Custom Search

Jun 19, 2009

หลวงพ่อชา สุภัทโท – ตอบปัญหาธรรม (ตอบปัญหาธรรมแก่พระสงฆ์)


ได้พากเพียรอย่างหนักในการปฏิบัติกรรมฐาน แต่ไม่ได้ผลคืบหน้า

เรื่องนี้สำคัญมาก อย่าพยายามที่จะเอาอะไรๆ ในการปฏิบัติ ความอยากอย่างแรงกล้าที่จะหลุดพ้น หรือรู้แจ้งนั้น จะเป็นความอยากที่ขวางกั้นท่านจากการหลุดพ้น ท่านจะเพียรพยายามอย่างหนักตามใจท่านก็ได้ จะเร่งความเพียรทั้งกลางคืนกลางวันก็ได้ แต่ถ้าการฝึกปฏิบัตินั้นยังประกอบด้วยความอยาก ที่จะบรรลุเห็นแจ้งแล้ว ท่านจะไม่มีทางที่จะพบความสงบได้เลย แรงอยากจะเป็นเหตุให้เกิดความ สงสัยและความกระวนกระวายใจ ไม่ว่าท่านจะฝึกปฏิบัติมานานเท่าใดหรือหนักเพียงใด ปัญญา (ที่แท้)จะไม่เกิดขึ้นจากความอยากนั้น ดังนั้น จงเพียงแต่ละความอยากเสีย จงเฝ้าดูจิตและกายอย่างมีสติ แต่อย่ามุ่งหวังที่จะบรรลุถึงอะไร อย่ายึดมั่นถือมั่นแม้ในเรื่องการฝึกปฏิบัติหรือในการรู้แจ้ง

ควรจะนอนหลับมากน้อยเพียงใด

อย่าถาม ตอบไม่ได้ บางคนนอนหลับคืนละประมาณ ๔ ชั่วโมงก็พอ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญก็คือ ท่านเฝ้าดูและรู้จักตัวของท่านเอง ถ้าท่านนอนน้อยจนเกินไป ท่านก็จะไม่สบายกาย ทำให้คุมสติไว้ได้ยาก ถ้านอนมากเกินไป จิตใจก็จะตื้อเฉื่อยชา หรือซัดส่าย จงหาสภาวะที่พอเหมาะกับตัวท่านเอง ตั้งใจ เฝ้าดูกายและจิต จนท่านรู้ระยะเวลาหลับนอนที่พอเหมาะสำหรับท่าน ถ้าท่านรู้สึกตัวตื่นแล้วและยังซุกตัวของีบต่อไป นี่เป็นกิเลสเครื่องเศร้าหมอง จงมีสติรู้ตัวทันทีที่ลืมตาตื่นขึ้น

จิตของชาวเอเชียและชาวตะวันตกแตกต่างกันหรือไม่
โดยพื้นฐานแล้วไม่แตกต่างกัน ดูจากภายนอก ขนบธรรมเนียมประเพณีและภาษาที่ใช้อาจดูต่างกัน แต่จิตมนุษย์นั้นเป็นธรรมชาติซึ่งเหมือนกันหมด ไม่ว่าชาติใดภาษาใด ความโลภและความเกลียดก็มี เหมือนกันทั้งในจิตของชาวตะวันออกหรือชาวตะวันตก ความทุกข์และความดับแห่งทุกข์ก็เหมือนกันในทุกๆ คน

เราควรอ่านตำรับตำรามากๆ หรือศึกษาพระไตรปิฎกด้วยหรือไม่ในการฝึกปฏิบัติ
พระธรรมของพระพุทธเจ้านั้นไม่อาจค้นพบได้ด้วยตำราต่างๆ ถ้าท่านต้องการจะรู้เห็นจริง ด้วยตัวของท่านเองว่าพระพุทธเจ้าตรัสสอนอะไร ท่านไม่จำเป็นต้องวุ่นวายกับตำรับตำราเลย จงเฝ้าดูจิตของท่านเอง พิจารณาให้รู้เห็นว่าความรู้สึกต่างๆ (เวทนา) เกิดขึ้นและดับไปอย่างไร ความนึกคิดเกิดขึ้นและดับไปอย่างไร อย่าได้ผูกพันอยู่กับสิ่งใดเลย จงมีสติอยู่เสมอ เมื่อมีอะไรๆ เกิดขึ้นให้ได้รู้ได้เห็น นี่คือทางที่จะบรรลุถึงสัจธรรมของพระพุทธองค์ จงเป็นปกติธรรมดา ตามธรรมชาติ ทุกสิ่งทุกอย่างที่ท่าน ทำขณะอยู่ที่นี่เป็นโอกาสแห่งการฝึกปฏิบัติ เป็นธรรมะทั้งหมดเมื่อท่านทำวัตรสวดมนตร์อยู่ พยายามให้มีสติ ถ้าท่านกำลังเทกระโถนหรือล้างส้วมอยู่ อย่าคิดว่าท่านกำลังทำบุญทำคุณให้กับผู้หนึ่งผู้ใด มีธรรมะ อยู่ในการเทกระโถนนั้น อย่ารู้สึกว่า ท่านกำลังฝึกปฏิบัติอยู่เฉพาะเวลานั่งขัดสมาธิเท่านั้น พวกท่าน บางคนบ่นว่า ไม่มีเวลาพอที่จะทำสมาธิภาวนา แล้วเวลาหายใจเล่ามีเพียงพอไหม การทำสมาธิภาวนา ของท่านคือการมีสติระลึกรู้ และการรักษาจิตให้เป็นปกติตามธรรมชาติในการกระทำทุกอิริยาบถ

บางครั้งกังวลใจอยู่กับพระวินัยของพระสงฆ์ ถ้าฆ่าแมลงโดยบังเอิญแล้วจะผิดไหม
ศีลหรือพระวินัยและศีลธรรมเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่อการฝึกปฏิบัติของเรา แต่ท่านต้องไม่ยึดมั่น ถือมั่นในกฎเกณฑ์ต่างๆ อย่างงมงาย ในการฆ่าสัตว์หรือการละเมิดข้อห้ามอื่นๆ นั้น มันสำคัญที่เจตนา ท่านย่อมรู้อยู่แก่ใจของท่านเอง อย่าได้กังวลกับเรื่องพระวินัยให้มากจนเกินไป ถ้านำมาปฏิบัติอย่างถูกต้อง ก็จะช่วยเสริมการฝึกปฏิบัติ แต่พระภิกษุบางรูปกังวลกับกฎเกณฑ์เล็กๆ น้อยๆ มากเกินไป จนนอนไม่เป็นสุข พระวินัยไม่ใช่ภาระที่ต้องแบก
ในการฝึกปฏิบัติของเราที่นี่มีรากฐานคือพระวินัย พระวินัยรวมทั้งธุดงควัตรและการปฏิบัติ ภาวนา การมีสติและการสำรวมระวังในกฎระเบียบต่างๆ ตลอดจนในศีล ๒๒๗ ข้อนั้นให้คุณประโยชน์ อันใหญ่หลวง ทำให้มีความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย ไม่ต้องพะวงว่าจะต้องทำตนอย่างไร ดังนั้นท่านก็หมดเรื่องต้องครุ่นคิด และมีสติดำรงอยู่แทน พระวินัยทำให้พวกเราอยู่ด้วยกันอย่างกลมกลืน และชุมชนก็ดำเนินไปอย่างราบรื่น ลักษณะภายนอกทุกๆ คนดูเหมือนกัน และปฏิบัติอย่างเดียวกัน พระวินัยและศีล ธรรมเป็นบันไดอันแข็งแกร่ง นำไปสู่สมาธิยิ่งและปัญญายิ่ง โดยการปฏิบัติอย่างถูกต้องตามพระวินัยของพระสงฆ์ และธุดงควัตรทำให้เรามีความเป็นอยู่อย่างง่ายๆ และต้องจำกัดจำนวนบริขารของเราด้วย ดังนั้น ที่นี่เราจึงมีการปฏิบัติที่ครบถ้วนตามแบบของพระพุทธเจ้า คือ งดเว้นจากความชั่วและทำความดี มีความเป็นอยู่อย่างง่ายๆ ตามความจำเป็นขั้นพื้นฐาน ชำระจิตให้บริสุทธิ์ โดยการเฝ้าดูจิตและกายของเรา ในทุกๆ อิริยาบถ เมื่อนั่งอยู่ ยืนอยู่ เดินอยู่ หรือนอนอยู่ จงรู้ตัวของท่านเอง

ควรจะทำอย่างไรเมื่อสงสัย บางวันวุ่นวายใจด้วยความสงสัยในเรื่องการปฏิบัติ
ความสงสัยนั้นเป็นเรื่องปกติธรรมดา ทุกคนเริ่มต้นด้วยความสงสัย ท่านอาจได้เรียนรู้อย่างมากมาย จากความสงสัยนั้น ที่สำคัญก็คือ ท่านอย่าถือเอาความสงสัยนั้นเป็นตัวเป็นตน นั่นคืออย่าตกเป็น เหยื่อของความสงสัย ซึ่งจะทำให้จิตใจของท่านหมุนวนเป็นวัฏฏะอันไม่มีที่สิ้นสุด แทนที่จะเป็นเช่นนั้น จงเฝ้าดูกระบวนการเกิดดับของความสงสัยของความฉงนสนเท่ห์ ดูว่าใครคือผู้ที่สงสัย ดูว่าความสงสัย นั้นเกิดขึ้นและดับไปอย่างไร แล้วท่านจะไม่ตกเป็นเหยื่อของความสงสัยอีกต่อไป ท่านจะหลุดพ้นออก จากความสงสัยและจิตของท่านก็จะสงบ ท่านจะเห็นว่าสิ่งทั้งหลายเกิดขึ้นและดับไปอย่างไร ปล่อยวาง ความสงสัยของท่านและเพียงแต่เฝ้าดู นี่คือที่สิ้นสุดของความสงสัย

วิธีฝึกปฏิบัติ (วิธีภาวนา) มีหลายวิธีจนสับสน
มันก็เหมือนกับการจะเข้าไปในเมือง บางคนอาจจะเข้าเมืองทางทิศเหนือ ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ฯลฯ ทางถนนหลายสาย โดยมากแล้วแนวทางภาวนาก็แตกต่างกันเพียงรูปแบบเท่านั้น ไม่ว่าท่านจะเดินทางสายหนึ่งสายใด เดินช้าหรือเดินเร็ว ถ้าท่านมีสติอยู่เสมอ มันก็เหมือนกันทั้งนั้น ข้อสำคัญที่สุดก็คือ แนวทางภาวนาที่ดีและถูกต้องจะต้องนำไปสู่การไม่ยึดมั่นถือมั่น ลงท้ายแล้วก็ต้องปล่อยวาง แนวทางภาวนาทุกรูปแบบด้วย ผู้ปฏิบัติต้องไม่ยึดมั่นแม้ในตัวอาจารย์ แนวทางใดที่นำไปสู่การปล่อยวาง สู่การไม่ยึดมั่นถือมั่น ก็เป็นทางปฏิบัติที่ถูกต้อง
ท่านอาจจะอยากเดินทางไปเพื่อศึกษาอาจารย์ท่านอื่นอีก และลองปฏิบัติตามแนวทางอื่นบ้างก็ได้ พวกท่านบางคนก็ทำเช่นนั้น นี่เป็นความต้องการตามธรรมชาติ ท่านจะรู้ว่า แม้ได้ถามคำถามนับพันคำถามก็แล้ว และมีความรู้เรื่องแนวทางปฏิบัติอื่นๆ ก็แล้ว ก็ไม่อาจจะนำท่านเข้าถึงสัจจธรรมได้ ในที่สุด ท่านก็จะรู้สึกเบื่อหน่าย ท่านจะรู้ว่าเพียงแต่หยุดและสำรวจตรวจสอบดูจิตของท่านเองเท่านั้น ท่านก็จะรู้ ว่าพระพุทธเจ้าตรัสสอนอะไร ไม่มีประโยชน์ที่จะแสวงหาออกไปนอกตัวเอง ผลที่สุดท่านต้องหันกลับมา เผชิญหน้ากับสภาวะที่แท้จริงของตัวท่านเอง ตรงนี้แหละที่ท่านจะเข้าใจธรรมะได้

จำเป็นไหมที่จะต้องนั่งภาวนาให้นานๆ
ไม่จำเป็นต้องนั่งภาวนานานนับเป็นหลายๆ ชั่วโมง บางคนคิดว่ายิ่งนั่งภาวนานานเท่าใดก็จะยิ่ง เกิดปัญญามากเท่านั้น ผมเคยเห็นไก่กกอยู่ในรังของมันทั้งวันนับเป็นวันๆ ปัญญาที่แท้เกิดจากการที่เรา มีสติในทุกๆ อิริยาบถ การฝึกปฏิบัติของท่านต้องเริ่มขึ้นทันทีที่ท่านตื่นนอนตอนเช้า และต้องปฏิบัติ ให้ต่อเนื่องไปจนกระทั่งนอนหลับไป อย่าไปห่วงว่าท่านต้องนั่งภาวนาให้นานๆ สิ่งสำคัญก็คือท่าน เพียงแต่เฝ้าดูไม่ว่าท่านจะเดินอยู่ หรือนั่งอยู่ หรือกำลังเข้าห้องน้ำอยู่
แต่ละคนต่างก็มีทางชีวิตของตนเอง บางคนต้องตายเมื่อมีอายุ ๕๐ ปี บางคนเมื่ออายุ ๖๕ ปี และบางคนเมื่ออายุ ๙๐ ปี ฉันใดก็ฉันนั้น ปฏิปทาของท่านทั้งหลายก็ไม่เหมือนกัน อย่าคิดมาก หรือกังวลใจในเรื่องนี้เลย จงพยายามมีสติและปล่อยทุกสิ่งให้เป็นไปตามปกติของมัน แล้วจิตของท่านก็จะสงบมากขึ้นๆ ในสิ่งแวดล้อมทั้งปวง มันจะสงบนิ่งเหมือนหนองน้ำใสในป่า ที่ซึ่งบรรดาสัตว์ป่าที่สวยงาม และหายากจะมาดื่มน้ำในสระนั้น ท่านจะเข้าใจถึงสภาวะธรรมของสิ่งทั้งปวง (สังขาร) ในโลกอย่างแจ่มชัด ท่านจะได้เห็นความอัศจรรย์และแปลกประหาดทั้งหลายเกิดขึ้นและดับไป แต่ท่านก็จะยังคงสงบอยู่เช่นเดิม ปัญหาทั้งหลายจะบังเกิดขึ้นแต่ท่านจะรู้ทันมันได้ทันที นี่แหละคือศานติสุขของพระพุทธเจ้า

