วงเวลา 6 ปีที่ไทยวัฒนาพานิช
ชูเกียรติเป็นหน้าบรรณาธิการนิตยสารวิทยาสาร
ซึ่งเป็นนิตยสารทางการศึกษาที่มีบทบาท
เผยทางด้านควาทคิดทางสังคม
และการศึกษาที่ก้าวหน้ามากในยุค
"ฉันจึงมาหาความหมาย"
ระหว่างปี 2510-2516
ชูเกียรติลาออกจากไทยพัฒนาพานิช
มาเป็นหน้าฝ่ายประชาสัมพันธ์ของการเคหะแห่งชาติ
ที่รากของแนวคิดในการทำหนังสือเกี่ยวกับ
การตกแต่งบ้านเริ่มก่อตัวขึ้น
การเคหะแห่งชาติในยจุคที่ชูเกียรติเข้าไปทำงานนั้น
เป็นยุคแรกสุดของการก่อตั้ง
ในฐานะหัวหน้าฝ่ายประชาสัมพันธ์
เขาจำเป็นที่จะต้องสร้างสื่อที่จะต้องสื่อสารกับประชาชน
เขาใช้ความชัดเจนจากการทำหนังสือ
ออกหนังสือ "บ้าน" ขึ้นมาขายในท้องตลาดเป็นเล่มแรก
หลังจากนั้นอีก 2 ปีต่อมาที่
"บ้านใหม่" เป็นหนังสือแจก ฟรีออกมา
ความจำเป็นที่ต้องทำงานกับเคหะฯ
ทำให้เขาต้องศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับเรื่องบ้าน
และประสบการณ์จากการทำหนังสือเกี่ยวกับบ้าน
ให้กับการเคหะทำให้เขารู้ว่ายังมีผู้อ่านอีกมาก
ที่ต้องการความรู้ในด้านนี้
แต่ไม่มีหนังสือที่จะตอบสนองในท้องตลาดได้
หนังสือบ้านที่เขาทำในยุคนั้นส่งไปขายไกลถึงเวียงจันทน์
และได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี
สองส่วนนี้ทำให้เขามีข้อสรุปว่า
"เรามีความพร้อมที่จะทำธุรกิจเองได้"
ประกอบกับความอึดอัดกับระบบการทำงานแบบราชการ
เขาจึงลาออกมาทำหนังสือเองหลังจากที่อยู่การเคหะฯได้ 4 ปี
ปี 2519 ชูเกียรติออกหนังสือ "บ้านและสวน"
และเป็นเล่นแรกในขณะนั้นหนังสือในแนวเดียวกันออกจาก
"บ้าน" ของการเคหะฯ และก็ยังมี
" เฮ้าส์ซิ่ง" อีกเล่นหนึ่ง แต่ในที่สุดก็เหลือ "บ้านและสวน"
ที่มีอายุยาวต่อมาอีก 15ปี จนถึงทุกวันนี้
"เราต้องเปลี่ยนตัวสินค้าอยู่ตลอดเวลาให้มีอะไรแปลกใหม่อยู่เสมอ"
ชูเกียรติพูดถึงปัจจัยแห่งความยั่งยืนของ
"บ้าน และสวน" ข้อแรกและข้อที่สองคือ
คุณภาพและความสวยงามของหนังสือของหนังสือ
การทำหนังสือบ้านและสวนออกมาทำให้
ชูเกียรติต้องก้าวหน้าไปธุรกิจโรงพิมพ์อย่างไม่ได้ตั้งใจ
"ผมไม่ได้ใฝ่ฝันที่จะตั้งโรงพิมพ์เป็นของตัวเองเลย"
ชูเกียรติบอกว่าสิ่งที่เขาอยากจะทำมีอยู่อย่างเดียว
คือหนังสือสวยๆ งามๆ และขายได้
ปีแรกของบ้านและสวนชูเกียรติจ้างโรงพิมพ์ของคนอื่นพิมพ์
ช่วงนั้นเป็นช่วงที่เทคโนโลยีกำลังเปลี่ยนแปลงมา
สู่ยุคของการพิมพ์ ออฟเซท
โรงพิมพ์ที่มีเครื่องพิมพ์ออฟเซทยังมีจำกัด
ทำให้เขามีปัญหามากในการหาโรงพิมพ์
ที่พิมพ์งานที่มีคุณภาพได้ดี
ปี 2520 ชูเกียรติจำเป็นต้องตั้งโรงพิมพ์ของตัวเองขึ้น
มาพิมพ์หนังสือของตัวเอง
ในซื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด อัมรินทร์การพิมพ์
เริ่มต้นด้วยแท่นพิมพ์เพียงตัวเดียว
ช่วง 2-3 ปี แรกเป็นช่วงของความยากลำบากที่สุด
ในการประคับประคองธุรกิจดรงพิมพ์ให้อยู่รอด
