Custom Search

Aug 28, 2024

น้ำท่วม 2567 เตรียมตัวก่อนได้เปรียบ แนะวิธีรับมือสู้ภัยพิบัติ





23 ส.ค. 67


คนไทยในพื้นที่ฝนตกหนัก ฝนตกต่อเนื่อง ระดับน้ำขึ้นสูง ต้องเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์น้ำท่วม

เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินหรือถ้าเกิดเหตุการณ์ฉับพลันก็จะได้ระวังให้เกิดความสูญเสียน้อยที่สุด

วิกฤตน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากในปี 2567 มาเร็วและหนักกว่าปีที่ผ่านมา ซึ่งสถานการณ์น้ำท่วมในปีนี้เริ่มต้นขึ้น

ตั้งแต่ในช่วงเดือนกรกฎาคมและในเดือนสิงหาคมก็เกิดความเสียหายจากภัยน้ำท่วมแล้ว

ในพื้นที่จังหวัดของภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ ตาก เชียงราย น่าน แพร่ พะเยา และ สุโขทัย

โดยทางกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ได้ออกมาแจ้ง 43 จังหวัดในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง

และภาคใต้ให้เฝ้าระวังสถานการณ์ท่วมฉับพลัน

น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขัง ดินถล่ม รวมถึงน้ำล้นอ่างเก็บน้ำและน้ำล้นตลิ่ง ในช่วงวันที่ 24-30 ส.ค. 2567

ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม ต้องเตรียมความพร้อมรับมือกับสถานการณ์น้ำท่วมอย่างไรได้บ้าง มาดูกัน

เตรียมแผน 3 ระยะ รับมือน้ำท่วม 2567


ระยะที่ 1 เตรียมพร้อม ติดตาม เฝ้าระวังก่อนน้ำท่วม

  • ประชาชนต้องติดตามข่าวสาร พยากรณ์อากาศ และประกาศเตือนภัยอยู่เสมอ
  • ประเมินสถานการณ์ และสนใจสิ่งแวดล้อมรอบข้างที่สามารถบอกเหตุได้ เช่น ฝนตกหนักติดต่อกันหลายชั่วโมง หรือ น้ำในคลองขึ้นสูงผิดปกติ
  • เตรียมกระสอบทราย และอุปกรณ์ป้องกันน้ำ
  • มองหาสถานที่ปลอดภัยสำหรับฝากเด็ก คนชรา สัตว์เลี้ยง และยานพาหนะ

ระยะที่ 2 เมื่อได้รับประกาศเป็นพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม

  • ถอดปลั๊ก ยกเครื่องใช้ไฟฟ้าขึ้นที่สูง
  • เก็บรวมรวมเอกสารสำคัญ ของมีค่าใส่ถุงซิปล็อก
  • ชารต์แบตเตอรีโทรศัพท์ให้เต็มอยู่เสมอ
  • บันทึกเบอร์สายด่วน เบอร์ฉุกเฉิน
  • ศึกษาเส้นทางอพยพไปสถานที่ปลอดภัย
  • เตรียมของใช้และอาหารเท่าที่จำเป็น เช่น แพ็กอาหาร เสื้อกันฝน บู๊ทกันน้ำ และอุปกรณ์ปฐมพยาบาล
  • ย้ายผู้ป่วย เด็ก คนชรา ไปยังที่ปลอดภัย
  • นำรถยนต์และพาหนะไปไว้ในพื้นที่น้ำท่วมไม่ถึง
  • อพยพสัตว์เลี้ยงพร้อมอาหารที่จำเป็นไว้ในที่ปลอดภัย
  • ตรวจสอบระบบไฟในบ้าน และปลดเมนสวิตช์เบรกเกอร์ก่อนอพยพ