จิตฟุ้งซ่านมากทั้งๆ ที่พยายามจะมีสติอยู่
อย่าวิตกในเรื่องนี้เลย พยายามรักษาจิตของท่านให้อยู่กับปัจจุบัน เมื่อเกิดรู้สึกอะไรขึ้นมาภาย ในจิตก็ตาม จงเฝ้าดูมัน และปล่อยวาง อย่าแม้แต่หวังที่จะไม่ให้มีความนึกคิดเกิดขึ้นเลย แล้วจิตก็จะเข้า สภาวะปกติตามธรรมชาติของมัน ไม่มีการแบ่งแยกระหว่างความดีและความชั่ว ร้อนและหนาว เร็วหรือช้า ไม่มีเรา ไม่มีเขา ไม่มีตัวตนเลย อะไรๆ ก็เป็นของมันอยู่อย่างนั้น เมื่อท่านเดินบิณฑบาตไม่จำเป็นต้องทำอะไรพิเศษ เพียงแต่เดินและเห็นตามที่เป็นอยู่ อย่ายึดมั่นอยู่กับการแยกตัวไปอยู่แต่ลำพัง หรือกับการเก็บตัว ไม่ว่าท่านจะอยู่ที่ใด จงรู้จักตัวเองด้วยการปฏิบัติตนเป็นปกติตามธรรมชาติ และเฝ้าดู เมื่อเกิดสงสัยจงเฝ้าดูมันเกิดขึ้นและดับไป มันก็ง่ายๆ อย่ายึดมั่นถือมั่นกับสิ่งใดทั้งสิ้น
เหมือนกับว่าท่านกำลังเดินไปตามถนน บางขณะท่านจะพบสิ่งกีดขวางทางอยู่ เมื่อท่านเกิดกิเลส เครื่องเศร้าหมอง จงรู้ทันมันและเอาชนะมันโดยปล่อยให้มันผ่านไปเสีย อย่าไปคำนึงถึงสิ่งกีดขวางที่ ท่านได้ผ่านมาแล้ว อย่าวิตกกังวลกับสิ่งที่ยังไม่ได้พบ จงอยู่กับปัจจุบัน อย่าสนใจกับระยะทางของถนน หรือกับจุดหมายปลายทาง ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมเปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าท่านผ่านอะไรไป อย่าไปยึดมั่นไว้ ในที่สุดจิตจะบรรลุถึงความสมดุลตามธรรมชาติของจิต และเมื่อนั้นการปฏิบัติก็จะเป็นไปเองโดยอัตโนมัติ ทุกสิ่งทุกอย่างจะเกิดขึ้นและดับไปในตัวของมันเอง

“สูตรของเว่ยหล่าง (หรือฮุยเหนิง)” ของพระสังฆปริณายก (นิกายเซ็น) องค์ที่หก
ท่านฮุยเหนิงมีปัญญาเฉียบแหลมมาก คำสอนของท่านลึกซึ้งยิ่งนัก ซึ่งไม่ใช่ของง่ายที่ผู้เริ่มต้นปฏิบัติจะเข้าใจได้ แต่ถ้าท่านปฏิบัติตามศีลและด้วยความอดทนและถ้าท่านฝึกที่จะไม่ยึดมั่นถือมั่น ท่าน ก็จะเข้าใจได้ในที่สุด ครั้งหนึ่ง ลูกศิษย์ผมคนหนึ่งอาศัยอยู่ในกุฏิหลังคามุงแฝก ฤดูฝนนั้นฝนตกชุก และ วันหนึ่งพายุก็พัดเอาหลังคาโหว่ไปครึ่งหนึ่ง เขาไม่ขวนขวายที่จะมุงมันใหม่ จึงปล่อยให้ฝนรั่วอยู่อย่างนั้น หลายวันผ่านไป และผมได้ถามถึงกุฏิของเขา เขาตอบว่าเขากำลังฝึกการไม่ยึดมั่นถือมั่น นี่เป็นการไม่ยึด มั่นถือมั่นโดยไม่ใช้หัวสมอง มันก็เกือบจะเหมือนกับความวางเฉยของควาย ถ้าท่านมีความเป็นอยู่ดีและ เป็นอยู่ง่ายๆ ถ้าท่านอดทนและไม่เห็นแก่ตัว ท่านจึงจะเข้าใจซึ้งถึงปัญญาของท่านฮุยเหนิงได้

ขอให้อธิบายเพิ่มที่ว่าสมถะหรือสมาธิ และวิปัสสนาหรือปัญญานี้เป็นสิ่งเดียวกัน
นี่ก็เป็นเรื่องง่ายๆ นี่เอง สมาธิ (สมถะ) และปัญญา (วิปัสสนา) นี้ ต้องควบคู่กันไป เบื้องแรกจิตจะตั้งมั่นเป็นสมาธิอยู่ได้โดยอาศัยอารมณ์ภาวนา จิตจะสงบตั้งมั่นอยู่ได้เฉพาะขณะที่ท่านนั่งหลับตาเท่านั้น นี่คือสมถะและอาศัยสมาธิเป็นพื้นฐานช่วยให้เกิดปัญญา หรือวิปัสสนาได้ในที่สุด แล้วจิตก็ จะสงบไม่ว่าท่านจะนั่งหลับตาอยู่หรือเดินอยู่ในเมืองวุ่นวาย เปรียบเหมือนกับว่า ครั้งหนึ่งท่านเคยเป็นเด็ก บัดนี้ท่านเป็นผู้ใหญ่ แล้วเด็กกับผู้ใหญ่นี้เป็นบุคคลคนเดียวกันหรือเปล่า ท่านอาจจะพูดได้ว่าเป็น คนคนเดียวกัน หรือถ้ามองอีกแง่หนึ่งท่านก็อาจจะพูดได้ว่าเป็นคนละคนกัน ในทำนองเดียวกัน สมถะกับวิปัสสนา ก็อาจจะพูดได้ว่าเป็นคนละเรื่องกัน หรือเปรียบเหมือนอาหารกับอุจจาระ อาจจะเรียกได้ว่าเป็นคนละสิ่งกัน
อย่าเพิ่งเชื่อสิ่งที่ผมพูดมานี้ จงฝึกปฏิบัติต่อไป และเห็นจริงด้วยตัวของท่านเอง ไม่ต้องทำอะไร พิเศษไปกว่านี้ ถ้าท่านพิจารณาว่าสมาธิและปัญญาเกิดขึ้นได้อย่างไรแล้ว ท่านจะรู้ความจริงได้ด้วยตัว ของท่านเอง
ทุกวันนี้ผู้คนไปยึดมั่นอยู่กับชื่อเรียก ผู้ที่เรียกการปฏิบัติของพวกเขาว่า “วิปัสสนา” สมถะก็ถูก เหยียดหยามหรือผู้ที่เรียกการปฏิบัติของพวกเขาว่า “สมถะ” ก็จะพูดว่าจำเป็นต้องฝึกสมถะก่อน วิปัสสนา เหล่านี้เป็นเรื่องไร้สาระ อย่าไปวุ่นวายคิดถึงมันเลย เพียงแต่ฝึกปฏิบัติไป แล้วท่านจะรู้ได้ด้วย ตัวท่านเอง

ในการปฏิบัติของเรา จำเป็นที่จะต้องเข้าถึงฌานหรือไม่
ไม่ ฌานไม่ใช่เรื่องจำเป็น ท่านต้องฝึกจิตให้มีความสงบ และมีอารมณ์เป็นหนึ่ง (เอกัคคตา) แล้วอาศัยอันนี้สำรวจตนเอง ไม่ต้องทำอะไรพิเศษไปกว่านี้ ถ้าท่านได้ฌานในขณะฝึกปฏิบัตินี้ก็ใช้ได้เหมือนกัน แต่อย่าไปหลงติดอยู่ในฌาน หลายคนชะงักติดอยู่ในฌาน มันทำให้เพลิดเพลินได้มากเมื่อไปเล่นกับมัน ท่านต้องรู้ขอบเขตที่สมควร ถ้าท่านฉลาดท่านก็จะเห็นประโยชน์และขอบเขตของฌาน เช่นเดียวกับที่ท่านรู้ขั้นความสามารถของเด็ก และขั้นความสามารถของผู้ใหญ่

ทำไมต้องปฏิบัติตามธุดงควัตร เช่น ฉันอาหารเฉพาะแต่ในบาตรเท่านั้น
ธุดงควัตรทั้งหลายล้วนเป็นเครื่องช่วยเราให้ทำลายกิเลสเครื่องเศร้าหมอง การปฏิบัติตามข้อที่ ว่าให้ฉันแต่อาหารในบาตร ทำให้เรามีสติมากขึ้น ระลึกว่าอาหารนั้นเป็นเสมือนยารักษาโรค ถ้าเราไม่มี กิเลสเครื่องเศร้าหมองแล้ว มันก็ไม่สำคัญว่าเราจะฉันอย่างไร แต่เราอาศัยธุดงควัตรทำให้การปฏิบัติของ เราเป็นไปอย่างง่ายๆ พระพุทธองค์ไม่ได้ทรงบัญญัติธุดงควัตรไว้ว่าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับพระภิกษุทุกองค์ แต่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติธุดงควัตรสำหรับพระภิกษุผู้ประสงค์จะปฏิบัติอย่างเคร่งครัดธุดงควัตร เป็นส่วนเพิ่มขึ้นมาในศีล เพราะฉะนั้น จึงช่วยเพิ่มความมั่นคงและความเข้มแข็งของจิตใจเรา ข้อวัตรทั้งหลายเหล่านี้ มีไว้ให้ท่านปฏิบัติ อย่าคอยจับตาดูว่าผู้อื่นปฏิบัติอย่างไร จงเฝ้าดูจิตของตัวท่านเอง และดูว่าอะไรจะเป็นประโยชน์สำหรับท่าน กฎข้อที่ว่าเราต้องไปอยู่กุฏิ จะกุฏิใดก็ตามที่กำหนดไว้ให้เรา เป็นกฎที่เป็นประโยชน์เช่นเดียวกัน มันช่วยกันไม่ให้พระติดที่อยู่ ถ้าผู้ใดจากไปแล้วและกลับมาใหม่ ก็จะต้องไปอยู่กุฏิใหม่ การปฏิบัติของพวกเราเป็นเช่นนี้ คือไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งใด

หากว่าการใส่อาหารทุกอย่างรวมลงในบาตรเป็นสิ่งจำเป็นแล้ว ทำไมท่านอาจารย์จึงไม่ปฏิบัติด้วย
ถูกแล้ว อาจารย์ควรจะทำเป็นตัวอย่างแก่ลูกศิษย์ของตน ผมไม่ถือว่าท่านติผม ท่านซักถามได้ ทุกอย่างที่อยากทราบ แต่ว่ามันก็สำคัญที่ท่านต้องไม่ยึดอยู่กับอาจารย์ ถ้าดูจากภายนอก ผมปฏิบัติดี พร้อมหมดก็คงจะแย่มาก พวกท่านทุกคนก็จะพากันยึดติดในตัวผมยิ่งขึ้น แม้พระพุทธเจ้าเอง บางครั้งก็ ตรัสให้บรรดาสาวกปฏิบัติอย่างหนึ่ง และพระองค์เองกลับปฏิบัติอีกอย่างหนึ่ง ความไม่แน่ใจในอาจารย์ ของท่านก็ช่วยท่านได้ ท่านควรเฝ้าดูปฏิกิริยาของตัวเอง ท่านไม่คิดบ้างหรือว่า อาจจะเป็นไปได้ว่า ที่ผม แบ่งอาหารจากบาตรใส่จานไว้เพื่อเลี้ยงดูชาวบ้านที่มาช่วยทำงานที่วัด
ปัญญา คือสิ่งที่ท่านต้องเฝ้าดู และทำให้เจริญขึ้น รับเอาแต่สิ่งที่ดีจากอาจารย์ จงรู้เท่าทันการ ฝึกปฏิบัติของท่านเอง ถ้าผมพักผ่อนในขณะที่พวกท่านทุกองค์ต้องนั่งทำความเพียรแล้ว ท่านจะโกรธหรือไม่ ถ้าผมเรียกสีน้ำเงินว่าแดง หรือเรียกผู้ชายว่าผู้หญิงก็อย่าเรียกตามผมอย่างหลับหูหลับตา
อาจารย์องค์หนึ่งของผมฉันอาหารเร็วมาก และฉันเสียงดัง แต่ท่านสอนให้พวกเราฉันช้าๆ และฉันอย่างมีสติ ผมเคยเฝ้าดูท่านและรู้สึกขัดเคืองใจมาก ผมเป็นทุกข์แต่ท่านไม่ทุกข์เลย ผมเพ่งเล็งแต่ลักษณะภายนอก ต่อมาผมจึงได้รู้ บางคนขับรถเร็วมาก แต่ระมัดระวัง บางคนขับช้าๆ แต่มีอุบัติเหตุบ่อยๆ อย่ายึดมั่นถือมั่นในกฎระเบียบและรูปแบบภายนอก ถ้าท่านใช้เวลาอย่างมากเพียงสิบเปอร์เซ็นต์ มองดูผู้อื่น แต่เฝ้าดูตัวเองเก้าสิบเปอร์เซ็นต์ อย่างนี้เป็นการปฏิบัติที่ถูกต้องแล้ว แรกๆ ผมคอยเฝ้า สังเกตอาจารย์ของผมคืออาจารย์ทองรัต และเกิดสงสัยในตัวท่านมาก บางคนถึงกับคิดว่าท่านบ้า ท่าน มักจะทำอะไรแปลกๆ หรือเกรี้ยวกราดเอากับบรรดาลูกศิษย์ของท่าน อาการภายนอกของท่านโกรธ แต่ ภายในใจท่านไม่มีอะไร ไม่มีตัวตน ท่านน่าเลื่อมใสมาก ท่านเป็นอยู่อย่างรู้แจ้งและมีสติจนถึงวาระที่ท่าน มรณะภาพ
การมองออกไปนอกตัวเป็นการเปรียบเทียบแบ่งเขาแบ่งเรา ท่านจะไม่พบความสุขโดยวิธีนี้ และ ท่านจะไม่พบความสงบเลยถ้าท่านมัวเสียเวลาแสวงหาคนที่ดีพร้อม หรือครูที่ดีพร้อม พระพุทธเจ้า ทรงสอนให้เราดูที่ธรรมะ ที่สัจจธรรม ไม่ใช่คอยจับตาดูผู้อื่น

