เหนือสิ่งอื่นใด
- เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี 9 มิถุนายน 2559
- พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) ณ วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๙
- The 60th Anniversary Celebrations of his Majesty King Bhumibol Adulyadej's Accession to the Throne
- 63 ปี "พระเจ้าอยู่หัว ร.๙" ผู้นำที่ไม่เหมือนใครในโลก นำพาประเทศ "อยู่ดีมีสุข"
- Supreme Artist
- เศรษฐกิจพอเพียง : Sufficiency Economy พ.ศ. ๒๕๖๓
- ทศพิธราชธรรม ๑
- ทศพิธราชธรรม ๒
- ๑๐๐ ปี สวรรคตกาลสมเด็จพระปิยมหาราช
- ร.๙ ทรงห่วงเหตุการณ์ประเทศเพื่อนบ้าน
- พระบรมราโชวาท ร.๙
- "พูดแล้วต้องทํา" พระบรมราโชวาท "ในหลวง ร.๙" ทรงเตือน-ครม.
- ร. ๙ ทรงพระราชทานแก่พลเอกสุจินดา คราประยูร และพลตรีจำลอง ศรีเมือง
- ร.๙ ทรงรับสั่งรมต.ถวายสัตย์ฯ
- ร.๙ ทรงมีพระบรมราโชวาทแก่ตุลาการทหาร
- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.9 ทรงป้องกันน้ำท่วม ปีพุทธศักราช ๒๕๓๘
- “ในหลวง ร.๙” ทรงฝากองคมนตรีปลูกฝังคนไทยเอื้อเฟื้อ นึกถึงส่วนรวม
- “ในหลวง ร.๙” เสด็จฯ ทอดพระเนตรดนตรีที่ศิริราช
- "ในหลวง ร.๙" เสด็จเปิดประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์-สะพานภูมิพล 1,2
- ในหลวง ร. ๙ เสด็จฯทอดพระเนตรคอนเสิร์ตแจ๊ส
- ๕ ธันวาคม ๒๕๕๒
- น้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณ"ในหลวง ร.๙"กับ"ภูมิสารสนเทศ"
- ในหลวง ร.๙ ทรงพระราชทาน ส.ค.ส.2554 แก่พสกนิกรชาวไทย
- 'ในหลวง ร.๙' ทรงมีพระราชดำรัสให้คนไทย ทำหน้าที่ ไม่ประมาท มีสติ : ๕ ธันวาคม ๒๕๕๓
- วันฉัตรมงคล (ร.๙)
- ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๙
- พระราชดำรัสสุดท้าย ในหลวง รัชกาลที่ 9
- ๑๒ สิงหา วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
- "สมเด็จย่า"
- เจ้านายเล็กๆ ยุวกษัตริย์
- อาลัยพระพี่นางฯ
- ในหลวงรัชกาลที่ ๙ โปรดให้นายโคฟี อันนัน เฝ้าถวายรางวัลฯ (๒๕ พ.ค.๔๙)
- "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร" มีพระราชดำรัสเกี่ยวกับการวิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์
- พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล
- ศิลปาชีพ : ประจักษ์พยานของความรัก ผูกพัน และห่วงใย
- เพลงสรรเสริญพระบารมี
- ชีวิตที่หมุนไปไม่หยุดยั้ง...พระอารมณ์ขันของพระเทพฯ
- ถ้าเดินเรื่อยไปย่อมถึงปลายทาง นิทรรศการภาพถ่ายฝีพระหัตถ์สมเด็จพระเทพรัตนฯ
