Custom Search

Nov 30, 2008

บทสัมภาษณ์ ประภาส ชลศรานนท์ : Prapas.com


จิก-ประภาส เผยเบื้องหลังเพลง "ปั่นจักรยาน"

เปิดโลก-เปิดใจ

matichon tv


บทสัมภาษณ์ ประภาส ชลศรานนท์ หลังงาน Creativities Unfold, Bangkok 2008
November 20th, 2008
http://www.tcdcconnect.com/
http://www.prapas.com/

นักคิดคนสำคัญในธุรกิจบันเทิงของเมืองไทยที่ใครๆ
ก็รู้จักดีจนเรียกเขาอย่างสนิทปากว่า “พี่จิก” ซึ่งในงานCreative Unfold 2008 นี้
เขาเผยที่มาของความคิดสร้างสรรค์ที่เขานำมาใช้ในงานต่างๆ ผ่าน “7 วิธีตีหิน”
(ดูรายละเอียดได้ใน live blogging) ที่ชวนหัวและชวนนำไปต่อยอดได้อีกเยอะ
แต่ในตอนนี้เราขอคุยกับเขาถึงมุมมองอื่นๆ ในชีวิตที่ทำให้เขาเป็น
“ประภาส ชลศรานนท์” ได้ในวันนี้
-ตอนเป็นเด็กคุณชอบเล่นของเล่นพวกไหน
ก็เปลี่ยนไปตามวัย สมัยผมเด็กๆ ของเล่นไม่เยอะเท่าสมัยนี้
เราก็จะเล่นของเล่นพื้นๆ ที่หาได้ตามข้างโรงเรียนอย่างพวกของเล่นไม้
ของเล่นสังกะสี หรือหนังยาง ส่วนที่จะไปเกี่ยวกับจินตนาการ
เราก็เล่นสมมติเป็นต้นหนเรือ เป็นกัปตันอะไรไปเรื่อย

-หากมองย้อนกลับไปในการชีวิตการทำงานของคุณ คุณคิดว่า

การศึกษาในระบบโรงเรียนนั้นเอื้อประโยชน์ต่อการทำงานของคุณหรือไม่
อย่างไรการศึกษาในระบบโรงเรียนจำเป็นนะครับ
เพราะเราต้องปรับไปตามการเปลี่ยนแปลงของโลก จึงต้องเริ่มที่โรงเรียนก่อน
ถ้าพูดถึงการเรียนรู้นอกระบบล่ะผมว่าในบ้านเรา

ยังไม่ได้มีองค์กรการเรียนรู้นอกระบบที่พร้อมเท่าไรนัก
แต่ถ้าให้มองจริงๆ การเรียนรู้จากพ่อแม่ก็ใช่ ห้องสมุดก็ใช่นะครับ
โดยตัวผมเองเรียนมาในสายศิลปะและการออกแบบก็จริง
แต่ตัวเองไปสนใจเรื่องหนังสือ เรื่องเพลง เรื่องภาพยนตร์
ก็ไปหาความรู้เองจากการทำเวิร์คช็อปบ้าง ไปร่วมทำงานในกิจกรรมต่างๆ บ้าง
การไปทำงานจริงผมถือว่าเป็นการเรียนรู้ที่ดีมากๆ ไม่ว่าจะไปทำเพลง ทำละคร
หรือเป็นฟรีแลนซ์รับเขียนภาพประกอบเพื่อเรียนรู้การทำหนังสือ
ถือว่าได้ความรู้เยอะมาก ไม่แพ้การเรียนในโรงเรียน
-คุณคิดว่าผู้คนอย่างเราๆ สามารถมีส่วนร่วมในเรื่อง “Creative Economy”
ได้อย่างไรบ้าง
ก็ต้องบอกว่าเป็นการมีส่วนร่วมคนละนิดคนละหน่อยนะ ไม่ใช่ว่าไม่มีผลเลย
หรือจะบอกว่ามีผลแรงก็ไม่ได้บางทีรัฐบาลก็ทำให้เราท้อ
บางทีรัฐบาลก็ทำให้เรามีกำลังใจ ก็เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา
แต่อย่าไปคิดว่าตัวเองไม่มีส่วนใดๆ คนที่ทำงานเยอะ
มีแรงมีพลังเยอะก็สร้างสิ่งเหล่านี้ออกมาให้คนอื่นๆ
เห็นเป็นแรงบันดาลใจสร้างรสนิยมให้เกิดขึ้นได้

-คุณเห็นว่า พฤติกรรมการดูโทรทัศน์ของคนไทยเป็นอย่างไรและ
ได้หยิบยกพฤติกรรมนั้นมาเป็นเงื่อนไขในการสร้างสรรค์รายการ

โทรทัศน์หรือไม่อย่างไรบ้าง
สำหรับวงการโทรทัศน์ไทย เรามีกลุ่มเป้าหมายที่ห่างกันมาก
คือคนเมืองกับคนชนบทนี่ดูโทรทัศน์ต่างกันมากเลย
คนเมืองในแต่ละวัยก็ดูโทรทัศน์ต่างกันมากๆ อีก
ต้องว่ากันเป็นประเด็นเป็นกลุ่มไป แต่ผมว่าช่วงเวลาที่น่าสนใจมากที่สุด
ของรายการโทรทัศน์ ก็คือ ช่วงเวลาที่ครอบครัวอยู่ร่วมกัน
เพราะเป็นช่วงที่เราจะปลูกฝังอะไรให้กับเด็กๆ ได้
พอคนเสพงานคุณไม่ว่าจะเป็นเพลง หนังสือ หรือรายการทีวี

มักจะอุทานว่า “คิดได้อย่างไร?” เราอยากถามคำถามนั้นเช่นกัน
“คิดได้อย่างไร?” ของคุณมีกระบวนการที่มาอย่างไรบางอันก็เป็นขั้นตอนไป
บางอันก็วาบขึ้นมา หรือบางทีก็เป็นขั้นตอนที่มาจากความคิดที่วาบขึ้นมา
ถ้าจะให้แนะ-นำเด็กรุ่นใหม่ๆ ผมว่าเราต้องเติมไปไปเรื่อยๆ
และมีเชื้อเพลิงที่ดี คือ ความรู้ ซึ่งไม่ใช่ความรู้ในห้องเรียนอย่างเดียว
อย่างอื่นก็เป็นการสอนไปในตัว อย่างที่ไอน์สไตน์กล่าวไว้ว่า
“จินตนาการสำคัญกว่าความรู้” นั่นไม่ใช่ว่าความรู้ไม่สำคัญนะ
ต้องมีความรู้ก่อน สำหรับตัวผมไม่มีกระบวนการตายตัวหรอก
ถ้าจะมีมันก็เกิดขึ้นอย่าง-อัตโนมัติมาก

-ในความคิดของคุณ มีตัวอย่างวัฒนธรรมไทยร่วมสมัยอะไร

ที่สามารถ “ขาย” ได้ในตลาดโลก
ผมว่าทุกชาติมีหมดนะ วัฒนธรรมร่วมสมัยที่เป็นสิ่งสากลสามารถนำมาขายได้

วัฒนธรรมร่วมสมัยในปัจจุบันก็ล้วนแต่ต่อยอดมาจากสิ่งอื่นหรือสิ่งดั้งเดิม
อย่างวัฒนธรรมที่เป็นของอเมริกันเอง เช่นเพลงบลูส์ หรือร็อคแอนด์-โรล
ก็มีที่มาจากอดีตแล้วพัฒนาต่อยอดขึ้นไป ของไทยเราก็มีเพลงจังหวะมันส์ๆ
ที่สามารถขายได้ แต่เรื่องนี้ต้องคุยกันยาวนะครับ เราต้องมานั่งถกกันและค่อยๆ
แกะปมทีละปม ถ้าเราบอกว่า การ์ตูนญี่ปุ่นนี่เป็นวัฒนธรรมหลักของเขา
เป็นจุดขายของเขาเลย เราก็ต้องมาดู เช่น
การ์ตูนเรื่องเจ้าหนูอะตอมก็มีที่มาจากมิกกี้เมาส์ ก็มาจากฝรั่ง
แต่ทุกวันนี้มันกลายเป็นของญี่ปุ่นแท้เลย ผมว่าทุกอย่างมันเป็นการต่อยอด
ไม่มีใครลอกใครหรอก

-ในทัศนคติของคุณ คิดว่า Creative City สำหรับกรุงเทพฯ

เป็นอย่างไรบ้าง
ผมชอบใจบริเวณเกาะรัตนโกสินทร์ ถ้าพูดถึงเรื่องนี้ผมจะเห็นภาพที่นั่นชัด

ผมคิดถึงริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่มีสถาปัตยกรรมใหม่เข้าไปแทรกอยู่
มีความร่วมสมัยเข้าไปแทรกอยู่
ผมคิดถึงบรรยากาศเยอะเหมือนกันนะ คิดถึงมหาวิทยาลัยศิลปะที่อยู่ในบริเวณนั้น
ก็น่าจะมีมหาวิทยาลัยศิลปะเยอะขึ้นอีก
อยากให้มีเป็นย่านที่มีมหาวิทยาลัยศิลปะรวมกัน
เป็นย่านของความสร้างสรรค์โดยเฉพาะ ตอนนี้ผมเห็นกรุงเทพฯ
เป็นเมืองที่ไม่มีที่เดินเที่ยวต้องเดินห้างเท่านั้น
ผมอยากให้มีบริเวณที่เป็นที่เดินเล่น ให้คนมาทำกิจกรรมอื่นๆ
กันมากขึ้น อาจจะมีพิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่ก็ได้
หรือเป็นพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ก็ได้ อยู่ใกล้ๆ กันหมดเลย
โดยที่ไม่ต้องเกี่ยวกับการค้ามากผมอยากเห็นภาพแบบนั้นมากกว่า

ช่วงคุยกับประภาส:-
อีกมิติหนึ่งเหมือนได้เข้าไปในหนังสือคุยกับประภาส
วันนี้คุยถึง 7 วิธีตีหิน มีตามนี้

1. ทำลายกรอบดวงตา (คิดนอกกรอบ)
2. คิดย้อนศร
3. หนามยอกเอาหนามบ่ง
4. เรื่องเล็กรอบตัว
5. จับคู่ผสมพันธุ์
6. สมมุตินะสมมุติ
7. ขีดไปก่อน เขียนไปก่อน: คำว่า “Oh! my God” ที่มาของรายการ คุณพระช่วย
ช่วงถามประภาสผู้ร่วมงาน (ท่าทางตื้นเต้นดีใจ)
ถามอย่างตื่นตัวว่า
-“วิธีการคิดเอาวัฒนธรรมผ่านกระบวนการคิดผ่านวิธีตีหิน
ทั้ง 7 มาสร้างธุรกิจได้อย่างไรครับ”
ประภาส
สองสิ่งที่คนไทยมองวัฒนธรรม คือ อยู่บนหิ้ง กับ เฉย
ผมถึงได้ทำ “อีสาน”อย่างเกาหลีมีภาระแห่งชาติที่สร้างสรรค์ประเทศ
ไม่ทราบว่าในที่นี้มีผู้มีอำนาจที่เกี่ยวข้อง…รึเปล่าว

-"คำถามจากผู้ร่วมงาน“ทำอย่างไร เมื่อโดนขโมยไอเดีย"
ประภาส
“อย่าวางของในที่หยิบง่าย” “ทำใจ” “ไม่ใช่อย่างนั้นครับ
ต้องระวัง”และ“ความคิด ต้องคิดต่อจากสิ่งหนึ่ง
ไม่มีอะไรในโลกนี้ที่เกิดขึ้นแล้วเป็นOriginal”
“มองมาที่เรา มีภาพเด็กหัวจุก ขี่ช้าง
ลองฝรั่งมาที่นี่ไม่เห็นเด็กผมจุกซักคน …ไหนหละช้าง (มีแต่รถ)
“ผมก็อยากเอาวัฒนธรรมมาให้เป็นรูปธรรม
ฝากไว้ว่าอย่างมองให้มันเชยมากนะครับ”

-ผู้ร่วมงาน“พี่มีความคิดที่อยากทำ หรือไม่ได้ทำแล้วให้คนอื่นทำบ้าง”
ประภาส
“ผมอยากให้คนทำเรื่องวัฒนธรรม โดยเฉพาะรัฐ บ้านเรามีวัฒนธรรมดีๆอยู่มากครับ”




Nov 29, 2008

เพื่อความเข้าใจถูกต้องเกี่ยวกับหลักกรรม (6) ว่าด้วยผลกรรม 3 ระดับ

คอลัมน์ รื่นร่ม รมเยศ
เสฐียรพงษ์ วรรณปก
มติชน
วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

จับเข่าคุยมาเกี่ยวกับเรื่องกรรมมาหลายคราแล้ว
(จนเข่าด้านแล้วมั้ง)ยังไม่จบ
ยังมีเรื่องเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้
ไม่ใช่เรื่องตายตัวที่ถูกกำหนดมาโดยอำนาจสูงสุดใดๆ
เราทำกรรมเอง ดีหรือชั่ว เราเป็นผู้ทำขึ้นมา แล้วเราก็แก้ไขเองได้
เรื่องของกรรมเป็น "อัตโนลิขิต" (ตัวเองเป็นผู้ลิขิต ผู้สร้าง)
ไม่ใช่ "เทวลิขิต" (เทพสร้าง) หรือ "พรหมลิขิต" (พรหมสร้าง)พูดให้เห็นง่ายๆ
เราอยากเป็นดอกเตอร์ (ดอกเตอร์ปริญญาเอก มิใช่ดอกเตอร์นวด)
ใครทำให้ เราทำเองทั้งนั้น เราต้องขยันหมั่นเพียรเรียนหนังสือ
ไต่เต้าขึ้นไปจากประถม มัธยม มหาวิทยาลัยระดับปริญญาตรี โท
แล้วก็ทำวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก ใครทำให้ เราทำเอง
คร่ำเคร่งเรียนแทบเป็นแทบตาย กว่าจะได้ปริญญามาทั้งหมดนี้คือกฎแห่งกรรม
กฎแห่งการกระทำ ที่เราสร้างเอง
คนอื่นมีส่วนเพียงช่วยอุดหนุนภายนอกเท่านั้นอีกสักตัวอย่างหนึ่ง
มหาโจรชื่อดัง ถูกประกาศจับตาย หนีหัวซุกหัวซุน
ในที่สุดถูกจับได้ ศาลพิพากษาประหารชีวิต
เพราะไปก่อกรรมทำเข็ญไว้มากมายหลายคดี
ก่อนตายโอดครวญว่า สังคมโหดร้ายต่อเขา
บังคับให้เขาเป็นโจรหนังสือพิมพ์รายงานข่าวอย่างละเอียดว่า
มหาโจรคนนี้เดิมเป็นเด็กยากจน ไปหลงรักลูกสาวคหบดี
เมื่อถูกกีดกันก็ฉุดลูกสาวเขา ถูกตำรวจจับฐานพรากผู้เยาว์
ตอนหลังคนรักที่ว่ารักกันแทบจะกลืนก็เปลี่ยนใจบอกว่าถูกข่มขู่ข่มขืน
ออกจากคุกแค้นมาก เอาระเบิดไปถล่มคนรักตายเรียบพร้อมครอบครัว
ตั้งแต่นั้นมาก็กลายเป็นไอ้มหาโจรปล้นฆ่า ข่มขืนไม่รู้ว่ากี่ศพต่อกี่ศพ
ผลที่สุดถูกจับถูกพิพากษาประหารชีวิตดังกล่าว
เขาว่าเขาถูกบังคับให้เป็นโจรความจริงเขากลายเป็นโจร
ก็เพราะการกระทำของเขาเอง สังคมมิได้บังคับให้เขาเป็น
คนที่อยู่ในสังคมเช่นเดียวกับเขา และถูกเอารัดเอาเปรียบพอๆ กัน
หรือมากกว่าเขาก็มีไม่น้อย ทำไมเขาไม่เป็นโจรล่ะ
นี่แหละครับที่พระท่านว่า คนเราจะเป็นอะไรก็เพราะ "กรรม" (การกระทำ) ของตนเอง
อย่างนี้ไม่เรียกว่า "อัตโนลิขิต" แล้วจะให้เรียกอะไรเคยตั้งข้อสังเกตไว้ว่า
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว นั่นไม่จำเป็นจะต้องเป็นไปตามนี้ร้อยเปอร์เซ็นต์
อาจจะสัก 99.9 เปอร์เซ็นต์อะไรทำนองนั้น
ส่วนที่เหลือก็เผื่อไว้ให้ "เงื่อนไข" อื่นเข้ามาแทรกบ้าง

อย่างไรก็ตาม ผลดีผลชั่วของกรรมนั้น ควรพิจารณาถึง 3 ระดับ
จึงจะเข้าใจชัดคือ
1.ผลดีผลชั่วระดับสังคม
สังคมเราถือสิ่งใดว่าดีหรือไม่ดี สิ่งนั้นแหละเรียกว่าดีชั่วระดับสังคม
เช่น ในสังคมวัตถุนิยมอย่างปัจจุบัน
เราถือว่า ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ความร่ำรวย เป็นสิ่งที่ดี
ตรงข้ามจากนี้ว่าเป็นสิ่งไม่ดีหรือสิ่งที่ชั่ว
พอใครพูดว่า "ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว" ก็นึกแล่นไปถึงสิ่งเหล่านี้
"อ้อ ทำดีต้องได้ลาภ ยศสรรเสริญ สุข และความรวย
ทำชั่วต้องได้ความเสื่อมลาภ เสื่อมยศ หันหาทุกข์และความจน"
ครั้นเห็นใครทำดีไม่ได้เลื่อนยศสักที
หรือยิ่งทำดีก็ยิ่งจนลงๆ ก็ชักจะไขว้เขวแล้วว่า
"เอ ทำดีทำไมไม่ได้ดี" หรือเห็นคนทำชั่ว (โกง เห็นชัดๆ ว่าอย่างนั้นเถอะ)
แต่กลับได้เลื่อนยศ และรวยเห็นทันตา ก็งงว่า
"เอ ไอ้หมอนี่ทำชั่วเห็นชัดๆ ทำไมได้ดี"จึงขอเรียน
(ความจริงไม่ต้องเรียน เพราะค่าเทอมแพง ขอพูดเลย)
ว่า ความจน ความรวย ลาภเสื่อมลาภ ยศเสื่อมยศ สรรเสริญนินทา
สุขทุกข์ มิใช่ผลโดยตรงของกรรมดีกรรมชั่วดอกครับ
ถ้ามันจะเป็นผลก็ขอให้ถือว่าเป็นเพียง "ผลพลอยได้"ทำดีก็รวยได้
ทำชั่วก็รวยได้เช่นกัน ทำดีก็จนได้ ทำชั่วก็จนได้ เป็นไปได้ทั้งนั้น
ไม่ควรถือเอามาเป็นผลโดยตรงของกรรมดีกรรมชั่ว
2.ผลดีผลชั่วระดับบุคลิกภาพและอุปนิสัย กรรมที่ทำลงไป
ทำให้เกิดผลในการสร้างเสริมลักษณะนิสัย ปรุงแต่งลักษณะความประพฤติ
การแสดงออกต่างๆ ด้านดี เช่น ความมีเมตตาอารี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
ไม่อิจฉาริษยา ไม่อาฆาตพยาบาท ด้านชั่ว
เช่น ใจแคบ มุ่งร้าย วู่วาม ก้าวร้าวสิ่งเหล่านี้ มิใช่อยู่ๆ เป็นขึ้นมาเอง
หากเป็นผลของการกระทำซ้ำแล้วซ้ำเล่า
จนหล่อหลอมเป็นอุปนิสัยใจคอของคนคนนั้น

