ที่มา : โดย คนข่าวอิสระ หน้ากระแสทรรศน
หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน
ฉบับวันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๕
ครั้งหนึ่ง ในรายการโทรทัศน์ มีผู้สัมภาษณ์
ศาสตราจารย์ นายแพทย์ประเวศ วะสี
ด้วยคำถามประโยคหนึ่งว่า คุณหมอ เป็นหมอแล้วไม่มีคลินิก
คุณหมอไม่จนแย่หรือ?
หมอประเวศ ที่ผู้เขียนกำลังจะเล่าเบื้องหลังชีวิตของท่านผู้นี้
ตอบทันทีทันใดว่า ผมรวยมาก รวยความสุขไงล่ะ
สั้น/และจับใจยิ่งนักที่ได้รับฟังจากศาสตราจารย์ผู้จบแพทย์เกียรตินิยม
นักเรียนทุนส่วนพระองค์ไปเรียนต่อต่างประเทศ
ต่อด้านทุนอานันทมหิดล จนจบปริญญาเอก
แล้วกลับมารับราชการ จนได้รับเหรียญดุษฎีมาลาศิลปะวิทยา เป็นศาสตราจารย์
ได้รับรางวัล แม็กไซไซ สาขาการบริหารราชการ
เหรียญรางวัลโคมิเนียสจาก ยูเนสโก
ในฐานะนักการศึกษาดีเด่น
นักเขียนบทความวิชาการแพทย์ การศึกษา
การให้ความเห็นในด้านสังคม การเมือง และอื่นๆ มากมาย
นักการเมืองฉ้อฉล และนักการเมืองที่เข้ามาเพื่อเล่นการเมือง
หรือนักธุรกิจการเมือง อาจจะไม่ชอบหน้านัก
บ้างเจ็บๆ คันๆ เมื่อท่านผู้นี้แสดงความคิดเห็นอะไรออกมาสู่สังคมแต่ละครั้ง
แต่เนื้อแท้ในฐานะที่มาจากครอบครัวชั้นกลางจังหวัดกาญจนบุรี
เรียนโรงเรียนประถมศึกษาธรรมดาๆ
จนเข้าเรียนแพทย์ได้ด้วยความวิริยะอุตสาหะนั้น
ไม่ธรรมดานักสำหรับบุคคลธรรมดาสามัญ
จากผู้ที่เคยร่วมทำงานและรับรู้ถึงแนวคิดมานานพอสมควรยอมรับว่า นี้คือ
ทรัพยากรมนุษย์ ในจำนวนไม่กี่คนที่มีอยู่ในสังคมไทยยุคปัจจุบัน
ตลอดระยะเวลากว่า 20 ปี ที่ทำงานร่วมกับ หมอประเวศ
ตามที่ผู้เขียนเรียกมาตลอด เมื่อก่อตั้ง มูลนิธิเด็ก ขึ้น
โดยมี ศ.น.พ.เสม พริ้งพวงแก้ว
เป็นประธานมูลนิธินั้นสถานที่ตั้งของมูลนิธิก็ยังไม่มีเป็นหลักแหล่ง
ต้องอาศัยประชุมที่ตึก อนันตราช
ซึ่งเป็นห้องทำงานของหมอประเวศ
ในฐานะอาจารย์คณะแพทยศาสตร์ศิริราช
ไม่มีเฟอร์นิเจอร์ตบแต่งโอ่อ่าแต่อย่างไร
