คุณ รวยพร ชมภูทีป
และงานออกแบบโลโก้ "วชิราวุธ 100 ปี" ของ อ.นิธิ สถาปิตานนท์
http://www.facebook.com/group.php?gid=15244319369
ในแวดวงสถาปนิกน้อยคนนักที่จะไม่รู้จัก
ชื่อเสียงเรียงนามของนิธิ สถาปิตานนท์
ผู้ที่ได้รับการยกย่องให้เป็น
ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะสถาปัตยกรรม (แบบร่วมสมัย)
ประจำปี พ.ศ.2545
และเป็นผู้ก่อตั้งบริษัท A49
บริษัทสถาปนิกชั้นนำของเมืองไทย
ที่มีผลงานการออกแบบสามารถ
คว้ารางวัลมาการันตีคุณภาพมากมาย
ซึ่งคุณภาพการทำงานนั้นได้รับการยอมรับทั้งในและต่างประเทศ
และนี่จึงเป็นที่มาของภาคส่วนหนึ่งที่มีผล
โดยตรงต่อการพัฒนาระบบเศรษฐกิจของชาติ
ด้วยนโยบาย Creative Economyคุณนิธิเล่าถึงที่มาของการเริ่มต้นเดินทาง
ในสายงานที่ผูกพันมาเกือบทั้งชีวิตนี้ว่า
“ผมรักในสายวิชาชีพด้านสถาปนิก
มาตั้งแต่เด็กและพยายามจับแนวทางนี้
มาโดยตลอดซึ่งพอมีโอกาสเรียนก็ไม่ลังเลที่จะเอ็นทรานซ์เข้าคณะสถาปัตย์
และพยายามศึกษาต่อเรื่อยๆ
และจนมาถึงชีวิตการทำงานผม
ก็อยู่กับสายอาชีพนี้มานานกว่า 40 ปี
ซึ่งจากประสบการณ์ทั้งหมด
มีความรู้สึกว่าวิชาชีพสถาปนิก
ถ้าไม่รักจริงๆก็ทำไม่ได้การที่จะเป็นสถาปนิกที่ดีได้
ต้องเป็นคนที่มีใจรัก มีความอดทน รู้จักเสียสละ
และสู้ไม่ถอยส่วนเรื่องเงินนั้นต้องเก็บไว้เป็นเรื่องรอง
จึงจะผ่านช่องทางความเป็นสถาปนิกที่มีคุณภาพได้”
นับเป็นเวลาร่วม 26 ปี
ที่คุณนิธิได้ก่อตั้ง บริษัท A49
ขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526และด้วยความรักในสายอาชีพ
จึงพยายามสร้างความเข้มแข็งให้องค์กร
ให้สามารถขับเคลื่อนต่อไปได้อย่างมั่นคงและมีคุณภาพ “ปัจจุบันเรามี 12 บริษัทในเครือเดียวกัน
และมีทีมงาน 350 คน ซึ่งครอบคลุมทุกสายงาน
ด้านการออกแบบก่อสร้าง
ทั้งอินทีเรียร์ดีไซน์ ออกแบบแลนด์สเคป ไลท์ติ้งดีไซน์ กราฟิกดีไซน์
ทั้งนี้เพื่อสร้างให้ทุกโปรเจ็คท์ที่กลุ่มของเราไปทำมีความสมบูรณ์มากที่สุด”บริษัท A49 ได้ส่งออกทีมงานนักออกแบบคุณภาพ
ไปรับงานโปรเจ็กต์ในหลายประเทศ
ทั้งบาเรน สิงคโปร์ อาบูดาบี เป็นต้น
คุณนิธิเล่าถึงผลกระทบจากพิษเศรษฐกิจ
ที่มีต่อการทำงานว่าบางส่วนได้รับผลกระทบบ้างเหมือนกัน
เช่นงานที่อาบูดาบี
ณ เวลานี้เริ่มมีการชะลอตัว
สาเหตุหนึ่งเนื่องจากพิษเศรษฐกิจ
และจาก Over Demand ของประเทศเขาเอง
เพราะประชากรชาวอาบูดาบีจริงๆมีเพียงล้านกว่าคน
แต่รัฐบาลเขามองไกลไปถึงอนาคต
หากในอีก 30-40 ปี น้ำมันหมด
เขายังคงต้องอยู่ให้ได้
ดังนั้นจึงต้องการสร้างเมืองใหม่ให้เป็น
Financial Center
แม้ว่าจะเป็นการสร้างกลางทะเลทราย
ทั้งนี้เพื่อจูงใจให้มีคนจากทั่วโลกมาลงทุนทำธุรกิจ
เหมือนเช่น นิวยอร์ก สิงคโปร์
แต่พอยุคเศรษฐกิจถดถอยเช่นนี้
โปรเจ็กต์หลายอย่างก็ชะลอตัว
จากมุมมองนี้หากย้อนกลับมาบ้านเรา
แม้จะโดนกระหน่ำด้วยพิษเศรษฐกิจ
แต่เอกชนเราก็ยังถูไถไปได้ก็ถือว่าเราเอง
มีความแข็งแรงในระดับหนึ่ง
ส่วนในเรื่องของ Creative Economy
คุณนิธิให้ความเห็นว่า เคยได้ยินมาอยู่ตลอด
แต่ไม่ค่อยได้โฟกัสมากเท่าไหร่
“ในวิถีการทำงาน เราก็ทำตามหน้าที่ของเราไป
และทำให้ดีที่สุด แต่หากจะพูดจริงๆแล้ว
ภาคส่วนที่เราทำอยู่ก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับ
Creative Economy
โดยตรงมันก็มีส่วนช่วยเศรษฐกิจของชาติ
ได้แต่จากการที่รัฐบาลบรรจุ Creative Economy
ลงในแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาตินั้น
ผมไม่ค่อยแน่ใจว่ารัฐบาลจะเข้ามา
ช่วยเหลือในส่วนต่างๆได้มากเท่าไหร่
เนื่องจากรัฐบาลไทยไม่นิ่งเห็นได้จาก 5 ปีที่ผ่านมา
โปรเจ็กต์ที่เราทำกับรัฐบาลนั้น
มีการเปลี่ยนรัฐมนตรี 5 คนเข้าไปแล้ว
และแน่นอนในการเปลี่ยนแปลงแต่ละครั้ง
นโยบายก็เปลี่ยนซึ่งประเทศไทยเราก็บอบช้ำมาก
ทั้งในแง่เศรษฐกิจและเรื่องภายใน
แต่ที่อยู่ได้ทุกวันนี้เพราะเอกชนเข้มแข็ง
ซึ่งไม่เฉพาะสาขาผมแต่ทุกส่วนช่วยกันคนละไม้คนละมือ”
หากถามว่าอยากเสนอแนะให้รัฐบาล
เริ่มต้นสนับสนุนในจุดไหนก่อนนั้นคุณนิธิให้ความเห็นว่า“หัวหอกสำคัญมีหลายส่วน อาทิการทำ Road Show
ไปยังต่างประเทศซึ่งประเทศต่างๆ เขาทำเยอะมาก
ทั้งจีน สิงคโปร์ ญี่ปุ่นและ
มันได้ผลตรงที่ต่างชาติเขาได้รู้จักเรา
หรือไม่ก็ทำเว็บไซท์
ซึ่งปัจจับนเผยแพร่ข้อมูลได้เร็วมากหรือ
อาจะจะทำเป็นหนังสือออกไปก็ได้ซึ่งจริงๆ แล้ว
การทำหนังสือนั้นถือเป็นหัวหอกที่ง่ายที่สุด
ดูอย่างสิงคโปร์เขามีหนังสือ Architect
เยอะแยะมากส่วนจีนก็มีเหมือนกัน
แม้ว่าความจริงจีนจะมาหลังเรา
แต่ตอนนี้แซงเราไปแล้ว (ในแง่หนังสือ)
ซึ่งส่วนนี้ผมก็ได้พยายามทำมันขึ้นมา
ให้เป็นรูปเป็นร่างขึ้นอย่างล่าสุดนี้
ผมพิมพ์หนังสือออกมาสองเล่ม
ชื่อHouse by Thai Architects
และอีกเล่มคือResort by Thai Architect
ซึ่งหนังสือสองเล่มนี้จะนำไปจัดจำหน่ายในต่างประเทศ
เพื่อเป็นหน้าเป็นตาของคนไทยไป
แข่งกับต่างประเทศให้เขาเห็นว่าคนไทยก็มีดี”ทำอย่างไรให้แข่งขันกับต่างประเทศได้นั้น“ผมอยากให้สถาปนิกทุกคนพึงสังวรไว้ว่าให้ทำงานด้วยสปิริต
ทำด้วยความตั้งใจ สิ่งที่ทำในวันนี้
มันต้องอยู่คู่บ้านคู่เมืองไปอีกนานเป็นร้อยปี
ถ้าเป็นงานที่ดีมีคุณค่ามันอาจจะอยู่เป็นพันๆ ปี
และในที่สุดงานของเราก็จะกลายเป็นสิ่งมีค่าเป็นสมบัติของลูกหลานต่อไปและสามารถสร้างความดึงดูดเป็น
Tourist Attraction ได้เหมือนเช่นวัดพระแก้วที่โด่งดังไปทั่วโลกเป็นสถาปัตยกรรมไทย
ที่ยุคหนึ่งเขาสร้างกันขึ้นมาซึ่งใครๆ ก็อยากมาเห็น
อยากอนุรักษ์ไว้
ถ้าสถาปนิกทุกคนทำงานด้วยความตั้งใจ
เมืองของเราก็จะน่าอยู่ขึ้น”
สำหรับชีวิตการทำงานของคุณนิธิทุกวันนี้ใช้คำว่าSemi Retire
เพราะอายุร่วม 62 ปีแล้ว
“ในคำว่า Semi Retire นี้
ผมหมายถึงยังคงทำงานช่วยเหลือสังคมอยู่เนื่องจากผมยังรักสายวิชาชีพนี้
ซึ่งผมก็ได้หันไปทำวัดผ่าอีก 7 แห่งอาทิ
ท่านคเวสโก กาญจนบุรี,
หลวงตามหาบัว ที่โคราช,วัดจักราช ที่บางไทร
จนถึงสร้างมูลนิธิเด็กอ่อนในสลัมซึ่งทั้งหมดเป็นการออกแบบให้ฟรี
และ ถือเป็นงานบั้นปลายในชีวิต
ที่ผมอยากทำคืนสู่ศาสนาและสังคม”สุดท้ายที่คุณนิธิทิ้งท้ายให้หลายฝ่ายได้คิดว่า
“ประเทศไทยนั้นน่าเสียดาย
ที่การเมืองเราไม่นิ่งเพราะถ้าการเมืองนิ่ง
ทุกส่วนก็พร้อมที่จะลื่นไหลไปด้วยกันเพราะทรัพยากรทุกอย่างเราก็พร้อมหมด”ขอขอบคุณ เรื่องจาก i-design ฉบับเดือนพฤษภาคม 2552
หนังสือรวบรวมผลงาน 3D Visualization ของ A49บริษัท ลายเส้น จำกัด ในเครือ A49 Group
* http://teetwo.blogspot.com/2009/04/li-zenn-publishing-limited.html