Custom Search

Feb 27, 2013

'ในหลวง ร.9' พระพักตร์แจ่มใส เสด็จฯไปประทับเปลี่ยนพระอิริยาบถ

เมื่อเวลา 16.22 น. วันที่ 27 ก.พ.
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.9) เสด็จฯ ลงจากที่ประทับ ชั้น 16
อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช
โดยรถเข็นพระที่นั่ง ในการนี้
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ นพ.ดิเรก จุลชาต
เป็นผู้ถวายการเข็นรถพระที่นั่ง โดยมี
ศ.คลีนิก นพ.อุดม คชินทร คณบดีคณะแพทยศาสตร์
ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
พร้อมด้วยแพทย์และพยาบาล ตามเสด็จฯ โดย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว(ร.9)
ทรงฉลองพระองค์เสื้อเชิ้ตแขนสั้นสีฟ้าอมเทา
ลายทางสีทองที่ด้านหน้า ทรงสวมสนับเพลาสีดำ
รองพระบาทสีดำ พระหัตถ์ขวาทรงจูงคุณทองแดง
สุนัขทรงเลี้ยง พระองค์ทรงมีพระพักตร์ที่แจ่มใส
ทรงแย้มพระสรวลให้กับพสกนิกรที่มาเฝ้ารอรับเสด็จฯ
ที่โถงชั้นล่างอาคารเฉลิมพระเกียรติโดย
เมื่อพสกนิกรเห็นพระองค์เสด็จฯผ่านต่างพร้อมใจกัน
เปล่งสียง “ทรงพระเจริญ” ดังกึกก้องไปทั่วบริเวณ
บางรายหลั่งน้ำตาด้วยความปิติที่ทรงเห็นพระองค์
ทรงมีพระพลานามัยที่แข็งแรง
จากนั้นเวลา 16.30 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว(ร.9)ทรงเสด็จฯ โดยรถตู้พระที่นั่ง เสด็จฯ
ยังโรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุญย์
สถาบันการแพทย์สยามินทราธิราช โดยมี
ศ.คลีนิค น.พ.ประดิษฐ์ ปัญจวีณิน ผอ.โรงพยาบาลศิริราช
ปิยมหาราชการุญย์ พร้อมด้วยแพทย์ พยาบาล
เจ้าหน้าที่และประชาชนที่มารอรับการรักษา
เฝ้ารับเสด็จฯ ทุกคนต่างพร้อมใจกันเปล่งเสียง
“ทรงพระเจริญ” ก่อนเสด็จฯ ยังชั้น 7
สถาบันการแพทย์แผนไทยประยุกต์
เพื่อทรงเปลี่ยนพระอิริยาบถ
พร้อมทอดพระเนตรทัศนียภาพของแม่น้ำเจ้าพระยา
ยามเย็นและทรงเสวยพระกระยาหารค่ำ


ที่มา เดลินิวส์

Feb 17, 2013

Men Iconic : ดวงฤทธิ์ บุนนาค



ภาพ/เรื่อง จาก นิตยสารเปรียว
(เพื่อการศึกษา)


“การที่จะประสบความสำเร็จในชีวิต
ไม่ได้เป็นคนที่คิดเก่งหรอก
แต่เป็นคนที่ลงมือทำ”

สถาปนิกมากประสบการณ์ ด้วง-ดวงฤทธิ์ บุนนาค เจ้าของบริษัทดวงฤทธิ์ บุนนาค จำกัด เริ่มต้นจากความ คุ้นเคยในสมัยเด็ก แปรเปลี่ยนเป็นแรงบันดาลใจใน การร่ำเรียน พร้อมผลักดันให้เขามายืนเป็นหนึ่งในสถาปนิกแถวหน้าของเมืองไทย 20 กว่าปีที่เดินบนถนนสายนี้ ไม่มี วันไหนที่หยุดทำ ทุกก้าวที่เติบโตล้วนเต็มเปี่ยมไปด้วย พลังแห่งความรัก ความตั้งใจและความมุ่งมั่นที่จะสรรค์สร้างผลงานที่ดีมีคุณภาพ