ระยะที่ 3 เมื่อเกิดน้ำท่วม และต้องอพยพ

  • อพยพพร้อมนำของสำคัญที่เตรียมไว้ออกจากบ้าน
  • บ้านชั้นเดียว งดใช้ไฟฟ้าทันที และย้ายออกจากบ้าน
  • บ้านสองชั้น ปลดเมนสวิตช์เบรกเกอร์ชั้นล่างเพื่อตัดกระแสไฟฟ้า
  • ปิดเต้าเสียบไฟด้วยเทปกาว
  • ห้ามสัมผัสสวิตช์และงดใช้ไฟฟ้าขณะตัวเปียกหรือสัมผัสน้ำ
  • ห้ามใช้ปลั๊ก และอุปกรณ์ไฟฟ้าที่อยู่ใกล้ระดับน้ำ
  • ป้องกันเด็กไม่ให้เล่นน้ำในพื้นที่น้ำท่วม หรือ น้ำหลาก
  • เลี่ยงการขับรถในเส้นทางน้ำท่วม

เบอร์โทรฉุกเฉินช่วยเหลือภัยน้ำท่วม

  • โทร. 1784 สายด่วนแจ้งเตือน สาธารณภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) 
  • โทร. 1146 ศูนย์ความปลอดภัย กรมทางหลวงชนบท สอบถามเส้นทางน้ำท่วม 
  • โทร. 1460 กรมชลประทาน สอบถามข้อมูลน้ำในเขื่อน 
  • โทร. 1669 สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ 
  • โทร. 1677 เครือข่ายอาสาสมัครวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน 
  • โทร. 1111 กด 5 ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) สายด่วนรับแจ้ง-เตือนภัยน้ำท่วม 
  • โทร. 1193 ตำรวจทางหลวง สอบถามเส้นทางน้ำท่วม 
  • โทร. 1182 กรมอุตุนิยมวิทยา 

ประกันภัยแบบไหน คุ้มครองน้ำท่วม

หลายคนเป็นกังวลว่าเหตุการณ์น้ำท่วมจะเกิดกับบ้านตัวเองไหม ถ้าเกิดขึ้นจะรับมืออย่างไร ?  

สำหรับประกันที่เกี่ยวกับ “น้ำท่วม” อยู่ในหมวด “การประกันภัยทรัพย์สิน” ในเรื่องของ “ประกันอัคคีภัย” ที่ไม่ได้คุ้มครองแค่ไฟไหม้ แต่ยังคุ้มครองไปถึงภัยธรรมชาติตามรายละเอียดในกรมธรรม์โดยจะอยู่ภายใต้เงื่อนไขความเสียหายจากภัยธรรมชาติ ซึ่งถ้าใครกู้ซื้อบ้านกับธนาคาร กฎหมายจะบังคับให้ต้องทำทุกคนอยู่แล้ว แต่ก็ยังมีการเข้าใจผิดคิดว่า “ภัยเนื่องจากน้ำ” ก็คือประกันน้ำท่วม ซึ่งจะได้เงินชดเชยเต็มวงเงินประกันเลย แต่จริงๆแล้ว “ประกันอัคคีภัย” มีความคุ้มครองเรื่องน้ำท่วมอยู่แล้ว แต่จะจำกัดวงเงินอยู่แค่เพียง 20,000 บาท/ปีเท่านั้น

ประกันอัคคีภัย คุ้มครองอะไรบ้าง

1. คุ้มครองอัคคีภัย
ประกันภัยบ้านหรือประกันอัคคีภัยจะคุ้มครองครอบคลุมความเสียหายของบ้านจากอัคคีภัย 3 เหตุการณ์ ได้แก่ ไฟไหม้บ้าน ฟ้าผ่าลงกลางหลังคา และแก๊สหุงต้มรั่ว โดยคุ้มครองเฉพาะตัวบ้านไม่รวมถึงที่ดิน หากเกิดอัคคีภัยขึ้น บริษัทประกันจะจ่ายผลประโยชน์ตามกรมธรรม์ให้กับเจ้าของบ้านโดยตรง เว้นแต่กรณีบ้านติดจำนองไว้ ธนาคารจะเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์แทน ส่วนเบี้ยประกันจะขึ้นอยู่กับบริษัทประกันและลักษณะอาคาร

