From T2 |
03 Aug 2007 by 1812 in Design-Architecture
Conversation with Nitis Sthapitanonda
ผมมีโอกาสได้ไป คุยกับพี่โต้งถึงเรื่องการปฏิบัติวิชาชีพสถาปนิก
เพื่อนำมาเป็นข้อมูลใน วิชา Professional Practice Seminar
และเห็นว่าข้อมูลนี้น่าจะมีประโยชน์
ต่อคนที่คิดจะเป็น/ไม่ เป็นสถาปนิกใน อนาคต
ชื่อนิธิศ สถาปิตานนท์
การศึกษา
2538-2541สถาปัตยกรรมศาสตร์ บัณฑิต University of Florida, Gainesville
2542-2544สถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาบัณฑิต Columbia University
ประสบการณ์ การทำงาน
2544-2545 สถาปนิกบริษัท Skidmore Owings &Merrill (SOM), San Francisco
2545-ปัจจุบัน สถาปนิกบริษัท สถาปนิก49 จำกัด
2548-ปัจจุบัน รองกรรมการผู้จัดการบริษัท สถาปนิก49 (ภูเก็ต) จำกัด
บทสัมภาษณ์
ชัยภัฏ:เหตุผลที่พี่มาเป็น สถาปนิก เป็นเพราะพ่อกับแม่พี่เป็นสถาปนิกหรือเปล่า?
นิธิศ:ก็คงมีส่วน ครับ คือพี่เติบโตมาในสภาพแวดล้อมแบบนี้ คือถ้าไม่อยู่ออฟฟิสพ่อ
ก็อยู่ออฟฟิ แม่ ซึ่งมันอาจจะเป็นเหตุผลที่แตกต่างจากคนอื่นนิดหน่อย
ชัยภัฏ: ทราบมาว่าพี่เรียนที่เมืองนอกตลอด
มีปัญหาเวลากลับมาทำงานที่ไทยบ้างไหม ครับ
นิธิศ:จริงๆพี่ จบม.3 จากเมืองไทยแล้วค่อไปเรียนต่อ
ซึ่งก็ถือว่าโตมากแล้ว สำหรับตัวพี่เองคิดว่าการเรียนนอกตลอด
มันไม่ใช่ปัญหานะ มันขึ้นอยู่ที่การปรับตัวของแต่ละคนมากกว่า
ชัยภัฏ: ระบบการศึกษาและเด็กที่จบออกมา มีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง
เมื่อเทียบกับเด็กไทย
นิธิศ:เด็กไทยส่วนมากจะถูกสอนให้ ทำงานเป็น
คือจบมาก็เขียนDrawingได้ แต่เด็กฝรั่งเค้าถูกสอนมาให้คิด
ส่วน เรื่องการทำงานต้องมาเรียนรู้กันเอาเอง
เด็กฝรั่งจบมาจึงทำอะไรไม่ค่อย เป็น
ชัยภัฏ: แล้วเรื่องการทำงานในบริษัทล่ะครับ
เปรียบเทียบระหว่าง SOM กับ A49
นิธิศ:เมืองนอกการทำงานเค้าจะ Base on Performance
ดังนั้นเค้าจะกระตือ รือร้นในการทำงานมาก อย่าง Time Sheet
นี่จะขยันกรอกมาก เพราะจะเป็นสิ่งเดียวที่ทำให้ผู้บริหารรู้ว่าเราทำอะไรอยู่
ชัยภัฏ: A49 ก็มีระบบ Time Sheet เหมือนกัน แต่ไม่ค่อย Work เท่าไหร่?
นิธิศ:ใช่ คือที่นี่มันมีลักษณะการทำงานแบบระบบคนไทย
คือ เราจะ care ความรู้สึกกันมาก อยู่กันลักษณะเหมือนพี่เหมือนน้อง
บังคับ กันก็ไม่ได้เพราะจะตึงเครียด ซึ่งตรงนี้เมืองนอกก็ไม่มี
มันก็อาจจะเป็น ทั้งข้อดี และข้อเสีย
ชัยภัฏ:แล้วอย่างเรื่องลูกค้าคนไทย?