- สมเด็จพระเทพฯ กับการส่งเสริมไอที เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
- สมเด็จพระเทพฯ สนพระทัยเมล็ดพันธุ์ช่วยหล่อเลี้ยงประชากร
- เครือข่ายกาญจนาภิเษก
- สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- ทรงพระเจริญ
- ของขวัญจากก้อนดิน
- ต้นไม้ของพ่อ
- รูปที่มีทุกบ้าน
- นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ
- ติโต
- ไม่มีวันไหนที่ไม่คิดถึงในหลวงรัชกาลที่ ๙
- พระราชนิพนธ์ พระมหาชนก ที่ทุกคนพึงอ่าน
- โครงการแก้มลิง
- ทำไมเรารัก "พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร"
Apr 29, 2022
29 เมษายน วันคล้ายวันประสูติ 'เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ'
แพทย์หญิง ดร. คุณเพียร เวชบุล
เพียร เวชบุล : ตำนานแม่พระเมืองไทย
แบบฝึกหัดการคิดบวก
คิดมาก
Apr 25, 2022
ศิลปะแห่งการ'ช่างแม่ง'
Apr 21, 2022
ประวัติ “เสี่ยแหบ” วิทยา ศุภพรโอภาส เจ้าพ่อวงการวิทยุ ผลงาน - รางวัล การันตีฝีมือ
บุตร : นายศุภวิทย์ ศุภพรโอภาส
ธิดา : นางสาวศุภมาศ ศุภพรโอภาส และ
นางสาวศุภนุช ศุภพรโอภาส
ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน บุคคโล ธนบุรี กทม. 10600
ขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติมจาก FB Vitaya Supaporn O Pas และ Sanook.com
นับว่าเป็นอีกหนึ่งข่าวร้ายของวงการเพลง หลังต้องทราบข่าวการจากไปของ เสี่ยแหบ วิทยา ศุภพรโอภาส นักจัดรายการวิทยุชื่อดัง
และประธานกรรมการบริหารบริษัทลูกทุ่ง เอฟ.เอ็ม. จำกัด ได้จากไปแล้วจากโรคมะเร็ง สิริอายุ 72 ปี เมื่อเช้าวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2565
กำหนดการบำเพ็ญกุศล ที่วัดราชวรินทร์ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร
วันที่ 22 เม.ย.65 เวลา 15.00 น.
พิธีรดน้ำศพ และ 19.00 น. พิธีสวดอภิธรรมคืนแรก
ถึงวันที่ 28 เม.ย.65 ก่อนบรรจุร่างไว้ 100 วัน เพื่อขอพระราชทานเพลิงศพต่อไป
Apr 20, 2022
คนธรรพ์รำพัน : Grand Ex' แกรนด์เอ็กซ์ อัลบั้ม : สายใย
ลอย ชุนพงษ์ทอง (Loy Academy)
Apr 18, 2022
"อิทธิ" "เสือ" ตำนาน เก็บตะวัน
เก้ากระบี่เดียวดาย
อิทธิ พลางกูร มีชื่อจริงว่า เอกชัยวัฒน์ พลางกูร เกิดเมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2498
เป็นบุตรชายคนที่ 3 ของศาสตราจารย์ นายแพทย์โอกาส และ
แพทย์หญิงสุมาลย์ พลางกูร
อิทธิ พลางกูร จบชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่
โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร มัธยมศึกษาตอนปลายที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
และอนุปริญญาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
เล่นเครื่องดนตรีชิ้นแรกคือกลองก่อนจะหันมาเล่นกีตาร์
ซึ่งเพลงแรกที่หัดเล่นกีตาร์คือเพลง 500 Miles ของวง The Journeymen โดยได้รับอิทธิพลทางดนตรีมาจาก
พี่ชาย อุกฤษฏ์ พลางกูร
อิทธิเข้าสู่วงการเพลงด้วยการเป็นสมาชิกวง "เดอะ เบลสส์" (The Bless) ซึ่งเป็นการออดิชั่นเพื่อหางานดนตรีเล่นประจำตามไนท์คลับ
มีสมาชิกยุคเริ่มแรกคือ สุรสีห์ อิทธิกุล ในตำแหน่งมือกีตาร์, สมชาย กฤษณะเศรณี ตำแหน่งมือเบส , โชด นานา มือกลอง
และไพบูลย์เกียรติ เขียวแก้ว(ปั่น) เป็นนักร้องนำ โดยอิทธิ พลางกูร รับหน้าที่เล่นกีตาร์
พร้อมทั้งได้ปรับเปลี่ยนสไตล์การเล่นให้เบาลงเพื่อให้สามารถเล่นกับโรงแรมช่วงกลางคืนได้
ตราบ ทิวา ไร้ สุรีย์ ตราบราตรี ไร้ ศศิธร
ตราบ หิมาลัย โยกคลอน ตราบนั้น ฉันจะ ร้างลา
ต่อมาในปี พ.ศ. 2526 ซึ่งเป็นยุคที่เพลงไทยกำลังเฟื่องฟู เดอะ เบลสส์ ได้ออกอัลบั้มที่เป็นผลงานของตัวเองชุดแรกในชื่อ
หัวใจขายขาด สังกัดห้องอัดเสียงทอง ซึ่งมีอุกฤษฏ์ พลางกูร พี่ชายของอิทธิ เป็นผู้บริหารและควบคุมการบันทึกเสียงในขณะนั้น
มีเพลงฮิตอย่าง หัวใจขายขาด ซึ่งเป็นเพลงเก่าของสุเทพคอรัส แนวร็อค แอนด์ โรล ร้องโดย ธนิต และเพลง เมื่อใดฉันไร้รัก
เพลงช้าที่โดดเด่นมาก จากการร้องของอิทธิ โดยอัลบั้มนี้ได้ สุรพล โทณะวณิก มาเขียนคำร้อง
ภายหลัง คุณเศรษฐา ศิระฉายา นำเพลงนี้มาร้องใน ภาพยนตร์ไทย เรื่อง สงครามเพลง(2526)
ปีต่อมา เดอะ เบลสส์ได้ออกอัลบั้ม คืนเหงาใจ แต่อัลบั้มนี้กลับไม่ประสบความสำเร็จทางยอดขายมากนัก
จากนั้นทางวงประสบปัญหาไม่มีที่เล่นดนตรีประจำ จึงต้องยุบวงไป
อิทธิหันไปเปิดร้านเหล้าที่สุขุมวิท 11 แต่ประสบปัญหาขาดทุน
จนกระทั่ง อุกฤษฏ์ พลางกูร พี่ชายมาเปิด สตูดิโออัดเสียง "แจม สตูดิโอ"
อิทธิจึงขอมาเป็นหุ้นส่วนและทำงานเป็นซาวนด์ เอ็นจิเนียร์ และโปรดิวเซอร์ให้กับศิลปิน
ซึ่งมีลูกค้าคนสำคัญคือ ‘เฮียฮ้อ’ สุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ แห่งบริษัท “โรสซาวด์” (Rose Sound)
ที่มีการสร้างศิลปินอย่าง เรนโบว์ บรั่นดี ฟรุตตี้ คีรีบูน
ในฐานะ ซาวนด์ เอ็นจิเนียร์ หน้าที่ของอิทธิ คือ สร้างทำนอง เรียบเรียงดนตรี
และร้องไกด์ให้ศิลปินก่อนบันทึกเสียงจริง
เฮียฮ้อ จึงเป็นคนที่ได้ฟังเสียงของอิทธิ ก่อนที่ศิลปินจะมาร้องอัดเสียงจริงบ่อยครั้งเข้า
จึงรู้สึกว่า อิทธิ พลางกูร สมควรออกอัลบั้มเดี่ยวของตนเอง