จะเอาชนะกามราคะที่เกิดขึ้นระหว่างการฝึกปฏิบัติได้อย่างไร
กามราคะจะบรรเทาลงได้ด้วยการเพ่งพิจารณาถึงความน่าเกลียดโสโครก (อสุภ) การยึดติดอยู่ กับรูปร่างกายเป็นสุดโต่งข้างหนึ่ง ซึ่งเราต้องมองในทางตรงข้าม จงพิจารณาร่างกายเหมือนซากศพและ เห็นการเปลี่ยนแปลงเน่าเปื่อย หรือพิจารณาอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย เช่น ปอด ม้าม ไขมัน อุจจาระ และอื่นๆ จำอันนี้ไว้และพิจารณาให้เห็นจริงถึงความน่าเกลียดโสโครกของร่างกายเมื่อมีกามราคะเกิดขึ้น ก็จะช่วยให้ท่านเอาชนะกามราคะได้

เมื่อโกรธ ควรทำอย่างไร
ถ้าท่านมีโทสะในขณะภาวนา ให้แก้ด้วยเมตตาจิต ถ้ามีใครทำไม่ดีหรือโกรธ อย่าโกรธตอบ ถ้าท่านโกรธตอบ ท่านจะโง่ยิ่งกว่าเขา จงเป็นคนฉลาดสงสารเห็นใจเขา เพราะว่าเขากำลังได้ทุกข์ จงมี เมตตาเต็มเปี่ยมเหมือนหนึ่งว่าเขาเป็นน้องชายที่รักยิ่งของท่าน เพ่งอารมณ์เมตตาเป็นอารมณ์ภาวนา แผ่เมตตาไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลายในโลก เมตตาเท่านั้นที่เอาชนะโทสะและความเกลียดได้
บางครั้งท่านอาจจะเห็นพระภิกษุรูปอื่นปฏิบัติไม่สมควร ท่านอาจจะรำคาญใจ ทำให้เป็นทุกข์โดยใช่เหตุ นี้ไม่ใช่ธรรมะของเรา ท่านอาจจะคิดอย่างนี้ว่า “เขาไม่เคร่งเท่าฉัน เขาไม่ใช่พระกรรมฐานที่ เอาจริงเอาจังเช่นฉัน เขาไม่ใช่พระที่ดี” นี่เป็นกิเลสเครื่องเศร้าหมองอย่างยิ่งของตัวท่านเอง อย่าเปรียบเทียบ อย่าแบ่งเขาแบ่งเรา จงละทิฐิของท่านเสีย และเฝ้าดูตัวท่านเอง นี่แหละคือธรรมะของเรา ท่านไม่ สามารถบังคับให้ทุกคนประพฤติปฏิบัติตามที่ท่านต้องการหรือเป็นเช่นท่านได้ ความต้องการเช่นนี้มีแต่ จะทำให้ท่านเป็นทุกข์ ผู้ปฏิบัติภาวนามักจะพากันหลงผิดในข้อนี้ การจับตาดูผู้อื่นไม่ทำให้เกิดปัญญาได้ เพียงแต่พิจารณาตนเองและความรู้สึกของตน แล้วท่านก็จะเข้าใจได้

ง่วงเหงาหาวนอนมาก ทำให้ภาวนาลำบาก ควรทำอย่างไร
มีวิธีเอาชนะความง่วงได้หลายวิธี ถ้าท่านนั่งอยู่ในที่มืด ย้ายไปอยู่ที่สว่าง ลืมตาขึ้น ลุกไปล้างหน้า ตบหน้าตนเอง หรือไปอาบน้ำ ถ้าท่านยังง่วงอยู่อีก ให้เปลี่ยนอิริยาบถ เดินจงกรมให้มาก หรือเดินถอยหลัง ความกลัวว่าจะไปชนอะไรเข้าจะทำให้ท่านหายหายง่วง ถ้ายังง่วงอยู่อีกก็จงยืนนิ่งๆ ทำใจให้สดชื่น และสมมติว่าขณะนั้นสว่างเป็นกลางวัน หรือนั่งริมหน้าผาสูงหรือบ่อลึก ท่านจะไม่กล้าหลับ ถ้าทำอย่างไรๆ ก็ไม่หายง่วงก็จงนอนเสีย เอนกายลงอย่างสำรวม ระวังและรู้ตัวอยู่จนกระทั่งท่านหลับไป เมื่อ ท่านรู้สึกตัวตื่นขึ้นจงลุกขึ้นทันที อย่ามองดูนาฬิกาหรือหลับต่ออีก เริ่มต้นมีสติระลึกรู้ทันทีที่ท่านตื่น
ถ้าท่านง่วงนอนอยู่ทุกวัน ลองฉันอาหารให้น้อยลง สำรวจตัวเอง ถ้าอีกห้าคำท่านจะอิ่มจงหยุด แล้วดื่มน้ำจนอิ่มพอดี แล้วกลับไปนั่งดูใหม่อีก เฝ้าดูความง่วงและความหิว ท่านต้องกะฉันอาหารให้พอดี เมื่อท่านฝึกปฏิบัติต่อไปอีก ท่านจะรู้สึกกระปรี้กระเปร่าขึ้นและฉันน้อยลง ท่านต้องปรับตัวของท่านเอง

ทำไมเราจึงต้องกราบกันบ่อยๆ ที่นี่ (ที่วัดหนองป่าพง)
การกราบนี้เป็นสิ่งสำคัญมาก เป็นรูปแบบซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติ การกราบนี้ต้องทำให้ถูกต้อง ก้มลงจนหน้าผากจรดพื้น วางศอกให้ชิดกับเข่า ฝ่ามือทั้งสองราบอยู่ที่พื้น ห่างกันประมาณสามนิ้ว กราบลงช้าๆ มีสติรู้อาการของกาย การกราบช่วยแก้ความถือตัวของเราได้เป็นอย่างดี เราควรกราบบ่อยๆ เมื่อท่านกราบสามหน ท่านควรตั้งจิตระลึกพระคุณของพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ นั่น คือคุณลักษณะแห่งจิตอันสะอาด สว่าง และสงบ ดังนั้นเราจึงอาศัยรูปแบบนี้ฝึกฝนตน กายแลจิตจะ ประสานกลมกลืนกัน อย่าได้หลงผิดไปจับตาดูว่า ผู้อื่นกราบอย่างไร ถ้าสามเณรน้อยดูไม่ใส่ใจ และพระผู้เฒ่าดูขาดสติ ก็ไม่ใช่เรื่องที่ท่านจะตัดสิน บางคนอาจจะสอนยาก บางคนเรียนได้เร็ว บางคนเรียนได้ช้า การพิจารณาตัดสินผู้อื่นมีแต่จะเพิ่มความหยิ่งทะนงตน จงเฝ้าดูตัวเอง กราบบ่อยๆ ขจัดความหยิ่งทะนงตนออกไป
ผู้ที่เข้าถึงธรรมะได้อย่างแท้จริงแล้ว ท่านจะอยู่เหนือรูปแบบ ทุกๆอย่างที่ท่านทำก็มีแต่การอ่อน น้อมถ่อมตน เดินก็ถ่อม ฉันก็ถ่อม ขับถ่ายก็ถ่อม ทั้งนี้ก็เพราะว่าท่านพ้นจากความเห็นแก่ตัวเสียแล้ว

กิเลสเครื่องเศร้าหมอง เช่น ความโลภหรือความโกรธ เป็นเพียงมายาหรือว่าเป็นของจริง
เป็นทั้งสองอย่าง กิเลสที่เราเรียกว่าราคะหรือความโลภ ความโกรธ และความหลงนั้นเป็นแต่เพียงชื่อ เป็นสิ่งที่ปรากฏขึ้นมา เช่นเดียวกับที่เราเรียกชามใหญ่ ชามเล็ก สวย หรืออะไรก็ตาม นี่ไม่ใช่สภาพที่เป็นจริง แต่เป็นความคิดปรุงแต่งที่เราคิดปรุงขึ้นจากตัณหา ถ้าเราต้องการชามใหญ่เราก็ว่าอันนี้ เล็กไป ตัณหาทำให้เราแบ่งแยก ความจริงก็คือมันเป็นของมันอยู่อย่างนั้น ลองมามองแง่นี้บ้าง ท่านเป็นผู้ ชายหรือเปล่า ท่านตอบว่าเป็น นี่เป็นเพียงรูปปรากฏของสิ่งต่างๆ แท้จริงแล้วท่านเป็นส่วนประกอบของ ธาตุและขันธ์ ถ้าจิตเป็นอิสระแล้ว จิตจะไม่แบ่งแยก ไม่มีใหญ่ ไม่มีเล็ก ไม่มีเขา ไม่มีเรา ไม่มีอะไร จะเป็นอนัตตา หรือความไม่ใช่ตัวตน แท้จริงแล้ว ในบั้นปลายก็ไม่มีทั้งอัตตาและอนัตตา (เป็นแต่เพียงชื่อเรียก)

คำอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับกรรม
กรรมคือการกระทำ กรรมคือการยึดมั่นถือมั่น กาย วาจา และใจ ล้วนสร้างกรรม เมื่อมีการยึดมั่นถือมั่น เราทำกันจนเกิดความเคยชินเป็นนิสัย ซึ่งจะทำให้เราเป็นทุกข์ได้ในกาลข้างหน้า นี่เป็นผลของ การยึดมั่นถือมั่นและของกิเลสเครื่องเศร้าหมองของเราที่เกิดขึ้นในอดีต ความยึดมั่นทั้งหลายจะทำให้ เราสร้างกรรม สมมติว่าท่านเคยเป็นขโมยก่อนที่จะบวชเป็นพระ ท่านขโมยเขา ทำให้เขาไม่เป็นสุข ทำให้ พ่อแม่หมดสุข ตอนนี้ท่านเป็นพระแต่เวลาที่ท่านนึกถึงเรื่องที่ท่านทำให้ผู้อื่นหมดสุขแล้ว ท่านก็ไม่สบายใจ และเป็นทุกข์แม้จนทุกวันนี้ จงจำไว้ว่า ทั้งกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม จะเป็นเหตุปัจจัยให้เกิด ผลในอนาคตได้ ถ้าท่านเคยสร้างกรรมดีไว้ในอดีต และวันนี้ก็ยังจำได้ ท่านก็เป็นสุข ความสุขใจเป็นผล จากกรรมในอดีต สิ่งทั้งปวงมีเหตุเป็นปัจจัยทั้งในระยะยาว และถ้าใคร่ครวญดูแล้วทั้งในทุกๆ ขณะด้วย แต่ท่านอย่าไปนึกถึงอดีตหรือปัจจุบันหรืออนาคต เพียงแต่เฝ้าดูกายและจิต ท่านจะต้องพิจารณาจนเห็น จริงในเรื่องกรรมด้วยตัวของท่านเอง จงเฝ้าดูจิต ปฏิบัติแล้วท่านจะรู้อย่างแจ่มแจ้ง อย่าลืมว่ากรรมใคร ก็เป็นของคนนั้น อย่ายึดมั่นและอย่าจับตาดูผู้อื่น ถ้าผมดื่มยาพิษ ผมก็ได้รับทุกข์ ไม่ใช่เรื่องที่ท่านจะมา เป็นทุกข์ด้วย จงรับเอาแต่สิ่งดีที่อาจารย์สอน แล้วท่านจะเข้าถึงความสงบ จิตของท่านจะเป็นเช่นเดียว กันกับจิตของอาจารย์ ถ้าท่านพิจารณาดู ท่านก็จะรู้ได้ แม้ว่าขณะนี้ท่านจะยังไม่เข้าใจ เมื่อท่านปฏิบัติต่อไป มันก็จะแจ่มแจ้งขึ้น ท่านจะรู้ได้ด้วยตนเอง ได้ชื่อว่าปฏิบัติธรรม
เมื่อเรายังเล็ก พ่อแม่วางกฎระเบียบกับเรา และหัวเสียกับเรา แท้จริงแล้วท่านต้องการจะช่วยเรา กว่าเราจะรู้ก็ต่อมาอีกนาน พ่อแม่และครูบาอาจารย์ดุว่าเราและเราก็ไม่พอใจ ต่อมาเราจึงเข้าใจว่า ทำไม เราจึงถูกดุ ปฏิบัติไปนานๆ แล้วท่านก็จะเห็นเอง ส่วนผู้ที่คิดว่าตนฉลาดล้ำก็จะจากไปในเวลาอันสั้น เขา ไม่มีวันจะได้เรียนรู้ ท่านต้องขจัดความคิดว่าตัวฉลาดสามารถออกไปเสีย ถ้าท่านคิดว่าท่านดีกว่าผู้อื่น ท่านก็จะมีแต่ทุกข์ เป็นเรื่องน่าสงสาร อย่าขุ่นเคืองใจ แต่จงเฝ้าดูตนเอง

เจริญสมาธิภาวนาจนจิตสงบลึก ควรทำอย่างไรต่อไป
นี่ก็ดีแล้ว ทำจิตให้สงบและเป็นสมาธิ และใช้สมาธินี้พิจารณาจิตและกาย ถ้าจิตเกิดไม่สงบก็จงเฝ้าดูด้วย แล้วท่านจะรู้ถึงความสงบที่แท้จริง เพราะอะไร เพราะท่านจะได้เห็นความไม่เที่ยง แม้ความ สงบเองก็ดูให้เห็นไม่เที่ยง ถ้าท่านยึดติดอยู่กับภาวะจิตที่สงบ แล้วท่านจะเป็นทุกข์เมื่อจิตไม่สงบ ฉะนั้น จงปล่อยวางหมดทุกสิ่ง แม้แต่ความสงบ

