สมลักษณ์ ปันติบุญ
Somluck Pantiboon
ประวัติส่วนตัว
20 กุมภาพันธ์ 2500
อ. เชียงของ
จ. เชียงราย
ที่อยู่“เครื่องปั้นดินเผาดอยดินแดง”
จ. เชียงราย
โทรศัพท์ 053-705291 , 706128
การศึกษา
การศึกษา
- สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาลัยเขตภาคพายัพ จ. เชียงใหม่
- เรียนกับอาจารย์ Lwao Onuma จังหวัด Lwata 1 ปีครึ่ง
- เรียนกับอาจารย์ Tarouemon Nakazato The 13 เป็นเวลา 3 ปี
การแสดงผลงานที่สำคัญ
- Nitten Exhibition, Tokyo Metropolitah ArtMuseum,
Tokyo- Arts And Crafts Exhibition, Fukuoka ArtMuseum, Fukuoka 6 ครั้ง
- The 6 Th National Ceramics Exhibition, Bangkok
- The 19 Th Flether Challenge AwardExhibition, Auckland Museum,
Auckland,New Zealandแสดงงานเดี่ยว
- เสรี อาร์ต แกลเลอรี่
- Akane แกลเลอรี่ ซิสึโอกะ ญี่ปุ่น
- Kawatoku แกลเลอรี่โมริดกกะ ญี่ปุ่น
- วัดสวนผักกาด มาราศีแกลเลอรี่ กรุงเทพฯ
- สุรพล แกลเลอรี่ กรุงเทพฯ
รางวัล
รางวัล
- งานเครื่องปั้นดินเผาแห่งชาติ 2 ครั้ง
- Asian Arts And Crafts Exhibition,Fukuoka Art Museum
ได้รับรางวัล 4 ครั้ง
- The 19 Th Fletcher Challenge awardExhibition,
Artist Statement
As a full-time potter, I am aware of the fact that my life, my clay works and nature are inseparable and interdependent.
The surrounding nature sustains me and my work, with essential natural materials for pottery-making-clay and glazes.
Clay comes from nearby mountains or rice paddies where farmers dig to make a fishpond. For glazes I use locally available ashes (wood ash, rice straw and husk ashes or ashes from any vegetation around) and red clay from the grounds of my studio.
I incorporate traditional Thai methods and techniques to my contemporary works, for example, for forming and designing, a pounding method still used by village potters in Southeast Asia. I also deliberately make and use celadon and ash glazes which were unique to the Suwankalok style, the highlights of Thai ceramic history, during the Sukhotai period, about 700 years ago.As a full-time potter, I am aware of the fact that my life, my clay works and nature are inseparable and interdependent.
The surrounding nature sustains me and my work, with essential natural materials for pottery-making-clay and glazes.
Clay comes from nearby mountains or rice paddies where farmers dig to make a fishpond. For glazes I use locally available ashes (wood ash, rice straw and husk ashes or ashes from any vegetation around) and red clay from the grounds of my studio.
To me, clay is like a canvas and glazes like paint, inert until put into use. It is the task of a potter to produce art objects from these materials. In my view, it is not the glaze formula or the method of making nor the temperature that makes a good pot. It is the potter's vision and development in pottery-making that results in the effective use of materials and the creation of a good pot. When potters know through experience how to use the natural materials around them, there is an unlimited opportunity to produce creative works with clay.