สัมผัสแรกก่อเกิดแรงบันดาลใจ
“คุณลุง (พันเอกจิระ ศิลปกนก) เป็นสถาปนิกที่มีชื่อเสียงมาก สมัยนั้นออกแบบสกาล่า และเป็นคนแรกที่ทำให้ผมรู้จักคำว่าสถาปนิก เด็กๆ ผมวิ่งเล่น ในออฟฟิศท่านตลอด สมัยก่อนเขาจะเขียนแบบด้วยกระดาษไข ก็จะมีกลิ่นกระดาษไขที่เราคุ้นเคย รู้สึกว่ามันเป็นพื้นที่ของเรา เป็นที่ที่เราชอบ คนในออฟฟิศสนุกสนาน เฮฮา อารมณ์ดี นั่นเป็นสัมผัสแรกจากวิชาชีพนี้ ก็เป็นจุดเริ่มต้นว่าเราคงจะพอเป็นสถาปนิกได้ ผมเรียนจบจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถานที่บ่มเพาะให้รู้จักกับวิชาชีพนี้มากขึ้น รู้สึกอยากเรียนและอยากทำงานอาชีพนี้ ชัดเจนกับตัวเอง เป็นอาชีพที่เหมาะกับนิสัย มันมีความยากของ วิชาชีพอยู่ แต่รู้สึกว่าอยู่กับมันได้ ยังเพลิดเพลินกับมันจนถึงทุกวันนี้”

หยุดคิดและลงมือทำ
“ความสำเร็จที่ได้มันเรียบง่ายมาก เป็นเรื่องของคนคนหนึ่งที่ตั้งใจทำอะไรอย่างหนึ่งอย่างชัดเจน และก็ไม่คิด คือไม่คิดว่าจะทำหรือไม่ทำ แต่ลงมือทำเลย จริงๆ แล้วความสำเร็จไม่ได้เริ่มจากความฉลาดที่จะคิด แต่เริ่มจากการลงมือทำ อันนั้นคือความสำเร็จจริงๆ ผมเป็นคนที่มีปฏิสัมพันธ์กับวิธีทำงานที่พอเริ่มจะทำ ก็ทำเลย หมายความว่าไม่คิดเยอะ และระหว่างทำจะเกิดความคิดไปด้วยพร้อมกันเป็นเรื่องที่วิเศษมาก ที่ผ่านมาผมใช้ชีวิตอยู่กับการทำงานในลักษณะที่ว่ามีอุปสรรคก็ต้องอดทน หลังๆ ผมปล่อยวาง แต่ไม่ใช่ไม่อดทน แต่มองเห็นว่าไม่มีอะไรต้องอดทน ถ้าเกิด


เราทำอะไรที่ชอบจริงๆ สิ่งที่เราต้องอดทนมากที่สุดคือตัวเราเอง ไม่ใช่เรื่องที่อยู่รอบข้าง ถ้าตัวเราไม่ได้ทำให้เป็นปัญหา มันก็จะไม่เป็นปัญหา”

อุทิศการทำงานให้กับสังคม
“ผมมีความสนใจเรื่องนี้อยู่แล้วและพยายามทำอะไรต่างๆ กลับคืนสู่สังคม ทุกเวลาที่ทำได้ ผมเข้ามาช่วยวิชาชีพในส่วนของสมาคมสถาปนิกสยาม และเป็นกรรมการส่วนของสภาสถาปนิก ทั้งหมดนี้รวมกันเป็น 10 ปีแล้ว เรียกว่าตลอดเวลาที่อยู่ในอาชีพนี้มา 20 กว่าปีครึ่งหนึ่งอยู่กับการอุทิศการทำงานให้สังคมตลอด นอกจากนั้นก็ตั้งใจเลยว่ามีใครมาเชิญเราไปบรรยาย เราจะไป อะไรก็ตามที่ สามารถจะให้กับเด็ก ให้กับคนที่อยู่ในวิชาชีพด้วยกันได้ หรือใครก็ตามแต่ที่ อยากฟังเราพูด อยากฟังความคิดเรา ถ้าเราสามารถให้อาจจะไม่ได้ให้เงินหรือให้ เวลาเยอะ แต่ถ้าเรื่องของความคิดที่สามารถให้ได้เราก็ให้”
 

