Custom Search

Jan 24, 2019

รวมเพลงรัก หวานๆวันวาน l คู่แท้,เรามีเรา,ขอมือเธอหน่อย,บอกรัก l

สุทธิชัย หยุ่น ผู้ก่อตัง เนชั่น อำลาแล้ว

อ่านเต็มๆ สุทธิชัย หยุ่น ในวันอำลาเนชั่น



สุทธิชัย หยุ่น ผู้ก่อตัง เนชั่น อำลาแล้ว "สุทธิชัย หยุ่น" อำลา "เนชั่น" ในที่สุดก็ถึงวันที่ คุณสุทธิชัย หยุ่น ที่ปรึกษากองบรรณาธิการเครือเนชั่น ประกาศอำลา เกษียณอายุ ในวัย 72 ปี นับเป็นเวลาที่อยู่ในวงการ สร้างตำนานสื่อมวลชน เป็นเวลาถึง 47 ปี อะไรคือสาเหตุการตัดสินใจครั้งนี้ แล้วอนาคตของเครือเนชั่นหลังจากนี้ จะเป็นอย่างไร สุทธิชัย หยุ่น ในวัย 72 ปี อำลาบ้านหลังใหญ่ที่สร้างมากับมือ ด้วยเหตุผลสุขภาพ และเป็นความตั้งใจที่จะเกษียณอายุการงาน รวมทั้งหมดสัญญาจ้างตามกลไกตามปกติของบริษัทมหาชน บรรยากาศงานเลี้ยงอำลาเป็นไปอย่างอบอุ่นที่ทั้งพนักงานและอดีตพนักงานเนชั่นรวมมอบดอกไม้เป็นจำนวนมาก แต่สิ่งที่ บก.สุทธิชัย ต้องการมากกว่าดอกไม้ คือขอให้คนเนชั่น รักษาความเป็นเนชั่นไว้ แม้ภายหน้าจะต้องเผชิญกับอุปสรรคขวากหนามก็ตาม การอำลาครั้งนี้รวมถึงการยุติบทบาทบนหน้าจอเนชั่นทีวี รวมทั้งจะเขียน คอลัมน์ "กาแฟดำ" เป็นชิ้นสุดท้ายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์นี้ สร้างความใจหาย และสั่นคลอนความรู้สึกของพนักงานไม่น้อย สุทธิชัย เริ่มต้นทำข่าวครั้งแรกกับหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษบางกอกโพสต์ เมื่อปี 2511 ในขณะที่ยังเรียนอยู่ที่แผนกอิสระสื่อสารมวลชน หรือ คณะนิเทศศาสตร์ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่เรียนไม่จบเพราะเวลาเรียนกับเวลาทำงานไม่ตรงกัน หลังจากนั้น เขาเลื่อนตำแหน่งเป็น ผู้ช่วยหัวหน้าข่าวที่บางกอกโพสต์ ด้วยวัยเพียง 20 ต้นๆ แต่สุทธิชัยในวัยหนุ่มเห็นว่า หนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษที่มีชาวต่างชาติเป็นเจ้าของ ไม่สามารถเป็นกระบอกเสียงให้กับคนในชาติได้อย่างชัดเจน แนวคิดการทำหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษ ที่มีคนไทยเป็นเจ้าของเป็นครั้งแรกจึงเกิดขึ้น และสุทธิชัย พร้อมกับเพื่อนๆ ทำภารกิจนี้สำเร็จ หนังสือพิมพ์เดอะวอยซ์ ออฟ เดอะเนชั่น ฉบับแรกเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ปี 2514 และมันเป็นวันแรกที่เครือเดอะเนชั่นกำเนิดขึ้น จากแท่นพิมพ์ สุทธิชัย หยุ่น มาโลดแล่นอยู่ในจอแก้ว จากการรายงานข่าว ทางช่อง 3 และช่อง 9 เป็นใบเบิกทาง ให้เครือเนชั่นเริ่มผลิตรายการโทรทัศน์ รายการ เนชั่น นิวส์ ทอล์ก ทางช่อง 9 อ.ส.ม.ท. ทำให้เอกลักษณ์ของ สุทธิชัย กลายเป็นที่รู้จักและจดจำไปทั่ว แต่สิ่งต้องจดมากกว่าเอกลักษณ์ ของ สุทธิชัย คือ การเป็นนักต่อสู้ และเรียกร้องเสรีภาพในการรายงานข้อเท็จจริงของสื่อมวลชน กับรัฐบาลเผด็จการในทุกรูปแบบ ผลพวงจากเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ปี 2535 ที่สื่อมวลชนถูกรัฐบาลแทรกแซงการรายงานข่าว คือการเรียกร้องให้ทีวีเสรีเกิดขึ้นโดยปราศจากการครอบงำจากรัฐ สถานีโทรทัศน์ ไอทีวีจึงเกิดขึ้น โดยมีสุทธิชัย หยุ่น และกลุ่มเนชั่น เป็นผู้อยู่เบื้องหลัง มันสถานีโทรทัศน์ ที่ปฏิวัติรูปแบบการรายงานข่าวสาร ที่ยังส่งผลมาจนถึงทุกวันนี้ แต่หลังจากที่กลุ่มทุนการเมือง เข้าถือหุ้นในไอทีวี กลุ่มเนชั่นก็ออกมา ตั้งสถานีโทรทัศน์เป็นของตัวเอง กระทั่งเครือเนชั่น สามารถประมูลทีวีดิจิทัลได้ 2 ช่องคือ ช่องข่าว NationTV 22 และ ช่องวาไรตี้ Now 26 แต่ความปั่นป่วนของเทคโนโลยี เป็นสิ่งที่ สุทธิชัย รู้ดีและบอกเตือนนักข่าวทุกคนมาโดยตลอด ซึ่งที่ผ่านมา เขาตื่นตัวอย่างมาก ในการทดลองนวัตกรรมใหม่ๆ และมักเป็นคนแรกเสมอ ที่ใช้เป็นช่องทางในการรายงานข่าวสาร คงมีคำถามว่า เมื่อเนชั่นไม่มีชายที่ชื่อ สุทธิชัย หยุ่น แล้วจะเป็นอย่างไร แต่เขามีคำอธิบาย ขณะเดียวกัน คนที่คอยยืนเคียงข้าง สุทธิชัย หยุ่นมาในวิกฤติ "เทพชัย หย่อง" ก็เตรียมประกาศอำลาบ้านเนชั่นหลังนี้ตามพี่ชายด้วย เช่นเดียวกัน อนาคตของเครือเนชั่น หลังจากนี้ ไม่มีใครรู้ แต่ความหวังที่ยังเหลืออยู่คือพนักงานทุกคน ที่คงจะกลับมาต้องทบทวนตัวเอง ทบทวนหลักการที่คนทั้งคู่ทำให้เห็นมาตลอด 4 ทศวรรษ เนชั่น จะยังรักษา ความเป็นเนชั่น ต่อไปได้หรือ คนที่ให้คำตอบได้ดีที่สุดที่ ผู้อ่าน ผู้ชม และชิ้นงานที่ปรากฏหลังจากนี้...

