Custom Search

Oct 31, 2020

‘ฌอน คอนเนอรี่’ ดาวดังระดับตำนาน ลาโลกในวัย 90

มติชน

31 ตุลาคม 2563

007

สำนักข่าวบีบีซีของอังกฤษรายงานว่า เซอร์ฌอน คอนเนอรี่

นักแสดงชาวอังกฤษผู้ซึ่งโด่งดังในฐานะนักแสดงที่ทำให้บท “เจมส์ บอนด์”

สายลับอังกฤษสุดหล่อเจ้าเสน่ห์เป็นที่จดจำ เสียชีวิตแล้วขณะมีอายุได้ 90 ปี

คอนเนอรี่รับบทนำในภาพยนตร์ดังกล่าวที่ส่งให้เขาโด่งดังและเป็นที่รู้จักทั่วโลกยาวนานถึง 7 เรื่อง

และยังรับบทที่เป็นที่จดจำในเรื่องอินเดียนาโจนส์ร่วมกับแฮร์ริสัน ฟอร์ด

อาชีพนักแสดงของเขายืนยาวมาหลายทศวรรษ เขายังได้รับรางวัลมากมาย

ที่เป็นเครื่องยืนยันถึงความสำเร็จบนเส้นทางแห่งดวงดาว

ไม่ว่าจะเป็นรางวัลออสการ์ รางวัลแบฟตา 2 รางวัล และลูกโลกทองคำ 3 รางวัล

คอนเนอรี่ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นอัศวิน

ซึ่งทำให้ใช้คำนำหน้าชื่อว่าท่านเซอร์จากสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งอังกฤษ เมื่อปี 2543

เบื้องต้นยังไม่มีรายละเอียดของสาเหตุการเสียชีวิตของนักแสดงระดับตำนานผู้นี้

โดยเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา เขาเพิ่งจะฉลองวันเกิดอายุครบ 90 ปีของตนเอง

ก่อนที่จะมีข่าวเสียชีวิตออกมา



Oct 27, 2020

ถึงกับบรรลัย !!! กรรชัย "โหนกระแส" | #คุยให้เด็กมันฟัง

 

https://th-th.facebook.com/nanake555/



หัวใจให้เธอ Ost.ร้อยเล่ห์มารยา | ออกัส วชิรวิชญ์ & โบว์ลิ่ง มานิดา | Official MV

 



ศิลปิน ออกัส วชิรวิชญ์ & โบว์ลิ่ง มานิดา
คำร้อง ธาดากร 
ทำนอง/เรียบเรียง จักรกฤษณ์ มัฆนาโส


27 ตุลาคม ระลึกถึงพี่เต๋อ เรวัต



เต๋อ 3 (พ.ศ. 2529)
 

https://www.facebook.com/TributeToRewat/

1) เพลง สองเราเท่ากัน ดนตรีเพลงนี้เป็นฝีมือของ
วิชัย อึ้งอัมพร
ซึ่งดูช่วงอินโทรจะเป็นคล้องคล้ายกับเพลง Drive
ของวง The Cars
แต่ทั้งหมดแล้วก็คือความพอใจของพี่เต๋ออย่างมากเหมือนกัน
สิ่งแรกก็คือพี่เต๋อภูมิใจ
เพราะมันคือความแปลกใหม่ในวงการเพลงไทย พี่เต๋อบอกว่า
"ผมกล้าพูดได้ว่า ผมเป็นคนแรกที่กล้าพูดด้วยเพลง
ผมพูดมันเรื่อยเปื่อยเฉื่อยแฉะไปเลย
เพราะเพลงไม่จำเป็นจะต้องร้องหมด
พูดก็ได้เพราะเพลงต้องการสร้างสรรค์ไงละครับ
ถ้าพูดหมดมันก็เลื่ยน"
(ขอบคุณข้อมูลจาก Quiet Storm ฉบับที่ 63
ประจำเดือนกันยายน 2529)