ท่านอาจารย์เป็นห่วงลูกศิษย์ที่พากเพียรมากหมายความว่าอย่างไร
ถูกแล้ว ผมเป็นห่วง ผมเป็นห่วงว่าเขาเอาจริงเอาจังจนเกินไป เขาพยายามเกินไป แต่ขาดปัญญา เขาเคี่ยวเข็นตนเองไปสู่ความทุกข์ยากโดยไม่จำเป็น บางคนมุ่งมั่นที่จะรู้แจ้ง เขาขบฟันแน่นและ ใจดิ้นรนอยู่ตลอดเวลา อย่างนี้เป็นความพยายามมากเกินไป คนทั่วไปก็เช่นเดียวกัน พวกเขาไม่รู้ถึง สภาพเป็นจริงของสิ่งทั้งปวง (สังขาร) สังขารทั้งปวง จิตและร่างกายล้วนเป็นของไม่เที่ยง จงเฝ้าดู และอย่ายึดมั่นถือมั่น
บางคนคิดว่าเขารู้ เขาวิพากวิจารณ์ จับตามองและลงความเห็นเอาเอง อย่างนี้ก็ตามใจเขา ทิฐิ ของใครก็ปล่อยให้เป็นของคนนั้น การแบ่งเขาแบ่งเรานี้อันตราย เปรียบเหมือนทางโค้งอันตรายของถนน ถ้าเราคิดว่าคนอื่นด้อยกว่าหรือดีกว่า หรือเสมอกันกับเรา เราก็ตกทางโค้ง ถ้าเราแบ่งเขาแบ่งเรา เราก็จะเป็นทุกข์








Conversations with architects series: สถาปัตย์กลายพันธุ์



Date: 15 Jan 2009
Location: duck unit studio
วิชญ์ พิมพ์กาญจนพงศ์
(วิชญ์)
อายุ: 32 ปี

การศึกษา: ปริญญาโท Master of Fine Arts in

Visual Communication,

University of Kent ประเทศอังกฤษ, 2543

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535-2541

ปัจจุบัน: ศิลปินอิสระ


นิธิ: ตอนนี้ผมมาทำหนังสือเป็นเรื่องเป็นราว มีซีรีส์ชุด Conversations with Architects เล่มล่าสุดที่เพิ่งออกไป คือคุยกับลูกสถาปนิก ผมตั้งใจทำหนังสือแนวนี้ เพื่อให้คนได้รู้จักพวกเราในวงการ โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ ทำมา 3 เล่ม ก็ได้ไอเดียหลายอย่าง วิถีชีวิตของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ส่วนเล่มนี้ก็จะสัมภาษณ์สถาปนิกที่เปลี่ยนไปทำอาชีพอื่นกันบ้าง ให้เด็กๆ ที่ออฟฟิศช่วยกันโหวตว่าจะสัมภาษณ์ใคร ปรากฏว่ามีชื่อวิชญ์ติดอยู่ในโผด้วย เขาบอกว่าคุณอินเทรนด์

วิชญ์: กำลังตกยุคแ
ล้วครับ (หัวเราะ) เด็กรุ่นใหม่ๆ เดี๋ยวนี้เก่งกันหลายคน

นิธิ: มันก็มีตัวตายตัวแทนในโลกเรา สถาปนิกก็เหมือนกัน ต้องมีคนใหม่ขึ้นมาแทนคนเก่า

วิชญ์: แต่ดีที่เราเห็นว่ามีคนรุ่นใหม่มา ดีกว่าเราทำไปคนเดียวแล้วไม่มีงานใหม่ๆ เกิดขึ้นเลย

นิธิ: เล่าประวัติการเรียนของคุณให้ฟังหน่อย เรียนอะไรมาบ้าง

วิชญ์: เรียนมัธยมที่สาธิต จุฬาฯ สอบเทียบเข้าสถาปัตย์ได้ตอน ม.4 ผมว่าเป็นความผิดพลาดของการศึกษาเหมือนกัน ผมไม่ควรจะมาเรียนสถาปัตย์ตั้งแต่ตอนนั้น เพราะวุฒิภาวะยังไม่มี

นิธิ: เข้าไปเรียนสถาปัตย์แล้วชอบไหมวิชญ์: ชอบครับ แต่ไม่ชอบพวกที่เป็นกฎต่างๆ เกลียดมาก ยิ่งถ้าอาจารย์คนไหนดูเป็นธุรกิจๆ หน่อย ผมก็เกเร ไม่ส่งแบบ อาจารย์คนไหนให้โชว์ไอเดียได้ ก็จะขยันทำแบบ แต่ที่ผมรู้สึกผิดมากคือตอนที่เรียนกับอาจารย์แน่งน้อย (ศาสตราจารย์กิตติคุณ หม่อมราชวงศ์ แน่งน้อย ศักดิ์ศรี) ท่านตั้งโจทย์เป็นพิพิธภัณฑ์จ่าทวีที่พิษณุโลก พอรู้ว่าเป็นสถาปัตยกรรมไทย ก็ไม่เอาเลย ไม่สนใจด้วย แต่ว่าตั้งใจทำโมเดล ทำ section perspective คืออะไรที่นอกเหนือจากโลกที่ผมคิด ก็ตัดออก ไม่เอาเลย มีโลกแคบๆ ของตัวเอง พอเพื่อนทำ thesis ผมก็ไปคิดหัวข้อให้เพื่อนทุกคน ไปขอเพื่อนทำ แทบจะไม่เข้าเรียนนิธิ: คุณเรียนสถาปัตย์กี่ปี

วิชญ์: 6 ปีครับ แล้วก็โดนรีไทร์ออกมา


นิธิ: เรียนมา 6 ปีเลยเหรอ น่าจะจบให้ได้นะ เล่าให้ฟังได้ไหม ทำไมถึงรีไทร์

วิชญ์: เป็นช่วงที่ไปทำรายการยุทธการขยับเหงือกครับ ผมต้องอัดรายการวันพฤหัส อัดเสร็จก็กินเหล้า ตามสูตรวัยรุ่นมีเงิน ผมเป็นพวกมั่นใจเกินร้อย สอบเทียบได้ตอน ม.4 แล้วก็เอ็นทรานซ์เข้าสถาปัตย์ จุฬ
าฯ ได้ พอมาเรียนส่วนใหญ่จะได้เกรด A เกรด B แต่ปรากฏว่ามั่นใจเกินไป พอติดโปรฯ (on probation) ก็ยังคิดอยู่ว่าไม่เป็นไร เดี๋ยวเทอมหน้าเอาใหม่ ท้ายที่สุดแล้วก็สายเกินไป ผมแก้โปรฯ ไม่ผ่าน ผมคิดไปคิดมาแล้ว โดนรีไทร์ก็ดีเหมือนกัน เหมือนโดนแม่ตีแรงๆ คือจะคิดว่าตัวเองเก่งอย่างเดียวไม่ได้ ต้องมีการทำงานสะสม ไม่ใช่จะมารอปฏิหาริย์ทีเดียวเหมือนที่เราคิด ผมคิดว่าอาจารย์เห็นสมควรแล้ว ต้องขอบพระคุณมาก สมมติถ้าผมรอดมาได้ก็คงโอหังมาก ผมจะไม่เคารพกฎระเบียบอะไรทั้งนั้น เป็นธรรมดาของคนที่เก่งมากๆ แล้วเอาชนะได้ทุกอย่าง ก็จะยิ่งไม่ทำตามกฎ

นิธิ: 6 ปีที่จุฬาฯ คุณได้อะไรบ้าง
วิชญ์: ผมตั้งใจเรียนวิชาที่ชอบ แต่พวกวิชา construction ที่ต้องมานั่งซีเรียสเรื่องราคาต่อตารางเมตร คือสิ่งที่ทำให้ผมวิ่งหนีออกจากสถาปัตย์ ซึ่งจริงๆ แล้ว วิชาพวกนี้ทำให้ผมมองศิลปะแบบที่ศิลปินเขาไม่มองกัน คือสถาปนิกจะสนใจปัจจัยรอบข้างเยอะมาก ในขณะที่ศิลปินจะมองจากภายใน

นิธิ: แต่ยุคนั้นพวกเราก็เข้าวงการทีวีเยอะนะครับ กำลังสนุกสุดเหวี่ยง แล้วก็ได้เงิน
เยอะ แต่ตอนนี้น้อยลงแล้ว

วิชญ์: ดีแล้วครับ เพราะรัฐบาลเขาจ่ายภาษีมาให้พัฒนาเมือง ไม่ใช่พัฒนาวงการบันเทิง แต่ที่โชคร้ายคือผมเข้าวงการไปแล้วไม่เวิร์ก เคยเ
ล่นแต่ละครคณะที่มีสคริปต์ ต้องซ้อมกันก่อน แต่พอไปทำรายการทีวีจริงๆ เขาใช้วิธีไปด้นสดบนเวที ซึ่งผมไม่ถนัด ไม่เหมือนสมัยยุคซูโม่สำอางค์ยุคแรกๆ ที่จะเล่นตามสคริปต์กันจริงจัง

นิธิ: คุณเข้าไปแทนโน้ส อุดม แต้พานิช ใช่ไหม


วิชญ์:ใช่ครับ ทำอยู่ 4 ปี ถ้าเทียบกับคนอื่นแล้ว ก็เหมือนเป็นพรอันประเสริฐ เพราะเราเป็นเด็กสถาปัตย์ มีรุ่นพี่นำทางไว้ก่อนแล้ว แต่อีกแง่หนึ่งก็เหมือนเป็นคำสาปที่ว่าเด็ก สถาปัตย์ที่มีแววหน่อย ก็จะถูกชักนำมาทางนี้ ซึ่งเป็นทั้งข้อดีและข้อเสีย คือผมไม่ได้เรียนมาทางนิเทศศาสตร์โดยตรง ซึ่งวันนี้ก็พิสูจน์แล้วว่าพวกที่เรียนนิเทศศาสตร์โดยตรง เขาได้เรื่องวิชาการจริงๆ ทั้งยังได้เรียนรู้จากประสบการณ์ที่สั่งสมมา เท่าที่เห็นหนังในบ้านเราตอนนี้ที่ยืนหยัดตามหลักการได้จริงๆ คือเรื่องแฟนฉัน ของจีทีเอช

นิธิ: ผมก็เห็นด้วยนะ ที่พวกนี้เขาทำอะไร เขามีหลักวิชาการช่วยเสริม มีแนวคิดที่เป็นระบบ พวกเราเป็นสถาปัตย์ก็เอามัน เอาเฮฮาไว้ก่อน

วิชญ์: เขามีโอกาสได้ฝึกฝนอยู่เป็นประจำ เพราะเป็นวิชาชีพเขาเอง อย่างของเราก็เกิดจากกลุ่มซูโม่ฯ กลุ่มเดียว ไม่มีรากอะไรชัดเจน ถึงแม้เขาจะยังเหนียวแน่นอยู่ถึงปัจจุบันนี้

นิธิ: หลังออกจากวงการทีวี คุณไปเรียนต่อต่างประเทศใช่ไหม

วิชญ์: ใช่ครับ ไปเรียนปริญญาโทต่อด้าน
visual communication
ที่ University of Kent เรียนอะไรที่นอกเหนือจากเรื่องกราฟิกด้วย เช่น เรื่องทฤษฎีคอมพิวเตอร์ ทฤษฎีไซเบอร์ งานสามมิติ และแอนิเมชั่น ซึ่งพี่ด้วง (ดวงฤทธิ์ บุนนาค) เป็นคนแนะนำให้ผมไปเรียนต่อทางด้านนี้ ผมเองก็อยากรู้ว่าจะเอาไปทำอะไรต่อได้ แต่พอเรียนแล้วก็ถลำลึกมาทำ video installation ได้เรียนปรัชญา วิธีการคิดของสื่อจริงๆ ไปดูว่าเขาฝึกฝนกันอย่างไร ครูที่สอนเป็นช่างภาพอาชีพ วิชาเอกที่ผมเรียนเป็นเรื่องวิดีโอกับดิจิตัลมีเดีย พอเรียนๆ ไปก็เริ่มสนใจด้านศิลปะ ซึ่งกราฟิกก็ถือเป็นศิลปะเหมือนกัน ผมสนใจในสาระของมัน แต่ไม่ได้คิดจะมาทำเป็นธุรกิจ

นิธิ: แต่คุณก็เป็นที่รู้จักในแวดวงนักศึกษาในช่วงนั้นด้วย


วิชญ์: ใช่ครับ ในช่วงปี 2542-2543 เป็นช่วงอินเตอร์เน็ตระบาด แต่ยุโรปจะช้ากว่าชาวบ้านเขา ส่วนผมคนเอเชียก็ว่าจะไปเรียนคอมพิวเตอร์ที่ยุโรป นึกว่าจะไฮเทค แต่ กลายเป็นผมไฮเทคเรื่องเทคโนโลยีมากกว่าอีก
แต่เรื่องปรัชญาของเขาจะแน่นมาก ก็เลยพอดีกัน เทคนิคก็ได้ แนวคิดก็พอจะสู้เขาได้ ครูเขาก็ค่อนข้างจะสนใจ
___________________________

นิธิ: ทำไมคุณถึงเข้าไปอยู่ในวงการศิลปะได้วิชญ์: พอกลับมาเมืองไทย ก็เอาสิ่งที่เรียนมาลองปรุงรสเป็น video installation media ตามแบบฉบับของตัวเอง ลองหาวิธีทำให้งานของผมคุยกับคนในสังคมได้ และเริ่มกลายเป็นสิ่งที่ต่างชาติสนใจว่ารสชาติ media art แบบไทยๆ เป็นอย่างไร เพราะปกติงานของฝรั่งจะเป็นเฟรมผ้าใบสีขาวธรรมดาๆ แต่เราอยู่ในเมืองไทย ซึ่งมีฉากหลังเป็นตลาด มีเสียงรถวิ่ง ห้องก็ไม่ค่อยสวย งานก็ต้องมาอัดๆ โชว์กัน ผมก็ต้องปรับตัวเอง สุดท้ายแล้วสิ่งที่เอามาใช้ทั้งหมดคือวิชาสถาปัตย์ ซึ่ง installation ที่ผมทำก็เหมือนวิชา design fundamental สมัยเรียนปีหนึ่งนั่นเอง ดูๆ ไปแล้ว ผมก็เริ่มจะมากลายพันธุ์ที่เมืองไทยล่ะครับ