Suthichai Live หลังฉากกับ ดู๋ สัญญา คุณากร



Jan 19, 2019

Jan 16, 2019

วิกฤตฝุ่นพิษ| ถามตรงๆกับจอมขวัญ | 14 ม.ค. 62


สถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ที่ปกคลุมทั่วกรุงเทพฯและในหลายจังหวัด
อยู่ในระดับวิกฤติจริงหรือ ส่งผลกระทบอย่างไรต่อร่างกาย และมีวิธีป้องกันที่ถูกต้องอย่างไร

Jan 14, 2019

จุดอ่อนของคนไทย 10 ประการ จากวิกรม กรมดิษฐ์




วิกรม กรมดิษฐ์ เจ้าพ่ออมตะนครที่เคยพูดถึง “จุดอ่อน” ของคนไทยไว้ 10 ข้อคือ  

1 . คนไทยรู้จักหน้าที่ของตัวเองต่ำมาก   โดยเฉพาะ หน้าที่ต่อสังคม เป็นประเภทมือใครยาวสาวได้สาวเอา เกิดเป็น ธุรกิจการเมือง ธุรกิจราชการ ธุรกิจการศึกษา ทำให้ประเทศชาติล้าหลังไปเรื่อยๆ

2.   การศึกษายังไม่ทันสมัย   คนไทยจะเก่งแต่ภาษาของตัวเอง ทำให้ขาดโอกาสในการแข่งขันกับต่างชาติในเวทีต่างๆ ไม่กล้าแสดงออก ขี้อายไม่มั่นใจในตัวเอง เราจึงตามหลังชาติอื่น จะเห็นว่าคนมีฐานะจะส่งลูกไปเรียนเมืองนอกเพื่อโอกาสที่ดีกว่า

3.   มองอนาคตไม่เป็น   คนไทยมากกว่า 70% ทำงานแบบไร้อนาคตทำแบบวันต่อวัน แก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปวันๆ น้อยคนนักที่จะทำงานแบบเป็นระบบ เป็นขั้นเป็นตอ มีเป้าหมายในอนาคตที่ชัดเจน

4.   ไม่จริงจังในความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ทำแบบผักชีโรยหน้าหรือทำด้วยความเกรงใจ ต่างกับคนญี่ปุ่นหรือยุโรปที่จะให้ความสำคัญกับสัญญาหรือข้อตกลงอย่างเคร่ง ครัด เพราะหมายถึงความเชื่อถือในระยะยาว ปัจจุบันคนไทยถูกลดเครดิตความน่าเชื่อถือด้านนี้ลงเรื่อยๆ

5.   การกระจายความเจริญยังไม่เต็มที่   ประชากรประมาณ 60-70% ที่อยู่ห่างไกลจะขาดโอกาสในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของตัวเองและชุมชนซึ่งเป็น หน้าที่ของภาครัฐที่ต้องส่งเสริม

6.   การบังคับกฎหมายไม่เข้มแข็ง และดำเนินการไม่ต่อเนื่อง ทำงานแบบลูบหน้าปะจมูก ปราบปรามไม่จริงจัง การดำเนินการตามกฎหมายกับผู้มีอำนาจหรือบริวารจะทำแบบเอาตัวรอดไปก่อน ไม่มีมาตรฐาน ต่างกับประเทศที่เจริญแล้ว ข้อนี้กระบวนการยุติธรรมจะต้องปรับปรุง

7.   อิจฉาตาร้อน   สังคมไทยไม่ค่อยเป็นสุภาพบุรุษ เลี่ยงเป็นศรีธนญชัยยกย่องคนมีอำนาจ มีเงิน โดยไม่สนใจภูมิหลัง โดยเฉพาะคนที่ล้มบนฟูกแล้วไปเกาะผู้มีอำนาจ เอาตัวรอด คนพวกนี้ร้ายยิ่งกว่า ผู้ก่อการร้ายดีแต่พูด มือไม่พายเอาเท้ารานํ้า ทำให้คนดีไม่กล้าเข้ามาเพราะกลัวเปลืองตัว

8.   เอ็นจีโอค้านลูกเดียว เอ็น จีโอ บางกลุ่มอิงอยู่กับผลประโยชน์เอ็นจีโอดีๆ ก็มี แต่บ้านเรามีน้อย บ่อยครั้งที่ประเทศเราเสียโอกาสอย่างมหาศาลเพราะการค้านหัวชนฝา เหตุผลจริงๆ ไม่ได้พูดกัน

9.   ยังไม่พร้อมในเวทีโลก   การสร้างความน่าเชื่อถือในเวทีการค้าระดับโลกของเรายังขาดทักษะและทีม เวิร์ค ที่ดี ทำให้สู้ประเทศเล็กๆ อย่างสิงคโปร์ไม่ได้

10. เลี้ยงลูกไม่เป็น   ปัจจุบัน เด็กไทยขาดความอดทน ไม่มีภูมิคุ้มกันเป็นขี้โรคทางจิตใจ ไม่เข้มแข็ง เพราะเราเลี้ยงลูกแบบไข่ในหิน ไม่สอนให้ลูกช่วยตัวเอง ต่างกับชาติที่เจริญแล้ว เขาจะกระตือรือร้นช่วยตนเองขวนขวาย แสวงหา ค้นหาตัวเอง และเขาจะสอนให้สำนึกรับผิดชอบต่อสังคม

Jan 11, 2019

"อาหารใจ" สำหรับปีใหม่










วรากรณ์ สามโกเศศ
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
25 ธันวาคม 2561

มื่อจะถึงวาระปีใหม่ ผู้เขียนขอเสนอ “อาหารใจ” เพื่อเป็นพลังปลุกเร้าให้เกิดความรู้สึกและเกิดการนำไปใช้ในชีวิตในช่วงปีหน้า