2. คุ้มครองภัยพิบัติ
นอกจากประกันภัยบ้านจะคุ้มครองเรื่องอัคคีภัยแล้ว ยังคุ้มครองบ้านจากภัยธรรมชาติต่างๆ ด้วย ได้แก่ ภัยน้ำท่วม ภัยลมพายุ ภัยแผ่นดินไหว ภัยลูกเห็บ รวมถึงสินามิ หรือตามรายละเอียดในกรมธรรม์โดยจะอยู่ภายใต้เงื่อนไขความเสียหายจากภัยธรรมชาติ

3. คุ้มครองภัยจากการถูกโจรกรรมทรัพย์สิน
ประกันบ้านหรือประกันอัคคีภัยบางบริษัทยังคุ้มครองครอบคลุมไปถึงกรณีการถูกโจรกรรมทรัพย์สินภายในบ้าน ซึ่งหมายถึง คุ้มครองทั้งในส่วนของทรัพย์สินและตัวบ้าน ที่ได้รับความเสียหายจากการโจรกรรมนั้นๆ ด้วย

ข้อมูลจาก : TQM


ประวัติศาสตร์ประเทศไทย 🇹🇭


 

00:00 ย้อนประวัติศาสตร์ไทยและทั่วโลก ผ่านปี พ.ศ และ ค.ศ
13:23 ไทยเดือด ท่ามกลางสงครามเย็น สู่จุดเริ่มต้นสันติภาพในอินโดจีน
21:29 รัชกาลที่ 5 กับการพัฒนาสยามให้ทันสมัย เมื่อจักรวรรดินิยมรุกรานสู่เอเชีย
35:00 รัชกาลที่ 5 กับกุศโลบายทางการทูต สู่การยอมรับจากนานาประเทศ
43:13 วิวัฒนาการศรัทธาความเชื่อไทย ‘พุทธกับไสย’ ทำไมสังคมไทยเชื่อเรื่องร่างทรง

Aug 26, 2024

25 สิงหาคม 🍜 วันแห่งบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป

Mamalover


25 สิงหาคม 🗓️
เป็นวันแห่งบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ส่วนรสชาติแรกของมาม่า คือ “รสซุปไก่” นั่นเอง






Aug 18, 2024

นางสาวแพทองธาร ชินวัตร รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 31










วันนี้ (18 สิงหาคม 2567) เวลา 09.29 น. ณ ที่ทำการพรรคเพื่อไทย ว่าที่ ร.ต.ต.อาพัทธ์ สุขะนันท์ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร อัญเชิญพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้ง น.ส.แพทองธาร ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี คนที่ 31 เดินทางมาถึงที่ทำการพรรคเพื่อไทย โดยได้อัญเชิญไปยังสถานที่ในการรับสนองพระบรมราชโองการฯ จากนั้น เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ได้อ่านพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ความว่า “พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า โปรดกระหม่อม ให้ประกาศว่า ด้วยความเป็นรัฐมนตรีของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้สิ้นสุดลงเฉพาะตัว ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรค 1 อนุมาตรา 4 ประกอบมาตรา 160 อนุวมาตร 4 อนุมาตรา 5 และ ประธานสภาฯ ได้นำความ กราบบังคมทูลพระกรุณาว่า สภาผู้แทนราษฎร ได้ลงมติ เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ.2567 เห็นชอบด้วย ในการแต่งตั้ง น.ส.แพทองธาร ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ด้วยคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร

อาศัยอำนาจตามมาตรา 158 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง น.ส.แพทองธาร ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป 