และทุกครั้งหมอประเวศจะนั่งฟังความคิดเห็นของบรรดากรรมการฝ่ายต่างๆ
ที่รายงานเข้ามาด้วยความสงบ
เมื่อจบลงแล้ว
นั่นเองจะถึงบทสรุปด้วยถ้อยคำนิ่มนวลตะล่อมเข้าหา
ทั้งสองฝ่ายเพื่อให้เกิดมติขึ้นมา
ไม่ว่าฝ่ายเห็นด้วยหรือไม่ก็ต้องยอมรับ
เพราะความเชื่อมั่นใจทางสันติ ขันติธรรม
คุณธรรมที่หายากในหมู่ผู้นำ
ความจริงก็ปรากฏหลายครั้ง
แม้จะไม่ออกมาจากปากของหมอประเวศเองว่า
การปลีกตัวออกไปสู่ความวิเวก(โดยเฉพาะไม่ใช่ปัญหาส่วนตัว)
หลวงพ่อเทียนเป็นอาจารย์ที่หมอประเวศ
ให้ความนับถือในทางส่งผลให้จิตใจสงบ
เคยเล่าถึงวัตรปฏิบัติของหลวงพ่อท่านนั้น
ให้ผู้ใกล้ชิดฟังและอีกท่านหนึ่งที่หมอประเวศนับถือยิ่งคือ
พุทธทาสภิกขุ ท่านผู้นี้นอกจากได้เรียนรู้ถึง
แก่นแท้ของศาสนา ที่นำมาประยุกต์ใช้แล้ว
ในวันที่ท่านพุทธทาสป่วยหนัก
หมอประเวศเฝ้าไข้ในฐานะแพทย์
จนวาระสุดท้ายที่นำร่างของท่านพุทธทาสกลับสวนโมกข์
จะเห็นว่า การเรียนรู้ถึง แก่นพุทธศาสนา
ได้ออกมาจากแนวคิดที่ว่า
ท่านพุทธทาสบอกเราเรียนรู้จากทุกอย่าง
รวมทั้งจากความเจ็บป่วยต้องทำให้เราฉลาดขึ้น
และเป็นคนดีขึ้น ถ้าเรียนรู้อะไรแล้วเห็นแก่ตัวมากขึ้น
ก็เหมือนกับเราโง่ลง
ถ้าฉลาดขึ้นต้องเป็นคนดีขึ้นคือเห็นแก่ตัวน้อยลง...
(จากเส้นทางชีวิตภายใน)
เห็นไหม ถ้อยคำเหล่านี้ไม่ใช่หลักศาสนาอย่างเดียว
หากนำมาเป็นปรัชญาของชีวิตได้ทุกคน
ไม่เว้นผู้บริหารประเทศ นักการเมือง ข้าราชการ
หรือสามัญชนคนเดินถนน
ถ้าถามถึงหลักขันธ์ 5 ซึ่งเป็นเรื่องหนักหนาของทุกคน
หมอประเวศก็ตอบง่ายๆ อย่างที่ใครๆ ก็เข้าใจ
คิดไปในอดีตกับคิดไปในอนาคต แต่ไม่รู้ปัจจุบัน เช่น
ขณะหายใจเข้าหายใจออก แต่ไม่รู้เพราะอยู่ในความคิดเป็นประจำ
มีความคิดเป็นที่อาศัยของจิต
ใช้คำว่า จินตาลัย จินแปลว่าคิด
อาลัยแปลว่าอาศัยอยู่
โดยเฉพาะที่ผู้เขียนเรียนรู้จากการสัมผัสมานานวันก็คือ
วัตรปฏิบัติ ของหมอประเวศเองแม้ใครจะมองอย่างไร
ใครจะพูดส่อเสียด คำเดียวไม่เคยตอบโต้ แรงที่สุดก็คือ
