http://teetwo.blogspot.com/2007/08/remembered.html
http://teetwo.blogspot.com/2008/01/rewat-buddhinan-alive.html
http://teetwo.blogspot.com/2009/05/rewat-buddhinan-alive.html
http://www.facebook.com/rewat.forever
เต๋อ-เรวัต พุทธินันทน์
เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ 5 กันยายน 2491 ที่กรุงเทพมหานคร
เป็นบุตรของ นาวาตรีทวี และนางอบเชย พุทธินันทน์
เริ่มการศึกษาที่โรงเรียนอนุบาลละอออุทิศ
จนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่โรงเรียนเซนต์คาเบรียล
และจบปริญญาตรีจากคณะเศรษฐศาสตร์
สาขาการเงินการธนาคาร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เรวัต เริ่มสนใจเครื่องดนตรีชิ้นแรกคือ
แซ็กโซโฟน
หลังบ่มเพาะจนมีความสามารถ
ขณะเรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ได้รวมกลุ่มเพื่อนๆ ตั้งวงดนตรีชื่อ Dark Eyes
รับเล่นตามงานสังสรรค์ในหมู่เพื่อนฝูง
ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อวง เป็น Mosriteและได้เข้าประกวดดนตรี
ในงานของสมาคมดนตรีแห่งประเทศไทย
สามารถคว้ารางวัลชนะเลิศอันดับ 1 ในปี 2508 และ 2509
เมื่อเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในปี 2510 เต๋อ-เรวัต
ได้ร่วมกับเพื่อนตั้งวงดนตรีชื่อ Yellow Red
เพื่อนสนิทสองคน ที่ร่วมวงอยู่ด้วยคือ
ดนู ฮันตระกูล และจิรพรรณ อังศวานนท์
ต่อมาเมื่อ Yello Red สลายตัวไป
วง The Thanks จึงเกิดขึ้นมาแทนโดยเรวัตเป็นตัวตั้งตัวตีรวบรวมเพื่อนๆ
นักดนตรีในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
หนึ่งในนั้นมี กฤษณ์ โชคทิพย์พัฒนา
ร่วมอยู่ด้วยThe Thanks ออกแสดงตามงานของมหาวิทยาลัย
ความเป็นวงดนตรีนำสมัย เล่นและร้องเพลงเต้นรำสมัยใหม่
ทำให้วงนิสิตนักศึกษาอย่าง
The Thanks ได้รับความนิยมมากในสมัยนั้น
และได้รับการติดต่อให้ไปแสดงสลับกับวงดนตรีดังอย่าง
สุนทราภรณ์ และ ดิ อิมพอสสิเบิ้ล
ปี 2515 เรวัตอยู่ในช่วงเรียนจบจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ได้รับการชักชวนจากวงดิ อิมพอสสิเบิ้ล
ให้เดินทางไปร่วมแสดงที่ฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกา
ในตำแหน่งนักร้องนำ และมือคีย์บอร์ด วงดิ อิมพอสสิเบิ้ล
ตระเวนเล่นดนตรี ในประเทศยุโรป สแกนดิเนเวีย
และหลังสุดคือ กรุงไทเป ประเทศไต้หวัน
เรวัตเป็นสมาชิกวงดิ อิมพอสสิเบิ้ลอยู่ 4 ปีหลังจากยุบวงในปี 2520
วินัย พันธุรักษ์ เป็น ผู้ชักชวนเรวัต พุทธินันทน์
ตั้งวงดนตรีชื่อ The Oriental Funk
ตระเวนเปิดการแสดงในยุโรปและสหรัฐอเมริกา
ระหว่างนั้น เรวัตก็ได้ศึกษาการเขียนเพลงและดนตรีเพิ่มเติม
ก่อนจะกลับมาเล่นประจำที่คลับคาซาบลังกา โรงแรมมณเฑียร
The Oriental Funk ร่วมกันเล่นดนตรีอยู่ประมาณ 4 ปี