3.ผลดีผลชั่วระดับพื้นของจิต กรรมที่ทำลงไปแต่ละครั้ง
เป็นการสั่งสมคุณภาพของจิต
พูดอีกนัยหนึ่งว่าเป็นการ"ประทับลงไปในจิต"
จนกลายเป็น "พื้น" ของจิต จิตนั้นเหมือนผ้าขาว
การกระทำแต่ละครั้งดุจเอาสีแต้มลงไปที่ผืนผ้า
ทำดีทีก็ดุจเอาสีขาวแต้มลงที ทำชั่วทีก็ดุจเอาสีดำแต้มลงที
อะไรทำนองนั้นทุกครั้งที่เราด่าหรือนินทาคนอื่น
เราได้สร้างเชื้อแห่งความไม่ดีซึ่งทางศาสนาเรียกว่า "กิเลส"
หรือ "อาสวะ" ขึ้นในใจ ทำให้สภาพจิตตกต่ำ มัวหมอง
หากทำเช่นนี้บ่อยๆ จิตจะหยาบกระด้างขึ้น
มีคุณภาพต่ำลงเรื่อยๆ ตรงกันข้าม ถ้าเราทำแต่สิ่งที่ดีงาม
เช่น คิดเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เมตตากรุณา
เห็นอกเห็นใจและช่วยเหลือคนอื่น ทำบุญทำทานอยู่เสมอ
พลังฝ่ายดีจะสะสมในจิตใจเป็นพื้นของจิต
สร้างคุณภาพและสมรรถภาพที่ดีแก่จิตสรุปให้เข้าใจง่ายก็คือ
การทำดีหรือทำชั่วแต่ละครั้งนั้น มีส่วนช่วยให้พื้นของจิตละเอียด
หรือหยาบขึ้นได้ ความละเอียดประณีต
และความหยาบกระด้างของจิตมิใช่อยู่ๆ จะเป็นขึ้นมาเอง
ย่อมมีการสะสมการกระทำ (กรรม)
ต่อเนื่องมาเป็นลำดับจนกลายเป็นการกระทำที่ปกติ
อาแปะ คนหนึ่งเชือดคอเป็ดทุกเช้า เพราะแกมีอาชีพทำก๋วยเตี๋ยวเป็ดขาย
แกกระทำเช่นนี้ทุกเช้าจนชิน ไม่รู้สึกขวยเขิน
เหนียมอายแต่อย่างใด สภาพจิตของอาแปะแกหยาบกระด้าง
ไม่มีหิริโอตตัปปะแม้แต่น้อย
เมื่อครั้งเชือดคอเป็ดตัวแรกในชีวิต แกมือไม้สั่น จิตใจกล้าๆ กลัวๆ
แต่พอเชือดตัวที่สอง ที่สาม ที่สี่... ความรู้สึกเช่นนั้นค่อยๆ หายไป
จนกระทั่งไม่เป็นเรื่องผิดแต่ประการใด
นี้แสดงว่าผลของการกระทำนั้นทำให้จิตใจหยาบกระด้างขึ้น

อาตี๋อีกคนมีอาชีพขายลูกน้ำ เดิมทีก็ไม่คิดอะไรต่อมาได้อ่านหนังสือธรรมะ
และได้คุยกับผู้รู้ และผู้รู้นั้นก็มาเยี่ยมที่ร้านบ่อยๆ
ทำให้เกิดความละอายว่าตนมีอาชีพเบียดเบียนสัตว์
จึงเลิกขายลูกน้ำ ดัดแปลงร้านให้เป็นร้านขายหนังสือธรรมะ
ในเวลาต่อมาไม่ต้องบอกก็ได้ว่าสภาพจิตของอาตี๋คนนี้
เริ่มละเอียดประณีตขึ้นๆ เพราะเป็นผลของการกระทำดี
(สนทนาธรรม, พิมพ์หนังสือธรรมะเผยแผ่...)
สรุปว่า ผลดีผลชั่วระดับสังคม ไม่ควรถือเป็นผลโดยตรงของกรรมดี กรรมชั่ว
ผลดีผลชั่วระดับบุคลิกภาพ และอุปนิสัย กับผลดีผลชั่วระดับพื้นของจิตเท่านั้น
ที่จัดว่าเป็นผลของกรรมดีกรรมชั่ว ที่ว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
หมายเอาดีชั่วสองระดับนี้
ทำดีแล้วอุปนิสัยและบุคลิกดีขึ้น พื้นจิตใจสะอาดประณีตขึ้น
ทำชั่วแล้วอุปนิสัยและบุคลิกเลวลง
พื้นจิตใจสกปรกหยาบกระด้างขึ้น
ผลของกรรมเห็นจะจะ
อย่างนี้แหละโยมเอ๋ย
หน้า 6


ภาพประกอบ ชัย ราชวัตร

เคล็ดวิชา"ผ่าทางตัน"



คอลัมน์ แท็งก์ความคิด
นฤตย์ เสกธีระ
max@matichon.co.th
มติชน
วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

สถานการณ์การเมือง เศรษฐกิจ สังคมของไทยเป็นเช่นนี้คนข่าวอย่างพวกเรา
และคนเสพข่าวอย่างทุกท่านคงเครียดความเครียดมันเกิดขึ้น
เพราะสถานการณ์การเมืองถึงทางตันพอการเมือง "ตัน"
ก็กระทบต่อเศรษฐกิจ และสังคม
"ไทยทั้งชาติจึงเครียด !"
อาการเครียดเป็นต้นเหตุแห่งความทุกข์หลายอย่างครับ
ความเครียดเป็นต้นเหตุให้เกิดโรคอันเป็นทุกข์ทางกาย
และความเครียดอีกเช่นกัน ที่เป็นต้นเหตุให้เกิดทุกข์ทางจิตดังนั้น
ถ้าเราสามารถผ่าทางตัน เปิดทางออกไปได้
เราก็ไม่เครียดเราก็ไม่ทุกข์ความจริง
แล้วอาการ "ตัน" นี้พร้อมจะเกิดขึ้นกับทุกๆ คน
อย่างหนูที่ติดจั่น หาทางออกไม่ได้...มันก็เครียด
นักเรียนที่แก้โจทย์คณิตศาสตร์ไม่ออก...คิดอะไรไม่ได้
ที่สุดก็เครียดบัณฑิตจบใหม่ที่สมัครงานที่ไหนๆ
ก็ไม่มีใครขานรับมองไปด้านไหนก็มืดมนเจอทางตัน
สุดท้ายก็เครียดแม้แต่คนที่ทำงานแบบพวกเราก็เหมือนกันครับ
บางคนได้รับมอบหมายให้ทำงานชิ้นหนึ่ง
แต่ทำยังไงๆ ก็คิดไม่ออก"สมองมันตีบตัน....ความเครียดก็มาเยือน"
เช่นเดียวกับงานเขียนครับหลายครั้งหลายเวลาที่พบว่า
ไม่รู้จะเขียนเรื่องอะไร คิดไม่ออก...เขียนไม่ได้
เราเรียกอาการแบบนี้ว่า "ตัน" เช่นกัน
แต่อาการแบบที่ว่ามานี้ พี่ๆ นักข่าวนักเขียนที่มีประสบการณ์
มักชี้หนทางบำบัดรักษา บอกเคล็ดวิชา
"ผ่าทางตัน"พี่ๆ เหล่านั้นเขาบอกว่า
เมื่อใดที่คุณรู้สึกตัน เขียนอะไรไม่ออกสิ่งแรกที่พึงกระทำคือ
หยุดคิด-หยุดเขียนวางปากกา เอามือออกจากแป้นพิมพ์
ถอยตัวเองจากโต๊ะทำงาน
พักสมองพักหัวใจสักประเดี๋ยวจากนั้นค่อยเคลื่อนไหว
ออกไปพบปะพูดคุยกับเพื่อนฝูงญาติพี่น้อง
หยิบหนังสือขึ้นมาพลิกอ่าน
หรือเปิดโทรทัศน์ดูโน่นดูนี่ทำเช่นนี้ไปได้ไม่นานหรอกครับ
เดี๋ยวเดียวจะคิดเรื่องที่จะเขียนได้เอง
สมองที่เคยตีบตัน ก็จะปลอดโปร่ง...คำแนะนำเหล่านี้
ใครไม่เชื่อ โปรดอย่าลบหลู่นะครับ
วิธีนี้เอาไปใช้ทีไรได้ผลทุกครั้ง
และเมื่อลองเล่าเรื่องนี้ให้บรรดากูรูทั้งหลายฟัง
พวกเขายืนยันว่า คำแนะนำของพี่ๆ
นักข่าวนักเขียนนั้นเป็นหนทางผ่าทางตันที่ดีสมควรบันทึกไว้เป็นเคล็ดวิชา
เผื่อใครอยากหาวิธีผ่าทางตันจะได้นำไปใช้เคล็ดลับผ่าทางตันที่ตั้งชื่อไว้เท่ๆ นี้
มีหลักเพียง 2 ประการเท่านั้นครับ
หลักประการแรก คือ อย่ายึดติด หมายความว่า
"เมื่อใดก็ตามที่เจอทางตัน แทนที่จะถือทิฐิมุ่งแต่เอาชนะแบบหัวชนฝา"
"ท่านว่า ให้รู้จักถอยออกมาจากปัญหาสักก้าวสองก้าว
"การถอยนี่มีความสำคัญนะครับ เพราะช่วงเวลาที่เราตัดสินใจถอย
คือช่วงเวลาที่สติเข้ามาแทนที่อารมณ์
เมื่อเราถอยห่างออกมา เราจะเห็นภาพในมุมที่กว้างขึ้น"
เมื่อเรายอมถอยออกห่าง สมองเราก็จะรับรู้ข้อเท็จจริงได้มากขึ้น
"เหมือนกับที่บรรดาพี่ๆ นักข่าวนักเขียนบอกว่า
ให้หยุดคิดหยุดเขียน แล้วถอยห่างออกจากโต๊ะทำงานไหมเหมือนกัน!
และหลังจากยอมถอยแล้ว
เราจะเข้าสู่หลักประการที่สองนั่นคือ การแสวงหาข้อมูล
อย่าลืมว่า ช่วงที่เรายอมถอย คือช่วงเวลาที่สติเริ่มกลับมาแทนที่อารมณ์"
ณ ห้วงเวลานี้เอง เป็นห้วงเวลาที่ดีที่สุดในการมองหาข้อมูลใหม่ๆ"
จังหวะนี้เราจึงต้องรับฟังคำปรึกษาคำปรึกษาที่ว่านั่น
ไม่ต้องพึ่งพาระดับผู้เชี่ยวชาญอะไรหรอก
แค่พูดคุยสอบถามจากคนใกล้ชิด มิตรใกล้ตัวค้นหาจากหนังสือ
หรืออินเตอร์เน็ตเพียงเท่านี้
ทางออกใหม่ๆ ก็จะปรากฏออกมาในความคิดอย่างนักเรียนที่ติดโจทย์คณิตศาสตร์
คิดเท่าใดก็คิดไม่ออก ลองหยุดพักสมอง
แล้วยกการบ้านไปถามพ่อ แม่ พี่ หรือเพื่อนดูสิครับ
บางทีคำปรึกษาที่พ่อ แม่ พี่ หรือเพื่อนบอกมานั้น
อาจยังไม่สามารถทำให้เราแก้โจทย์เลขข้อนั้นได้ในทันที
แต่คำปรึกษาที่ได้รับ อาจทำให้เราได้คิด
และพบช่องทางในการแก้โจทย์เลขได้ในเวลาต่อมา
เช่นเดียวกับบัณฑิตใหม่ที่กำลังตกงาน
ยื่นใบสมัครงานไปที่ไหนๆ ก็ไม่มีใครตอบรับลองหยุดสักพัก
แล้วหมุนโทรศัพท์ไปหาเพื่อนฝูง ครูอาจารย์
คนเหล่านั้นจะมีข้อมูลสำคัญให้เราได้คิด
และพบช่องทางใหม่ๆ ในการสมัครงานคนทำงานอย่างเราๆ
ก็ไม่ต่างกันครับใครก็ตามที่กำลังเจอทางตัน
โปรดอย่ารอช้าขั้นแรก ขอให้ท่านหยุดพักสิ่งที่กำลังทำอยู่ขั้นต่อไปคือ
ขอให้ท่านเปิดประสาทการรับรู้ แสวงหาคำปรึกษาจากรอบทิศ
แล้วในที่สุดเราจะพบทางออกได้อย่างมหัศจรรย์
สวัสดี
หน้า 17

