เหนือสิ่งอื่นใด
- เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี 9 มิถุนายน 2559
- พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) ณ วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๙
- The 60th Anniversary Celebrations of his Majesty King Bhumibol Adulyadej's Accession to the Throne
- 63 ปี "พระเจ้าอยู่หัว ร.๙" ผู้นำที่ไม่เหมือนใครในโลก นำพาประเทศ "อยู่ดีมีสุข"
- Supreme Artist
- เศรษฐกิจพอเพียง : Sufficiency Economy พ.ศ. ๒๕๖๓
- ทศพิธราชธรรม ๑
- ทศพิธราชธรรม ๒
- ๑๐๐ ปี สวรรคตกาลสมเด็จพระปิยมหาราช
- ร.๙ ทรงห่วงเหตุการณ์ประเทศเพื่อนบ้าน
- พระบรมราโชวาท ร.๙
- "พูดแล้วต้องทํา" พระบรมราโชวาท "ในหลวง ร.๙" ทรงเตือน-ครม.
- ร. ๙ ทรงพระราชทานแก่พลเอกสุจินดา คราประยูร และพลตรีจำลอง ศรีเมือง
- ร.๙ ทรงรับสั่งรมต.ถวายสัตย์ฯ
- ร.๙ ทรงมีพระบรมราโชวาทแก่ตุลาการทหาร
- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.9 ทรงป้องกันน้ำท่วม ปีพุทธศักราช ๒๕๓๘
- “ในหลวง ร.๙” ทรงฝากองคมนตรีปลูกฝังคนไทยเอื้อเฟื้อ นึกถึงส่วนรวม
- “ในหลวง ร.๙” เสด็จฯ ทอดพระเนตรดนตรีที่ศิริราช
- "ในหลวง ร.๙" เสด็จเปิดประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์-สะพานภูมิพล 1,2
- ในหลวง ร. ๙ เสด็จฯทอดพระเนตรคอนเสิร์ตแจ๊ส
- ๕ ธันวาคม ๒๕๕๒
- น้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณ"ในหลวง ร.๙"กับ"ภูมิสารสนเทศ"
- ในหลวง ร.๙ ทรงพระราชทาน ส.ค.ส.2554 แก่พสกนิกรชาวไทย
- 'ในหลวง ร.๙' ทรงมีพระราชดำรัสให้คนไทย ทำหน้าที่ ไม่ประมาท มีสติ : ๕ ธันวาคม ๒๕๕๓
- วันฉัตรมงคล (ร.๙)
- ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๙
- พระราชดำรัสสุดท้าย ในหลวง รัชกาลที่ 9
- ๑๒ สิงหา วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
- "สมเด็จย่า"
- เจ้านายเล็กๆ ยุวกษัตริย์
- อาลัยพระพี่นางฯ
- ในหลวงรัชกาลที่ ๙ โปรดให้นายโคฟี อันนัน เฝ้าถวายรางวัลฯ (๒๕ พ.ค.๔๙)
- "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร" มีพระราชดำรัสเกี่ยวกับการวิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์
- พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล
- ศิลปาชีพ : ประจักษ์พยานของความรัก ผูกพัน และห่วงใย
- เพลงสรรเสริญพระบารมี
- ชีวิตที่หมุนไปไม่หยุดยั้ง...พระอารมณ์ขันของพระเทพฯ
- ถ้าเดินเรื่อยไปย่อมถึงปลายทาง นิทรรศการภาพถ่ายฝีพระหัตถ์สมเด็จพระเทพรัตนฯ
- สมเด็จพระเทพฯ กับการส่งเสริมไอที เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
- สมเด็จพระเทพฯ สนพระทัยเมล็ดพันธุ์ช่วยหล่อเลี้ยงประชากร
- เครือข่ายกาญจนาภิเษก
- สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- ทรงพระเจริญ
- ของขวัญจากก้อนดิน
- ต้นไม้ของพ่อ
- รูปที่มีทุกบ้าน
- นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ
- ติโต
- ไม่มีวันไหนที่ไม่คิดถึงในหลวงรัชกาลที่ ๙
- พระราชนิพนธ์ พระมหาชนก ที่ทุกคนพึงอ่าน
- โครงการแก้มลิง
- ทำไมเรารัก "พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร"
Jun 27, 2024
27 มิ.ย. ครบรอบ 10 ปี ‘Begin Again’
Jun 26, 2024
Jun 25, 2024
จุดจบสาย ดูดวง ?
National Geographic Thailand
จุดจบสาย ดูดวง ? วิจัยเสนอ จะราศีไหน
ก็ไม่มีความเกี่ยวข้องใด ๆ กับ ‘ความเป็นอยู่ที่ดี’ ของเรา
กล่าวอีกนัย หากคุณมีเพื่อนที่ร้องไห้ฟูมฟายอย่างหนัก
ในตอนที่อกหักจนสภาพจิตใจย่ำแย่ ไม่ได้เป็นเพราะ ‘คนนั้น’
เกิดในราศีที่อ่อนไหวง่า
งานวิจัยใหม่ยืนยันว่า การโคจรของดาวบนฟากฟ้า
ไม่ได้มีอิทธิพลโดยตรงใด ๆ ต่อกิจกรรมของมนุษย์
ความฉลาด เป็นสิ่งที่แปลก เพราะถ้าอวดเมื่อไหร่ โง่ทันที
ชอบก็บอกชอบ ไม่ชอบก็บอกไม่ชอบ # เต๋อ เรวัต พุทธินันทน์
เลเล่เล้ - แนะนำเพลงไทยและสากล
ชอบก็บอกชอบ (พ.ศ. 2530)/ เต๋อ เรวัต พุทธินันทน์ /
ปูชนียบุคคลแห่งวงการเพลงไทยคือ เต๋อ เรวัต พุทธินันทน์
สิ่งที่พี่เต๋อทำให้กับวงการเพลงไทยนั้นเรียกได้ว่ายิ่งใหญ่ ยกระดับ และทำให้วงการเพลงไทยมาไกลถึงทุกวันนี้
