Custom Search

Sep 30, 2020

ภารกิจสุดท้าย! “บิ๊กแดง”บินตรวจชายแดน ไทย-เมียนมา ก่อนลาเก้าอี้ ผบ.ทบ.

29 กันยายน 2563 ณ สโมสรกองทัพบก


ที่มา https://www.mtoday.co.th/60231

“บิ๊กแดง” ทิ้งทวน เก้าอี้ ผบ.ทบ. บิน ตรวจสถานการณ์ชายแดน ไทย-เมียนมา ก่อนอำลาตำแหน่ง หลัง นายกฯ ห่วงใยจุดผ่านแดนถาวร และช่องทางการค้าชายแดน  หวั่น โควิด-19 ระบาดเข้าไทย

วันที่ 4 ก.ย. พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) พร้อมคณะนายทหารติดตาม 2 นาย เดินทางโดย ฮ.ท.60 ไปยังสนาม ฮ. ร้อย ตชด. 134 อ.สังขละบุรี จว.กาญจนบุรีตรวจพื้นที่บริเวณด่านเจดีย์สามองค์ ต่อเนื่องจากวานนี้ ที่ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบ ณ ด่านแม่สาย จ.เชียงราย

จากข้อห่วงใยของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ กำหนดพื้นที่เฝ้าระวัง 10 จังหวัด ประกอบด้วย จ.เชียงราย จ.เชียงใหม่ จ.แม่ฮ่องสอน จ.ตาก จ.กาญจนบุรี จ.ราชบุรี จ.เพชรบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ จ.ระนอง และชุมพรซึ่งมีช่องทางการค้าขายรมว.กลาโหม ต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ระลอกสองของประเทศเพื่อนบ้าน ด้านชายแดนไทย-เมียนมา ได้ชายแดนจุดผ่านแดนถาวร จุดผ่านแดนชั่วคราว และจุดผ่านแดนผ่อนผัน จำนวนทั้งสิ้น 21 จุด

ในวันนี้ซึ่งเป็นวันหยุดชดเชยวันสงกรานต์ ผบ.ทบ. ได้สั่งการให้นักบินซึ่งเป็นลูกน้องเก่า สมัยดำรงตำแหน่ง ผบ.ร.11 รอ. เดินทางร่วมคณะไปด้วยโดยลงพื้นที่ตรวจภูมิประเทศบริเวณจุดผ่านแดนชั่วคราว เพื่อการท่องเที่ยวด่านพระเจดีย์สามองค์ จ..กาญจนบุรี ซึ่งภูมิประเทศทางด้านตะวันตกของไทยเป็นภูมิประเทศเป็นภูเขาสูง ป่าทึบ มีความแตกต่างจากภูมิประเทศทางด่านแม่สาย ซึ่งมีแม่น้ำเป็นภูมิประเทศกั้นเขตแดน

ผบ.ทบ.และคณะ ตรวจการ Sealed แนวชายแดน และให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานของทุกหน่วย บริเวณช่องทางพาณิชย์ และช่องทางบ่อญี่ปุ่นในการนี้ แม่ทัพภาคที่ 1 แม่ทัพน้อยที่ 1 ผบ.กกล.สุรสีห์ พร้อมทั้ง ตชด. เจ้าหน้าที่ ตม. และกำลังพลผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ด่านพระเจดีย์สามองค์ได้ให้ข้อมูลสรุปมาตรการป้องกัน ภายหลังมีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด19 ระลอกสอง ในรัฐยะไข่ กกล.สุรสีห์ ได้ใช้มาตรการคุมเข้ม “Sealed” พื้นที่ตลอดแนว เข้มข้นในเฝ้าระวังการป้องปรามการลักลอบเข้าประเทศผิดกฎหมาย

แม้ว่าตลอดแนวรอยต่อกับประเทศเพื่อนบ้านจะมีแนวกำแพงกั้นตลอดระยะทาง แต่ทาง กกล.สุรสีห์ โดย ฉก.ลาดหญ้า ได้เพิ่มจำนวนกำลังพลพร้อมทั้งวางแนวลวดหนามตลอดแนว เพิ่มความเข้มงวด ในการเฝ้าระวังป้องกันตลอด 24 ชม. ทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่องกับ ตชด., เจ้าหน้าที่ ตม.,องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมไปถึงประชาชนอาสาสมัครในพื้นที่อีกด้วย

ระหว่างการลงตรวจพื้นที่ ผบ.ทบ. ได้พูดคุยกับประชาชนบริเวณด่าน นาย สัมพันธ์ เกียรติสมมารถ เจ้าของธุรกิจทำรองเท้าแสดงความกังวลต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด19 ซึ่งส่งผลกระทบต่อธุรกิจ การค้าขายชายแดนแต่อย่างไรก็ตาม ประชาชนและผู้ประกอบการ พร้อมให้ความร่วมมือกับรัฐบาลอย่างเต็มที่

ทั้งนี้ ผบ.ทบ. ได้รับฟัง พร้อมให้กำลังใจ ขอให้อดทน แจ้งว่าท่านนายกฯ ได้ให้ความสำคัญต่อเรื่องเศรษฐกิจ ปากท้องของประชาชนจึงสั่งการให้กองทัพบก ในฐานะหน่วยงานหน้าด่าน ต้องเพิ่มความเข้มในการป้องกันการแพร่ระบาดโควิด19 จากขบวนการลักลอบเข้าประเทศผิดกฎหมาย

สำหรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ระลอกสองของประเทศเมียนมา พบผู้ติดเชื้อมากทางด้านตะวันออกของประเทศคือทางด้านทิศตะวันตกของไทย ทางด้าน จ.ตาก กาญจนบุรี และระนอง ซึ่งในแต่ละด่านหรือแต่ละพื้นที่ มีความแตกต่างทางลักษณะภูมิประเทศและวัตถุประสงค์ในการตั้งด่าน/จุดผ่านแดน ดังนั้น ผบ.ทบ. จึงได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ กกล.สุรสีห์วางแนวทางมาตรการป้องกันการลักลอบเข้าประเทศผิดกฎหมาย ให้มีความรัดกุม เข้มงวด และสอดคล้องกับลักษณะบริบทในแต่ละพื้นที่

โดยนำความห่วงใยและข้อความให้กำลังจากนายกรัฐมนตรี และ รมว.กห. มาถึงกำลังพลทุกนาย ที่ต้องปฏิบัติหน้าที่ในการป้องกันประเทศอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ขอขอบคุณที่เสียสละ อุทิศตน ในการร่วมกันปกป้องคุ้มครองประชาชนคนไทยทุกคน ให้รอดพ้นจากวิกฤติโควิด-19 นี้ไปให้ได้






30.9.2020

 


คิดในใจ



Sep 27, 2020

เพลง จงรัก

 












เปิดตำนาน "จงรัก" เพลงรักอมตะ ที่ถูกคัฟเวอร์บ่อยครั้งจนนับไม่ถ้วน!
"โปรดอย่าถามว่าฉันเป็นใคร เมื่อในอดีต" เชื่อว่าหลายคนที่เคยไปงานแต่งงาน
หรืองานเลี้ยงแนวย้อนยุค จะต้องเคยได้ยินท่อนแรกอันติดหูของ
เพลง จงรัก
เพลงฮิตจากนักแต่งเพลงผู้ล่วงลับ
จงรักษ์ จันทร์คณา กันแน่นอน
เพราะเนื้อหาที่พูดถึงความรักนิรันดร์ของเพลงนี้นั้น
สามารถเข้าถึงผู้ฟังทุกยุคทุกสมัยไม่เปลี่ยนแปลง

อ่านต่อที่ https://www.sanook.com/music/2383313/




"จงรักษ์"ครูเพลงดังแผ่นเสียงทองคำพระราชทานเสียชีวิต
วันที่ 29 พ.ย. 2559 เวลา 08:16 น.


"จงรักษ์"ครูเพลงดังแผ่นเสียงทองคำพระราชทานเสียชีวิต
สมุทปราการ-"จงรักษ์ จันทร์คณา"ครูเพลงเจ้าของแผ่นเสียงทองคำพระราชทานวัย78ปี
เสียชีวิตแล้วด้วยอาการติดเชื้อในกระแสเลือด
นายจงรักษ์ จันทร์คณา อายุ78ปี
นักแต่งเพลงและครูเพลงไทยสากลที่เสียชีวิตแล้ว
ที่โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 หลังเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวาน ความดัน ไข้
และติดเชื้อในกระแสเลือด ญาตินำศพตั้งบำเพ็ญกุศลที่ศาลา 10 วัดธาตุทอง กทม.
นางสาวนภัสวรรณ  จันทร์คณา  บุตรสาวของนายจงรักษ์
กล่าวว่า พ่อเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลเมื่อวันที่ 26 พ.ย.59
อาการแรกพบคือจุกแน่นหน้าอกและหายใจไม่ออกจึงรีบพามาพบแพทย์
กระทั่งได้รับแจ้งว่าพ่ออาการหนักและต้องเข้าห้องไอซียูจนกระทั่งเวลา 00.26 น.
ได้สิ้นลมหายใจในที่สุด ที่ผ่านมาพ่อไม่เคยบอกกล่าวเรื่องโรคที่เป็นให้รับรู้
และเป็นผู้นำครอบครัวที่ดีเป็นพ่อตัวอย่างของบุตรมาเสมอ
และก็ยังรู้สึกภูมิใจที่พ่อสู้ชีวิต
และสร้างสรรค์ผลงานเพลงไทยสากลมากกว่า 5000 เพลง
สำหรับนายจงรักษ์ หรือครูจงรักษ์ ถือเป็นครูเพลงชื่อดังสร้างผลงานเพลงเป็นที่รู้จัก
เช่น เพลงกฎแห่งกรรม เพลงเก้าล้านหยดน้ำตา เพลงจงรัก
เพลงคนพิการรัก เพลงคืนทรมาน เพลงฆ่าฉันเสียซิ
เพลงฐานันดรรัก เพลงดาวไม่ลืมดิน เพลงได้โปรดเถิดที่รัก
เพลงเตรียมการณ์รัก เพลงเตือนการณ์รัก เพลงทุกข์รัก
เพลงเทพเจ้าแห่งความระทม เพลงทำไมถึงทำกับฉันได้
เพลงพายุอารมณ์ เพลงเพื่อความรัก เพลงนานเกินรอ
เพลงนานเท่าไหร่ก็จะรอ เป็นต้น
เพลงที่ได้รับรางวัลเกียรติยศ แผ่นเสียงทองคำพระราชทาน
ได้เพลงเหมือนคนละฟากฟ้า และเพลงไม่รักไม่ว่า
ซึ่งเป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมจากผู้ฟังเป็นอมตะศิลปินนักร้องหลายคนนำไปขับร้อง
เช่น สุเทพ วงศ์กำแหง สวลี ผกาพันธุ์ ทนงศักดิ์ ภักดีเทวา
ธานินทร์ อินทรเทพ ชรัมภ์ เทพชัย ดาวใจ ไพจิตร
รุ่งฤดี แพ่งผ่องใส ทิพย์วรรณ ปิ่นภิบาล อุมาพร บัวพึ่ง ฯลฯ
ไว้หลายเพลงด้วยกัน