ก่อนจะถึงจุดอิ่มตัว ที่สมาชิกทุกคนแยกย้ายกันไปทำงานส่วนตัว
เรวัตเริ่มทำงานเบื้องหลัง เป็นโปรดิวเซอร์ให้กับค่ายเพลง
และตั้งบริษัทกับวินัย พันธุรักษ์
ทำงานเพลงโฆษณา เพลงประกอบภาพยนตร์
ปี 2525 เรวัตทำหน้าที่ผู้ช่วยอัดเสียง
ที่ห้องอัดเสียง JBL ก่อตั้งบริษัท อาร์ เอ็น เอ โปรดักชั่น
ผลิตงานเพลงและดนตรี
เป็นตัวแทนประเทศไทยร่วมร้องเพลงที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
และที่กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์
กระทั่งปี 2526ได้ร่วมก่อตั้งบริษัท แกรมมี่ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์
และดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ
ฝ่ายผลิตโปรดิวเซอร์งานเพลงไทยและสากลให้กับศิลปิน เช่น
พญ.พันทิวา สินรัชตานนท์,นันทิดา แก้วบัวสาย,
ฐิติมา สุตสุนทร และธงไชย แมคอินไตย์
เรวัต พุทธินันทน์ ได้สร้างสรรค์อัลบั้มของตนเองไว้ 4 อัลบั้ม คือ
อัลบั้ม"เต๋อ 1", "เต๋อ 2", "เต๋อ 3" และ "ชอบก็บอกชอบ"
เนื้อเพลงที่เขียนขึ้นเปี่ยมไปด้วยแนวคิดปรัชญาชีวิต
ตำแหน่งสุดท้ายของเรวัต พุทธินันทน์ คือ
ประธานกรรมการบริษัท แกรมมี่ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด มหาชน
เรวัต พุทธินันทน์ สมรสกับ อรุยา (สิทธิประเสริฐ) พุทธินันทน์
ในปี 2517
หลังจากทั้งคู่คบหากันมาตั้งแต่ครั้งยังเป็นนักศึกษา
อยู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
โดยมีบุตรสาวด้วยกัน 2 คน คือ
สุทธาสินี (แพ็ท) และ สิดารัศมิ์ (พีช) พุทธินันทน์
เต๋อ-เรวัต พุทธินันทน์ จากไปอย่างสงบ
เมื่อเช้าตรู่ของวันที่ 27 ตุลาคม 2539
หลังต่อสู้กับโรคมะเร็งร้ายที่สมอง
ท่ามกลางความอาลัยของครอบครัว
เพื่อน พี่น้องที่ร่วมเส้นทางชีวิต
ทว่าผลงานของเต๋อ-เรวัต ได้สร้างสรรค์ไว้
ก็ยังคงอยู่และได้รับการขับขาน
และด้วยเจตนารมณ์ที่ตั้งใจไว้เมื่อครั้งมีชีวิตอยู่
ปัจจุบันได้เกิดมูลนิธิเรวัต พุทธินันทน์
เพื่อเป็นอนุสรณ์และสืบทอดความตั้งใจที่ต้องการจะส่งเสริม
และสนับสนุนให้เยาวชนไทย
ได้มีโอกาสศึกษาหาความรู้ในทุกๆด้านของดนตรี
โดย ทางมูลนิธิได้ร่วมกับสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
จัดสร้าง "ห้องสารนิเทศทางดนตรี เรวัต พุทธินันทน์" ขึ้น
เพื่อให้บริการความรู้ด้านดนตรีแก่คนรุ่นหลังตามที่เรวัต พุทธินันทน์ เคยตั้งปณิธานไว้พี่เต๋อ เรวัต พุทธินันทน์
นักร้อง นักแต่งเพลง โปรดิวเซอร์
เป็นบุคคลสำคัญทางประวัติศาสตร์แห่งวงการเพลงไทย
เป็นโปรดิวเซอร์ นักดนตรี นักแต่งเพลงในตำนาน
เป็นผู้ปฏิวัติวงการเพลงไทยให้ไปสู่ยุคทองแห่งความเจริญรุ่งเรือง
และผู้ริเริ่มความทันสมัยของดนตรีสมัยใหม่ให้กับประเทศไทย
เป็นผู้บุกเบิกแนวเพลงสตริงอันทันสมัยให้กับการ เพลงไทย
ผู้นำแนวเพลง ร๊อค ป๊อบ แดนซ์ โมเดิร์นแจ๊ส ฟังค์ ฯลฯ
