เหนือสิ่งอื่นใด
- เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี 9 มิถุนายน 2559
- พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) ณ วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๙
- The 60th Anniversary Celebrations of his Majesty King Bhumibol Adulyadej's Accession to the Throne
- 63 ปี "พระเจ้าอยู่หัว ร.๙" ผู้นำที่ไม่เหมือนใครในโลก นำพาประเทศ "อยู่ดีมีสุข"
- Supreme Artist
- เศรษฐกิจพอเพียง : Sufficiency Economy พ.ศ. ๒๕๖๓
- ทศพิธราชธรรม ๑
- ทศพิธราชธรรม ๒
- ๑๐๐ ปี สวรรคตกาลสมเด็จพระปิยมหาราช
- ร.๙ ทรงห่วงเหตุการณ์ประเทศเพื่อนบ้าน
- พระบรมราโชวาท ร.๙
- "พูดแล้วต้องทํา" พระบรมราโชวาท "ในหลวง ร.๙" ทรงเตือน-ครม.
- ร. ๙ ทรงพระราชทานแก่พลเอกสุจินดา คราประยูร และพลตรีจำลอง ศรีเมือง
- ร.๙ ทรงรับสั่งรมต.ถวายสัตย์ฯ
- ร.๙ ทรงมีพระบรมราโชวาทแก่ตุลาการทหาร
- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.9 ทรงป้องกันน้ำท่วม ปีพุทธศักราช ๒๕๓๘
- “ในหลวง ร.๙” ทรงฝากองคมนตรีปลูกฝังคนไทยเอื้อเฟื้อ นึกถึงส่วนรวม
- “ในหลวง ร.๙” เสด็จฯ ทอดพระเนตรดนตรีที่ศิริราช
- "ในหลวง ร.๙" เสด็จเปิดประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์-สะพานภูมิพล 1,2
- ในหลวง ร. ๙ เสด็จฯทอดพระเนตรคอนเสิร์ตแจ๊ส
- ๕ ธันวาคม ๒๕๕๒
- น้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณ"ในหลวง ร.๙"กับ"ภูมิสารสนเทศ"
- ในหลวง ร.๙ ทรงพระราชทาน ส.ค.ส.2554 แก่พสกนิกรชาวไทย
- 'ในหลวง ร.๙' ทรงมีพระราชดำรัสให้คนไทย ทำหน้าที่ ไม่ประมาท มีสติ : ๕ ธันวาคม ๒๕๕๓
- วันฉัตรมงคล (ร.๙)
- ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๙
- พระราชดำรัสสุดท้าย ในหลวง รัชกาลที่ 9
- ๑๒ สิงหา วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
- "สมเด็จย่า"
- เจ้านายเล็กๆ ยุวกษัตริย์
- อาลัยพระพี่นางฯ
- ในหลวงรัชกาลที่ ๙ โปรดให้นายโคฟี อันนัน เฝ้าถวายรางวัลฯ (๒๕ พ.ค.๔๙)
- "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร" มีพระราชดำรัสเกี่ยวกับการวิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์
- พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล
- ศิลปาชีพ : ประจักษ์พยานของความรัก ผูกพัน และห่วงใย
- เพลงสรรเสริญพระบารมี
- ชีวิตที่หมุนไปไม่หยุดยั้ง...พระอารมณ์ขันของพระเทพฯ
- ถ้าเดินเรื่อยไปย่อมถึงปลายทาง นิทรรศการภาพถ่ายฝีพระหัตถ์สมเด็จพระเทพรัตนฯ
- สมเด็จพระเทพฯ กับการส่งเสริมไอที เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
- สมเด็จพระเทพฯ สนพระทัยเมล็ดพันธุ์ช่วยหล่อเลี้ยงประชากร
- เครือข่ายกาญจนาภิเษก
- สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- ทรงพระเจริญ
- ของขวัญจากก้อนดิน
- ต้นไม้ของพ่อ
- รูปที่มีทุกบ้าน
- นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ
- ติโต
- ไม่มีวันไหนที่ไม่คิดถึงในหลวงรัชกาลที่ ๙
- พระราชนิพนธ์ พระมหาชนก ที่ทุกคนพึงอ่าน
- โครงการแก้มลิง
- ทำไมเรารัก "พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร"
Custom Search
Aug 13, 2010
Happy Birthday To You
"ชีวิตคืออะไร ? เราเกิดมาทำไม ? ความสุขคืออะไร ?"