นิธิ: พวกสถาปัตย์ทำอ
ะไรได้หลายอย่างรอบตัว แต่ว่าไม่เก่งจริงๆ สักอย่าง ซึ่งผมเคยอ่านเจอในหนังสือว่าคุณเปรียบตัวเองเหมือนเป็ด
วิชญ์: ยอมรับว่าตัวเองเป็นแบบนั้น คือผมมีความสนใจเยอะมาก พอเห็นอะไรใหม่ๆ ก็เหมือนเจอของเล่น พอดีมีคำว่า multi-disciplinary เข้ามาในยุคที่ผมไปเรียนปริญญาโท เหมือนการสร้างความชอบธรรมที่ดีให้กับเป็ดอย่างผมได้มีทางออก (หัวเราะ) แต่ข้อเสียคือถ้าพื้นฐานไม่แข็งก็แย่อีก มีเป็ดเยอะๆ ทำให้บูรณาการได้ก็จริง แต่ถ้าไม่มีผู้เชี่ยวชาญก็ไม่รู้จะบูรณาการไปทางไหน

นิธิ: หลังจากเรียนจบแล้ว มาทำอะไรต่อ

วิชญ์: ทำบริษัท Ewit รับออกแบบเว็บไซต์ จากนั้นก็มาเปิด Duck Unit รับงานออกแบบที่หลากหลายประเภทมากขึ้น อย่างที่เห็นๆ กันอยู่ทุกวันนี้

นิธิ: มาเปิดสตูดิโอของตัวเอง เจอปัญหาอะไรบ้างไหม

วิชญ์: ที่ผ่านมาผมทำเองทั้งหมด ไม่รู้จักระบบการจัดการ ไม่รู้ว่าสายงานของผมมีสูตรเฉพาะอย่างไร ตลอดเวลาที่ผ่านมาจะคอยบอกตัวเองว่าแอนิเมชั่นเป็นศาสตร์ใหม่ที่เราต้องคิดขึ้นมาเอง แต่ความจริงแล้วก็มีบริ
ษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Pixar Animation Studios ของดิสนีย์ที่เขาทำกันเป็นระบบ ต้องมีการบริหารจัดการบุคลากร ซึ่งผมทำไม่ได้เลย ถ้ามีโปรเจ็กต์เข้ามาเยอะๆ ก็ทำไม่ไหว เพราะไม่มีลูกน้อง ต้องทำเองตลอดเวลา เหนื่อยเหมือนกันครับ
______________________________

นิธิ: ผลงานที่ผ่านมา มีอะไรบ้าง เล่าให้ฟังหน่อย

วิชญ์: เริ่มจากงาน My Map ผมทำออกมาในลักษณะของแผนที่
เพื่อบอกเล่าถึงความเป็นเมือง มีภาษาของสถาปัตยกรร
มอยู่ในนั้นมาก จากนั้นก็ทำนิทรรศการชื่อ Fruit ทำเป็นโมเดลกระดาษรูปผลไม้ โดยทำ template เป็นแผ่นๆ ให้คนมาต่อเป็นรูปผลไม้ เพื่อเอามาแลกกับผลไม้จริง ถ้าดูจากโครงสร้าง template แล้ว ก็คงต้องเรียนสถาปัตย์มาถึงจะขึ้นฟอร์มได้ เหมือนเวลาขึ้นฟอร์มโมเดล งานนี้ไปโชว์ครั้งแรกที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งเป็นตะวันออกกลาง ศิลปินยุโรปหรืออเมริกามักจะมีอคติกับพื้นที่แถวนี้ ส่วนผมไม่ได้คิดอะไรอยู่แล้ว ที่เลือกผลไม้เป็นสื่อเพราะคิดว่าเป็นกลางที่สุด ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดที่สุดแล้ว แล้วเป็นวัตถุในแง่บวก พูดคุยกันได้หมดกับทุกคนในโลกนิธิ: งานนี้เคยไปจัดแสดงที่ญี่ปุ่นด้วยใช่ไหม

วิชญ์: ไปโยโกฮามาครับ แต่เดิมเมืองนี้มีสไตล์เป็นแบบตะวันตก ซึ่งพวกเขาต้องการจะทำให้ภาพพจน์ของพื้นที่ตร
งนั้นดีขึ้น ก็เลยพยายามสร้างสตูดิโอหลายๆ ที่ ให้ศิลปินไปแสดงงานตลอดระยะเวลา 3 เดือน ซึ่งเราต้องคิดสูตรเศรษฐกิจขึ้นมา ให้ template ผมไม้นี้ขายเท่าราคาจริงได้ สมมติว่ากล้วยจริงๆ 100 เยน ฉะนั้น template ก็ต้อง 100 เยน ซึ่งต้นทุนจริงๆ แค่ 15 เยนเท่านั้น ซึ่งผลตอบรับดีมากครับ

นิธิ: คุณออกแบบเวทีคอนเสิร์ตด้วยใช่ไหม

วิชญ์: ใช่ครับ เริ่มต้นจากไปทำ backdrop ให้เวทีคอนเสิร์ตของทีโบน โดยเอา thesis ตอนปริญญาโทของผมมาทำ ใช้ vocabulary ทั้งหมด เอาฟุตเทจที่เคยทำมายำให้ดูสนุกมากขึ้น ผมคิดว่าสาระอาจเปลี่ยนได้ เช่นให้ดนตรีเป็น caption ของงานผม เหมือนสร้าง platform ว่าคอนเสิร์ตคือที่แสดงงานศิลปะของผม ซึ่งผมค่อนข้างสนใจแนวดนตรีในยุคช่วง 5-10 ปีที่ผ่านมา

นิธิ: อะไรที่ทำให้คุณสนใจเรื่องดนตรีจริงจัง ถึงขั้นมีแรงบันดาลใจมาออกแบบเวทีคอนเสิร์ต

วิชญ์: เริ่มจากคลื่นวิทยุแฟตเรดิโอ (FM. 104.5) ชักชวนให้ผมไปจัดแสดงในง
านแฟตเฟสติวัล ซึ่งจัดเป็นประจำทุกปี ไม่ใช่แค่แสดงดนตรีอย่างเดียว แต่เป็นเหมือน creative industry complex สำหรับนักสร้างสรรค์ทุกคน เหมือนยุคแรกที่พวกซูโม่ฯ ไปทำทีวี ก็เหมือนว่ายังเป็นช่วงที่มีผ้าใบขาวๆ อยู่ แล้วเราก็ไปเล่นไปทำอะไรกันได้ จากนั้นผมก็ค่อยๆ คิดเพิ่มเรื่อยๆ จนเวทีคอนเสิร์ตกลายเป็นเหมือนของตาย ข้อดีของคอนเสิร์ตคือเป็นงานซึ่งทำรายรับเข้ามาได้ ฉะนั้น ผมอยากจะได้อุปกรณ์อะไ
ร อยากทดลองอะไร ก็ขอได้หมด น้องๆ ที่ทำด้วยกันก็ได้ practice กับอุปกรณ์จริง ภายใต้ระยะเวลาการทำงานจริงๆ

นิธิ: ใครเป็นคนต้นคิดเรื่องแฟตเฟสติวัล เขาจัดมากี่ครั้งแล้ว

วิชญ์: 7 ครั้งแล้วครับ พี่เต็ด (ยุทธนา บุญอ้อม) เป็นคนริเริ่ม ตอนนี้ก็เป็นพี่จ๋อง (พงษ์นรินทร์ อุลิศ) เริ่มจากเห็นว่ามีคนฟังเยอะ แต่สปอนเซอร์กลับไม่มีเลย ก็เลยจัดเทศกาลขึ้น แล้วเรียกสปอนเซอร์มาดู เขาก็ชอบ เพราะว่างานสนุก จากนั้นจึงค่อยๆ ขยายขึ้นเรื่อยๆ อย่างที่เคยทำก็เป็นโปรเจ็กต์ที่เอาแผนที่มาใช้ คือผมชอบแผนที่อยู่แล้ว เห็นหลายประเทศมีแผนที่ใหญ่ๆ ก็อยากให้เมืองไทยมีบ้าง เลยเสนอในงานแฟตเฟสติวัล ไปว่าอยากทำแผนที่ใหญ่ๆ ขนาด 12X12 เมตร แล้วก็ทำ tag sticker ให้คนมาเขียนข้อความแปะลงไปตามพื้นที่ต่างๆ เราก็เห็นเลยว่าบริเวณไหนที่วัยรุ่นนิยมที่สุด เช่น แถวสยามหรือมาบุญครอง ก็จะมีข้อความเหล่านี้มาแปะเยอะหน่อ
นิธิ: ทำคอนเสิร์ตให้ใครอีกบ้าง

วิชญ์: โมเดิร์นด็อกครับ ผมได้แนวคิดในการออกแบบ backdrop มาจากเกมโชว์พลิกแผ่นป้าย โดยข้างหลังใช้คนพลิกแผ่นป้ายอยู่ ค่อยๆ ไล่พลิกเหมือนสแตนเชียร์แปรอักษร ใช้พู่เชือกฟางมาเป็นอุปกรณ์ แล้วก็มีคอนเสิร์ตของวงพรู ที่ใช้กระดาษ A3 คลิปหนีบกระดาษและลวดสปริง มาสร้างสเปซแบบเป็นวงล้อมขึ้นมา ที่ใหญ่หน่อยก็คือคอนเสิร์ต B-Day จัดที่สนามราชมังคลากีฬาสถาน คนดู 40,000-50,000 คน ใช้โปรเจกเตอร์ถึง 45 ตัว เริ่มเป็นยุค media façade พอดี ผมได้ชวนแจ็ค (ปิตุพงษ์ เชาวกุล) สถาปนิกบริษัท thisdesign มาร่วมด้วย อย่างดนตรีก็มีพี่เจ้ย (อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล) มาช่วย เขาก็เข้าใจ เพราะว่าพื้นฐานเป็นสถาปนิกเหมือนกัน ทำมาหลายคอนเสิร์ตแล้วครับ จนเริ่มกลายเป็นมาตรฐานไปแล้วว่าคอนเสิร์ตจะต้องมี visual art

นิธิ: คุณช่วยด้วงออกแบบร้าน true
ที่สยามพารากอนด้วยใช่ไหม

วิชญ์: ครับ เป็นช่วงที่นิยม media façade พวกไฟประดับอาคารต่างๆ ผมเลือกใช้ flip dot ต่อสายเข้ากับ supply ที่ทำขึ้นเอง ต้องเขียนโปรแกรมเอง เพื่อหาวิธีที่ทำให้สัญญาณจากคอมพิวเตอร์มาถึง flip dot
เพื่อให้มันพลิกด้านแล้วเห็นคำว่า true หลังจากที่ทำไปแล้วตอนนี้ที่ซิดนีย์กับอังกฤษก็มีเหมือนกันครับ (หัวเราะ) อีกอันที่น่าสนใจและได้ไปแสดงที่ต่างประเทศเยอะมาก คือโปรเจ็กต์ over head night club ทำกับ จิโร่ อันโดะ เป็นสถาปนิกชาวญี่ปุ่น ทำเป็น black box ใหญ่ๆ ลอยอยู่ เจาะรูข้างล่าง ต้องมุดเข้าไป ข้างในเป็นเธคเฉพาะส่วนหัว เรียกว่า over head night club จากสมมติฐานง่ายๆ คือ เวลาไปเต้นเราจะอายๆ เพราะกลัวว่าคนอื่นจะมองเห็นว่าเราเต้นท่าไหน ก็เลยตัดให้หัวอยู่ข้างบน (หัวเราะ)

นิธิ: ทั้งหมดคือ piece of art ที่คนเข้าไปดูได้

วิชญ์: ใช่ครับ ซึ่งผมก็อยากทดลอง พอต่างประเทศเห็นแล้วก็ชอบ บางงานผมก็เอ
าไปจัดแสดงนิทรรศการศิลปะ เป็นข้อพิสูจน์ว่าผมได้ข้ามขอบเขตมาสู่งานศิลปะแล้ว จากจุดเริ่มต้นที่ทำงานศิลปะให้เป็นงานแสดง แล้วก็มาจบลงที่ทำงานให้เป็นงานศิลปะได้

นิธิ: นอกจากคุณแล้ว มีคนอื่นที่ทำงานแบบนี้ไหม

วิชญ์: ตอนนี้เริ่มมีเยอะเหมือนกันครับ หลายคนก็เป็นน้องๆ คณะที่ทำมาด้วยกัน พอเริ่มเป็นมาตรฐานแล้ว ก็จะเริ่มเข้าสูตรการตลาดเดิมว่าวงนี้อยากได้อย่างนั้นอย่างนี้ ซึ่งก็ไม่ผิด เพราะว่า ผมทำคนเดียว ปีนึงทำได้
ไม่เกิน 3 วง ก็เบื่อแล้ว เลยต้องไปหาเทคนิคใหม่ๆ มาตลอด หลายคนก็บอกว่าทำไมไม่เปิดเป็นบริษัทรับออกแบบคอนเสิร์ตเลยจริงๆ แต่ผมก็กลัวเรื่องการบริหารจัดการ กลัวการที่ต้องมานั่งทำอะไรซ้ำๆ เป็นกิจวัตร ท้ายที่สุดก็เป็นธุรกิจ ที่ผมคงรับไม่ได้ อดทนไม่พอนิธิ: เป็นคนเบื่อง่ายหรือเปล่า

วิชญ์: ใช่ครับ ถ้าทำเหมือนเดิมบ่อยๆ ก็ไม่สดแล้ว ผมกลัวว่าอาจต้องมานั่งทำคอนเสิร์ตไปเรื่อยๆ

_____________________________

นิธิ: ตอนนี้มีโปรเจ็กต์อะไรที่สนใจจะทำบ้าง

วิชญ์: ผมอยากทำนิทรรศการเรื่องบ้านของศิลปิน หรือประติมากรรมต่างๆ ที่ศิลปินหรือสถาปนิกทำ ซึ่งจะมีความแตกต่างระหว่างมุมมองของสองอาชีพนี้ อย่างประติมากรรมที่ศิลปินทำจะ self contain อยู่ตัวคนเดียว ไม่คุยกับใคร ไม่ตอบรับอะไรกับข้างนอกแล้วเขาก็
เชื่อว่าสิ่งแวดล้อมรอบข้างนั้นบริสุทธิ์ แต่ถ้างานชิ้นไหนที่เราดูแล้วรู้สึกว่ามีการคุยกันระหว่างงานกับคนดู แสดงว่าคนที่สร้างนั้นมีพื้นฐานด้านสถาปัตย์มาก่อน