เข้ามาเป็นที่นิยมในไทย เป็นผู้มีคุณูปการ
มหาศาลแก่วงการเพลงไทย
เป็นผู้ปลุกปั้นศิลปินให้มีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับ
เป็นบุคคลตัวอย่าง
แรงบันดาลใจให้กับนักร้องนักดนตรีของเมืองไทย
มาจวบจนสมัยนี้
เกิด 5 กันยายน พ.ศ. 2491-เสียชีวิตเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2539
รวม อายุ 48 ปี
เรวัต พุทธินันทน์
เต๋อ
วันเกิด 5 กันยายน 2491
ถึงแก่กรรม 27 ตุลาคม 2539 (ด้วยโรคมะเร็ง)
การศึกษา ระดับอนุบาล โรงเรียนอนุบาลละอออุทิศ
ระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนเซนต์คาเบรียล
ระดับปริญญาตรี คณะเศรษฐศาสตร์ สาขาการเงินการธนาคาร
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ประสบการณ์ทางดนตรี
ปี 2515 เข้า ร่วมเป็นสมาชิกวง ดิ อิมพอสสิเบิ้ล (The Impossible)
ในตำแหน่งร้องนำและคีย์บอร์ด เดินทางไปแสดงคอนเสิร์ตที่ฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกา
ปี 2516-2519 วง ดิ อิมพอสสิเบิ้ล ตระเวนแสดงคอนเสิร์ตในประเทศแถบยุโรป
สแกนดิเนเวีย เช่น ประเทศสวีเดน นอร์เวย์ และฟินแลนด์ (ก่อนจะยุบวงในปีพ.ศ.2520)
ปี 2520 ร่วม กับ วินัย พันธุรักษ์ ก่อตั้งวง ดิโอเรียนเต็ล ฟั้งค์ (The Oriental Funk)
และรับตำแหน่งนักร้องนำ และซินธีไซเซอร์ เล่นประจำที่โรงแรมมณเฑียร
ปี 2525-2526 ทำ หน้าที่เป็นผู้ช่วยอัดเสียง ที่ห้องอัดเสียง JBL
ก่อตั้งบริษัท อาร์ เอ็น เอ โปรดักชั่น ผลิตงานเพลงและดนตรี
และเป็นตัวแทนประเทศไทยร่วมร้องเพลงที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น และที่กรุงมนิลา
ประเทศฟิลิปปินส์
ปี 2526 ร่วม ก่อตั้งบริษัท แกรมมี่ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์
และดำรงตำแหน่งประธานกรรมการฝ่ายผลิต โปรดิวเซอร์งานเพลงทั้งไทยและสากล
ให้กับศิลปินหลายคน เช่น พญ.พันทิวา สินรัชตานนท์ (ศิลปินคนแรกของค่ายแกรมมี่),
นันทิดา แก้วบัวสาย, ฐิติมา สุตสุนทร, ธงไชย แมคอินไตย์ เป็นต้น
ผลงานเพลง
ปี 2525 อัลบั้ม เรามาร้องเพลงกัน
ปี 2526 อัลบั้ม เต๋อ 1
ปี 2528 อัลบั้ม เต๋อ 2
ปี 2529 อัลบั้ม เต๋อ 3
ปี 2529 อัลบั้ม บันทึกการแสดงคอนเสิร์ตปึ้กกก…! (อัลบั้มพิเศษ)
ปี 2530 อัลบั้ม ชอบก็บอกชอบ
ปี 2535 เพลงประกอบละครเรื่อง รักในร้อยแค้น (ช่อง 5) ในเพลง รักเธอมากกว่า
ปี 2549 อัลบั้มรวมเพลง Beloved Memories Of Rewat Buddhinan
ผลงานละคร
ปี 25.. สงครามประสาท
ปี 2534 ข้าวนอกนา (ช่อง 7)
ปี 25.. ตุ๊กตาแก้ว
ปี 25.. วิหคหลงรัง
ผลงานภาพยนตร์
ปี 2527 น้ำพุ
ปี 25.. เพื่อน
ผลงานอื่นๆ
โฆษณาอเมริกันเอ็กซ์เพรส ชุด "Portrait"
(รายได้มอบให้กับมูลนิธิสถาบันแสงสว่าง เพื่อช่วยเหลือคนพิการทางสมอง)
ทำเพลงโฆษณา เพลงไตเติ้ลรายการโทรทัศน์ เพลงประกอบภาพยนตร์
พิธีกรรายการ "ประตูดวง" ทางช่อง 7