ขาดวจีสุจริต ซึ่งความหมายก็บ่งแล้วว่า
นั่นเป็นการตอบโต้ที่ผู้ฟังต้องสะอึก
ครั้งหนึ่ง เคยนั่งรถโดยหมอประเวศขับเอง
รถเฟียตหรือมอริสเก่าๆ อะไรนี่นานหลายปีแล้ว
ควบปุเลงๆ ไปตามถนนราชดำเนิน
ลองหลับตาคิดดูว่าระหว่างศาสตราจารย์
ที่มีผู้นับหน้าถือตาทั่วเมือง
ไม่นับลูกศิษย์ลูกหาแพทย์รุ่นแล้วรุ่นเล่า
ยังขับรถเก่าๆ ไปและกลับบ้านเอง
เวลานี้เลิกขับแล้วหลังเกษียณอายุ
แต่ยังไปนั่งทำงานสอนพิเศษที่ศิริราช
ใครจะตามไปพูดคุยที่ไหนหรือไปประชุม
ก็เอารถแวนนั่นแหละไปรับ นี้ก็คือบุคลิกที่เขาบอกว่า
ชีวิตนี้มันร่ำรวยจัง เงินไม่มีก็ร่ำรวยความสุข
เห็นใบไม้เห็นหยดน้ำ มันกลายเป็นความงาม
เป็นความสุขไปหมด
แหม! มันเรียกว่ากำไรจริงๆ
และร่ำรวยมาก และอยากให้คนอื่นได้เจอ
ฟังดูเป็นปรัชญาชีวิตที่ใครๆ ปฏิบัติได้หรือไม่
แต่เขาเองก็ปฏิบัต ิมันได้ ไม่ว่ารุ่นเด็กๆ
ในมูลนิธิเด็กหรือองค์กรอื่นที่หมอประเวศ
เข้าไปช่วยเหลือก่อตั้งมากมายนับสิบๆ แห่ง
ไม่เคยกลัวหมอประเวศ แต่ยำเกรง เคารพ บูชา
และยกย่องทั้งต่อหน้าและลับหลัง
ผ่านหน้าเจ้าหน้าที่ใบหน้ายิ้มรับความเคารพนบนอบ
จากเจ้าหน้าที่เหล่านั้น ถามไถ่สารทุกข์สุกดิบ
เอื้ออาทรต่อปัญหาไม่ว่าจะเป็นเรื่องส่วนรวมหรือส่วนตัว
หมอประเวศไม่เคยทิ้งความเป็น
สามัญชนลูกชายชาวบ้านคนหนึ่งแม้ในวัยสูงอายุแล้ว
เสื้อแขนยาวพร้อมกับเสื้อวอร์มจะมีอยู่เป็นประจำตัว
พร้อมกับสมุดเล่มเล็กๆ
ในกระเป๋าเสื้อสำหรับจดนัดหมายงานมากมายไม่ว่า
ใครจะขอไปปาฐกถาหาความรู้ ความคิด
หรือบางครั้งจะเห็นชายสูงอายุผู้นี้
เอาผ้าขาวม้าคาดพุงนั่งจิ้มข้าวกับชาวบ้านในชนบท
นั่นคือศาสตราจารย์นายแพทย์ประเวศ วะสี เขาละ
การเรียนรู้จากชาวบ้านคืองานประจำ ไม่ว่าภาคใต้ ภาคอีสาน
ภาคเหนือเขาไปมาทั่ว ดังนั้น
แต่ละครั้งที่หมอประเวศพูดเตือนอะไรออกมา
ก็คือเสียงสะท้อนจากชาวบ้านที่เขาไปรับฟัง
คีรีวง ดินแดนที่ใครต่อใครสมัยนี้รู้จัก
หมอประเวศไปมากว่าสิบปีแล้ว