แต่อิทธิ ปฏิเสธ ด้วยความคิดที่ว่า “โรสซาวด์”
ในตอนนั้นทำแต่ศิลปินวัยรุ่นใสๆ ไม่เคยมีผลงานเพลงร็อค บัลลารด์มาก่อน
บวกกับตอนนั้นอิทธิ อายุ 33 ปีแล้ว อีกอย่างอิทธิ แม้จะเคยร้องเพลงมาบ้าง
แต่ ไม่ได้เป็นนักร้องนำของวง
หากจะให้ยืนร้องเพลงเป็นศิลปินเดี่ยวนับว่าเป็นสิ่งที่อิทธิไม่เคยทำมาก่อนเลย
แต่เฮียฮ้อ ยังคงยืนยัน บอกกลับไปว่า ให้อิทธิ ทำงานเพลงมาเลย เฮียฮ้อจะไม่เข้าไปยุ่ง
โปรเจคอัลบั้มเพลง ‘ให้มันแล้วไป’ จึงเริ่มขึ้น โดย อิทธิ ดึงเพื่อนร่วมวง เดอะ เบลสส์ อย่าง
เต้ง-ธนิต เชิญพิพัฒธนสกุล หมู-ศิริศักดิ์ ศิริโชตินันท์ มือกีตาร์วงคาไลโดสโคป
พี่ชาย ของเขา อุกฤษฏ์ พลางกูร และ ตี่-กริช ทอมมัส
มือคียบอร์ดวงบาราคูดัส มาเป็นโปรดิวเซอร์
ธรรมดาเวลาฟ้าครึ้ม เมฆหม่น
พายุฝน อยู่บนฟากฟ้า
คงไม่นานตะวัน สาดแสงแรงกล้า
ส่งให้ฟ้า งดงาม
ในอัลบั้ม ให้มันแล้วไป มีเพลงเด่นอย่างเพลง ให้มันแล้วไป ยังจำไว้
และ เพลง เก็บตะวัน เพลงแรกที่ แต่งโดย ธนพล อินทฤทธิ์
ในช่วงเวลานั้น เสือ-ธนพล อินทฤทธิ์ ยังเป็นอาร์ตไดเรกเตอร์ ประจำ บริษัทโรสซาวด์ ด้วยความบังเอิญ
เสือมาหาอิทธิที่ห้องอัดเสียง เพื่อนำโลโก้อัลบั้มมาให้ อิทธิเลือก ในระหว่างนั้น อิทธิ
ก็ได้ปรึกษาเสือและเปิดเพลงเก็บตะวันที่ยังไม่มีเนื้อร้องให้เสือฟังพร้อมปรึกษาว่า
จะหาใครมาแต่งเนื้อเพลงนี้ดี
"พี่..ขอผมลองหน่อยได้ไหม ผมพอแต่งได้ ให้ผมลองหน่อยผมอยากแต่ง”
เสือรีบขออิทธิด้วยความลิงโลด อิทธิก็ลองให้โอกาสเสือได้ลองทำดู ด้วยความอยากให้โอกาส
อิทธิให้เวลาเสือไปแต่งเนื้อ 3 วัน แต่เพียงสองวันเนื้อเพลงเก็บตะวันก็เขียนเสร็จออกมา
อิทธิได้ฟังก็ชอบใจเพียงแก้ไขบางคำเพื่อให้ร้องเข้าปากมากขึ้น
"ให้มันแล้วไป" ในปี พ.ศ. 2531เป็นอัลบั้มที่เรียกได้ว่าพลิกโฉมเพลงร็อคให้กับทางอาร์เอสเลยก็ว่าได้ ด้วยยอดขาย 7 แสนตลับ
สำหรับศิลปินหน้าใหม่แจ้งเกิด อิทธิ พลางกูรได้อย่างงดงาม เพลงเก็บตะวัน
ยังกลายเป็นเพลงฮิตตลอดกาล สร้างตำนานให้กับทั้งอิทธิ เสือ ธนพล และอีกคน
คือ ปรัชญา ปิ่นแก้ว ผู้กำกับมิวสิควีดิโอ
เพลงเก็บตะวันที่ได้รับรางวัลโทรทัศน์ทองคำ สาขามิวสิกวิดีโอดีเด่น อีกด้วย
เก็บตะวัน เป็นเพลงที่ให้ความหวังและกำลังใจแด่ผู้ฟังมาทุกยุคทุกสมัย
เปรียเปรยชีวิตกับการขึ้นลงของดวงตะวัน ขอเพียงมีหัวใจที่เข้มแข็ง
ชีวิตยังมีพรุ่งนี้เสมอ ดวงตะวันยังคงทำงานเป็นแสงแรกของวันใหม่เช่นเดิม
ชีวิตแม้ตกลงในเย็นย่ำค่ำคืน ก็สามารถลุกขึ้นยืนใหม่ได้ในตอนเช้าเช่นกัน
หากตะวัน ยังเคียงคู่ฟ้า
จะมัวมา สิ้นหวังทำไม
