พิชัย ศิริจันทนันท์
บรรณาธิการอำนวยการ
BrandAge ปีที่
4 ฉบับที่ 7
เมื่อ 2-3 วันก่อนหน้าที่ผมจะเขียนต้นฉบับ Editor’s Note ผมได้แวะไปพบ อาจารย์วรากรณ์ สามโกเศศ ที่มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ท่านเป็นครูของผมที่คณะเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์ ผมแวะไปนั่งคุยกับท่านในขณะที่ท่านกำลังเตรียมตัวเป็นอธิการบดีของมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ผมนั่งคุยกับท่านประมาณหนึ่งชั่วโมง เรื่องที่พูดคุยกันวันนั้นมีเรื่องเดียวครับคือเรื่องหนังสือ อาจารย์วรากรณ์ ต้องนับว่าเป็นนักอ่านหนังสือระดับหนอนคนหนึ่งของประเทศ ท่านไม่ได้อ่านอย่างเดียวยังจัดเวลาเขียนบทวิจารณ์และ Review หนังสือลงตีพิมพ์ในหน้าหนังสือพิมพ์และนิตยสารดังหลายฉบับ หนังสือน่าสนใจเล่มล่าสุดที่อาจารย์วรากรณ์ ได้อ่านและเขียนถึงคือหนังสือ “Who Says Elephants Can’t Dance” ของ Louis V. Gerstner JR. อดีต CEO ของ IBM (งาน review ชิ้นนี้ ตีพิมพ์ในนิตยสาร thaicoon ฉบับเมษายน)
หนังสือของ Louis V. Gerstner เป็นที่พูดถึงมากที่สุด เล่มหนึ่งในขณะนี้ เพียงแต่อาจจะไม่ร้อนแรงเท่าหนังสือหลายเล่มที่นายกฯทักษิณแนะนำให้ คณะรัฐมนตรี และข้าราชการระดับสูงอ่านในการประชุมเชิงปฏิบัติการหลายครั้งหลายครา
ถึงวันนี้คงต้องยอมรับกันล่ะครับว่า ความคิดและความรู้จากหนังสือมีอิทธิพลต่อธุรกิจ ต่อประเทศและต่อโลกมาโดยตลอดหลายยุคหลายสมัย ผมคงไม่ย้อนไปไกลถึงยุค Machivelli หรือ Karl Marx ที่สร้างงานเขียนทรงอิทธิพลในระดับเปลี่ยนแปลงโลกได้ เอาแค่ย้อนไปเพียง ไม่ถึง 10 ปีก็พอ หนังสือ Reengineering ของ Michael Hammer ก็สั่นสะเทือนองค์ความรู้ในเรื่องการบริหารและจัดรูปองค์กรอย่างกว้างขวาง กระแส reENGINEERING ลามระบาดไปในหลายระบบเศรษฐกิจทั่วโลกอย่างรวดเร็ว
ธนาคารกสิกรไทยและคุณบัณฑูร ล่ำซำ นำเอา กรอบความคิดและทฤษฎีของ Hammer มาผลิตซ้ำจนเวลาพูดถึง reENGINEERING ก็จะต้องนึกถึงธนาคารกสิกรไทยไปด้วยกันทุกครั้ง ไม่ผิดถ้าหากจะสรุปว่าธนาคารกสิกรไทยนั้น Owned หรือเป็นเจ้าของ reENGINEERING Concept ในความรับรู้ของสังคมการบริหารและการจัดการของไทย ส่งผลให้ธนาคารแห่งนี้ครอบครองภาพลักษณ์ของธนาคารแรกที่ reMODERNIZE ในระบบธนาคารไทยไปโดยอัตโนมัติ และเหตุผลนี้ก็กลายเป็นหนึ่งในกลไกที่เสริมความเข้มแข็งให้ธนาคารกสิกรไทยสามารถเอาตัวรอดจากวิกฤตร้ายเมื่อ 6 ปีที่แล้วได้อย่างสง่างาม
หนังสือทรงอิทธิพลอีกเล่มที่ผมกำลังจะกล่าวถึงสำคัญมากครับ หนังสือเล่มนี้ตีพิมพ์เป็นภาษาไทยเมื่อปี 2542 อยู่ในห้วงเวลาเดียวกับความพยายามก่อรูปความคิดและนโยบายของพรรคไทยรักไทย หลายคนคงเคยได้อ่านหรืออย่างน้อยก็คงเคยได้ยินหนังสือที่ชื่อ Rethinking the Future อันเป็นที่มาของ
วาทกรรมทางการเมือง “คิดใหม่ ทำใหม่” ของพรรคไทยรักไทย หนังสือเล่มนี้รวบรวมความคิดของ GURU แห่งยุคสมัยจำนวน 16 ท่านโดยมี Rovan Gibson ทำหน้าที่เป็นบรรณาธิการ ถูกแปลเป็นภาษาไทยโดยคุณธันยวัชร์ เจ้าของกรอบหน้า Marketing Thought ของ BrandAge ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ กล่าวถึง Rethinking The Future ไว้เมื่อปี 2542 ว่า
“...ถึงเวลาแล้วที่การคิดใหม่ (reTHINK) ที่มาจากกรอบกระบวนทัศน์ใหม่ (New Paradigm) จะต้องเกิดขึ้นเพื่อทดแทนแนวคิดจากกรอบกระบวนทัศน์เดิม (Old Paradigm) ..."