ถึงผมจะเขียนบทความนี้ยาวขนาดไหน ก็คงสาธยายได้ไม่หมด
และคิดว่าคนที่ได้สัมผัสพี่เต๋อโดยตรงน่าจะบอกได้มากกว่าผม
ผมสัมผัสจากเสียงเพลง ท่วงทำนอง และเนื้อร้องที่พี่เต๋อได้สร้างสรรเอาไว้ในช่วงที่ผมเป็นวัยรุ่น สิ่งหนึ่งที่ผมรู้สึกคือ
เพลงของพี่เต๋อสอนคน สอนเด็ก สอนโลก แบบที่ผมไม่เคยรู้ตัวเลย มันซึมซับลงไปในความคิด
และพอกพูนออกมาเป็นตัวเราและสังคมเราเอง ขอบคุณพี่เต๋อที่ฝังความคิดดีดีให้พวกเราผ่านเสียงเพลง
ผมยังเคยคุยกับปอย Portrait เพลงยุคปัจจุบันพูดแต่เรื่องรัก มีน้อยมากที่จะเป็นเพลงเชิงสอนคน สอนเด็ก สอนโลก
ไม่รู้ว่าทำไมนะ ถึงไม่มีใครเขียนเพลงแบบนี้แล้ว
ก่อนจะเข้าเพลง ผมขอเริ่มจากประวัติพี่เต๋ออย่างสั้น ๆ ก่อน พี่เต๋อเป็นเด็กสู้ชีวิต คุณพ่อจากไปจากสงคราม
เข้าเรียนเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ เขาต้องเล่นดนตรีตอนกลางคืนเพื่อหาเลี้ยงตัวเองและครอบครัว พี่เต๋อเป็นคนเก่ง
พัฒนาฝีมือไปจนวงที่เล่นกลางคืนด้วยกันระดับ The Impossible ชวนมาเป็นนักร้องนำแทนเศรษฐา
(เศรษฐาไปเล่นเบสแทนคนที่ออกจากวงไป) ทัวร์ยุโรป ทัวร์ฮาวาย ด้วยกัน
รับระบบการทำเพลงการจ่ายค่าตอบแทนจากเมืองนอกมา กลับมาทำอัลบั้มกับทีม Butterfly
ก่อนจะตั้งบริษัทฯ แกรมมี่พร้อมกับอากู๋ ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม สร้างอุตสาหกรรมดนตรีของไทย
คือ มีคนเขียนเพลง มีคนทำทำนอง สรรหานักร้องคุณภาพมาร้อง สร้างระบบจ่ายค่าตอบแทน
ไกด์การร้องเพลงวอร์มเสียง สอนการวางตัวให้กับศิลปิน รวมถีงเขียนเพลงดี ๆ ร่วมร้อยเพลง
เพลงของพี่เต๋อในอัลบั้มนี้คือการรวบรวมเพลงใน 3 ชุดแรกกับแกรมมี่ ใส่เพลงใหม่ 2 เพลง
(ชอบก็บอกชอบ และ อย่างน้อยก็คิดดี) มีปรับเพลงจากต้นฉบับเดิมบ้างบางเพลง
แต่ละเพลงที่อยู่ในอัลบั้มนี้สอนคน สอนเด็ก สอนโลก (ย้ำเป็นครั้งที่ 3) รวบรวมมา 15 เพลงพอดิบพอดี
สำหรับยุค ’80 จะมีสักกี่คนที่เขียนเพลงให้อภัยผู้หญิงที่ผ่านผู้ชายมาแล้ว (ที่แล้วก็แล้วไป)
เตือนสติผู้บริหารระดับสูง อธิบายถึงความยากลำบากทั้งภายนอกและภายในจิตใจตนเอง (ยิ่งสูงยิ่งหนาว)
สอนให้เปิดใจรับสิ่งใหม่ ๆ เพราะโลกมันเปลี่ยนไป (กำลังใจ) ส่งเสริมความเท่าเทียมกันทั้งหญิงและชาย
จับมือเดินไปพร้อม ๆ กัน (สองเราเท่ากัน)
บางทีชีวิตมันก็ไม่ดีหรอก แต่เราก็ควรจะคิดดีไว้บ้างเพื่อเป็นความหวังและกำลังใจ (อย่างน้อยก็คิดดี)
ความบริสุทธิ์ของความรัก ไม่ว่าเพลงจะหมายถึงมือลูก หรือมือของคนรัก (มือน้อย)
ผู้ใหญ่จงเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่เด็ก (บทเพลงเพื่อเด็ก) ความจริงใจเป็นสิ่งดี
หากรักก็จงบอกออกไป (ชอบก็บอกชอบ)
ความรักที่เคยพลาดไปทำให้เธอปิดประตูและไม่กล้าเผชิญออกข้างนอกในยามฝนตก
ความรักก็เหมือนฝน ลองหาทางสู้กับมันสิ (เจ้าสาวที่กลัวฝน) ของปลอมจะดีกว่าของจริงได้อย่างไร
จิตใจเธอก็เฉกเช่นนั้น (ดอกไม้พลาสติก) หากใจท้อ ขอจงอดทน หนทางที่เดินไป (คงจะมีสักวัน)
ตีแสกหน้าความรักที่ไม่เคยได้ ต้องไปเอาจากหมายังดีเสียกว่า (ชายแปลกหน้า)
การเจริญเติบโตทางวัตถุเร็วกว่าการเจริญเติบโตทางจิตใจ (เมืองใหญ่เมืองนี้)
เขียนเพลงถึงเพื่อนสนิทคนหนึ่งที่จากไปก่อน (เพื่อนเอย) เติมความบอบบางของตัวเองในวันที่รู้ว่า
ความฝันที่เคยมีมันไม่ทางเป็นจริง และชีวิตต้องยืนอยู่บนความเป็นจริง (ฝัน)
ทั้ง 15 เพลง ดนตรีเป็นร็อค โฟลค์ พ็อพ อิเลคทริคพ็อพ ตรงยุค ‘80
ที่เข้ากันได้ดีกับทำนองที่สวยงามในแต่ละเพลง ทำนองทั้งหมดแต่งโดยทีมแกรมมี่ยุคแรก
(วิชัย อึ้งอัมพร, อัสนี โชติกุล, ชาตรี คงสุวรรณ, อุกฤษณ์ พลางกูร,
จาตุรนต์ เอมซ์บุตร และ อภิไชย เย็นพูนสุข) ซึ่งก็เล่นดนตรีด้วยในอัลบั้มนี้ เนื้อเพลงพี่เต๋อเขียนเองทั้งหมด
สิ่งที่พี่เต๋อทิ้งให้พวกเราไว้ ช่างงดงามเหลือเกิน
ทีฆายุโก โหตุ สังฆราชา ๒๖ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๖๗
ทีฆายุโก โหตุ สังฆราชา
Jun 19, 2024
RIP # พี่เป้ง
Mgt Worrawan
สิ่งที่ไม่มีใครบนโลกที่จะหนีพ้น จากไปแค่กาย ความดียังอยู่ตลอดกาล
#บูรณางค์ศุขสมิติ