นิธิศ:คนไทยมีลักษณะที่ Flexible มาก
ไม่เคย มีโปรเจคไหนที่ได้ตาม Proposal เลย
อย่างโปรเจค XXXXX เนี่ย ทำ Preliminary Design
มาแล้วตั้งสิบครั้ง ยังไม่เสร็จ ต้องแก้กันอยู่
ชัยภัฏ: พี่โต้งช่วยเล่าเรื่องลักษณะการทำงาน และหน้าที่รับผิดชอบ
นิธิศ:ตอนนี้พี่ย้ายมาประจำที่ International Studio แล้ว
เป็นสถาปนิกคนนึงในทีมออกแบบ
สตูฯนี้คน ดูแลจะเป็นพี่เล็ก (ประภากร วทานยกุล)
กับพี่โบ้ (พิชัย วงศ์ไวศยวรรณ)
แต่ งานเก่าที่ทำที่ Stu2 ก็ยังค้างอยู่คือ
หอประชุมมหิดล อยากปล่อยแล้วก็ยังปล่อยไม่ได้
ตอนนี้ดู Landscape อยู่
ชัยภัฏ: แล้วที่ภูเก็ต?
นิธิศ:ภูเก็ตลักษณะงานจะ เป็นผู้บริหาร คือเป็น Design Supervisor
เสนองานติดต่อกับลูกค้า บางทีน้องๆจะส่งงานมาให้คอมเมนต์บ้าง
แต่จะไม่ลงไปทำ Design เยอะเท่าพี่โอ๋ (ชนะ สัมพลัง)
ตอนนี้งานที่ภูเก็ตก็ดู Interior โรงพยาบาลอยู่
และก็มี Design ของโรงแรมอันใหม่
ชัยภัฏ: แปลว่าจริงๆแล้ว ผู้บริหารนี่จะไม่ลงไปออกแบบ?
นิธิศ:ก็จะมีพี่เต้ย (นิธิ สถาปิตานนท์)
ที่เห็นชัดว่าเป็นสถาปนิกนักบริหาร
คือเน้นงานบริหารมากกว่า แต่ผู้บริหารคนอื่นๆ เช่น
พี่เล็ก, พี่โบ้ ก็จะลงไปออกแบบเอง
คือยัง ทำตัวเป็นสถาปนิกมากกว่านักบริหาร
ซึ่งจริงๆก็คงไม่อยากจะเป็นอย่างนั้น แต่พองานมากๆก็ต้องลงไปทำ
ชัยภัฏ: พี่โต้งมองว่าปัญหาของสถาปนิกในปัจจุบันคืออะไร?
นิธิศ:ถ้ามองใน ภาพรวมของภูมิภาคเรา เรื่องใหญ่ๆตอนนี้คือสมองไหล คือ
สถาปนิก มาเลเซีย-สิงคโปร์ จะออกไปทำงานใน Middle-East กัน
ส่วนคนไทยก็จะออกไปทำ งานในสิงคโปร์กัน
ชัยภัฏ: ก็เลยทำให้สิงคโปร์ดูว่าตรงนี้ไม่เป็นปัญหา
นิธิศ:ใช่ เพราะว่าคนของเราเข้าไปเยอะไง
ส่วน ในไทยเองก็ดูจะไม่เป็นปัญหา
เพราะเราก็ผลิตสถาปนิกออกมาเยอะ
ปัญหา จริงๆน่าจะเป็นมาเลเซีย เพราะไม่มีเลย
ชัยภัฏ: ถ้ามองให้แคบลงมา ตอนนี้ A49 ก็เจอปัญหานี้เหมือนกัน?
