Custom Search

Oct 24, 2011

เบื้องหลัง 1 คืนที่โรงงาน "อิชิตัน" ของ "กัปตัน" และ "คำขอร้อง" จาก "ตัน ภาสกรนที"







http://teetwo.blogspot.com/2011/05/blog-post_28.html
http://teetwo.blogspot.com/2011/10/z-z-3000.html

วันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2554


"ผมเพิ่งโทรไปบอกลูกน้องว่าเรือ 100 ลำที่จะเอาไปบริจาค ให้เก็บไว้ลำหนึ่ง"
"
ตัน ภาสกรนที" เล่าให้ฟังเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว

ตอนแรก ลูกน้องคิดว่า "ตัน" จะเล่นเคล็ดตัวเลข

ลดจำนวนเรือจาก 100 เหลือ 99

เมื่อลูกน้องถามว่าอีกลำหนึ่งจะเอาไปไหน

คำตอบก็คือ "เอาไว้ที่บ้าน"


"ตัน" บอกว่ามัวแต่ช่วยคนอื่น แต่ลืมตัวเอง

มหันตภัยครั้งนี้ใหญ่หลวงกว่าที่ใครจะคาดคิด

"จุดต่ำสุด" หรือ "จุดที่แย่ที่สุด" ที่คนอยุธยาและนครสวรรค์
เคยคาดการณ์ไว้ วันนี้ทุกคนรู้แล้วว่า "ความจริง"
ครั้งนี้เลวร้ายกว่าที่เขาคิดไว้หลายเท่าตัวนัก

ช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา "ตัน" ค่อนข้าง "อิน"
กับการช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม

ตอนแรก เขาคิดว่าน้ำท่วมครั้งนี้จะบริจาคเงินช่วยเหลืออย่างเดียว

เพราะช่วงนี้ "ตัน" เริ่มลุยธุรกิจชาเขียว "อิชิตัน" อย่างเต็มตัว

ไม่มีเวลาว่างเหมือนตอนที่ช่วยน้ำท่วมครั้งก่อน

เขาขออนุญาตคู่ชีวิต "อิง" สุนิสา ภาสกรนที
ว่าจะบริจาคเงินก้อนใหญ่เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม


40 ล้านบาท

แต่หลังจากเห็นข่าวอุทกภัยครั้งใหญ่ "ตัน" ก็ทนไม่ได้
เขาระดมมิตรรักแฟนเพลงจาก "แฟนเพจ"
ของเขามาช่วยบรรจุของลงถุงยังชีพ
เพื่อนำไปบริจาคให้กับผู้ที่เดือดร้อน

ครั้งแรก เมื่อวันที่ 18 กันยายน ที่ "อารีน่า10"

มีคนไปร่วมประมาณ 2,000 คน

จากนั้น "ตัน" ก็ลุยซื้อเสื้อชูชีพ 10,000 ตัว
และเรือท้องแบนขนาด 15-20 ที่นั่งจำนวน 100 ลำ

ส้วมไฟเบอร์ 12 หลัง ส้วมกระดาษอีก 100 ชุด


และวันอาทิตย์ที่ 9 ตุลาคมที่ผ่านมา
"ตัน"ก็ขอแรง "แฟนเพจ" เป็นครั้งที่ 2
เพื่อบรรจุของลงในถุงยังชีพจำนวน 20,000 ชุด

ครั้งนี้มีคนไปร่วม "จิตอาสา" ถึง 7,000 คน


วันอังคารที่ 11 ตุลาคม "ตัน"
มีกำหนดการต้องไปมอบของให้กับผู้ว่าฯลพบุรี


แต่เขาเปลี่ยนใจ เมื่อทราบข่าวจากลูกน้องว่า
โรงงาน "อิชิตัน" มูลค่า 3,500 ล้านบาทของเขากำลังอยู่ช่วงวิกฤต

"ตัน" ตัดสินใจเข้าไปโรงงาน "อิชิตัน"

เพื่อสู้กับ”น้ำ”กับลูกน้อง
..................



