หลายท่านคงได้อ่านคอลัมน์ "อาหารสมอง"
ของอาจารย์วรากรณ์ สามโกเศศ
ทางมติชนสุดสัปดาห์และเห็นว่าเป็นคอลัมน์ที่ได้ความรู้
แง่คิดดีมากในคอลัมน์ดังกล่าว แบ่งเป็นสามส่วน
"อาหารสมอง" เป็นเนื้อหาใหญ่
"น้ำจิ้มอาหารสมอง" เป็นคำคมจากแหล่งต่างๆ
"เครื่องเคียงอาหารสมอง" เป็นเกร็ด ความรู้ เรื่องสั้นๆที่มีความน่าสนใจ
แต่มีความยาวของเนื้อหาเล็กน้อย
อาจารย์จึงได้แทรกไว้ในมุมหนึ่งมุมใดของหน้า
เมื่อเนื้อหามากขึ้นๆเรื่อย สนพ.มติชนจึงได้รวบรวมมารวมเล่ม
อ่านแล้วสนุกได้แง่คิด ได้สาระมาก
ตัวอย่างเนื้อหาในแต่ละบท
4 - ผมจะต้องการเงินไปทำไม
เนื้อหาเสียดสีคนในเมืองกับคนชนบท
คนในเมืองดูถูกคนในชนบทว่า
ไม่รู้จักพัฒนา หากพัฒนาแล้วจะมีเงิน
มีเงินก็จะได้ไม่ต้องทำงานหนัก
พูดเสร็จก็โดนคนชนบทตอกหงายหลังว่า
"ตอนนี้ผมก็ไม่ต้องทำงานนี่นา"
เนื้อหาเกี่ยวกับวันที่ละรึกถึงผู้เสียสละชีวิต
เพื่อปกป้องประเทศของตนในสงครามโลกทั้งสองครั้ง
ที่ซึ้งมากคือคำพูดบนหลุมฝังศพที่ Kohima
"When you go home, Tell them of us and say:
For your Tomorrow, We gave our Today"
"เมื่อคุณกลับบ้าน จงบอกเขาเหล่านั้นเกี่ยวกับเราด้วยว่า
สำหรับวันพรุ่งนี้ของเขา เราได้ให้วันนี้ของเราแล้ว"
Data 7 - สูตรไปสู่ความสำเร็จ
"สูตรไปสู่ความสำเร็จนี้" อาจารย์วรากรณ์ จำไม่ได้ว่าจดมาจากไหน
"สูตรไปสู่ความสำเร็จนี้" อาจารย์วรากรณ์ จำไม่ได้ว่าจดมาจากไหน
แต่เห็นว่าดีจึงนำมาแนะนำ
๑ - ทำงานอยู่เสมอ
๒ - อย่าเอาเรื่องกับสิ่งเล็กน้อย
๓ - อย่าเป็นทุกข์ล่วงหน้า
๔ - ต้อนรับสิ่งที่หนีไม่พ้นด้วยความสงบ
๕ - อย่ายอมเป็นทาสของอดีต
๖ - หัดวิเคราะห์ทุกข์
๗ - ค้นหาสาเหตุของทุกข์แล้วกำจัดต้นเหตุ
๘ - ทำจิตให้อิสระ ไม่ตกเป็นทาสของมายาธรรม
๙ - ตระหนักแน่ว่าสิ่งทั้งปวงเป็นไปตามเหตุแห่งปัจจัย
๑๐ - ความมีเหตุผล
๑๑ - การเล็งเห็นคุณและโทษของสิ่งที่เราไปเกี่ยวข้อง
๑๒ - พยายามมองบุคคลและเหตุการณ์ต่างๆในแง่ดีตามสมควร
๑๓ - การทำสมาธิ
ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา
เรื่องแรกมีอยู่ว่าคืนหนึ่งประธานาธิบดีบุชนอนไม่หลับ
กระสับกระส่ายอยู่บนเตียงในทำเนียบขาว
ก็เห็น จอร์จ วอชิงตัน ประธานาธิบดีคนแรกมาปรากฏกาย
จึงถามว่า
"จอร์จจะให้ผมทำอะไรที่ดีที่สุดเพื่อช่วยเหลือประเทศ"
ก็ได้ยินเสียงตอบว่า
"จงเป็นคนซื่อสัตย์และมีเกียรติศักดิ์ศรีเหมือนที่ฉันได้เคยทำ"
พูดจบก็หายไปคืนต่อมาก็เจออีก
คราวนี้เป็นผีของประธานาธิบดี โทมัส เจฟเฟอร์สัน
บุชถามคำถามเดียวกัน ก็ได้คำตอบว่า
"จงเคารพรัฐธรรมนูญเหมือนที่ฉันเคยทำสิ" ยังไม่ทันที่บุชจะถาม
ภาพก็เลือนหายไปคืนรุ่งขึ้นผีของประธานาธิบดี แฟรงกลิน รูสเวลด์
ก็ปรากฏตัวอีก หลังจากคำถามเดิมของบุช คำตอบก็คือ
"ช่วยประชาชนจริงๆ อย่างที่ฉันเคยทำสิ"
พูดจบก็หายไปอีกเมื่อถึงคืนรุ่งขึ้น
บุชก็เตรียมรับมือเพื่อขอความเห็นจากผีอดีตประธานาธิบดีอย่างเต็มที่
และคืนนั้นเขาก็ไม่ผิดหวังผีประธานาธิบดี อับราฮัม ลินคอล์น
ปรากฏตัว เขาไม่รอช้ารีบถามทันที
จะให้ผมทำอะไรที่ดีที่สุดเพื่อช่วยเหลือประเทศ
ก็ได้คำตอบจากลินคอล์นว่า
"ไปดูละครสิ"
คำตอบของประธานาธิบดีลินคอล์นถือเป็นตลกร้าย
เพราะใครๆ ก็รู้ว่า ประวัติศาสตร์การเมืองของอเมริกันนั้นบันทึกไว้ว่า
ประธานาธิบดี อับราฮัม ลินคอล์น ถูกมือปืนชื่อ จอห์น บูธ
ลอบสังหารเมื่อปีค.ศ.1865 หรือพ.ศ.2408
เหตุเกิดขณะลินคอล์นไปดูละคร!
อีกเรื่องมีเรื่องไม่จริงแต่เล่ากันสนุกๆ ว่า ประธานาธิบดีบุชไปหาหมอเอกซเรย์สมอง
เพราะคร่ำเคร่งกับสงครามอิรักมาหลายวันเมื่อหมอตรวจสมองดูแล้วก็บอกว่า
"On your right side, there is nothing left; and on your left,
there is nothing right."
แปลไทยได้ว่า สมองด้านขวานั้นไม่มีอะไรเหลืออยู่เลย
ส่วนซีกซ้ายก็ไม่มีอะไรที่เป็นเนื้อสมองดี (หรือถูกต้อง) อยู่เลยเช่นกัน!
ประชาชาติธุรกิจ
วันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550
ปีที่ 31 ฉบับที่ 3948
นอกจาก เราควรจะมีอาหารสมองดีๆ แล้ว
การมีเครื่องเคียงอาหารสมองที่ดีๆ ด้วย
ย่อมช่วยกระตุ้นต่อมปัญญาให้ตื่นตัวยิ่งขึ้นและยังมีแง่คิดที่น่าสนใจเช่นกัน
เช่นว่า...