Nov 28, 2008

ศ.ดร.ปรีดี พนมยงค์


ข้อมูลจาก Wikipedia
ศาสตราจารย์ ดร. ปรีดี พนมยงค์
(11 พฤษภาคม พ.ศ. 2443 - 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2526)
หรือ หลวงประดิษฐมนูธรรม เป็นผู้นำสมาชิก คณะราษฎร สายพลเรือน
ผู้ปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง ของประเทศไทย ให้เป็น ระบอบประชาธิปไตย
เป็นอดีตนายกรัฐมนตรี ของไทย 3 สมัย และ รัฐมนตรีกระทรวงต่างๆ อีกหลายสมัย
ในสมัย สงครามโลกครั้งที่ 2 ได้เข้าร่วมขบวนการเสรีไทย
เพื่อต่อต้านกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น โดยเป็นผู้นำ
มีชื่อรหัสว่า "รู้ธ" ท่านเป็นผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
และเป็นผู้ประศาสน์การคนแรกและคนเดียวของมหาวิทยาลัยฯ
นอกจากนี้ยังเคยดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในรัชกาลที่ 8
และได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ยกย่องในฐานะรัฐบุรุษอาวุโสด้วย
ในปี พ.ศ. 2543 องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ
หรือ ยูเนสโก ได้ประกาศบรรจุชื่อของท่านไว้ในปฏิทินบุคคลสำคัญของโลก
ปี ค.ศ. 2000-2001

ประวัติ
ศาสตราจารย์ปรีดี กำเนิดในเรือนแพหน้าวัดพนมยงค์ อำเภอกรุงเก่า

จังหวัดพระนครศรีอยุธยา บิดาชื่อนายเสียง เป็นคนไทยเชื้อสายจีนแต้จิ๋ว
มารดาชื่อนางจันทน์ สืบเชื้อสายมาจากพระนมในสมัยกรุงศรีอยุธยา
ชื่อ "ประยงค์" ซึ่งเป็นผู้สร้างวัดห่างจากกำแพงพระราชวังด้านตะวันตกชื่อ วัดนมยงค์
หรือ "พนมยงค์" เมื่อมีการประกาศพระราชบัญญัติขนานนามสกุล พ.ศ. 2456
ครอบครัวนี้จึงได้ใช้นามสกุลว่า "พนมยงค์"

การศึกษา
สำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ โรงเรียนวัดศาลาปูน อำเภอกรุงเก่า
ได้เข้าศึกษาต่อชั้นมัธยมต้น ณโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร และมัธยมปลาย
ณ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย หลังจากนั้นออกมาช่วยบิดาทำนาหนึ่งปี
และจึงได้เข้าศึกษาที่โรงเรียนกฎหมาย กระทรวงยุติธรรมต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2460
สอบไล่วิชากฎหมาย ชั้นเนติบัณฑิตได้ เมื่ออายุ 19 ปี และเมื่ออายุ 20
ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกเนติบัณฑิตยสภา
เนื่องจากกระทรวงยุติธรรมพอใจในผลสอบ
จึงให้ทุนไปเรียนต่อด้านกฎหมาย ที่ประเทศฝรั่งเศส
โดยเข้าเรียนชั้นปริญญาตรีทางกฎหมาย ที่มหาวิทยาลัยก็อง (Univesite de Caen)
และศึกษาพิเศษจากศาสตราจารย์เลอบอนนัวส์ (Lebonnois)
จนสำเร็จการศึกษาได้ปริญญารัฐ เป็น "บาเซอลิเย"
กฎหมาย (Bachelier en Droit) และได้เป็น
"ลิซองซิเย" กฎหมาย (Licencie en Droit)
เมื่อ พ.ศ. 2469 สำเร็จการศึกษาด้านนิติศาสตร์ (Sciences Juridiques)
และสอบไล่ได้ประกาศนียบัตรการศึกษาชั้นสูงในทางด้านเศรษฐศาสตร์การเมือง
(Diplome d’Etudes Superieures d’Economic Politique) มหาวิทยาลัยปารีส
ได้ปริญญารัฐ "ดุษฎีบัณฑิตกฎหมาย"(Docteur en Droit) ณ ประเทศฝรั่งเศส
โดยเสนอวิทยานิพนธ์
เรื่อง "Du Sort des Societes de Personnes
en cas de Deces d’un Associe"
(ศึกษากฎหมายฝรั่งเศสและกฎหมายเปรียบเทียบ)
นับเป็นคนไทยคนแรกที่ได้ศึกษาต่อจนจบดุษฎีบัณฑิต
ด้านกฎหมายจากมหาวิทยาลัยปารีส


ลี้ภัยและถึงแก่อสัญกรรม
เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 เสด็จสวรรคต
นายปรีดีและคณะรัฐมนตรีได้ขอความเห็นชอบต่อสภาว่า
ผู้ที่จะขึ้นครองราชย์สืบสันตติวงศ์ควรได้แก่สมเด็จพระอนุชา
เมื่อสภามีมติเห็นชอบแล้ว นายปรีดีก็ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ด้วยเหตุผลว่า
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงแต่งตั้งตนเป็นนายกรัฐมนตรีนั้นได้สวรรคตเสียแล้ว
เหตุการณ์นี้ทำให้ศัตรูทางการเมืองของท่าน
ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มทหารที่สูญเสียอำนาจและพรรคการเมืองฝ่ายค้าน
สบโอกาสในการทำลายนายปรีดีทางการเมือง
โดยการกระจายข่าวไปตามหนังสือพิมพ์ ร้านกาแฟ และสถานที่ต่างๆ
รวมทั้งส่งคนไปตะโกนในโรงภาพยนตร์ในกรุงเทพฯ ว่า "ปรีดีฆ่าในหลวง"
ซึ่งเป็นคำกล่าวหาที่ร้ายแรงมาก กลายเป็นกระแสข่าวลือ
และนำไปสู่การลาออกจากตำแหน่งทางการเมืองทั้งหมดในเดือนพฤศจิกายน
แต่อย่างไรก็ตาม มีหนังสือ หรือ ข้อมูลบางที่
ที่บ่งบอกถึงข้อมูลในเชิงลึกต่างๆที่ กล่าวหาท่านว่าเป็น
ผู้วางแผนลอบปลงพระชนม์ แต่ไม่มีการพิสูจน์จนปัจจุบันที่ยังเป็นปริศนา
เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 คณะรัฐประหารซึ่งประกอบด้วย
พล.ท. ผิน ชุณหะวัณ พ.อ. กาจ กาจสงคราม
พ.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์ พ.อ. สฤษดิ์ ธนะรัชต์
พ.อ. ถนอม กิตติขจร พ.ท. ประภาส จารุเสถียร
และ ร.อ. สมบูรณ์ (ชาติชาย) ชุณหะวัณ
ได้ทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศ
จากรัฐบาลที่มีหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์เป็นนายกรัฐมนตรี
หลังจากยึดอำนาจสำเร็จ คณะรัฐประหารพยายามจะจับกุมตัวนายปรีดีกับครอบครัว
แต่นายปรีดีทราบข่าวก่อนเพียงไม่กี่นาที จึงหนีทัน
และได้ลี้ภัยการเมือง ไปยังประเทศสิงคโปร์ สองปีถัดมา
ก็ลี้ภัยต่อไปอยู่ที่สาธารณรัฐประชาชนจีน
และหวนกลับมาอีกครั้งในเหตุการณ์กบฏวังหลวง
แต่กระทำการไม่สำเร็จ จึงลี้ภัยอีกครั้ง
และได้พำนักอยู่ที่นั่นเป็นเวลาถึง 11 ปี
ก่อนจะลี้ภัยต่อไปยังประเทศฝรั่งเศส
และถึงแก่อสัญกรรมที่นั่น เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2526
ณ บ้านพักชานกรุงปารีส