ตั้งแต่เริ่มบริษัท ไม่ตัน และเปิดตัวสินค้าใหม่
ทั้งเครื่องดื่มดับเบิ้ลดริ้งก์ และชาเขียวอิชิตัน

"ตัน" ใช้ระบบการจ้างผลิต

เพราะโรงงานใหม่ของเขาอยู่ระหว่าง
การก่อสร้างและติดตั้งเครื่องจักร

และด้วยสไตล์การตัดสินใจอย่างรวดเร็วของ "ตัน"

โรงงานมูลค่า 3,500 ล้านบาทใช้เวลาก่อสร้างไม่ถึง 1 ปี

เดือนพฤศจิกายนที่จะถึงนี้ โรงงานของเขาจะเดินเครื่องอย่างเต็มที่

และจะเป็นโรงงานชาเขียวที่มีกำลังการผลิตสูงสุดในเมืองไทย

ทันทีที่เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ และน้ำเริ่มตีโอบนิคมอุตสาหกรรมโรจนะ

"ตัน" ก่อกำแพงสูงกว่า 3 เมตร รอบโรงงาน

ตอนแรกเขาเชื่อมั่นว่ากำแพงดังกล่าวจะสู้กับ "น้ำ" ได้

แต่เมื่อโรงงานฮอนด้าถูกน้ำทะลักเข้าร่วม

ความมั่นใจของ "ตัน" เริ่มลดลง

แต่ยังเชื่อว่า "ปาฎิหาริย์" น่าจะมีจริง

คืนวันจันทร์ที่ 10 ตุลาคม เขาได้รับโทรศัพท์
จากลูกน้องว่า "กำแพง" ที่กั้นไว้เริ่มจะสู้ไม่ไหว

อาหารและน้ำเริ่มร่อยหรอ
และน้ำมันที่ใช้กับเครื่องปั่นไฟเริ่มไม่พอเพียง

ในขณะที่ลูกน้องเริ่มหมดแรงลงเรื่อยๆ

"ตัน" ตัดสินใจเข้าไปโรงงาน
เพื่อให้กำลังใจและสู้ร่วมกับ "ลูกน้อง"

ตอนเช้าที่คุยกัน "ตัน" ยังมีเสียงที่สดใส

เขายังคิดแก้ปัญหาเรื่องการขนน้ำมันเข้าไปโรงงาน

และวางแผนจะไปนอนที่โรงงานร่วมกับลูกน้อง

"ผมเตรียมชุดนอนไว้แล้ว"

แต่พอตอนบ่าย เมื่อโทรศัพท์ไปคุยกันอีกครั้งหนึ่ง

เสียงของ "ตัน" เริ่มเปลี่ยนไป

เขาบอกว่าคงต้องยอมรับความเป็นจริง
และวางแผนอพยพลูกน้องออกจากโรงงานให้ปลอดภัยที่สุด

"ผมจะเป็นคนสุดท้ายที่ออกจากโรงงาน
กับตันต้องสละเรือเป็นคนสุดท้าย"

ผ่านไปจนถึงช่วงเย็น ในรายการเรื่องเด่นเย็นนี้ ช่วง "เจาะข่าวเด่น"

"สรยุทธ์ สุทัศนะจินดา" บุกเข้าไปในโรงงาน "อิชิตัน" เพื่อสัมภาษณ์ "ตัน"

ไม่มีใครเห็นภาพ เพราะรถถ่ายทอดสดไม่สามารถเข้าไปได้

มีแต่เสียงของ "ตัน" และ "สรยุทธ์"

ช่วงต้นเขายังคุมอารมณ์อยู่ "ตัน"
ยังบอกว่าคนที่เดือดร้อนกว่าเขายังมีอีกมากมาย
เขายังมีกำลังที่จะสู้ต่อได้

"แต่วันนี้คงจบแล้วสำหรับภารกิจกู้โรงงาน
พรุ่งนี้ก็กลับไปทำมาหากินกันต่อ
ตราบใดที่ยังมีลมหายใจ เราต้องมีกำลังใจ"

เมื่อ "สรยุทธ์" รู้ว่า "ตัน" จะนอนค้างที่นี่
เพื่อส่งพนักงานคนสุดท้ายออกไปให้หมด
และเหลือคนอยู่เฝ้าโรงงาน 5 คน

เขาเสนอทางเลือกว่าเขาจะช่วยนำ
พนักงานออกให้หมดภายในคืนนี้ แล้ว
"ตัน" ออกไปพร้อมกันกับเขา