COGNITIVE INTUITION

Feb 10, 2013

ชลรัศมี งาทวีสุข

ภาพจาก กรุงเทพธุรกิจ และ นสพ. คม ชัด ลึก 

พันตรีหญิง ชลรัศมี งาทวีสุข หรือ ทิพย์  เกิดเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2524 ปัจจุบันอายุ 34 ปี
เป็นบุตรสาวของ ชาญชัย งาทวีสุข ผู้จัดการภาคอาวุโส บริษัทอเมริกันอินเตอร์เนชั่นแนลแอสชัวรันส์ จำกัด (AIA)
และ มณฑารักษ์ งาทวีสุข
ด้วยความที่สนใจงานแวดวงสื่อสารมวลชนอยู่แล้ว ชลรัศมี
จึงตัดสินใจสอบเข้าคณะนิเทศศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
และเธอก็สามารถทำความฝันให้เป็นจริง เมื่อเรียนจนจบปริญญาตรี ในสาขาการสื่อสารมวลชน (วิทยุและโทรทัศน์) ได้สำเร็จ
ในระหว่างที่ศึกษาอยู่ที่คณะนิเทศศาสตร์นั้น ชลรัศมี ก็จัดเป็นนักกิจกรรมตัวยงคนหนึ่ง
เพราะความช่างพูด ช่างถามของเธอ จึงทำให้เธอได้รับหน้าที่เป็นพิธีกรงานฟุตบอลประเพณี
เล่นละครเวทีประจำปีของคณะ
หรือแม้กระทั่งการประกวดกุลธิดากาชาด ประจำปี 2543
ส่วนสาเหตุที่ทำให้ ชลรัศมี ได้เข้ามาสู่แวดวงข่าวสารนั้น
เริ่มตั้งแต่เมื่อครั้งที่เธอเรียนอยู่ปี 4 ที่เธอได้ลงไปทำข่าวภาคสนามรายงานการเลือกตั้งของประเทศให้สถานีวิทยุจุฬา
ทำให้เธอเกิดความประทับใจ ประกอบกับได้ไปฝึกงานที่สถานีโทรทัศน์ไอทีวี ยิ่งทำให้เธอมั่นใจว่า
อาชีพนี้แหละที่เธอปรารถนามากที่สุด และโอกาสก็มาถึงเมื่อทาง ช่อง 5 เปิดรับสมัครผู้ประกาศ ชลรัศมี
จึงไม่รีรอที่จะยื่นใบสมัครแม้จะยังเรียนอยู่ก็ตาม
เมื่อ ชลรัศมี ได้รับการคัดเลือก เธอก็เริ่มต้นสายงานนี้ ด้วยการเป็นผู้สื่อข่าวประจำสายราชสำนักของรั้วสนามเป้าอยู่ประมาณ 1 ปี
ก่อนที่จะย้ายไปทำหน้าที่เป็นผู้สื่อข่าวสายเศรษฐกิจในรายการ “เข็มทิศเศรษฐกิจ”
ซึ่งเธอก็ยอมรับว่าตัวเองไม่มีความรู้เรื่องเศรษฐกิจเลย แถมยังต้องทำเองทุกอย่าง ทั้งเขียนบท คิดประเด็น
เชิญผู้ร่วมรายงาน แต่เธอตั้งใจว่าจะทำให้ดีที่สุด ด้วยความขัยนและอุตสาหะ
ทำให้สุดท้ายผู้ชมต่างก็ยอมรับในความสามารถของเธอว่าเป็นคนที่มีลีลาอ่านข่าวน่าติดตาม
และยังวิเคราะห์ข่าวเศรษฐกิจได้อย่างแม่นยำ ได้รับคำชมอย่างนี้จึงทำให้ชลรัศมีหายเหนื่อยไปเลย
จากนั้นชลรัศมีก็หายหน้าหายตาไปจากจอโทรทัศน์อยู่ประมาณ 2 ปี เพราะบินลัดฟ้าไปเรียนต่อปริญญาโท
ก่อนจะกลับมาพร้อม ๆ กับการคว้าเกียรตินิยม สาขา International Journalism
จากมหาวิทยาลัยลีดส์ ประเทศอังกฤษมาได้อีก 1 ใบด้วย เรียกได้ว่า
ชลรัศมี มีสายเลือดนักข่าวอยู่เต็มตัวจริง ๆ
ทั้งนี้ ชลรัศมี ก็มีมุมมองต่อข่าวสารที่น่าสนใจว่า
“ทิพย์เชื่อว่างานข่าวไม่หยุดนิ่งและไม่มีวันหมด เราจึงต้องหมั่นเพิ่มคุณความรู้ เหมือนน้ำที่ไม่เต็มแก้วเสมอ
เพราะไม่อย่างนั้นการทำงานข่าวจะตาย ในขณะที่โลกเปลี่ยนไปทุกวัน
อย่างสึนามิสมัยก่อนตำราเรียนบอกว่าไม่เคยเกิดในประเทศไทย แต่ปัจจุบันนี้เกิดขึ้นแล้ว
ดังนั้น สิ่งที่ทิพย์พยายามทำเพื่อรักษาคุณภาพงานตรงนี้
คือจะไม่หยุดยั้งกับการเรียนรู้มีความเป็นเด็กซึ่งอยากรู้อยากเห็นตลอดเวลา
แต่ขณะเดียวกันก็ต้องมีความเป็นผู้ใหญ่และเป็นมืออาชีพในเวลาทำงานด้วย”