คำกล่าวถึง ปรีดี พนมยงค์
" ผู้อภิวัฒน์การปกครองของประเทศไทย หัวหน้าขบวนการเสรีไทย
เป็นผู้มีคุณูปการแก่ชาติอย่างมากมาย แต่กลับกลายเป็นบุคคล
ที่ถูกใส่ร้ายป้ายสีมากที่สุดคนหนึ่ง ในประวัติศาสตร์
สุดท้ายกลายเป็น 'คนดีที่เมืองไทยไม่ต้องการ' "
ด้วยความที่ว่าการอภิวัฒน์ครั้งนั้นทำให้คนกลุ่มชนชั้นนำหลายกลุ่ม
หรือกลุ่มอำนาจเก่าเสียผลประโยชน์
ทำให้ถูกโยนข้อหาสุดท้ายต้องลี้ภัยการเมืองไปยังประเทศฝรั่งเศส
แล้วไม่ได้กลับมาใช้ชีวิตในเมืองไทยอีกเลย
ทำให้ยังมีมลทินจากการป้ายสีของกลุ่มอำนาจเก่าอยู่
งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ปี พ.ศ. 2526
ชาวธรรมศาสตร์ได้ขึ้นภาพแปรอักษรเพื่อระลึกถึงนายปรีดีความว่า
"พ่อสร้างชาติด้วยสมองและสองแขน
พ่อสร้างแคว้นธรรมศาสตร์ประกาศศรี
พ่อของข้านามระบือชื่อปรีดี
แต่คนดีเมืองไทยไม่ต้องการ"


คำวิจารณ์ตัวเองของอาจารย์ปรีดี พนมยงค์
ปรีดี พนมยงค์ ให้สัมภาษณ์นิตยสาร เอเชียวีก ฉบับวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2523
ก่อนถึงอสัญกรรมไม่ถึง 3 ปี ไว้ดังนี้
"....ในปี ค.ศ. 1925 (พ.ศ. 2468)
เมื่อเราเริ่มจัดตั้งกลุ่มแกนของพรรคอภิวัฒน์ในปารีส
ข้าพเจ้ามีอายุเพียง 25 ปีเท่านั้น หนุ่มมาก หนุ่มทีเดียว ขาดความจัดเจน
แม้ว่าข้าพเจ้าได้รับปริญญาแล้ว และได้คะแนนสูงสุด
แต่ก็ไม่มีอะไรมากไปกว่าทางทฤษฎี ข้าพเจ้าไม่มีความจัดเจน
และโดยปราศจากความจัดเจน
บางครั้งข้าพเจ้าประยุกต์ทฤษฎีอย่างนักตำรา
ข้าพเจ้าไม่ได้นำความเป็นจริงในประเทศของข้าพเจ้ามาคำนึงด้วย
ข้าพเจ้าติดต่อกับประชาชนไม่พอ ความรู้ทั้งหมดของข้าพเจ้าเป็นความรู้ตามหนังสือ
ข้าพเจ้าไม่ได้เอาสาระสำคัญของมนุษย์มาคำนึงด้วยให้มากเท่าที่ข้าพเจ้าควรจะมี...
ในปี ค.ศ. 1932 (พ.ศ. 2475) ข้าพเจ้าอายุ 32 ปี
พวกเราได้ทำการอภิวัฒน์ แต่ข้าพเจ้าก็ขาดความจัดเจน...
และครั้นข้าพเจ้ามีความจัดเจนมากขึ้น (พ.ศ. 2489 - 90)
ข้าพเจ้าก็ไม่มีอำนาจ”


การเชิดชูเกียรติ
ถนนประดิษฐ์มนูธรรม ตั้งชื่อตามราชทินนามของ นายปรีดี พนมยงค์
(หลวงประดิษฐ์มนูธรรม) ถนนปรีดี พนมยงค์
ตั้งชื่อให้เป็นเกียรติแก่นายปรีดี พนมยงค์ มีอยู่ 3 สาย
ที่ถนนสุขุมวิท 71, ถนนโรจนะ ภายในเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา
และภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต


วาทะปรัชญาเมธี นายปรีดี พนมยงค์
“ราษฎรเป็นผู้สร้างประวัติศาสตร์ของตน และให้ถือ มวลชนเป็นใหญ่”
"รัฐธรรมนูญแต่ลำพัง ยังไม่เป็นแบบการปกครองประชาธิปไตยเสมอไป"
"พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ฯ พระราชทานรัฐธรรมนูญให้แก่ประชาชนชาวไทยนั้น
ไม่มีพระราชประสงค์ให้เป็นอนาธิปไตย"



Nov 27, 2008

ศ.เรืองศักดิ์ กันตะบุตร

ศ.เรืองศักดิ์ กันตะบุตร
คณบดีกิตติคุณคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต





  ตัวตน
มีตัวตน หรือไม่มีตัวตน ใช่ตัวตน หรือไม่ใช่ตัวตน
อะไรคือสิ่งที่อยู่เหนือการมีตัวตน หรือไม่มีตัวตน
และการใช่ตัวตนกับการไม่ใช่ตัวจน
ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่า คำว่า “ตัวตน” หมายความถึงอะไร?
ข้าพเจ้ามีความเห็นว่าจำเป็นต้องแปลความหมายของตัวตน
ให้เป็นที่แจ้งแก่ปัญญาของเราเสียก่อน
ตามความเข้าใจของข้าพเจ้าน่าจะแยกตัวตน
ในลักษณะของรูปธรรมและนามธรรม มิฉะนั้นจะเกิด
ความสับสนกันในความหมายดังเช่นทุกวันนี้
ไม่มีใครนิยมว่า “ ตัว” โดยไม่มี “ตน” ร่วมด้วย
เพราะมันไม่สามารถสื่อความหมายของสิ่งที่มีชีวิตและไร้ชีวิตใดๆ
ได้โดยชัดเจน มันเป็นเพียงรูปธรรมที่วาดได้ตามอุปทานเท่านั้น
คำว่า “ตน” ก็มีลักษณะเป็นรูปธรรมตามอุปาทานเช่นกัน
ถึงแม้ว่าบางครั้งจะหมายถึงตัวเราก็ตามแต่ก็เป็นเพียงสื่อ
ที่ใช้กันในภาษาคนเท่านั้น
ฉะนั้น “ตัวตน” เมื่อประกอบกันแล้วเป็นนามรูปจะเป็นสื่อที่หมายถึง
ตัวเรา ตัวผู้ใด ตัวผู้อื่น รวมทั้งหมู่คณะใด
และจิตใด ๆ นี้เป็นลักษณะการผสมผสานของรูปธรรมและนามธรรม
ที่มีความหมายที่ใช้กันในภาษาคนและภาษา
ธรรมที่ใช้สื่อกันได้ตามอุปทานเช่น
ซึ่งภาษาธรรมทางศาสนาใช้คำว่า “ อัตตา”
และเนื่องจากพุทธองค์ผู้เข้าใจใน
ธรรมชาติของอัตตา ที่มีการเกิดดับต่อเนื่อง
จึงได้บัญญัติ “อัตตา”นี้
ในพระพุทธศาสนาว่าเป็น “อัตตาสมมุติ” หรือ
ตัวตนสมมุติอันเป็นสากลธรรมสภาวะ
มีตัวตน หรือไม่มีตัวตน
เมื่อยอมรับว่า “ตัวตน” มีสภาวะของการเกิดแล้วดับไปต่อเนื่องกันเป็นลูกโซ่
ก็ต้องยอมรับว่า “ตัวตนมีจริง” อยู่
แน่นอนตามสภาพการเกิดดับ มีก่อให้เกิดรูปเกิดนามมีลักษณะเป็น “นามรูป”
ตามอุปาทานที่มีจริง ซึ่งนามรูปหรือ
ตัวตนนี้จึงเป็นเพียงสภาวะสมมุติของตัวตน หรือเรียกว่า “อัตตาสมมุติ”
นามรูปที่จะมีความหมายทางชีวภาพ และทางจิตวิญญาณด้วย
สำหรับผู้ที่เชื่อว่า “ไม่มีตัวตน” คงจะเป็นผู้ที่ไม่ยอมรับอุปทาน
มีลักษณะเป็นตัวสมมุติตามบัญญัติของพระพุทธองค์
ก็เกิดความรู้สึกและความเข้าใจส่วนตน
แล้วสรุปเอาเองว่าสิ่งนั้นไม่มีตัวกูไม่มี นั่นก็ไม่มี นี่ก็ไม่มี!!!
ฉะนั้นการสืบต่อหรือสืบเนื่องก็ไม่มี เป็นไปได้หรือ
ความเชื่ออย่างนี้ขัดกับธรรมชาติของการสืบต่อหรือสืบเนื่องโดยตรง
(นอกจากสภาวะพระนิพพาน) เมื่อคิดว่าไม่มีอะไรเลย
ระวังจิตจะขาดการมุ่งให้มรรคให้ได้ผล โดยมีการสืบ
ต่อไปสู่ไปสู่ภูมิต่าง ๆ ตามปารถนาของจิต และจะเข้าสู่สภาวะจิตแช่เย็น
ซึ่งแตกต่างกับจิตอุเบกขาได้ใช่ตัวตน หรือไม่ใช่ตัวตน
ใช่ตัวตน เป็นการยอมรับสภาวะของ “การมีตัวตน”
ถึงแม้จะเกิดดับต่อเนื่องกันอย่างไม่มีการสิ้นสุดของสรรพสิ่งทั้งหลาย
อันเป็นตัวตนสมมุติทั้งสิ้น
ไม่ใช่ตัวตน เป็นการปฏิเสธ “ตัวตนตามสมมุติ”
มีคำถามว่าถ้าไม่ใช่แล้วเป็นอะไร ? ตอบได้ไหม ?
ปรากฏว่าไม่มีคำตอบให้เข้าใจได้โดยชัดเจนบางตนตอบว่า
สรรพสิ่งที่ดำรงอยู่ไม่ได้ ไม่ใช่ตัวตนความจริงควรจะพูดว่าสรรพสิ่งที่ดำรงอยู่ไม่ได้
คือ “ตัวตนสมมุติ” หรือ “อัตตาสมมุติ” ในภาษาธรรม
………………………………………………………………………………………………………
ไม่ใช่ – ไม่ใช่ตัวตน
คือสิ่งที่อยู่เหนือการมีและการไม่มีตัวตน
และสิ่งที่เหนือการใช่และการไม่ใช่ตัวตนเป็นธรรมชาติของการอยู่
เหนือธรรมชาติของทางโลกธรรมทั้งปวง
เป็นสภาวะที่มีจริงแท้ซึ่งอยู่เหนือภาวะสำนึกของบุคคลทั่วไป
หรืออีกนัยหนึ่งเป็นธรรมชาติของจิตที่อยู่เหนืออัตตาสมมุติและอนัตตา
สรุปได้ว่าเป็นสภาวะของจิตชั้นปรมัติธรรม
จิตขั้นปรมัตินี้เองเป็นจิตที่เข้าใจ “ธรรมกาย” อันเป็นแก่นแท้ของ
สภาวะธรรมหรือประมวลโลกุตธรรมของพระพุทธเจ้า
ซึ่งในภาษาทางวิทยาศาสตร์ทางจิต
ในปัจจุบันอาจเรียกว่า “จิตจักรวาล”
ปราชญ์บางท่านถือว่าเป็น “อัตตาวิมุติ”
ที่อยู่เหนืออัตตาและอนัตตา ถ้าเป็นดังนั้นคำว่า
“สัพเพธรรม อนัตตา” คือสรรพทั้งหลายเป็นอนัตตา
น่าจะหมายถึงสรรพสิ่งที่เป็นโลกียธรรม
ไม่รวมโลกุตธรรม สิ่งนี้เหลือวิสัยของข้าพเจ้าที่จะวินิจฉัย
และยืนยันความจริงที่เป็นปรมัติธรรมได้