เมื่อยังมีพรุ่งนี้ ให้เดินเริ่มใหม่
มั่นคงไว้ ดังเช่นตะวัน
Apr 13, 2022
๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๕ เป็นวันสงกรานต์หรือวันขึ้นปีใหม่ไทย
Apr 11, 2022
แจ้ ดนุพล แก้วกาญจน์
Old song please กรี๊ดเพลงเก่า
นักร้องชายที่ได้รับการยอมรับว่า ได้รับความนิยมเป็นระดับซูเปอร์สตาร์ รุ่นเดียวกับ พี่เบิร์ด ธงไชย
ในสมัยนั้น อัลบั้มฝันสีทอง ทํายอดขายเฉียด 2 ล้านตลับ ซึ่งถือว่ามากเป็นประวัติการณ์ในสมัยนั้นเลยทีเดียว
ชื่อของ "แจ้" ดนุพล แก้วกาญจน์ เป็นชื่อที่เหมาะสมอย่าง ยิ่งที่เราจะต้องกล่าวถึงเขาในวันนี้
ตั้งแต่ต้นยุค 90 จนถึงปัจจุบันถ้าสํารวจประชามติว่าใครคือนักร้องชายอันดับหนึ่งของวงการดนตรีป๊อปไทย
น่าจะเป็นภาพแรกที่ปรากฏขึ้นทันทีของ ผู้ที่ถูกตั้งคำถามดังกล่าว
แต่ถ้าย้อนกลับไปถามคําถามเดียวกันในยุค 80 (2523-2532)
คําตอบที่ได้อาจเป็นไปดังนี้ สุชาติ ชวางกูร, ธงไชย แมคอินไตย์
หรือ ดนุพล แก้วกาญจน์
ช่วงต้นของทศวรรษที่แปดสิบเป็นยุคของ สุชาติ ชวางกูร และเมื่อเข้าสู่กึ่งกลางของทศวรรษ
สุชาติได้ตัดสินใจเลือกเดินทางไปศึกษาต่อต่างประเทศและผลงานที่ออกมาในช่วงหลัง ๆ
ไม่ประสบความสําเร็จในระดับเดียวกับตอนอยู่ อี.เอ็ม.ไอ.
ธงไชย แมคอินไตย์ เห็นความสําเร็จของ สุชาติ ชวางกูร จึงมุ่งมั่นที่จะเข้าสู่วงการเพลงและเขา
ได้ฝึกฝนพัฒนาตนเองโดยการเคี่ยวกรําของ เรวัต พุทธินันทน์
จนในที่สุดก็ได้ออกเทปกับแกรมมี่ ชุดแรกในปี 2529 และประสบความสําเร็จทันที
ส่วน ดนุพล แก้วกาญจน์ เขาเป็นมากกว่าทั้งสองคนในยุคเดียวกัน คือเป็นนักร้องนำของวงดนตรี
ระดับสุดยอดของวงการเพลง แกรนด์เอ็กซ์ และ เป็นนักร้องเดี่ยวที่ประสบความสําเร็จอย่างสูงเมื่อ
ได้ออกผลงานของตัวเอง
ดนุพล แก้วกาญจน์ เกิดวันที่ 11 ตุลาคม 2502 เป็นคนสุดท้องในจํานวนพี่น้อง 5 คน
จบการศึกษาในระดับมัธยมปลายจากโรงเรียนหอวัง เริ่มเล่นโฟลค์ซองตั้งแต่อยู่ชั้นมัธยมปลาย
ร้องอาชีพครั้งแรกที่เลิฟคอฟฟี่ช็อปและต่อมาเล่นที่ เบิร์ธเดย์ โรงหนังเพรสซิเด้นท์
พี่แจ้ร้อง แนวของ The Bee Gees ได้ดีไม่มีที่ติ เมื่อ จํารัส เศวตาภรณ์
ลาออกจากวงแกรนด์เอ็กซ์ ทางวง จึงต้องหานักร้องนําคนใหม่เข้ามาเสริม
แกรนด์เอ็กซ์ไปนั่งดูดนุพลเล่นที่ร้านและสนใจในความ สามารถด้านการร้องของเขามาก
จึงทาบทามให้เข้าร่วมวง ดนุพลในตอนนั้นไม่ได้ต้องการเข้าร่วม
เนื่องจากเขามองภาพของแกรนด์เอ็กซ์ซึ่งในขณะนั้นออกชุด ลูกทุ่งดิสโก้ 1-2 มาแล้ว
ว่าไม่น่าจะ ใช่แนวทางหรือแนวดนตรีที่เขาจะร่วมงานด้วย แต่ นคร เวชสุภาพร
