Custom Search

Sep 30, 2010

ดินสอนั้นคลาสสิค


วรากรณ์ สามโกเศศ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์มติชนออนไลน์
วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2553

สิ่งที่คลาสสิคไม่จำเป็นต้องยุ่งยาก หรือซับซ้อน
หรือมีราคาแพง
ดินสอธรรมดาๆ นี่แหละคลาสสิคอย่างแท้จริง
ถึงแม้จะผ่านร้อนผ่านหนาวมากว่า 400 ปี
แล้วก็ยังเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตอย่างมีบทเรียนให้ขบคิด
ในสมัยอียิปต์และโรมันเมื่อกว่า 2,000 ปีมาแล้ว
มีการใช้แท่งโลหะบางๆ
เป็นวัสดุเขียนอักษรลงบนกระดาษยุคแรกที่ทำจากต้นกก (papyrus)
คำว่า pencil มาจากคำในภาษาละตินว่า
pencilius ซึ่งหมายถึง "little tail"
(เข้าใจว่าวัสดุที่ใช้เขียนคงเป็นชิ้นเล็กๆ ยาวคล้ายหางกระมัง)
ดินสอที่เรารู้จักกันทุกวันนี้มาจากการค้นพบแหล่งของ
graphite (หินถ่านรูปหนึ่ง)
ขนาดใหญ่ในประมาณ ค.ศ.1565
แคว้น Barrowdale เมือง Cumbria ในอังกฤษ
ชาวบ้านพบว่าเมื่อเอามันมาตัดเป็นแท่ง
แล้วก็สามารถใช้เขียนเครื่องหมายบนตัวแกะได้ดี
ความบริสุทธิ์และเป็นแท่งนิ่มไม่เปราะทำให้สะดวกในการใช้
จึงเป็นที่นิยมอย่างมาก
ขณะนั้นวิชาเคมียังอยู่ในขั้นอนุบาล ผู้คนเข้าใจว่า
มันเป็นวัสดุคล้ายตะกั่วจึงเรียกว่า lead ซึ่งเป็นความเข้าใจผิด
ปัจจุบันในภาษาอังกฤษก็ยังเรียกไส้ดินสอว่า lead
ถึงแม้ว่าจะไม่มีตะกั่วปนอยู่ด้วยแต่อย่างใด
ประโยชน์ของดินสอชนิดนี้แพร่
ไปยังการใช้ในเรื่องต่างๆ ของชีวิตประจำวัน
จนมีการควบคุมการใช้โดยทางการ
ชาวบ้านก็ขโมยจากแหล่งใหญ่นี้มาใช้งาน
เนื่องจากแท่ง graphite ค่อนข้างนิ่ม
จึงเอาหนังสัตว์หุ้มเพื่อให้เขียนได้สะดวก
แหล่ง graphite ที่อังกฤษนี้เป็นแหล่งค้นพบเดียว
ที่มีความบริสุทธิ์และมีคุณภาพสูง
ดังนั้น อังกฤษจึงผูกขาดดินสออยู่ได้เป็นเวลาหลายปี
จนมีผู้คิดค้นเอาผง graphite
ซึ่งไม่จำเป็นต้องมาจากแหล่งคุณภาพสูง
ผสมกับซัลเฟอร์และพลวง (antimony)
และปั้นขึ้นมาเป็นแท่ง ใน ค.ศ.1662 ในเมือง Stein
ใกล้เมือง Nuremberg เยอรมนี
ดินสอยี่ห้อ Faber-Castell (http://www.faber-castell.com)
สืบทอดมาจากการคิดค้นนี้จนถึงปัจจุบัน
ผู้ที่คิดเอาไม้มาหุ้มรอบแท่ง graphite
เป็นสามีภรรยาชาวอิตาลีชื่อ Simonio
และ Lyndiana Bernacotti
โดยมุ่งใช้เป็นเครื่องมือสำหรับช่างไม้
ลักษณะดินสอเป็นไม้รูปไข่และ
เป็นแท่งสั้นซึ่งใช้ในวงการช่างไม้มาจนทุก วันนี้
เมื่อเห็นดินสอหุ้มด้วยไม้เข้าท่า
ก็มีผู้พัฒนาขึ้นโดยใช้ไม้กลวงสองซีกประกอบแท่ง graphite
และใช้กาวติดไม้ทั้งสองชิ้น วิธีผลิตนี้ยังใช้กันอยู่จนถึงปัจจุบัน
ความก้าวหน้าครั้งสำคัญของดินสอเกิดขึ้นในสงครามนโปเลียน
เมื่อประมาณ 200 ปีก่อน เมื่อกองทัพนโปเลียนถูกปิดล้อม
เช่นเดียวกับประเทศฝรั่งเศสด้วยกองทัพเรือ
ไม่สามารถนำเข้าแท่ง graphite มาใช้เป็นดินสอเพื่อคำนวณตัวเลข
เขียนแผนรบ ขีดเส้นจุดที่วางปืนใหญ่ได้
ทหารของนโปเลียนจึงประดิษฐ์ดินสอขึ้นใช้เอง
ในปี ค.ศ.1795 Nicholas Jacques Conté
ค้นพบการเอาผง graphite ชนิดเลวที่นำเข้าจากเยอรมนี
มาผสมกับดินเหนียว แล้วปั้นเป็นแท่งยาว
เอาไปเผาในเตาก็ใช้เป็นไส้ดินสอได้
วิธีการผลิตนี้ใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน
ดินสอหุ้มไม้ซีดาร์แดง (Red Cedar)
เป็นที่นิยมในยุโรปและอเมริกามาก ในศตวรรษที่ 19
เฉพาะในอเมริกาดินสอ 240,000 แท่งถูกใช้ในแต่ละวัน
ไม้ชนิดนี้ไม่มีเสี้ยนและมีกลิ่นหอม
ในต้นศตวรรษที่ 20 ไม้ Red Cedar
ลดปริมาณลงมากจนต้องเลาะเอามาจากโรงไม้เก็บของ
และรั้วมาใช้ อังกฤษไปสุดโต่งถึงขนาดออกกฎหมาย
ห้ามใช้กบเหล่าดินสอเพื่อไม่ให้เหลาดินสอ
อย่างไม่จำเป็นจนเปลืองไม้ Red Cedar

"ความจำเป็นเป็นแม่ของประดิษฐกรรม"