00:00 หมั่นคอยดูแลและรักษาดวงใจ - เบิร์ด ธงไชย
03:38 มีเธอ - เบิร์ด ธงไชย
08:26 รักเราไม่เก่าเลย (รักของเรายังใหม่) - กบ ทรงสิทธิ์
12:40 ขอเป็นคนหนึ่ง - นันทิดา แก้วบัวสาย
16:10 เรามีเรา - แหวน ฐิติมา
25:55 สองเราเท่ากัน - เต๋อ เรวัต (*)
19:38 เพียงแค่ใจเรารักกัน - วิยะดา โกมารกุล ณ นคร
22:46 ทอฝัน - นก สินจัย
33:20 รางวัลที่ยิ่งใหญ่ - มิ้นท์ อรรถวดี
29:42 เล็กๆ น้อยๆ - ปั่น ไพบูลย์เกียรติ,มาลีวัลย์ เจมีน่า

2) เพลงที่สองของเทปหน้าหนึ่ง สมปองน้องสมชาย
ซึ่งพี่เต๋อให้สัมภาษณ์ไว้ในหนังสือ Quiet Storm ฉบับที่ 63
ว่า "ผมเป็นคนที่ไม่เคยหลอกตัวเอง
มันเป็นความผิดที่ใหญ่หลวงมาก เพลง สมปองน้องสมชาย
มีคนมากระแนะกระแหนผมว่า
เฮ้ย...นี่มันเพลง The Cisco Kid" The Cisco Kid
เป็นเพลงของ The War ในอัลบั้ม The World is A Ghetto
เมื่อปี 1972 เป็นเพลงที่ผมชอบมากเพลงหนึ่ง
พี่เต๋อยังกล่าวต่อไปอีกว่า
"ผมถือว่าทุกคนต้องมีอิทธิพลผลักดันอยู่ข้างหล้ง
เมื่อมีคนมาว่าอย่างนี้ โอ้โฮ...ผมยืนยันได้เลยว่า
คือผมบอกได้ว่าผมเป็นคนคิด ใครบอกว่าผมลอกมา
ผมเปล่าฮะ ผมหยิบส่วนดีของ The Cisco Kid มาใส่
ผมหยิบทำนอง The Cisco Kid มาใส่ร้อยเปอร์เซนต์
ระหว่างของเก่ากับของใหม่คือการเติบโต
สมปองเป็นแนวของ The War ครับ
ทำเรียบเรียงทุกอย่างใหม่หมด
ของผมทำดีกว่า The Cisco Kid ชัวร์เลย"




พี่เต๋อ ทำการปฏิวัติเพลงไทย ด้วยการนำเอาแนวเพลงสากลมา 'ตัดต่อพันธุกรรม' ใหม่แล้วใส่เนื้อร้องภาษาไทยเข้าไปจนแทบจำไม่ได้ว่ามาจากเพลงอะไร


3) เพลงที่สามในอัลบั้มนี้ เพลง ไม่สายเกินไป
ได้ไปขอยืมแนวเพลงของวง Sade
ชื่อเพลง Smooth Operator มา
เอามาใส่เนื้อร้องที่เป็นแนวคิดของพี่เต๋อที่ว่า
"ปรัชญาคนรักกัน ทุกคนต้องกระทบกันเมื่ออยู่ใกล้กัน เป็นเรื่องปกติของคนรักกันทุกคู่ในโลก
เมื่อรักกันแรก ๆ ทั้งคู่จะให้ซึ่งกันและกัน ต่างคนต่างยอมเสียบางสิ่งบางอย่างของตนเอง
เมื่อความรักจืดจางลงไป ความเป็นตัวของตัวเองก็จะเริ่มแสดงออกมามากขึ้น
แต่ถ้าต่างฝ่ายต่างปรับใจเข้าหากัน ปัญหาก็จะสามารถคลี่คลายไปได้
ซึ่งจะต้องขึ้นอยู่กับคนสองคนนี้ด้วยว่า รักกันจริงแค่ไหนและรักกันจริงรึเปล่า"



โลเคชั่นที่พี่เต๋อเดินอยู่คือ ซอยพัฒน์พงศ์ นั่นเองครับ
สมัยนั้น ยังไม่มีแผงขายของเหมือนเดี๋ยวนี้
ตอนจบที่เห็นรถโฟร์โมสต์จอดอยู่นั้นคือ ฟู้ดแลนด์ ครับ