คงไม่มีช่วงเวลาใดในประวัติศาสตร์โลกที่โลกทั้งใบจะมีความเปลี่ยนแปลงมากมายและรวดเร็ว เฉกเช่นที่เป็นอยู่ในขณะนี้
ความเปลี่ยนแปลงทั้งหมดล้วนเกิดขึ้นจากพัฒนาการทางด้าน
วิทยาการ ซึ่งส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ ธุรกิจและแบบแผนการดำเนินงานในสังคม” รากฐานความสำเร็จของพรรคไทยรักไทย และรัฐบาลของนายกฯทักษิณ เกิดขึ้นพร้อมๆ กับการผลิตซ้ำ reTHINKING Concept และ reTHINKING ก็กลายเป็น Essence ของแนวนโยบายแบบประชานิยมของรัฐบาลไปในที่สุด
ธนาคารกสิกรไทยและคุณบัณฑูร ล่ำซำ นำเอา กรอบความคิดและทฤษฎีของ Hammer มาผลิตซ้ำจนเวลาพูดถึง reENGINEERING ก็จะต้องนึกถึงธนาคารกสิกรไทยไปด้วยกันทุกครั้ง ไม่ผิดถ้าหากจะสรุปว่าธนาคารกสิกรไทยนั้น Owned หรือเป็นเจ้าของ reENGINEERING Concept ในความรับรู้ของสังคมการบริหารและการจัดการของไทย ส่งผลให้ธนาคารแห่งนี้ครอบครองภาพลักษณ์ของธนาคารแรกที่ reMODERNIZE ในระบบธนาคารไทยไปโดยอัตโนมัติ และเหตุผลนี้ก็กลายเป็นหนึ่งในกลไกที่เสริมความเข้มแข็งให้ธนาคารกสิกรไทยสามารถเอาตัวรอดจากวิกฤตร้ายเมื่อ 6 ปีที่แล้วได้อย่างสง่างาม
หนังสือทรงอิทธิพลอีกเล่มที่ผมกำลังจะกล่าวถึงสำคัญมากครับ หนังสือเล่มนี้ตีพิมพ์เป็นภาษาไทยเมื่อปี 2542 อยู่ในห้วงเวลาเดียวกับความพยายามก่อรูปความคิดและนโยบายของพรรคไทยรักไทย หลายคนคงเคยได้อ่านหรืออย่างน้อยก็คงเคยได้ยินหนังสือที่ชื่อ Rethinking the Future อันเป็นที่มาของ
วาทกรรมทางการเมือง “คิดใหม่ ทำใหม่” ของพรรคไทยรักไทย หนังสือเล่มนี้รวบรวมความคิดของ GURU แห่งยุคสมัยจำนวน 16 ท่านโดยมี Rovan Gibson ทำหน้าที่เป็นบรรณาธิการ ถูกแปลเป็นภาษาไทยโดยคุณธันยวัชร์ เจ้าของกรอบหน้า Marketing Thought ของ BrandAge ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ กล่าวถึง Rethinking The Future ไว้เมื่อปี 2542 ว่า
“...ถึงเวลาแล้วที่การคิดใหม่ (reTHINK) ที่มาจากกรอบกระบวนทัศน์ใหม่ (New Paradigm) จะต้องเกิดขึ้นเพื่อทดแทนแนวคิดจากกรอบกระบวนทัศน์เดิม (Old Paradigm) ..."คงไม่มีช่วงเวลาใดในประวัติศาสตร์โลกที่โลกทั้งใบจะมีความเปลี่ยนแปลงมากมายและรวดเร็ว เฉกเช่นที่เป็นอยู่ในขณะนี้ความเปลี่ยนแปลงทั้งหมดล้วนเกิดขึ้นจากพัฒนาการทางด้านวิทยาการ ซึ่งส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ ธุรกิจและแบบแผนการดำเนินงานในสังคม” รากฐานความสำเร็จของพรรคไทยรักไทย และรัฐบาลของนายกฯทักษิณ เกิดขึ้นพร้อมๆ กับการผลิตซ้ำ reTHINKING Concept และ reTHINKING ก็กลายเป็น Essence ของแนวนโยบายแบบประชานิยมของรัฐบาลไปในที่สุด