แต่ "ตัน" ปฏิเสธ
บอกว่าที่นี่ยังมีเครื่องปั่นไฟ มีอาหาร

"ผมขออยู่ที่นี่สักคืนหนึ่ง"
เสียงของ "ตัน" เริ่มสั่นเครือ และขาดหายเป็นช่วงๆ

"....อยู่ให้สมกับที่ลงทุนไป"

ในจอโทรทัศน์มีแต่ความเงียบประมาณ 10 วินาที

ไม่มีเสียงของ "ตัน" หรือ "สรยุทธ์"

เพราะ "ตัน" ร้องไห้
.................

ภาพของ "ตัน" น้ำตาคลอ แพร่ภาพอีกครั้งในช่วง "เรื่องเล่าเช้านี้"

พร้อมกับ "แฟนเพจ" เข้ามาให้กำลังใจ 6,000 กว่าคน

3 โมงเย็นของวันพุธที่ 12 ตุลาคม "ตัน" เพิ่งออกจากโรงงาน

"คุณเชื่อไหม ตลอดระยะทาง 14 กิโลเมตรจากโรงงาน
มันมีแต่น้ำ ทุกโรงงานมีแต่น้ำท่วมกับน้ำท่วมมาก"

เขาเล่าว่าระหว่างที่นั่งรถจะมีคนงานโรงงานต่างๆขอโดยสารออกมาด้วย

แต่ละคนอยู่ในสภาพที่ทั้งหมดแรง และหมดกำลังใจ

"ผมยังมีแรง มีเงินที่จะสู้ต่อ แต่บางคนบ้านก็ถูกน้ำท่วม
โรงงานก็ท่วม บ้านก็ไม่มีอยู่ งานก็ไม่มี เงินก็ไม่มี น่าสงสารมาก"

จากประสบการณ์ครั้งนี้ "ตัน" อยากฝากไป
ถึงคนไทยทุกคนว่าปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะนี้ไม่ใช่ปัญหาของคนใดคนหนึ่ง
ไม่ใช่ของรัฐบาล แต่เป็นของคนไทยทุกคน

"ถ้าเรียกร้องได้ ผมอยากเรียกร้องให้คนไทยที่ยังมีแรงอยู่
ให้ออกมาช่วยกันให้มากที่สุด ใครมีเงินช่วยเงิน
ช่วยเรื่องสิ่งของ ใครมีแรงช่วยออกแรง
ปัญหาวันนี้มันหนักหนาสาหัสจริงๆ"

"ผมขอร้อง..."






Oct 15, 2011

"ตัน ภาสกรนที" บทพิสูจน์ "ตัน" ไม่มีวัน "ตัน"วันที่โรงงาน 3,000 ล้านจมน้ำ



http://teetwo.blogspot.com/2008/11/blog-post_24.html
http://teetwo.blogspot.com/2010/09/blog-post_04.html
http://article.tcdcconnect.com/articles


วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2554

(ที่มา หน้าเศรษฐกิจ มติชนรายวัน ฉบับประจำวันที่ 15 ตุลาคม 2554)



"ขณะที่ทีมมูลนิธิตันปันกำลังขนถุงยังชีพ 20,000 ชุด
ที่เพิ่งเตรียมเสร็จจากงานที่คุณตันจัดเมื่อวันอาทิตย์
ไปแจกผู้เดือดร้อนในจังหวัดลพบุรี
เดิมคุณตันจะเดินทางมาพร้อมกัน แต่ต้องเปลี่ยนแผนกะทันหัน
เพราะโรงงานกำลังเข้าขั้นวิกฤต
หลังเสร็จงานที่ลพบุรีพวกเรารีบมุ่งหน้าเตรียมไปสมทบคุณตันที่อยุธยา
แต่ถูกห้ามไว้บอกว่าอย่าเข้ามาที่โรงงาน อันตรายมาก
พวกเราขอร้องให้คุณตันรีบออกมา
โดยพนักงานหลายคนยืนยันจะเข้าไปรับ แต่แกพูดว่า


"พนักงานยังอยู่ที่นี่อีกตั้งหลายคน จะให้ผมออกมาได้ยังไง
พวกคุณก็ไม่ต้องเข้ามา ผมจะออกจากที่นี่เป็นคนสุดท้าย"