ได้อธิบายถึงแผนการทํางาน ของวงในอนาคตทําให้ในที่สุดพี่แจ๋ได้กลายมา
เป็นนักร้องของวงแกรนด์เอ็กซ์ในยุคที่ ดนุพล แก้วกาญจน์
เป็นนักร้องนําประสบความสําเร็จอย่างสูง สร้างปราฏการณ์ ให้กับวงการเพลงในหลายๆด้าน
เขาอยู่กับวงจนถึง อัลบั้ม "สายใย" จากนั้นก็แยกออกมาท่างาน เดี่ยว
โดยงานชุดแรกเขาฟอร์มวงดนตรีเฉพาะกิจชื่อ "พลอย" มาเล่นแบ็คอัพ โดยได้ ชาตรี คงสุวรรณ
มาร่วมด้วย วงการเพลงเฝ้ารอฟังผลงานชุดนี้ว่าจะดีเด่นเพียงไร พี่แจ้ เป็นนักร้องที่แต่ง
เพลงและโปรดิวซ์งานได้ด้วยตัวเอง "ฝันสีทอง" (2529) เป็นงานที่แฟนเพลงเฝ้ารอคอยและก็ไม่ทํา
ให้ผิดหวังเป็นงานที่มีเพลงดีทั้งอัลบั้ม ทํายอดขายได้เกินล้านตลับ
"ของขวัญ" (2529) งานชุดที่สองออกตามมาโดยดนุพลดึง จิ๊บ - ไผท เดชสิริ เข้ามาเสริมวงพลอย
เพื่อต้องการให้วงมีผลงานของตัวเองต่อไป ปี 2530 พี่แจ้ไม่ได้ออกงานใหม่ แต่มีงานชุด "ที่สุดของแจ้" และ
"ที่สุดของที่สุด" ซึ่งเป็นงานรวมเพลงและมีแต่งเพลงใหม่เพิ่มเติมเข้าไป ยอดขายดีมาก "เทวดาเดินดิน" (2531)
เป็นงานชุดที่สาม ในช่วงเวลานั้นวงการเพลงเริ่มเปรียบเทียบ และตั้งคําถามขึ้นมาแล้วว่าระหว่าง พี่แจ้ กับ พี่เบิร์ด
ใครคือเบอร์หนึ่ง ตอนโปรโมทเทปชุดเทวดาเดิน พี่แจ้ดูเหมือนจะเสียศูนย์เล็กน้อย
เพราะต้องการสร้างภาพความเป็นเอนเตอร์เทนเนอร์ให้มากขึ้น
ดูได้จากการแต่งตัวเป็นหุ่นยนตร์ในคอนเสิร์ตหนึ่งซึ่งดูแล้วไม่ใช่ตัวเขา หลังจากนั้นก็มี
งานเพลงตามมาอีกเรื่อยๆ และยังรักษามาตรฐานของงานและยอดขายไว้ได้ในระดับหนึ่ง
อินเทอร์นอล เป็นค่ายเพลงที่พี่แจ้ตั้งขึ้นเพื่อผลิตงานของตัวเองและผลิตงานของนักร้องในสังกัด
เป็นธุรกิจที่เขามองไว้เพื่อสร้างความมั่งคงให้กับชีวิต ศิลปินเบอร์แรก คือ เฮนรี่ ปรีชาพานิช
ไม่ประสบความสําเร็จจากแนวเพลงที่พี่แจ้ให้สัมภาษณ์กับสื่อในภายหลังว่าเป็นงานที่มาก่อนเวลาไปนิด
อินเทอร์นอล ได้งานชุด ลีลา 1 โดย ปุ้ม-อรวรรณ เย็นพูนสุข มาช่วยกู้สถานการณ์ไว้ได้
พี่แจ้ออกงานกับสังกัดตัวเองทั้งงานที่เป็นผลงานใหม่และงานขับร้องเพลงเก่าหลายๆชุด ได้รับ
การต้อนรับจากกลุ่มแฟนเพลงของพี่เขาในระดับที่น่าพอใจ ส่วนชื่อเสียงในระดับมาสต้องยอมรับว่า ค่อยๆ เฟดลงตามวัฏจักร
ปี 2547 หลังจากพี่แจ้ห่างหายไปจากการออกงานเพลงใหม่เป็นเวลานานก็มีงานออกกับทางอาร์เอส
ซึ่งในตอนนั้นค่อนข้างเป็นเรื่องเซอร์ไพร์สวงการมากๆ แต่การตอบรับค่อนข้างเงียบ
ดนุพล แก้วกาญจน์ เป็นทั้ง นักร้อง นักแต่งเพลง โปรดิวเซอร์ ที่มีความสามารถ ในช่วงเวลาที่ดีที่สุดของเขาหาคนทาบยากมาก