ข้อคิดของสองปราชญ์สองศตวรรษ...พุทธทาส - สัญญา
มติชน
20 พ.ค.50
ในจดหมายฉบับลงวันที่ 1 เมษายน 2479
จดหมายส่งความสุขปีใหม่ของท่านอาจารย์พุทธทาส
ซึ่งถึงมืออาจารย์สัญญาตรงกับ
วันเกิดครบรอบ 29 ปีพอดีในวันที่ 5 เมษายน
แล้วรีบตอบทันทีในวันนั้นว่า
"ผมได้อ่านและตริตรองโดย ตลอดแล้ว
รู้สึกปลาบปลื้มเป็นที่ยิ่ง อัน ส.ค.ส.ชนิดนี้
มีคุณค่าเหนือประการอื่นทั้งหลาย"
นับว่าเป็นสองใน 180 ฉบับ
ที่พอจะหยิบยกมาเป็นข้อคิดในวาระนี้
ว่าเมื่ออายุ 30 ปี
สองปราชญ์นี้ท่านคิดอ่านวางคติกันไว้อย่างไร
จึงได้ยิ่งใหญ่ด้วยกันได้อย่างนี้
"เราจะได้คำตอบอันเดียวกัน
ทั้งสามปัญหา...
คำตอบอย่าง Buddhist แท้นั้น
ชีวิตคือ Compound thing อันหนึ่ง
ซึ่งหมุนกลิ้งไปตามอำนาจ
ของส่วนผสมหนึ่งๆ ของมันเอง
ซึ่งปรุงแต่งมันขึ้น
และเป็นปัจจัยให้มันตั้งอยู่ Compound thing นี้
คงผสมกันอยู่ได้และหมุนกลิ้งไป
ก็เพราะมีอวิชชา ตัณหา อุปาทาน กรรมหนุนหลัง
มันเต็มด้วยความทุกข์ทรมาน
ทั้งอย่างเปิดเผยและอย่างลี้ลับ
ก็เพราะการที่มันต้องกลิ้งไปตามเหตุตามปัจจัย
และเพราะอวิชชาเป็นต้น
เป็นเครื่องตีโต้ให้มัน
กระท้อนไปมาเหมือนลูกตะกร้ออยู่เสมอ
มันจะเป็นสุขจริงๆ ได้
ก็ต่อเมื่อมันหยุดหมุนหยุดกระเด็นไปมา
โดยหมดเครื่องหนุนหลังและผลักใส
และในที่สุด Compound thing
นั้นแยกสลายออกจากกัน
ไม่กลับผสมกันได้อีก
ดุจเรือนที่รื้อลงเสียแล้ว
ไม่มีใครประกอบให้เป็นเรือนขึ้นอีก
ฉะนั้นทั้งหมดนี้คือลักษณภาพโดยสิ้นเชิงของชีวิต
การที่เราเกิดมาก็เพราะเราไม่รู้ (อวิชชา)
ต่อเรื่องชีวิต เพราะฉะนั้น
เราเกิดมาก็เพื่อเรียนให้รู้เรื่องชีวิตแล้วหยุดเกิดหรือ "กลิ้ง""
โดยท่านพุทธทาสลงท้ายในจดหมายว่า
"ขออภัยเถิดให้อาตมา
ตกลงเอาเป็นว่าคุณอยู่ในพวกแรก
คือยังต้องหมุนกลิ้งไป
และเพื่อให้ความสุขปีใหม่เกิดแก่คุณจริงๆ
คุณจึงต้องพยายามกลิ้งให้ดีกว่าปีเก่า"
ชีวิตของเรายังจะต้องหมุนกลิ้งต่อไป...