27 กันยายน 'วันถวัลย์ ดัชนี' จัดยิ่งใหญ่ที่มหาวิหาร พิพิธภัณฑ์บ้านดำ

ที่มา https://www.thaipost.net/main/detail/78741

วันที่ 26 ก.ย. - สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย

กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับ จังหวัดเชียงราย สมาคมขัวศิลปะ

และพิพิธภัณฑ์บ้านดำ ขอเชิญร่วมงาน “วันถวัลย์ ดัชนี”

ในวันอาทิตย์ที่ 27 กันยายน 2563 ณ มหาวิหาร

พิพิธภัณฑ์บ้านดำ อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย

จะมีการแสดงนาฏกรรมล้านนาร่วมสมัย โดยนักแสดง

บ้านดำ ศิลปินกลุ่มเดอะไทยส์ จำนวน 2 ชุดการแสดง ได้แก่

“นาฎะสิระมาลีสักกา / Five Aggregates dance”

และ “ฟ้อนมหิงสา”  การแสดงทั้ง 2 ชุดนี้ได้รับแรงบันดาลใจ

มากจากผลงานศิลปะของอาจารย์ถวัลย์ ดัชนี ศิลปินแห่งชาติ ผู้ล่วงลับ

ผสานกับพิธีกรรมและความเชื่อเก่าแก่ของล้านนา

กิจกรรมในช่วงบ่ายจะเป็นการมอบรางวัล Thawan Art And Culture Prize ครั้งที่ 9

และยังมีการจัดแสดงกิจกรรมทางศิลปะและจำหน่ายสินค้าต่างๆ

จากผู้ออกร้านจิตอาสา ตลอดจนการจัดงานกาดหมั้วคัวศิลป์

ตลาดนัดศิลปะที่เปิดให้นักท่องเที่ยวและผู้สนใจในงานศิลปะเข้าชมได้ตลอดทั้งวัน

ตั้งแต่เวลา 09.00 น. เป็นต้นไป สำหรับพิพิธภัณฑ์บ้านดำ จ.เชียงราย

ถือเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยที่มีชื่อเสียง

แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน และได้รับการประกาศเป็นบ้านศิลปินแห่งชาติ

วันถวัลย์ ดัชนี จัดกิจกรรมมอบรางวัล Thawan Art And Culture Prize ครั้งที่ 9

ย้อนประวัติ ถวัลย์ ดัชนี  เกิดเมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2482 

เป็นจิตรกร ช่างเขียนรูปแห่งดอยสูงเชียงราย

ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็นศิลปินแห่งชาติ

สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) พุทธศักราช 2544

ด้วยชีวิตและผลงานศิลปะร่วมสมัยเป็นที่ประจักษ์ในระดับโลก

ช่างเขียนรูปผู้ยิ่งใหญ่ทุ่มเทเวลาส่วนมากฟูมฟักศิลปสถาน

ที่ชาวบ้านเรียกว่าบ้านดำ นางแล ที่จังหวัดเชียงรายบ้านเกิด

ให้กลายเป็นสถานที่ทางการศึกษาศิลปวัฒนธรรมของชาติ

ด้วยการจัดเป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะพื้นบ้านในเนื้อที่กว่าร้อยไร่

ประกอบด้วยอาคารแบบสถาปัตยกรรมท้องถิ่นภาคเหนือกว่า 40  หลัง

และอาคารสถาปัตยกรรมท้องถิ่นประยุกต์หลายหลังสำหรับจัดแสดงศิลปะพื้นบ้าน (Folk Art)

ซึ่งเป็นผลงานสร้างสรรค์ของช่างท้องถิ่น ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

มรดกวัฒนธรรมท้องถิ่นเหล่านี้ถวัลย์ ดัชนีใช้เวลารวบรวมด้วยความตั้งใจมาเป็นเวลานานกว่า 40  ปี

ปัจจุบัน พิพิธภัณฑ์บ้านดำ เปิดให้ผู้สนใจเข้าชมทุกวัน (จันทร์-อาทิตย์) ไม่มีวันหยุด


ถวัลย์ ดัชนี อยู่เบื้องหลังการรวมตัวของช่างผู้รังสรรค์ศิลปะ

ทั้งช่างในท้องถิ่นและภาคอื่นๆ ของประเทศไทย

เพื่อเคลื่อนไหวจัดกิจกรรมทางศิลปะอย่างเป็นรูปธรรม

มีผลงานศิลปะหลากหลายออกสู่สายตาสาธารณชนซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมาก

และยังได้บริจาคเงินจัดตั้งมูลนิธิถวัลย์ ดัชนี ตั้งแต่ พ.ศ.2539

ด้วยการใช้ดอกผลจากกองทุนนี้สนับสนุนการศึกษาของสถาบันที่ถวัลย์เคยเกี่ยวข้อง

ได้แก่ โรงเรียนเชียงรายวิทยาคม โรงเรียนสามัคคีวิทยา จังหวัดเชียงราย วิทยาเขตเพาะช่าง

และมหาวิทยาลัยศิลปากร ให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียน

นักศึกษาที่เรียนดีแต่ขาดทุนทรัพย์สถาบันละ 10 ทุน

ตลอดมาจนถึงปัจจุบัน ทุนสนับสนุนสอนศิลปะไทย

โดย ดร.กมล ทัศนาญชลี ศิลปินแห่งชาติ ทุนวิจัยแก่มูลนิธิ ม.ล.มานิจ ชุมสาย ณ อยุธยา

ทุนมูลนิธิบ้านอาจารย์ พลตรี ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช มูลนิธิพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ องคมนตรีและรัฐบุรุษ

มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง สำนักศิลปวัฒนธรรม

สถาบันราชภัฎเชียงราย บูรณปฏิสังขรณ์ วังพญาไทกรุงเทพฯ

Sep 24, 2020

วันมหิดล

งาน “วันมหิดล” 24 ก.ย.วันคล้ายวันสวรรคต เพื่อรำลึกถึงพระเกียรติคุณ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก

"หม่อมฉันรู้สึกอยู่เสมอว่า การสาธารณสุขนั้นเปนการสำคัญอย่างยิ่ง ทั้งเปนเครื่องบำรุงกำลังของชาติไทย และเปนสาธารณประโยชน์แก่มนุษยชาติทั่วไปด้วย เพราะฉนั้นเมื่อมีโอกาสอันใดซึ่งหม่อมฉันพอที่จะช่วยออกกำลังกายและสติปัญญา หรือทรัพย์อันเปนผลที่จะทำนุบำรุงให้การนั้นเจริญขึ้นแล้ว หม่อมฉันยินดีปฏิบัติได้เสมอ"



ไหว้ขอลิขสิทธิ์กันดื้อๆ | #คุยให้เด็กมันฟัง

 

https://th-th.facebook.com/nanake555/


Sep 15, 2020

วันศิลป์ พีระศรี 15 กันยายน พ.ศ. 2563 (Silpa Bhirasri Day : September 15th,2020)

 



https://www.facebook.com/pg/SilpakornUniversityThailand/posts/

คนเราลองคิดให้ดีๆ ขอให้จริงใจกับตัวเอง เราทำอะไรทุกอย่าง
เราไม่ได้ต้องการให้คนทุกคนเข้าใจ
จะมีใครสักคนเท่านั้นที่ต้องการให้เขาเข้าใจ
นี่คือสาเหตุที่ทำให้เกิดศิลปะ | 
อาจารย์อนันต์ ปาณินท์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์







Sep 13, 2020

ทวิตีย์ วัชราภัย เทพาคำ ศิลปินศิลปาธร ปี 2561







ไขข้อข้องใจอะไรคือ Everyday Heritage :
ทวิตีย์ วัชราภัย เทพาคำ ชวนสถาปนิก-ดีไซเนอร์
ร่วมส่งไอเดียประกวดแบบสถาปัตยกรรมเชิงทดลอง
ณ งานสถาปนิก’63 ในหัวข้อ The Everyday Heritage

จับเข่าคุยกับ ทวิตีย์ วัชราภัย เทพาคำ ศิลปินดีเด่นรางวัลศิลปาธร 2561 สาขาสถาปัตยกรรม
และผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทสถาปนิก Department of ARCHITECTURE
ถึงการประกวดแบบระดับชาติ ASA Experimental Design Competition 20
ในหัวข้อ ‘The Everyday Heritage’ ที่เธอเป็นโต้โผดูแล
หลายคนบอกว่าโจทย์ปีนี้กำกวมทีเดียว
ในฐานะผู้ดูแลการประกวดคุณช่วยไขข้อข้องใจตรงนี้หน่อยได้ไหม