เมื่อก่อนสิ้นปี 2545 นายกฯทักษิณ แนะนำหนังสืออีกเล่มให้กับคณะรัฐมนตรีและข้าราชการระดับสูง ในระดับต้องอ่าน หนังสือเล่มนี้ชื่อ As The Future Catches You เขียนโดย Juan Enriquez (ฮวน เอนริเกซ์) Juan Enriquez ชาวเม็กซิกัน ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้เป็นผู้อำนวยการโครงการวิทยาศาสตร์ชีวภาพของ Harvard B. School ได้ชี้ให้เห็นอนาคตที่จะเปลี่ยนแปลงไปจากพัฒนาการทางด้านวิทยาการโดยเฉพาะ Bio-Technology
งานของ Enriquez พูดถึงเรื่องที่ดูเหมือนไกลตัวให้รู้สึกว่าใกล้เรามากขึ้นเรื่อยๆ ปมประเด็นสำคัญสอดรับกับสิ่งที่ดร.สมคิด ได้พูดถึง ก็คือ พัฒนาการทางด้านวิทยาการส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ ธุรกิจ และแบบแผนการดำเนินงาน
นายกฯทักษิณชี้แนะด้วยความห่วงใยว่า “รัฐมนตรีทุกคนควรอ่านหนังสือเล่มนี้ เพื่อปรับตัวให้ทันกับการพัฒนาที่รวดเร็ว ถ้าปรับตัวไม่ทัน เราจะอยู่อย่างลำบาก”
ไม่น่าแปลกใจ ที่ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา Business Story ส่วนใหญ่จะวนเวียนอยู่ภายใต้กรอบ reTHINK-reBUILD และ Lots of re... กวาดสายตาดูบนชั้นวางหนังสือของตัวเอง หรือร้านหนังสือชั้นนำจะเห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้นว่า เต็มไปด้วยหนังสือใน Concept นี้ ไม่น่าจะผิด
หากสรุปจากกระแสในห้วงเวลา 2 ปีที่ผ่านมา และอีกหลายปีนับจากนี้ คือยุคสมัยของ reAGE จะแตกต่างก็ตรงรายละเอียดเชิงกลยุทธ์ที่หน่วยธุรกิจแต่ละหน่วยเลือกที่จะ Focus ความรู้จากหนังสือชั้นนำหลายต่อหลายเล่ม มีส่วนชี้นำสร้างกรอบความคิดและแนวทาง
สำหรับการปรับรูปแบบและวิถีที่จะอยู่อย่างชนะ
สกู๊ปปกของ BrandAge เล่มนี้อาจเป็นจุดเริ่มต้นสำหรับบางท่านและหลายท่านได้อย่างดี
ผมคงต้องทิ้งท้ายด้วยคำพูดของอาจารย์วรากรณ์
ก่อนลากลับในวันนั้นว่า
ช่วยกันทำให้คนอ่านหนังสือกันเยอะๆ เถอะครับ หนังสืออะไรก็ได้เพราะวันนี้คู่แข่งนอกจากจะขาดความเมตตาแล้วยังไล่ล่าคุณไม่หยุดครับ
เมื่อ 2-3 วันก่อนหน้าที่ผมจะเขียนต้นฉบับ Editor’s Note ผมได้แวะไปพบ อาจารย์วรากรณ์ สามโกเศศ ที่มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ท่านเป็นครูของผมที่คณะเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์ ผมแวะไปนั่งคุยกับท่านในขณะที่ท่านกำลังเตรียมตัวเป็นอธิการบดีของมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ผมนั่งคุยกับท่านประมาณหนึ่งชั่วโมง เรื่องที่พูดคุยกันวันนั้นมีเรื่องเดียวครับคือเรื่องหนังสือ อาจารย์วรากรณ์ ต้องนับว่าเป็นนักอ่านหนังสือระดับหนอนคนหนึ่งของประเทศ ท่านไม่ได้อ่านอย่างเดียวยังจัดเวลาเขียนบทวิจารณ์และ Review หนังสือลงตีพิมพ์ในหน้าหนังสือพิมพ์และนิตยสารดังหลายฉบับ หนังสือน่าสนใจเล่มล่าสุดที่อาจารย์วรากรณ์ ได้อ่านและเขียนถึงคือหนังสือ “Who Says Elephants Can’t Dance” ของ Louis V. Gerstner JR. อดีต CEO ของ IBM (งาน review ชิ้นนี้ ตีพิมพ์ในนิตยสาร thaicoon ฉบับเมษายน)