ผู้เขียนขอนำคำกล่าวที่ไม่ค่อยได้ยินกันบ่อยนักของคนต่างชาติที่เราอาจไม่คุ้นเคยมาเป็น “อาหารใจ”

คำกล่าวที่สร้างพลังปลุกเร้า (inspiration; คำนี้การออกเสียงที่ถูกต้องคือ“อิน-สปิ-เร-ชั่น ไม่ใช่อิน-สไป-เร-ชั่น)เป็นสิ่งสำคัญ เพราะให้ทั้งความเข้าใจโลกและชีวิต อีกทั้งเป็นแรงผลักดันชีวิตทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับผู้รับสารว่าจะนำไปใช้ประโยชน์หรือไม่

(1) “The child is father of the man” (เด็กคือพ่อ) ผู้กล่าวคือ William Wordsworth กวีเอกชาวอังกฤษ (ค.ศ.1770-1850)เขียนประโยคนี้ในบทกวีชื่อ“My Heart Leaps Up" ในปีค.ศ. 1802 บทกวีสั้นๆ นี้ที่มีอีกชื่อว่า “The Rainbow” มาจากการที่ตัวเขาชอบรุ้งตอนเป็นเด็ก เมื่อโตขึ้นก็ยังคง ชอบรุ้งและหวังว่าจะชอบมันไปจนกว่าชีวิตจะหาไม่ สิ่งที่เขาแนะก็คือ สิ่งที่เราชอบตอนเด็กจะเป็นตัวกำหนดรสนิยมของเราตอนเป็นผู้ใหญ่

เมื่อได้ยินประโยคนี้ในตอนแรกก็อาจคิดว่ามันเขียนกลับกัน เด็กจะเป็นพ่อได้อย่างไร แต่Wordsworth บอกว่าเป็นได้เพราะสิ่งที่ชอบตอนเด็กจะสืบทอดไปยังตอนเป็นผู้ใหญ่เสมือน “เด็กเป็นพ่อ”

เราจะมีรสนิยมในการใช้ชีวิตในครึ่งชีวิตหลังอย่างไรก็ขึ้นอยู่กับว่าเราใช้ครึ่งชีวิตแรกอย่างไร ถ้าชอบความหวานมากเป็นพิเศษและไม่ดูแลตัวเองให้ดีในครึ่งชีวิตแรก ก็พอจะมองออกว่าครึ่งชีวิตหลังจะเป็นอย่างไรและถ้ารวมเวลาของสองครึ่งเข้าด้วยกันก็คงคาดได้ว่าไม่ยาวนัก

ปรากฏการณ์นี้เป็นจริงกับเรื่องสุขภาพของเรา เพราะwe are what we eat สาเหตุการ ป่วยไข้ของมนุษย์ส่วนใหญ่นั้นมาจากวิถีการดำรงชีวิต ไม่ว่าจากการกิน นอน ดื่มหรือสูบมากกว่าจากการติดเชื้อโรค การมีวินัยในการดำรงชีวิตตอนเด็กๆจากคำแนะนำและตัวอย่างที่ดีจะทำให้มีสุขภาพที่ดีในตอนเป็นผู้ใหญ่ นิสัยใจคอตอนเป็นผู้ใหญ่ก็ต่อเนื่องมาจากตอนเป็นเด็กอย่างมิต้องสงสัย ดังนั้น “เด็กจึงเป็นพ่อ” อย่างแท้จริง

(2) “A week is a long time in politics.” (เวลาหนึ่งอาทิตย์นั้นแสนนานในการเมือง) ผู้กล่าวคือ Harold Wilson อดีตนายกรัฐมนตรีจากพรรคแรงงานระหว่างค.ศ. 1964-1970และจากค.ศ. 1974-1976 (โดยมีชีวิตอยู่ระหว่าง ค.ศ. 1916-1995)

ระหว่างที่เป็นนายกรัฐมนตรี Wilson ประสบปัญหาเศรษฐกิจที่ผันผวนและจำเป็นต้องส่งทหารอังกฤษเข้าไปสู้รบในไอร์แลนด์เหนือ(ดินแดนของอังกฤษอยู่ทางตอนเหนือของประเทศไอร์แลนด์) และในสมัยที่สองก็ประสบปัญหาเศรษฐกิจหนักกว่าเก่าจนต้องลาออกในค.ศ. 1976