เมื่อต้องลงทุนซื้อ แท่นพิมพ์เองปัญหาการสะดุด
ติดขจัดในเรื่องเงินหมุนเวียนจึงเป็นเรื่องเฉพาะ
เจ้าหน้าที่ที่ต้องฝ่าฟันไปให้ให้ได้
เมตตา ภารยาของชูเกียรติต้องลาออกจากการ
เป็นอาจารย์สอนภาษาอังกฤษที่มหาวิทยาลัยศรีนคินทรวิโรฒ
มาช่วยดูแลทางด้านการเงิน
แหล่งเงินทุนที่สำคัญที่สุดในเวลานั้นคือ
การตั้งโรงแซร์ระหว่างโรงพิมพ์ต่างๆ ด้วยกันเอง
ซึ่งเป็นวิธีที่ทำให้อมรินทร์การพิมพ์
หลุดพ้นจากความยากลำบากในช่วงแรกมาได้
ปี 2521 ชูเกียรติออกหนังสือเล่นใหม่ชื่อ "แพรว"
เป็นหนังสือผู้หญิงลายปักษ์
"ตอนนั้นมีหนังสือผู้หญิงเล่มหนึ่งเลิกไปเราเห็นว่ามีช่องว่างอยู่พอดี"
คุณภาวดี หรือ สุภาวดี โกมารทัต
ซึ่งปัจจุบันเป็นบรรณาธิการอำนวยการของหนังสือในเครือทุกเล่ม
ซึ่งประสบการณ์ทางด้านนี้อยากทำด้วย
กว่าที่แพรวจะอยู่ตัวได้และเป็นที่ยอมรับของตนอ่านใช่เวลาถึง 4 ปี
หลังจากนั้นอีกไม่นานก็ตามมาด้วยแพรวสุดสัปดาห์ซึ่งเจาะผู้อ่านกลุ่มวัยรุ่น
ในขณะที่แพรวกลุ่มผู้อ่านจะเป็นผู้หญิงวัยทำงานแล้ว
ความตั้งใจแรกเริ่มของชูเกียรตินั้น
จะรวมแพรวเข้ามาอยู่เล่มเดียวกันในเวลา ต่อมา
" โชคดีที่เราไม่ทำอย่างนั้น"
ชูเกียรติอธิบายว่าถ้ายุบเหลือเล่มเดียว
จะไม่มีหน้าที่รองรับโฆษณา
ที่เป็นรายได้หลักของหนังสือได้พอ
ปีที่แล้วอมรินทร์ พริ้นติ้งกรุ๊ปซึ่งปรับโครงสร้าง
และระบบบัญซีใหม่รวมเอากิจการโรงพิมพ์หนังสือในเครือทั้ง 3 เล่ม
และธุรกิจจัดจำหน่ายเข้าด้วยกัน
มียอดขาย 190 ล้านบาท 50 %
เป็นรายได้จากค่าโฆษณาในหนังสือทั้งสามเล่ม
อีกครั้งหนึ่งที่เหลือเป็นรายได้
จากการขายหนังสือ 20 % และรับจ้างพิมพ์ 30 %
"ปลายปีนี้เราจะออกหนังสือรายเดือนเล่มใหม่
เป็นหนังสือที่จะรวมเอาจุดเด่นของแพรว
กับบ้านและสวนมาไว้ด้วยกัน" ชูเกียรติกล่าว
รายได้ 30% ที่มาจากการรับจ้างพิมพ์ของอมรินทร์นั้น
70 % คืองานพิมพ์หนังสือในเครือและอีก 30% เป็นงานข้างนอก
รายได้จากการรับจ้างพิมพ์จะเพิ่มขึ้นประมาณ 25 % ต่อปี
ส่วนรายได้อื่นๆ จะเพิ่มไม่มากนัก
ชูเกียรติให้ภาพทิศทางธุรกิจของเขาในอนาคต
หลังจากที่เข้าตลาดหลักทรัพย์แล้วจะเน้นไปที่ธุรกิจโรงพิมพ์มากกว่า
รายได้จากการทำหนังสือ
จากแท่นพิมพ์เพียงแท่นเดียวเมื่อ 10 ปีก่อน
ปัจจุบันอมรินทร์เฟิร์สติ้งกรุ๊ป
มีแท่นพิมพ์ประเภทต่างๆ รวมกัน 20 ยูนิต
ซึ่งเดินเครื่องตลอด 24 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 6 วัน
การเพิ่มทุนอีก 7 ล้านบาท จากที่ 39 ล้านบาทเป็น 46 ล้านบาท นั้น
ชูเกียรติหวังว่าจะได้รับเงินจากการขายหุ้น 100 ล้านบาท
มาลงทุนเพิ่มในส่วนของโรงพิมพ์
ซึ่งย้ายจากที่เดิมมาตั้งที่ตลิ่งชัน ในเนื้อที่ 5 ไร่
ตามแผ่นการลงทุน โรงพิมพ์แห่งใหม่ของเขาจะมีระบบการผลิตแบบครบวงจร
โดยการสั่งซื้อแท่น 4 สี เครื่องพิมพ์กระดาษม้วน 4 สี อย่างละหนึ่งเครื่อง
เครื่องและจัดซื้อเครื่องแยกสีพร้อมอุปกรณ์หนึ่งเครื่อง