หนังสือของ Louis V. Gerstner เป็นที่พูดถึงมากที่สุด เล่มหนึ่งในขณะนี้ เพียงแต่อาจจะไม่ร้อนแรงเท่าหนังสือหลายเล่มที่นายกฯทักษิณแนะนำให้ คณะรัฐมนตรี และข้าราชการระดับสูงอ่านในการประชุมเชิงปฏิบัติการหลายครั้งหลายครา
ถึงวันนี้คงต้องยอมรับกันล่ะครับว่า ความคิดและความรู้จากหนังสือมีอิทธิพลต่อธุรกิจ ต่อประเทศและต่อโลกมาโดยตลอดหลายยุคหลายสมัย ผมคงไม่ย้อนไปไกลถึงยุค Machivelli หรือ Karl Marx ที่สร้างงานเขียนทรงอิทธิพลในระดับเปลี่ยนแปลงโลกได้ เอาแค่ย้อนไปเพียง ไม่ถึง 10 ปีก็พอ หนังสือ Reengineering ของ Michael Hammer ก็สั่นสะเทือนองค์ความรู้ในเรื่องการบริหารและจัดรูปองค์กรอย่างกว้างขวาง กระแส reENGINEERING ลามระบาดไปในหลายระบบเศรษฐกิจทั่วโลกอย่างรวดเร็ว
ธนาคารกสิกรไทยและคุณบัณฑูร ล่ำซำ นำเอา กรอบความคิดและทฤษฎีของ Hammer มาผลิตซ้ำจนเวลาพูดถึง reENGINEERING ก็จะต้องนึกถึงธนาคารกสิกรไทยไปด้วยกันทุกครั้ง ไม่ผิดถ้าหากจะสรุปว่าธนาคารกสิกรไทยนั้น Owned หรือเป็นเจ้าของ reENGINEERING Concept ในความรับรู้ของสังคมการบริหารและการจัดการของไทย ส่งผลให้ธนาคารแห่งนี้ครอบครองภาพลักษณ์ของธนาคารแรกที่ reMODERNIZE ในระบบธนาคารไทยไปโดยอัตโนมัติ และเหตุผลนี้ก็กลายเป็นหนึ่งในกลไกที่เสริมความเข้มแข็งให้ธนาคารกสิกรไทยสามารถเอาตัวรอดจากวิกฤตร้ายเมื่อ 6 ปีที่แล้วได้อย่างสง่างาม
หนังสือทรงอิทธิพลอีกเล่มที่ผมกำลังจะกล่าวถึงสำคัญมากครับ หนังสือเล่มนี้ตีพิมพ์เป็นภาษาไทยเมื่อปี 2542 อยู่ในห้วงเวลาเดียวกับความพยายามก่อรูปความคิดและนโยบายของพรรคไทยรักไทย หลายคนคงเคยได้อ่านหรืออย่างน้อยก็คงเคยได้ยินหนังสือที่ชื่อ Rethinking the Future อันเป็นที่มาของ
วาทกรรมทางการเมือง “คิดใหม่ ทำใหม่” ของพรรคไทยรักไทย หนังสือเล่มนี้รวบรวมความคิดของ GURU แห่งยุคสมัยจำนวน 16 ท่านโดยมี Rovan Gibson ทำหน้าที่เป็นบรรณาธิการ ถูกแปลเป็นภาษาไทยโดยคุณธันยวัชร์ เจ้าของกรอบหน้า Marketing Thought ของ BrandAge ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ กล่าวถึง Rethinking The Future ไว้เมื่อปี 2542 ว่า
“...ถึงเวลาแล้วที่การคิดใหม่ (reTHINK) ที่มาจากกรอบกระบวนทัศน์ใหม่ (New Paradigm) จะต้องเกิดขึ้นเพื่อทดแทนแนวคิดจากกรอบกระบวนทัศน์เดิม (Old Paradigm) ..."
