Custom Search

May 31, 2023

น้อมรำลึกเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันทิวงคต สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี (๓๑ พฤษภาคม)

น้อมรำลึกเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันทิวงคต สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี (๓๑ พฤษภาคม)

สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี อัครมเหสี ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เสด็จทิวงคต

เมื่อวันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๒๓ พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพชรรัตน์ พระราชธิดา

ในแม่น้ำเจ้าพระยา ณ ตำบลบางพูด อำเภอปากเกร็ด

จังหวัดนนทบุรี

โดยเรือพระประเทียบล่มขณะกำลังเสด็จประพาสพระราชวังบางปะอิน

สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ เป็นพระราชธิดาของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔

และสมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา (เจ้าจอมมารดาเปี่ยม)

ทรงพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๐๓

ได้รับพระราชทานนามจากสมเด็จพระราชบิดาว่า

พระองค์เจ้าหญิงสุนันทากุมารีรัตน์

ต่อมาพระองค์ได้เป็นอัครมเหสีในรัชกาลที่ ๕

และได้ประสูติพระราชธิดาองค์แรกคือ

สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงกรรณาภรณ์เพชรรัตน์

เมื่อวันที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๒๑

ขณะนั้น อาจกล่าวได้ว่า พระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์

ทรงเป็นที่โปรดปรานเสน่หาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชสวามีเป็นอย่างมาก

อย่างไรก็ตาม ความชื่นชมโสมนัสของรัชกาลที่ ๕

ได้สิ้นสุดลงเมื่อเกิดอุบัติเหตุอย่างไม่คาดคิด

พระองค์ทรงประสบกับความสูญเสียครั้งสำคัญ

แต่เหตุการณ์ครั้งนั้นกลับไม่ได้ผ่านพ้นไปตามกาลเวลา

ความผูกพันที่รัชกาลที่ ๕ ทรงมีต่อสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์และพระราชธิดา

ปรากฏนอกเหนือจากการเตรียมงานพระศพอย่างสมพระเกียรติแล้ว

ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างสิ่งของถวายเป็นพระราชกุศลอย่างการหล่อพระพุทธรูปฉลองพระองค์

แต่ที่สำคัญไม่น้อยกว่ากันคือการสร้างถาวรวัตถุเพื่อเป็นเครื่องระลึกถึงหลายแห่งที่ยังคงอยู่มาจนปัจจุบัน อาทิ

โรงเรียนสุนันทาลัย อนุเสาวรีย์ที่สวนสราญรมย์ อนุเสาวรีย์ที่พระราชวังบางปะอิน

อนุเสาวรีย์ที่น้ำตกพลิ้ว จันทบุรี และพระเจดีย์ที่บางพูด นนทบุรี

เรื่องราวของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ และรัชกาลที่ ๕

สร้างความประทับใจแก่ราษฎร

โดยเฉพาะเรื่องของความรักและการพลัดพราก

ปัจจุบันศาลสมเด็จพระนางเจ้าฯ

หลังใหม่ของวัดกู้ได้กลายเป็นศูนย์กลางของพระองค์

ผู้คนที่มาสักการะยังศาลแห่งนี้มักมาด้วยความศรัทธา

รวมถึง “วังสวนสุนันทา” แรกเริ่มเป็นส่วนหนึ่งของ

“สวนสุนันทาอุทยาน”

อันมีชื่อมาจากสวนของพระอินทร์บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์และพระนามของ สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์พระบรมราชเทวี

ซึ่งถือเป็น เขตพระราชฐานและเป็นสถานที่ประทับ

พักผ่อนพระอริยาบถของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

โดยมีพระราชประสงค์โปรดเกล้าให้มีการจัดหาดอกไม้นานาพรรณ ปัจจุบันพื้นที่แห่งนี้ได้กลายเป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้ที่รู้จักกันใน

ชื่อ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

แม้กาลเวลาผ่านไปบุคลากร นักศึกษา แม้กระทั่งนักเรียน

ยังคงให้ความศรัทธาในสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์

เป็นอย่างมาก เปรียบเสมือนอศูนย์รวมจิตใจของทุกๆ คน

ซึ่งเหล่านักศึกษา นักเรียน รวมถึงบุคคลที่ทำงาน

ณ ที่แห่งนี้ ต่างแทนตัวเองว่า “ลูกพระนาง”

เพื่อรำลึกถึงสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์

พระบรมราชเทวี อัครมเหสี ในรัชกาลที่ ๕

*******************


ฝ่ายประชาสัมพันธ์และโสตทัศนูปกรณ์ กองกลาง สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

https://ssru.ac.th/
IG : ssru_official
Line: @482vxgab
Twitter : ssru_official
E-mail : pr@ssru.ac.th
#ssru #student #university #สวนสุนันทา #มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา #SuanSunandhaRajabhatUniversity

May 15, 2023

“พิธา” ประกาศชัยชนะพรรคก้าวไกล ขอบคุณความไว้วางใจล้นหลาม

https://www.thairath.co.th/news/politic/2694027


วันที่ 15 พ.ค. 2566 (เวลา11.30-13.30 น.)