ประกาศ ณ วันที่ 16 สิงหาคม พุทธศักราช 2567 เป็นปีที่ 9 ในรัชกาลปัจจุบัน

ผู้รับสนองพระราชโองการ 

วันมูหะมัดนอร์ มะทา

ประธานสภาผู้แทนราษฎร  

ต่อมา น.ส.แพทองธาร ชินวัตร กล่าวสนองพระบรมราชโองการ โดยระบุว่า เนื่องในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้งให้ดิฉัน ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นับเป็นเกียรติยศและเป็นความภูมิใจสูงสุดแก่ชีวิต

ดิฉัน ครอบครัว  และพรรคเพื่อไทย  สํานึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นล้นพ้น ทั้งจะมุ่งมั่นปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลังด้วยความจงรักภักดี ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติ และประชาชน สนองพระราชปณิธานตามพระปฐมบรมราชโองการและตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญทุกประการ

ดิฉันขอขอบคุณสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ผู้มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ที่ได้มอบความเชื่อมั่นและความไว้วางใจ ให้ดิฉันได้มีโอกาสทำหน้าที่นายกรัฐมนตรีคนที่ 31 ของประเทศไทย

ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี มีความรับผิดชอบอันยิ่งใหญ่ ที่จะนำพาประเทศไทยเดินหน้า ฝ่าฟันทุกอุปสรรค แก้ไขปัญหาความเดือดร้อน แก้ไขปัญหาปากท้อง เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชน

3 ปีที่เหลือตามวาระของรัฐสภา ดิชั้นในฐานะหัวหน้าฝ่ายบริหาร จะขอทำหน้าที่ร่วมกับฝ่ายนิติบัญญัติด้วยหัวใจที่เปิดกว้าง เปิดพื้นที่ในการรับฟังทุกความคิดเห็น เพื่อร่วมกันพัฒนาประเทศให้ก้าวไปข้างหน้าด้วยกันอย่างมั่นคง

พี่น้องประชาชนคนไทยที่รักทุกท่าน ภารกิจนี้ เป็นภารกิจที่ยิ่งใหญ่ ไม่อาจสำเร็จได้ด้วยการทำงานของนายกรัฐมนตรีเพียงคนเดียว ดิฉันมีความมุ่งหวังที่จะประสานพลังของคนทุกรุ่น ประสานพลังของบุคคลที่มีความสามารถในประเทศไทยจากทุกภาคส่วน ทั้งคณะรัฐมนตรี พรรคร่วมรัฐบาล ข้าราชการ เอกชนและพี่น้องประชาชน 

ดิฉันจะส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพ ทักษะของคนไทยทุกคน และทำให้ทุกตารางนิ้วบนแผ่นดินไทย เป็นพื้นที่ให้คนไทยได้กล้าฝัน ได้กล้าสร้างสรรค์ และได้กล้าที่จะกำหนดอนาคตของตัวเองได้
 
ดิฉัน แพทองธาร ชินวัตร ในฐานะนายกรัฐมนตรี จะรับผิดชอบหน้าที่นี้ให้ดีที่สุด ทำให้ประเทศไทย เป็นประเทศแห่งโอกาส เป็นประเทศแห่งความสุข ของพี่น้องคนไทยทุกคนอย่างเท่าเทียม"


Aug 17, 2024

NUSANTARA เมืองหลวงใหม่ของอินโดนีเซีย

อินโดนีเซียจัดงานวันชาติใน “นูซันตารา” เมืองหลวงใหม่ซึ่งยังสร้างไม่เสร็จ

17 สิงหาคม 2567

Post Today

อินโดนีเซียฉลองครบรอบ 79 ปีแห่งการประกาศอิสรภาพ ในเมืองหลวงแห่งใหม่ชื่อ "นูซันตารา" ซึ่งยังอยู่ระหว่างการก่อสร้างประธานาธิบดีโจโก วิโดโด พร้อมด้วยคณะรัฐมนตรีได้เข้าร่วมพิธีฉลองวันชาติที่ทำเนียบประธานาธิบดีแห่งใหม่ ซึ่งถูกสร้างให้มีรูปร่างคล้ายครุฑ อันเป็นสัตว์ในตำนานที่เป็นผู้พิทักษ์  โดยมีเจ้าหน้าที่และแขกรับเชิญหลายร้อยคนมาร่วมงาน ทุกคนรวมตัวกันบนสนามหญ้า ท่ามกลางอาคารรัฐบาลที่กำลังก่อสร้าง ซึ่งสามารถมองเห็นรถเครนก่อสร้างได้ทั่วบริเวณใจกลางเมืองหลวงแห่งใหม่ “นูซันตารา”