#ขอบคุณที่สนับสนุนเราทุกอย่าง
#ขอบคุณที่สอนให้เรามองโลกในมุมดีๆเสมอ
Jun 17, 2024
Jun 15, 2024
คิดแบบไหนบ่อยๆ ความคิดแบบนั้น จะถูกผลิตซ้ำ
คิดแบบไหนบ่อยๆ ความคิดแบบนั้น จะถูกผลิตซ้ำ
พศิน อินทรวงค์
เมื่อความคิดใดๆเกิดขึ้นเราย่อมมีทางเลือกอยู่สองอย่าง
หนึ่ง คือกระโจนลงไปเล่น
สอง คือถอยใจออกมาเป็นผู้ดู
อย่างแรกทำให้เราถูกความคิดลากจูงไป
หากเป็นความคิดด้านบวก
ใจก็ฟูไปตามความคิด
หากเป็นความคิดด้านลบ
ใจก็ฝ่อไปตามความคิด
ส่วนทางที่สองนั้นเป็นอะไรที่ต่างออกไป
เมื่อเราเอาใจออกมาเป็นผู้ดู
เราย่อมเห็นความคิดที่ไปตามความเป็นจริง
เหมือนเห็นสายลมไหวๆ
ไม่ได้มีอำนาจอะไรกับเรามากมาย
ธรรมชาติของความคิด
หากเราเข้าไปเป็น
คือส่งใจจมเข้าไปคลุกคลีในความคิด
การทำเช่นนี้ก็เท่ากับเสริมพลังให้มัน
ภาวะจมลงไปในความคิดนี้
เป็นภาวะปกติของคนส่วนใหญ่
จะเรียกว่า เป็นการอินเข้าไป
ในบทบาทที่ตนกำลังรู้สึกอยู่ก็ได้
ภาวะการจมนี้
หากจมอยู่ในความรู้สึกแบบใดแบบหนึ่งบ่อยๆ นานๆ
ความรู้สึกแบบนั้น ย่อมกลายเป็น
เชื้อตั้งตนของความคิดในครั้งต่อไป
พูดง่ายๆว่า การจมในความคิดของใจ
เป็นการสั่งสมความเคยชิน
ที่ทำให้เกิดความคิดลักษณะนั้นซ้ำๆ
เสพความโกรธบ่อยๆ
ความโกรธก็จะถูกผลิตออกมาซ้ำๆ
เสพความโลภบ่อยๆ
ความโลภก็จะถูกผลิตออกมาเรื่อยๆ
เสพความกังวลบ่อยๆ
โอกาสที่จะเกิดความกังวลในอนาคต
ก็ย่อมมีมากขึ้นเป็นเงาตามตัว
น่าแปลกที่คนทั้งโลก
ไม่ค่อยสังเกตเรื่องจิตใจ
จิตใจนี้เป็นนามธรรม
มองไม่เห็น จับต้องไม่ได้
แต่เราทุกคนก็รู้สึกสัมผัส
กับสิ่งนี้ได้เมื่อเกิดความรู้สึก
อาจเป็นเพราะเรื่องจิตใจเป็นอะไรที่ใกล้ตัว
เมื่อใกล้ตัวมากเกินไป
เราจึงมองไม่เห็น
คล้ายว่าเราแทบไม่เคยเห็นแผ่นหลังของตนเอง
อย่างไรอย่างนั้น
ขอให้สังเกตไปตามจริง
แล้วลองพิจารณาดู
หากเราเป็นคนขี้โกรธ
แล้วไม่ตระหนักรู้ในความโกรธ
ปล่อยใจไปกับความโกรธ
เมื่อโกรธปุ๊บ ใจกระโจนเข้าไปเป็น
ในครั้งต่อๆไป หากปล่อยไว้เช่นนี้
จะพบว่า ความโกรธในครั้งถัดไป
มีแนวโน้มจะรุนแรง และถี่ขึ้นเป็นลำดับ
บางท่านอาจแย้งว่า
ถ้างั้น เราควรเอาใจไปผูกไว้กับอารมณ์เชิงบวก
ถ้าหากทำได้ก็เป็นเรื่องที่ดี
แต่ในความเป็นจริงก็ไม่ง่ายเช่นนั้น
เพราะธรรมชาติของคนเรา
มักคิดอะไรๆในเชิงลบมากกว่าเชิงบวกอยู่เป็นปกติ
เว้นแต่บุคคลผู้นั้น
ผ่านการสั่งสมกระแสความคิด
ในเชิงบวกมาเป็นเวลายาวนาน
อย่างไรก็ตาม
หนทางที่ปลอดภัย
จากการตกอยู่ใต้อำนาจความคิดของตนเอง
ก็คือการถอนใจออกมา
แล้วมองความคิดด้วยพลังของสติ
เมื่อความคิดถูกมองเห็น
ระดับพลังของความคิดจะค่อยๆลดลง
ส่งผลให้เราสามารถใช้เหตุผล
เป็นหางเสือในการกำหนดทิศทางของความคิดได้
การจะเห็นกระบวนการทำงานของความคิดนี้
คือทักษะทางใจอย่างหนึ่ง
อาศัยเพียงการอ่าน ฟัง วิเคราะห์ไม่ได้
จำเป็นต้องฝึกฝนอยู่เสมอๆ
ฝึกแรกๆใจจะยังไม่ชิน
เมื่อเกิดความคิดก็จะกระโจนเข้าไปเป็น
ช่วงแรกๆ ต้องมีสติค่อยเตือนตัวเอง
ให้ถอยออกมาดู
อาจจะกำหนดเป็นคำว่า *คิดหนอ* ก็ได้
พอคิดก็กำหนดว่า คิดหนอ
แล้วจึงสังเกตเฝ้ามองความคิด
จะเป็นความคิดเชิงบวกหรือลบไม่สำคัญ
เราทำเหมือนกัน
คือมองความคิดเป็นเพียงกระแสหนึ่งๆ
ไม่ต้องไปให้ค่าว่าคือบวกหรือลบ
เพียงกำหนดว่า คิดหนอ แล้วเฝ้ามอง
ทำอย่างนี้ให้ชินให้เป็นนิสัย
สัญชาติญาณของการเป็นผู้สังเกต
จะค่อยๆเกิดขึ้นช้าๆ
ทีนี้พอนานๆเข้า ใจของเราจะเริ่มตั้งมั่น
มีพลังในการสังเกตความคิดมากขึ้น
ความคิดเชิงบวกหรือเชิงลบ
จะทำอันตรายกับเราได้น้อยลง
ตรงนี้คือต้นทางของความสุขแท้ๆ
สิ่งเหล่านี้คือทักษะที่ทำให้เกิดขึ้นกับทุกคนได้
ไม่ใช่สิ่งเหลือวิสัย
เพียงแต่ต้องอาศัยการฝึกฝน
จนสิ่งที่รู้กลายเป็นทักษะ
ทักษะหมายถึงความเชี่ยวชาญในการกระทำ
คือเราต้องทำได้
พาใจให้หยั่งลึกสู่สภาวะนั้นได้จริงๆ
มิใช่เพียงการสื่อสาร
ผ่านคำพูดเพียงเพื่อการตีความ
ที่สุดแล้ว สิ่งนี้ก็ต้องนับถึงที่การฝึกฝน
ค่อยๆฝึก ค่อยๆเดิน
หากเราเดินทุกวันไม่หยุด
วันหนึ่งก็มีโอกาสถึงเส้นชัย
เส้นชัยนี้คือการชนะตนเอง
ไม่ตกเป็นทาสกิเลสของตนเอง
ใครทำได้เช่นนี้
ก็ถือว่า การเกิดเป็นมนุษย์ครั้งนี้
คุ้มค่าไม่สูญเปล่า...