พรรคก้าวไกลประกาศชัยชนะนำจัดตั้งรัฐบาล“พิธา ลิ้มเจริญรัตน์”

ประกาศพร้อมเป็นนายกฯ คนที่ 30 ขอบคุณความไว้วางใจจากทุกคะแนนเสียง

หลัง กกต. รายงานผลคะแนนเลือกตั้ง 2566 อย่างไม่เป็นทางการ พรรคก้าวไกลได้ ส.ส.

และคะแนนเสียงเป็นอันดับ 1 เมื่อเวลา 01.55 น. ของวันที่ 15 พฤษภาคม 2566

นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล และแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี

ได้ทวีตข้อความผ่านทวิตเตอร์ส่วนตัว ระบุถึงชัยชนะในการเลือกตั้ง 2566

หลังคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) รายงานผลคะแนนอย่างไม่เป็นทางการ

ข้อมูล ณ เวลา 01.45 น. ที่ผ่านมา อยู่ที่ 97% ผลปรากฏว่า

พรรคก้าวไกล มีคะแนนสูงสุดเป็นอันดับ 1 และได้ ส.ส.เขต 113 ที่นั่ง

ว่า ณ ขณะนี้เป็นที่ชัดเจนแล้วว่าพรรคก้าวไกลได้รับความไว้วางใจอย่างล้นหลาม

จากประชาชนทั้งประเทศ ก้าวไกลจะเป็นพรรคสำคัญในการจัดตั้งรัฐบาล

โดยจะมีการแถลงข่าวอย่างเป็นทางการจากพรรค

ในเวลา 12.00 น.ของวันที่ 15 พฤษภาคม และ 17.30 น.

จะขึ้นรถแห่ไปขอบคุณประชาชนที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย-ลานคนเมือง

May 14, 2023

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566

การเลือกตั้งทั่วไปในประเทศไทยครั้งที่ 27 จัดขึ้นเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 หลังจากที่มีการยุบสภาผู้แทนราษฎรไทยชุดที่ 25 เมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2566.

May 6, 2023

The Coronation of King Charles III and Queen Camilla


พระราชพิธีราชาภิเษกของสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร และพระอัครมเหสี สมเด็จพระราชินีคามิลลาแห่งสหราชอาณาจักร กำหนดจัดขึ้นในวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2566



