Custom Search

Nov 27, 2008

ศ.เรืองศักดิ์ กันตะบุตร

ศ.เรืองศักดิ์ กันตะบุตร
คณบดีกิตติคุณคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต





  ตัวตน
มีตัวตน หรือไม่มีตัวตน ใช่ตัวตน หรือไม่ใช่ตัวตน
อะไรคือสิ่งที่อยู่เหนือการมีตัวตน หรือไม่มีตัวตน
และการใช่ตัวตนกับการไม่ใช่ตัวจน
ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่า คำว่า “ตัวตน” หมายความถึงอะไร?
ข้าพเจ้ามีความเห็นว่าจำเป็นต้องแปลความหมายของตัวตน
ให้เป็นที่แจ้งแก่ปัญญาของเราเสียก่อน
ตามความเข้าใจของข้าพเจ้าน่าจะแยกตัวตน
ในลักษณะของรูปธรรมและนามธรรม มิฉะนั้นจะเกิด
ความสับสนกันในความหมายดังเช่นทุกวันนี้
ไม่มีใครนิยมว่า “ ตัว” โดยไม่มี “ตน” ร่วมด้วย
เพราะมันไม่สามารถสื่อความหมายของสิ่งที่มีชีวิตและไร้ชีวิตใดๆ
ได้โดยชัดเจน มันเป็นเพียงรูปธรรมที่วาดได้ตามอุปทานเท่านั้น
คำว่า “ตน” ก็มีลักษณะเป็นรูปธรรมตามอุปาทานเช่นกัน
ถึงแม้ว่าบางครั้งจะหมายถึงตัวเราก็ตามแต่ก็เป็นเพียงสื่อ
ที่ใช้กันในภาษาคนเท่านั้น
ฉะนั้น “ตัวตน” เมื่อประกอบกันแล้วเป็นนามรูปจะเป็นสื่อที่หมายถึง
ตัวเรา ตัวผู้ใด ตัวผู้อื่น รวมทั้งหมู่คณะใด
และจิตใด ๆ นี้เป็นลักษณะการผสมผสานของรูปธรรมและนามธรรม
ที่มีความหมายที่ใช้กันในภาษาคนและภาษา
ธรรมที่ใช้สื่อกันได้ตามอุปทานเช่น
ซึ่งภาษาธรรมทางศาสนาใช้คำว่า “ อัตตา”
และเนื่องจากพุทธองค์ผู้เข้าใจใน
ธรรมชาติของอัตตา ที่มีการเกิดดับต่อเนื่อง
จึงได้บัญญัติ “อัตตา”นี้
ในพระพุทธศาสนาว่าเป็น “อัตตาสมมุติ” หรือ
ตัวตนสมมุติอันเป็นสากลธรรมสภาวะ
มีตัวตน หรือไม่มีตัวตน
เมื่อยอมรับว่า “ตัวตน” มีสภาวะของการเกิดแล้วดับไปต่อเนื่องกันเป็นลูกโซ่
ก็ต้องยอมรับว่า “ตัวตนมีจริง” อยู่
แน่นอนตามสภาพการเกิดดับ มีก่อให้เกิดรูปเกิดนามมีลักษณะเป็น “นามรูป”
ตามอุปาทานที่มีจริง ซึ่งนามรูปหรือ
ตัวตนนี้จึงเป็นเพียงสภาวะสมมุติของตัวตน หรือเรียกว่า “อัตตาสมมุติ”
นามรูปที่จะมีความหมายทางชีวภาพ และทางจิตวิญญาณด้วย
สำหรับผู้ที่เชื่อว่า “ไม่มีตัวตน” คงจะเป็นผู้ที่ไม่ยอมรับอุปทาน
มีลักษณะเป็นตัวสมมุติตามบัญญัติของพระพุทธองค์
ก็เกิดความรู้สึกและความเข้าใจส่วนตน
แล้วสรุปเอาเองว่าสิ่งนั้นไม่มีตัวกูไม่มี นั่นก็ไม่มี นี่ก็ไม่มี!!!
ฉะนั้นการสืบต่อหรือสืบเนื่องก็ไม่มี เป็นไปได้หรือ
ความเชื่ออย่างนี้ขัดกับธรรมชาติของการสืบต่อหรือสืบเนื่องโดยตรง
(นอกจากสภาวะพระนิพพาน) เมื่อคิดว่าไม่มีอะไรเลย
ระวังจิตจะขาดการมุ่งให้มรรคให้ได้ผล โดยมีการสืบ
ต่อไปสู่ไปสู่ภูมิต่าง ๆ ตามปารถนาของจิต และจะเข้าสู่สภาวะจิตแช่เย็น