Jun 14, 2024
Franz Anton Beckenbauer (1945 -2024)
Beckenbauer, leader of West Germany's glorious class of '72
Monday, January 8, 2024
https://www.uefa.com/euro2024/news/
Franz Beckenbauer, who has died aged 78, helped spark a golden era for the West Germany team when he captained them to 1972 glory. Here he discussed that great team, from "father figure" of Helmut Schön to the "phenomenal" Gerd Müller.
Franz Beckenbauer: It took time for us to find each other; when the 1970 World Cup was over it was time for changes. The big players from that team stopped and it was time to bring in new ones. I think the reason for the success came from the way the team was put together – six players came from Bayern, three from Mönchengladbach.
This team came together and I think the game at Wembley [a 3-1 win in the first leg of the quarter-finals] was very important. That was the first time that a German team won on English soil – it was historic and obviously very good for our confidence. We believed that when you can beat England at Wembley, you can beat anybody.
You were the captain for several years – do you think the 1972 team was the best?
Beckenbauer: Yes, but also I have to say the 1972 European Championship was not as difficult to win. We had one difficult match and that was the quarter-final in England. In the final tournament there were only four teams, today you have 16. It has developed in a way that nobody ever imagined back then.
What did Helmut Schön mean to you and to the German national team?
Beckenbauer: Helmut Schön was like a father to all of us. In the modern football world, something like that is not really possible. Helmuth Schön was above everything an incredible human being. Everybody liked him – he was there for all the players. Nowadays a coach simply doesn't have the time to worry about his players in that way. The secret was that everybody wanted to play in the national team because everybody knew that they would be taken care of by Helmut Schön.
There are lot of stories about Gerd Müller – could you please tell us about him?
Beckenbauer: Gerd Müller was a phenomenon – he scored so many goals. Thank God he played for Bayern and the German national team. Without him, I don't think we would have won either the European Championship or the World Cup; you need players like him. He understood better than anybody how to score goals – he can thank his pace for that. At training I played against him and I never had a chance. We knew his moves but still we could not stop him – that's how fast he was.
What do you remember of the penalty shoot-out defeat by Czechoslovakia in the 1976 final?
Beckenbauer: After winning the European Championship in '72 and the World Cup in '74, the team was a little on the wane; Gerd Müller and [Wolfgang] Overath had stopped, so some of the big players were not there anymore in 1976. That left a vacuum which nobody could fill. Who could take over after Gerd Müller? Nobody. The same with Overath.
So, we were quite happy even to make it to the tournament and of course even more to the final. We defeated Yugoslavia in the semi-finals after extra time and then we were in the final – the first one ever to be decided on penalties. Before then there was a replay in the case of a draw. We were not prepared at all for penalties – we were not expecting that, so we lost.
UEFA EURO 2024 GERMANY
ไฟไหม้ "ตลาดนัดจตุจักร"เผาวอด 118 ล็อก - สัตว์ตายจำนวนมาก
ที่มา https://www.thaipbs.or.th/news/content/340900
คืบหน้าเหตุไฟไหม้ตลาดนัดจตุจักร กทม.สำรวจเบื้องต้นพบเสียหาย 118 ล็อก สัตว์ตายจำนวนมาก
เขตบางซื่อตั้งจุดรับลงทะเบียนแล้ว
วันที่ (11 มิ.ย.67) ความคืบหน้าเหตุเพลิงไหม้ ตลาดนัดจตุจักร ล่าสุด นายสุริยชัย รวิวรรณ
รอง ผอ.สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กทม
เปิดเผยกับไทยพีบีเอส ถึงความคืบหน้า เหตุเพลิงไหม้ ตลาดปลาศรีสมรัตน์ โดยระบุว่า
ขณะนี้ยังคงให้เจ้าหน้าที่ฉีดน้ำเพื่อควบคุมควันไว้ต่อเนื่อง
สำหรับความเสียหายเบื้องต้น เพลิงเผาร้านค้าเสียหาย 118 ล็อก
ซึ่งเป็นโซนสัตว์เลี้ยงสำหรับค้าขาย
ทั้ง 100% และสัตว์จำนวนมาก ที่ตาย ทั้ง นก สุนัข แมว ไก่ งู ฯลฯ
ตามที่ผู้ประกอบการ แจ้งข้อมูลเบื้องต้น ซึ่งมีสัตว์รวมๆ อาจถึงพันตัว
ขณะนี้ ได้ล้อมพื้นที่เพื่อรอเจ้าหน้าที่ตำรวจพิสูจน์หลักฐาน
เข้าพื้นที่และป้องกันความเสี่ยง ฝ้าเพดานที่เกิดความร้อนระอุ
อาจมีชิ้นส่วนที่เสี่ยงร่วง หรือ ถล่มลงมา
นายสุริยชัย กล่าวว่า เป็นเรื่องน่าสลดใจมาก เพราะสัตว์สเกือบทั้งหมดอยู่ในกรง
ขณะเกิดเหตุเพลิงไหม้จึงหนีออกมาไม่ได้
และ เพลิงโหมรุนแรง คาดว่า ซากสัตว์ต่าง ๆ ก็แทบไม่มีเหลือ
ตอนนี้ เจ้าหน้าที่ช่วยกันเต็มที่ ทั้งนี้ ทางฝ่ายปกครอง สนง.เขตบางซื่อ
ได้ตั้งจุดรับลงทะเบียนผู้ค้าที่ได้รับผลกระทบ
Thousands of pets die in fire at Chatuchak market
PUBLISHED : 11 Jun 2024 at 10:40
WRITER: Online Reporters
Fire tore through a pet market in Chatuchak district early Tuesday morning with thousands of
animals believed to have been killed, including many costly exotic species.