คงไม่มีช่วงเวลาใดในประวัติศาสตร์โลกที่โลกทั้งใบจะมีความเปลี่ยนแปลงมากมายและรวดเร็ว เฉกเช่นที่เป็นอยู่ในขณะนี้
ความเปลี่ยนแปลงทั้งหมดล้วนเกิดขึ้นจากพัฒนาการทางด้าน
วิทยาการ ซึ่งส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ ธุรกิจและแบบแผนการดำเนินงานในสังคม” รากฐานความสำเร็จของพรรคไทยรักไทย และรัฐบาลของนายกฯทักษิณ เกิดขึ้นพร้อมๆ กับการผลิตซ้ำ reTHINKING Concept และ reTHINKING ก็กลายเป็น Essence ของแนวนโยบายแบบประชานิยมของรัฐบาลไปในที่สุด
ธนาคารกสิกรไทยและคุณบัณฑูร ล่ำซำ นำเอา กรอบความคิดและทฤษฎีของ Hammer มาผลิตซ้ำจนเวลาพูดถึง reENGINEERING ก็จะต้องนึกถึงธนาคารกสิกรไทยไปด้วยกันทุกครั้ง ไม่ผิดถ้าหากจะสรุปว่าธนาคารกสิกรไทยนั้น Owned หรือเป็นเจ้าของ reENGINEERING Concept ในความรับรู้ของสังคมการบริหารและการจัดการของไทย ส่งผลให้ธนาคารแห่งนี้ครอบครองภาพลักษณ์ของธนาคารแรกที่ reMODERNIZE ในระบบธนาคารไทยไปโดยอัตโนมัติ และเหตุผลนี้ก็กลายเป็นหนึ่งในกลไกที่เสริมความเข้มแข็งให้ธนาคารกสิกรไทยสามารถเอาตัวรอดจากวิกฤตร้ายเมื่อ 6 ปีที่แล้วได้อย่างสง่างาม
หนังสือทรงอิทธิพลอีกเล่มที่ผมกำลังจะกล่าวถึงสำคัญมากครับ หนังสือเล่มนี้ตีพิมพ์เป็นภาษาไทยเมื่อปี 2542 อยู่ในห้วงเวลาเดียวกับความพยายามก่อรูปความคิดและนโยบายของพรรคไทยรักไทย หลายคนคงเคยได้อ่านหรืออย่างน้อยก็คงเคยได้ยินหนังสือที่ชื่อ Rethinking the Future อันเป็นที่มาของ
วาทกรรมทางการเมือง “คิดใหม่ ทำใหม่” ของพรรคไทยรักไทย หนังสือเล่มนี้รวบรวมความคิดของ GURU แห่งยุคสมัยจำนวน 16 ท่านโดยมี Rovan Gibson ทำหน้าที่เป็นบรรณาธิการ ถูกแปลเป็นภาษาไทยโดยคุณธันยวัชร์ เจ้าของกรอบหน้า Marketing Thought ของ BrandAge ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ กล่าวถึง Rethinking The Future ไว้เมื่อปี 2542 ว่า
“...ถึงเวลาแล้วที่การคิดใหม่ (reTHINK) ที่มาจากกรอบกระบวนทัศน์ใหม่ (New Paradigm) จะต้องเกิดขึ้นเพื่อทดแทนแนวคิดจากกรอบกระบวนทัศน์เดิม (Old Paradigm) ..."คงไม่มีช่วงเวลาใดในประวัติศาสตร์โลกที่โลกทั้งใบจะมีความเปลี่ยนแปลงมากมายและรวดเร็ว เฉกเช่นที่เป็นอยู่ในขณะนี้ความเปลี่ยนแปลงทั้งหมดล้วนเกิดขึ้นจากพัฒนาการทางด้านวิทยาการ ซึ่งส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ ธุรกิจและแบบแผนการดำเนินงานในสังคม” รากฐานความสำเร็จของพรรคไทยรักไทย และรัฐบาลของนายกฯทักษิณ เกิดขึ้นพร้อมๆ กับการผลิตซ้ำ reTHINKING Concept และ reTHINKING ก็กลายเป็น Essence ของแนวนโยบายแบบประชานิยมของรัฐบาลไปในที่สุด