เป็นความจริงเสมอ เมื่อ Red Cedar ขาดแคลน
จึงหันมาใช้ไม้ Incense Cedar
ที่มีอยู่มากมาย้อมสีและกลิ่นแทน
ปัจจุบันนี้ดินสอขั้นดีส่วนใหญ่ก็ยังคงใช้ไม้ชนิดนี้ในการผลิต
เดิมดินสอนั้นกลม เพิ่งเป็น 6 เหลี่ยมเมื่อ Lothar von Faber
หลานทวดของผู้ก่อตั้งบริษัท Faber-Castell
ผู้เข้ามาคุมบริษัทใน ค.ศ.1839 เสนอนวัตกรรมนี้
ซึ่งทำให้ดินสอไม่กลิ้งตกไปจากโต๊ะ
ปัจจุบันมีการผลิตดินสอในโลกประมาณปีละกว่า 15,000-20,000 ล้านแท่ง
(ครึ่งหนึ่งผลิตในจีน) ไม่ว่าปากกาหมึกซึมและ
ปากกาลูกลื่นสารพัดชนิดจะเป็นที่นิยมอย่างไร
ดินสอก็มีเสน่ห์ไม่คลาย
ที่น่าแปลกใจก็คือเรื่องสีของดินสอส่วนใหญ่ในประเทศต่างๆ
ในสหรัฐอเมริกาส่วนใหญ่เป็นสีเหลือง เยอรมนีและบราซิล
มักเป็นสีเขียว ยุโรปทางใต้เช่นสเปน อิตาลี
เป็นสีแดงเข้มหรือดำโดยแซมด้วยเส้นสีเหลือง
ออสเตรเลียมักเป็นสีแดง โดยอีกด้านหนึ่งเป็นแถบสีดำ
ในอินเดียดินสอที่ใช้กันทั่วไปเป็นสีแดงเข้มและมีเส้นสีดำสลับ ฯลฯ
ไม่ว่าวันเวลาจะผ่านไปนานแค่ไหน
ไส้ดินสอก็ยังคงเป็น graphite ผสมดินเหนียวแล้วเผา
(ไส้จะดำ จะอ่อนหรือจะนิ่มอยู่ที่ส่วนผสมและความร้อนที่เผา)
ไม้ส่วนใหญ่สำหรับดินสอชั้นดีก็ยังคงเป็นไม้ Incense Cedar
และอีกปลายด้านหนึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นยางลบซึ่งรัดด้วยแถบโลหะ
ในจำนวนผู้ผลิตดินสอรายใหญ่ของโลก Faber Castell
ซึ่งมีสีเขียวเป็นยี่ห้อประจำตัวคงความเกรียงไกรตลอดเวลาเกือบ 400 ปีที่ผ่านมา
นวัตกรรมในการนำเอายางลบติดที่ปลายดินสอก็เป็นของบริษัทนี้
เมื่อกว่า 200 ปีมาแล้วเป็นคดีในศาลสูงของสหรัฐอเมริกา
และก็ชนะคดีในการใช้ยางลบติดที่ปลาย ดินสอ
ผู้มีสิทธิบัตรเป็นฝ่ายแพ้เพราะศาลตัดสินว่า
ไอเดียนี้มันชัดจนไม่น่าเอามาจด เป็นสิทธิบัตรได้
Faber-Castell ผลิตดินสอประมาณปีละ 2,200 ล้านแท่ง
ในราคาถูกเพื่อใช้กันทั่วโลกด้วยนวัตกรรมดินสอหกเหลี่ยม
ยางลบที่ปลายดินสอ สีเคลือบดินสอที่ไม่เป็นพิษ
จุดมียางบนดินสอเพื่อให้เด็กจับได้โดยไม่ลื่น
ตลอดจนดินสอเป็นแท่งสามเหลี่ยม ซึ่งเป็นที่นิยมของเด็ก
จนถือว่าเป็นยักษ์ใหญ่ของวงการดินสออย่างแท้จริง
ผู้ผลิตดินสอมักร่ำรวยคล้ายกับผู้ผลิตเข็มเย็บผ้า
เพราะไม่เคยมีใครใช้ดินสดจนหมดแท่ง
(ไม่เคยมีเด็กที่ถอนเงินจากบัญชีออมทรัพย์ของ
ธนาคารออมสินหมดเกลี้ยงเช่น กัน)
และไม่เคยมีใครใช้เข็มจนหัก ส่วนใหญ่ก็มักหายไปก่อน
ดินสอนั้นคลาสสิคเสมอ ด้วยความง่ายไม่ซับซ้อน
เหมือนปากกาดินสอ แถมมีราคาถูกใช้ง่ายในทุกสภาวะ
(นักวิจัยอเมริกันของ NASA เสียเงินนับสิบล้านเหรียญ
เพื่อประดิษฐ์ปากกาลูกลื่นใช้ในยานอวกาศ
แต่นักอวกาศรัสเซียใช้ดินสอ)
ถึงแม้ว่าจะไม่มีนวัตกรรมออกมาบ่อยก็ตาม
ในประวัติศาสตร์กว่า 400 ปี
ความเป็นคลาสสิคของสิ่งใดนั้นอยู่ที่คุณค่าของมันเอง
หาได้อยู่ที่ราคาของมันไม่
ถ้ามนุษย์ทำตัวเหมือนดินสอปนเทียนไข
โลกคงเต็มไปด้วยปัญญาและความสว่าง


“ในหลวง ร.๙” เสด็จฯ ทอดพระเนตรดนตรีที่ศิริราช



พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ เสด็จพระราชดำเนิน จากชั้น 16 อาคารเฉลิมพระเกียรติ รพ.ศิริราช
ไปยังหอประชุมราชแพทยาลัย
เพื่อ ทอดพระเนตรการแสดงดนตรี
จากวงไทยแลนด์ฟิลฮาร์โมนิกออร์เคสตรา
ในงาน “ศิริราชคอนเสิร์ต เทิดไท้องค์อัครศิลปิน”

เมื่อเวลา 20.00น.
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ พร้อมด้วย
สมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาสยามบรมราชกุมารี
เสด็จพระราชดำเนิน ไปทอดพระเนตร
คอนเสิร์ต “ศิริราช คอนเสิร์ต เทิดไท้องค์อัครศิลปิน”
ณ หอประชุมแพทยาลัย โรง
พยาบาลศิริราช
ซึ่งบรรเลงโดยวงฟิลฮาโมนิคแห่งประเทศไทย
มี นาย Gudni A. Emailson เป็นไวทยากร
พ.ต.ประทีป สุพรรณไพโรจน์
เป็นไวทยากรประจำวง

ดร.สุกรี เจริญสุข เป็นผู้อำนวยการดนตรี
นพ.ธีรวัฒน์ กุลทนันทน์
คณบดีคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล
กล่าวว่า การจัดงานศิริราชคอนเสิร์ตเทิดไท้องค์อัครศิลปินครั้งนี้

เพื่อถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ให้ทรงพระเกษมสำราญ โดยมีการอัญเชิญเพลงพระราชนิพนธ์ 19 เพลงมาบรรเลง 
คอนเสิร์ตครั้งนี้จัดขึ้น ในวาระโอกาสครบรอบ 37 ปี
แห่งการเสด็จพระราชดำเนินทรงดนตรีกับคณะแพทย์ศิริราช
ซึ่งเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2516

ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙เสด็จพระราชดำเนินมาทรงดนตรี
ที่หอประชุมราชแพทยาลัย คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล
จากนั้นพระองค์ก็ไม่ได้เสด็จฯไปทรงดนตรีที่สถาบันศึกษาไหนอีก
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาได้กราบบังคมทูลถวายรายงาน
ให้พระองค์ทรงทอดพระเนตร จากนั้นทรงมีรับสั่งผ่าน
ศ.เกียรติยศ นพ.สงคราม ทรัพย์เจริญ แพทย์ประจำพระองค์

ว่าจะเสด็จฯมาทอดพระเนตร
และตนเองได้เข้าเฝ้าฯสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ทรงมีรับสั่งว่าจะเสด็จฯทอดพระเนตรด้วยเช่นกัน
ทุกคนในวงรู้สึกตื่นเต้น ซึ่งวันที่พระองค์ทรงดนตรีนั้น
ตนเป็นนักศึกษาแพทย์ปีสุดท้าย ได้มีโอกาสเข้าร่วมรับชมด้วย
วันนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ทรงแซกโซโฟน
พระองค์จะรับสั่งกับนักดนตรีที่เข้าแสดง
กลุ่มนักศึกษาแพทย์ต่างอิ่มใจและหัวเราะกันอย่างสนุกสนาน
ทั้งยังมีรับสั่งกับนักศึกษาด้วย
ด้าน รศ.นพ.อภิชาติ อัศวมงคลกุล รองคณบดีฝ่ายบริหาร
คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราช กล่าวว่า ไทยแลนด์ฟิวฮาโมนิกออเคสตร้า
ก่อตั้งขึ้นเพื่อพัฒนาเป็นออเคสตร้าวงอาชีพ
ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาลและวิทยาลัยดุริยางคศิลป์
แต่ละปีที่ผ่านมาจะมีการแสดงระดับประเทศและระดับนานาชาติ
ซึ่งถือเป็นโอกาสดีที่ได้มาแสดงถวาย
ทั้งนี้ทางศิริราชได้จัดเตรียมระบบแสงเสียงที่ดีที่สุด
ในหอประชุมราชแพทยาลัย ถือเป็นประวัติศาสตร์ของศิริราช
ที่มีการจัดการแสดงวงออเคสตร้าแบบเต็มวง
ซึ่งเป็นสิ่งที่ทางรพ.ศิริราชตั้งใจถวายเพื่อเฉลิมพระเกียรติ