The Chatuchak district office reported that the fire started about 4.10am at
Sri Somrat market, where there were 118 pet shops
in an area of 1,400 square metres.
The market is behind JJ Mall shopping centre on Kamphaeng Phet 3 Road.
Firefighters from many local stations rushed to the scene and took about
half an hour to put out the blaze.
Vendors said they lost a large number of animals, including ornamental fish, cats, dogs,
birds and monkeys, and exotic species priced at
five to six digits of baht each.
Jun 12, 2024
Good artists copy. Great artists steal
หนุ่มเมืองจันท์
Jun 6, 2024
Jun 3, 2024
Jun 2, 2024
เรวัต พุทธินันทน์ คนบ้าแห่งโลกดนตรี
ภาพจาก https://oldsonghome.com/
SemitoneMusic
“ถ้าถามว่าเกี่ยวกับดนตรี ผมชอบทำอะไรมากที่สุด พูดตรงๆ เลยนะ ร้องเพลงก็ไม่ชอบ ชอบฟังคนอื่นร้องมากกว่า”
ก่อนหน้านี้เต๋อไม่ได้คิดจะเล่นดนตรีเป็นอาชีพ สาเหตุที่เขาเล่นดนตรีเพราะถูกพ่อบังคับให้เล่นแซกโซโฟน
เนื่องจากต้องการให้มีความรู้เรื่องนี้ประดับตัว และแม้ช่วงหลังๆ เขาจะเริ่มสนใจเล่นกีตาร์ แต่ก็ถือเป็นงานอดิเรกเท่านั้น
“พ่อผมบังคับให้เรียนดนตรี แต่ไม่ยอมให้เล่นดนตรี
ซึ่งเป็นสิ่งที่ขัดแย้งกันมาก เขาคงอยากให้เราเรียนดนตรีเพื่อให้คนในสังคมยอมรับ
พ่อผมอยู่ในสังคมของคนมีเงิน ก็อาจเหมือนพ่อแม่สมัยนี้ที่ส่งไปเรียนดนตรี เพื่อคุยว่าลูกฉันเรียนดนตรี”
หากแต่จุดเปลี่ยนสำคัญที่สุด เกิดขึ้นเมื่อพ่อซึ่งทำงาน
เป็นกัปตันสายการบินเอกชน แต่เบื้องหลังเป็นสายลับ
ให้รัฐบาลอเมริกา
หายตัวไปในช่วงสงครามเวียดนาม
ทำให้ฐานะทางการเงินที่บ้านย่ำแย่ลง
เพราะแม่ของเขาเป็นแม่บ้านเต็มตัวไม่ได้ทำงาน
เต๋อเลยตัดสินใจหางานพิเศษทำเพื่อแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายภายในบ้านด้วยการเล่นดนตรีกลางคืน
เขาใช้เงินที่ได้จากดนตรีสมัครสอบที่คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รวมทั้งส่งเสียตัวเองจบการศึกษา
และเริ่มสมัครทำงานธนาคาร
เส้นทางด้านดนตรีของเขาคงสิ้นสุดลง หากวงดนตรีชื่อดังแห่งยุค 70 อย่าง The Impossible
ที่กำลังเดินสายอยู่ที่เกาะฮาวายไม่เขียนจดหมายมาชวนให้เขาร่วมวงด้วย แม้จะไม่ค่อยสนิทหรือคุ้นเคยกันก็ตาม
ด้วยความชอบเรื่องดนตรี บวกกับต้องการหาประสบการณ์ชีวิต เพราะเชื่อว่าชื่อเสียงจะทำให้สร้างตัวได้ในระยะสั้นๆ
เรวัตจึงตัดสินใจหันหลังให้งานสายการเงิน และมุ่งหน้าสู่เส้นทางดนตรีเต็มตัว
แม้ยุคสมัยนั้นจะไม่มีใครยอมรับอาชีพนักดนตรี เพราะมองว่าเป็นอาชีพเต้นกินรำกิน ทำไปก็ไม่มีทางรวย
แต่เขาต้องการทดลองใช้วิชาเศรษฐศาสตร์ที่ตัวเองร่ำเรียนมา
ให้เป็นประโยชน์ที่สุด โดยบอกกับแม่ว่าขอเวลา 10 ปี
เพื่อพิสูจน์ความเชื่อนี้
การเดินสายในต่างประเทศ ทำให้เต๋อตระหนักว่า
ความคิดทางด้านดนตรีระหว่างเมืองไทยกับเมืองนอกแตกต่างกัน
อย่างสิ้นเชิงหลังร่วมวงThe Impossible 5 ปี
สมาชิกทั้งหมดก็ตัดสินใจแยกย้าย
หากแต่เวลานั้นเรวัตกลับมีความฝันที่ยิ่งใหญ่กว่า คือการเปลี่ยนวงการดนตรีเมืองไทยให้มีคุณภาพเหมือนเมืองนอก
จึงตัดสินใจเดินทางไปศึกษาและหาประสบการณ์เพิ่มเติมทางดนตรีในยุโรปและญี่ปุ่น
“โลกเรายังปฏิวัติอุตสาหกรรมได้เลย ทำไมดนตรีจะถูกปฏิวัติไม่ได้”
สิ่งที่เต๋อคิดคือการทำให้นักดนตรีและนายทุนมีผลประโยชน์ร่วมกันอย่างยุติธรรม มีระบบการจัดการที่ดี
นักดนตรีไม่จำเป็นต้องร้องเพลงหรือเล่นดนตรีในคลับเท่านั้น แต่ควรมีโอกาสได้ร้องเพลง ออกเทป หรือมีเพลงดีๆ
ที่เกิดจากผู้ชำนาญการหลายสาขามาช่วยกัน ศิลปินได้ทำงานอย่างต่อเนื่อง มีคอนเสิร์ตและงานต่างๆ