เพราะความคิดนี่เองที่ทำให้ ชลรัศมี จัดเป็นนักข่าวฝีมือดีคนหนึ่งที่มีแฟน ๆ คอข่าวให้ความสนใจ ติดตามการอ่านข่าวของเธออยู่เสมอ
อีกทั้งยังมีเสียงสนับสนุนจากหนุ่ม ๆ ว่า ด้วยหน้าตาน่ารักชวนมอง บวกกับรอยยิ้มที่สดใส
เลยพลอยเพิ่มความรื่นรมย์ สบายตาสบายใจ ไปกับการอ่านข่าวของเธออีกยกกำลังสอง
อย่างไรก็ตาม ชื่อของ พันตรีหญิง ชลรัศมี งาทวีสุข ได้กลายมาเป็นประเด็นสังคมครั้งใหญ่
หลังปรากฏว่ามีชื่อของเธอ เป็นหนึ่งในผู้ร่วมเดินทางไปรัฐฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกา
กับคณะทำงานฝ่ายความมั่นคงของ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
เพื่อร่วมการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน และรัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐอเมริกา
ระหว่างวันที่ 29 กันยายน-2 ตุลาคม 2559 ซึ่งต่อมา ชลรัศมี ก็ได้ออกมายืนยันผ่านทางเฟซบุ๊กส่วนตัว
ว่าเธอไม่ได้เดินทางไปด้วย ยังอ่านข่าวอยู่หน้าจอช่อง 5 พร้อมบอกไปถึงคนที่จับผิดว่า อย่ามโนเยอะ !
ทั้งนี้สำหรับแฟนข่าวที่อยากติดตามผลงานของ ชลรัศมี พบกับเธอได้ใน
รายการ เช้านี้ประเทศไทย, คุยยกบ้าน และ ชลรัศมีกับวีไอพี ทางช่อง ททบ.5




วิทยากร ก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์
หัวข้อการสัมมนา
"ภาวะผู้นำ People Leadership"
วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤศจิกายน 2555
เวลา 9.00 - 11.45 น.
ดำเนินรายการโดย
ชลรัศมี งาทวีสุข
ผู้ประกาศข่าว สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก (ททบ.5)

พุทธธรรม กำมือเดียว (A Handful of Buddha Dhamma)

เสวนาหัวข้อ พุทธธรรม กำมือเดียว
(A Handful of Buddha Dhamma)
การออกแบบชีวิต ผ่านหนังสือพุทธธรรม
เรียนรู้ผลงานมหัศจรรย์ของพระพรหมคุณาภรณ์
วิธีการตอบโจทย์ชีวิต อย่างมีระบบตามหลักพุทธธรรม
ปาฐกถานำโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี
ผู้ร่วมเสวนา พระครูธรรมธรครรชิต คุณวโร วัดญาณเวศกวัน/
โรบิน มัวร์ ผู้แปลหนังสือพุทธธรรมเป็นภาษาอังกฤษ/
คุณจ­ิรัญชัย วงษ์วดีสุวัชร ผู้เปลี่ยนชีวิต ด้วยพุทธธรรม/
ดำเนินรายการโดย ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน

Feb 9, 2013

วันตรุษจีน


ตรุษจีน กับความรู้ใหม่ไหว้เจ้าให้เฮง โดยจิตรา ก่อนันทเกียรติ






Feb 4, 2013

ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา

http://teetwo.blogspot.com/2012/04/blog-post_3799.html
http://teetwo.blogspot.com/2012/07/blog-post_19.html
http://teetwo.blogspot.com/2012/12/blog-post_14.html
http://teetwo.blogspot.com/2012/07/blog-post_2008.html
http://teetwo.blogspot.com/2012/07/blog-post_08.html
http://teetwo.blogspot.com/2012/06/blog-post.html
http://teetwo.blogspot.com/2012/06/blog-post_4954.html