นิธิศ:ปัญหา หลักๆของ A49 ตอนนี้คือ คนมาทำงานแล้วก็ลาออกปีละหลายๆคน
ไม่รู้ว่าเป็นเพราะเงินเดือน หรือวิธีบริหาร แต่ไม่ดีแน่
เพราะเราต้องฝึก เด็กใหม่ให้ทำงานเป็นอยู่ตลอดเวลา
ปีที่แล้วสอนคนนึง ปีนี้ก็ต้องสอนเรื่องเดิมกับอีกคน
แต่สำหรับพี่โอ๋ เขากลับมองว่าตรงนี้ไม่ใช่ปัญหา เป็นเรื่องปกติ
เพราะเขามองว่า A49 เป็นเหมือนโรงเรียน
ชัยภัฏ: แล้วที่เขาลาออกไปนี่เขาไปไหนกัน
นิธิศ:ถ้าไม่ไปเปิดบริษัทเอง ก็ไปทำงานกับบริษัทอื่น
ชัยภัฏ: มีปัญหาอื่นๆอีกหรือเปล่า เช่น ปัญหาของตัวบุคคล
นิธิศ:น่าจะเป็นเรื่อง จัดการกับ Work Load ของตัวเองไม่ได้
จริงๆเกิดจากระบบบริหารของบริษัทด้วย
Stu1คงไม่ค่อยมีปัญหา เพราะคนน้อย
แต่อย่าง Stu2 นี่คนเยอะ ดูแลไม่ถึง
ทำให้บางคนทำงานหนักตัวแทบ ระเบิด
ขณะที่อีกคนทำงานสบายๆ
ชัยภัฏ: เป็นเพราะอะไรครับ ลองยกตัวอย่าง
นิธิศ:อย่างใน Stu2 นี่เค้าจะแบ่งเป็นทีมใช่มั๊ย
สมมติว่ามีทีม A B C D E พี่เล็กอาจดูแลอยู่แค่ BCDE
ส่วน A นี่ให้พี่คนอื่นดู ซึ่งพี่เล็กจะไม่รู้เลยว่า
คนในทีมA แต่ละคนทำอะไรอยู่ งานไปถึงไหนแล้ว
ปัญหามันจะอยู่ที่ว่า พอทีมนึงทำไม่ไหว เช่น
ทีม C พี่เล็กก็จะดึงคนจากทีม A มาช่วยโปรเจคนี้
ทั้งๆที่ไม่รู้เลยว่าไอ้คนนั้นน่ะ มันทำงานเยอะมากๆแล้ว
ชัยภัฏ:ปัญหานี้แก้ไขได้ไหมครับ
นิธิศ:ตอนนี้ที่เพิ่งคุยไปเมื่อวานคือ จะนำระบบ Software มาใช้
ผู้บริหารจะได้นั่งบริหารอยู่หน้าคอมได้
โดยที่รู้ว่าแต่ละโปรเจค แต่ละทีม ทำงานไปถึงจุดไหนแล้วบ้าง
ชัยภัฏ:กับตัวพี่โต้งเอง พี่โต้งมีปัญหาในการทำงานไหมครับ
นิธิศ:คิดว่าไม่ มีนะ คือพี่รับงานอยู่ในระดับที่สามารถจัด Work Load ตัวเองได้
ชัยภัฏ:พี่คิดว่าลักษณะ หรือทักษะอะไรบ้าง
ที่จำเป็นสำหรับคนที่จะเป็นสถาปนิก
นิธิศ:ความรักอย่างเดียว ทักษะอย่างอื่นมันฝึกกันได้
แต่ขอให้เรามีใจรักเพียงอย่างเดียวเท่านั้นพอ
เพียงแต่ความรัก มันอาจจะมีทั้งหวาน และขื่นขม เป็นธรรมดา
หลายคนที่ไปไม่ไหวก็เพราะรู้สึกว่า
สถาปนิกเป็นอาชีพที่ทำงานหนัก และเงินที่ได้รับก็ไม่คุ้มกับค่าตอบแทน
ชัยภัฏ:อย่าง เรื่องเงินนี่พี่ พอจะบอกได้ไหมครับ ว่าได้เท่าไหร่
นิธิศ:บอกไม่ได้เว้ยเฮ้ย!!!!