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชทานเพลิงศพ
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ เรืองศักดิ์ กันตบุตร

ศาสตราจารย์ เรืองศักดิ์ กันตะบุตร (MS.Arch.1958,Illinois Institute of Technology )
-รางวัลสถาปนิกดีเด่น (ปี2547) จากสมาคมสถาปนิกแห่งประเทศไทย
-ปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยรังสิต (ปี2547)
-เป็นผู้ก่อตั้งและเป็นศาสตราจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ที่ม.รังสิต
-ศาสตราจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์,มหาวิทยาลัยศิลปากร
-ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์เกียรติคุณ (ปี 2531) ที่มหาวิทยาลัยเดียวกัน
-ปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (ปี 2535)
ตัวอย่างผลงานการออกแบบบางส่วน
ได้แก่
เขื่อนริมแม่น้ำเจ้าพระยา วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพฯ
อาคารส่วนวิชาการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
ร่วมออกแบบอาคารกองบัญชาการกองทัพภาคที่ 1 กองบัญชาการทหารสูงสุด ราชดำเนิน กรุงเทพฯ




Nov 26, 2008

ข้อคิดเกี่ยวกับวิกฤตเศรษฐกิจ (2551)

วรากรณ์ สามโกเศศ
มติชน
วันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

เมื่อเร็วๆ นี้ผมได้มีโอกาสเสวนากับผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่าน
เกี่ยวกับผลจากวิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้ที่ประชุมได้แสดงความเห็นกันหลายประการ
ผมขอนำบางประเด็นมาเผยแพร่ต่อและขอแถมความเห็นส่วนตัวด้วย
สถาบันคลังสมองแห่งชาติผู้ริเริ่มการหารือครั้งนี้
เป็นองค์กรอยู่ภายใต้การสนับสนุนของมูลนิธิส่งเสริมทบวงมหาวิทยาลัย
โดยมี ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ วิศวกรหนุ่มไฟแรงผู้มีความสามารถจากมหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรีเป็นผู้อำนวยการ
สถาบันนี้ได้ผลิตกรอบแผนอุดมศึกษา 15 ปี เมื่อปีที่แล้ว
อีกทั้งมีศูนย์ศึกษาเพื่อพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันตก
ศูนย์ศึกษาระบบความปลอดภัยอาหารและโภชนาการ

ศูนย์ศิลปะการละครเพื่อการพัฒนา ฯลฯ
พูดสั้นๆ ก็คือเป็น Think Tank หนึ่งของสังคมไทยประเด็นแรกที่ได้
มาจากการคุยกันก็คือการว่างงานจะเป็นปัญหาใหญ่ในช่วงเวลา 2-3 ปีข้างหน้า
โรงงานอุตสาหกรรมเริ่มปลดลดคนงานเพิ่มมากขึ้นทุกที
ถึงวันนี้อาจเป็นเรือนหมื่นแล้ว อุตสาหกรรมที่ถูกระทบคือ
ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า สิ่งทอเสื้อผ้า
อาหารแปรรูป อาหารทะเล จิวเวลรี่ ฯลฯ
ถึงแม้บ้านเราจะส่งสินค้าออกไปสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ยุโรป
รวมประมาณร้อยละ 30 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด
แต่การส่งออกของเราอีกจำนวนไม่น้อยเป็นชิ้นส่วนที่ส่งไปจีนและประเทศอื่นๆ
ที่ไปรวมกันผลิตเป็นสินค้าออกไปยัง 3 กลุ่มประเทศข้างต้น
เมื่ออำนาจซื้อและความต้องการสินค้าต่างประเทศน้อยลง
สินค้าที่ส่งตรงไปจากไทย
รวมทั้งชิ้นส่วนของสินค้าที่ส่งอ้อมไปจากไทยก็ย่อมถูกกระทบอย่างแน่นอน

หากรวมทั้งสองส่วนนี้เข้าด้วยกันก็อาจมีมูลค่า
ถึงร้อยละ 50-60 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดก็เป็นได้
ความผันผวนของเศรษฐกิจโลกจึงกระทบแรงงานในโรงงานที่เกี่ยวพันเหล่านี้
ส่วนหนึ่งของแรงงานซึ่งอาจมีจำนวนมากขึ้นทุกที
เมื่อหางานในโรงงานยากมากขึ้นในเวลาต่อไปก็จะ
กลับบ้านไปสู่เกษตรกรรมอันเป็นฐานหลักของสังคมเรา
และดำรงชีพแนวเศรษฐกิจพอเพียงเหมือนเมื่อตอนวิกฤตปี 2540
คำถามก็คือ สมควรปล่อยให้เขากลับไปอยู่บ้านปลูกข้าว
เลี้ยงสัตว์ รับจ้างงานอิสระบ้างเท่านั้นหรือ
เขาควรได้เรียนรู้และมีทักษะเพิ่มขึ้นในช่วงเวลาลำบากนี้หรือไม่
เพื่อที่ว่าเมื่อเศรษฐกิจเข้าสู่สภาวะปกติ
เขาจะได้กลับสู่ตลาดแรงงานอย่างมีผลิตภาพสูงขึ้น
และมีความสามารถเป็นอิสระมากขึ้นตัวอย่างที่เป็นรูปธรรม
เช่น ในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า ถ้าเขาเพาะเลี้ยงปลาสวยงามเป็น
รู้จักปลูกไม้ประดับราคาสูง ปลูกต้นปาล์มราคาสูง ผลิตปุ๋ยชีวภาพเป็น
ปลูกผักคุณภาพดีเป็น ทำการค้าเล็กๆ น้อยคล่องขึ้น
เลี้ยงปลาและผสมพันธุ์ปลาเป็น รู้จักวิธี แปรรูปอาหาร
เลี้ยงไก่และตอนไก่เป็นผลิตอาหารสัตว์เองเป็น ฯลฯ
ชีวิตในยามยากของเขาก็จะกลายเป็นช่วงเวลาแห่งการฝึกฝนตนเอง
เพื่อให้มีความพร้อมยิ่งขึ้นเมื่อออกไปสู่ตลาดแรงงานอีกครั้งยิ่งถ้าในช่วงเวลานี้
ภาครัฐมีเงินให้เขากู้เพื่อทำกิจกรรมเหล่านี้
พร้อมกับชี้แนะให้รู้จักใช้เงินที่เขาได้รับมาเป็นก้อน
เมื่อออกจากโรงงานก็จะทำให้การ "ฝึกฝน"
นี้มีความหมายยิ่งขึ้นกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.)
สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา
และหน่วยงานอื่นๆ ของรัฐที่เกี่ยวกับการฝึกฝนอาชีพ
สามารถช่วยได้เป็นอย่างดีโดยเฉพาะถ้าได้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ซึ่งเป็นพื้นที่ที่แรงงานเหล่านี้อาศัยอยู่เป็นผู้ประสาน
สร้างความรู้และทักษะให้แก่แรงงานที่เป็นพลังสำคัญของชาติเหล่านี้

ประเด็นที่สอง สิ่งที่เศรษฐกิจไทยต้องการในขณะนี้และในเวลาอันใกล้คือ
การกระตุ้นเศรษฐกิจทุกหัวระแหง ภาครัฐต้องสร้างงานเพื่อให้เกิดรายได้
เกิดอำนาจซื้อและเกิดกิจกรรมเศรษฐกิจวิธีการหนึ่งซึ่งจะช่วยการจ้างงานทันที
คือการ "ซ่อม" สิ่งก่อสร้างทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นถนน
คูคลองหนองบึง วัด โรงเรียน สาธารณสถาน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งบ้านที่พักอาศัยถ้ารัฐให้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำแก่ประชาชน
เพื่อเอาไปซ่อมแซมบ้านโดยเฉพาะ
และให้มีช่วงระยะเวลาปลอดหนี้ 2-3 ปี
เชื่อได้ว่าจะเกิดการจ้างงานอย่างมหาศาลขึ้นทันทีในประเทศ
และเป็นที่ทราบกันดีว่าการก่อสร้างเป็นกิจกรรมเศรษฐกิจที่
ก่อให้เกิดผลพลอยได้หลายทาง เช่น แรงงานได้ค่าจ้าง
เกิดดีมานด์ของหิน ทราย กรวด ซีเมนต์ ช่างไม้ ช่างปูน ช่างเหล็ก ฯลฯ

การซ่อมแซมบ้านก็คือ การสร้างเสริมทุนอย่างหนึ่งให้แข็งแรง
เป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิตของประชาชนซึ่งทำให้เกิดการจ้างแรงงานและเกิดรายได้
รวดเร็วกว่า เมกะโปรเจ็คต์ที่ต้องใช้เวลามากในการกู้เงิน
ในการประมูล เตรียมงาน ฯลฯ ค่าก่อสร้างส่วนใหญ่คือค่าเครื่องจักร
อุปกรณ์ก่อสร้าง ซึ่งล้วนนำเข้าจากต่างประเทศ
กำไรส่วนใหญ่ก็ตกอยู่กับบริษัทก่อสร้างต่างประเทศ
ที่มีความรู้ในการใช้เทคโนโลยีระดับสูง (เช่น การขุดเจาะอุโมงค์)