เพื่อให้อาชีพนี้เป็นที่ยอมรับเหมือนกับต่างประเทศ
“โปรดิวเซอร์นี้เป็นสิ่งบ้านเราไม่รู้จักกันเลย โปรดิวเซอร์แบ่งเป็น 2 คน คนแรกคือ Executive Producer
เป็นคนของบริษัทใหญ่ ของต้นสังกัดแผ่นเสียง ซึ่งเขาจะมีการประชุมอะไรหลายๆ
อย่างที่จะเลือกศิลปินขึ้นมา พอเลือกแล้ว คนนี่ก็จะทำการต่อโยงระหว่างทาง Promotion กับ Marketing
ว่าศิลปินคนนี้สมควรไหมที่จะเอามาอยู่ในสังกัดเรา แล้วเราจะขายด้วยอะไร ยังไง แค่ไหน
แผนการละเอียดยิบเลย คนนี้จะเป็นคนวาง แล้วทุกคนต้องเดินตามแผนการนี้
“ในเวลาเดียวกัน เขาจะต้องติดต่อบุคคลอีกคน ซึ่งเป็น Music Producer ซึ่งจะถ่ายทอดความคิดคนๆ นั้น
แล้วคนๆ นั้นจะบอกว่าเพลงชุดนี้จริงๆ แล้ว แนวเพลงเป็นอย่างไร เราจะต้องให้ใครเป็นคนเขียนเพลง
เราจะต้องให้ใครเป็นคนเล่นดนตรีให้ หรือว่าเขามี Band อยู่แล้ว และ Band ของเขาโอเคไหม Band
ลักษณะนี้ควรจะเล่นดนตรีแบบไหนดี เราจะอัดเสียงที่ไหน และวิธีการอัดเป็นอย่างไรบ้าง”
ไม่ได้เพียงแต่คิด ด้วยความเป็นคนจริงจังและมุ่งมั่น เต๋อจึงสร้างโปรเจคต์ขึ้นมาและนำไปเสนอกับค่ายเพลงต่างๆ
แต่กลับถูกตีกลับโดยทันที เพราะไม่มีใครเชื่อว่าเป็นไปได้ หลายคนหาว่าเขา ‘บ้า’ ด้วยซ้ำ
หากแต่เขายังมั่นใจว่า สิ่งเหล่านี้จะต้องเป็นจริงสักวัน
แม้สุดท้ายแล้วอาจต้องเป็นคนลงมือเพียงลำพังก็ตาม
เปลี่ยนโลกด้วยเสียงเพลง
หากกล่าวว่า การหายตัวไปของพ่อเป็นจุดหักเหครั้งใหญ่ในชีวิตเต๋อ การเจอกับผู้ชายที่ชื่อ
ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม ก็น่าจะเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญไม่แพ้กัน
เรวัตกับไพบูลย์ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน ทั้งคู่รู้จักกันผ่านคนกลางที่ชื่อ บุษบา ดาวเรือง
ซึ่งเป็นลูกน้องของไพบูลย์ที่บริษัทพรีเมียร์ มาร์เก็ตติ้ง และเป็นรุ่นน้องของเรวัตที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
การพบกันครั้งแรก ไพบูลย์เล่าความฝันที่มีให้เรวัตฟัง ซึ่งน่าแปลกเพราะตรงกับสิ่งที่เรวัตคิดและนำเสนอค่ายต่างๆ พอดี
ทั้งคู่เลยตัดสินใจจับมือทำธุรกิจร่วมกัน โดยตั้งบริษัท แกรมมี่ เอ็นเตอร์เทนท์เม้นท์ จำกัด ในปี 2526
“ตอนที่ตั้งบริษัท เราก็คิดเหมือนกันว่าจะดูใครเป็นตัวอย่าง แต่ประเทศไทยไม่เคยมีบริษัทแบบนี้มาก่อน
แต่ขณะเดียวกันเราจะเอาประสบการณ์ทั้งหมดที่เรามีจากจากเมืองนอกมาเป็นหลักได้หรือไม่
ก็คงไม่ได้ เพราะตลาดของเราเป็นไทยมาร์เก็ต คำว่าวัฒนธรรมสำคัญมาก
เรามีแนวคิดส่วนหนึ่งเป็นฝรั่ง อีกส่วนเป็นไทย ทุกอย่างมันประยุกต์กันหมด”
หน้าที่ของไพบูลย์กับเรวัตแบ่งกันง่ายๆ คือไพบูลย์รับผิดชอบเรื่องการตลาด ส่วนเรวัตดูแลเรื่องการผลิตทั้งหมด
หากแต่หมวกอีกใบที่เขาต้องสวมควบคู่ไปด้วยคือ การหาจุดสมดุลระหว่างศิลปินกับนายทุน
แกรมมี่กลายเป็นบริษัทแรกที่มีการออกแบบเรื่องการจัดสรรผลประโยชน์ของคนทำงานอย่างลงตัว
ศิลปิน นักแต่งเพลง นักดนตรี นักเรียบเรียง ทุกคนที่มีส่วนร่วมกับเพลงต่างได้มีสิทธิได้รับผลประโยชน์
โดยตัวเพลงถือเป็นลิขสิทธิ์ของค่ายเพลง นอกจากนี้ยังนำระบบธุรกิจมาใช้อย่างจริงจัง ทั้งการโฆษณา ทำการตลาด
วันนั้นเขามองถึงวันที่แกรมมี่จะทำธุรกิจบันเทิงครบวงจร มีทั้งรายการโทรทัศน์และวิทยุ รวมทั้งหนังสือและภาพยนตร์
เพื่อให้คนทำงานในสาขาวิชาชีพนี้ได้ก้าวต่อไป และทำให้ธุรกิจบันเทิงนี้เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง
“ในสายตาคนไทย 90% มีทัศนคติเชิงลบกับคำว่าธุรกิจ
แต่ถ้าเราอยากให้มีการพัฒนา ก็ต้องมีธุรกิจเข้ามาสนับสนุน
ยกตัวอย่างทำไมนักกีฬาไทยจึงเล่นกีฬาไม่เก่ง