คุยกับ สมลักษณ์ ปันติบุญ เจ้าของบ้านดอยดินแดง
เรื่อง/ ปิ่นอนงค์ ปานชื่น
ภาพ/เอกรัตน์ ศักดิ์เพชรที่มา : http://www.oknation.net/blog/tastesunday/2009/07/13/entry-2
แม้ สมลักษณ์ ปันติบุญ เจ้าของบ้านดอยดินแดง
จะออกตัวว่างานของเขาเปลี่ยนแปลงอะไรโลกไม่ได้เลยก็ตาม
แต่อย่างน้อยที่สุดบ้านที่มีผนังผสมด้วยดินแดงในพื้นที่
ก็สร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้คนมากมาย
ทั้งนี้ยังไม่รวมผลงานศิลปะและธรรมชาติแวดล้อม
ที่มีความเชื่อมโยงเป็นหนึ่ง เดียวกัน
ดิน ถือเป็นวัตถุดิบสำคัญในงานเครื่องเคลือบดินเผา
สำหรับศิลปินเซรามิคชาวเชียงราย สมลักษณ์ ปันติบุญ
กล่าวว่า เขาหลงรักดินของท้องถิ่น
ดินสีแดงที่เขานำมาใช้สร้างบ้านและสร้างสรรค์ผลงาน
เครื่องเคลือบดินเผาที่ รู้จักกันในนาม ดอยดินแดง
หลังจากเรียบจบเทคโนโลยีวิทยาเขต เทคนิคภาคพายัพ เชียงใหม่
แล้วเดินทางไปญี่ปุ่นเพื่อศึกษาเพิ่มเติมทางด้านเซรามิค
กับอาจารย์ Twao Onuma
และ Tarouemon Nakagato เป็นเวลา 5 ปี
สมลักษณ์กลับบ้านที่เชียงรายแล้วมาพบดินแดงคุณภาพเหมาะ
ในการใช้งานที่บ้าน ป่าอ้อ ตำบลนางแล
จึงตัดสินใจซื้อที่จำนวน 9 ไร่ สร้างเป็นบ้าน
สตูดิโอและช้อป ขึ้นเมื่อ 19 ปีที่แล้ว
บ้านดินแดงเรื่อง/ ปิ่นอนงค์ ปานชื่น
ภาพ/เอกรัตน์ ศักดิ์เพชรที่มา : http://www.oknation.net/blog/tastesunday/2009/07/13/entry-2
แม้ สมลักษณ์ ปันติบุญ เจ้าของบ้านดอยดินแดง
จะออกตัวว่างานของเขาเปลี่ยนแปลงอะไรโลกไม่ได้เลยก็ตาม
แต่อย่างน้อยที่สุดบ้านที่มีผนังผสมด้วยดินแดงในพื้นที่
ก็สร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้คนมากมาย
ทั้งนี้ยังไม่รวมผลงานศิลปะและธรรมชาติแวดล้อม
ที่มีความเชื่อมโยงเป็นหนึ่ง เดียวกัน
ดิน ถือเป็นวัตถุดิบสำคัญในงานเครื่องเคลือบดินเผา
สำหรับศิลปินเซรามิคชาวเชียงราย สมลักษณ์ ปันติบุญ
กล่าวว่า เขาหลงรักดินของท้องถิ่น
ดินสีแดงที่เขานำมาใช้สร้างบ้านและสร้างสรรค์ผลงาน
เครื่องเคลือบดินเผาที่ รู้จักกันในนาม ดอยดินแดง
หลังจากเรียบจบเทคโนโลยีวิทยาเขต เทคนิคภาคพายัพ เชียงใหม่
แล้วเดินทางไปญี่ปุ่นเพื่อศึกษาเพิ่มเติมทางด้านเซรามิค
กับอาจารย์ Twao Onuma
และ Tarouemon Nakagato เป็นเวลา 5 ปี
สมลักษณ์กลับบ้านที่เชียงรายแล้วมาพบดินแดงคุณภาพเหมาะ
ในการใช้งานที่บ้าน ป่าอ้อ ตำบลนางแล
จึงตัดสินใจซื้อที่จำนวน 9 ไร่ สร้างเป็นบ้าน
สตูดิโอและช้อป ขึ้นเมื่อ 19 ปีที่แล้ว
"เดิมที่นี่เป็นป่าชะอม ต้นไม้ที่เห็นในวันนี้เป็นต้นที่ปลูกขึ้นมาใหม่
บางส่วนก็ขึ้นเองตามธรรมชาติ งานของผมเป็นงานคราฟท์
เป็นศิลปะที่ทำด้วยมือสืบเนื่องจากของโบราณ
ซึ่งเป็นวิถีชีวิตของผม ส่วนงานเซรามิคอาร์ต
เป็นงานที่ตอบสนองตนเองเป็นสำคัญ"
ศิลปินอธิบาย ถึงงานเซรามิคของดอยดินแดงที่แบ่งออกเป็น 2 ส่วน