ประเด็นที่สาม ปัญหาอาชญากรรมกำลังจะเกิดขึ้นในสังคมไทย
อันเนื่องมาจากการว่างงานขนาดใหญ่
ผู้ที่จะเดือดร้อนมากที่สุดคือ แรงงานต่างด้าว
(เข้าใจว่ามีกว่า 1 ล้านคนในประเทศเรา)
ซึ่งจะเป็นคนกลุ่มแรกที่ถูกกระทบเพราะง่ายต่อการถูกออกจากงาน
ส่วนใหญ่จะไม่ได้รับเงินชดเชย จะไปถกเถียงกับนายจ้างก็ไม่ใช่เรื่องง่าย
และการกลับบ้านก็คือการกลับสู่การขาดเงินสดแรงงานต่างด้าวในบ้านเรา
โดยทั่วไปถือได้ว่า "มีความประพฤติดี" มีกรณีของก่อเรื่องร้ายๆ
ไม่มากนักเมื่อเทียบกับจำนวนที่อยู่ในบ้านเรา
อย่างไรก็ดีเมื่อเขาอยู่ในสภาพว่างงาน ไร้ญาติขาดที่พึ่ง ขาดรายได้
โอกาสจะปรับตัวสู่ภาคเศรษฐกิจที่ไม่เป็นทางการเช่น ขี่มอเตอร์ไซด์รับจ้าง
เข็นรถขายของ ขายอาหาร ฯลฯ เป็นเรื่องยาก
อีกทั้งไม่มีที่ดินที่จะทำให้เขากลับไปทำการเกษตรได้
ดังนั้นโอกาสที่บางคนจะหันหน้าสู่การประกอบอาชญากรรม
จึงมีสูงการว่างงานของแรงงานไทยอย่างกว้างขวาง
ก็อาจนำสู่ปัญหาอาชญากรรมได้เช่นเดียวกัน
แต่แรงงานเหล่านี้มีทางเลือกมากกว่าแรงงานต่างด้าว
โชคดีที่ที่ดินส่วนใหญ่ของบ้านเรามิได้อยู่ในมือของเจ้าที่ดินดังเช่นบางประเทศ
ดังนั้น การกลับไปทำการเกษตรเอง
จึงสามารถเป็นทางออกของแรงงานจำนวนไม่น้อย
ในปัจจุบันหากจะไปไหนมาไหนในยามวิกาล ไปในที่ลับตาคน
จึงต้องระวังมากกว่าปกติ การฉกชิงวิ่งราวกลางวันแสกๆ
ในที่ชุมชนหนาแน่นก็เริ่มมีให้เห็นกันบ้างแล้ว
ในขณะนี้ทั้งสามประเด็นข้างต้นเกี่ยวกับวิฤตเศรษฐกิจชวนให้น่าขบคิด
พิจารณาและนำไปสู่การปฏิบัติ
ปัญหาการว่างงานครั้งนี้จะมีความรุนแรงไม่น้อยและอยู่กับสังคมไทยเรานานพอควร
และผู้ที่จะรับกรรมมากสุดคือ แรงงานต่างด้าว
ผู้ใช้แรงงานไทย และผู้ประกอบการ SME"s
ที่ผูกพันกับการส่งออก
หน้า 6

Nov 24, 2008

ชีวิตนี้ไม่มีทางตัน 'ตัน โออิชิ'




ผู้แต่ง : สรกล อดุลยานนท์ วทัญญู รณชิตพาณิชยกิจ
จัดพิมพ์โดย : สนพ.มติชน
พิมพ์ครั้งที่ 15 : สำนักพิมพ์มติชน, เมษายน 2550
ระดาษปอนด์ขาวปกอ่อน
จำนวนหน้า : 207 หน้า
ขนาดหนังสือ : 14.6 cm. x 25 cm.
ISBN : 9743232931
BESTSELLER 30,000 เล่ม ภายใน 3 เดือน
รายละเอียด

"ตัน"
กล้าคิดและกล้าทำในสิ่งที่แตกต่างเติบใหญ่
ด้วยกลยุทธ์การตลาดนอกตำรา MBA

เขาคือผู้ริเริ่มธุรกิจสตูดิโอถ่ายภาพแต่งงาน

ภัตตาคารบุฟเฟ่ต์อาหารญี่ปุ่น "โออิชิ"

เข้าถึงทุกบ้านด้วย "โออิชิ กรีนที"

"อานันท์ ปันยารชุน" อดีตนายกรัฐมนตรี

เคยบอกว่า"คนเก่งไม่ใช่ไม่เคยทำอะไรผิดพลาด

แต่คนเก่งคือคนที่พลาดแล้วแก้ปัญหาได้เร็ว" "ตัน ภาสกรนที"

คือ "คนเก่ง" ในนิยามนี้เพราะเขาเชื่อมั่นว่า

ทุกปัญหาล้วนมีทางออกชีวิตข
อง "ตัน โออิชิ"
จึงไม่เคยมี "ทางตัน"








หนุ่มเมืองจันท์
คอลัมน์ "ฟาสต์ฟู้ดธุรกิจ"


โอกาส คนคนนี้ "ของ" เยอะจริงๆ เจอกันทีไร
มีเรื่องให้นำมาหากินทุกครั้งไป
ผมเจอ "ตัน ภาสกรนที" ครั้งล่าสุดตอนไป
แจกลายเซ็นในงานมหกรรมหนังสือแห่งชาติ
ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์เมื่อปลายเดือนตุลาคม
"ตัน"
เป็นเจ้าของหนังสือ "ชีวิตนี้ไม่มีทางตัน ตัน โออิชิ"
ที่ผู้เรียบเรียงประวัติเป็นคนน่ารัก นิสัยดี รักเสียงเพลง ไม่รังเกียจคนจน
เฮ้อ...ไม่น่าเชื่อว่าในโลกจะมีคนที่สมบูรณ์แบบเช่นนี้จริงๆ

"ตัน"
ให้คิวไปนั่งเซ็นชื่อที่บูธสำนักพิมพ์มติชน 2 วัน
คือ วันเสาร์และวันอาทิตย์
เขาไม่เคยมางานมหกรรมหนังสือฯ
จึงไม่รู้ว่าคนเดินงานมากมายมหาศาลไปวันแรก
"ตัน"
ถามผมว่าคนเยอะขนาดนี้เชียวหรือ
ผมก็บอกว่าปีนี้คนมากกว่าปีอื่นๆ เพราะมีสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน
แต่วันธรรมดาคนจะน้อยกว่าวันเสาร์-อาทิตย์
ประมาณ 30% เป็นประโยคบอกเล่าตามปกติ
แต่สำหรับ "ตัน" นี่คือ "โอกาส" ที่งดงามยิ่ง ระหว่างที่นั่งเซ็นชื่อ
ผมเห็น "ตัน" มองคนที่เดินผ่านไปมาด้วยท่าทีสนใจ
วันรุ่งขึ้น "ตัน" ไม่ได้มาพร้อมฝ่ายประชาสัมพันธ์ 1 คนเหมือนเดิม
แต่เขายังหนีบ "สุเนตร" มางานด้วย "สุเนตร" เป็นรองกรรมการผู้จัดการ
เป็นคนที่รับผิดชอบวาง "โออิชิ กรีนที"
ในศูนย์ประชุมฯ ครับ "ตัน" พา "สุเนตร"
มาเพื่อบอกให้หาจุดวางขาย "โออิชิ กรีนที"
เพิ่มเติมนอกเหนือจากร้านเซเว่น อิเลฟเว่น
ในศูนย์ประชุมฯ ผ่านไป 2-3 วัน
ขณะที่ผมกำลังเดินขึ้นจากสถานีรถไฟใต้ดิน
ผมก็เห็นเต้นท์หนึ่งอยู่ด้านหน้า ครับ เต้นท์นี้ขาย "โออิชิ กรีนที"
เห็นเต้นท์นี้แล้วผมอดยิ้มไม่ได้ ฝีมือ "สุเนตร" แน่นอนเลย
หลังจบงานผมโทรไปแซวคุณตันเรื่องนี้
เขาหัวเราะบอกว่าไม่ใช่แค่ที่สถานีรถไฟใต้ดินเท่านั้น
ที่สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสที่อโศก
เขาก็นำ "โออิชิ กรีนที" ไปขายเช่นกัน
เฉพาะงานนี้เขาขายได้หลายพันขวด
ยังไม่พอ เขายังได้ไอเดียใหม่
ในงาน "เหลียวหลังแลหน้า
จากรากหญ้าสู่รากแก้ว" ที่อิมแพ็ค
"ตัน"
ก็สั่งลุยขาย "โออิชิ กรีนที" เต็มสูบ
เฮ้อ...ถ้า "ตัน" จะรวยมากกว่านี้ก็อย่าแปลกใจเลยครับ
คนอะไรคิดหา "โอกาส" ทางการค้าได้ตลอดเวลา
ไม่ได้เจอกันนานเกือบเดือน
จนเมื่อวันก่อนในงาน"ประชาชาติธุรกิจ สู่รั้วมหาวิทยาลัย"
ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต "ตัน" ก็มีโปรแกรมไปพูด
เขาเพิ่งกลับการนำ "โออิชิ กรีนที"
ข้ามพรมแดนไทยไปลาวและกัมพูชา
แม้จะมี "เอเย่นต์" ที่ 2 ประเทศนี้แล้ว
แต่เขาก็ไปลุยงานด้านกิจกรรมส่งเสริมการขายด้วยตัวเอง
เริ่มจากที่ลาว "ตัน" เล่าว่า "โออิชิ กรีนที"
ขายดิบขายดีประสบความสำเร็จมาก และตัว "ตัน" เองก็ขายได้
มีคนลาวมาขอลายเซ็นหลายคน จากความสำเร็จที่เมืองลาว
พอรู้ว่าที่กัมพูชามีงานแข่งเรือระดับชาติ
ที่คนทั่วทั้งประเทศจะมาเที่ยวงานนี้
"ตัน"
ตัดสินใจควักกระเป๋าจ่ายเงินสนับสนุนทันที 1 ล้านบาท
กะว่าจะขายดิบขายดีเหมือนที่ลาวอย่างแน่นอน งานเริ่มตั้งแต่เช้า
เขาประเดิมส่งเสริมการขายด้วยการซื้อ
"โออิชิ กรีนที" 1 ขวดแถม 1 กล่อง
เงียบ... ซื้อ 2 ขวดแถมตุ๊กตาญี่ปุ่นน่ารัก
ที่มีช่องหยอดเงินเป็นกระปุกออมสิน
"ตุ๊กตา" ตัวนี้ที่เมืองไทยต้องซื้อ
"โออิชิ กรีนที" ครบ 200 บาทจึงจะแถมให้
แต่ที่กัมพูชา ซื้อ 2 ขวดหรือ 40 บาทแถมฟรี 1 ตัว
เงียบอีก... มารู้ตอนหลังว่าคนกัมพูชาไม่รู้จัก
"โออิชิ กรีนที" เพราะรับสถานีโทรทัศน์จากเมืองไทยไม่ได้
ไม่เหมือนกับลาวที่ดูทีวีเมืองไทยแทบทุกบ้าน
เพราะบ้านพี่เมืองน้องฟังภาษากันเข้าใจดี ชาวลาวจึงรู้จัก
"โออิชิ กรีนที" แต่ที่กัมพูชาไม่มีใครรู้จัก

