Custom Search

Apr 16, 2010

5 วิธีคิดหลุดพ้นความยากจนของคนไทย




ศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ
คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ
ศึกษาวิจัยความสุขของครอบครัวผู้มีรายได้น้อย
พบปัจจัยที่ทำให้ครอบครัวยากจนมีความสุข มี 5 ปัจจัย...


รศ. ดร.สมพงษ์ จิตระดับ
อาจารย์คณะครุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า
คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ
ได้ศึกษาวิจัยความสุขของครอบครัวผู้มีรายได้น้อย
โดยศึกษาครอบครัวผู้ยากจน 100 ครอบครัว
ซึ่งมีอาชีพเกษตรกร รับจ้าง ขับรถบรรทุก ภารโรง
ผู้ใช้แรงงานหาเช้ากินค่ำ ทั้งในเขตกรุงเทพฯและต่างจังหวัด
มีการศึกษาระดับประถม รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,825 บาท
รายจ่าย 8,722 บาท มีหนี้สินเฉลี่ย 46,000 บาทต่อเดือน
ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่เป็นเรื่องการศึกษาบุตร
ซึ่งมีเฉลี่ยครอบครัวละ 2 คน เรียนอยู่ชั้นประถมศึกษา มัธยมศึกษา
นอกจากนี้ยังมีค่าใช้จ่ายด้านอุปโภคบริโภค
แต่ค้นพบว่าครอบครัวร้อยละ 80 มีความสุข
แม้จะจนแต่ก็หลุดพ้นจากความทุกข์ได้
เรียกว่าถึงจนก็มีความสุข ส่วนอีกร้อยละ 20
ทั้งจนทั้งทุกข์
อาจารย์คณะครุศาสตร์กล่าวต่อว่า

ปัจจัยที่ทำให้ครอบครัวยากจนมีความสุข มี 5 ปัจจัย คือ
1. เป็นครอบครัวที่คิดนอกกรอบ
ไม่ถูกครอบงำด้วยระบบทุนนิยม
เห็นได้ว่าครอบครัวเหล่านี้
ลูกจะไม่ใช้โทรศัพท์มือถือ
ไม่ฟุ้งเฟ้อไปตามกระแสทุนนิยม

2. เป็นครอบครัวที่คิดดี คิดบวก มีความสุข
โดยความสุขของพ่อแม่ คือการศึกษาของลูก
และลูกก็เป็นเด็กเรียนดี เชื่อฟังพ่อแม่ ช่วยงานบ้าน
ส่วนโรงเรียน ทั้งครูและผู้บริหารก็ให้การสนับสนุน
ยกย่องเมื่อเด็กทำดี ทำให้เด็กมีกำลังใจในการทำความดี

3. เป็นครอบครัวที่มีวิถีชีวิตสอดคล้องกับ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เช่น
ทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย ไม่ยุ่งเกี่ยวกับอบายมุข เช่น
หวย ทั้งพ่อก็เลิกกินเหล้า เลิกสูบบุหรี่
โดยนำเงินจากการซื้อเหล้า-บุหรี่
มาใช้เพื่อการศึกษาของลูกแทน เป็นต้น

4. การบริหารการจัดการที่ดี ทั้งเรื่องเงินและเวลา
โดยกำหนดว่าทุกวันเวลา 6 โมงเย็น
เป็นเวลาครอบครัวที่จะรับประทานอาหารเย็น
ดูโทรทัศน์ และปรึกษาหารือกัน
การแก้ปัญหาความขัดแย้งจะใช้เหตุผล
ไม่ใช้อารมณ์ เป็นต้น
และ
5. การปฏิวัติความธรรมดาให้เป็นสิ่งที่ไม่ธรรมดา เช่น
ความคิดที่ว่าคนจนต้องจนต่อไป
เปลี่ยนเป็นความจนสามารถหลุดพ้นได้ เป็นต้น
โดย
แนวทางการใช้ชีวิตของครอบครัวเหล่านี้
จะเป็นต้นแบบให้รัฐบาลสามารถนำไปขยายผล
เพื่อให้ครอบครัวยากจนอื่นๆ ทั่วประเทศ
ขณะเดียวกันจุฬาฯก็จะรวบรวมข้อมูล
จัดทำหนังสือเผยแพร่ในโครงการฟอรั่มปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อฉลองจุฬาฯครบรอบ 100 ปีต่อไป