ขณะที่ นายกุดนี่ เอ.เอมิลสัน วาทยากรจากประเทศเยอรมัน
กล่าวว่า วันนี้เป็นวันที่พิเศษมาก เป็นครั้งแรกในชีวิต
ที่ได้อำนวยเพลงต่อหน้าพระมหากษัตริย์
ที่ทรงมีความสามารถในการประพันธ์ดนตรี
แต่งบทเพลงที่คนรู้จัก ภูมิใจที่พระองค์ทรงอนุญาติ
ให้พวกเราได้มาจัดแสดงวันนี้
และเป็นเกียรติอันยิ่งใหญ่ของวงด้วย

ทั้งนี้โรงพยาบาลศิริราชได้เชิญแขกและผู้มีอุปการะคุณ
กับทางโรงพยาบาล อาทิ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ฯลฯ
รวมทั้งสิ้น 350 คน ร่วมงานครั้งนี้ด้วย

ขณะที่บรรยากาศที่ใต้อาคารเฉลิมพระเกียรติ
จนถึงด้านหน้าหอประชุม ซึ่งเป็นเส้นทาง
เสด็จพระราชดำเนินของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
ได้มีประชาชนพสกนิกรชาวไทยจากทุกหมู่เหล่า
ต่างจับจองสถานที่เพื่อเฝ้ารอรับเสด็จจำนวนมาก









Sep 28, 2010

มฟล. ครบรอบ 12 ปี ปฏิบัติภารกิจสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำครบถ้วน


มฟล. ครบรอบ 12 ปี ปฏิบัติภารกิจสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำครบถ้วน
– อธิการบดี ลั่น รักษาตำแหน่งมหาวิทยาลัยแห่งคุณภาพและโอกาส
เล็งเพิ่มช่องทางพิเศษรับเรียนดี-ขาดทุนทรัพย์เข้าเรียน
ส่วนนศ.ทั่วไปเน้นการบริหารจัดการที่ดีแทนการขึ้นค่าธรรมเนียมการศึกษา











ด้าน รศ.ดร.เท
อด เทศประทีป อธิการบดี
กล่าวว่า
ก้าวต่อไปของ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
หลังครบรอบ 12 ปี
คือ การสานต่อปณิ
ธานสมเด็จย่า ‘ปลูกป่า สร้างคน’
ให้เป็นมหาวิทยาลัยแห่งคุณภาพ (University of quality)
และ มหาวิทยาลัยแห่งโอกาส (University of opportunity)


นอกจากนี้ยังได้กล่าวถึงกระแสโลกาภิวัตน์
ที่ทำให้ทุกภาคส่วนต้องปรับตัว เพื่อก้าวให้ทันโลก
ความเป็นนานาชาตินั้นแยกไม่ออกจากเรื่องโลกาภิวัตน์
ในส่วนของสถาบันการศึกษา
การเตรียมพัฒนานักศึกษาในด้านภาษา เช่น
การเรียนการสอนภาษาอังกฤษ แต่เพียงอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอ
หากไม่พัฒนาการสอนให้มีคุณภาพ ให้มีองค์ความรู้
มีความคิดที่ก้าวไกล
เพราะประเด็นสำคัญในการเป็นนานาชาติคือ
ความสามารถในการแข่งขันในเวทีโลก
ได้รับการยอมรับว่าเป็นนานาชาติไปโดยปริยาย
การแสวงหาแนวทางการจัดการศึกษาสนับสนุน
ให้นักศึกษามีความ ‘ใฝ่รู้ใฝ่เรียน’ (learning to learn concept)
เนื่องจากความรู้เปลี่ยนไปทุกนาที หากยังเน้นสอนเนื้อหา
จะทำให้นักศึกษาไม่เท่าทันกับสถานการณ์ปัจจุบัน
จึงได้เดินทางไปยัง มหาวิทยาลัย Aalborg ประเทศเดนมาร์ก
เพื่อทำความร่วมมือทางวิชาการในการพัฒนารูปแบบ
การเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based Learning)
เป็น รูปแบบการเรียนการสอนที่มีผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
โดยใช้สถานการณ์ปัญหาเป็นตัวกระตุ้น
ให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้เพื่อนำมาแก้
ปัญหานั้น ซึ่งในอนาคต มฟล.
จะตั้งศูนย์พัฒนาการเรียนการสอนแนวใหม่นี้ขึ้น
โดยได้รับความร่วมมือจาก
มหาวิทยาลัย Aalborg (http://en.aau.dk)

สำหรับการเป็นมหาวิทยาลัยแห่งโอกาสนั้นได้สานต่อ
ตามเจตนารมณ์ของอธิการบดีผู้ก่อตั้งที่ได้ประกาศว่า
“จะไม่มีนักศึกษาคนใดที่เรียนได้จะต้องออกจาก
มหาวิทยาลัยแห่งนี้เพราะความยากจน”
โดยการแสวงหาทุนการศึกษาเข้ามา
สนับสนุนนักศึกษากลุ่มที่สามารถเรียนได้ให้ได้เรียน
นอกจากนี้ยังมีแนวคิดที่จะเพิ่มช่องทางใหม่สำหรับการรับนักศึกษา
มองกลุ่มเป้าหมายที่เรียนได้ ต้องการที่จะเรียนผลการเรียนดีพอใช้
แต่ด้อยโอกาส ขาดทุนทรัพย์ มหาวิทยาลัยก็จะรณรงค์หาทุนมาให้
ส่วนนัก ศึกษาทั่วไป ค่าธรรมเนียมการศึกษานั้น
จะพยายามรักษาไว้ในระดับที่จะเป็นมหาวิทยาลัยแห่งโอกาส
แม้ว่ามหาวิทยาลัยจะบริหารงานแบบนอกระบบราชการ
ต้องหารายได้เองในส่วนหนึ่งก็ตาม

“ ในช่วงนี้เราอาจขึ้นค่าธรรมเนียมไม่ได้
แต่ เราจะสร้างรายได้จากแหล่งอื่นๆ
ซึ่งมีกระบวนการที่สำคัญคือ
ต้องใช้ทรัพยากรของมหาวิทยาลัยให้คุ้มค่าที่สุด
เพิ่มการบริหารจัดการให้ดี ใช้ทรัพยากรทุกอย่างให้คุ้มค่า
ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สินและบุคลากร”


รศ.ดร. เทอด กล่าวต่อว่า เป้าหมายที่สำคัญอีกประการ
ของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงในก้าวต่อไปคือ
การพัฒนานักศึกษาให้ไปสู่การพลเมืองอาเซียน
และการพลเมืองโลก ผ่านการพัฒนาด้านภาษา
และเรียนรู้ผ่านบริบทของสังคมวัฒนธรรม
เพื่อช่วยขยายโอกาสในการทำงานของบัณฑิตให้กว้างขึ้นแล้ว
และการเรียนรู้นั้นจะนำมาสู่ความเข้าใจกันและอยู่ร่วมกันอย่างสันติ
โดยการมุ่งพัฒนาทักษะด้านภาษา ให้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง
และสนับสนุนให้พัฒนาทักษะภาษาที่สาม โดยเฉพาะภาษาจีน
รวมทั้งเปิดให้มีรายวิชาเกี่ยวกับอาเซียน
มีเนื้อหาตั้งแต่ที่มาของความรวมตัวกันของกลุ่มอาเซียน
ไปจนกรอบการค้า และข้อตกลงต่างๆ
รวมถึงบริบททางสังคมและวัฒนธรรมของประเทศสมาชิก
และต่อไปจะต้องออกแบบหลักสูตร
ให้นักศึกษาได้ทำความเข้าใจในบริบทของโลกด้วย



มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
ได้รับการสถาปนาตามพระราชบัญญัติจัดตั้งมหาวิทยาลัย
เมื่อวันที่ 25 ก.ย.2541
อันเป็นผลมาจากการผลักดันของประชาชนทุกหมู่เหล่าใน จ.เชียงราย
ที่ต้องการให้มีมหาวิทยาลัยใน จ.เชียงราย
และสืบสานปณิธานของสมเด็จย่า ซึ่งได้ทรงพัฒนา จ.เชียงราย
โดยเฉพาะพื้นที่โครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน)
อันเนื่องมาจากพระราชดำริตามแนวทางปลูกป่าสร้างคน
ปัจจุบัน มฟล.ได้พัฒนาจนเปิดการสอนจำนวน 10 สำนักวิชา
และยังมีศูนย์และหน่วยงานองค์กรภายในต่างๆ มากมาย มีบุคลากรทั้งหมด 915 คน