ทวิตีย์ วัชราภัย เทพาคำ: “Everyday Heritage มันเป็นสิ่งที่กำกวมถูกต้องแล้วค่ะ (หัวเราะ)
ดังนั้นใครที่รู้สึกไม่มั่นใจ หรือตั้งคำถามว่ามันคืออะไรกันแน่ นั่นคือคุณมาถูกทางแล้ว
เพราะโดยทั่วไปสิ่งที่เรามั่นใจแน่ว่ามันเป็น heritage ของชาติ เช่นวัด เช่นวัง
หรือของที่ขึ้นทะเบียนอนุรักษ์แล้ว สิ่งเหล่านี้ไม่ค่อยเป็นปัญหา ส่วนใหญ่ได้รับการดูแลเป็นอย่างดีอยู่แล้ว
แต่ในโลกปัจจุบันเรายังมีของอีกกลุ่มหนึ่งที่อาจจะมีคุณค่าในฐานะมรดกสถาปัตยกรรม
แต่เป็นสิ่งที่พวกเราลืมมอง
หรือมองแล้วก็ผ่านไป ทั้งที่มันก็อาจมีคุณค่าเชิงประวัติศาสตร์
หรือทางจิตใจ หรือทางใดทางหนึ่งที่เราไม่เคยนึกถึงมาก่อน
นี่คือสิ่งที่การประกวดปีนี้ต้องการชวนคุณออกตามหา อยากให้มาช่วยกันมอง
และช่วยกันคิดว่าเราสามารถจะตีความ
สร้างคุณค่า หรือสร้างความหมายใหม่ให้กับ everyday heritage
เหล่านี้อย่างไรผ่านการทำงานออกแบบสถาปัตยกรรม”

หมายความว่า Everyday Heritage ไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งที่เก่าเป็นร้อยๆ ปีก็ได้รึเปล่า

ทวิตีย์: นี่ล่ะคือสิ่งที่การประกวดปีนี้อยากให้คุณตั้งคำถาม เป็นคำถามสำคัญเลยนะคะ
อะไรที่ทำให้สถาปัตยกรรมหนึ่งๆ มีคุณค่าพอที่เราจะเรียกว่า everyday heritage
หรือที่ทำให้มันควรค่าแก่การอนุรักษ์
หรือเก็บรักษาไว้ในทางใดทางหนึ่ง
บางทีมันอาจจะเป็นสถาปัตยกรรมที่ไม่ได้เก่าเป็นร้อยปีก็ได้รึเปล่า
แต่ถ้ามันมีองค์ประกอบบางอย่างที่ทำให้มันมีคุณค่าในความรู้สึกของคุณล่ะ
นั่นคือสิ่งที่คุณต้องหาคำตอบมาให้กรรมการ
โจทย์ปีนี้แม้จะเป็นเรื่อง heritage แต่เราไม่ได้ตีกรอบมันด้วยอายุนะคะ
ถ้าสถาปัตยกรรมหนึ่งมีอายุ 30 ปี หรือ 40 ปี
แต่คุณเห็นนัยสำคัญบางอย่างที่มันสื่อถึงพลวัติทางวัฒนธรรม
ทางรสนิยม หรือทางเทคโนโลยีในยุคสมัยนั้นๆ
มันก็อาจจะมีคุณค่าพอที่จะเป็นมรดกก็ได้
อันนี้เราเชื่อว่าแต่ละคนจะมีมุมมองไม่เหมือนกัน”

“ของบางอย่างบางคนก็ให้คุณค่า บางคนก็ไม่ให้คุณค่า
ปัญหาเรื่องมรดกสถาปัตยกรรมมันมักจะอยู่ในพื้นที่ก้ำกึ่งแบบนี้”
ฟังดูท่าทางคณะกรรมการจะตัดสินยาก

ทวิตีย์: “ก็ท้าทายล่ะค่ะ (หัวเราะ) เพราะมันไม่มีเงื่อนไขเป็นข้อๆ
ที่เราจะบอกว่านี่คือถูกหรือนี่คือผิด เราถึงได้เรียกมันว่า
Experimental Design Competition ไงคะ
เพราะมันคือการก้าวเข้าไปในโลกที่เรายังไม่รู้
กรรมการก็ยังไม่รู้ คนตั้งโจทย์ก็ยังไม่รู้
ไอเดียสำคัญอยู่ที่การตั้งคำถามที่ดี และจะไม่มีคำตอบไหนที่ถูกหรือผิด
ทั้งหมดขึ้นอยู่กับคุณจะตีความโจทย์ที่คุณเลือกมาอย่างไร
และจะใช้การออกแบบเข้าไปทำงานกับสถาปัตยกรรมนั้นให้มันมีพลังขึ้นมาได้แค่ไหน
“กรรมการไม่ได้ตามหาการบูรณะสถาปัตยกรรมเก่าคืนสู่สภาพเดิม (restoration)
แต่เราตามหาการออกแบบที่จะเปลี่ยนแปลงมรดกสถาปัตยกรรมนั้นอย่างสร้างสรรค์มากกว่า
(architectural intervention)”
ถ้าผลงานใดสามารถจะไขประตูความคิดหรือสร้างมุมมองใหม่ๆ
ให้คณะกรรมการรู้สึกทึ่งได้ นั่นคือคำตอบที่ใช่
และเราเชื่อมั่นว่าด้วยความหลากหลายของคนที่เข้าประกวด
เราน่าจะได้เห็นไอเดียที่เปิดกว้างมาก
และจะได้เห็นโซลูชั่นแปลกใหม่ที่เราคาดไม่ถึงแน่นอน”