นิธิ: ตอนนี้ผมกำลังทำหนังสือรวบรวมบ้านศิลปิน เป็นบ้านที่ศิลปินเป็นคนออกแบบเอง อย่างคุณถวัลย์ ดัชนี คุณไทวิจิต พึ่งเกษมสมบูรณ์ คุณชาติชาย ปุยเปีย ก็น่าสนใจ เพราะที่ผ่านไม่ค่อยมีโอกาสเห็น detail ของบ้านมากนัก อย่างบ้านคุณถวัลย์ก็มี detail เยอะมาก เขาคิดแบบที่เราไม่เคยคิดถึง แม้ว่าจะออกมาเป็นแบบล้านนา แต่ว่าก็เป็นตัวของคุณถวัลย์ หรืออย่างบ้านของคุณจักรพันธุ์ โปษยกฤตที่ดูเรียบๆ แต่น่าสนใจด้วยผลงานของเขา ชีวิตเขาน่าสนใจ ผมก็เลยจะเอามารวมไว้ด้วย

วิชญ์: อีกคนที่น่าสนใจคืออาจารย์ชวลิต เสริมปรุงสุข เป็นอาจารย์สอนที่มหาวิทยาลัยศิลปากรแล้วไปอยู่เนเธอร์แลนด์ ภาพเขียนของเขาดูแล้วมีโครงสร้างเหมือนงานสถาปัตย์ ส่วนบ้านของเขาถึงจะดูหนักเรื่องโครงสร้างก็จริง แต่ก็ยังมีอะไรแปลกๆ น่าสนใจออกมาด้วย ผมว่าศาสตร์ด้านดีไซน์กับศิลปะมันไหลเวียนกันได้ บางทีดีไซน์ก็มีความสัมพันธ์บางอย่างที่ศิลปะไม่มี มันไม่ได้มองเรื่องผลประโยชน์อย่างเดียว แต่มองเรื่องปัจจัยภายนอกด้วย อย่างงานของผมเองก็มีภาษาในสถาปัตยกรรมอยู่ด้วยเหมือนกัน
_____________________
_______________
นิธิ: อะไรที่ทำให้คุณเป็นที่รู้จัก เพราะตอนนี้คุณกลายเป็นศิลปินระดับอินเตอร์ฯ ไปแล้ว

วิชญ์: ผมว่าก็เหมือนเราไปลงทะเบียนเว็บโป๊ไว้ (หัวเราะ) แล้วก็จะมีอีเมลล์ขายไวอากร้าส่งมาหาตลอดเวลา วงการศิลปะก็คล้ายๆ กัน คือแคบมาก พอเป็นที่รู้จักหรือมีคนพูดถึงบ่อยๆ คนทั่วไปก็พอจะรู้แล้วว่าคนนี้คือใคร เวลาฝรั่งมาเมืองไทย เขาก็จะมีชื่อศิลปินไทยอยู่ในหัว อย่างพี่ฤกษ์ฤทธิ์ ติระวนิช พี่นาวิน ลาวัลย์ชัยกุล อาจารย์สุรสีห์ กุศลวงศ์ รุ่นใหม่ก็มีผมกับ
พรทวีศักดิ์ ริมสกุล ปรัชญา พิณทอง แต่ต้องบอกก่อนว่า ผมไม่ได้ฝึกเ
พื่อมาเป็นศิลปินโดยตรง

นิธิ: คุณได้ไปเวนิส เบียนนาเล่ (La Biennale di Venezia) ไหม
วิชญ์: ไม่ได้ไปครับ ตอนนี้เบียนนาเล่ (Biennale) กลายเป็นเหมือนโรงเรียนศิลปะแล้ว ศิลปินบางคนแค่เดินทางไปทุกเบียนนาเล่ก็หมดปีแล้ว เยอะมากเหมือนกัน

นิธิ: เล่าให้ฟังหน่อยว่าเบียนนาเล่คืออะไร

วิชญ์: คือการจัดแสดงงานนิทรรศการที่เกิดขึ้นทุกๆ 2 ปี นอกเหนือจากงานศิลปะแล้ว ก็ยังมีงานดีไซน์ มีงานสถาปัตย์ด้วย เริ่มต้นจากที่เวนิส ไม่รู้ว่าด้วยเหตุผลใด กลายเป็นเหมือนกับเทศกาลที่ทุกประเทศในโลกอยากจะมี สิงคโปร์ก็มี ผมเชื่อว่าเมืองไทยกำลังอยากจะมีเบียนนาเล่อยู่เหมือนกัน อย่างแฟตเฟสติวัลก็เป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นทุกปี ผมก็ได้ชวนเพื่อนศิลปินที่ทำงานในแบบที่เด็กๆ ดูได้ง่ายๆ เข้าไปโชว์ เพราะตั้งใจจะสร้างฐานผู้ชมให้เยอะขึ้

นิธิ: การที่คุณได้ไปจัดแสดงงานในต่างประเทศหลายๆ ครั้ง ก็เหมือนไประบายออก รวมทั้งได้ไปหาไอเดียต่างๆ ได้ไปเห็นคนอื่นทำงานด้วย

วิชญ์: แต่ได้แค่ผมคนเดียวเองครับ ตอนนี้ถ้าผมอยู่คนเดียวก็อยู่ได้ พอมีเงินเก็บนิดๆหน่อยๆ

นิธิ: เวลาไปจัดแสดงงานที่ต่างประเทศต้องมีทีมไหม


วิชญ์: แล้วแต่กรณีครับ ถ้าสเกลงานใหญ่ก็ต้องมีทีมงานไป

นิธิ: เคยมีปัญหาในเรื่องของการสื่อการกับคนที่เข้ามาชมงานศิลปะของเราไหม

วิชญ์: อาจจะเป็นข้อดีของการทำทีวีหรือเล่นตลก คืองานผมจะต้องมีเสี้ยวหนึ่งที่คนดูแล้ว get หรือตลก คือคุณอาจจะไม่เข้าใจทั้งหมด หรือไม่จำเป็นต้องรู้ทุกอย่างที่เราคิดก็ได้ งานต้องยืนได้เองโดยที่เราไม่ต้องไปคอยอธิบาย
__________________________

นิธิ: คุณเคยมีความคิดอยากเป็นสถาปนิกบ้างไหม

วิชญ์: สมัยเริ่มเล่นละครคณะตอนปี 2 ทำให้รู้สึกว่ามีอะไรที่น่าสนใจกว่าวิชาสถาปัตย์ ทำให้ตัดสินใจไปทำทีวี เพราะคิดว่าเป็นที่ๆ จะทำอะไรก็ได้ อย่างสถาปนิกจะสร้างตึกแต่ละทีก็มีข้อจำกัดเยอะเหลือเกิน ซึ่งจริงๆ แล้วพอไปทำทีวีก็เจอข้อจำกัดเหมือนกัน เช่น คำ
ว่า mass กับไม่ mass เพราะฉะนั้นทุกอย่างมีข้อจำกัดหมด ปัจจุบันนี้หนีมาศิลปะ ซึ่งนึกว่าอิสระที่สุดแล้ว แต่ก็ยังมีข้อจำกัดเหมือนกัน

นิธิ: อะไรคือข้อจำกัดของวงการศิลปะ

วิชญ์: คำว่าศิลปะ มันขังตัวเองเยอะเกินไป เช่น กลัวดูไม่เป็นศิลปะ
นิธิ: ศิลปินกลัวคำวิจารณ์ไหม
วิชญ์: ผมว่ากลัว ศิลปินถูกฝึกมาให้เป็นอิสระจากทุกอย่าง เป็นอิสระจากจินตนาการ สิ่งเดียวที่ทำไม่ได้ คือเขาไม่เป็นอิสระจากคำว่าศิลปะ เขามีกรอบ เขาโดนขัง ผมคิดว่าศิลปินโดนศิลปะขังอยู่หลายคน

นิธิ: แล้วคุณฉีกออกมาได้อย่างไร


วิชญ์: ผมไม่ได้ถูกฝึกมาเพื่
อเป็นศิลปิน เป็นความโชคดีที่เรียนมาทางด้านสถาปัตย์ หลายคนที่เรียนศิลปะโดยตรงก็จะติด แต่บางคนที่เรียนด้านอื่นมา ก็จะมองได้ในแบบอื่นๆ

นิธิ: คุณได้พื้นฐานมาจากความเป็นสถาปนิก ซึ่งแตกต่างจากศิลปินทั่วไป ทุกวันนี้คุณมีวิธีเลือกรับงานอย่างไร

วิชญ์: เลือกทำตามที่อยากทำครับ ผมว่าแทนที่จะต้องเสียเวลามาเถียงกับคนที่ไม่เข้าใจงานของเรา ก็สู้เอาเวลาไปคิดงานต่อดีกว่า ปีนึงทำ 2-3 งานก็พอแล้ว มีความสุข

นิธิ: สรุปแล้วคุณชอบงานแบบไหนมากที่สุด


วิชญ์: ผมชอบทำงานที่เล่
นกับมันได้ หรือว่าเปรียบเทียบระหว่างสเปซ 2 แบบ ตอนจบใหม่ๆ ผมก็บ่นว่าทำไมลำบากจัง เป็นช่วงที่คิดจะเอาดีทางกราฟิก ต้องออกไปขายลูกค้า พอเขาไม่เข้าใจ ก็โทษว่าเราต้องมาทำอะไรเองทั้งหมด ทำไมคนยุคก่อนหน้าไม่ทำอะไรให้เราเลย จริงๆ เขาก็ทำไว้เยอะ แต่ว่าเราไม่ได้เก็บเอง ผมเลยตั้งใจว่าจะทำให้รุ่นลูกรุ่นหลานสบายกว่านี้ เหมือนที่พี่เต้ยทำไว้อยู่แล้ว ถ้าไม่มี A49 ก็ไม่รู้ว่าตอนนี้วงการสถาปัตย์จะเป็นอย่างไร
______________________________

นิธิ: อายุเท่าไหร่แล้ว

วิชญ์: 32 ปี ครับ

นิธิ: ยังทำงานได้อีกนา
น ชีวิตเพิ่งเริ่ม จากนี้ไปคุณต้องหาแนวทางที่ชัดเจนแล้ว ตอนนี้ที่คุณอยู่ได้ด้วยอะไร มีงานก็ทำ ไม่มีงานก็ไม่มีอะไรทำเหรอวิชญ์: มีค่าคอมมิชชั่นอยู่บ้างครับ 50% ของรายได้มาจากโชว์งานต่างประเทศ อีก 25% ได้จากทำแฟตเฟสติวัล แล้วก็ได้ค่า curator โปรเจ็กต์บ้าง อีก 25% ก็คือโปรเจ็กต์ต่างๆ ที่จะมีเข้ามา ตอนนี้ยอมรับแล้วว่ามาทางด้านนี้แล้ว ผมกำหนดหน้าที่ของตัวเองไว้ว่าจะเป็นศิลปิน ตอนนี้ทำงานกึ่งศิลปะ อยู่ได้ด้วยคอมมิชชั่น อย่างไปต่างประเทศก็จะได้คอมมิชชั่นประมาณ 2,500 เหรียญ หรือซัก 2,000 ปอนด์ แล้วแต่กรณี ถ้าสำหรับผมคนเดียวก็พออยู่ได้
นิธิ: เป็นค่า production cost
ด้วยหรือเปล่า

วิชญ์: ไม่ครับ เป็
นแค่ค่า fee ส่วนค่า production cost ต่างหาก อย่างปีที่แล้วมี 6 งาน ปีนี้มี 4 งาน ส่วนใหญ่เป็นงาน installation

นิธิ: มีโครงการอะไรที่คิดจะทำต่อไปในอีก 5-10 ปีข้างหน้าไหม

วิชญ์: ตอนนี้อยากแสดงศิลปะให้แน่นก่อน ผมตั้งใจจะเป็นศิลปินอยู่เมืองไทย ผมเชื่อว่าอาจจะทำให้ผมประสบความสำเร็จในความเป็นศิลปิน ศิลปินคนอื่นที่พอจะมีชื่อเสียงก็ไปอยู่ต่างประเทศ ทำให้มีวิธีคิดแบบต่างประเทศ แต่ผมทำศิลปะเพื่อให้คนอื่นดูก็จริง แต่ที่สำคัญคือผมอยากให้คนไทยได้ดูด้วย


นิธิ: ผมก็เชื่อว่าท้ายที่สุดพวกเขาก็จะกลับมาอยู่เมืองไทย ไม่มีที่ไหนที่สุขเท่าเมืองไทย คุณเป็นคนน่าสนใจมา
กเป็นคนไทยที่บุกเบิกทำเรื่องพวกนี้ เป็นคนรุ่นใหม่ที่ต่อไปจะทำอะไรให้กับประเทศชาติได้อีกเยอะ แล้วก็นำทางให้คนรุ่นหลังด้วย อย่างที่คุณว่า ถ้ามีคนนำแล้ว คนหลังๆ จะได้มีความคิดจะทำอะไรให้ดีขึ้นไปอีก

Conversations with Architects Series :
คุยกับสถาปนิกกลายพันธุ์เราจะไปรู้ได้อย่างไรว่า วิชาชีพที่เขาแบ่งให้เราเรียนทุกวันนี้ มันเหมาะกับตัวเราแล้ว
ผู้เขียน นิธิ สถาปิตานนท์ , เกียรติศักดิ์ เวทีวุฒาจารย์
สำนักพิมพ์ : ลายเส้น พับบลิชชิ่ง, บจก


