4) เพลง เมืองใหญ่เมืองนี้ บันทึกการแสดงสดจาก คอนเสิร์ตปึ๊กกก
ตอนที่พี่เต๋อทำเพลงนี้ลงเทป พี่โอม ชาตรี คงสุวรรณ ยังไม่ได้เข้ามาร่วมทำเทปด้วย
แต่ตอนพี่เต๋อจะทำคอนเสิร์ต พี่เต๋อฟังเพลงจากอัลบั้มเพียงกระซิบ ของอินโนเซนท์
แล้วหลุดปากออกมาประโยคหนึ่ง "เด็กคนนี้อนาคตไกล"
จากนั้น พี่เต๋อก็ไปชักชวนให้พี่โอมมาแจมคอนเสิร์ตปึ๊กกกด้วยกัน


เอื้อเฟื้อภาพ www.newtv.co.th

งานทำบุญเพื่อระลึกถึงการจากไปครบรอบ 24 ปี ของ “เต๋อ – เรวัต”

อรุยา พุทธินันทน์ และครอบครัว จัดงานทำบุญเพื่อระลึกถึงการจากไปครบรอบ 24 ปี ของ
“เต๋อ – เรวัต พุทธินันทน์” โดยมี ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม
ประธานกรรมการบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน),
เบิร์ด – ธงไชย แมคอินไตย์, ตู่ – นันทิดา แก้วบัวสาย และโปรดิวเซอร์,
นักแต่งเพลง ร่วมงาน ณ อาคาร จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เพลส
โดยวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2563 คือ วันครบรอบ 24 ปี
การจากไปของสุภาพบุรุษผู้พลิกวงการเพลงไทย

"เต๋อ เรวัต พุทธินันทน์" ผู้ก่อตั้ง จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
นายเรวัต พุทธินันทน์ หรือ “เต๋อ”
เกิดวันที่ 5 กันยายน พ.ศ.2491 ที่กรุงเทพมหานคร
เป็นบุตรชายคนที่ 4 ของนาวาตรี ทวี
และ นางอบเชย พุทธินันทน์ มีพี่น้องรวม 6 คน
จบชั้น ม. 5 ที่โรงเรียนเซนต์คาเบรียล
หลังจากนั้นเข้าศึกษาในคณะเศรษฐศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จนจบปริญญาตรี
เริ่มทำงานตรั้งแรกโดยเล่นดนตรีกับวง The Impossibles
ในตำแหน่งนักร้องนำและคีย์บอร์ด เมื่อ The Impossilbles เลิกวง
ได้ตั้งวงดนตรีขึ้นใหม่ชื่อ The Oriental Funk

ในปี 2526 ได้ร่วมก่อตั้ง บริษัท แกรมมี่ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด
กับนายไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม ตำแหน่งสุดท้ายคือ
ประธานกรรมการ บริษัท แกรมมี่ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน)

สมรสกับนางอรุยา (สิทธิประเสริฐ) เมื่อ ปี 2517 มีบุตรสาว 2 คน
ถึงแก่กรรมเมื่อ วันที่ 27 ตุลาคม 2539 ขณะอายุ 48 ปี ด้วยโรคเนื้อร้ายในสมอง
เต๋อ เรวัต พุทธินันทน์ คือบุคคลที่มีความสำคัญมากที่สุดของวงการเพลงไทย
เขาเป็นทั้งศิลปินในประวัติศาสตร์
คนดังแห่งวงดิอิมพอสสิเบิล เป็นปรมาจารย์ของวงการเพลงไทย
และที่สำคัญที่สุด คือเขาเป็นผู้ปฏิวัติวงการเพลง
เป็นผู้ให้กำเนิดเพลงไทยสากล
กับวงการเพลงในประเทศไทย และทำให้คนไทยได้รู้จักคำว่า
"เพลงสตริง"