และเป็นคนแรกที่เรียกขานหมู่บ้านที่รู้จักน้อย
ก่อนเกิดอุทกภัยถล่มนครศรีธรรมราชปี 2531 ว่า
สวรรค์บนดิน เพราะที่นั่นเป็นแหล่งของ คนดีมีศีลธรรม
เมื่อผู้นำชาวบ้าน คีรีวง คือ นายตรีวุธ พาระพัฒน์
ถึงแก่กรรมระหว่างมาประชุม หมอเวศนี่แหละที่เขียนสดุดีสามัญชน
คนดีศรีสังคม คนแรกของโครงการ คนดีศรีสังคม
ซึ่งทำมาติดต่อกัน 12 ปีแล้ว และแผ่พืชพันธุ์ไปทั่วประเทศ
จนเกิด สภาภูมิปัญญาไทย ขึ้นมาเมื่อ 2 ปีที่แล้ว
และปีนี้เอง เขาเป็นคนจุดประกายเรื่อง วิสาหกิจชุมชน
ที่จะกลายเป็นกฎหมายรองรับในไม่ช้า
หากรัฐบาลไม่เมินเฉยเสีย
เพื่อให้ชุมชนช่วยตัวเองได้ด้วยตัวของตัวเอง
นี่คือเป้าหมายของวิสาหกิจชุมชน
การจุดประกาย คนดีศรีสังคม
เป็นส่วนหนึ่งของการบรรยายปาฐกถาให้ชุมชนพึ่งตนเองขึ้นมาได้
ใช้เวลา 12 ปี สร้างคนดีขึ้นมา
และมีผู้หลักผู้ใหญ่เข้ามาร่วมไม่ว่าจะ
เป็น ศ.น.พ.เสม พริ้งพวงแก้ว ศ.รพี สาคริก
ศ.ดร.น.พ.กระแสร์ ชนะวงศ์
ก่อนเข้ามาเล่นการเมืองเสียอีก
ศ.ดร.เอกวิทย์ ณ ถลาง ดร.เสรี พงษ์พิศ
คุณโสภณ สุภาพงษ์ ฯลฯ เป็นต้น
เป็นการระดมคนดีเข้ามาร่วมกันทำงานโดยไม่หวังอะไรแม้แต่น้อย
ถ้าหากใครจะถามหมอประเวศว่า เกลียดอะไรมากที่สุด
ก็จะได้คำตอบจากหมอประเวศว่า
ผมเกลียดคน 2 ประเภท ฝังใจเลย
คือเกลียดคนขี้โกง กับเกลียดคนขี้เกียจ
หมอประเวศเปิดใจ ในรายการโทรทัศน์
รายการหนึ่งด้วยถ้อยคำเตือนใจผู้คนทั่วไปว่า
ถ้าคนเรามีจิตสำนึกใหม่ เป็นจิตสำนึกใหญ่
ที่เห็นความเป็นหนึ่งเดียวทั้งหมด
จิตใจผู้คนจะเปลี่ยน อันนี้เรียกว่า ปัญญา
นี่แหละครับที่เรา รุ่นเด็กรุ่นใหญ่เรียกศาสตราจารย์ผู้นี้
โดยไม่ขัดเขินว่า อาจารย์หมอประเวศ
โดยมิได้เป็นลูกศิษย์ ลูกหานักเรียนแพทย์ที่ท่านสอนรุ่นไหนเลย...
ชื่อหนังสือ : ชีวิตงาม...หมอประเวศ
หมวด : บุคคล
ผู้แต่ง : ประเวศ วะสี , ศ.น.พ.
จัด พิมพ์โดย : สนพ.มติชน
0 กระดาษปอนด์ขาว
ปกอ่อน
จำนวน หน้า : 256 หน้า
ขนาดหนังสือ : 14.6 cm. x 25 cm.