สำนักข่าว TODAY ได้รวบรวมรายละเอียดและเกร็ดความรู้เกี่ยวกับพระราชพิธีบรมราชาภิเษกกษัตริย์พระองค์ใหม่แห่งราชวงศ์อังกฤษไว้ที่นี่ผสานราชประเพณีโบราณกับค่านิยมสมัยใหม่
พระราชพิธีบรมราชาภิเษกของสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 ถือเป็นเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 70 ปีในประวัติศาสตร์อังกฤษ โดยมีการวางแผนเตรียมการมายาวนานตั้งแต่
รัชสมัยของสมเด็จสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ภายใต้แผนการที่ใช้รหัสว่า ‘ปฏิบัติการลูกโลกทองคำ’ (Operation Golden Orb)
ขั้นตอนหลักในการประกอบพระราชพิธี ยังคงเป็นไปตามโบราณราชประเพณีของราชวงศ์อังกฤษที่ปฏิบัติสืบทอดมาเป็นระยะเวลากว่า 1,000 ปี โดยพระราชพิธีจะถูกจัดขึ้น ณ มหาวิหารเวสต์มินสเตอร์ ซึ่งเป็นสถานที่ประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกมาตั้งแต่สมัยที่
พระเจ้าวิลเลียม ผู้พิชิต หรือพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 เสด็จขึ้นครองราชย์ในปี ค.ศ. 1066 และสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 นับเป็นกษัตริย์องค์ที่ 40 ที่ประกอบพิธีราชาภิเษกที่มหาวิหารเวสต์มินสเตอร์แห่งนี้
พระราชพิธีจะเริ่มจากขบวนเสด็จพระราชดำเนินของสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 และพระราชินีคามิลลา
จากพระราชวังบังกิงแฮมไปยังมหาวิหารเวสต์มินสเตอร์ หรือที่เรียกว่า ‘the King’s procession’ (ขบวนแห่กษัตริย์) ซึ่งจะเปิดพื้นที่ให้ประชาชนเฝ้าชมตลอดเส้นทาง
โดยขบวนเสด็จนี้ได้เปลี่ยนจากราชประเพณีเดิมที่ใช้ราชรถทองคำเป็นพระราชพาหนะ มาเป็นราชรถพัชราภิเษก (Diamond Jubilee State Coach)
ซึ่งเป็นราชรถที่ใหม่ที่สุด สร้างขึ้นเมื่อปี 2012 เพื่อใช้ในงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แต่ในขบวนเสด็จพระราชดำเนินกลับหลังเสร็จพระราชพิธีจะยังคงใช้ราชรถทองคำ (Gold State Coach)
เป็นราชรถที่ประทับตามธรรมเนียมดั้งเดิม ซึ่งใช้มาตั้งแต่รัชสมัยของพระเจ้าวิลเลียมที่ 4 เมื่อปี 1831 มีการคาดการณ์ว่า
สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 อาจเลือกทรงฉลองพระองค์เครื่องแบบทหาร แทนฉลองพระองค์ตามแบบอย่างของกษัตริย์ในอดีต
ซึ่งเป็นเครื่องแต่งกายแบบบุรุษโบราณ สวมกางเกงสั้นเหนือเข่าและถุงเท้ายาว ความแตกต่างในพระราชพิธี จากควีนเอลิซาเบธถึงคิงชาร์ลส์ สำหรับพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3
จะไม่ยิ่งใหญ่เท่ากับพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 โดยได้มีการปรับเปลี่ยนและลดทอนบางขั้นตอนลง เพื่อปรับให้เข้ากับยุคสมัย
ระยะเวลาประกอบพระราชพิธีในโบสถ์ถูกกำหนดไว้ให้ใช้เวลาไม่เกิน 2 ชั่วโมง จากพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ซึ่งใช้เวลา 3 ชั่วโมง
และมีการลดจำนวนแขกที่ได้รับเชิญเข้าร่วมในพระราชพิธีลงเหลือเพียงราว 2,200 คน น้อยกว่าสมัยพระราชมารดา ซึ่งมีการเชิญแขกมาร่วมพระราชพิธีราว 8,000 คน
นอกจากนี้ สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 ยังทรงคัดสรรเพลงที่จะใช้บรรเลงในพระราชพิธีด้วยพระองค์เอง โดยโปรดให้มีการประพันธ์เพลงขึ้นมาใหม่ 12 เพลง
รวมถึงดนตรีแบบกรีกออร์ทอดอกซ์ เพื่อรำลึกถึงเจ้าชายฟิลิป พระราชบิดาของพระองค์ด้วย 
6 ขั้นตอนสำคัญ พระราชพิธีบรมราชาภิเษก
พระราชพิธีบรมราชาภิเษกจะประกอบไปด้วย 6 ขั้นตอนสำคัญ เริ่มจาก