สราวุธ เฮ้งสวัสดิ์ (เอ๋)
นักเขียนอิสระ(Writer)/นักสร้างสรรค์งานโฆษณา(Creative)
โดยส่วนตัวแล้ว เขาไม่เรียกตัวเองว่านักเขียน
แต่เป็นเพียงคนเล่าเรื่อง ที่เสนอความคิดโดยใช้ตัวหนังสือ
เป็นสื่อว่างกว้างก็หาเวลาไปเปิดหูเปิดตานอกบ้าน
หาเรื่องใหม่ๆ มาประดับสมอง
ว่างแคบก็ขยันเพิ่ม มองหาสิ่งต่างๆรอบตัว
มาถมสนามในใจให้เรียบพอวิ่งเล่นได้
ไม่ว่าจะจากที่ไกลหรือในบ้าน
เขาไม่ลืมที่จะบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ให้คนแวดล้อมได้รับรู้
วันคืนปกติ สราวุธยังคงขยับนิ้วกลมๆ เขียน —เพื่อรอเล่าเรื่องต่อๆไป…


เกียรติศักดิ์ : ในฐานะที่เป็นนักเขียนที่มีความรู้เรื่องโฆษณา เคยรู้สึกไหมว่า งานเขียนของเรา จะต้องคำนึงถึงหลักการโฆษณาด้วยเหมือนกัน เช่นต้องคิดว่าเล่มไหนจะขายได้เท่าไหร่ หรือเขียนอย่างไรถึงจะขายดี
สราวุธ : เวลาเขียนหนังสือพยายามเขียนให้มันออกมาจากตัวเราก่อนครับ เพราะตอนทำโฆษณาก็ทำงานตามโจทย์มาตลอดอยู่แล้ว ตอนทำงานเขียนก็อยากให้เป็นสิ่งที่ออกมาจากตัวเราจริงๆ แต่โดยธรรมชาติของตัวเอง และจากที่เรียนสถาปัตย์มา ก็คิดว่าไม่ได้ทำงานตามใจตัวเองเท่านั้น แต่คิดถึงผู้คนที่จะมาใช้ผลงานที่เราออกแบบด้วย หากจะคิดคงไม่ได้คิดถึงการตลาดครับ เรียกว่าคิดถึงคนอ่านมากกว่า
เกียรติศักดิ์ : คิดได้โดยอัตโนมัติหรือเปล่า
สราวุธ : เหมือนถูกสอนให้คิดถึงผู้ใช้มาตลอดครับ พอมาเขียนหนังสือก็เหมือนกับออกแบบเก้าอี้ เราไม่ได้แค่ต้องการเก้าอี้หน้าตาแปลกๆ เท่ๆ เท่านั้น แต่ต้องคิดด้วยว่าคนนั่งจะนั่งสบายไหม เวลาเขียนก็คิดถึงคนอ่านว่าเขาอ่านแล้วจะเข้าใจไหม จะรู้สึกเท่าที่เรารู้สึกหรือเปล่า
เกียรติศักดิ์ : อะไรที่เป็นตัวคุณมากกว่ากัน ระหว่างนักเขียนกับครีเอทีฟโฆษณา
สราวุธ : ถ้าแบ่งการสื่อสารออกเป็นสองส่วนใหญ่ๆ คือส่วนเนื้อหากับส่วนนำเสนอ ผมว่าการเขียนหนังสือ ของผมจะเน้นไปส่วนเนื้อหา แต่โฆษณาจะเน้นไปทางการนำเสนอ ซึ่งจริงๆแล้ว มันเป็นตัวผมทั้งสองอย่าง ผมได้คำตอบนี้ตอนอยู่ที่ลอนดอน เพราะว่าไม่เคยหยุดทำงานนาน 6-7 เดือนอย่างนี้เลย พอไปอยู่ที่โน่นมีวันนึงที่รู้สึกเหมือนเป็นเมนส์ หงุดหงิด หาสาเหตุไม่ได้ จนได้มาอ่านหนังสือชื่อ The Artist’s Way เขาแนะนำว่าให้ระบายความรู้สึกด้วยการจดบันทึกทุกเช้า คล้ายๆกับการตื่นมาขี้ตอนเช้า ที่ผ่านมาเราไม่ได้ขี้ทางความคิดเท่าไหร่ ไม่ได้ฟังเสียงตัวเองจริงๆ แล้วมีอะไรที่ไม่ได้ระบายออกมาบ้าง พอได้เขียนออกมาก็เหมือนได้สำรวจตัวเอง จนพบว่ามีอย่างนึงที่ไม่ได้ทำ ก็คืองานโฆษณา เหมือนสมองซีกขวาหยุดทำงานไป 6 เดือน รู้สึกเลยว่างานโฆษณาจำเป็นในชีวิตเหมือนกัน ทำให้เราได้คิดอะไรที่เป็นจินตนาการนอกกรอบ ไม่ต้องใช้หลักเหตุผลมาก ต่างจากการเขียนบทความหรือคอลัมน์ซึ่งต้องเชื่อมโยงเหตุและผลเข้าด้วยกัน ค่อนข้างเยอะ พอคิดได้อย่างนั้น ก็รู้สึกโชคดีที่ได้ทำอาชีพที่ได้ใช้ทั้งสมองซีกขวาและซีกซ้ายไปพร้อมๆกัน
เกียรติศักดิ์ : สมมติวันนึงเศรษฐกิจตกต่ำ บริษัทโฆษณาไล่ออก ต้องออกมาเขียนหนังสือเป็นอาชีพหลักจริงๆ จะไหวไหม คงจะต้องมีแรงกดดันมากขึ้นไปอีกหรือเปล่า
สราวุธ : ผมว่านิสัยอย่างนึงที่ได้มาจากสถาปัตย์และการทำงานโฆษณาก็คือความอดทนและ ความมีวินัย เพราะว่าก่อนเข้าสถาปัตย์ก็ ไม่ได้อึด ไม่ได้ถึกขนาดนี้ แต่พอถูกฝึกให้นอนดึก ถูกฝึกให้ต้องส่งโปรเจ็กต์ให้ตรงเวลา ทำให้ต้องมีวินัยมากขึ้น ยิ่งทำงานโฆษณายิ่งแล้วใหญ่ เพราะว่าลูกค้าต้อง launch campaign ตามตาราง อย่างเรื่องเขียนหนังสือ ผมก็มีตารางล่วงหน้าไว้คร่าวๆ เหมือนกัน ว่าปีนี้จะมีเล่มไหนออก ปีหน้าจะมีเล่มไหน ก็กำหนดวันส่งโปรเจ็กต์กับตัวเองเอาไว้ด้วย ยิ่งไม่มีอาจารย์มาจ้ำจี้จ้ำไชก็ยิ่งต้องมีวินัยกับตัวเอง หากต้องเลี้ยงชีพด้วยการเขียนหนังสืออย่างเดียวก็คงต้องทำงานให้สม่ำเสมอและ มีวินัยมากๆครับ
เกียรติศักดิ์ : ถ้าถึงวันนึงที่จำเป็นต้องเลือกทำซักอย่าง บอกได้ไหมจะเลือกอะไร
สราวุธ : ถ้า ต้องเลือกจริงๆ ก็เลือกเขียนหนังสือครับ ผมว่าแต่ละคนก็มีสิ่งที่อยู่ข้างในไม่เหมือนกัน คนๆนึงจะมีคุณค่าต่อเมื่อได้เป็นตัวเอง การเขียนหนังสือเป็นการบอกเล่าความคิดของเราออกไป เป็นสิ่งที่ทำแล้วรู้สึกว่าเรามีค่า เราตอบตัวเองได้ว่าทำไมจึงต้องมีเราอยู่บนโลกนี้ ก็เพราะเราเป็นเรา และได้ทำในสิ่งที่ตัวเองเป็น ถ้าเกิดว่าเราอยู่เพื่อที่จะเป็นอย่างคนอื่น เราจะรู้สึกกับตัวเองว่า แล้วคุณค่าของเราคืออะไร !!!

พบกับบทสัมภาษณ์ เหล่า
"สถาปนิกกลายพันธุ์" ของ ว่าที่สถาปนิก ที่ทุกคนล้วน จบการศึกษา จากสาขาสถาปัตยกรรมศาสตร์ แต่กลับเลือกจะไม่เป็นสถาปนิกตามที่ร่ำเรียนมา! พวกเขาประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพทางด้านอื่น ไม่ว่าจะเป็น ผู้กำกับภาพยนตร์ บรรณาธิการนิตยสาร ช่างภาพ นักเขียน นักแต่งเพลง ศิลปินอิสระ นักดนตรี และดีเจ ซึ่งผู้อ่านหลายๆ คนอาจจะคุ้นหน้าคุนตากันดีอยู่แล้ว แต่ก็มีบางคนที่คุณอาจจะไม่ทราบ หรือคาดไม่ถึงด้วยซ้ำว่าพวกเขาเหล่านี้จบสถาปัตย์มา! เกิดอะไรขึ้นกับชีวิตของพวกเขา? เหตุใดจึงทิ้งวิชาสถาปัตยกรรมที่เคยร่ำเรียน มาเอาดีทางด้านอื่น? แล้วพวกเขาประสบความสำเร็จในอาชีพเหล่านั้นได้อย่างไร? ติดตามเรื่องราวของเหล่าสถาปนิกกลายพันธุ์ทั้งหมดได้ในเล่ม













Jun 18, 2009

ภาพทรงจำแรก-วันสุดท้ายของปี





http://www.facebook.com/rewat.forever




พีรภัทร โพธิสารัตนะ
เจ้าของตำแหน่งบรรณาธิการตัวเล็กของนิตยสารเด็กแนว DDT
ขอเขียนถึงศิลปินในดวงใจของเขา ซึ่งเป็น
'ศิลปินในดวงใจศิลปิน' หลายๆ คนด้วยไม่ใช่ใครที่ไหน
คือพี่ชายใจดีมีหนวดที่ชื่อ เรวัต พุทธินันทน์ หรือ
'พี่เต๋อของเหล่าคนดนตรี
'
เนื่องในโอกาสที่มีบ็อกเซ็ตสีฟ้าสดใส
ชุด Beloved Memories of Rewat Buddhinan
ออกมาวางจำหน่ายหลังจากที่ปล่อยให้แฟนๆ รอมานานนับสิบปี

ซีดีนานาขนาดแพ็คเกจหลายสัญชาติหลากที่มาจำนวนไม่ต่ำกว่า 40 ชุด

ระเกะระกะอยู่เกลื่อนกลาดอยู่บนพื้นห้องข้างเตียงนอนที่ว่างเว้นจากตู้,
ชั้นวางของ และโต๊ะคอมพิวเตอร์ ในขณะที่อีกกว่า 20 ชุด

กองเรียงสูงอยู่ราว 3 ตั้งอย่างปราศจากระเบียบใดใด บางชุดภายใต้ซองบางๆ
พอดีแผ่นกลับสงบนิ่งอยู่ใต้บ็อกเซ็ตขนาดใหญ่บางชุดที่
ไม่ได้ผ่านการหยิบจับ มานานนม
อันสังเกตได้จากผงและไรฝุ่นที่เรียงตัวอยู่บนกล่องอย่างหนาแน่น
ขณะที่กองซีดีเคียงกันก็หมิ่นเหม่กับการทลายลงมาทั้งแถว

หากโดนพัดลมเบอร์ 3 โหมเป่าเพียงเสี้ยวกระพริบตา
ทั้งหมดนั้นคือจุดหมายที่ปลายตาของ ผม ภายในห้องนอนที่แทบ

จะมีอรรถประโยชน์เพียงอย่างเดียว คือ เป็นห้อง ‘นอน’ สมกับชื่อของมัน
ตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา ด้วยสารพันกิจการงานอันรัดตัว
จนแทบจะทำให้ชีวิตของผมแนบสนิทเป็นหนึ่งเดียวกับคอมพิวเตอร์ไปแล้ว


กระทั่งวันเด็กผ่านพ้น – วันครูผ่านมา – วาเลนไทน์ผ่านไป...อย่างเปล่าดาย

จนเมื่อภาระรับผิดชอบเริ่มคลี่คลาย ผมก็ได้เริ่มเงยตาขึ้นมาจับจ้องสภาพแวดล้อม
รายรอบตัวอีกครั้ง

และตอนนี้ก็ถึงเวลาที่ผมจะสังคายนา
เพื่อเริ่มชีวิตใหม่ในปีล่าสุดนี้อย่างเป็นเรื่องราวเสียที

ซีดีที่กองเกลื่อน ค่อยๆ ถูกนำมาวางแยกประเภท
เพื่อเตรียมจัดเข้าตู้หรือชั้นหรือกล่องต่อไป

ซี ดีแบบกล่องพลาสติก, ซีดีแพคเก็ตกล่องกระดาษแบบบาง,

ซีดีแพคเก็จรูปทรงกว้างยาวเป็นพิเศษจากแบบปกติ,
ซีดีแผ่นคู่ในกล่องหนาใหญ่ และซีดีบ็อกเซ็ต

ระหว่างทางก่อนหน้าที่การจัดแจงจะเสร็จสิ้น
และการจัดวางลงในที่ทางที่เหมาะสมกำลังจะเริ่มต้น
อัลบั้มรวมผลงานขนาดใหญ่โตก็ปรากฏขึ้นในสายตา

Beloved Memories of Rewat Buddhinan (serial no. 01396)


เมื่อนั้น เข็มนาฬิกาก็คล้ายกับจะหมุนย้อนกลับหลัง


วันสุดท้ายของปีที่แล้ว
โดย ปกติแล้ว ณ วันเดียวกันนี้ของทุกๆ ปี จะเป็นวันที่ผมใช้
เวลาที่หลงเหลือในช่วงกลางวันไปกับการค้นหาสิ่งหนึ่งสิ่งใดและจับจ่าย

สิ่งที่ค้นพบเพื่อเป็นการระลึกถึงช่วงเวลาท้ายสุดของแต่ละปี
ไม่ว่าจะเป็น เทป, ซีดี หรือหนังสือ ซึ่งจากพฤติกรรมการบริโภค
ที่มีความเป็นคนรักเสียงเพลงมากมายกว่าการเป็นหนอน

หนังสือหรือคอหนังตัวกลั่น ของที่ระลึกประจำปีจึงมัก
เป็นผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับเพลงเป็นส่วนใหญ่

ด้วยเหตุวันที่ 31 ของปีสุดท้ายของคริสตศตวรรษที่แล้ว
ผมจึงมีซีดีแพ็คเกจแรกของอัลบั้มชุดเปิดตัวของสองสาว Triumphs Kingdom

เป็นหลักไมล์ของกาลเวลาที่กำลังย่างไปสู่ก้าวใหม่
ในขณะที่มีอัลบั้มขนาด 4 แผ่นเซ็ตชุด at Carnegie Hall ของวง Chicago
เป็นของขวัญให้กับตัวเองต้อนรับปีหมาดุเมื่อปีที่แล้ว
ฯลฯ

และในชั่วขณะที่กำลังสอดสายตาค้นหาร้านอาหารที่เหมาะใจ
สำหรับมื้อเที่ยงของครอบครัว สองตาของผมก็พลันลอดแว่นไปสะดุดเข้ากับสิ่งหนึ่ง
สิ่งนั้นมีลักษณะเป็นกล่องสีเหลี่ยมผืนผ้า, สีน้ำเงิน
และปรากฏภาพสัญลักษณ์อันแสนคุ้นตา - จมูก พร้อมด้วยหนวดเหนือริมฝีปาก!