เต๋อ-เรวัต ถือเป็นศิลปินที่ยิ่งใหญ่
เป็นเจ้าของบทเพลงอมตะมากมาย
เช่นเพลง ยิ่งสูงยิ่งหนาว,ตะกายดาว,คงจะมีสักวัน,เจ้าสาวที่กลัวฝน,
ดอกไม้พลาสติก และอีกมากมาย
ซึ่งบทเพลงดังกล่าว ล้วนเป็นบทเพลงที่ทันสมัยที่สุดในยุคนั้น
เต๋อ เรวัต ยังเป็นผู้สร้างซูเปอร์สตาร์มาประดับวงการเพลงไทยมากมาย
ไม่ว่าจะเป็น เบิร์ด ธงไชย แมคอินไตย์
-ซุปเปอร์สตาร์อันดับ1ของประเทศ ,
แด๊นซซิ่งควีน-คริสติน่า อากีล่าร์ ,
สาวน้อยมหัศจรรย์-ทาทา ยัง,
ร็อกเกอร์สาว-แหวน ธิติมา,นักร้องเสียงคุณภาพ-ตู๋ นันทิดา,
ศิลปินมากลีลา-ติ๊ก ชีโร่,คู่ดูโอ้พี่น้อง-อัสนี-วสันต์ โชติกุล
,บอยแบนด์ยุคบุกเบิก-นูโว,วงร็อคในตำนาน-ไมโคร
รวมไปถึงวงดนตรีเด็กชื่อดังแห่งยุคอย่าง นกแล และอีกมากมาย
รวมไปถึงยังได้ปลุกปั้น บุคคลากรคุณภาพให้กับวงการเพลงไทยอีกหลายคนด้วยเช่นกัน
ทั้ง โอม ชาตรี คงสุวรรณ ,ปอนด์ ธนา ลวสุต ,ป้อม อัสนี โชติกุล,
เอก ธเนศ วรากุลนุเคราะห์,เป็ด มนต์ชีพ ศิวะสินางกูร,อภิไชย เย็นพูนสุข
ซึ่งแต่ละคนก็ล้วนแล้วแต่เป็นโปรดิวเซอร์มือทองของประเทศทั้งนั้น
ทุกวันนี้เพื่อนพ้องน้องพี่ในวงการเพลง ก็ต่างยังคงระลึกถึง
และยึดแบบอย่างพี่ชายใจดี มีหนวดเป็นเอกลักษณ์
เฉพาะตัว เต๋อ เรวัต พุทธินันทน์ คนนี้ไม่เสื่อมคลาย






Oct 23, 2020

23 ตุลาคม 2563 นับเป็นวันครบรอบ 109 ปี แห่งการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราโชวาทพระราชทานแก่คณะนักเรียนไทยในต่างประเทศ

ความบางตอนว่า

“ให้พึงนึกในใจไว้ว่าเราไม่ได้มาเรียนจะเปนฝรั่ง

เราเรียนเพื่อจะเปนคนไทยที่มีความรู้เสมอด้วยฝรั่ง”

พุทธศักราช ๒๔๔๐ 

 

 

Oct 20, 2020

สืบสานปณิธานอาจารย์ป๋วย 100 ปี ชาตกาล ป๋วย อึ๊งภากรณ์ (1916 -2016)


ที่มา จุลสารเตรียมงานรำลึก ๑๐๐ ปี ชาตกาล ป๋วย อึ้งภากรณ์

ชาตกาล สืบสานปณิธาน ป๋วย อึ้งภากรณ์

ดินตามรอย ป๋วย อึ้งภากรณ์


สมัยผมเด็กๆ สมัยนั้นเป็นสมัยปลายๆจอมพล ป.