ชัยภัฏ:พี่โต้งรับเงินเป็นเงินเดือน หรือเป็นหุ้น
นิธิศ:ที่ กรุงเทพนี่รับ เป็นเงินเดือน
ส่วนที่ภูเก็ตเป็นผู้บริหารก็เลยรับเป็นหุ้น
แต่เมืองนอกส่วนมากเค้าจะรับเป็นหุ้นกัน
ชัยภัฏ:หลายคนไปทำงานเมือง นอก เพราะได้เงินเยอะกว่า
นิธิศ:พี่ว่าทำงานต่างประเทศได้เงินเยอะกว่าก็จริง
แต่ค่าครองชีพ ค่าใช้จ่ายก็สูงด้วย อยู่เมืองไทยถ้าเกิดขยัน
ตั้งใจเก็บเงินดีๆ ก็คงเก็บได้ในระดับนึง
ชัยภัฏ:นอกจากเงินเดือน แล้ว เราได้อะไรอีกบ้าง
นิธิศ:ที่ A49 ก็จะเน้นเรื่องสวัสดิการ ค่ารักษาพยาบาลประมาณนี้
แล้วก็จะมีโบนัสปลายปี ซึ่งก็มากอยู่
ส่วนคนที่ทำงานไปสัก 2-3ปี ก็จะมีพาไปดูงานต่างประเทศ
ชัยภัฏ:พี่โต้ง คิดว่าสถาปนิกที่อยู่ในบริษัทนี่จะมีทางก้าวหน้าไหมครับ
นิธิศ:มีสิ อยู่ที่ไหนก็มีทางก้าวหน้าได้ทั้งนั้น ถ้าทำงานเก่งและขยัน
ก็จะได้เลื่อนขั้นไป เรื่อยๆ จนบางคนจบปริญญาตรี
ก็เลื่อนไปจน กลายเป็นผู้บริหารแล้ว
อย่างสมัยก่อนก็จะมี พี่ด้วง (ดวงฤทธิ์ บุนนาค)
ที่ทำงานจนคิด ว่าจะฮุบเอา A49 เป็นของตัวเองได้อยู่แล้ว
แต่ ในที่สุดตอนนั้นเศรษฐกิจพัง
พี่ด้วยเลยช่วย A49 โดยการออกไปเปิดบริษัทเอง
ชัยภัฏ:แต่บางคนก็ คิดว่า อยากก้าวหน้าต้องออกไปเปิดบริษัทเอง
เพราะ เป็นชื่อของเรา
นิธิศ:ก็ต้อง ยอมรับว่าทำงานในรูปแบบบริษัทใหญ่
งานที่ ได้ก็จะผ่านความคิดเห็นชอบจากคนหลายคน
ไม่ ใช่ของเราคนเดียว ซึ่งถ้าบางคนอึดอัด
ก็จะ ออกไปเปิดบริษัทเอง
ชัยภัฏ:พี่โต้งคิดว่าจุด สิ้นสุดของอาชีพสถาปนิกของพี่โต้งอยู่ตรงไหนครับ
ถ้าเกษียณแล้วจะทำอะไร?
นิธิศ:??????? (ยังคิดไม่ออก)
ชัยภัฏ:งั้นผมถามไปถึงพี่เต้ย แล้วกันครับ
เพราะตอนนี้พี่เต้ยก็ 60 แล้ว พี่เต้ยยังจะทำต่อไปไหม
นิธิศ:เคยคุยกับ พี่เต้ยเหมือนกัน
ท่านบอกว่ามันอึกอัดที่คน อายุ 60 แล้ว
ยังต้องไป Service ลูกค้าเด็กๆ พวกที่อายุน้อยๆ
แต่มีเงิน อาชีพเราเป็นอาชีพบริการ
เหมือนขายของ มันเลี่ยงไม่ได้
ชัยภัฏ:แต่สถาปนิกใหญ่ๆบางคน
ลูกค้าก็ต้องอ่อนให้เรา
นิธิศ:ใช่ แต่นั้นต้องเป็น Great Tect แล้วไง
พวก Frank Gehry หรืออย่างบ้านเราก็คุณเล็ก (เมธา บุนนาค)
ชัยภัฏ:แล้วถ้าพี่เต้ยหยุดทำสถาปนิกแล้ว