นั่นคือ ข้อความบนเว็บเพจของ ตัน ภาสกรนที
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
บริษัทไม่ตัน จำกัด
ผู้ผลิตชาเขียวพร้อมดื่มตรา อิชิตัน
ในวันที่ถูกน้ำจากทุกทิศทางเข้า
โจมตีโรงงานผลิตชาเขียวพร้อมดื่มอิชิตัน
ซึ่งใช้เงินลงทุนไปถึง 3,000 ล้านบาท
ในนิคมอุตสาหกรรมโรจนะเฟส 3
และโรงงานแห่งนี้จมมิดอยู่ใต้น้ำ
โดยมีไลน์การผลิตน้ำดื่มที่เตรียมผลิต
ไปแจกผู้ประสบภัยน้ำท่วมหนัก
ในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ลพบุรี คาอยู่



ถึงปาฏิหาริย์จะไม่เกิดขึ้น โรงงานผลิต เครื่องดื่มชาพร้อม
ดื่ม อิชิตันจมมิดอยู่ใต้น้ำในนิคมอุตสาหกรรมโรจนะ เฟส 3
โดยไม่รู้เมื่อไหร่จะฟื้นฟูให้กลับมาดำเนินการได้ใหม่


แต่สำหรับ ตัน ภาสกรนที แล้ว เขาบอกว่า ไม่เป็นไร
ยังมีทุนมีกำลังใจ สิ่งที่เกิดขึ้นกับเขา ถือว่าเล็กน้อยมาก
เมื่อเทียบกับคนทั่วไป ที่ประสบภัยในครั้งนี้อย่างหนักหนา
สาหัสชนิดที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประเทศไทย


ระหว่างโรงงานยังจมน้ำ ตันยืนยันว่า
จะเดินหน้าให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน
จากน้ำท่วมหนักในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ลพบุรี
ผ่านรูปแบบการช่วยเหลือหลากหลาย ทั้งอาหาร น้ำดื่ม เรือ
และของจำเป็นในการยังชีพอื่นๆ ต่อไป
หลังจากที่เขาเป็นหนึ่งในผู้บริจาครายใหญ่สุดผ่านมูลนิธิตันปัน
ให้กับกระทรวงคมนาคมเป็นเงินรวม 40 ล้านบาท


งบฯที่ใช้ในการลงทุนโรงงานแห่งนี้ และความเสียหายที่เกิดขึ้น

ผมใช้เงินลงทุนโรงงานแห่งนี้ประมาณ 3,000 ล้านบาท
คงเสียหายเยอะ แต่ไม่อยากพูดถึงเรื่องความเสียหายในตอนนี้
เพราะความเสียหายที่เกิดขึ้นกับโรงงานคงหนัก
ไม่เท่ากับความเสียหายของชาวบ้านที่ได้รับจากน้ำท่วมในครั้งนี้
คนที่ประสบภัยไม่มีข้าวกิน ไม่มีบ้านอยู่
ไม่มีแม้กระทั่งบัตรประชาชน ไม่มีอะไรเลย



เรื่องความเสียหายที่เกิดขึ้นกับโรงงานต้องประเมิน
หลังจากน้ำลดและสถานการณ์โดยรวมกลับเข้าสู่ภาวะปกติอีกครั้ง
ตอนนี้เครื่องจักรจมอยู่ในน้ำ ที่เป็นคอมพิวเตอร์เสียหายหมด
ต้องรอน้ำลดแล้วรอให้ทางญี่ปุ่นเจ้าของเทคโนโลยี
มาตรวจสอบความเสียหายอย่างเป็นทางการอีกครั้ง

"ผมไม่ได้เจอวิกฤตคนเดียว หลายคนเจอหนักกว่า
สิ่งที่ประสบยังไม่หนักเท่ากับคนอื่น ผมยังมีกำลังใจ
ยังมีร้านอาหาร ยังมีธุรกิจอื่นๆ อีกหลายอย่าง
ยังมีเงินฝากในธนาคาร มีที่ดิน มีทรัพย์สินอื่นๆ
และในส่วนของโรงงาน หากเสียหายไป
สามารถสร้างขึ้นมาใหม่ได้ แต่คนอื่นไม่มีอะไรเลย
ไม่มีข้าวกิน ไม่มีแม้แต่บัตรประชาชน"