ขั้นตอนที่ 1 รับรองสถานะความเป็นกษัตริย์พระองค์ใหม่ต่อปวงชน โดยอาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรี ผู้นำคริสตจักรแห่งอังกฤษ จะเป็นผู้ประกาศว่า สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3
เป็นกษัตริย์พระองค์ใหม่ ต่อหน้าบัลลังก์ราชาภิเษก หรือที่รู้จักกันในชื่อพระราชอาสน์เซนต์เอ็ดเวิร์ด (St Edward’s Chair)
ซึ่งเป็นบัลลังก์อายุ 700 ที่ใช้ในพระราชพิธีราชาภิเษกของกษัตริย์ในอดีตมาแล้วถึง 26 พระองค์
ขั้นตอนที่ 2 กล่าวคำสัตย์ปฏิญาณ ในขั้นตอนนี้ สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 จะทรงกล่าวคำสัตย์ปฏิญาณว่าจะทรงพิทักษ์รักษากฎหมายของแผ่นดินและศาสนจักรแห่งอังกฤษ
ขั้นตอนที่ 3 เจิมน้ำมันศักดิ์สิทธิ์ เป็นขั้นตอนที่มีความศักดิ์สิทธิ์ที่ในพระราชพิธี ซึ่งจะไม่มีการถ่ายทอดผ่านทางโทรทัศน์ อาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรีจะเป็นผู้ประกอบพิธีเจิมน้ำมันศักดิ์สิทธิ์
บนพระวรกายของกษัตริย์พระองค์ใหม่เป็นเครื่องหมายไม้กางเขน บนพระนลาฏ (หน้าผาก) พระอุระ (หน้าอก) และที่พระหัตถ์ทั้งสองข้าง เพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่าพระผู้เป็นเจ้าทรงเลือกกษัตริย์
โดยขณะประกอบพระราชพิธีจะมีม่านกั้นปิดบังสายตาจากรอบข้างเพราะถือว่าเป็นพิธีกรรมระหว่างกษัตริย์กับพระผู้เป็นเจ้า
โดยน้ำมันศักดิ์สิทธิ์ที่ใช้ในพระราชพิธีครั้งนี้ ถูกสกัดขึ้นใหม่ จากผลมะกอกที่ปลูกในป่าสองแห่งบนภูเขา Mount of Olives ในนครเยรูซาเลม ทั้งยังผ่านพิธีปลุกเสกในโบสถ์พระคูหาศักดิ์สิทธิ์ (Church of the Holy Sepulchre)
ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นสุสานของพระเยซู แทนน้ำมันศักดิ์สิทธิ์จากพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในอดีต เนื่องจากส่วนผสมของสัตว์บางชนิด ซึ่งขัดกับค่านิยมพิทักษ์สิทธิสัตว์และการบริโภคมังสวิรัติของคนรุ่นใหม่
ขั้นตอนที่ 4 สวมพระมหามงกุฎ เป็นขั้นตอนสำคัญของพระราชพิธีบรมราชาภิเษก หลังจากเสร็จจากพิธีเจิมน้ำมันศักดิ์สิทธิ์และเปลี่ยนเครื่องทรงแล้ว อาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรีจะถวายเครื่องราชราชกกุธภัณฑ์
แก่กษัตริย์พระองค์ใหม่ และสวมพระมหามงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ดลงบนพระเศียร ซึ่งตลอดพระชนมชีพพระองค์จะได้ทรงพระมหามงกุฎนี้เพียงครั้งเดียว ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเท่านั้น โดยสมเด็จพระราชาธิบดีชาร์ลส์ที่ 3
จะเป็นกษัตริย์พระองค์ที่ 7 ที่ได้ทรงพระมหามงกุฎนี้ต่อจากพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2, พระเจ้าเจมส์ที่ 2, พระเจ้าวิลเลียมที่ 3, พระเจ้าจอร์จที่ 5, พระเจ้าจอร์จที่ 6, และสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2
ขั้นตอนที่ 5 เสด็จขึ้นครองราชย์ ในขั้นตอนนี้ สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 จะเสด็จขึ้นบนพระราชอาสน์อันเป็นสัญลักษณ์ของการขึ้นครองราชย์อย่างเป็นทางการ
ซึ่งในอดีตบรรดานักบวชและขุนนางอาจนำพระองค์ไปประทับยังพระราชอาสน์ด้วยวิธีอุ้มหรือยกพระวรกายไป
ขั้นตอนที่ 6 รับการถวายความเคารพ จากธรรมเนียมเดิมในอดีต ในขั้นตอนนี้ เหล่าพระบรมวงศานุวงศ์และขุนนางจะพากันต่อแถวยาว เพื่อเข้าเฝ้าฯ ถวายความเคารพ
โดยพวกเขาจะคุกเข่าลงต่อหน้าพระพักตร์ กล่าวถวายความจงรักภักดี ก่อนจะจุมพิตที่พระหัตถ์ขวา แต่ในพระราชพิธีครั้งนี้ คาดว่าจะมีการปรับเปลี่ยน
โดยเจ้าชายวิลเลียมจะเป็นพระราชวงศ์ที่มีฐานันดรชั้นดยุคเพียงพระองค์เดียว ที่ได้เข้าเฝ้าฯ ถวายความเคารพต่อสมเด็จพระราชาธิบดีชาร์ลส์ที่ 3