พี่เต้ยจะทำอะไรต่อครับ
นิธิศ:อย่าง ตอนนี้ที่เริ่มทำแล้วก็มีทำหนังสือ
ซึ่งถือ เป็นความสุขเล็กๆน้อยๆ
จริงๆที่เคยพูดไว้ก็ คือ อยากทำงาน Design ชิ้นเล็กๆ ไม่ต้องใหญ่
ได้ทำ Detail แบบปีละหนึ่งชิ้นก็พอ
เพราะหลังๆไปทำงานบริหารมาก มันเหนื่อย
ชัยภัฏ:คือกลายเป็นทำงานเพื่อความสุข
นิธิศ:ใช่ อย่างดร.สุเมธ ชุมสาย นี่หลังๆท่านก็ไป Paint รูป ทำในสิ่งที่รัก
ชัยภัฏ:แล้วตัวพี่โต้งเอง ล่ะครับ
นิธิศ:ตอนนี้ก็คงทำงานไป เรื่อยๆ ถ้าทนไม่ไหวอาจลาออกไปเปิดบริษัทเอง
หรือถ้าอึดอัดมากๆไม่ไหว ทำงานจนตัวระเบิด ก็อาจเลิกทำไปเลย
ชัยภัฏ:สุดท้ายแล้ว พี่โต้งมีแนวทางอะไรในการทำงานครับ
นิธิศ:พี่อยากทำงานที่เป็น สถาปัตยกรรม เป็น Architecture
นึกออกมั้ยว่าบ้านเรามีแต่ Building
ไม่มี Architecture คนไทยส่วนมากก็คิดถึงแต่กำไร
พี่อยากทำงานที่เป็น Innovative ไม่ Maximize เรื่องเงิน
ชัยภัฏ:ฝากอะไรถึงสถาปนิกรุ่นใหม่ๆ
นิธิศ:ตอนนี้สิ่งหนึ่งที่หายไปจากสถาปนิกไทย คือความเป็นไทย
บางครั้งเห็นงานชิ้นหนึ่งสวยมาก
ถามว่าสถาปนิกอเมริกันที่ไหนมาออกแบบ
คือความเป็นไทยมันหายไปจากงานของเรา
อย่างสถาปนิกญี่ปุ่นนี่ มองครั้งแรกก็รู้เลยว่าเป็นงานของคนญี่ปุ่น
มัน มีเอกลักษณ์อยู่ในนั้น คนไทยที่เห็นล่าสุดนี่ก็มี
พี่อมตะ หลูไพบูลย์ (Department of Architecture)
โรงแรมที่หาดไม้ขาวอันที่พี่กับโบ้ไปดูกันนั่นแหละ
ถึงแม้จะเป็นกล่องๆ
แต่ ข้างในเค้าใส่ความเป็นภูเก็ตเข้าไปในนั้น
คือ คิดมาเยอะมาก มี Meaning หมดทุกส่วน
ชัยภัฏ: ขอบคุณครับผม
From T2 |
เป้าหมาย นิธิศ สถาปิตานนท์ ออกแบบอาคารทำลายสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด
เพราะ เกิดมาในตระกูล "สถาปิตานนท์"
ซึ่งเป็น ตระกูลเก่าแก่ที่มีชื่อเสียง
ในเรื่องของงานออกแบบสถาปัตยกรรม
จึงทำให้ โต้ง-นิธิศ สถาปิตานนท์
ทายาทคนเดียวของ นิธิ สถาปิตานนท์ ศิลปินแห่งชาติ
สาขาศิลปะสถาปัตยกรรม (แบบร่วมสมัย)
ได้รับการหล่อหลอมให้เดินตามรอยบุพการีและบรรพบุรุษ
เข้าสู่แวดวงสถาปัตยกรรม
โดย เป็นคนรุ่นใหม่ที่มีเป้าหมาย
ในการออกแบบอาคารหรือสถาปัตยกรรม
ที่มีส่วนทำลายสิ่งแวดล้อมบนโลกใบนี้ให้น้อยที่สุด!!