ISBN : 974-322-462-9
นายแพทย์ประเวศ วะสี นักคิดและนักปฏิบัติ
ผู้ที่เปรียบเสมือนอะตอมนิวตรอนอิสระ
ที่เคลื่อนไหวอยู่ท่ามกลางสังคมที่เป็นโปรตรอนและอิเล็กตรอน
ที่คอยแต่จะมุ่งเข้าหากันเกาะกุมซึ่งกันและกัน
หมอประเวศนั้นปราศจาการเกาะเกี่ยวจากผลประโยชน์ใดๆ
จึงทำงานได้เต็มที่และเต็มกำลัง หากจะกล่าวว่า
"หมอประเวศคือมันสมองของสังคมไทย"
เห็นจะพูดได้อย่างเต็มปากเต็มคำ และเต็มใจ
รายละเอียด
ความใฝ่ ฝันของหมอประเวศ คือค้นหามรรคผล
วิธีที่จะพาสังคมออกจาก วัฏฏะ หรือ วังวนวิกฤต
โดยสรุปบทเรียนเป็นจริง
ของการเคลื่อนไหวของสังคมของทั้งในและต่างประเทศ
ทั้งในแง่มุมของวิทยาศาสตร์การแพทย์ การสาธารณสุข
ทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม วัฒนธรรม และทางด้านปัญญา
"พุทธปัญญา" คือสิ่งล่ำเลิศที่หมอประเวศค้นพบว่า
สามารถนำมาติดอาวุธยอดความรู้รวมทั้งปวงของมนุษยชาติ
สำหรับแสวงหาทางออกจากวิกฤตที่ไม่เพียงแต่ประเทศไทยเท่านั้น
แต่ยังรวมถึงมนุษย์ทั้งโลกด้วย
ด้วย"จิตเมตตา" และวิธีคิดตามหลัก "อิทัปปัจจยตา"
ทำให้หมอประเวศสามารถเชื่อยงโยงความรู้ความเข้าใจ
ที่มีอยู่อย่างกว้างขวางและลึกซึ้ง ทั้งที่มาจากการศึกษาวิจัย
จากประสบการณ์จริงของการปฎิบัติและการลงลึกถึง
"ภูมิปัญญาชาวบ้าน" ในระดับ "รากฐาน" ของสังคมที่สั่งสมต่อเนื่องมา
นานในรูปของวิถีชีวิตวัฒนธรรม รวมทั้งได้จากการเรียนการสอน
ด้วยกระบวนการวิเคราะห์และสังเคราะห์ในระดับ "บูรณาการ"
ยังผลให้หมอประเวศ "เห็น" ภาพรวมของสังคม
ไทยและสังคมโลกที่เป็นจริง "เห็น" ความเป็น
ทั้งหมดของสิ่งจากนี้นำไปสู่การ "ผุดบังเกิด" (Emerge) "จิตใหญ่" แผ่ไพศาล
หมอประเวศกลายเป็น "แบบอย่าง" ของการทำดี
ทำประโยชน์ไม่ใช่เพื่อ "ตน" เป็น "ขุมกำลังใจ"
ของคนที่มุ่งดีที่ตระหนักในคุณค่าของชีวิต
ผลงานด้านต่างๆที่ผ่านมาตลอดชีวิตความเป็นหมอประเวศนั้น
คงจะพอเป็นข้อพิสูจน์ให้เห็นชัดเจนอยู่ทั่วกัน
ถึงความงามของชีวิต ที่เบ่งบานและออกดอกผล
เติมเต็มและประดับให้สังคมไทยงดงามยิ่งขึ้น
ปัจจุบันหมอประเวศและกลุ่ม "กัลยาณมิตร" ทุกระดับกำลังร่วมกัน
ถักทอสายใยแห่งปัญญาและความสุขอย่างขะมักเขม้นไปทั่วทุก
อณูของแผ่นดิน
สารบัญ
คำนำสำนักพิมพ์ ๑๐
คำนำสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ๑๑
คำนำผู้เขียน ๑๓
บทนำ ๑๗
ภาค ๑ ชีวิตบ้านป่า
‘ เกิดที่เมืองกาญจน์ ๒๓
‘ ความเป็นมาของครอบครัว "วะสี" ๒๔
‘ ชีวิตช่วงก่อนวัยเรียน ๒๖
‘ เริ่มการเรียนเขียนและอ่าน ๒๘
‘ ชีวิตในกองผสมสัตว์ ๓๐
‘ การเรียนหนังสือในกองผสมสัตว์ ๓๓
‘ ชีวิตเรียนรู้ที่กองผสมสัตว์ ๓๕
‘ ขยันขันแข็งในงานบ้าน ๓๘
‘ ชอบอ่านหนังสือตั้งแต่เป็นเด็ก ๔๐
‘ นิยมคนดี รังเกียจคนเลว ๔๑
‘ ชีวิตคือผู้ปั้น ๔๒
‘ ความอบอุ่นภายในครอบครัว ๔๓
‘ ฝึกน้ำอดน้ำทน ๔๗
‘ บุคคลตัวอย่างในกองผสมสัตว์ ๔๙
‘ กลับสู่เมืองกาญจน์ เรียนชั้นมัธยม (พ.ศ. ๒๔๘๔) ๕๑
‘ ระหกเหินไปเรียนต่างเมือง ๕๔
‘ ได้ข่าวใหญ่เรื่องในหลวง ร. ๘ ๕๘
ภาค ๒ เข้าสู่ลู่วิ่งแห่งชีวิต
‘ สอบเข้าเรียนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ๖๒
‘ ใช้ชีวิตเรียบง่าย ประหยัด และสำรวม ๖๖
‘ ยังไม่เกิดความสนใจในด้านอื่น ๖๗
‘ ชีวิตนักเรียนแพทย์ (พ.ศ. ๒๔๙๒) ๖๘
‘ ข้ามฟาก (พ.ศ. ๒๔๙๔) ๗๐
‘ ประทับใจในอาจารย์ ๒ ท่าน ๗๒
‘ พักอาศัยอยู่ที่โรงเรียนพระนครวิทยาลัย ๗๔
‘ ได้รับรางวัลเรียนดี ๗๖
‘ เลือกสายแพทย์ตามแรงบันดาลใจ ๘๐
‘ การเรียนในปีที่ ๓ และ ๔ (พ.ศ. ๒๔๙๖-๒๔๙๗) ๘๒
‘ เริ่มสัมผัสกลิ่นเหรียญทอง ๘๔
‘ เป็นแพทย์ประจำบ้าน ๘๖
‘ ปรับทิศทางการทำงานครั้งสำคัญ ๘๙
‘ ได้ทุนส่วนพระองค์ไปเรียนต่อต่างประเทศ ๙๒
‘ มุ่งสู่แดนอารยะ ๙๔
‘ ข่าวร้ายจากเมืองไทย ๙๖
‘ สร้างชื่อระบือไกลในต่างแดน ๑๐๐
‘ มุ่งสู่อังกฤษ ๑๐๒
‘ พบความแตกต่างระหว่างคนอังกฤษกับคนอเมริกัน ๑๐๖
‘ เจอความหนาวเหน็บแทบทนไม่ไหว ๑๐๗
ภาค ๓ เทใจใส่งาน
‘ เริ่มชีวิตข้าราชการทันที ๑๑๐
‘ เป็นนักเรียนทุนมูลนิธิ "อานันทมหิดล"
คนแรกที่กลับจากต่างประเทศ ๑๑๒
‘ จับงานวิจัยธาลัสซีเมีย ๑๑๔
‘ มีผลงานวิจัยโดดเด่น ๑๑๖
‘ ชอบสอนวิชาพันธุศาสตร์ ๑๑๙
‘ ได้ตึก "อานันทราช" ๑๑๙
‘ ต้องออกสู่ชนบท ๑๒๔
‘ สนใจปัญหาสังคม พร้อม ๆ กับสนใจเสียงวิพากษ์สังคม ๑๒๗
‘ รวมพลังต้านเด็กฝาก ๑๓๑
‘ ควบคู่ไปกับความสนใจในทางพุทธศาสนา ๑๓๒
‘ แต่งงานและได้รับรางวัลครูแพทย์ที่ดี
ของศิริราชเป็นคนแรก ๑๔๑
‘ เขียนบทความวิพากษ์วิจารณ์ศิริราช ๑๔๕
‘ ฟ้องแพทย์ใหญ่ที่หลอกต้มชาวบ้าน ๑๔๙