กล่าวคือ งานเซรามิคประเภทเครื่องถ้วย จาน ชาม
ที่ใช้บนโต๊ะอาหาร รวมไปถึงแจกัน กระถาง
และเครื่องประดับตกแต่งอาคาร กับผลงานศิลปะ
ที่แฝงไปด้วยความรู้สึก จินตนาการ และเทคนิคเฉพาะตน
"ในการทำงานผมใช้ดินที่มีอยู่ในท้องถิ่นเนื่องจากเชียงรายมีภูเขาเยอะ
วัตถุดิบที่นำมาใช้ก็ได้มาจากในท้องถิ่นนี่ล่ะ
ไม่ว่าจะเป็นขี้เถ้าฟาง ขี้เถ้าไม้ไผ่
ล้วนเป็นวัตถุดิบสำคัญในการนำมาเคลือบผิวให้เกิดสีสัน
อย่างเช่นสีฟ้าก็ได้จากขี้เถ้าฟาง ขี้เถ้าไม้ไผ่
ส่วนดินแดงที่อยู่ใน ดิน เราก็นำมาทำฝาผนังสีอุ่นๆ
โดยผสมเข้าไปในปูนเลย หลายคนคิดว่าเราสร้างบ้านดินแต่ไม่ใช่
เหตุผลที่ใช้ดินผสมเข้าไปในปูนคือ
การประหยัด ร้านขายสีทาบ้านไม่ชอบ
เพราะผนังบ้านแบบนี้เริ่มแพร่หลาย" เจ้าของบ้านเล่ายิ้มๆ
"ตอนที่เราทำบ้านเราก็ขุดดินขึ้นมาแยกไว้เลย 1 กอง
สำหรับทำสีผนัง เน้นที่ประหยัด สิ่งแวดล้อมดี
โจทย์ของเราคือ ดูแลสิ่งแวดล้อมด้วย"
แหล่งเรียนรู้
การ ทำงานโดยยึดแบบแผนโบราณด้วยการขึ้นรูป
ภาชนะด้วยมือ และใช้เทคนิคการปั้น เผา เคลือบที่
เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม กลายเป็นจุดเด่นและจุดแข็ง
ที่ทำให้เหล่านักเรียน นักศึกษา และผู้สนใจงานศิลปะแขนงนี้
ติดต่อขอเข้าชมการทำงานอยู่แทบทุกวัน
บ้าน ดอยดินแดงในวันนี้จึงมีทั้งโรงปั้นที่เปิดโอกาสให้ผู้เข้าชม
ได้ชมวิธีการทำ งานและสามารถสอบถามพูดคุยกับช่างได้อย่างใกล้ชิด
รวมทั้งยังสามารถพูดคุยกับศิลปินถึงวิธีคิด
และขั้นตอนการทำงานศิลปะได้ หากมีการนัดหมายล่วงหน้า
นอกจากนี้ยังมีสตูดิโอของศิลปิน ห้องแสดงงานเซรามิคอาร์ต
ห้องแสดงสินค้าประเภทตกแต่ง ช้อปสำหรับขายสินค้าประเภทเทเบิ้ลแวร์
และล่าสุดเจ้าของบ้านได้เปิดมุมร้านกาแฟ
ไว้อำนวยความสะดวกสำหรับแขกที่มา เยือนอีกด้วย
"สำหรับนักศึกษาที่เข้ามาดูงาน
บางคนถามว่างานปั้นมืออย่างนี้จะอยู่รอดได้มั้ย
เราก็พยายามสอนเขาเรื่องการพึ่งพาตัวเอง
การเป็นศิลปินต้องรู้จักพึ่งตัวเอง
ในขณะเดียวกันก็ต้องรู้จักการพึ่งพาอาศัยกันด้วย
ถ้าเราใช้ชีวิตให้กลมกลืนกับธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อมได้ ทำงานดี อยู่รอดแน่นอน"
อยู่กับธรรมชาติอย่างกลมเกลียว
สมลักษณ์เล่าว่า เมื่อสองสามปีก่อน
เขาเริ่มสนใจในการเพาะกล้าไม้ ไม้ป่า ไม้ผลบ้าง
และมาจริงจังตอนซื้อต้นชาหลายพันธุ์
มาปลูกในเนื้อที่ 1 ไร่ เพื่อเป็นงานอดิเรก
"ชอบความเขียวชอุ่มของต้นชา ชอบดื่มชา
และอาชีพของผมเป็นคนทำถ้วยชาม ถ้วยชา กาแฟอยู่แล้ว
ปลูกชาเอาไว้ต้อนรับแขกบ้าง ดื่มเองบ้าง
ปี แรกๆ ซื้อต้นชามาจากแม่สลองขึ้นได้ 3 ปีแล้ว
เขียวชอุ่มทั้งปี มี 2-3 ชนิด แต่ปีถัดไป
เราจะปลูกเพิ่มเติมเราคงจะไม่จำเป็นต้องซื้อต้นชาอีกแล้ว
เพราะเห็นเมล็ดชาขึ้นเต็มต้นไปหมด
ชาบางชนิดเอาเมล็ดไปเพาะชำต้นอ่อนจากกิ่งชา