ในปี 2553 นี้ มฟล.ได้รับงบประมาณทั้งสิ้น 946,166,490 บาท
โดยได้รับจัดสรรงบประมาณแผ่นดินจำนวน 490,074,800 บาท
ส่วนที่เหลือเป็นรายได้สมทบ
ทั้งนี้ที่ผ่านมานักศึกษาที่จบจาก มฟล
ได้รับการยอมรับว่ามีคุณภาพและ
เข้าสู่การทำงานได้อย่างประสบความสำเร็จโดยถ้วนหน้ากัน


“ในหลวง ร.๙ ” ทรงฝากองคมนตรีปลูกฝังคนไทยเอื้อเฟื้อ นึกถึงส่วนรวม


ในหลวง พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้
พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ นำคณะองคมนตรี และภริยา
เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทเป็นการส่วนพระองค์
โอกาสนี้ได้มีพระบรมราโชวาทให้ปลูกฝังคนในชาติ
โดยคนที่มีสิ่งต่างๆ มากกว่าผู้อื่น ควรเอื้อเฟื้อแก่ผู้ไม่มี

ส่วนผู้ที่ไม่มี ก็ควรพยายาม
หากช่วยเหลือกันประเทศชาติจะสงบสุข

เวลา 17.33 น.วันนี้ (27 ก.ย.) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙
เสด็จฯ ออก ณ ห้องประชุมชั้น 14 อาคารเฉลิมพระเกียรติ
โรงพยาบาลศิริราช พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้
พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี
นำคณะองคมนตรี และภริยา
เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทเป็นการส่วนพระองค์


โอกาสนี้ได้มีพระบรมราโชวาทให้ปลูกฝังคนในชาติ
มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และนึกถึงส่วนรวมให้มากขึ้น
เพื่อที่ประเทศชาติจะได้สงบสุข


“บุคคลที่นับได้ว่า มีสิ่งต่างๆ มากกว่าผู้อื่น
สมควรที่จะเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ หรือแบ่งปันแก่ผู้ไม่มี
อย่างพอเหมาะพอสม และตนเองไม่เดือดร้อน
ส่วนผู้ที่ไม่มี ก็ควรพยายาม ไม่ควรรอคอยแต่ความช่วยเหลือ
หรือคิดว่าตนเองไม่มีความสามารถ
หากช่วยเหลือกันดังนี้แล้ว บ้านเมืองก็จะสงบสุข”



ภาพประกอบ: นสพ. มติชน

Sep 26, 2010

มหัศจรรย์แห่งรัก "หมีน้อยแพนด้า" ผลงานเล่มแรกของ "เมตตา อุทกะพันธุ์"


คมชัดลึก : โอกาสฉลองครบรอบ 16 ปี สำนักพิมพ์แพรวเพื่อนเด็ก
"ตุ๊ก" เมตตา อุทกะพันธุ์ บอสใหญ่อมรินทร์ จัดเปิดตัวหนังสือ
“หมีน้อยแพนด้า มหัศจรรย์แห่งรักจากใจแม่สู่ห
นังสือภาพสำหรับเด็ก”
พร้อมเปิดนิทรรศการแสดงภาพต้นฉบับหนังสือเด็ก
โดยศิลปินไทยชื่อดังร่วม 30 ท่าน ณ หอศิลป์
กรุงไทย (เยาวราช) เมื่อเร็วๆ นี้


เคยแต่เห็นประธานกรรมการ บริหารและกรรมการผู้จัดการใ
หญ่
บริษัทอมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน)
เปิดตัวหนังสือคนอื่น คราวนี้ถึงคิวตัวเองบ้าง เห็นรอยยิ้มเขิน
อย่างไม่ตั้งใจ
เพราะงานนี้นอกจากแขกเหรื่อผู้หลักผู้ใหญ่ และศิลปินชั้นแนวหน้าแล้ว
ยังมีคนในครอบครัวมาร่วมยินดีกันพร้อมหน้า
รวมทั้งหลานชายตัวน้อย "น้องปุณณ์"ลูกชายของ
"แพร" ระริน และ "หมี" โชคชัย ปัจจรุ่งโรจน์


และที่ใครๆ อยากรู้นักว่าเพราะเหตุใด เมตตา
ถึงลงมือเขียนหนังสือกับเขาได้ ได้ยินเจ้าของผลงานเฉลยว่า
ได้แรงบันดาลใจคนใกล้ตัวนั่นเอง

"หนังสือหมีน้อยแพนด้าได้รับแรงบันดาลใจมาจาก
เมื่อเดือนพฤษภาคมได้หลานยายคนแรก ชื่อว่าหลานปุณณ์
และพอเดือนถัดมาเจ้าหลินฮุ่ยก็ได้ออกลูกตัวน้อยชื่อว่าหลินปิง
ในระหว่างช่วงการรับประทานข้าวกลางวัน
ก็จะพูดคุยกันถึงความน่ารักของเจ้าตัวน้อยกับ
ความเป็น
Super Mom ของหลินฮุ่ย แทนการคุยเรื่องประเด็นทางการเมือง
ซึ่งทำให้เรามีความสุขมาก... (หัวเราะ)

จนวันหนึ่งเกิดแรงบันดาลใจนั่งลงหยิบกระดาษขึ้นมาเขียน
โดยใช้เวลาเพียง 40 นาทีในการเขียน
และขณะที่เขียนแต่ละช็อตภาพมันจะมาด้วยพร้อมๆ กัน
มันเป็นภาพของหมีน้อยแพนด้ากับภาพครอบครัวของเรา
คือครอบครัวคุณแพร คุณหมี และน้องปุณณ์
เพราะฉะนั้นคำว่า
“โตวันโตคืน ยิ่งกินยิ่งโต
ร่างกายแข็งแรง ทั้งอ้วนทั้งกลม”
มันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริงๆ
ในครอบครัวของเรา
หรือสิ่งที่เราใส่ลงไปในหนังสือ"

คุณยายเมตตาเล่าไปยิ้มไปอย่างมีความสุข
พลอยให้คนฟังอมยิ้มไปด้วย


จึงเป็นความผูกพันระหว่างพ่อแม่ลูก ดังที่คุณตุ๊ก
บอกว่า “ครอบครัวสุขสันต์ พ่อแม่ ลูกหมีผูกพันรักใคร่อาทร”

"มันเป็นความรู้สึกของเราจริงๆ ที่ใส่ลงไปในหนังสือด้วย
เรื่องราวทั้งหมดเป็นเรื่องของหมีหลินฮุ่ย
แต่เราได้ใส่ความเป็นคนในครอบครัวของเรา
เป็นความรู้สึก และภาษาที่เราใช้
เป็นรักแท้ๆ
รักจริงๆ ที่เราเลี้ยงเขา (คุณแพร) มา
พอเราเป็นยายเราก็มองดูเขาเลี้ยงลูก
ให้ความรักกับลูกเช่นเดียวกัน

สิ่งเหล่านี้พอถ่ายทอดกันไปถ่ายทอดกันมา
กลายเป็นหนังสือภาพสำหรับเด็กเล่มนี้"

นอกจากในฐานะคุณแม่ และคุณยายคนเก่งแล้ว
ในฐานะของคนทำหนังสือ เมตตายังฝากไปถึงผู้ปกครองด้วยว่า

"สำหรับพ่อแม่ไทยยังรู้จักหนังสือภาพสำหรับเด็กน้อยเกินไป
จึงหวังว่ากระแสของหมีแพนด้าและหนังสือเล่มนี้
จะเป็นตัวจุดประกายให้พ่อแม่ไทย

ได้รู้จักว่าหนังสือภาพ สำหรับเด็กคืออะไร
เหมาะสมกับเด็กๆ อย่างไร
และให้ความสำคัญกับหนังสือภาพสำหรับเด็กมากขึ้น"

ด้านผู้ถ่ายทอดจินตนาการเป็นภาพวาด ตุลย์ สุวรรณกิจ
นักวาดภาพประกอบหนังสือ เจ้าของรางวัลดีเด่นจาก
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ปี พ.ศ. 2551
จากเรื่อง "ทายซิ ทายซิ ฉันคือใคร" และปี พ.ศ. 2552
จากเรื่อง "ทายซิ ทายซิ นั่นตัวอะไร" เล่าถึงช่วงที่ทำง
านเล่มนี้ว่า