มีการปรับแผนธุรกิจอย่างไร



ต้องรอให้น้ำลดก่อนแล้วถึงมาว่ากัน สำหรับเรื่องธุรกิจตอนนี้ขอหยุดก่อน
ยังมีเวลาอีกเป็นเดือน คิดว่าน้ำยังไม่ลง และจะใช้เวลาตอนนี้
ไปช่วยเหลือคนอื่นผ่านมูลนิธิตันปันไปก่อน
และอยากขอร้องให้ทุกคนออกมาช่วยกัน








รายละเอียดทั้งหมด :

"วิถี(ไม่)ตัน" เป็นการถ่ายทอดประสบการณ์ของ ตัน ภาสกรนที

ที่เชื่อว่าชีวิตคือการเริ่มต้นใหม่ได้เสมอและได้ทุกวัน

เมื่อถามถึงการชีวิตของเขาเองหลังจากนี้

คือการ"ออกแบบชีวิตที่เหลือให้มีแต่รอยยิ้ม"

จากใจคุณตัน

ตลอด 30 ปี ของการทำธุรกิจ
ผมผ่านประสบการณ์ล้มแล้วลุก...
ลุกแล้วล้ม...
แล้วก็กลับมาลุกขึ้นใหม่ ครั้งแล้วครั้งเล่า
ก้าวได้ถึงวันนี้เพราะผมยังสู้ต่อ...ไม่เคยถอดใจ
เราทุกคนล้วนต้องเจออุปสรรค
ไม่ว่าทางใดก็ทางหนึ่งทั้งนั้น
บางคนเจอครั้งเดียว ก็เลิกแล้ว
ในขณะที่บางคนยังกัดฟันสู้ต่อ
เจอครั้งที่สอง ครั้งที่สาม ไม่ยอมแพ้
แต่พอมาถึงครั้งที่ห้าสิบกลับถอดใจไปตรงนั้น
กฎของการประสบความสำเร็จในธุรกิจ
ไม่ได้อยู่ที่คุณคิดได้ก่อนใคร
คุณเริ่มทำก่อน หรือใครทำมากกว่า
แต่ทั้งหมดคือการมุ่งมั่นทำอย่างสม่ำเสมอ
ไม่ยอมแพ้

ตัน ภาสกรนที


รายได้ค่าลิขสิทธิ์ทั้งหมดมอบให้ มูลนิธิตันปัน
เพื่อสนับสนุนการศึกษาและสิ่งแวดล้อม