ก่อนหน้านี้ ประธานาธิบดีวิโดโดเคยกล่าวว่าจะเชิญแขก 8,000 คนมาร่วมงาน แต่ภายหลังได้ลดจำนวนลงเหลือเพียง 1,300 คน เนื่องจากโครงสร้างพื้นฐานยังไม่พร้อม

ในตอนแรก งานฉลองเอกราช ซึ่งเป็นวันชาติของอินโดนีเซียในปีนี้ มีแผนที่จะใช้เป็นพิธีเปิดอย่างเป็นทางการของ นูซันตารา ในฐานะเมืองหลวงแห่งใหม่ของประเทศ แต่เนื่องจากการก่อสร้างล่าช้า จึงยังไม่ชัดเจนว่าการย้ายเมืองหลวงจะเกิดขึ้นเมื่อใด

ขณะที่ประธานาธิบดีวิโดโด เริ่มทำงานที่ทำเนียบประธานาธิบดีแห่งใหม่ในนูซันตารามาตั้งแต่ปลายเดือนกรกฎาคม และได้จัดการประชุมคณะรัฐมนตรีครั้งแรกที่นั่นเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา

การก่อสร้างเมืองหลวงแห่งใหม่ เริ่มมาตั้งแต่กลางปี 2565 บนเนื้อที่ประมาณ 2,600 ตารางกิโลเมตร (1,000 ตารางไมล์) ในเกาะบอร์เนียว โดยตั้งเป้าจะเป็นเมืองแห่งอนาคตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีป่าและสวนสาธารณะมากมาย ใช้พลังงานหมุนเวียน และมีระบบจัดการขยะที่ทันสมัย

อย่างไรก็ตาม โครงการนี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและชุมชนพื้นเมือง พวกเขากล่าวว่าโครงการนี้ทำลายสิ่งแวดล้อม เนื่องจากต้องแผ้วถางพื้นที่ป่าจำนวนมากลดพื้นที่อาศัยของสัตว์ใกล้สูญพันธุ์อย่างลิงอุรังอุตัง และทำให้ชนพื้นเมืองต้องย้ายถิ่นฐาน

จนถึงปัจจุบัน ยังคงมีการก่อสร้างอาคารรัฐบาลและอาคารสาธารณะ รวมถึงโรงแรม ธนาคาร และโรงเรียน โดยนักลงทุนส่วนใหญ่เป็นบริษัทอินโดนีเซีย โดยรัฐบาลมีส่วนร่วมเพียง 20% ของงบประมาณทั้งหมด 33 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อดึงดูดนักลงทุน ประธานาธิบดีวิโดโด ได้เสนอสิ่งจูงใจสำหรับเมืองหลวงแห่งใหม่ เช่น สิทธิในที่ดินที่ยาวนานถึง 190 ปี และการลดหย่อนภาษีอีกเป็นจำนวนมาก

ทั้งนี้ อินโดนีเซียมีประชากรประมาณ 275 ล้านคน และเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  โดยกรุงจาการ์ตา เมืองหลวงเดิม ซึ่งตั้งอยู่บนชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะชวา มีประชากรหนาแน่นในเขตเมืองถึง 10 ล้านคน และในเขตปริมณฑลอีกราว 30 ล้านคน ต้องประสบปัญหาน้ำท่วมเป็นประจำ และการจราจรก็ติดขัดมาก ทำให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจประมาณ 4.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี
นอกจากนี้ อากาศและน้ำ ยังมีมลพิษสูง และถูกขนานนามว่าเป็นเมืองที่แผ่นดินทรุดตัวเร็วที่สุดในโลก มีการคาดการณ์ว่าภายในปี 2593 หนึ่งในสามของเมืองอาจจมอยู่ใต้น้ำ
เนื่องจากการสูบน้ำใต้ดินมาใช้อย่างไม่มีการควบคุม รวมถึงการที่ระดับน้ำในทะเลสูงขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