ความที่เป็น ลูกชายคนเดียวของประธานใหญ่ บริษัท A49
ซึ่ง เป็นบริษัทออกแบบสร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรมที่มีชื่อเสียง
อยู่ในระดับต้นๆของเมืองไทย
และ มีคุณแม่ "รศ.เลอสม สถาปิตานนท์" เป็นรองอธิการบดี จุฬาฯ
และอดีตคณบดีสถาปัตย์ จุฬาฯจึงทำให้
"โต้ง-นิธิศ" มีชีวิตผูกติดกับงานสถาปัตยกรรมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
"พ่อแม่ไม่ได้ปลูกฝังว่าเราต้องเดินมาทางสายสถาปัตย์
แต่ทั้งชีวิตผมอยู่แต่อย่างนี้ เปิดเทอมก็มาวิ่งเล่นที่ออฟฟิศพ่อ
หรือไม่ ก็จะไปหาแม่ที่คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ
ผมจึงไม่ รู้จะทำงานอะไรนอกจากงานแบบนี้
มันยาก สำหรับเด็กที่โตมากับโมเดล"
ด้วยเหตุนี้ โต้ง จึงเลือกเรียนสถาปัตย์ที่ University of Florida
ต่อปริญญาโทที่ Columbia University
หลังเรียนจบ โต้ง ตั้งใจทำงานหาประสบการณ์
อยู่เมืองนอกสัก 2 ปี แต่เอาเข้าจริงกลับทำได้พักเดียว
ก็ ต้องกลับมาเกณฑ์ทหารที่เมืองไทย
"พอกลับ เมืองไทยแล้วเลยอยากทำงานกับบริษัทอื่นสัก 5 ปี
อยากเก่งก่อน เพราะรู้ว่าที่ A49 มีแต่คนเก่งมารวมกัน
แต่ปรากฏว่าพอคุยกับพี่ๆหลายคนเขาบอกว่า
ในเมื่อที่นี่รวมคนเก่งที่สุด มีแหล่งข้อมูลเยอะมาก
การที่ไปทำที่อื่นจะทำให้เก่งสู้ที่นี่ได้อย่างไร
ทุกคนจึงบอกให้ผมมาเริ่มงานที่นี่จะได้เก่งเร็วที่สุด ซึ่งก็จริง!!"
โต้ง เริ่มต้นการทำงานกับบริษัท A49
ในฐานะ พนักงานทั่วไป ต้องค่อยๆไต่เต้าจากการเป็นเทรนนี
และพิสูจน์ความสามารถจนได้รับความไว้วางใจให้ดำรงตำแหน่ง
แอสโซซิเอทไดเร็กเตอร์ บริษัท A49 อินเตอร์เนชั่นแนล
โต้ง ย้ำตลอดเวลาว่าเขาทำงานตาม
ความสามารถไม่ได้โตเร็วเพราะเป็นลูกชายเจ้าของบริษัท "
การที่ขึ้นมาเร็วเป็นสิ่งที่คุณพ่อพูดเสมอว่า
มีตัวอย่างมาเยอะแล้วที่บริษัทใหญ่ๆ อยู่มานาน
พอลูกเข้ามาแล้วเป็นผู้บริหารเลย
ปรากฏว่าพวกที่อยู่มานานกว่าจะไต่เต้าขึ้นมาถึงตรงนี้ลาออก หมดเลย
ผมเข้าใจตรงนี้ดี ก็ทำตามขั้นตามตอนและตามความสามารถ"
ในการทำงานนั้นโต้ง บอกว่า
ยึดหลักทำในสิ่งที่ได้รับมอบหมายให้ดีที่สุด
ส่วนเป้าหมายของการเป็นสถาปนิก
เจ้าตัวบอกสถาปนิกทุกคนย่อมอยากเห็นอาคาร
หรือสถานที่ที่ตนออกแบบสร้างออกมาได้ดีที่สุด
แต่ที่เพิ่มขึ้นมาอีกอย่างสำหรับตนคือ
อยากให้สิ่งที่ตัวเองออกแบบทำลาย หรือส่งผลกระทบต่อโลกให้น้อยที่สุด!!!
CONVERSATION WITH ARkidTECTS SERIES:
คุยกับลูกสถาปนิกต่ำสิบ
ความนึกคิดของเด็กๆ อาจทำให้เราได้ข้อคิด อาจทำให้เราสุขใจ เด็กบางคนมองโลกที่ต่างจากเรา หรืออาจให้คำแนะนำดีๆ กับเราได้อีกมากมาย
|
เผยแพร่เมื่อ 10 ส.ค. 2012 โดย AppliCAD
ชมการเสวนาในห้วข้อ
"โลกเปลี่ยนไปแล้ว แล้วคุณล่ะพร้อมหรือยัง"
ในงาน AppliCAD A/E/C Day 2012
โดยวิทยากรรับเชิญ 3 ท่าน ได้แก่
1.คุณ วิรัช ปัณฑพรรธน์กุล
2.คุณ ถวัลย์ วงษ์สวรรค์
3.คุณ นิธิศ สถาปิตานนท์