แต่พยายามกลิ้งให้งดงาม...จนหยุดกลิ้งได้
"เป็นธรรมดาที่ท่านวินิจฉัย
ถูกแล้วว่าผมยังอยู่ในจำพวกที่ต้องหมุนกลิ้งไป...
ผมมาคำนึงนึกพิจารณาในตัวเอง (inspiration)
แล้วจับได้ว่า อันในตัวผมนี้ มี born character
อยู่อย่างหนึ่งซึ่งทำให้ผมต้อง
กลิ้งไปกลิ้งมาเหมือนอย่างที่ท่านว่าเป็น
เหมือนคน 2 คนคอยตีโต้
ให้ผมกระดอนนไปกระเด็นมาอย่างนั้น
สิ่งนั้นในตัวผมคือความมักใหญ่ใฝ่สูง
หรือจะจำกัดความหมายลงไปได้ว่า
เป็นความอยากเก่ง
ผมมีความอยากเก่งไปทุกทาง...
เมื่อไรผมเก่งได้ ผมก็พอใจ
แต่เมื่อไรผมเก่งไม่ได้ ก็โทมนัส...
ถึงกับปลงอนิจจํตัวเองว่า good for nothing
อาการมีเช่นนี้ผมรู้ดีว่า
ก่อให้เกิดทุกข์และเป็นทุกข์อย่างคมเฉียบ
ปัญหามีว่า ผมจะตัดทุกข์นี้ได้อย่างไร
จริงอยู่ the perfect truth
ที่ท่านให้มาในเรื่องชีวิตนั้น เป็นทางแท้
แต่กระนั้นผมก็ยังมีวิจิกิจฉา อัน ambition
หรือความอยากเก่งของผมนี้
เข้าใจว่ามีคุณอยู่คือทำให้เก่งจริงได้
และเมื่อเก่งจริงแล้ว
ก็ย่อมเป็นประโยชน์ใหญ่
แก่คนทั้งหลายและตัวผมเอง
หากผมปราบความอยากเก่งเสีย
ประโยชน์รับก็ย่อมไม่มี
เช่นนี้ผมจะไปทางไหนดี
ความ "อยากเก่ง" เช่นนี้
เป็นเพราะอะไรหนุนหลัง อวิชชา ตัณหา อุปาทาน หรือกรรม?
ข้อที่คิดวนไปวนมานี้ให้ผมเกือบๆ
หลงไปในทางที่ว่า
จริงละกระมังที่พระพุทธศาสนา
สอนให้คน stagnant คืออยู่นิ่ง
ไม่เคลื่อนไม่ไหวไม่เดินหน้า
สอนให้คนไม่ทำประโยชน์
ขอความกรุณาท่านโปรดให้
ความสว่างแก่ทางของผมด้วย"
เป็นคำตอบรับพร้อมกับการปรึกษา
ต่อของท่านอาจารย์สัญญาในจดหมาย
ในเรื่องนี้ ท่านพุทธทาสได้ชี้แนวไว้อย่างน่าทึ่ง
ถึงขั้น Meta-Physics (สำหรับพวกเรา) ว่า
"ถ้าเราเป็นนักแสวงสุข เราต้องค้นหาคำตอบของชีวิต
ตามแนวแห่งศาสนาอย่างเดียวเท่านั้น
เพราะถ้าเราค้นอย่างนักชีววิทยา ได้คำตอบมาว่า
ชีวิตคือความยังเปนอย่างสดชื่น
และเจริญงอกงามของ protoplasm
ที่ประกอบกันเข้าเปนเซลล์ของร่างกายดั่งนี้
เราจะเห็นได้ว่าไม่เกื้อกูลแก่การพ้นทุกข์ทางใจแต่อย่างใดเลย
แม้ในทางตรรกวิทยาและมานุษยวิทยาก็อย่างเดียวกัน
เพราะวิทยาเหล่านี้นักปราชญ์แผนปัจจุบัน
มุ่งกล่าวเท่าที่เป็น physics
คือรู้สึกได้ด้วยตาหูจมูกลิ้นกายเท่านั้น
ส่วนทางพุทธศาสนากล่าวเพ่งถึงส่วนที่เป็น Meta-physics
คือจะรู้จักได้เฉพาะด้วยใจหรือปัญญาอย่างเดียว
จึงได้คำตอบสมบูรณ์เพียงพอแก่การที่จะเปลื้องตัวความทุกข์
(ซึ่งเปนธรรมชาติประเภท Meta Physics เหมือนกัน) นั้นได้...