Aug 12, 2024

ประเทศฟิลิปปินส์ 🇵🇭

 

ประเทศอินโดนีเซีย 🇮🇩



ประเทศมาเลเซีย Malaysia 🇲🇾

 

ประเทศบรูไน 🇧🇳


รวมประวัติศาสตร์เมียนมา จากเมืองขึ้นอังกฤษ สู่สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา 🇲🇲




ประวัติศาสตร์สิงคโปร์ 🇸🇬



จุดเริ่มต้นของสิงคโปร์ ก่อนก้าวสู่ ‘ประเทศพัฒนาแล้ว’ 

ลี กวนยู พลิกสิงคโปร์สู่ยุคใหม่ จาก 'กุ้งพิษ' สู่ 'เม่น'






๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๗ วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๗ ขอพระองค์ทรงพระเจริญ

Aug 9, 2024

๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๗ จากพรรคก้าวไกลสู่การเคลื่อนองคาพยพไปสู่พรรคใหม่ "พรรคประชาชน"

เรื่องเล่าเช้านี้

หลังจากถูกศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรค พร้อมตัดสิทธิ์คณะกรรมการบริหารพรรค 10 ปี ว่า หลังจากช่วงสัปดาห์สุดท้ายก่อนชี้ขาดคดียุบพรรค รายชื่อของ น.ส.ศิริกัญญา ตันสกุล อดีตรองหัวหน้าพรรคก้าวไกลเป็นเต็งจ๋า ขึ้นแท่นหัวหน้าพรรคคนใหม่ชนิดแบเบอร์มาตลอด แต่ล่าสุด ช่วงบ่ายวันที่ 8 ส.ค. ชื่อของนายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ สส.บัญชีรายชื่อ ในฐานะอดีตรองเลขาธิการพรรคก้าวไกล ถูกหยิบขึ้นมาตีคู่ประกบ ทำให้ช่วงเย็นวันเดียวกัน มีการนัดประชุมด่วนของทีมแกนนำยุทธศาสตร์ของพรรค เพื่อหารือเคาะตำแหน่งนี้ สุดท้าย หลังจากการประชุมผลการหารือ ปรากฏว่า นายณัฐพงษ์ ถูกเลือกให้เป็นหัวหน้าพรรคคนใหม่

จากนั้น เวลาประมาณ 19.00 น. มีการประชุม สส. ต่อเนื่องเพื่อขอมติ สส.ว่า จะเห็นชอบนายณัฐพงษ์ ตามที่แกนนำยุทธศาสตร์พรรคเคาะหรือไม่ โดยที่ประชุม สส.ได้นำชื่อ น.ส.ศิริกัญญา ตันสกุล อดีตรองหัวหน้าพรรคก้าวไกล และนายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ อดีตรองเลขาธิการพรรค มาประกบกัน เพื่อให้ สส.โหวตเลือก ผลปรากฏว่าหลังจากใช้เวลาดำเนินการจนถึงช่วงเวลา 20.40 น. ที่ประชุมโหวตเลือก นายณัฐพงษ์ เป็นหัวหน้าพรรคคนใหม่

Aug 8, 2024

ประวัติศาสตร์ การรวมชาติ เวียดนามเหนือ-เวียดนามใต้ 🇻🇳

 
 
ปฐมบท เวียดนามภายใต้สงครามสามทศวรรษ

 
ความพ่ายแพ้ของฝรั่งเศส ในสมรภูมิเดียนเบียนฟู
 
การตัดแบ่งเวียดนามเหนือ-ใต้ ภายใต้อิทธิพลอเมริกา
 
วิกฤตศาสนาในเวียดนาม ท่ามกลางไฟสงครามเย็น 
บทสรุปสงครามเวียดนาม ไซ่ง่อนแตกแล้วยังไงต่อ? 