เมื่อก่อนสิ้นปี 2545 นายกฯทักษิณ แนะนำหนังสืออีกเล่มให้กับคณะรัฐมนตรีและข้าราชการระดับสูง ในระดับต้องอ่าน หนังสือเล่มนี้ชื่อ As The Future Catches You เขียนโดย Juan Enriquez (ฮวน เอนริเกซ์) Juan Enriquez ชาวเม็กซิกัน ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้เป็นผู้อำนวยการโครงการวิทยาศาสตร์ชีวภาพของ Harvard B. School ได้ชี้ให้เห็นอนาคตที่จะเปลี่ยนแปลงไปจากพัฒนาการทางด้านวิทยาการโดยเฉพาะ Bio-Technology
งานของ Enriquez พูดถึงเรื่องที่ดูเหมือนไกลตัวให้รู้สึกว่าใกล้เรามากขึ้นเรื่อยๆ ปมประเด็นสำคัญสอดรับกับสิ่งที่ดร.สมคิด ได้พูดถึง ก็คือ พัฒนาการทางด้านวิทยาการส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ ธุรกิจ และแบบแผนการดำเนินงาน
นายกฯทักษิณชี้แนะด้วยความห่วงใยว่า “รัฐมนตรีทุกคนควรอ่านหนังสือเล่มนี้ เพื่อปรับตัวให้ทันกับการพัฒนาที่รวดเร็ว ถ้าปรับตัวไม่ทัน เราจะอยู่อย่างลำบาก”
ไม่น่าแปลกใจ ที่ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา Business Story ส่วนใหญ่จะวนเวียนอยู่ภายใต้กรอบ reTHINK-reBUILD และ Lots of re... กวาดสายตาดูบนชั้นวางหนังสือของตัวเอง หรือร้านหนังสือชั้นนำจะเห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้นว่า เต็มไปด้วยหนังสือใน Concept นี้ ไม่น่าจะผิด
หากสรุปจากกระแสในห้วงเวลา 2 ปีที่ผ่านมา และอีกหลายปีนับจากนี้ คือยุคสมัยของ reAGE จะแตกต่างก็ตรงรายละเอียดเชิงกลยุทธ์ที่หน่วยธุรกิจแต่ละหน่วยเลือกที่จะ Focus ความรู้จากหนังสือชั้นนำหลายต่อหลายเล่ม มีส่วนชี้นำสร้างกรอบความคิดและแนวทาง
สำหรับการปรับรูปแบบและวิถีที่จะอยู่อย่างชนะ
สกู๊ปปกของ BrandAge เล่มนี้อาจเป็นจุดเริ่มต้นสำหรับบางท่านและหลายท่านได้อย่างดี
ผมคงต้องทิ้งท้ายด้วยคำพูดของอาจารย์วรากรณ์
ก่อนลากลับในวันนั้นว่า
ช่วยกันทำให้คนอ่านหนังสือกันเยอะๆ เถอะครับ หนังสืออะไรก็ได้เพราะวันนี้คู่แข่งนอกจากจะขาดความเมตตาแล้วยังไล่ล่าคุณไม่หยุดครับ