ที่ตัดออกมาจากต้นที่แก่ และไม่แปลกใจแต่อย่างใด
ที่มีคนพูดว่าชาของเขาทั้งหมดหลายร้อยหลายพันไร่
เกิดจากต้นชาหลังสวนของเขาเอง
การปลูกต้นชากลายเป็นงานอดิเรกที่ผมรักและชอบไปทีเดียว
และอีกอย่างหนึ่งที่ชอบที่สุด คือ การเก็บสะสมเมล็ดของต้นไม้ป่า
เมล็ดของไม้ผล และพืชพันธุ์ธัญญาหาร
มันช่างมีรูปร่างที่แปลก มีปริมาตรที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง
เหมือนเป็นงานประติมากรรม
ออร์แกนิค ฟอร์มที่เกินกว่ามนุษย์จะคิดได้เลยทีเดียว"
ใบชาที่ปลูกไว้เป็นงาน อดิเรก กลายมาเป็นชาร้อนกลิ่นหอม
ให้แขกผู้มาเยือนดื่มท่ามกลางความร่มเย็นของแมกไม้
ที่ดูเหมือนป่าขนาดย่อม และอีกไม่นานที่ร้านกาแฟเปิดใหม่
ก็จะวางขายชาดอยดินแดงผลผลิตจากงานอดิเรก
ส่วน เมล็ดพันธุ์ที่เก็บสะสมไว้ กลายเป็นแรงบันดาลใจให้
ศิลปินสร้างสรรค์ผลงานเซรามิคชุดล่าสุด
The Still Voice of the Forest
ที่เคยนำมาจัดแสดงที่ หอศิลป์ร่วมสมัยอาร์เดล
เมื่อปลายปีที่ผ่านมา
และนำมาจัดแสดงในสตูดิโอดอยดินแดงในขณะนี้
ในงานแสดงผลงานชุดนี้ สมลักษณ์ได้ให้ความเห็นต่อ
ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในทั่วโลกเอาไว้อย่างน่าคิดว่า
" ปัญหามันเกิดขึ้นเพราะเกิดจากค่านิยม
การบริโภคนิยมของมนุษย์โลก
และการจัดการที่จะให้ความสมดุลของธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อมกลับคืนมานั้น ดูจะหมดหนทาง
ถ้าเป็นอย่างที่เป็นอยู่อย่างนี้ แต่สำหรับผมแล้ว
ผมยังมีความหวังทำอย่างใดอย่างหนึ่ง
เพื่อสนองตอบต่อตนเองและเท่าที่ตัวผมเอง จะทำได้
และยังมีความหวังกับมนุษย์ร่วมโลกที่อุทิศแรงกายแรงใจ
และมีความคิดไปในทำนอง
เดียวกันซึ่งมีจำนวนมากขึ้น และมากขึ้นทั่วทั้งโลก
ตัวผมเอง ผมยังมีต้นกล้าแห่งความหวัง
ต้นกล้าไม้ต้นหนึ่งก็คงเปรียบเหมือนมนุษย์หนึ่งคน
ถ้าได้เพาะบ่มให้ดี มีดินมีน้ำที่ดีก็จะเติบโต
เป็นต้นไม้แห่งความหวังได้
ผลิดอกออกผลต่อไปจนไม่มีที่สิ้นสุด
จุดหมายในการทำงานของผมครั้งนี้
ก็เพื่อการตอบสนองตนเองเป็นสำคัญ
แต่อย่างน้อยถ้างานของผมทำให้ผู้คนได้รำลึกถึง
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ตัว เองอาศัยอยู่บ้าง
ผมก็มีความพอใจและถือว่าบรรลุความสำเร็จอย่างสูงสุดแล้ว
เพราะงานของผมเปลี่ยนแปลงอะไรโลกไม่ได้เลย"
มาถึงบรรทัดนี้แล้วไม่แปลกใจเลย
ที่บ้านดอยดินแดงไม่เคยขาดแคลนผู้มาเยือน
หมาย เหตุ :
ดอยดินแดง เครื่องปั้นดินเผา
49 หมู่ 6 ซอย 3
บ้านป่าอ้อ
ถ.พหลโยธิน
ต.นางแล
อ.เมือง
จ.เชียงราย 57100
โทร.0-5370-5291 เปิด 08.30-16.00 น.
ทุกวันยกเว้นวันอาทิตย์
(6 กม.จากสนามบินเชียงรายมุ่งหน้าไปทาง อ.แม่สาย
ดอยดินแดงจะอยู่ทางด้านขวามือในซอยเดียวกับ
หมู่บ้านกะเหรี่ยงคอยาว เข้าซอยประมาณ 2 กม.)
เป็นอยู่คือ - ปั้นเพื่อปล่อย 28Jan12
บ้านดอยดินแดง ปั้นดินปั้นทรายให้เป็นงานศิลป์