Name : ภิญโญ ไตรสุริยธรรมมา 
Education : คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
เริ่มต้นทำหนังสือ OPEN ในปี 2543

ภายหลังจากที่ไปศึกษาที่ประเทศจีนมาระยะหนึ่ง 
Family : สมรสแล้ว 
http://www.positioningmag.com/magazine/details.aspx?id=28500


ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา ย้ำวิกฤติสื่อในตอนนี้ เกิดจาก "อคติทางการเมือง" ของสื่อมวลชนเอง
ซึ่งร้ายแรงกว่าการแทรกแซงจากอำนาจรัฐและทุน..

ในงานสัมมนา "นโยบายสื่อภายใต้รัฐบาลใหม่ : ปิดกั้น แทรกแซง หรือ เสรี? "

ซึ่งจัดขึ้นโดยมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เมื่อวันเสาร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ.2554
นายภิญโญ ไตรสุริยธรรมา บรรณาธิการบริหาร สำนักพิมพ์โอเพ่นบุ๊ค
และอดีตผู้ดำเนินรายการตอบโจทย์ ทางไทยพีบีเอส กล่าวว่า
สิ่งที่น่ากลัวที่สุดในวงการสื่อสารมวลชน ไม่ใช่การถูกแทรกแซงหรือ
กดดันจากอำนาจรัฐและกลุ่มทุนเอกชน แต่คือ "อคติทางการเมือง"
ในใจของสื่อสารมวลชนเอง ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่ง
ที่ทำให้คนสังคมไทยเกิดความขัดแย้งมาจนถึงทุกวันนี้ 




ส.ศิวรักษ์

http://www.sulak-sivaraksa.org/th/


ส.ศิวรักษ์ ตอบโจทย์ประเทศไทย ThaiPBS 18 -01-2556


Feb 3, 2013

นาย สุหฤท สยามวาลา

นโยบาย คนกรุง “ต้องกล้า” ลุกขึ้นมาเปลี่ยน
1. ทุกชีวิตต้องปลอดภัยบนทางเท้า เราต้องกล้าจัดการทางเท้าให้ดีกว่าเดิม
2. เริ่มแก้ปัญหาจราจรจากศูนย์ เราต้องกล้าที่จะดูแลระเบียบจราจรร่วมกัน
3. ขยะแลกสวนสาธารณะ ขยะ 1 หมื่นตันช่วยกันเปลี่ยนให้เป็นเงินแล้วเอามาสร้างสวนกัน 3 ถุง เขียว เหลือง แดง
4. 50 เขต 50 เสน่ห์ ใช้เสน่ห์ของคนในเขตสร้างชุมชนในฝันให้เด็ก ๆ เข้าใจชุมชนที่ตัวเองเกิดมา
5. ดูแลโรงเรียนด้วยหัวใจ มาดูแลครูด้วยหัวใจแทนงบประมาณ ครูดีเด็กดีสร้างอนาคต พร้อมโรงเรียนทางเลือก
6. โฆษณาสีเขียว เปลี่ยนโจทย์ให้นักทำโฆษณา อยากทำโฆษณาต้องกล้ามอบความเขียวคืนให้กรุงเทพฯ
7. จักรยานไม่ใช่ลูกเมียน้อย ทำไมผู้ใช้จักรยานในเมืองใหญ่ทั่วโลกไม่ต้องเสี่ยงตายเท่าในกรุงเทพฯ
8. เครือข่ายทางสาธารณะจะต้องเริ่มจากหน้าบ้าน เราจะประกาศแผนอย่างละเอียดใน 1 ปี เราต้องดูแลตั้งแต่หน้าบ้าน
9. ยกระดับหน่วยกู้ภัยกรุงเทพฯ ให้ทัดเทียมนานาชาติ เขาจะเป็นผู้ช่วยเหลือที่ไว้ใจได้ที่สุดยามฉุกเฉิน
10. เมืองที่ผู้หญิงอยู่อย่างมีความสุข เมื่อผู้หญิงมีความสุข ทุกคนในบ้านก็มีความสุข แปลว่าเขารู้สึกปลอดภัย สร้างโอกาสที่จะก้าวหน้า ส่งเสริมในสิ่งที่ชอบ
11. สร้างสมดุลชีวิตคนกรุงเทพฯ เมืองต้องการศิลปะทั่วทุกหัวระแหง เมืองที่มีพื้นที่ออกกำลังกาย สนับสนุนชีวิตสองด้าน
12. Bangkok-Emo-Meter กรุงเทพฯ เมืองแห่งความเชื่อมโยงแอพพลิเคชั่นเดียวสำหรับการใช้ชีวิตในกรุงเทพฯ ได้ข้อมูลทันใจทุกเรื่อง