“เทนนิส พาณิภัค”​ สร้างประวัติศาสตร์คว้าเหรียญทองโอลิมปิก 2 สมัยซ้อน (Olympic Games Paris 2024 🇫🇷)


Siamsport

8/8/2024  

การแข่งขันเทควันโด โอลิมปิกเกมส์ 2024 ที่แกรนด์ พาเลซ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อช่วงดึกวันที่ 7 ส.ค.ที่ผ่านมา จอมเตะสาว “เทนนิส” พาณิภัค วงศ์พัฒนกิจ แชมป์เก่า ที่ฝ่าด่านคู่แข่งทั้ง โมร็อคโก ในรอบ 16 คน, ซาอุดิอาระเบีย ในรอบก่อนรองชนะเลิศ และ โครเอเชีย ในรอบรองชนะเลิศ ขึ้นสังเวียนดวลกับ ฉิง กั๋ว คู่ปรับจากจีน ที่เคยเจอกันมาในรอบชิงชนะเลิศ เอเชียนเกมส์ และมีประเด็นดราม่าเรื่องสกอร์

เปิดฉากยกแรก เป็น ฉิง กั๋ว ที่ชิงเตะเข้าหัวได้ก่อน นำ 3-0 ก่อนที่ในช่วง 30 วินาทีสุดท้าย พาณิภัค จะมาชิงจังหวะต่อยลำตัวและเตะหัว แซงนำ 4-3 ก่อนมา และเตะเข้าลำตัวช่วงปลายยก เอาชนะไปก่อน 6-3 ขึ้นนำ 1-0 มายกสอง ทั้งคู่ต่างดึงจังหวะ ไม่กล้าเดินเกมบุกเข้าใส่ เพราะต่างก็กลัวเพลี้ยงพล้ำ โดยสาวจีนดักต่อยได้ก่อน แต่พาณิภัค เอาคืน ไล่ตามเสมอ 1-1  อย่างไรก็ตาม พาณิภัค พลาดโดนเตะลำตัว ตาม 1–3 ช่วงปลายยก และก็ไล่ไม่ทัน แพ้ยกนี้ 2-3 ทำให้เสมอกัน 1-1 ยก ต้องดวลยกสาม เพื่อตัดสินหาผู้ชนะ 

ยกตัดสิน เกมและบรรยากาศในสนามตึงเครียดสุดๆ เพราะทั้งคู่ต่างก็ไม่อยากพลาด โดยเป็น พาณิภัค ที่มาได้ 3 คะแนนในการเตะหัว จากจังหวะขอชาเลนจ์ถึง 2 หนในช่วง 29 วินาทีสุดท้าย  และ 16 วินาทีสุดท้าย นำ 6-0 จากนั้นเจ้าตัวประคองเกม และคุมสถานการณ์เอาไว้ได้ ครบยก ชนะไป 6–2 ทำให้ พาณิภัค ชนะไป 2-1 ยก (6-3, 2-3, 6–2) ซึ่งหลังจบแมตช์ พาณิภัค ถึงกับกลั้นน้ำตาแห่งความกดดันและดีใจเอาไว้ไม่อยู่ ก่อนจะวิ่งเข้ามาสวมกอดกับ “โค้ชเช” ชัชชัย เช ท่ามกลางเสียงปรบมือและเสียงเฮของกองเชียร์ชาวไทยที่ตามมาให้กำลังใจจำนวนมาก และวิ่งโบกสะบัดธงชาติไทยไปรอบสนามแข่งขัน ชัยชนะแมตช์นี้ ทำให้ ”พาณิภัค“ ปิดฉากเส้นทางนักเทควันโดอย่างสมบูรณ์และยิ่งใหญ่ตามที่เคยประกาศไว้ว่าจะเลิกเล่นทันทีหลังจบศึกโอลิมปิกเกมส์ โดย “เทนนิส” กลายเป็นนักกีฬาไทยคนแรก ในประวัติศาสตร์ที่คว้าเหรียญทองโอลิมปิกเกมส์ได้ 2 สมัย และยังเป็นคนแรกด้วย ที่ได้เหรียญรางวัลในโอลิมปิกเกมส์ 3 สมัย 