" จริงๆ ผมเป็นคนชอบวาดภาพสัตว์อยู่แล้ว
แต่จะไม่เน้นภาพจริง 100% จะยึดหลักความเป็นธรรมชาติของสัตว์ก่อน
แต่ถ้าเหมือนจริงเกินไปก็จะไม่ใช่หนังสือภาพของเด็ก
จะเป็นสารคดีมากกว่า ดังนั้นเราต้องใส่คาแรกเตอร์ไปในตัวละคร
ทั้งการยิ้ม สายตาให้คล้ายการ์ตูน
โดยเริ่มแรกผมจะต้องเรียนรู้นิสัย
และบุคคลิกตัวละครจะทำให้วาดได้เร็วขึ้น

สัปดาห์แรกผมจะไม่ได้ทำอะไรเลยนั่งดู
แต่รูปหมีแพนด้า โดยหาภาพใน google และที่อื่นๆ ดูจนหมด
พอผมจับคาแรกเตอร์ได้แล้วว่า หมีแพนด้าต้องหมุนด้านไหน
หมุนแล้วขนจะฟีบด้านไหน
ก็จะง่ายต่อการทำงาน
จากนั้นจึงเริ่มลงมือวาด"
นี่คือที่มาของแพนด้าสองแม่ลูกที่น่ารักน่าชังในหนังสือ


"หมีน้อยแพนด้า" เป็นเรื่องราวที่เรียบง่าย
แต่มากด้วยจินตนาการและภาพวาด
ที่สื่ออารมณ์ความรักความผูกพันของแม่ลูก
จัดพิมพ์เป็น 3 รูปแบบ คือ ปกแข็งภาษาไทย ราคา 195 บาท
ปกอ่อน ภาษาไทย ราคา 95 บาท
และปกแข็งภาษาอังกฤษ ราคา 250 บาท

โดยตั้งใจจะขายลิขสิทธิ์ไปยังต่างประเทศด้วย

สำหรับ “นิทรรศการแสดงภาพต้นฉบับหนังสือเด็กโดยศิลปินไทย”
เพื่อส่งเสริมให้พ่อแม่ผู้ปกครองและโรงเรียน
ได้เข้าใจถึ
งความสำคัญของการใช้
หนังสือภาพสำหรับเด็ก
ในการส่งเสริมจินตนาการและพัฒนาการของเด็ก


ภาพต้นฉบับที่นำมาแสดงครั้งนี้ มีจำนวน 64 ภาพ
สร้างสรรค์โดยศิลปิน 25 ท่าน อาทิ

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ประหยัด พงษ์ดำ, ศาสตราจารย์ปรีชา เถาทอง,
ชัย ราชวัตร, ร.ศ.ทินกร กาษร-สุวรรณ, ผ.ศ.ไพรวัลย์ ดาเกลี้ยง,
ผ.ศ. ธีรวัฒน์ งามเชื้อชิต, เกริกบุระ ยมนาค, สุรเดช แก้วท่าไม้,
เนติกร ชินโย, ธีระวัฒน์ คะนะมะ, จินตนา เปี่ยมศิริ ฯลฯ




Sep 16, 2010

หัวใจสะออน

Align Centre

http://teetwo.blogspot.com/2009/08/blog-post_06.html
http://teetwo.blogspot.com/2007/08/blog-post_6002.html
http://teetwo.blogspot.com/2007/03/blog-post_11.html
http://teetwo.blogspot.com/2010/09/blog-post_16.html
http://asanee-wasan0001.gmember.com/


* กว่าจะรู้จักจำ ใจต้องชอกช้ำอีก
กว่าจะคิดเข้าใจ บางทีมันก็สายเกิน


** ผ่านมาแล้วผ่านไป ยังไม่คิดไม่เข็ด

ผ่านมาได้ก็บุญแล้ว เหลือแต่ตัวเปล่าๆรักมีไว้ให้ใส่ใจ รักมีไว้เคียงคู่
รักมีไว้ให้เชิดชู เคียงคู่คนทุกคน
*** มีหัวใจไม่จำ น้ำคำที่เคยหลอกลวง
ไม่เคยห่วงเคยหวง ว่าตัวจะช้ำเท่าไร
ก็หัวใจเจ้ากรรม ชอกช้ำแล้วยังชอบลอง
ก็ว่ากันตามทำนอง ของคนหัวใจสะออน
**** กว่าจะรู้สึกตัว ตัวก็ชอกช้ำอีก
เจ็บมาแล้วไ
ม่จำ ไม่จำหัวใจสะออน
(ซ้ำ *** , **** , * , **)












ชื่อ-สกุล : อัส
นี โชติกุล
ชื่อเล่น : ป้อม
วันเกิด : 9 เม.ย. 2498
อายุ : 55 ปี
ส่วนสูง : 165 ซม.
น้ำหนัก : 51 กก.
ที่อยู่ : มอร์ มิวสิค

ประวัติ
ครอบครัว: เป็นชาวจังหวัดเลย
คุณพ่อเป็นทนาย คุณแม่เป็
นครู
พี่น้อง 4 คน
ความฝันสูงสุด: มีคน 110,000 คนในคอนเสิร์ต
การศึกษา:
- ระดับประถมศึกษา: โรงเรียนเมืองเลย จ.เลย
- ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น: โรงเรียนสโมสรวิทยาลัย จ.เลย
- ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนเลยพิทยาคม จ.เลย
- ระดับปริญญาตรี เคยศึกษาคณะนิติศาสตร์ ม.รามคำแหง ปี 2517


การศึกษาด้านดนตรี:
- ปี 2526: PRIVATE LESSON จาก อาจารย์ สหัสชัย ศุภมิตร
หลักสูตร “BERKLEE COLLEGE OF MUSIC” (BOSTON U.S.A.)
ทฤษฎี : JAZZ HARMONY และTRADITIONAL HARMONY
- ปี 2527 2528: - เรียนดนตรีที่โรงเรียนศศิลิยะ กับอาจารย์ ดนู ฮันตระกูล
และ อาจารย์ บรูซ แกสตัน ( BRUCE GASTON )
ทฤษฎี : ARRANGING , ORCHESTRATION
และ MUSIC FOR CHILDREN หลักสูตร “CARL ORFF” ( GERMAN )
- เรียนดนตรี หลักสูตร EAR TRAINING : ZOLTAN KODALY (HUNGARIAN)

ผลงานที่ผ่านมา :
แนวเพลง: โฟล์ค ร็อค
ศิลปินที่ชื่นชอบ: The Beatles, Yes, Gary Moor, Robbie Williams
ประสบการณ์ทางดนตรี: ในช่วงเล่นดนตรีใหม่ๆ เป็นนักกีตาร์
ที่สะสมประสบการณ์จากหลายๆ วง เช่น อิสซึ่น, โอเรียนเต็ล ฟังค์
และบัตเตอร์ฟลาย เมื่อเชี่ยวชาญจนแก่กล้า ก็ก้าวมาเป็นโปรดิวเซอร์
อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของศิลปินหลายต่อหลายคน
หลังจากนั้นก็หันมาเป็นศิลปิน นำเสนองานอยู่หน้าเวที
และบทบาทสุดท้าย คือผู้บริหารค่าย"มอร์ มิวสิค"

รางวัลเกียรติยศ:
- ชนะเลิศการประกวดโฟล์คซอง
รางวัลถ้วยพระราชทาน(จากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ)
ของชมรมโฟล์คซองแห่งประเทศไทย ปี 2518
- รางวัลส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2531-2532
( เพลงทำดีได้ดี )
- รางวัลสีสันอวอร์ดส อัลบั้มยอดเยี่ยม "รุ้งกินน้ำ"
และ สาขาศิลปินยอดเยี่ยม อัสนี-วสันต์ โชติกุล ประจำปี 2536
- รางวัลสีสันอวอร์ด เพลงในการบันทึกเสียงยอดเยี่ยม ปี 2536
( เพลงทุกข์ไม่เว้นวันราชการ )
- ศิลปินยอดเยี่ยม รางวัล พระพิฆเนศทองพระราชทาน (จากสมเด็จพระเทพฯ) ปี 2539
- รางวัลผู้อุปการะคุณห้องสมุดแห่งประเทศไทย พระราชทาน จากสมเด็จพระเทพฯ
( ห้องสมุดอัสนี – วสันต์ จ.เลย )