‘ เริ่มเข้าถึงปัญหาสาธารณสุขของชาติ ๑๕๒
‘ ถูกกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์ ๑๖๓
‘ เป็นนักคิดและนักปฏิบัติเพื่อศานติสุขของสังคมรวม ๑๖๕
‘ พัฒนาพลังขับเคลื่อนนอกระบบราชการ ๑๖๗
‘ สรุปบทบาทรวบยอดในระหว่างการเป็นอาจารย์
โรงเรียนแพทย์จนถึงการเป็นนักพัฒนาสังคม ๑๖๙
‘ บทบาทในสังคมวงกว้าง ๑๗๓
ภาค ๔ มุ่งขับเคลื่อนสังคมด้วยปัญญา
‘ เลือกเส้นทางที่ไม่ใช่แบบทางการ ๑๗๘
‘ บทบาทขององค์กรพัฒนาเอกชนมีลักษณะ "สากล" ๑๗๙
‘ สัมผัสปราชญ์ชาวบ้าน ๑๘๓
‘ "การพัฒนา" ที่ก่อความหายนะแก่คนส่วนใหญ่ ๑๘๘
‘ มองเห็น "ฐาน" สำหรับรองรับการปรับเปลี่ยน
ให้สังคมไทยพ้นจากวิกฤติ ๑๙๒
‘ พุทธเศรษฐกิจ-พุทธสังคม ๑๙๕
‘ เป้าหมายของการพัฒนาคือ "เสรีภาพ" ๑๙๙
‘ บทบาทก่อนและหลังเหตุการณ์ "พฤษภาทมิฬ" ๒๐๑
‘ เสนอแนวทางการฟื้นฟูบูรณะชาติบ้านเมือง ๒๐๕
‘ วัฒนธรรมอำนาจนิยมและความรุนแรงทางโครงสร้าง ๒๐๖
‘ "นวัตกรรมทางสังคม" คือทางออก ๒๐๙
‘ เสนอแนวทางปฏิรูปที่สามารถลดความรุนแรงลงได้ ๒๑๐
‘ จากวัฒนธรรมอำนาจนิยมไปสู่วัฒนธรรม "ฉันทะ"
ในการเรียนรู้ ๒๑๑
‘ ค้นพบพลังทางวัฒนธรรม ๒๑๕
‘ วัฒนธรรม ๘ ประการที่สังคมไทยควรส่งเสริม ๒๑๗
‘ การเข้าถึงความหลากหลายเป็นธรรมะอย่างยิ่ง ๒๑๙
‘ สังคมสมานุภาพ ความหลากหลายที่สมดุล ๒๒๐
‘ กระบวนการสร้างพลังทางสังคมเพื่อก้าวไปสู่
ความเป็นสังคมสมานุภาพ ๒๒๑
‘ การสร้างพลังทางสังคม เป็นกระบวนการทางสังคม ๒๒๓
‘ ความเป็นชุมชนและวิธีการไม่เป็นทางการ ๒๒๔
‘ วิธีการไม่เป็นทางการ ๒๒๗
‘ บุคลากรในระบบก็ทำงานนอกระบบได้ ๒๒๘
‘ ความเป็นกลาง วิธีการนอกระบบ ผสานเข้ากับ
กระบวนการทางสังคม (ประกอบเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ
"สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา") ๒๓๒
‘ ขับเคลื่อนการปฏิรูปการเมืองตามแนวทาง
รัฐธรรมนูญนิยม ๒๓๕
‘ ใช้กฎหมายรัฐธรรมนูญเป็น "กลไก"
จัดระบบและโครงสร้างใหม่ ๒๓๘
‘ ยุทธศาสตร์การสร้างความรู้ ๒๓๙
‘ ยุทธศาสตร์การนำความรู้ไปสู่การเรียนรู้
ของสังคมไทยโดยกว้างขวาง ๒๔๐
‘ กระบวนการ "ถักทอทางสังคม" ๒๔๓
‘ เดินยุทธศาสตร์ปฏิรูปการเมืองโดยทางสายกลาง ๒๔๔
‘ ความฝันของหมอประเวศ ๒๔๙
แหล่งค้นคว้าสำคัญ... ๒๕๔
เกี่ยวกับผู้เขียน... ๒๕๕