ศิลปินร่วมสมัยดีเด่นศิลปาธร 2561
สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม ถวายรางวัลศิลปินร่วมสมัยดีเด่นศิลปาธร 2561
แด่พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์
ในสาขาศิลปะการออกแบบ (แฟชั่นและเครื่องประดับ)
รางวัลอันทรงเกียรติที่มอบให้กับศิลปินไทยร่วมสมัยที่มีผลงานสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่อง
ซึ่งปีนี้เป็นปีแรกที่มีการจัดมอบรางวัลในสาขาดังกล่าว
รวมถึงเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่มีการถวายรางวัลศิลปาธรแด่พระบรมวงศานุวงศ์ด้วย
นอกจากนี้ยังมี อีก 6 สาขาที่ได้รับรางวัลศิลปาธร สาขาทัศนศิลป์ (ภัณฑารักษ์) นายอรรฆย์ ฟองสมุทร,
สาขาสถาปัตยกรรม น.ส.ทวิตีย์ วัชราภัย เทพาคำ, สาขาวรรณศิลป์ อุทิศ เหมะมูล,
สาขาดนตรี ผศ.ดร. นรอรรถ จันทร์กล่ำ, สาขาศิลปะการแสดง นายธีระวัฒน์ มุลวิไล
และสาขาภาพยนตร์และสื่อเคลื่อนไหว นายโสฬส สุขุม
ทั้งนี้ การคัดเลือกศิลปินศิลปาธรได้เริ่มมาตั้งแต่ปี 2547 จนถึงปัจจุบัน
มีศิลปินที่ได้รับรางวัลศิลปาธรทั้งสิ้น 74 คน

ขอบคุณบทความจาก Thaipost และ VOGUEThailand
HRH Princess Sirivannavari Narirattana has been chosen
for the Silpathorn Artist award for design this year
by the Culture Ministry’s Office of Contemporary Art and Culture (OCAC).









ชื่อ – นามสกุล :ทวิตีย์ วัชราภัย เทพาคำ

สาขา : สาขาสถาปัตยกรรม

รางวัลที่เคยได้รับ :

๒๕๖๑ ได้รับรางวัลศิลปินศิลปาธรกิตติคุณ สาขาสถาปัตยกรรม : กระทรวงวัฒนธรรม

ผลงานที่ผ่านมา:

๑.Department of Architecture

๒.ผลงานออกแบบ ศาลาอเนกประสงค์ “The Flow”




Sep 12, 2020

อมตะ หลูไพบูลย์

อรวรรณ บัณฑิตกุล

ที่มา นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2548

http://info.gotomanager.com/news/details.aspx?id=38751



ภาพจาก MARKETING OOPS!


"ปกติผมดูหนังเยอะมากทั้งหนังไทย หนังฝรั่ง หนังอาร์ต ที่ลิโด้ ไม่เคยพลาด

แต่เรื่องสุดท้ายที่ดูหนังไทย คือ เรื่องวัยอลวน"

เป็นคำบอกเล่าของอมตะ หลูไพบูลย์ ชายหนุ่มวัย 36 ปี

ที่เป็นเจ้าของผลงานในโครงการ "ศิลา เอวาซอน ไอด์อะเวย์ และ Zealova"

คำอธิบายต่อมาของเขาสะท้อนไปถึงตัวตนที่ค่อนข้างเป็นคนละเอียดอ่อน

และน่าจะส่งผลต่อเนื่องไปถึงชิ้นงานต่างๆ ด้วย

"ภาคแรก ตั้มกับโอ๋ เป็นสามีภรรยาวัยรุ่นที่ทันสมัยมากๆ ผมเลยอยากรู้ว่าเมื่อถึง

วันที่เขามีลูกจะรับมือและจัดการกับปัญหาของลูกๆ ในยุคนี้ได้อย่างไร

โดยแนวคิดของเรื่องมันดีมาก แต่ผิดหวังที่โดยรวมแล้วทำได้ไม่ดีเลย"


บ่ายวันนั้น "ผู้จัดการ" มีนัดกับเขาที่คอนโดมิเนียมในซอยสวนพลู ในห้องขนาด 70 ตารางเมตร

ที่ตกแต่งอย่างเรียบง่าย ด้วย เฟอร์นิเจอร์ทั้งเก่าและใหม่สอดคล้องกับคำบอกเล่าที่ว่า

"ผมมีความเป็นโมเดิร์นสูง แต่โตมาท่ามกลางของเก่า เพราะแม่ผมชอบ

ผมจึงค่อนข้าง appreciate กับของเก่า"

เครื่องเรือนบางชิ้น เช่น ภาพวาด หรือเก้าอี้

เป็นของคุณแม่พรศรี หลูไพบูลย์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ซี.พี.กรุ๊ป

ส่วนกระจกบานใหญ่เลียนแบบของโบราณ สั่งทำเอง

เช่นเดียวกับโต๊ะทำงานตัวใหญ่ที่ซื้อมาเองจากร้านขายของเก่าย่านสาทร

มีจุดเด่นอยู่ตรงที่สามารถนั่งทำงานได้ทั้ง 2 ด้าน

โซฟาตัวหนานุ่มสีขาวนำเข้าจากอิตาลี วางเด่น อยู่กลางห้อง

ราคาเป็นแสน ถูกคลุมทับด้วยเศษผ้าที่เย็บติดกันเป็นผืน

ฝีมือของชาวบ้านในอำเภอหัวหิน ราคาผืนละ 400 บาท

"มันทำให้โซฟาสวยขึ้นเป็นกองเลย" อมตะพูดด้วยเสียงหัวเราะ

ดูเหมือนว่าเขาภูมิใจอย่างมากที่สามารถเลือกใช้ข้าวของ

ที่มีทั้งถูกแพงได้อย่างกลมกลืน เขาเล่าต่อว่า

"ผมชอบอยู่คอนโด ไม่ชอบอยู่บ้าน ถ้าอยากได้บรรยากาศบ้าน

ก็ไปพักกับคุณแม่ที่บ้านเลคไซด์ นอนค้างสักคืน 2 คืน

แต่ไปที่นั่นแล้วทำงานไม่ได้

อยากนอนมากกว่า และที่สำคัญถ้าเอางานไปทำ

เดี๋ยวเสียงคุณแม่ก็จะลอยมาแล้วว่า นอนได้แล้ว ดึกแล้ว"