กิจกรรมทางสังคม:
- คอนเสิร์ต อีสานเขียว โดยกองทัพบก ปี 2531
- คอนเสิร์ต Earth Day คอนเสิร์ตเพื่อสิ่งแวดล้อม โดยกองทัพบก
- คอนเสิร์ต Rock For The Queen รายได้ 4.5 ล้านบาท
ถวายแด่ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ พระบรมราชินีนาถ ปี 2547
- คอนเสิร์ต ด้วยแสงแห่งรัก รายได้สมทบทุนช่วยเหลือผู้ประสบภัย
จากเหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิ ปี 2548
- คอนเสิร์ตพลังแห่งแผ่นดิน

ผลงานดีเด่น: - แต่งเพลงเพื่อสังคม
- เพลงชีวิตสัมพันธ์ ร่วมกับ คุณยืนยง โอภากุล ปี 2531
- เพลงกรุงเทพมหานคร
- เพลงเชียร์ขาดใจ เพลงจากการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ จ.เชียงใหม่ ปี 2538
- เพลงสำเนียงประชาธิปไตย (กกต.) รณรงค์ การเลือกตั้ง ปี 2548
- เพลงกรุงเทพมหานคร
- บ้านของเรา ปี 2548
แนวเพลงโปรด: Rock' n Roll
เครื่องดนตรีที่ถนัด: กีตาร์








สุขใจ




http://teetwo.blogspot.com/2009/08/blog-post_06.html
http://teetwo.blogspot.com/2007/08/blog-post_6002.html
http://teetwo.blogspot.com/2007/03/blog-post_11.html
http://teetwo.blogspot.com/2010/09/blog-post_1145.html
http://asanee-wasan0001.gmember.com/


ทำใจให้มันสนุ
ยิ้มแย้มตลอด
ไปหากความทุกข์จะมาเมื่อไหร่เรานั้นต้องไม่กลัว
ดวงตาจะสดใส
ดวงใจไม่มืดมัว
ใจเราเมื่อมันส
นุกสิ่งที่เจอ
มันก็คือความสุขใจ


คนเราพยายามที่จะหาทาง พ้นความลำบาก
ในใจจริง ทุกคน ก็คือเราอยาก สบาย
พอมาเจอปัญหา
ไม่อยากจะคิดว่าเรื่อง มันใหญ่

จะทำยังไงกันดี
ทำใจให้มันสนุก ยิ้มแย้มตลอดไป
หากความทุกข์ จะมา เมื่อไหร่
เรานั้นต้องไม่กลัว ดวงตาจะสดใส
ดวงใจไม่มืด
มัว ใจเราเมื่อมันสนุก
สิ่งที่เจอ มันก็คือความสุขใจ
ฟังๆดูเพลินๆ คงจะรู้เองว่ามันไม่ยาก
จะเป็นอย่างไร ถ้
าลองทำดูก็เผื่อมันดี
คงจะมีสักครั้ง ถ้าหากชีวิต นั้นมันเต็มที่
อยากดี ก็ต้อง ลอง ดู
ทำใจให้มันสนุก ยิ้มแย้มตลอดไป
หากความทุกข์ จะมา เมื่อไหร่
เรานั้นต้องไม่กลัว ดวงตาจะสดใส
ดวงใจไม่มืดมัว
ใจเราเมื่อมันสนุ

สิ่งที่เจอ มันก็คือ ความสุขใจ













ชื่อ-สกุล : วสันต์ โชติกุล
ชื่อเล่น : โต๊ะ
วันเกิด : 25 มี.ค. 2500
อายุ : 53 ปี
ส่วนสูง : 166 ซม.
น้ำหนัก : 50 กก.
ที่อยู่ : มอร์ มิวสิค

ประวัติ

ครอบครัว: วสันต์เป็นคนที่ 3 ในจำนวนพี่น้อง 4 คน
(พี่สาว 1/พี่ชาย 1/ และน้องสาวอีก 1)
พื้นฐานทางดนตรีของวสันต์
ส่วนหนึ่งเป็นเพราะอยู่ในครอบครัวของคนรักดนตรี
เพราะคุณพ่อเล่นไวโอลิน เป็นงานอดิเรก
และเล่นอยู่ใน
วงเครื่องสายไทยของจังหวัด
ส่วนคุณแม่เล่นแมนโดริน
ราศี: มีน
การศึกษา:
- ระดับประถมศึกษา: โรงเรียนเมืองเลย จ.เลย
- ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น: โรงเรียนสโมสรวิทยาลัย จ.เลย
- ระดับปริญญาตรี: วิทยาลัยเพาะช่าง

การศึกษาด้านดนตรี:
- ปี 2526: PRIVATE LESSON จาก อาจารย์ สหัสชัย ศุภมิตร
หลักสูตร “BERKLEE COLLEGE OF MUSIC” (BOSTON U.S.A.)
- ปี 2527-2528: เรียนดนตรีหลักสูตรทฤษฎีดนตรีเบื้องต้นที่โรงเรียนศศิลิยะ
จากอาจารย์อรรณพ จันสุตะ, อาจารย์จาตุรนต์ เอมซ์บุตร
และ อาจารย์ธนวัฒน์ สีปสถวรณ์

ผลงานที่ผ่านมา :
ประสบการณ์ทางดนตรี: เคยเล่นดนตรีตามผับ และร้านอาหารอยู่หลายปี
วสันต์เป็นมือกีตาร์ที่มีรากฐานมาจากโฟล์ค ร็อค และคันทรี่
เป็นนักร้องนำและมือกีตาร์ประจำวงอิสซึ่น
นอกจากมีอัลบั้มร่วมกับอัสนีพี่ชาย
และทำอัลบั้มร่วมกับวงอิสซึ่นแล้ว
จากประสบการณ์การเล่นกีตาร์เป็นอาชีพอยู่หลายปี
จึงกล่าวได้ว่า วสันต์ถือเป็นหนึ่งในยอดกีตาริสต์ของเมืองไทย

รางวัลเกียรติยศ:
- ชนะเลิศการประกวดโฟล์คซอง รางวัลถ้วยพระราชทาน
(จากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ)
ของชมรมโฟล์คซองแห่งประเทศไทย ปี 2518
- รางวัลส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2531-2532
( เพลงทำดีได้ดี )
- รางวัลสีสันอวอร์ด ศิลปินกลุ่มยอดเยี่ยม ปี 2531 (วสันต์ โชติกุล และวงอิสซึ่น)
- รางวัลสีสันอวอร์ด เพลงยอดเยี่ยม ปี 2531 (เพลงให้เธอ)
- รางวัลสีสันอวอร์ดส อัลบั้มยอดเยี่ยม "รุ้งกินน้ำ"
และ สาขาศิลปินยอดเยี่ยม อัสนี-วสันต์ โชติกุล ประจำปี 2536
- รางวัลสีสันอวอร์ด เพลงในการบันทึกเสียงยอดเยี่ยม ปี 2536
( เพลงทุกข์ไม่เว้นวันราชการ )
- ศิลปินยอดเยี่ยม รางวัล พระพิฆเนศทองพระราชทาน
(จากสมเด็จพระเทพฯ) ปี 2539
- รางวัลผู้อุปการะคุณห้องสมุดแห่งประเทศไทย พระราชทาน
จากสมเด็จพระเทพฯ ( ห้องสมุดอัสนี – วสันต์ จ.เลย )
กิจกรรมทางสังคม: - คอนเสิร์ต Earth Day คอนเสิร์ตเพื่อสิ่งแวดล้อม
โดยกองทัพบก
- คอนเสิร์ต Rock For The Queen รายได้ 4.5 ล้านบาท
ถวายแด่ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ พระบรมราชินีนาถ ปี 2547
- คอนเสิร์ต ด้วยแสงแห่งรัก รายได้สมทบทุนช่วยเหลือผู้ประสบภัย
จากเหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิ ปี 2548
- คอนเสิร์ตพลังแห่งแผ่นดิน
ผลงานดีเด่น: เพลงเลยตามเลย
ทำดนตรีสำเนียงอีสาน โดยใช้กีต้าร์ มาเล่นเป็นเสียง ซึง