ซึ่งแตกต่างกับจิตอุเบกขาได้ใช่ตัวตน หรือไม่ใช่ตัวตน
ใช่ตัวตน เป็นการยอมรับสภาวะของ “การมีตัวตน”
ถึงแม้จะเกิดดับต่อเนื่องกันอย่างไม่มีการสิ้นสุดของสรรพสิ่งทั้งหลาย
อันเป็นตัวตนสมมุติทั้งสิ้น
ไม่ใช่ตัวตน เป็นการปฏิเสธ “ตัวตนตามสมมุติ”
มีคำถามว่าถ้าไม่ใช่แล้วเป็นอะไร ? ตอบได้ไหม ?
ปรากฏว่าไม่มีคำตอบให้เข้าใจได้โดยชัดเจนบางตนตอบว่า
สรรพสิ่งที่ดำรงอยู่ไม่ได้ ไม่ใช่ตัวตนความจริงควรจะพูดว่าสรรพสิ่งที่ดำรงอยู่ไม่ได้
คือ “ตัวตนสมมุติ” หรือ “อัตตาสมมุติ” ในภาษาธรรม
………………………………………………………………………………………………………
ไม่ใช่ – ไม่ใช่ตัวตน
คือสิ่งที่อยู่เหนือการมีและการไม่มีตัวตน
และสิ่งที่เหนือการใช่และการไม่ใช่ตัวตนเป็นธรรมชาติของการอยู่
เหนือธรรมชาติของทางโลกธรรมทั้งปวง
เป็นสภาวะที่มีจริงแท้ซึ่งอยู่เหนือภาวะสำนึกของบุคคลทั่วไป
หรืออีกนัยหนึ่งเป็นธรรมชาติของจิตที่อยู่เหนืออัตตาสมมุติและอนัตตา
สรุปได้ว่าเป็นสภาวะของจิตชั้นปรมัติธรรม
จิตขั้นปรมัตินี้เองเป็นจิตที่เข้าใจ “ธรรมกาย” อันเป็นแก่นแท้ของ
สภาวะธรรมหรือประมวลโลกุตธรรมของพระพุทธเจ้า
ซึ่งในภาษาทางวิทยาศาสตร์ทางจิต
ในปัจจุบันอาจเรียกว่า “จิตจักรวาล”
ปราชญ์บางท่านถือว่าเป็น “อัตตาวิมุติ”
ที่อยู่เหนืออัตตาและอนัตตา ถ้าเป็นดังนั้นคำว่า
“สัพเพธรรม อนัตตา” คือสรรพทั้งหลายเป็นอนัตตา
น่าจะหมายถึงสรรพสิ่งที่เป็นโลกียธรรม
ไม่รวมโลกุตธรรม สิ่งนี้เหลือวิสัยของข้าพเจ้าที่จะวินิจฉัย
และยืนยันความจริงที่เป็นปรมัติธรรมได้

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชทานเพลิงศพ
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ เรืองศักดิ์ กันตบุตร

ศาสตราจารย์ เรืองศักดิ์ กันตะบุตร (MS.Arch.1958,Illinois Institute of Technology )
-รางวัลสถาปนิกดีเด่น (ปี2547) จากสมาคมสถาปนิกแห่งประเทศไทย
-ปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยรังสิต (ปี2547)
-เป็นผู้ก่อตั้งและเป็นศาสตราจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ที่ม.รังสิต
-ศาสตราจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์,มหาวิทยาลัยศิลปากร
-ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์เกียรติคุณ (ปี 2531) ที่มหาวิทยาลัยเดียวกัน
-ปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (ปี 2535)
ตัวอย่างผลงานการออกแบบบางส่วน
ได้แก่
เขื่อนริมแม่น้ำเจ้าพระยา วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพฯ
อาคารส่วนวิชาการ ธนาคารแห่งประเทศไทย
ร่วมออกแบบอาคารกองบัญชาการกองทัพภาคที่ 1 กองบัญชาการทหารสูงสุด ราชดำเนิน กรุงเทพฯ