Oct 13, 2011

ลาก่อน Steve Jobs

วรากรณ์ สามโกเศศ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (http://www.dpu.ac.th)
มติชน (http://www.matichon.co.th)
วันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2554
(ที่มา หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับประจำวันที่ 13 ตุลาคม 2554) Steve Jobs นักประดิษฐ์นวัตกรรมไอที
ชาวอเมริกันผู้ยิ่งใหญ่คนหนึ่งของโลกจากไปในวัย 56 ปี
โดยทิ้งผลงานชั้นยอดไว้ให้ชาวโลก
ชีวิตของ Steven Paul "Steve" Jobs
ไม่ธรรมดาและไม่เป็นไปในกรอบตั้งแต่ก่อนเกิด
ชีวิตของเขาโลดโผนอย่างน่าสนใจ
Steve เกิดในเมืองซานฟรานซิสโก
เขาเป็นลูกครึ่งอาหรับและอเมริกัน
พ่อชื่อ Abdulfattah John Jandali เป็นชาวซีเรียที่อพยพมาอเมริกา
แม่คือ Joanne Schiebel ขณะเขาเกิดแม่เป็นนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
แม่มอบ Steve ให้เป็นบุตรบุญธรรมของครอบครัวผู้ใช้แรงงานอพยพจากรัฐ Armenia
ในสหภาพโซเวียต (ปัจจุบันเป็นประเทศ)
ต่อมาแม่เขาแต่งงานกับพ่อจริงของเขาและมีลูกสาวด้วยกันหนึ่งคนเป็นนักเขียน
พ่อจริงของเขาต่อมาเป็นศาสตราจารย์ด้าน Political Science
ไม่มีใครทราบชัดเจนว่าเหตุใดเมื่อพ่อแม่จริงของเขาแต่งงานกันแล้ว
จึงไม่รับเขากลับมาเลี้ยงเพื่อเป็นพี่ของน้องสาวเขา
ระหว่างเรียนหนังสือชั้นมัธยมเขาทำงานเป็นลูกจ้างระหว่างฤดูร้อนที่
Hewlett-Packard กับเพื่อนชื่อ Steve Wozniak
ซึ่งต่อมาร่วมกันก่อตั้งบริษัท Apple เมื่อถึงวัยเรียนมหาวิทยาลัย
เขาเข้าเรียนที่ Reed College ที่เมือง Portland รัฐ Oregon
แต่เรียนได้หนึ่งเทอมก็เลิกเรียน
แต่ก็แอบเข้าฟังเล็กเชอร์วิชาที่เขาสนใจ
ในปี 1974 Steve เข้าทำงานกับบริษัท Atari
และเดินทางไปอินเดียเพื่อแสวงหาความสว่างของชีวิต
เขาโกนหัวและเปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธ
อีก 2 ปีต่อมาก็ก่อตั้งบริษัท Apple และระดมเพื่อนมาจากที่ต่างๆ
ผลิตคอมพิวเตอร์ชนิดส่วนตัว ชุด Apple II
ต่อมาเป็นคอมพิวเตอร์ Macintosh ที่มีชื่อเสียง
ตามด้วยนวัตกรรมตระกูล Apple
ไล่ตั้งแต่ iPod/ iPhone/ iPad ออกมาเขย่าโลก
เขามีลูกชายหนึ่งคนและลูกสาวสองคนกับภรรยา
และมีลูกนอกสมรสอีกหนึ่งคนกับสาวนักเขียนภาพ
เขาทิ้งมรดกมูลค่าไม่ต่ำกว่า 8,300 ล้านเหรียญสหรัฐ
หลังจากต่อสู้กับโรคมะเร็งในตับอ่อนเป็นเวลานานกว่า 7 ปี
ผู้เขียนขอนำสุนทรพจน์ของสตีฟ จ็อบส์
ที่ให้บัณฑิตจบใหม่ของมหาวิทยาลัย Stanford ในวันรับปริญญาปี 2005 มาเล่าสู่กันฟัง
โดยขอนำมาจากบางส่วนของหนังสือ "วิชาสุดท้ายที่มหาวิทยาลัยไม่ได้สอน"
แปลโดยสฤณี อาชวานันทกุล (2552)
"......ผมเองไม่เคยเรียนจบปริญญา ตรงนี้เป็นก้าวที่ใกล้ที่สุดแล้วของผม
วันนี้ผมอยากเล่าเรื่องจากชีวิตจริงของผมให้น้องๆ ฟัง
"ผมลาออกจากมหาวิทยาลัยรีดหลังจากไปเรียนอยู่ที่นั่นหกเดือน
แต่ก็ไปนั่งเรียนต่ออีกประมาณสิบแปดเดือนก่อนที่ผมจะลาออกจริงๆ
แล้วทำไมผมถึงลาออก?...
".....หลังจากเรียนได้หกเดือน ผมก็มองไม่เห็นประโยชน์ของมันอีก
ผมไม่รู้ว่าผมต้องการอะไรจากชีวิต
และผมก็ไม่รู้ว่าปริญญาจะช่วยหาคำตอบให้ผมได้ยังไง
ในขณะที่ผมกำลังถลุงเงินที่พ่อแม่ของผมเก็บหอมรอมริบมาทั้งชีวิต
ผมก็เลยตัดสินใจลาออกด้วยความเชื่อว่าทุกอย่างคงโอเคในที่สุด...