Sep 15, 2010

การก้าวลงบัลลังก์ของท่านอักขราทร






การก้าวลงบัลลังก์ของท่านอักขราทร

มติชนออนไลน์

วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553


ขุนสำราญภักดี

10 ปีมาแล้วที่ ดร.อักขราทร จุฬารัตน

นั่งเป็นประธานศาลปกครองสูงสุด
จากตึกเอ็มซิมแบงก์ย่านพหลโยธิน
สู่"อาคารเอ็มไพร์"ย่านสาทร

จนมาปักหลักเป็นศาลปกครองที่ยิ่งใหญ่อลังการบนถนนแจ้งวัฒนะ
แต่อีกไม่นาน ประมุขศาลปกครองคนแรกของประเทศไทย
จะก้าวลงจากบัลลังก์ ในวัย 70 ปี

เปิดทางให้ผู้สืบต่อ คือ "หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล"
ขับเคลื่อนศาลปกครองต่อไป

เอาเข้าจริง ผมน่าจะเป็นนักข่าวที่

เห็นเส้นทางของอาจารย์อักขราทร
มายาวนานกว่านักข่าวคนอื่นๆ
เพราะผมเรียนกฎหมายวิชา "นิติกรรม"
กับอาจารย์หนุ่มจากอิตาลีเมื่อปี 2526

ดร.อักขราทร เล่าว่า สมัยเป็นหนุ่มต้องเลือกระหว่าง
ไปเรียนที่อังกฤษ กับ อิตาลี
ถ้าไปเรียนที่อังกฤษกลับมาก็เป็นแค่ครูสอนวิชาภาษาอังกฤษ
จึงเลือกไปเรียนอิตาลี เพื่อกลับมาเป็นอาจารย์สอน
กฎหมาย
นี่เป็นเหตุที่ผมได้ฟังเลกเชอร์ของอาจารย์อักขราทร ตั้งแต่ยังเป็นเด็กๆ

เมื่อผมมาเป็นนักข่าว ผมก็ไปหาข่าวที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
เดินเข้าออกอยู่ 2 ห้องคือ
ห้องรองเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา "ชัยวัฒน์ วงศ์วัฒนศานต์"

กับห้องเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ดร.อักขราทร จุฬารัตน

ยังจำได้ว่า มองออกจากหน้าต่างห้องเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา
จะเห็นแม่น้ำเจ้าพระยาในมุมที่สวยที่สุด
เชื่อว่า สวยกว่า มุมมองจากกรมการค้าภายใน และโรงแรมโอเรียนเต็ล

ตอนขับเคลื่อน"ศาลปกครอง"
ผมเป็นเสียงหนึ่งที่เปิดพื้นที่ให้กับระบบศาลคู่
เพราะอยากเห็นศาลปกครองเกิดขึ้นในประเทศไทย
จนคนในศาลเดี่ยวไม่ค่อยพอใจ

คนที่เป็นหัวเรือใหญ่ของระบบศาลคู่ คือ ดร. อมร จันทรสมบูรณ์
แต่คนที่ได้เป็นประธานศาลปกครองสูงสุดคือ ดร.อักขราทร

ผมคิดเอาเองว่า เส้นทางชีวิตจากอาจารย์สอนกฎห
มาย
มาสู่เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา
และสูงสุดในตำแหน่งประมุขศาลปกครอง

ไม่ใช่แค่ กึ๋นอย่างเดียว แต่ต้องเป็น"โชควาสนา" อย่างแน่นอน
ที่เดินทางมาในกาละและเทศะที่เหมาะสม
ทำให้ไม่ต้องออกแรงมาก เหมือนคนอื่นๆ

หรืออย่าง ดร.โภคิน พลกุล รองประธานศาลปกครองสูงสุด
แทนที่จะได้เป็นเบอร์หนึ่งก็กระโดดลงเล่นการเมือง
โยนทิ้งอนาคตไปเสียอย่างนั้น

ผมถาม อาจารย์อักขราทร ว่า ครบ 70 ปีแล้ว
อยากจะทำอะไรที่ยังไม่ได้ทำ คำตอบคือ

อยากเล่นเปียโน และเข้าครัวทำอาหาร เพราะซื้อตำราทำอาหารไว้เยอะมาก

"จะสนุกอะไร ไปยกร่างรัฐธรรมนูญกับอาจารย์อมร จันทรสมบูรณ์ ไม่ดีกว่าหรือ "
ผมถามอาจารย์อักขราทร เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา

คำตอบคือ ไม่สนใจ เพราะต่อให้เขียนรัฐธรรมนูญดีอย่างไร
นักการเมืองมันไม่เอาก็เป็นแค่กระดาษ เสียเวลาเปล่า

ดร.อักขราทร เชื่อว่า
โอกาสจะปฎิรูปการเมืองจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อมี Stateman

ที่เป็นคนดีและคนกล้า เท่านั้น
กระโดดเข้ามาเขียนกติกาใหม่เพื่อประโยชน์ของส่วนรวม

นี่ก็เป็นประเด็นหนึ่งที่ผมไม่ค่อยเห็นด้วยกับ ศ. ดร. อักขราทร

เพราะผมเองไม่เชื่อใน Stateman เพราะ Stateman
ตัวเป็นๆ ที่ปลอดจากความโลภความหลง อัตตาส่วนตัว และปลอดจากพวกพ้อง

ผมไม่เคยเห็น และไม่คิดว่าในอนาคตจะมี Stateman โผล่ขึ้นมา
เอาเวลาคิดเรื่อง Stateman ไปทำเรื่องอื่นดีกว่า

ผมเชื่อว่า สังคมไทยต้องเรียนรู้และผ่าน
บททดสอบประชาธิปไตยกันไปอย่างนี้แหละครับ

จนกว่าจะแบ่งปันผลประโยชน์และอำนาจกันลงตัวของทุกสถาบัน

และแม้ว่าจะต้องตายกันอีกเป็นเบือ
ดังนั้นสำหรับผมแล้ว ไม่มีทางลัด
ไม่มี Stateman ไม่มี ปาฎิหารย์ อะไรทั้งสิ้น !!!


เช่นเดียวกับเรื่อง การทำหน้าที่ของสื่อ
ผมเคยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรื่องนี้กับท่านประมุขศาลปกครอง
ท่านบอกว่า สื่อไม่จำเป็นต้องเป็นกลาง ขอให้มีจุดยืนที่ถูกต้องก็เพียงพอ

ผมค้านว่า ไม่ดีแน่ ถ้าสื่อไม่เป็นกลาง
นำเสนอความจริงเพียงครึ่งเดียว
อันตรายที่สุด เพราะสื่อพวกนี้

จะนำสังคมเข้ารกเข้าพงได้โดยง่าย อย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้

" สู้ให้สื่อนำเสนอความจริงทั้งสองด้าน แล้วให้คนอ่าน
ตัดสินใจเอาเองว่า จะเลือกเชื่อใครดีกว่ากัน ? "
ผมบอกท่านไปอย่างนั้น

ผมเชื่อของผมเองว่า สื่อที่เสนอความจริงด้านเดียว
แย่ยิ่งกว่า นักข่าวเขียนข่าวเท็จ เสียอีก
เพราะเขียนข่าวเท็จ ชาวบ้านทั้งตลาดก็รู้ว่า มันโกหก

แต่สื่อพวกที่เสนอความจริง ด้านเดียว

มันคือยาพิษ ดีๆ นี่เอง (ครับ) เสพข่าวเท็จโดยไม่รู้ตัว

จริงๆ แล้ว ผมสัมภาษณ์ ท่านอักขราทร นับครั้งไม่ถ้วน
ส่วนใหญ่แล้วเห็นพ้องด้วยในหลักวิชาการ
และหลักกฎหมายทุกเรื่องทุกประเด็น


มีเพียงเรื่อง สื่อ กับ เรื่องตุลาการภิวัตน์ เท่านั้นเอง ที่ผมเห็นต่าง (ครับ)