อัสนี โชติกุลให้สัมภาษณ์ว่า พี่แจ้มีคุณสมบัติ
ของการเป็นโปรดิวเซอร์ที่ดีเป็นการตอกย้ำถึงความเป็น "คนดนตรี" ของเขา
สําหรับผู้เขียนแล้ว พี่แจ้คือเบอร์หนึ่งในยุคนั้น
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพจาก http://www.oknation.net/blog/kilroy ครับ
เพิ่มเติม ทุกวันนี้ใครที่ยังอยากฟังเสียงเพลงของพี่แจ้ และสัมผัสตัวเป็นๆของเขาก็สามารถเข้าไปได้ที่ร้าน บ้านแสนรัก ย่านเลียบทางด่วนเอกมัยรามอินทรา ได้นะครับ
Apr 10, 2022
ฝันสีทอง (พ.ศ. 2529) ดนุพล แก้วกาญจน์
1. | "พังเพย" | สันติ เศวตวิมล | 3.26 |
---|---|---|---|
2. | "คำถาม" | ดนุพล แก้วกาญจน์ | 2.46 |
3. | "แสนรัก" | ดนุพล แก้วกาญจน์ | 3.07 |
4. | "น้ำค้างกลางแดด" | อารี อุไร (สุรพล โทณะวนิก) | 3.28 |
5. | "ฝันสีทอง" | ดนุพล แก้วกาญจน์ | 3.02 |
6. | "ใครสักคน" | สันติ เศวตวิมล, ดนุพล แก้วกาญจน์ | 4.27 |
7. | "ดอกไม้ให้คุณ" | เนื้อร้อง: สุรชัย จันทิมาธร ทำนอง :จากเพลง ฮานะ โดย โชคิชิ คินะ | 3.46 |
8. | "ด้วยมือของเธอ" | สันติ เศวตวิมล | 3.27 |
9. | "ฝันลำเอียง" | ดนุพล แก้วกาญจน์ | 3.07 |
10. | "มองโลกให้เป็น" | อารี อุไร (สุรพล โทณะวนิก) | 2.59 |
11. | "เธอ" | วรพันธ์ ทองนพคุณ | 2.55 |
12. | "แสนรัก (บรรเลง)" | ดนุพล แก้วกาญจน์ | 3.08 |
ความยาวทั้งหมด: 39.40 |
Apr 7, 2022
สิ้น 'เสฐียรพงษ์ วรรณปก' ราชบัณฑิตสาขาศาสนศาสตร์ ด้วยวัย 83 ปี
[ แด่ เสฐียรพงษ์ วรรณปก ]
เสฐียรพงษ์ วรรณปก เป็นสามเณรประโยค 9 รูปแรกในรัชกาลที่ 9 และเป็นรูปแรกแต่เกิดการสอบแบบข้อเขียน
แทนการสอบปากเปล่าดังแต่ก่อน
เขาเป็นศิษย์ของพระธรรมเจดีย์ (กี มารชิโน) แห่งสำนักเรียนวัดทองนพคุณ
ต่อมาเสฐียรพงษ์ได้ทุนไปเรียนที่วิทยาลัยตรีนิตี้ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ทั้งๆ ที่ยังบวชอยู่
อาจจะเรียกได้ว่าเป็นพระไทยรูปแรกที่จบจากที่นั่น เสียดายที่กลับมาไม่ทันไร เขาก็สึก
เขาถนัดเป็นนักหนังสือพิมพ์มากกว่าเป็นครูบาอาจารย์ ทั้งที่เขาเคยอยู่มหาวิทยาลัย
เดิมเขาเขียนให้หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ต่อมาเมื่อไทยรัฐไม่เล่นงานธรรมกาย
เขาจึงย้ายมาอยู่กับมติชน และมีผลงานรวมเล่มมากมาย ทั้งกับสำนักพิมพ์มติชน
และกับทางเคล็ดไทย ภาษาไทยเขาดี หนังสือที่มีชื่อเสียงก็เป็นหนังสือตั้งชื่อ ที่เขาสามารถตั้งชื่อคนเพราะๆ
ผมกับเขาเป็นกัลยาณมิตรกันมายาวนาน เมื่อเขาตายจากไป ก็หวังว่าเขาจะไปสู่สุคติในสัมปรายภพ
ส. ศิวรักษ์
6-4-65