ด้านเหรียญทองแดง ทั้ง 2 เหรียญในรุ่นนี้ ตกเป็นของ  โมบิน่า เนเมตซาเดห์ จอมเตะดาวรุ่งจากอิหร่าน ที่เอาชนะดุนยา อาลี อาบูลทาเลบ จาก ซาอุดิอาระเบีย 2-0 ยก (3-0, 4-2) กับ เลน่า สตอยโควิช จากโครเอเชีย ที่เอาชนะ เมอร์ฟ ดินเซล จากตุรกี 2-0 ยก (1-0, 5-3) สำหรับนักกีฬาที่คว้าเหรียญทองได้ จะได้รับเงินอัดฉีดจากกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติตามกฏเกณฑ์ด้วย โดยนักกีฬาสามารถเลือกรับได้ 2 แบบ หากรับแบบก้อนเดียว จะได้รับ 10 ล้านบาท แต่หากรับแบ่งแบ่งจ่าย จะได้รวม 12 ล้านบาท โดยจะแบ่งจ่าย 2 งวด ซึ่งงวดแรก จ่ายก่อน 50 เปอร์เซ็นต์ ส่วนอีก 50 เปอร์เซ็นต์ที่เหลือจะแบ่งจ่ายในระยะเวลา 4 ปี ซึ่งก็จะทำได้เพิ่มจากเดิม 20 เปอร์เซ็นต์ ทำให้เหรียญทองจะได้รับ 12 ล้านบาท

Aug 4, 2024

รวมประวัติศาสตร์ที่ถูกลืม ‘สงครามกลางเมืองลาว’ (ການເກັບກໍາປະຫວັດສາດລືມ 'ສົງຄາມກາງເມືອງລາວ') 🇱🇦




8 Minute History ว่าด้วยเรื่อง ‘สงครามลับในลาว’ ที่มีบริบทลากยาวตั้งแต่ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
ต่อเนื่องถึงช่วงสงครามเย็น สุดท้ายแล้วสถานการณ์ในลาวจะลงเอยแบบไหน
แล้วเหตุใดสงครามครั้งนี้จึงเป็นสงครามที่ประกาศไม่ได้ ติดตามได้ในคลิปนี้ 

Time Index
00:00 ปฐมบทสงครามลับในลาว รอยร้าวระหว่างชนชั้นนำ
11:25 3 เจ้าลาว ชี้ชะตาสงครามกลางเมือง
20:40 ทำไม ‘สงครามกลางเมืองลาว’ จึงเป็นสงครามที่ประกาศไม่ได้?
27:25 ดุลยภาพการเมืองบิดเบี้ยว เปิดฉากยุทธการ CIA ของสหรัฐฯ
40:38 บทสรุปสงครามลับในลาว หมากสุดท้ายภายใต้สงครามเย็น
51:30 บัลลังก์กษัตริย์สั่นคลอน พลิกโฉมสู่สาธารณรัฐลาว

Aug 3, 2024

'วีระ ธีระภัทรานนท์' ในฐานะกรรมาธิการเสียงข้างน้อย เสนอตัดงบดิจิทัล วันที่ 31 ก.ค. พ.ศ. 2567


เก็บตก อ.วีระ เข้าสภาฯ ถกงบดิจิทัล วาระ 2| คุยให้คิด | 2 ส.ค. 67