พล.ต.อ. ดร. พงศพัศ พงษ์เจริญ


1.ซื้อสินค้าราคาถูก แก้หนี้นอกระบบ ใช้กองทุนชุมชนเมือง ลดรายจ่ายสร้างรายได้
- ปลดหนี้นอกระบบ สร้างความเป็นธรรมในกระบวนการกู้หนี้ยืมสิน
- ใช้กองทุนชุมชนเมืองให้คน กทม. มีแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ
- สร้างศูนย์โอทอป สร้างตลาด กทม. เพิ่มขึ้น เปิดโอกาสให้ทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย
- ปรับปรุงย่านการค้าจตุจักรให้เป็น SMEs Center เพื่อให้นักธุรกิจรุ่นใหม่ได้มีโอกาสค้าขายกับกลุ่ม AEC และธุรกิจระดับโลก
- นโยบาย “รถเมล์ฟรีทุกคัน” ออกทุก 5 นาที และเรือโดยสารฟรี

2. วางโครงข่ายจราจรและระบบขนส่งมวลชนใหม่คืนเวลาให้ภาคธุรกิจคืนความสุขให้ครอบครัว
- ทำระบบ Feeder โดยสร้างโครงข่าย Monorail บริการรับ-ส่งคน กทม.ให้เข้าถึงบีทีเอส และเอ็มอาร์ทีได้สะดวก
- แก้ปัญหาจราจรร่วมกับ ขสมก.โดยจัดระบบเดินรถใหม่ลดความซ้ำซ้อนของเส้นทางเดินรถ ร่วมกับกระทรวงคมนาคมสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาอีก 10 จุด

3. แก้ปัญหาอาชญากรรม อัคคีภัย เฝ้าระวังความปลอดภัย 24ชั่วโมง
- ติดตั้งกล้องซีซีทีวีหน้าบ้านพักอาศัย ตรอก ซอย ชุมชน พื้นที่เสี่ยง
- เชื่อมโยงระบบ ซีซีทีวีของ กทม.และตำรวจเข้าด้วยกัน เป็นศูนย์เฝ้าระวังอาชญากรรมตลอด 24 ชั่วโมง
- เพิ่มอาสาสมัครป้องกันภัยพร้อมจักรยาน จักรยานยนต์และรถยนต์ ตระเวนเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยง
- ติดไฟส่องสว่างให้ทั่วถึงทุกพื้นที่
- เฝ้าระวังบ้านทุกหลัง 365 วัน
- ป้ายรถเมล์สว่างทุกป้าย พร้อมห้องน้ำ

4. ขจัดยาเสพติดให้หมดไปจากชุมชนคืนลูกหลานให้พ่อแม่
- ขยายโครงการ “ชุมชนอุ่นใจได้ลูกหลานคืน” ให้ครบทุกชุมชนแก้ปัญหายาเสพติด
- ให้ทุกโรงเรียนในสังกัด กทม.เป็นโรงเรียนสีขาว ปลอดยาเสพติด
- ปรับปรุงสภาพแวดล้อมในชุมชนเสี่ยงให้ทุกชุมชนมีลานกีฬาหรือลานกิจกรรม
- ให้โรงพยาบาลสังกัด กทม. ทุกแห่งเป็นศูนย์ฟื้นฟูและบำรุงผู้เสพยาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
- ยกระดับศูนย์อนามัยชุมชนให้เป็นโรงพยาบาลชุมชน

5. น้ำไม่ท่วม ไม่เอ่อไม่ขัง ท่อไม่ตันอีกต่อไป
- ร่วมกับรัฐบาลในการบริหารจัดการน้ำเพื่อให้พื้นที่ กทม.ไม่มีปัญหาน้ำท่วม น้ำเอ่อน้ำขังอีกต่อไป ปรับปรุงท่อระบายน้ำ อุโมงค์ระบายน้ำ ขยายท่อ เชื่อมท่อจากหมู่บ้านและชุมชนให้น้ำไหลสู่คูคลองได้อย่างรวดเร็ว แก้ไขอุโมงค์ยักษ์ระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ
- ขุดลอกคูคลองและลอกท่อตลอดทั้งปี
- ตั้งศูนย์เฝ้าระวังระดับน้ำในพื้นที่ ติดตามสถานการณ์น้ำ การพยากรณ์อากาศ
- สร้างเขื่อนริมตลิ่ง ริมแม่น้ำ เพื่อป้องกันพื้นที่ลุ่มต่ำไม่ให้น้ำทะเลหนุนเข้าท่วมบ้านเรือน
- ยกระดับพื้นผิวถนนที่อยู่ในระดับต่ำและผิวถนนที่มีน้ำท่วมขังทุกครั้ง