เข้าสู่ช่วงบ่ายขณะที่ "ตัน" เริ่มคิดแก้ปัญหา
เขาก็สังเกตุเห็นว่าตอนที่พิธีกรชาวกัมพูชาโชว์ตุ๊กตาให้ดู
เด็กๆ เริ่มตาลุกวาวให้ความสนใจมาก
วินาทีนั้นเขาตัดสินใจสั่งเปลี่ยนแคมเปญส่งเสริมการขายใหม่ทันที
จาก "ซื้อโออิชิ กรีนที 2 ขวด แถมตุ๊กตา 1 ตัว"
เขาเปลี่ยนเป็น "ซื้อตุ๊กตา 1 ตัว แถมโออิชิ กรีนที 2 ขวด"
เชื่อไหมครับว่าสถานการณ์พลิกผันเป็นหน้ามือเป็นหลังมือทันที
คนกลุ่มใหม่ที่เดินผ่านมาเริ่มให้ความสนใจ
เด็กๆ แสดงความเป็น "ผู้มีอิทธิพล" ตัวจริงด้วยการสะกิดพ่อแม่ก่อน
ถ้ายังไม่เชื่อฟังเด็กน้อยก็จะโชว์อิทธิฤทธิ์ร้องไห้เสียงดังลั่น
เรียบร้อยครับ เรียบร้อย แป๊บเดียว
จากบูธที่ว่างๆกลายเป็นบูธที่มีคนต่อคิวซื้อ "ตุ๊กตา" กันยาวเหยียด
ตุ๊กตาที่เตรียมไป 4,000 ตัว หมดภายในวันที่ 2
นั่นหมายความว่า "โออิชิ กรีนที" ขายได้ 8,000 ขวด
และพอถึงวันที่ 3 เจ้า 8,000 ขวดที่คนทดลองชิมก็เริ่มแสดงปฏิกิริยา
คนรู้จัก "โออิชิ กรีนที" แล้ว และเริ่มเข้ามาซื้อตามจุดขายต่างๆ
แม้จะไม่มีของแถมก็ตาม

ถ้าถามว่าทำไมกลยุทธ์ "ซื้อ" ตุ๊กตา "
แถม "โออิชิ กรีนที" จึงประสบความสำเร็จ
อธิบายตามหลักการตลาดสามัญสำนึกก็ต้องบอกว่า
"โออิชิ กรีนที" และ "ตุ๊กตา"
มีสถานะเท่าเทียมกัน คือ เป็นสินค้าที่ชาวกัมพูชาไม่รู้จักเหมือนกัน
แต่ "โออิชิ กรีนที" เป็นสินค้าเข้าปาก
ต้องทดลองชิมจึงจะเกิดพฤติกรรมการซื้อ
ส่วน "ตุ๊กตา" เป็นสินค้าที่แค่เห็นก็รู้แล้วว่า
เป็นอย่างไร ...ไม่ต้องเอาเข้าปาก
ดังนั้น การขาย "ตุ๊กตา" จึงง่ายกว่าขาย "โออิชิ กรีนที"
กลยุทธ์การมองหา "โอกาส" จาก "ปัญหา" เรื่องนี้ว่าสุดยอดแล้ว
เรื่องที่ลาว สุดยอดกว่า...
ในงานที่เมืองลาว มีจุดหนึ่งที่มีการแสดงจากวัดเส้าหลิน
เขาขอสปอนเซอร์จาก "โออิชิ กรีนที" "ตัน" ก็โอเค
แต่ขอขาย "โออิชิ กรีนที" ตรงหน้างาน คนดูแต่ละวันมี 1,000 คน
หน้างานมีขายสินค้าพวกของประดับจากเมืองจีน
และ "โออิชิ กรีนที" วันแรก เขาขายได้ 800 ขวด คน 1,000 คน
ขายได้ 800 ขวดก็ถือว่าเก่งแล้ว
แต่วันที่สอง "ตัน" พลิกกลยุทธ์ใหม่
สามารถเพิ่มยอดขายเป็น 1,500 ขวด
ทั้งที่คนดูเท่าเดิมคือ 1,000 คน รู้ไหมครับว่า "ตัน" ทำอย่างไร
"ตัน"
ให้ลูกน้องไปซื้อสินค้ามาขายข้างๆ "โออิชิ กรีนที" 2 อย่าง
อย่างแรก ข้าวโพดคั่ว หรือป๊อบคอร์น
อย่างที่สอง คุกกี้ข้าวโอ๊ตทั้ง 2 อย่าง
ล้วนเป็นอาหารที่ทำให้ฝืดคอทั้งสิ้น
ยิ่งคนฝืดคอมากเท่าไร ก็ถือเป็น
"โอกาส" ของ "โออิชิ กรีนที" มากเท่านั้น
อย่าแปลกใจที่ยอดขาย โออิชิ กรีนที สูงกว่าจำนวนคนดู
เพราะคนดูครึ่งหนึ่งซื้อคนละ 2 ขวด
งานนี้ "ตัน" ไม่ได้แค่ "มองหา" โอกาส
แต่เขา "สร้าง" โอกาสใหม่ขึ้นมา
อ่านแล้ว ฝืดคอไหม ?
แต่อย่าแสดงท่าทางให้ "ตัน" เห็นนะครับ
เดี๋ยวเจออีกขวด






ไทยรัฐออนไลน์
วันศุกร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ.2553

อึกทึกคึกโครมไปทั่ววงการชาเขียว
เมื่อนายตัน ภาสกรนที กรรมการ
และกรรมการผู้จัดการ บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
ประกาศยื่นใบลาออกจากตำแหน่ง
ทิ้งตำแหน่งเพื่อไปทำธุกิจส่วนตัว
จากที่ก่อนหน้านี้ถ้าพูดถึง "ตัน"
ต้องนึกถึงเจ้าพ่อเครื่องดื่มชาเขียว
และยังเป็นผู้บริหารระดับสูงเพียงไม่กี่ราย
ที่กล้าเล่นโฆษณาเอง
และใช้ตัวเอง เป็นแบรนด์ แอมบาสเดอร์

ประวัติครอบครัว
ภรรยาชื่อนางสุนิสา สุขพันธุ์ถาวร (อิง)
สมรส 15 มีนาคม 2543 มีบุตร 2 คน
1. ด.ช.ภาสกร ภาสกรนที
2. ด.ญ.ใกล้นที ภาสกรนที

การศึกษา
มัธยมศึกษาปีที่ 3,
ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
(สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์) มหาวิทยาลัยรามคำแหง

การทำงาน

หลังจากจบมัธยมต้น
ทำงานครั้งแรกในบริษัท ราชธานี เมโทร
ในเครือของสหพัฒน์
ซึ่งเป็นบริษัทจัดจำหน่ายเครื่องสำอาง ฟิล์มสีซากุระ
ไต่เต้าจากลูกจ้าง ก้าวขึ้นมาเป็นซูเปอร์ไวเซอร์
เมื่ออายุ 22 ปี จึงตัดสินใจลาออก
มาเปิดแผงหนังสือที่จังหวัดชลบุรี
จากทุนที่ยืมบิดา และพี่สาวมาคนละ 2.5 หมื่นบาท
เป็นผู้บุกเบิกธุรกิจ และเป็นเจ้าแรกในจังหวัดชลบุรีเสมอ
ไม่ว่าจะเป็น ร้านกิฟต์ช็อป ร้านกาแฟ ร้านอาหาร
ร้านสุกี้ ธุรกิจที่สร้างความฮือฮาให้ผู้คน
ในแวดวงธุรกิจกรุงเทพฯ มากที่สุด คือ
ธุรกิจสตูดิโอถ่ายภาพแต่งงาน
ที่ซอยทองหล่อ เจ้าแรกในประเทศไทย
นั้นเป็นเพราะเขาชอบใส่ชุดแต่งงานถ่ายรูปนั่นเอง

เริ่มกิจการร้าน "OISHI Buffet"
ที่สาขาทองหล่อ ปี 2542 ,
ปี 2544 เปิดร้านบะหมี่ญี่ปุ่น "OISHIRAMEN",
เปิดร้านเบเกอรี่เพื่อสุขภาพ "IN&OUT the Bakery Cafe"
และ เปิดร้าน " SUSHI BAR" KIOSK ข้าวปั้น,
ปี 2545 เปิดร้านอาหารญี่ปุ่น สุกี้หม้อไฟ "SHABUSHI"
และ เปิด Dining Complex " LOG HOM"
ต่อมาในปี 2546 ลงทุนโรงงานครัวกลาง
และโรงงานผลิตชาเขียว " OISHI GREEN TEA"
และเปิดร้านสุกี้และบาร์บีคิว "OK SUKI & BBQ",
ดำเนินธุรกิจให้ Franchise
สำหรับร้าน " OISHI Buffet Express" "OISHI Ramen"
และ " IN&OUT the Bakery Cafe"
และปี 2547 แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนในเดือนมีนาคม
เป็น กรรมการและกรรมการผู้จัดการ บริษัทโออิชิกรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

วันที่ 28 ก.ค. 2553
ได้ลาออกจากการประธานกรรมการ บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)