14 ปีที่แล้ว ที่เขาตั้งวงแซร์หาเงินมาตั้งโรงพิมพ์
เป็นช่วงที่เทคโนโลยีการพิมพ์กำลังก้าวเข้าสู่การพิมพ์แบบออฟเซท
เป็นความจำเป็นที่จะต้องสร้างเครื่องมือการผลิต
เพื่อตอบสนองความต้องทำหนังสือคุณภาพดี
มาถึงปีนี้วิทยาการพิมพ์ยกระดับจากออฟเซทธรรมดาขึ้นไป
สู่ระดับการพิมพ์ที่ทำงานด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์
แหล่งเงินทุนจากการพัฒนาจากวงแชร์ขึ้นมาเป็นตลาดหลักทรัพย์
จุดมุ่งหมายเฉพาะหน้าในการทำบริษัทเข้าตลาด
เพื่อหาเงินมาซื้อเทคโนโลยีการพิมพ์ใหม่ของชูเกียรติ
คือการขยายกำลังการผลิตทั้งในแง่ปริมาณและคุณภาพ
ส่วนเป้าหมายระยะต่อไปซึ่งอยู่ในความคิดของเขาคือ
การขยายตลอดรับจ้างพิมพ์งานจากสำนักพิมพ์ต่างประเทศ
โดยเฉพาะการพิมพ์หนังสือปกแข็งซึ่งจาการเดินทางไปดู
งานหนังสือที่อังกฤษเมื่อเร็วๆ นี้
เขาพบว่าเอเยนต์ของสำนักพิมพ์หลายๆ
พร้อมที่จะป้อนงานให้โรงพิมพ์ให้ประเทศไทยหากว่าคุณภาพถึงขั้น
" ปัญหาที่ผ่านมาคือ เราอยากที่จะให้มีออร์เดอร์ก่อนถึงจะลงทุน
ส่วนทางต่างประเทศก็อยากจะเห็นผลงานก่อนถึงจะตัดสินใจให้งานมา"
ชูเกียรติพูดถึงจุดที่ไม่ลงตัวระหว่างผู้ผลิตในบ้านเรากับต่างประเทศซึ่งออก คือ
โรงพิมพ์จะต้องกล้าลงทุนไปก่อน
บนความเชื่อมันในคุณภาพของตัวเอง เขาประมาณว่า
จะต้องเงินราว 200 ล้านบาทเพื่อลงทุนติดตั้งเครื่องพิมพ์หนังสือปกแข็ง
ซึ่งดูเหมือนจะเป็นเป้าหมายอันหนึ่งของเขาบนเส้นทางชีวิตเถ้าแก่โรงพิมพ์
ที่เขาก้าวมาด้วยไม่ได้ตั้งใจ
ประวัติผู้ก่อตั้งกองทุน
คุณชูเกียรติ อุทกะพันธุ์ เป็น
บุตรของ คุณรัฐ และคุณระเบียบ อุทกะพันธุ์
เกิดเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2485
ที่อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส
ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2545
รวมอายุ 60 ปี 7 เดือน มีพี่น้องรวม 6 คน ดังนี้
1. คุณประณต อุทกะพันธ์
2. คุณสุนันทา อุทกะพันธุ์
3. คุณเกษมศักดิ์ อุทกะพันธุ์
4. คุณชูเกียรติ อุทกะพันธุ์
5. คุณพวงน้อย อุทกะพันธุ์
6. คุณอรนิตย์ อุทกะพันธุ์
เมื่ออายุ 3 ขวบ คุณอาระริ่น อุทกะพันธุ์
ได้รับมาเลี้ยงดูที่จังหวัดสงขลา
เพื่อให้คุณแม่เลี้ยงดูบุตรสาวคนใหม่ได้เต็มที่
ประวัติการศึกษา
ได้เริ่มเรียนชั้นมูลที่โรงเรียนภูผาภักดี จังหวัดนราธิวาส
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-4 ที่โรงเรียนเทศบาล 1
( ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนเทศบาล 2 )
อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
มัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ที่โรงเรียนมัธยมนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส
มัธยม ศึกษาปีที่ 7-8 ที่โรงเรียนมหาวชิราวุธ
แผนกการเรียนสายศิลป์