จากนั้นจะเป็นพระราชพิธีสถาปนาแต่งตั้งสมเด็จพระราชินี โดยนักบวชจะเจิมน้ำมันศักดิ์สิทธิ์ ถวายเครื่องราชกกุธภัณฑ์สำหรับพระอัครมเหสี
และถวายการสวมพระมหามงกุฎควีนแมรี ซึ่งพิธีการนี้มีขั้นตอนที่เรียบง่ายกว่า และพระราชินีจะไม่ทรงต้องกล่าวคำสัตย์ปฏิญาณตามแบบของกษัตริย์
หลังเสร็จสิ้นพระราชพิธี สมเด็จพระราชาธิบดีชาร์ลส์ที่ 3 และสมเด็จพระราชินีคามิลลา จะเสด็จลงจากพระราชอาสน์เพื่อไปยังโบสถ์น้อยเซนต์เอ็ดเวิร์ดภายในมหาวิหารเวสต์มินสเตอร์ เพื่อผลัดเปลี่ยนพระมหามงกุฎที่ทรงอยู่
จากพระมหามงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ดมาเป็นพระมหามงกุฎอิมพีเรียล ก่อนเสด็จออกจากมหาวิหารเพื่อทรงเข้าร่วมขบวนที่เตรียมเคลื่อนกลับไปยังพระราชวังบักกิงแฮม
โดยจะมีการบรรเลงเพลงชาติของสหราชอาณาจักรในช่วงเวลาดังกล่าว
ความท้าทายของราชวงศ์อังกฤษในศตวรรษที่ 21 
แม้พระราชพิธีบรมราชาภิเษกในครั้งนี้จะมีการตั้งข้อสังเกตว่า พยายามปรับเปลี่ยนให้ทันสมัยและสะท้อนพระราชปณิธานของสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3
ในการพิทักษ์สิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน ท่ามกลางความนิยมต่อราชวงศ์ที่ลดลงอย่างมากในช่วงเวลาที่ผ่านมา
อีกทั้งยังการปรับลดงบประมาณที่ใช้ในพระราชพิธีลง เพื่อแสดงถึงความพยายามในการคำนึงถึงความเป็นอยู่ของประชาชนในยุคข้าวยากหมากแพง
ด้วยการปรับเปลี่ยนรายละเอียด ลดจำนวนแขกที่มาร่วมในพระราชพิธี หรือแม้แต่เครื่องใช้ในพระราชพิธี เช่น พระราชอาสน์ มงกุฏ ที่เลือกใช้ของเดิมที่มีอยู่ แทนการทำขึ้นใหม่เป็นพิเศษ
แต่ภายในสังคมอังกฤษเองยังมีข้อถกเถียงถึงความจำเป็นในการจัดพระราชพิธียิ่งใหญ่ ซึ่งคาดว่าต้องใช้งบประมาณมหาศาล แม้จะไม่มีการเผยถึงตัวเลขออกมาอย่างเป็นทางการ
แต่ก็มีการคาดเดาว่าอาจจะสูงถึง 50-100 ปอนด์ (ราว 2,100-4200 ล้านบาท) ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจของประเทศอยู่ในภาวะซบเซา ประชาชนต้องดิ้นรนเอาตัวรอดจากวิกฤตค่าครองชีพที่พุ่งสูงขึ้น
จากการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนอังกฤษเมื่อเร็วๆ นี้ โดยสถาบันวิจัยสังคมแห่งชาติ ชี้ให้เห็นว่า ชาวอังกฤษให้การสนับสนุนราชวงศ์ลดลง มีเพียง 55% 
ที่ยังคงมองว่าสถาบันกษัตริย์มีความสำคัญ และแค่ 29% ระบุว่า สถาบันกษัตริย์มีความสำคัญมาก ซึ่งตัวเลขต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ 
ขณะเดียวกัน ผลสำรวจจาก YouGov ซึ่งเป็นบริษัทสำรวจความคิดเห็นผ่านระบบออนไลน์ของอังกฤษ ก็ชี้ไปในทิศทางเดียวกัน
โดยระบุว่า มีชาวอังกฤษถึง 48% ที่บอกว่าไม่สนใจหรือคาดว่าจะไม่ติดตามชมการถ่ายทอดสดพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในครั้งนี้
สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงความท้าทายที่ราชวงศ์อังกฤษยุคใหม่กำลังเผชิญ หลังการสวรรคตของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ท่ามกลางข่าวอื้อฉาวหลายเรื่องที่กระทบต่อภาพลักษณ์ของราชวงศ์อย่างหนักมาก่อนหน้านี้
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเจ้าชายแฮร์รีและเมแกน ดยุคและดัชเชสแห่งซัสเซกซ์ กรณีเจ้าชายแอนดรูว์ ที่ทรงถูกกล่าวหาว่าเกี่ยวพันกับการกระทำความผิดในคดีทางเพศ
หรือแม้แต่คะแนนนิยมในสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 เอง
ช่วงเวลาหลังจากนี้ไปจะเป็นบททดสอบครั้งใหญ่ของราชวงศ์อังกฤษ และสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 หน้าประวัติศาสตร์ใหม่ในรัชสมัยของพระองค์ได้เริ่มขึ้นแล้ว

ที่มา Al Jazeera, BBC , Time, CNBC, BBC Thai