แต่ทั้งหมด ผมฟันธงว่า

ท่านเป็นตุลาการศาลปกครองสูงสุดที่กราบไหว้ได้สนิทใจ (ครับ)
ทั้งในฐานะอาจารย์สอนกฎหมาย

เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา และประมุขศาล


Sep 9, 2010

"บริษัท ไม่ตัน"รกรากธุรกิจใหม่ของเจ้าพ่อ "ตัน"




มติชน
วันที่ 09 กันยายน พ.ศ. 2553

"บริษัท ไม่ตัน"รกรากธุรกิจใหม่ของเจ้าพ่อ "ตัน"
รับ"พนง.ฐานะหุ้นส่วน" 9คน แค่ส่งคลิปทางเฟซบุ๊ค


"ชีวิตนี้ไม่มีทางตัน" เป็นคำพูดที่ ตัน ภาสกรนที
ยอดนักธุรกิจชั้นนำของประเทศไทยกล่าวเริ่มต้น
ในงานเปิดตัว "บริษัท ไม่ตัน จำกัด"
แน่นอนว่าไอเดียธุรกิจใหม่นี้สั่นสะท้านวงการตลาดอีกครั้ง
หลังจากที่โด่งดัง กับธุรกิจเครื่องดื่มยอดฮิตมาแล้ว
ซึ่งการเปิดตัวบริษัทใหม่ครั้งนี้
ตันชูโรงแนวคิดทางธุรกิจแบบน่าฟังว่า "ภารกิจ" ของตน ไม่ใช่ "ธุรกิจ"
ทำธุรกิจไปพร้อมวางเป้ามอบกำไรส่วนตัวของตนถึง 50%
เพื่อช่วยการกุศลด้วย

นำเสนอไอเดียของตัวเองพร้อมเหตุผลว่า
ทำไมคุณตันถึงต้องเลือกคุณเข้าทำงานด้วย
ส่งได้ตั้งแต่วันนี้จนถึง 9 ตุลาคม 2553
และจะคัดเลือกผู้ที่โดนตา โดนใจ 19 คนสุดท้าย เข้า Workshop
กับคุณตันพร้อมทีมครีเอทีฟแถวหน้าของเมืองไทย
จากนั้นจะคัดเลือกผู้ชนะเลิศจำนวน 9 คน
รับรางวัลหุ้นมูลค่า 300,000 บาทอีกทั้งยังได้ร่วมทำงานกับ "บริษัท ไม่ตัน"
ในตำแ
หน่งพนักงานและหุ้นส่วนด้วย


"การ ที่ผมจะเลือกพนักงานที่มีฐานะหุ้นส่นด้วย
ผมคงไม่ได้เลือกที่คนนี้สวย หล่อ แต่สิ่งที่เราเข้าใจตรงกันว่า
คุณเข้าใจภารกิจที่ผมจะทำ และยินดีที่จะทำมัน" ตันเผย
เมื่อได้ขุนพลที่จะมาทำงานแล้ว บริษัท ไม่ตัน
พร้อมจะเดินหน้าโครงการต่อไปอย่าง "ราเมนแชมเปี้ยน"
ที่คุณตันอุตส่าห์ไปรวบรวม 6 ร้านราเมนยอดฮิต
ที่ได้รับรางวัลจากรายการทีวีแชมเปี้ยนประเทศญี่ปุ่น
และพร้อมจะเปิดให้บริการในเดือนพฤศจิกายนนี้แล้วที่อารีน่า 10 ทองหล่อซอย 10
นอกจากนี้ คุณตันยังเผยอีกว่ากำลังดูลู่ทางและพัฒนาธุรกิจผลิตเครื่องดื่มใหม่ๆที่เน้น
แนวเกษตรของไทยอย่างสมุนไพร ผัก ผลไม้ออร์แกนิค
ซีอีโอสุดล้ำยังแอบแย้มอีกว่าสนใจตะไคร้
และอัญชันจากเชียงรายเป็นพิเศษ
ผู้บริโภคอย่างเราคงต้องอดใจรอยลโฉมและลิ้มชิมรสชาติของเครื่องดื่มยุคใหม่
จากมันสมองของคุณตัน
คาดว่าปีหน้าคงได้ลิ้มลองสินค้าตัวแรกๆของคุณตันแน่นอน

ใครที่รู้ตัวว่าอายุเข้าข่าย จะเป็นคนที่เพิ่งจบใหม่
หรือคนที่ทำงานสายอะไรก็ตาม
มีโอกาสเป็นหนึ่งในหุ้นส่วนได้ด้วยการส่ง
clip ความยาวไม่เกิน 2 นาที ผ่านทาง
www.facebook.com/tanmaitan

เมื่อ เผยถึงโครงการของบริษัทใหม่แล้ว
คุณตันยังเผยแนวคิดชูโรงว่า สิ่งที่ทำในตอนนี้
ไม่ได้เป็นการทำธุรกิจแต่เป็นการทำภารกิจ
หรืออาจมองได้ว่าเป็นธุรกิจเพื่อภารกิจ โดยยกตัวอย่างว่า
การทำธุรกิจแต่เดิมที่เคย "ทำ 100 ได้ 100 " คือ
การทำธุรกิจทำไป 100 เมื่อเราได้กลับมา 100
ก็จะเป็นของเราทั้งหมด แต่การทำ 100 เพื่อ 100
คือการทำเต็มที่เพื่อ "คนเป็นร้อยๆคน"
ด้วยความที่คุณตันทำธุรกิจมายาวนานกว่า 20 ปีที่ทำธุรกิจ
คุณตันล้มลุกคลุกคลานเสมอและมักได้รับความช่วยเหลือมาโดยตลอด
สิ่งที่ค้างคาในใจมาตลอดชีวิตว่าอยากเป็นผู้ให้บ้าง
เพราะฉะนั้น การ ทำธุรกิจเพื่อภารกิจของ"บริษัท ไม่ตัน"
คือการมอบกำไรส่วนตัวของคุณตันและคุณสุนิสา สุขพันธุ์ถาวร
ภรรยาคู่ชีวิต 50 % มอบให้ "มูลนิธิตันปัน"
มูลนิธิการกุศลตั้งแต่ปีแรกที่เริ่มธุรกิจ และหลังจากอายุ 60 ปี


คุณตันกล่าวเสริมว่า มูลนิธิตันปัน
เป็นมูลนิธิที่ช่วยเข้าไปพัฒนาเรื่องที่สำคัญในสังคมคือ
มุ่งเน้นเข้าไปทำงานการศึกษา ซึ่งถือว่าเป็นโอกาสสำคัญ
สำหรับคนในสังคมพร้อมกับงานด้านสิ่งแวดล้อมให้เกิดประโยชน์ตอบแทน
ทั้งนี้ สิ่งสำคัญที่อยากทำคือต้องการเป็นตัวอย่างให้กับคนรุ่นใหม่ว่าการทำธุรกิจ
ไม่ใช่เมื่อประสบความสำเร็จแล้วต้องมีเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ


"มรดกเราจะไปมอบให้ลูกตอนที่เราจะตายแล้ว
ผมเลยบอกกับครอบครัวว่า ถ้าจะทำดีให้ทำตอนที่มีชีวิตอยู่
ไม่ใช่ไปทำตอนที่ตายแล้วจึงมาไหว้ไก่
คนที่ตายก็ไม่ได้กิน หนำซ้ำคนไหว้ยังเอาไปกินเองหมดอีก" คุณตันกล่าว

คุณตันกล่าวเสริมว่า มูลนิธิตันปัน
เป็นมูลนิธิที่ช่วยเข้าไปพัฒนาเรื่องที่สำคัญในสังคมคือ
มุ่งเน้นเข้าไปทำงานการศึกษา ซึ่งถือว่าเป็นโอกาสสำคัญ
สำหรับคนในสังคมพร้อมกับงานด้านสิ่งแวดล้อมให้เกิดประโยชน์ตอบแทน
ทั้งนี้ สิ่งสำคัญที่อยากทำคือต้องการเป็นตัวอย่างให้กับคนรุ่นใหม่ว่าการทำธุรกิจ
ไม่ใช่เมื่อประสบความสำเร็จแล้วต้องมีเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