เรื่องของนักเศรษฐศาสตร์ได้ถูกส่งตัวไปยังเกาะที่ผู้คนอยู่แบบสบายๆ
ในทะเลแคริบเบียน เพื่อสอนให้ชาวเกาะรู้จักไอเดียเกี่ยวกับ
ประสิทธิภาพของการจัดการที่ดี
ในตอนบ่ายวันแรกเขาก็พบชาวพื้นเมืองคนหนึ่งนั่งสบายอารมณ์อยู่บนระเบียง
พร้อมกับเบียร์ในมือ
เขาอธิบายว่า ถ้าคนเราทำงานประจำก็จะมีชีวิตที่ดีขึ้น
ชายคนนั้นก็ถามว่า "ทำไม"
"เพราะคุณจะได้มีเงิน"
"ผมจะต้องการเงินไปทำไม" ชายคนนั้นถาม
"ก็ถ้าหากหาเงินได้มากแล้วก็จะเกษียณอายุ และไม่ต้องทำงาน"
ชายคนนั้นก็ตอบว่า "แต่ตอนนี้ผมก็ไม่ต้องทำงานแล้วนี่"
บุรุษที่มีอิทธิพลต่อโลกในทศวรรษที่ 21 เป็นฮีโร่ของคนจำนวนมาก
ในความปราดเปรื่องด้านฟิสิกส์
เขามีคำพูดที่ที่โดดเด่นอยู่ 2 ประโยค
1.ไม่มีอะไรในจักรภพที่น่าอัศจรรย์ไปกว่า ดอกเบี้ยทบต้น
2.จินตนาการสำคัญกว่าความรู้
เมื่อไม่นานมานี้มีคนพบบันทึก 62 หน้าเขียน
โดยหญิงสาวคนสุดท้ายของไอน์สไตน์ซึ่งเป็นชาวเช็ก
ได้บันทึกชีวิตในครึ่งสุดท้ายของไอน์สไตน์อย่างน่าสนใจเธอบอกว่า
ไอน์สไตน์ติดตามข่าวการเมืองอย่างใกล้ชิดโดยเฉพาะการเมืองโลก
เขารู้สึกว่าเป็นความรับผิดชอบบางส่วนของเขาที่ทำให้
มีระเบิดนิวเคลียร์ขึ้นและมีแรงกดดันต่อชีวิตของเขา
เขาจะตอบจดหมายที่คนสารพัดประเภท
เขียนถึงเขาอย่างสุภาพเสมอ และเขารู้สึกอ้างว่าในฐานะนักวิทยาศาสตร์
เพราะนักฟิสิกส์บอกว่าเขาเป็นนักคณิตศาสตร์
นี่คือบางแง่มุมในหนังสือ "เครื่องเคียงอาหารสมอง"
ของ "ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ" หนึ่งในคณะรัฐบาลขิงแก่
ที่กำลังนับถอยหลังเพื่อขนของกลับบ้าน
ในขณะที่พรรคการเมืองกำลังตะลุยหาเสียงเลือกตั้งกันคึกคัก
แม้แต่ไอน์สไตน์ยังติดตามการเมืองฉะนั้นทุนมนุษย์
ก็จำเป็นที่ต้องติดตามเรื่องการเมืองเพราะเศรษฐกิจของชาติ
จะดีขึ้นหรือเลวลงก็ขึ้นกับการเมืองเช่นกัน
คั้นสดส่วนผสม "อาหารสมอง" จากคอลัมน์ยอดฮิต
ใน "มติชนสุดสัปดาห์"รายละเอียดน้ำจิ้มอาหารสมองนั้น
เป็นคำคมทั้งจากบุคคลต่างๆ และจากหนังสือหลายๆ เล่ม สั้นกระชับ
และกระทบใจ ส่วนเนื้อเรื่อง
คือส่วนหลักของคอลัมน์ที่เน้นพูดถึงเรื่องราวทางเศรษฐศาสตร์
แนวไม่ต้องปีนกระไดอ่านอย่างที่ผู้เขียนทำมานานจนกลายเป็นแบรนด์ไปแล้ว
และส่วนสุดท้ายคือ
เครื่องเคียงอาหารสมอง เป็นเกร็ด เคล็ดลับ ความรู้ รวมถึงเรื่องขบขัน
ที่เก็บได้ระหว่างทางอ่านศึกษาข้อมูล
สำนักพิมพ์เข้าใจถึงวิธีคิดแบบเศรษฐศาสตร์ของมะพร้าวที่ผู้เขียนขูด คั้น
และปรุงเป็นอาหารสมองให้ผู้อ่านชิมรสมาหลายปี
จึงได้ทำหน้าที่รวบรวมและคัดสรรบรรจุใส่เพ็กเกจ
เดลิเวอรี "เครื่องเคียงอาหารสมอง" เล่มนี้เพื่อส่งให้ถึงมือผู้อ่าน
รับรองว่าอร่อยไม่แพ้กันเพราะไม่ว่าจะเป็นส่วนไหนของมะพร้าวก็"มัน" ด้วยกันทั้งนั้น