6. ขยะหน้าบ้าน เก็บทุกวัน กทม. สะอาดสดใส ไร้มลพิษ
-
เพิ่มพนักงานและรถเก็บขยะให้มากขึ้นโดยมีการบริหารจัดการให้สามารถเก็บขยะจากทุกบ้านได้ทุกวัน
- ปรับปรุงระบบการแยกขยะ นำขยะไปรีไซเคิล กลับมาใช้ประโยชน์ใหม่
- เพิ่มเตาเผาขยะไร้มลพิษ เพื่อกำจัดขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม

7. ทางเลียบริมเจ้าพระยา ให้คน กทม. ขี่จักรยาน เดิน วิ่ง เพื่อพักผ่อนหย่อนใจ
-
สร้างทางเดินริมแม่น้ำเจ้าพระยาทั้ง 2 ฝั่ง เพื่อใช้เป็นทางเดิน วิ่ง ขี่จักรยานให้คน กทม.ได้มีสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ออกกำลังกายและชมวิว

8.จัดทางเท้าใหม่ สวนสาธารณะใหม่ สายไฟฟ้าลงดิน สร้างกรีนซิตี้
- ปรับปรุงทางเท้าใหม่ให้สะอาด แข็งแรงและเรียบเสมอ และจัดระเบียบหาบเร่แผงลอยและสิ่งกีดขวางต่าง ๆ
- ประสานการไฟฟ้านครหลวงและกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร นำสายไฟ สายโทรคมนาคมลงดินและปลูกต้นไม้แทน
- เพิ่มพื้นที่สวนสาธารณะขนาดใหญ่เพิ่มมากขึ้น โดยเช่าที่จากกรมธนารักษ์และประสานการทางพิเศษแห่งประเทศไทย เพื่อนำพื้นที่ใต้ทางด่วนมาพัฒนาให้เป็นพื้นที่สีเขียว
- สร้างทางเท้า เอื้อคนพิการ
- สร้างสะพานทางเดินจากสะพานพระราม 8 ไปถึงสะพานสาทร เอื้อคนจนเดินทางเท้าสะดวกปลอดภัย

ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร

http://teetwo.blogspot.com/2013/01/blog-post_9925.html
http://teetwo.blogspot.com/2009/01/blog-post_2074.html

นโยบาย “รักกรุงเทพฯ…ร่วมสร้างกรุงเทพฯ”
1.มหานครแห่งความปลอดภัย
ติดกล้อง CCTV เพิ่มเติมทั่วทั้งเมือง พร้อมเชื่อมโยงเครือข่ายเอกชน 200,000 ตัว
- ระบบป้องกันพร้อมแจ้งเตือนอัคคีภัย อุทกภัย และแผ่นดินไหว-
อาสาสมัครชุมชนเฝ้าระวังภัย เสริมความปลอดภัยทุกชุมชน

2.มหานครแห่งความสุข
- สร้างโรงพยาบาลให้ครบ 4 มุมเมือง ดูแลผู้สูงอายุครบวงจร และขยายการมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพ
- การเชื่อมต่อระบบขนส่งมวลชนทุกประเภท
- สร้างอุโมงค์ลอดใต้ทางรถไฟ และปรับปรุงถนน ตรอก ซอย ทางลัด 100 สาย

3.มหานครสีเขียวและสะอาด
- เพิ่มพื้นที่สีเขียว โดยเน้นสวนสาธารณะขนาดใหญ่
- ปรับภูมิทัศน์ถนนสายหลัก
- เพิ่มประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสีย
- เพิ่มระบบจัดการขยะที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่จัดเก็บ ขนถ่าย จนถึงเปลี่ยนขยะ ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า ด้วยเทคโนโลยีสะอาด