เป็นสมัยที่ประชาชนมีกระแสต่อต้านคนจีน

พ่อผมรับราชการอยู่กระทรวงคลังเป็นคลังจังหวัดอยู่ภูเก็ตอยู่กรมบัญชีกลาง
ตอนเด็กๆผมชอบวาดรูปจะมีหนังสือประจําปีของวารสารกรมบัญชีกลาง
เราก็จะรู้จักชื่อของอธิบดีส่วนใหญ่ก็จะเป็นคนที่ มียศศักดิ์เป็นเจ้าเป็นอะไรพวกนี้
ในรูปก็จะใส่เสื้อเครื่องยศเครื่องราชย์อะไรอย่างนี้
ผมก็วาดรูปเพราะรู้สึกว่าชื่นชม แต่อาจารย์ป่วยไม่ได้เป็นอธิบดีนะครับ
เห็นในรูปก็ใส่เสื้อเชิ้ตไม่มีอะไร ชื่อจีนอีก ผมก็ไม่วาดรู้สึกว่าไม่อยู่ในความสนใจของเรา
แต่เนื่องจากกรมบัญชีกลางต้องทํางานสัมพันธ์ กับกระทรวงต่างประเทศ
ก็จะมีชื่อ ป๋วย อึ้งภากรณ์ อธิบดีเขาก็มาพักบ้านเรา
เพราะบังเอิญว่าบ้านพักคลังที่ภูเก็ตจะมีขนาดใหญ่หน่อย
เป็นบ้านพวกนายเหมืองเก่าแล้วถูกยึดมา
ที่นี้ต่างจังหวัดเมื่อก่อนพวกอธิบดีก็ต้องมาตรวจงาน ต่างจังหวัด
ก็ไม่มีโรงแรมเหมือนสมัยก่อน ก็เลยมีขนาดใหญ่ที่จะรับรองอธิบดี
พออธิบดีมา ครอบครัวเราพ่อแม่ลูกก็ต้องมาอยู่ข้างล่าง
เราเป็นเด็กก็ต้องไปเสริฟน้ำ เสริฟอะไรก็ไม่ทักทายไม่ทําความรู้จัก
เพื่อให้อธิบดีอยู่ข้างบนคนเดียว มาพักค้างอยู่สองสามคืน
ไม่เคยพูดกับเราสักคําเลย มาอยู่แบบผู้ใหญ่คนละชนชั้นกัน
กลางคืนก็ไปนัดพวกนายเหมืองมาเล่นไพ่นกกระจอกไฟจีน
อาจารย์ป่วยตอนนั้นเป็นผู้ว่าแบงค์ชาติ พ่อผมเป็นคลังจังหวัด
ก็ถือว่าเป็นสาขาของแบงค์ชาติโดยหน้าที่ พ่อตื่นรึยัง ท่านก็ตะโกน เรียกพ่อผม
พ่อผมก็นุ่งผ้าขาวม้าออกมาก็พูดคุยกันเอง อาจารย์ป่วยก็มาตรวจงาน
แต่ท่านก็ไม่ได้มานอนพักบ้านเรา คงจะเกรงใจ ก็มาพักโรงแรมเล็กๆแถวๆบ้าน
เช้าๆบ้านพักมันกว้างหน่อย ตอนนั้นผมสัก ป.๔ ก็ออกมากวาด ลานบ้าน
อาจารย์ป่วยก็เดินมา เห็นเรากวาดก็มาถามไถ่เอามือลูบหัว เรียนที่ไหนอย่างไร
แล้วบอกว่าปลูกพ่อได้ไหม ฝากงานฝากการบ้าง สังคมสมัยก่อนเป็นสังคมแบบอุปถัมภ์
เราก็เลยรู้สึกว่ามันตรงกันข้ามกับที่เราคิด ไม่ถือตัวเลยถามไถ่เราละเอียด
ที่นี้ความรู้สึก ก็เปลี่ยน จากที่ดถูกคนจีน นั้นเป็นประสบการณ์ตอนเด็กๆ
อีกครั้งหนึ่งตอนพี่สาวผมเรียนเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์
ผมเด็กๆเป็นเลขาพ่อก็เป็นข้าราชการต่างจังหวัด ก็ไม่ได้ใหญ่โตอะไรก็ใช้
เด็กๆ ก็มีคนมาฝากลูกฝากหลานเรียนหนังสือ เพราะเชื่อว่ามีคุณสมบัติ
ถ้าใช้ความสามารถตัวเองน่าจะไปสอบได้ ที่นี้พ่อผมให้ผมเขียนจดหมายถึงอาจารย์ป๋วย
พ่อก็นอนนุ่งผ้าขาวม้าสูบบุหรี่ก็บอกให้ผมเป็นคนจดตามที่พ่อบอก
เนื้อหาก็ขอให้อาจารย์ช่วยฝากงานให้พี่สาวหน่อย
สักอาทิตย์หนึ่งอาจารย์ป่วยก็ตอบกลับมาเป็นลายมืออาจารย์ป่วยเอง
ว่าวันนี้ไปประชุมที่ธนาคารกรุงไทย เห็นติดประกาศว่าจะรับพนักงานจบใหม่ก็เลย
แนะนําให้ลองไปสมัครดู อาจารย์ป่วยนี่เป็นแบบอย่างของคนที่เสียสละเพื่อชาติ เพื่อสังคม
และเป็นคนธรรมดาที่เป็นแบบอย่างในแง่ของการประหยัดมัธยัสถ์
เราก็รู้สึกว่าอาจารย์เขียนมาเอง เป็นการเอาใจใส่ ผมก็จะชอบมากเลย
ที่อาจารย์ให้เราแบบว่ารู้จักพึ่งตนเอง แต่พ่อก็จะผิดหวังหน่อยๆ
สักเดือนหนึ่งอาจารย์ป่วยก็มีจดหมายมาอีกว่า
วันนี้ไปประชุมแบงค์เห็นประกาศ ดีใจด้วยที่สอบได้ ท่านเอาใจใส่มาก
ทั้งๆที่คนอย่างพ่อผมก็ไม่มีโอกาสอะไรที่จะไปตอบแทนเขา
ผมก็เลยรู้สึกว่าอาจารย์มีความเป็นมนุษย์สูง มีเมตตา มีความอดทนสูงใจเย็น
ไม่ยอมอ่อนตามสถานการณ์เพื่อประโยชน์ส่วนตัว
แม้กระทั่งจะต้องไปเสียชีวิตที่ต่างประเทศ ซื่อสัตย์ อุทิศชีวิตให้แก่ส่วนรวม
จริงๆ แล้วก็มีคุณปการต่อประเทศในหลายๆมิติ ทั้งมิติสังคมและการศึกษา
ซึ่งก็นับว่าหายากในสังคมไทยนะครับ ที่สําคัญคือว่าสังคมไทยไม่ค่อยยกย่องสามัญชน
ก็เป็นเหตุให้เราขาดความเชื่อมั่นในตัวเอง ทําให้เราเป็นพลเมืองมีพลัง
อาจารย์ป่วยก็เป็นสามัญชนที่เป็นแบบอย่างที่น่ายกย่อง 
อย่างที่บอกครับ เป็นผู้หลักผู้ใหญ่ที่ทํางานเพื่อชาติ มีความกล้าหาญทางจริยธรรม