เพราะกีฬาไทยไม่มีธุรกิจเข้าไปสนับสนุน
ทำไมค่าตัวนักฟุตบอลระดับโลกจึงเป็นร้อยล้าน
เพราะว่าเขามีเป็นร้อยล้านเป็นกำลังสนับสนุน จึงเล่นได้อย่างเต็มที่
“แต่ทั้งนี้ก็ต้องอาศัยการประนีประนอมซึ่งกันและกัน พบกันครึ่งทาง รวมทั้งขึ้นกับตัวนายทุนด้วยว่าเป็นใคร
ถ้าเขาอยู่ในวงการของ Commercial Art เขาก็จะเอนเข้าหาศิลปิน ผมตอบได้ 100%
ว่าผมเป็นนายทุน แต่เป็นนายทุนด้านศิลปะ เพราะพัฒนาการมันมีกฎเกณฑ์ว่า
คนที่ไม่มีคุณภาพเขาก็จะเล่นไม่ได้ เช่นนายทุนที่ดิน 4,000 ล้านบาทมาเล่นทางด้านดนตรี
ก็เล่นไม่ได้ เพราะถ้าไม่มีสำนึก เขาก็ทำไม่ได้ มีแต่เจ๊งเท่านั้น”
นอกจากการวางระบบในวงการเพลง อีกหนึ่งโจทย์ที่ยากที่สุดในตอนนั้นคือ
ทำอย่างไรให้คนไทย หันมาฟังเพลงไทย
ยุคที่แกรมมีเริ่มต้น คนไทยยังนิยมฟังเพลงสากล หรือไม่อย่างนั้นก็ฟังเพลงลูกทุ่งไปเลย
ส่วนตลาดของเพลงไทยสากลยังเล็กมาก แม้ตอนนั้นจะมีหลายค่ายนำทำนองเพลงจีน
หรือเพลงสากลมาใส่เนื้อไทย แต่ก็ได้รับความนิยมเป็นเพลงๆ ไป
เรวัตตั้งใจจะทำให้เพลงไทยมีเอกลักษณ์และทันสมัยเพื่อให้คนฟังเพลงสากล
ลองเปลี่ยนมาฟังเพลงที่มีเนื้อไทย แต่คอร์ดและตัวโน้ตที่เป็นสากลดูบ้าง
ยิ่งทำเพลงที่มีคุณภาพมากเท่าไรก็ยิ่งดึงคนให้กลับมาสู่เพลงไทยมากขึ้นเท่านั้น
โดยจุดเปลี่ยนที่สำคัญสุด คืออัลบั้ม เต๋อ 1 ของเรวัต พุทธินันทน์
ตอนแรกเรวัตไม่ได้ตั้งใจร้องเอง เพราะเขาเคยร้องเพลงอยู่ครั้งเดียว
คืออัลบั้มเรามาร้องเพลงกันของโรงเรียนศศิลิยะ
แต่ด้วยความที่เนื้อหาค่อนข้างเป็นปรัชญาชีวิตจึงหานักร้องที่จะมาถ่ายทอดได้ยาก
ท้ายที่สุดเต๋อตัดสินใจร้องเอง และก็นับว่าเป็นอัลบั้มที่ประสบความสำเร็จ มีแฟนๆ ต้อนรับทุกหนทุกแห่ง
โดยมีเพลงที่คนทั่วไปรู้จักดีคือ เจ้าสาวที่กลัวฝน และยิ่งสูงยิ่งหนาว
แต่ที่สำเร็จยิ่งกว่าคือหลายคนหันมาฟังเพลงไทยมากขึ้น
หลังจากนั้น ศิลปินแกรมมี่ ต่างทยอยออกมาสร้างผลงานครองใจผู้ฟังอย่างต่อเนื่อง
และได้รับความนิยมสูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนเป็นผลมาจากการทำงานหนักอยู่เบื้องหลังของเต๋อและทีมงาน
จุดขายสำคัญที่เขานำมาใช้คือ การขายทั้งความสามารถและภาพลักษณ์
ศิลปินของแกรมมี่ไม่ได้เพียงแค่ร้องเพลงเก่ง แต่การ Entertain ก็ต้องทำให้ดีด้วย
กว่าจะออกมาได้ก็ต้องการทำงานอย่างมีระบบและขั้นตอน คือมีทั้งทีมนักแต่งเพลง นักดนตรี โปรดิวเซอร์
คนดูแลแผนการตลาด ร่วมกันปลุกปั้น โดยมีขั้นตอนการทำงานที่ชัดเจน
เริ่มจากหาคาแรคเตอร์ให้กับนักร้องก่อน โดยดูจากตัวตนของศิลปินคนนั้นเป็นหลัก
ตัวอย่างเช่น ใหม่ เจริญปุระ เต๋อจะถามก่อนเลยว่าชอบเพลงแบบไหน โดยให้เลือกเพลงมาสิบเพลง
ปรากฏว่าใหม่เลือกมาเพลงร็อกมาถึง 9 เพลง หลังจากนั้นเต๋อก็จะลองร้องเพื่อดูว่าเข้ากับตัวศิลปินหรือไม่
หากร้องไม่ได้อาจต้องหาเพลงแนวอื่นที่เหมาะสมกว่าแทน แต่ถ้าร้องได้ก็จะคงทำแนวเพลงตามนั้น
นอกจากนี้เขายังถามเรื่องส่วนตัว เช่นทำอะไรในชีวิตประจำวัน การแต่งตัวเป็นอย่างไร
เพราะเต๋ออยากทำเพลงที่เป็นตัวนักร้องจริงๆ
“ถ้าเราสร้างเพลงจากตัวตนที่แท้จริง ไม่ว่าเขาไปอยู่ไหนเขาก็จะไม่หลุดความเป็นตัวตนของเขา
มันจะเป็นเสน่ห์ที่เพิ่มให้กับตัวนักร้องเอง และยิ่งทำให้แฟนเพลงประทับใจในความเป็นธรรมชาตินั้นมากขึ้น
ในทางตรงกันข้าม การไปสร้างภาพที่ไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง วันหนึ่งเขาจะหลุดออกมา
เขาจะเหนื่อย และเขาจะทำงานอย่างไม่มีความสุข”
หลังจากนั้นก็จับตัวตนนั้นมาสร้างให้สมบูรณ์ขึ้น ด้วยทีมทำเพลงที่มีความถนัดในแนวนั้น
วางคอนเซปต์ว่าควรมีเพลงช้าหรือเร็วอย่างละกี่เพลง โดยดูจากคาแรคเตอร์นักร้องและภาพรวมของอัลบั้มเป็นหลัก