4.มหานครแห่งการเรียนรู้
ขยายการดูแลนักเรียนจากอิ่มท้อง สมองดี สู่มีวินัย
-เด็กกรุงเทพฯ ภาษาอังกฤษแข็งแรง พร้อมรับประชาคมอาเซียน
- ห้องสมุดแห่งการเรียนรู้ และศูนย์การเรียนรู้ในชุมชน
- ขยายโอกาสการเข้าถึงระบบการสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์

5.มหานครแห่งโอกาส
- ตลาดสำหรับคนรุ่นใหม่ รองรับการใช้ความรู้และทักษะที่จะผลิตสินค้าและบริการใหม่ ๆ
- ประชาชน พนักงานบริษัทเอกชน และราชการ มีรายได้เสริมเพิ่มความมั่นคงของชีวิต
- เพิ่มจุดบริการพิเศษงานทะเบียนราษฎร์ ในห้างสรรพสินค้า และขยายเวลาให้บริการถึง 22.00 น.
- ขยายปริมาณและมูลค่าเศรษฐกิจภาคกลางคืน

6.มหานครของทุกคน
อำนวยความสะดวกในการดำเนินชีวิต แก่ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้มีความต้องการพิเศษ
- ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการสร้างกรุงเทพมหานครผ่านระบบ i-Bangkok
- ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีบทบาทในการพัฒนาเด็กและเยาวชน และให้เด็กและเยาวชนมีส่วนร่วมสร้างกรุงเทพฯ
- ส่งเสริมชุมชนพัฒนาตนเองให้เข้มแข็งทางเศรษฐกิจ

7.มหานครแห่งอาเซียน
- ศูนย์กลางการท่องเที่ยวของอาเซียนและของโลก
- ศูนย์กลางการบริการด้านการแพทย์ และการท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ
- ศูนย์กลางธุรกิจ การค้า การลงทุน โดยเน้น SME
- ศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนศิลปะและวัฒนธรรมอาเซียน


ปชป.เปิดตัว คณะผู้เชี่ยวชาญ 9 ด้าน ช่วยงาน'สุขุมพันธุ์' 




พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส

ยิ่งตียิ่งดัง พล.ต.อ. เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส 


นโยบาย
1. กรุงเทพฯ ปลอดภัย เดินทางสะดวก น่าอยู่อาศัย น่าท่องเที่ยว
2. กรุงเทพฯ สะอาด เป็นระเบียบ เคารพกฎหมาย ปราศจากอิทธิพล
3. คิดนอกกรอบ รอบคอบ กล้าทำ ขจัดคอร์รัปชั่น ตรวจสอบได้
4. พัฒนาอาชีพ เพิ่มรายได้ สวัสดิการดี มีอนาคต
5. เรียนเด่น เล่นดี มีพลานามัย ปลอดภัยโรค
6. ไม่ทะเลาะไม่ขัดแย้ง ไม่แย่งผลงานใคร ไม่ฝักใฝ่พรรคการเมือง
7. ดื่มน้ำพิพัฒน์สัตยา กล้าคิด กล้าทำ โปร่งใส ไม่โกงกิน
8. คนกรุงเทพฯ ต้องมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น กรุงเทพฯ ต้องเป็นศูนย์ประชาคมอาเซียน
9. ให้บริการรถเมล์แอร์ฟรี
10. ประสานรัฐบาลเพื่อสร้างรถไฟลอยฟ้า-ใต้ดิน
11. สวนไปถึงบ้าน
12. ตั้งโรงทานทุกวัด
13. ติดตั้งกล้องวงจรปิดทั่วทุกพื้นที่
14. จัดระเบียบการค้าบนทางเท้า ผู้บุกรุกคู-คลอง
15. เปลี่ยนสายไฟฟ้า ฯลฯ ลงใต้ดิน
16. เปลี่ยนขยะให้เป็นเงิน แปลงขยะให้เป็นพลังงาน
17. ขจัดน้ำเน่าในคู-คลอง
18. สร้างที่อยู่อาศัยให้ผู้มีรายได้น้อย
19. พัฒนาอาชีพ สร้างรายได้ให้คนกรุงเทพฯ
20. โรงเรียน 2 ภาษา
21. ให้บริการเครื่องมือแพทย์ที่ทันสมัย


อ.ชัชชัย ตั้งธรรม

.ชัชชัย ตั้งธรรม 
เจ้าของสถาบัน AC'CESS จบ KMITL
https://www.facebook.com/accessenglishschool