".......ตอนผมอายุสิบเจ็ด ผมอ่านคำคมประโยคหนึ่งที่ว่าไว้ทำนองนี้
′ถ้าคุณใช้ชีวิตในแต่ละวันเหมือนกับเป็นวันสุดท้ายของคุณแล้วล่ะก็
วันหนึ่งคุณจะพบว่าสิ่งที่ทำไปนั้นถูกต้อง′
ผมรู้สึกประทับใจกับประโยคนี้มาก ตั้งแต่นั้นมากว่าสามสิบสามปี
ผมมองหน้าตัวเองในกระจกทุกวัน แล้วถามตัวเองว่า
′ถ้าวันนี้เป็นวันสุดท้ายของผม
ผมจะอยากทำสิ่งที่ผมกำลังจะทำวันนี้หรือเปล่า?′
"แล้วเมื่อไหร่ที่คำตอบคือ ′ไม่′ ติดกันหลายวัน
ผมจะรู้ตัวว่าผมต้องเปลี่ยนอะไรบางอย่างแล้ว
"ความสำนึกว่าผมจะต้องตายในไม่ช้าเป็นเครื่องมือสำคัญที่สุดที่ผมรู้จัก
ที่ผมใช้ในการตัดสินใจสำคัญๆ ของชีวิต
เพราะเกือบทุกสิ่งทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นความคาดหวัง ความภูมิใจ
ความกลัวการหน้าแตก และความผิดพลาดทั้งหลาย
ล้วนไม่มีความหมายอะไรเลยเมื่อเทียบกับความตาย
"มรณานุสติเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่ผมรู้ ที่จะหลุดพ้นจากบ่วงความคิดที่ว่า
เรามีอะไรต้องเสีย เราทุกคนเปล่าเปลือยอยู่แล้วครับ
ไม่มีเหตุผลอะไรเลยที่เราจะไม่ทำตามสิ่งที่ใจเราต้องการ
"ประมาณหนึ่งปีก่อน หมอบอกว่าผมเป็นมะเร็ง
ผมไปเข้าเครื่องสแกนเวลา เจ็ดโมงครึ่งตอนเช้า
ผลออกมาชัดเจนว่ามีเนื้อร้ายที่ตับอ่อนของผม
ตอนนั้นผมไม่รู้ด้วยซ้ำว่า ตับอ่อนคืออะไร
หมอบอกว่าเขาค่อนข้างแน่ใจว่าผมเป็นมะเร็งแบบที่รักษาไม่หาย
และผมไม่น่าจะอยู่ได้นานเกินสามถึงหกเดือน
หมอบอกให้ผมกลับบ้านไปสะสางเรื่องต่างๆ ที่คั่งค้างอยู่
"ก็เป็นโค้ดของหมอที่แปลว่าให้ไปเตรียมตัวตายนั่นแหละครับ
"แปลว่าให้พยายามบอกลูกๆ ถึงสิ่งต่างๆ
ที่คนปกติมีเวลาสิบปีที่จะบอก ให้บอกภายในไม่กี่เดือน
แปลว่าให้เก็บความรู้สึกทุกอย่างให้เรียบร้อย
ให้ครอบครัวไม่ยุ่งยากใจเมื่อถึงเวลา
"แปลว่าให้เอ่ยคำลา
"นั่นเป็นเหตุการณ์ที่นำให้ผมใกล้ชิดกับความตายมากที่สุดในชีวิต
ผมหวังว่ามันจะไม่มาใกล้กว่านี้แล้วในอีกหลายทศวรรษข้างหน้า
เพราะผมได้ประสบด้วยตัวเอง ผมเลยสามารถเล่าสิ่งต่อไปนี้ให้น้องๆ
ฟังด้วยความมั่นใจว่าตอนที่ความตายเป็นแค่นามธรรมสำหรับผม
"ไม่มีใครอยากตายหรอกครับ ขนาดคนที่อยากไปสวรรค์ก็ยังไม่อยากตายก่อนไปถึง
ถึงกระนั้นเราทุกคนก็ต้องตายทั้งนั้น ไม่มีใครเคยรอดพ้นจากมัน
แต่นั่นก็เป็นสัจธรรมที่ควรจะเป็น
เพราะความตายเป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่ธรรมชาติให้เรามา
เป็นผู้นำความเปลี่ยนแปลง กำจัดของเก่าเพื่อสละพื้นที่ให้กับของใหม่
ตอนนี้น้องๆ ทุกคนเป็นของใหม่ แต่ในอีกไม่นานนับจากนี้น้องๆ
จะกลายเป็นของเก่าที่ธรรมชาติต้องกำจัด
ขอโทษที่อาจฟังดูเวอร์นะครับ แต่มันเป็นความจริง
"เวลาของน้องๆ มีจำกัด ดังนั้นอย่าทำให้มันเปล่าประโยชน์
ด้วยการใช้ชีวิตของคนอื่น อย่าตกเป็นทาสของกฎเกณฑ์-
นั่นคือการใช้ชีวิตตามความคิดของคนอื่น
อย่าปล่อยให้เสียงของทัศนคติคนอื่นดังกลบเสียงของหัวใจของเราเอง
และที่สำคัญที่สุดคือจงมีความกล้าที่จะเดินตาม
สิ่งที่หัวใจและสัญชาตญาณเรียกร้อง
เพราะสองสิ่งนี้รู้อยู่แล้วว่าน้องๆ
อยากเป็นอะไร ทุกอย่าง
ที่เหลือเป็นเรื่องรองลงมาทั้งนั้น......"
.......สตีฟจบลงด้วยประโยคเด็ด
"Stay Hungry, Stay Foolish"
("อย่าทิ้งความหิวกระหาย อย่ากลายเป็นคนเซื่องๆ")