แล้วก็เข้าสู่กระบวนการห้องอัด ดูว่านักร้องร้องแล้วเคอะเขินหรือไม่
เต๋อต้องควบคุมการร้อง บางครั้งยังช่วยร้องไกด์ด้วย
จากนั้นฝ่ายเสื้อผ้าจะเข้ามาดูแล ทีมงานโปรโมตช่วยกันเลือกเพลงโปรโมต เลือกคนที่เหมาะสมมาทำมิวสิควิดีโอ
ก่อนที่จะปล่อยออกไปสู่สายตาผู้ชมและผู้ฟัง ทุกขั้นตอนทำอย่างตั้งใจ
ทำให้งานออกมาอย่างมีคุณภาพจนประสบความสำเร็จและเป็นที่จดจำของคนไทยด้วยระบบการทำงานที่ชัดเจน
ได้สร้างวัฒนธรรมการฟังเพลงรูปแบบใหม่ให้เกิดขึ้นในสังคมไทย เช่นเดียวกับตัวศิลปินที่มีอายุการทำงานที่ยาวนานขึ้น
เพราะแฟนเพลงจดจำสไตล์หรือเอกลักษณ์ของศิลปิน
แต่ละคนได้ อย่าง แอม-เสาวลักษณ์ ลีละบุตร
ภาพที่ทุกคนนึกถึงวันนี้คือ
นักร้องดอกไม้เหล็กที่มีสไตล์การร้องที่เข้มข้น
มากกว่าสมาชิกวง Girl Group
ในตำนานอย่าง สาว สาว สาว หรือทาทา ยัง ที่ยังคงรักษาความเป็นสาวน้อยมหัศจรรย์ได้
แม้เวลาจะผ่านไปนานแค่ไหนก็ตาม
มรดกที่ไม่เคยจางหาย
“ผมพูดกับทุกคน ลูกน้อง พี่น้อง เพื่อนร่วมงาน ความฝันของผม อายุ 50 ผมหยุด”
หลังก่อร่างสร้างแกรมมี่มาได้ 12 ปี ค่ายเพลงแห่งนี้กลายเป็นยักษ์ใหญ่ของวงการอย่างแท้จริง
แตกหน่อออกเป็นบริษัทสาขานับ 10 แห่ง มีพนักงานเป็นมือไม้นับพันคน
และในที่สุดก็สามารถจดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์ได้สำเร็จ
หากแต่ความฝันของเขาก็ยังไม่หยุดเพียงแค่นี้ เพราะสิ่งที่เรวัตนึกถึงคือวัฒนธรรมดนตรีที่รุ่งเรือง
ซึ่งอาจต้องใช้เวลาอีก 2-3 ชั่วอายุคนเลยทีเดียว
“ผมอยากจะเพ้อฝันว่าน่าจะมีคนเก่ง ๆ ระดับอินเตอร์สักแสนคนในประเทศไทย แล้วก็ช่วยกัน
ซึ่งผมอยากจะส่งผ่านถึงคนรุ่นใหม่ อยากให้รู้ว่าหนทางการต่อสู้ของผมมันทารุณและโหดร้ายมาก
เพราะฉะนั้นการที่เราคิดทำในสิ่งที่ดีหรือเป็นประโยชน์กับคนในสังคม
บางครั้งอาจมีสิ่งที่มาบั่นทอนความรู้สึกตลอดเวลาโดยเฉพาะเรื่องไร้สาระ
เพราะมันเป็นเรื่องของมนุษย์และเป็นภาพสะท้อนให้เห็นว่าในสังคมเรา
ยังต้องการการพัฒนาอีกเยอะมากในทุกจุด แม้กระทั่งในเรื่องของจิตใจ”
เรวัตเชื่อมั่นในพลังของคนรุ่นใหม่มากว่า จะช่วยยกระดับอุตสาหกรรมเพลงให้ดีขึ้นเรื่อยๆ
“ผมคิดจะหยุดทำงานเมื่ออายุ 50 ไม่รู้จะเป็นไปได้หรือเปล่า
เพราะผมเชื่อว่าเมื่อถึงตอนนั้นผมจะโง่กว่าเด็กรุ่นใหม่เยอะเลย
เด็กรุ่นใหม่เขาจะฉลาดกว่าผม จะทำงานเก่งกว่าผมเยอะ
แล้วเขาจะช่วยให้ทุกสิ่งทุกอย่างที่ผมคิดไว้ดีขึ้น
ถ้าผมทำอยู่ ผมอาจจะเป็นก้างขวางเขาก็ได้
ผมอาจจะเป็นผู้ใหญ่ที่พูดจาไม่เข้าหูคน
ขวางเขาไปเรื่อยเปื่อย เป็นคนไม่มีประโยชน์เลย”
หากแต่วันนั้นไม่เคยเกิดขึ้นจริง เพราะในวัย 47 ปี เรวัตตรวจพบว่ามีก้อนเนื้อขนาด 6 เซนติเมตร
ในสมองบริเวณท้ายทอยด้านขวา ซึ่งเป็นชนิดที่หายากมาก และเท่าที่ผ่านมาไม่เคยมีใครรอด
ส่วนใหญ่อยู่ได้ไม่เกิน 3 เดือน เขาต้องผ่าตัด และรักษาตัวที่นิวยอร์กราว 4 เดือนครึ่ง
จากนั้นก็ไปรักษาตัวต่อที่แคลิฟอร์เนีย ก่อนที่จะกลับมาเมืองไทย
“สวัสดีครับ ผมกลับมาแล้วครับ” คือข้อความที่เต๋อ ในฐานะประธานกรรมการบริษัท
เขียนไว้เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2539 ซึ่งเป็นวันแรกที่กลับมาที่แกรมมี่อีกครั้ง
หากแต่หลังจากนั้นอีกประมาณหนึ่งเดือน ครอบครัวพุทธินันท์ก็ได้รับข่าวร้ายว่า ก้อนเนื้อร้ายนั้นกลับมา
เต๋อจึงต้องกลับเข้าโรงพยาบาล ร่างกายเริ่มแสดงอาการว่าถดถอยลงทีละนิด จนในที่สุด
ก็จากไปอย่างสงบในวันที่ 27 ตุลาคม 2539 ด้วยวัย 48 ปี 1 เดือน 22 วัน
ทิ้งไว้แต่มรดกความทรงจำว่าครั้งหนึ่งเมืองไทยเคยมีนักบุกเบิก
อุตสาหกรรมดนตรีที่ยิ่งใหญ่ที่ชื่อ เรวัต พุทธินันทน์