ธีรพล นิยม ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรม) ประจำปี พ.ศ. 2556 


พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร









Oct 3, 2020

3 ตุลา วันเอกภาพเยอรมนี | 3. Oktober: Tag der Deutschen Einheit



การรวมประเทศเยอรมนี เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1990

เมื่อสาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี และสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี

รวมประเทศกันเป็นเยอรมนีเดียวที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย

และได้รวมเบอร์ลินตะวันออกและเบอร์ลินตะวันตกเป็นนครหนึ่งเดียว

ด้วยเช่นกันกระบวนการนี้ถูกระบุไว้โดยรัฐธรรมนูญ กรุนด์เกอเซทซ์ มาตรา 23

และเมื่อกระบวนการนี้สิ้นสุดลงก็ถูกขนานนามว่า เอกภาพเยอรมนี

ซึ่งจัดการเฉลิมฉลองทุกวันที่ 3 ตุลาคมของทุกปีในฐานะ

วันเอกภาพเยอรมัน จากการรวมประเทศในครั้งนี้

ส่งผลให้กรุงเบอร์ลินถูกยกฐานะขึ้นเป็นเมืองหลวงของเยอรมนีอีกครั้งหนึ่ง

จุดเริ่มต้นของการรวมประเทศเกิดขึ้นในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1989

เมื่อระบอบการปกครองของเยอรมนีตะวันออก

เริ่มสั่นคลอนจากการที่สาธารณรัฐประชาชนฮังการี

เปิดพรมแดนด้านที่ติดกับออสเตรีย ส่งผลให้เกิดช่องโหว่

ในแนวม่านเหล็กและเกิดการอพยพขนานใหญ่ของชาวเยอรมันตะวันออกจำนวนหลายพันคน

ซึ่งหลบหนีออกจากประเทศไปยังฝั่งตะวันตกและออสเตรีย

โดยใช้ฮังการีเป็นทางผ่าน นอกจากนี้การปฏิวัติอย่างสงบ

ซึ่งเป็นระลอกการประท้วงของชาวเยอรมันตะวันออกยังส่งผล

ให้เกิดการจัดการเลือกตั้งเสรีขึ้นเป็นครั้งแรก

ในเยอรมนีตะวันออกเมื่อวันที่ 18 มีนาคม ค.ศ.1990