รูปลักษณ์ภายนอก อมตะเป็นคนหนุ่มรุ่นใหม่ที่มีท่าทีง่ายๆ สบายๆ

แฝงไปด้วยความสุภาพ อ่อนน้อม

แต่เมื่อได้คุยลึกถึงการทำงาน เขามีวิธีคิดหลายเรื่องที่น่าสนใจทีเดียว


อมตะ หลูไพบูลย์ เป็นลูกชายคนที่ 2 ของพรศรี หลูไพบูลย์

จบระดับชั้นประถม จากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน

มัธยมจากโรงเรียนเตรียมอุดม

ได้ปริญญาใบแรกด้านสถาปัตยกรรมศาสตร์ จาก University of Washington

และได้รับปริญญาโทอีกใบด้านพัฒนาเมืองในประเทศที่กำลังพัฒนาจาก Harvard University

กลับมาก็เริ่มมาทำงานในบริษัท Metric ซึ่งก่อตั้งมานานกว่า 30 ปี

โดยส่วนใหญ่รับออกแบบงานด้านอุตสาหกรรมเป็นหลัก

8 ปีในตำแหน่งหัวหน้าทีมงานดีไซเนอร์ ในบริษัท Metric สิ่งที่เขาต้องการทำอย่างมากคือ

การออกแบบโครงการต่างๆ ที่เน้นความสวยงามมากกว่างานเทคนิค

"ผมชอบเดินทางท่องเที่ยวชอบของสวยๆ ดีไซน์เท่ๆ

เวลาไปเห็นสถานที่บางแห่ง ที่สวยมากๆ

ผมมีความรู้สึกเหมือนถูกฟาดหน้า ชาไปหมด

แล้วมีความสุขอย่างดื่มด่ำไปกับมัน อย่างงานแรกที่สมุย

ผมไปเห็นที่เก็บรังนกชาวบ้านใช้ไผ่สูงๆ พาดไปพาดมา

ดูอาร์ตมาก ผมปิ๊งเรื่องการใช้ไผ่จากตรงนั้นเลย" อมตะอธิบายถึงตัวตนของเขา

และเล่าที่มาของงานชิ้นแรก และงานชิ้นที่กำลังทำด้วยความกระตือรือร้น


โชคดีที่ทศ และภรรยา เจ้าของศิลา เอวาซอน ต้องการบริษัทสถาปนิกใหม่ๆ

เพื่องานที่ต่างออกไปจากโครงการอื่นๆ

นับว่าเป็นโอกาสที่ดีในการเริ่มต้นงานด้านรีสอร์ตของเขาและทีมงาน

ถัดจากสมุย งานชิ้นใหม่เป็นรีสอร์ตเช่นกันในพื้นที่ 70 กว่าไร่บนเกาะพีพี ชื่อ Zeavola

เป็นภาษาละติน แปลว่าต้นรักทะเล ซึ่งจะเปิดตัวเร็วๆ นี้

"งานสนุกมากเลย ตรงที่เจ้าของให้เราดูงานทั้งหมด ที่ศิลา เราทำเฉพาะสถาปัตยกรรมล้วนๆ

แต่ที่นี่เราเป็นเหมือนโปรเจกต์ดีไซเนอร์

ทำให้คุมแนวคิดของงานได้ทั้งหมด"


แม้แต่การถ่ายห้องตัวอย่างเพื่อทำโบรชัวร์

เขาก็เข้าไปควบคุมด้วยตัวเอง วิธีคิดที่ให้กับช่างภาพคือ

ต้องการให้ความรู้สึกว่าโรงแรมนี้มีคนอยู่แล้วเพิ่งเดินออกไป

ดังนั้นในห้องไม่ต้องจัดเนี้ยบเหมือนโบรชัวร์ทั่วไป

ผ้าคลุมเตียงไม่ต้องตึงเป๊ะ

แต่ย่นๆ หน่อย บนโต๊ะข้างเตียงอาจมีหนังสือกางอยู่ แว่นตาวางทิ้งไว้

รองเท้าแตะหน้าห้องไม่ต้องวางชิดกันเป็นระเบียบ

แม้แต่ในห้องน้ำก็จะเห็นรอยพื้นห้องที่เปียกๆ

จบงานชิ้นนี้ อมตะได้แยกมาตั้งบริษัทใหม่ต่างหากในเครือของ Metric

ภายใต้ชื่อ Department of Architecture โดยมีทวิตีย์ วัชราภัย ที่ร่วมงานกันมานานมาช่วยด้วย