เมื่อเรารู้ว่าชีวิตคืออะไรดังนี้แล้ว เราจะพบได้อิกว่า
ชีวิตของเรายังจะต้องหมุนกลิ้งต่อไป
หรือเราอาจหยุดมันเสียได้
และเรียกได้ว่าเรารู้จักสิ่งที่เรียกกันว่า "ตัวเรา" ดี
ถ้าเรายังมีความรู้สึกว่าเราเป็นเรา
และชีวิตของเราจะต้องหมุนกลิ้งไป
(เพราะเรายังมีอวิชชา ตัณหา อุปาทาน กรรม
ยังไม่อาจตัดมันในขณะนี้)
เราก็ต้องยอมกลิ้ง แต่พยายามกลิ้งให้งดงาม
เหมือนตัวละครที่พยายามทำบทบาทของตนให้เรียบร้อยที่สุด
เพราะว่าการกลิ้งที่งดงามนั้นช่วยให้เราหยุดกลิ้งได้เร็วเข้า
แต่ถ้าเราเห็นความสามารถหรืออุปนิสัยของตัวเองว่า
อาจทำให้หยุดกลิ้งได้ในบัดนี้
เราก็กระทำไปอิกทางหนึ่งซึ่งเป็นทางของสมณะอันแท้จริง
และหยุดกลิ้งได้ในชาติทันตาเห็นนี้, ซึ่งเรียกว่าบรรลุอรหันต์"
โดยท่านพุทธทาสได้บอกอย่างง่ายๆว่า
"สรุปอย่างสั้นๆ ก็คือเรามีชีวิตล่วงไปวันหนึ่งๆ
ด้วยการบรรเทาความอยาก
ในสิ่งที่ยั่วอยากให้น้อยลงทุกทีๆ ถึงปีใหม่
ก็สะสางเทคนิคของมันให้ดียิ่งขึ้นทุกปี
ความสุขปีใหม่ก็เป็นอันหวังได้อย่างแน่
มิฉะนั้นชีวิตนี้จะยุ่งเหยิง หมักหมม ซับซ้อน
หนักเข้าไปทุกปีเหมือนกัน
แล้วเราก็ยากที่จะแจ่มใสและรู้จักชีวิตได้
มันจำเป็นเพราะถ้าเรารู้จักชีวิตดี
เราก็รู้จัก act ของการครองชีวิตได้ดีเช่นเดียว
กับถ้าเรารู้จักเครื่องยนต์ของรถเราละเอียดละออ
เราก็ใช้รถนั้นได้ดีตามความประสงค์ของเราเหมือนกัน"
"สำหรับถ้าคุณยังไม่มีก็จะได้มี ถ้ามีอยู่ก่อนแล้ว ก็จะได้มากยิ่งขึ้น"
ท่านพุทธทาสลงท้ายในจดหมาย
ถึงอาจารย์สัญญาพร้อมกับการชี้แนะ
ให้เปิดเผยให้เป็นสาธารณะว่า
"ความสุขปีใหม่ดังกล่าวมานี้มา
สำหรับถ้าคุณยังไม่มีก็จะได้มี
ถ้ามีอยู่ก่อนแล้ว ก็จะได้มากยิ่งขึ้น
เพราะผู้ที่เป็น very Buddhist Layman อย่างคุณ
ควรต้องมีความสุขอย่างที่เป็น Buddhist แท้
สุขอย่างวิทยาศาสตร์เป็นต้นนั้น
เอาไว้ประดับรั้วบ้านเล่นเพลินๆ แหละเหมาะมาก
และถ้าคุณเห็นสมควรจะเปิดเผย
ความสุขที่ส่งมานี้ให้เป็นสาธารณะแก่เพื่อนฝูง
เป็นการทำบุญปีใหม่อีกส่วนหนึ่งด้วย
ก็คงจะมีสุขมากขึ้นอีก"