สำหรับ คนรักเสียงเพลงที่มีอายุล่วงเลยกว่า 25 ปีขึ้นไป

ภาพนั้นมีค่าความหมายมากไปกว่าสัญลักษณ์หรือภาพลายเส้นธรรมดาๆ
เพียงภาพหนึ่ง ทว่ามันหมายรวมถึงสัญลักษณ์, เอกลักษณ์
และอัตลักษณ์ของผู้ชายที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดคนหนึ่งของวงการเพลงไทย “ยุคใหม่”
นับตั้งแต่เมื่อกว่าสองทศวรรษที่ก่อน

ภาพนั้นเคยปะหน้าไว้บนหน้าปกอัลบั้มเดี่ยวชุดแรกของเขา
และเคียงคู่ในความคุ้นเคยของตัวเขาและแฟนเพลงตลอดมาจากนั้น

อัลบั้มชุดดังกล่าวคือ เต๋อ 1 ในขณะที่ชื่อของเจ้าของผลงานคือ
เรวัต พุทธินันทน์ หรือ ‘พี่เต๋อ’ ของคนดนตรีร่วมรุ่นและต่อๆ มา

ย้อนกลับไปเมื่อหลายเดือนก่อนหน้านั้น ผมเคยได้รับรู้จากบทสัมภาษณ์ของ
คุณวู้ดดี้ พรพิทักษ์สุข วิศวกรเสียงระดับมือรางวัลแกรมมี่ อวอร์ดส
ที่เพิ่งกลับมาสานต่อชีวิตการทำงานของเขาที่แผ่นดินเกิด
ว่าหนึ่งในโปรเจ็กต์ที่เขากำลังคร่ำเคร่งอยู่ในขณะนั้นก็คือ
งานมิกซ์อัลบั้ม 4 ชุดของพี่เต๋อ

แม้จะมิได้ระบุ แต่แว่บแรกที่แจ่มชัดในห้วงความคิดของผมหลังจากคำนั้น

ก็คือ งาน 4 ชุดที่หมายถึง เต๋อ 1, เต๋อ 2, เต๋อ 3 และ ชอบก็บอกชอบ...
งานเดี่ยวทั้ง 4 อัลบั้มที่พี่เต๋อเคยได้สรรค์สร้างเอาไว้ในช่วงเวลาท้ายๆ
ก่อนหน้าที่เขาจะผันไปทำงานบริหารและเบื้องหลังอย่างเต็มตัว

หลังจากที่ใช้เวลาหลายสิบปีแรกของชีวิตไปกับฝ่าฟันนานาอุปสรรคสู่การกรุยทาง
ให้ถึงยังวงการเพลงไทยในรูปแบบที่เขาใฝ่ฝัน

จากจุดเริ่มต้นด้วยการ เป็นนักร้อง นักดนตรี ในวงดนตรีทั้งในระดับสมัครเล่นกับวง
Yellow Red และ The Thanks ร่วมกับเพื่อนร่วมสถาบันลูกแม่โดมด้วยกันอย่าง

ดนู ฮันตระกูล, จิรพรรณ อังศวานนท์
(ที่ภายหลังได้กลายมาเป็นบุคลากรที่มีความสำคัญมากสำหรับ

การหว่านเมล็ดพันธุ์ทางดนตรีของผลลัพธ์ที่กลายเป็นวงการเพลงไทย
ในช่วงสามทศวรรษแห่ง ปัจจุบัน) ไปจนถึงวงดนตรีระดับอาชีพกับวง
The Impossibles, The Oriental Funk ที่นักดนตรีรุ่นเดียวกันต่างยกย่องในฝีมือ
และความนำสมัยในรสนิยม ก่อนหน้าที่จะมาต่อยอดความฝันของเขา

ในฐานะคนทำเพลงอย่างจริงจัง ทั้งเบื้องหน้า (เรวัต พุทธินันทน์ และคีตกวี)
และเบื้องหลัง (งานเพลงโฆษณา, เพลงนำรายการโทรทัศน์ และเพลงประกอบภาพยนตร์) รวมถึงบทบาทในสายทางอื่นอย่างงานพิธีกรรายการโทรทัศน์และงานแสดง
ซึ่งสำหรับคนฟังเพลง เรื่องราวและงานเพลงทั้งหมดนั้นคือ
หนึ่งหลักไมล์สำคัญของพี่เต๋อ และวงการเพลงไทย




ชื่อ เต๋อ-เรวัต พุทธินันทน์ เริ่มเข้ามาสู่โลกทรงจำของผมเป็นครั้งแรก
เมื่อเครื่องเล่นเทปแบบหูหิ้วของพี่สาวของผมได้ทำลายความเงียบของบ่ายคล้อย
หนึ่งด้วยบทเพลงป๊อปเรียบง่าย ที่มีเสียงตีคอร์ดอะคูสติกกีตาร์อันจับใจ


“หากเธอคิดพบรักที่ชื่นฉ่ำ อย่ามัวทำตัวเองมืดมน
อย่ากลัวฝนเพราะฝนนั้นเย็นฉ่ำ อย่ามัวทำตามความคิดเดิม
ลองคิดดู ลองหาทางสู้กับฝน”
ด้วยวัยไม่ถึง 6 ขวบในชั่วขณะนั้น ผมยอมรับอย่างหน้าชื่นว่า
ตัวเองไม่เข้าใจในสารสาระที่พี่เต๋อถ่ายทอดลงในเพลง เจ้าสาวที่กลัวฝน เลยแม้แต่น้อย
จนกระทั่งร่วมสิบปีจากนั้น กระนั้นผมก็ยอมรับบทเพลงที่ มีเนื้อหาเชิงสัญญะเพลงนี้

และพี่เต๋อเข้าสู่ห้วงความสนใจอย่างเต็มอกเต็มใจ
โดยมีเทปเกือบทุกชุดของพี่เต๋อเป็นส่วนหนึ่งของเทปปริมาณมหึมาในลิ้นชักที่
ผมใช้เก็บความบันเทิงส่วนตัวมาจนถึงช่วงวันที่ผมต้องโคจรจากบ้านไปไกลเป็น

ครั้งแรกในรอบ 16 ปี

จนกระทั่งในปีที่สองของชีวิตนักศึกษามหาวิทยาลัย
ผมก็ได้รับทราบข่าวร้ายจากเมืองหลวงของประเทศ

พี่เต๋อ เสียชีวิตอย่างสงบเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2539

ราวหนึ่งปีหลังจากที่ตรวจพบเนื้องอกในสมองเป็นครั้งแรก
และต่อสู้กับอาการป่วยอย่างเข้มแข็งและเปี่ยมรอยยิ้มมาโดยตลอด

ท่ามกลางการดูแลอย่างใกล้ชิดของครอบครัว และเครือญาติมิตร

จาก เหตุการณ์การสูญเสียครั้งสำคัญของวงการเพลงไทยในครั้งนั้นเอง

ทำให้ผมตัดสินใจหยิบอัลบั้มทั้ง 4 ชุดที่วางนิ่งอยู่ในลิ้นชักมา
เป็นเวลาหลายปีขึ้นมาฟังอีกครั้ง

นั่นคือครั้งแรกที่ผมได้พินิจอย่างพิเคราะห์ถึงเนื้อสารที่พี่เต๋อ
จรดปากกาถ่ายทอดออกมาเป็นเนื้อเพลงเพลงแล้วเพลงเล่าของเขา

นอกเหนือจากที่เคยคุ้นมาเนิ่นนานกับเพียงดนตรีป๊อปกรุ่นกลิ่นอายของยุค 80
ที่อัลบั้มเหล่านั้นได้ถูกสร้างสรรค์ขึ้นมา


ด้วยช่วงวัย และประสบการณ์ชีวิตอันเชี่ยวกรำ เนื้อเพลงของพี่เต๋อ
จึงไม่ได้จำกัดอยู่ที่บทเพลงรักอันหวานหอมของคู่หนุ่มสาว

ทว่าหลายหลากไปจนถึงเรื่องราวของมิตรภาพระหว่างเพื่อนถึงเพื่อน
(เพื่อน, เพื่อนเอย) ระหว่างผู้ชายคนหนึ่งถึงคนที่เขารัก
(มือน้อย, สองเราเท่ากัน) หรือนำเสนอวิถีทางดำเนินชีวิตอันเรียบง่าย ทว่าเปี่ยมสุข
(ที่แล้วก็แล้วไป, เจ้าสาวที่กลัวฝน, อกหักไม่ยักกะตาย)
ไปจนถึงปรัชญาอันลุ่มลึกเพื่อโลกในอุดมคติ (ณ โลกสีขาว, หมู่บ้านในนิทาน)

และประเด็นระดับสังคมอันสลับซับซ้อนและบอบบาง
(ยิ่งสูงยิ่งหนาว, บทเพลงเพื่อเด็ก, เมืองใหญ่เมืองนี้, เป็นเวรเป็นกรรม)

คุณ ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม เพื่อนผู้ร่วมก่อตั้งค่ายเพลงแกรมมี่กับพี่เต๋อ
นับ
ตั้งแต่เริ่มแรกในปี 2526 ได้เคยให้สัมภาษณ์เอาไว้ในหลายคราว่า
คุโนปการหนึ่งที่พี่เต๋อได้บุกเบิกให้กับวงการเพลงก็คือ

การแต่งเนื้อเพลงในลักษณะ “เนื้อเพลงสัมผัสเมโลดี้”
หลังจากที่การแต่งเพลงไทยโดยส่วนใหญ่จนถึงขณะนั้นมักอยู่ในกรอบของขนบดั้ง

เดิมที่ท่วงทำนองจะถูกประพันธ์ขึ้นพร้อมๆ หรือภายหลังจากการแต่งเนื้อเพลง
วิธีการทำเพลงในแบบฉบับของพี่เต๋อจึงถือเป็นการเปิดประตูหลายๆ

บานออกไปสู่การทำเพลงของยุคสมัยใหม่
นอกเหนือจากการสร้างคำว่า “โปรดิวเซอร์” ให้กับวงการ
และระบบการทำงานเพลงในแบบ “ค่ายเพลง”
ที่ทำให้พี่เต๋อบรรลุซึ่งความฝันที่ต้องการยกระดับชีวิตและการทำงานของศิลปิน
และคนทำเพลงให้มีระบบที่ชัดเจน รวมทั้งได้รับการยอมรับจากสังคม
ในฐานะของอาชีพที่มีเกียรติ ศักดิ์ศรี และมั่นคง ไม่ได้เป็นเพียง

“การเต้นกินรำกิน” อีกต่อไป
จากบริษัท แกรมมี่ เอนเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด
สู่บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน)
จวบวันแรกที่บทเพลง เจ้าสาวที่กลัวฝน ได้เข้ามาสู่หัวใจคนฟัง

จนถึงปีที่ 10 นับจากวันที่พี่เต๋อเสียชีวิต

ผลงานเพลงทุกชุดของพี่เต๋อหมายถึงสมบัติล้ำค่าอันยากประเมิน
จากเพียงสองรูปแบบที่สามารถพอหาได้ตลอดหลายปีที่ผ่านมา
คือ เทป และแผ่นเสียง ท่ามกลางความคลางแคลงใจ
จากบรรดาแฟนเพลงของพี่เต๋อ
ที่เฝ้าทวงถามถึงบทเพลงของพี่เต๋อ
ในรูปแบบตามสมัยคือ ซีดี ในปีแล้วปีเล่า

ฉะนั้น การได้มาพานพบกับกล่องสีเหลี่ยมผืนผ้า, สีน้ำเงิน
และภาพสัญลักษณ์อันแสนคุ้นตา - จมูก
พร้อมด้วยหนวดเหนือริมฝีปาก! ชุดนี้
ความตื้นตันคงไม่ใช่คำพูดที่เกินเลยที่จะใช้อธิบายความในความรู้สึกส่วนลึก
ในชั่วขณะนั้น – ในฐานะของแฟนเพลง
และในนามของคนที่รักวงการเพลงไทย
เพราะนั่นหมายความว่า
การรอคอยอันยาวนานได้สิ้นสุดลงแล้ว

บทเพลง เรื่องราว และความทรงจำทั้งหมดกำลังจะหวนคืนมา
ทันทีที่บทเพลงแรกได้เริ่มร่ายรำตัวโน้ต
และ ภาพทรงจำของวันสุดท้ายแห่งปี 2549 ของผมก็แจ่มชัด

ไปด้วยบทเพลงของผู้ชายคนนี้ – พี่ชายใจดี จมูกโต หนวดดก
ที่ชื่อ พี่เต๋อเรวัต พุทธินันทน์

มาจนถึงวันนี้(ที่ภารกิจยังไม่เสร็จสิ้น)
: พีรภัทร โพธิสารัตนะ
เกิดวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2521
ที่จังหวัดชลบุรี
จบการศึกษาจากคณะมนุษยศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สาขาวิชาการสื่อสารมวลชน
(ปัจจุบันคณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)

เป็นนักเขียนชาวไทยอดีตบรรณาธิการ นิตยสารดีดีที

มีงานอดิเรกคือการฟังเพลงโดยเฉพาะ
เพลงที่ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักในหมู่คนไทย

ตั้งแต่เป็นเด็กและท้ายที่สุด

ก็อาศัยความชอบตั้งแต่วัยเด็ก
มาทำเป็นอาชีพจนถึงทุกวันนี้

นอกจากนี้ความสามาถพิเศษคือ
การจดจำปีที่เพลงแต่ละอัลบั้มออกมาได้อย่างแม่นยำ


ผลงานเขียน
Bakery & I (2550)