นักการเมืองไทยที่เตรียมตัวจะหาเสียงกันอยู่ในเร็วๆ นี้ คงจะซาบซึ้งกับคำกล่าวนี้เป็นพิเศษในเวลาอีกไม่นาน แต่อาจด้วยบริบทของความหมายที่แตกต่างกันกล่าวคือ ยิ่งหาเสียงนานเท่าใดก็ยิ่งเปลืองตังค์มากเพียงนั้น(ถ้าไม่ต้องการให้มีการซื้อเสียงกันมากหนทางหนึ่งคือให้เวลาหาเสียงอย่างเป็นทางการนานเป็นพิเศษ) นอกจากนั้นก็ยังต้องเหนื่อยสายตัวแทบขาดมากขึ้นอีกด้วย ต้องกินข้าวเพราะชาวบ้านเลี้ยงอีกหลายมื้อในหนึ่งวันต้องอุ้มและกอดเด็กเพิ่มขึ้นอีกหลายร้อยหลายพันคน ฯลฯ

หนึ่งอาทิตย์จะยาวนานอีกครั้งในอีกบริบทของความหมายก็คือ ตอนตั้งรัฐบาลที่ต้องรวมเสียงจากหลายพรรค วิ่งแย่งตำแหน่งกันจนโผแปรเปลี่ยนในแต่ละนาที(อย่าว่าแต่ละวันหรืออาทิตย์เลย)

(3) “No one can make you feel inferior without your consent” (ไม่มีใครทำให้ท่านรู้สึกมีปมด้อยได้ถ้าท่านไม่ให้ความยินยอม) ผู้พูดคือ Eleanor Roosevelt อดีตสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่ง(ค.ศ. 1884-1962)ภรรยาของอดีตประธานาธิบดีFranklin Roosevelt

เธอเป็นหญิงเก่งที่มีบทบาทสำคัญต่อโลกในการร่วมร่าง Universal Declaration ซึ่งเป็นแถลงการณ์สำคัญของสหประชาชาติในเรื่องสิทธิมนุษยชน ตอนเธอเป็นตัวแทนสหรัฐ ประจำสหประชาชาติซึ่งเพิ่งตั้งขึ้นใหม่

ในตอนหาเสียงประธานาธิบดีในปีค.ศ. 1960 เธอก็ช่วย John F. Kennedy อย่างได้ผล เธอเป็นผู้ได้รับการยอมรับอย่างสูงจากประชาชนจากบทบาทของเธอทั้งในและนอกทำเนียบขาว คำพูดนี้เธอชอบมากและพูดอยู่บ่อยๆ

ประโยคข้างต้นสะท้อนให้เห็นว่า ทุกคนมีศักยภาพ และสิ่งที่มนุษย์ทุกคนต้องการก็คือ โอกาส ตอนเกิดมาอาจรู้สึกว่าตนเองต่ำต้อยจะด้วยสาเหตุของการเป็นชนกลุ่มน้อย ฐานะทางเศรษฐกิจ ฐานะทางสังคม การขาดโอกาส ฯลฯ ก็ตามแต่ความรู้สึกนี้จะอยู่ได้ไม่นานตราบที่ไม่ยินยอมรับมัน

มนุษย์มีพฤติกรรมออกมาอย่างใดก็ขึ้นอยู่กับสิ่งที่อยู่ในใจเป็นสำคัญ ถ้าไม่คิดว่าตนเองมีปมด้อย มันก็ไม่มีปมด้อย มันจะมีขึ้นมาได้ก็ต่อเมื่อให้ความยินยอมในใจว่าตนเองมีปมด้อย คนสำคัญที่จะช่วยตั้งแต่เด็กๆ ให้ไม่เกิดการยินยอมรับมันในใจก็คือพ่อแม่และครู

ปีใหม่เป็นโอกาสสำคัญแห่งการมีความคิดใหม่ มีพฤติกรรมใหม่ และประการสำคัญมีความมุ่งมั่นใหม่ๆ ซึ่งเกิดจากการได้พบเรื่องราวดีๆเป็น “อาหาร” ให้คิด


หมอลักษณ์เบิกอรุณ I วัดบวรนิเวศวิหาร I 9 ม.ค. 62 I ไทยรัฐทีวี



Jan 1, 2019