Oct 6, 2011

Steve Jobs







คีย์แมนคนสำคัญแห่งวงการคอมพิวเตอร์
และอุตสาหกรรมไอทีชาวอเมริกัน
อดีตผู้ร่วมก่อตั้ง ประธาน
และผู้บริหารสูง
สุดของบริษัทแอปเปิล อิงค์
รวมถึง เป็นผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จ
ของนวัตกรรมสุดล้ำ
อย่างคอมพิวเตอร์แม็คอิน ทอช
ไอพอด ไอแพด
และไอโฟน
ได้เสียชีวิตลงแล้ว
เมื่อ 5 ตุลาคม ค.ศ. 2011
ตามเวลาท้องถิ่นในสหรัฐฯ ในวัย 56 ปี
จากอาการป่วยด้วยโรคมะเร็งที่ตับอ่อน








ชื่อ-นามสกุล : สตีเวน พอล จ็อบส์

วันเดือนปีเกิด : 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1955

สถานที่เกิด : นครซานฟรานซิสโก มลรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา

อาชีพ : อดีตผู้ร่วมก่อตั้ง ประธาน และผู้บริหารสูงสุดของบริษัทแอปเปิล อิงค์
,นักพัฒนาด้านไอที

ประวัติการศึกษา -สำเร็จการศึกษาในช่วงก่อนอุดมศึกษาที่
โรงเรียนคิวเพอร์ติโน จูเนียร์ ไฮ และโฮมสเตด ไฮ สคูล ในมลรัฐแคลิฟอร์เนีย
-เข้าศึกษาที่วิทยาลัยรีด คอลเลจ ในเมืองพอร์ตแลนด์
มลรัฐโอเรกอนเมื่อปี ค.ศ. 1972 แต่ลาออกหลังศึกษาได้เพียง 1 ภาคเรียน

ประวัติการทำงาน - เริ่มต้นทำงานอย่างเต็มตัว
ในฐานะช่างเทคนิคที่บริษัทผลิตวิดีโอ เกมส์ "อทารี"ในปี ค.ศ.1974

- ร่วมกับสตีฟ วอซเนียคและโรนัลด์ เวย์น
ก่อตั้งบริษัทแอปเปิลในปีค.ศ. 1976

- หันหลังให้กับแอปเปิลและก่อตั้งบริษัทเน็กซ์ คอมพิวเตอร์ในปี ค.ศ. 1985
- ซื้อกิจการบริษัทกราฟิกส์ กรุ๊ป หรือ "พิกซาร์" ผู้ผลิตภาพยนตร์แอนิเมชั่น
ก่อนกลายเป็นผู้บริหารระดับสูงของ "วอลต์ ดิสนีย์" ในเวลาต่อมา

- กลับสู่บริษัทแอปเปิลอีกครั้งในปี ค.ศ.1996
- รับตำแหน่งซีอีโอของแอปเปิลอย่างเป็นทางการ
ในเดือนกันยายน ค.ศ.1997

- ลาออกจากตำแหน่งซีอีโอในเดือนสิงหาคม ค.ศ.2011


http://www.msnbc.msn.com/id/44801874/displaymode/1247?beginSlide=1