สมัยนั้นการเรียนสายศิลป์ต้องเรียน ณ โรงเรียนวรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลา
ปริญญาตรีคณะอักษรศาสตร์และครุศาสตร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สถานภาพการสมรส สมรสกับคุณ
เมตตา อุทกะพันธุ์ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร
และกรรมการผู้จัดการใหญ่
บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พัพลิชชิ่งจำกัด ( มหาชน )
มีบุตร-ธิดา 2 คน คือ
1. น.ส. ระริน อุทกะพันธุ์
ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการผู้จัดการสายธุรกิจ
สำนักพิมพ์บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พัพลิชชิ่งจำกัด ( มหาชน )
2. นายระพี อุทกะพันธุ์ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายค้าปลีก
บริษัทอมรินทร์บุ้คเซนเตอร์ จำกัด
ประวัติการทำงาน
เริ่มทำงานครั้งแรก ที่การท่องเที่ยวหาดใหญ่ อยู่ 7 เดือนจึงลาออก
จากนั้นจึงทำงานกับบริษัทไทยวัฒนาพาณิช จำกัด
ในตำแหน่งหัวหน้าบรรณาธิการวารสาร วิทยาสาร
ลาออกจากบริษัทไทยวัฒนาพาณิชจำกัดไปทำงานที่
การเคหะแห่งชาติ ตำแหน่งหัวหน้ากองประชาสัมพันธ์
ลาออกจากการเคหะแห่งชาติไปทำหนังสือเอง คือ
บ้านและสวน และจัดตั้งโรงพิมพ์อมรินทร์
ด้วยเงินทุนเริ่มแรกเพียง 50,000 บาท
ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น
บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พัพลิชชิ่งจำกัด ( มหาชน )
ซึ่งเป็นธุรกิจสิ่งพิมพ์ครบวงจรที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย
โดยผลิตนิตยสาร
บ้านและสวน
แพรว
ชีวจิตร
health & cuisine,
National Geographic ฉบับภาษาไทย Room
we,
Real parenting
shape
และ Instyle
ทั้งยังได้จัดพิมพ์และจำหน่ายหนังสือพระราชนิพนธ์
พระราชนิพนธ์แปลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทุกเล่ม
และพระนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดา สยามมกุฎราชกุมารี
พร้อมทั้งรับและจัดพิมพ์หนังสืออื่นอีกมากมาย
ตำแหน่งสุดท้าย ของการทำงานของคุณชูเกียรติ อุทกะพันธุ์ คือ
ประธานกรรมการบริหารบริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พัพลิชชิ่งจำกัด ( มหาชน )
กรรมการและเลขานุการมูลนิธิภูมิปัญญาไทย
เป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีของกระทรวงคมนาคม คุณประสิทธิ์ ณรงค์เดช เป็นเวลา 1 ปี
คุณชูเกียรติ อุทกะพันธุ์ เป็น
บุคคลอีกท่านที่เห็นความสำคัญของการศึกษา
และการอ่านเป็นอย่างมาก
เป็นผู้ที่มีความกตัญญูเป็นอย่างยิ่ง ระลึกอยู่เสมอว่า
คุณอารักมากและฝากชีวิตไว้กับหลานคนนี้
แต่เนื่องจากมีความจำเป็นในภารกิจ
ไม่สามารถมาดูแลคุณอาในบั้นปลายของชีวิตได้อย่างเต็มที่
จึงได้จัดตั้งกองทุน
คุณอาระริ่น อุทกะพันธุ์
โดยใช้ชื่อของคุณอาเป็นชื่อของกองทุน