พร้อมกับทีมงานใหม่ๆ อีก 6 คน โดยเน้นการทำงานหลากหลายขึ้น สเกลเล็กลง เช่น

รีสอร์ต บ้าน ร้านอาหาร ร้านเสื้อผ้า

จากงานรีสอร์ตในพื้นที่หลายสิบไร่มูลค่าหลายร้อยล้าน

วันนี้เขากำลังสนุกกับงานชิ้นที่เล็กมาก มีพื้นที่เพียง 12X12 เมตร

บริเวณท่าเตียน ตรงข้ามวัดอรุณฯ เป็นร้านอาหารจีนแบบโมเดิร์น

ของสุภาพรรณ พิชัยรณรงค์สงคราม


และทำทุกอย่างหมด แม้แต่ดีไซน์ จาน ชาม หม้อไห

หรือแม้แต่รายละเอียดตามชายกางเกงของชุดเด็กเสิร์ฟ

ในร้านนี้ทุกมุมจะปิดหมด โฟกัสไปที่วัดอรุณฯ ข้างหน้าที่เดียว

พื้นห้องใช้หินเก่าๆ ใช้โทนสีเหลือง สีประจำตัวขององค์จักรพรรดิ

กับน้ำตาลเข้มที่เกือบดำ แทนสีแดง ที่อาจจะเห็นจนเจนตาตามร้านอาหารจีนทั่วไป

ในห้องน้ำก็เพนต์ผนังด้วยภาพการ์ตูนจีนแทนต้นไผ่ ต้นหลิว


อมตะยอมรับว่าโดยส่วนตัวไม่ชอบให้สัมภาษณ์กับสื่อและไม่ชอบออกงานสังคม

ทั้งๆ ที่เห็นความจำเป็นว่าเป็นการเปิดโอกาสให้ลูกค้าได้รู้จักบริษัทมากขึ้น

"ทำไมผมจะไม่เข้าใจ ผมเกิดมาในครอบครัวที่มีคุณแม่เป็นนักพีอาร์ แต่คราวนี้คงต้องยอมๆ"

เขาพูดด้วยเสียงหัวเราะๆ ก่อนที่จะบอก ว่า

ตอนนี้งานในมือคือบ้านหลังใหม่ของขรรค์ ประจวบเหมาะ เรือนหอ

และห้องอัดเสียงที่ไม่เหมือนใครของนักร้องหนุ่ม นภ พรชำนิ

คุณ อมตะ หลูไพบูลย์

นักออกแบบ(ชีวิต) ‘อมตะ หลูไพบูลย์’

มากกว่าการเป็นนักออกแบบมือรางวัล คือการเป็นนักออกแบบชีวิต

ล้วง ลึกตัวตนที่มากกว่าหนังโฆษณาและโปรไฟล์สุดเริ่ด

สถาปนิกหนุ่มโสดวัย 42 โปรเจคแอมบาสเดอร์คนล่าสุด

แคมเปญระดับโลก “Keep Walking” ของจอห์นนี่ วอล์กเกอร์

อมตะ หลูไพบูลย์ ไม่ใช่แค่นักออกแบบมือรางวัล

แต่เขายังเป็นนักออกแบบชีวิตที่ชัดเจนกับเป้าหมาย

ตั้งแต่ค้นหาตัวเองเจอสมัยเรียนหนังสือ

“เป้าหมายผมคือเป็นสถาปนิกไปเรื่อยๆ จนกว่าจะหมดแรง

หรือตัวเองช้าเกินไปที่จะทำสิ่งใหม่ๆ”


อมตะบอกเช่นนั้น หลัง จากเริ่มต้นชีวิตนักศึกษาครั้งแรกที่คณะวิศวะจุฬาฯ

แต่แค่ปีแรกก็แน่ใจว่าไม่ใช่สิ่งที่รักและถนัด

เขาตัดสินใจเลือกทางเดินใหม่ที่คิดว่าใช่มากกว่า

ด้วยการเอนทรานซ์ใหม่เข้าคณะ สถาปัตย์ จุฬาฯ

แม้ว่าทางบ้านจะไม่เห็นด้วย แต่เมื่อเลือกแล้วเขามุ่งมั่นว่าต้องทำให้ดีที่สุด

หลังคว้าเกียรติ นิยมอันดับ 1 เหรียญทองของคณะ

อมตะมุ่งมั่นบินไปเรียนต่อปริญญาโทอีก 2 ใบ


ด้านสถาปัตยกรรมศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยวอชิงตัน

และการพัฒนาเมืองในประเทศกำลังพัฒนาจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด

กลับมา เริ่มงานครั้งแรกที่เมืองไทยในวัย 25 ที่บริษัท Metric

ซึ่งเป็นบริษัทของพ่อที่ร่วมก่อตั้งกับหุ้นส่วน

ก่อนจะคว้าโอกาสแจ้งเกิดจากผลงานออกแบบโครงการใหญ่ชิ้นแรก

ตอนอายุ 31รีสอร์ทหรูระดับ 6 ดาว

"ศิลา เอวาซอน ไฮด์อะเวย์" (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น ซิกซ์เซนส์ ไฮด์อะเวย์ สมุย)


#พี่อ้อยพี่ฉอดTalkAboutLiveXNanake

https://th-th.facebook.com/nanake555/