ประวัติพ่อขุนมังรายมหาราช
โดยพระกำเนิดของพ่อขุนมังราย
พระบิดาของพระองค์สืบเชื้อพระราชวงศ์
มาจากลวะจักราชแห่ง แคว้นจก
พระมารดาของพระองค์มาจาก
เจ้านครเชียงรุ้งแห่งแคว้นสิบสองปันนา
นับว่าต้นกำเนิดของพระองค์สืบเชื้อพระวงศ์
มาจากเจ้านครชั้นสูงทั้งฝ่ายบิดาและมารดา
พ่อขุนมังรายประสูติ
วันอาทิตย์ แรม 9 ค่ำ เดือน 3 ปีจอ พ.ศ. 1718 เวลาย่ำรุ่ง
เมื่อพระราชมารดาแรกตั้งพระครรภ์ ได้ทรงพระสุบินนิมิตว่า
เห็นดาวประกายหยาด แต่ท้องฟ้าลงมาทางเบื้องพระทักษิณ
และได้รับเอาดาวดวงนั้นไว้ โหรจึงถวายคำพยากรณ์ว่าจะได้
โอรสที่ทรงศักดานุภาพมาก
ครั้นพ่อขุนมังราย เจริญพระชนมายุได้ 16 พรรษา
เจ้าลาวเม็งพระบิดา
จึงได้ไปสู่ขอพระธิดาเจ้าเมืองเชียงเรืองให้
แล้วทรงโปรดให้เป็นมหาอุปราช
กระทั่งพระชนมายุได้ 21 พรรษา
พระบิดาก็เสด็จทิวงคต พ่อขุนมังรายจึงได้ขึ้น
ครองเมืองหิรัญนครเงินยางสืบต่อจากพระราชบิดา
ด้วยพระปรีชาสามารถของพระองค์ พ่อขุนมังรายจึงได้
ทรงกอบกู้รวบรวมชาวไทยให้เป็น
กลุ่มก้อนระงับความทุกข์เข็ญต่าง ๆ ได้
เพราะในขณะนั้นได้เกิด
เมืองเล็กเมืองน้อยตั้งตัวเป็นอิสระไม่ขึ้นแก่กัน
ทั้งที่เป็นคนไทยเหมือนกัน และเจ้าเมืองต่างๆ เหล่านั้น
ส่วนใหญ่ก็เป็นพระญาติของพระองค์นั้นเอง
จึงเห็นสมควรจะได้ปราบปรามให้มารวมเป็นอาณาจักรเดียวกัน
จะได้เกิดความผาสุกแก่ประชาชน
พ่อขุนมังรายได้มีใบบอกไปยังเมืองต่างๆ
ที่ตั้งตัวเป็นอิสระ ให้มาอ่อนน้อมต่อหิรัญนคาเงินยางเสีย
เมืองใดแข็งข้อก็ส่งกองทัพไปปราบ
และตีเมืองมอบได้เป็นเมืองแรก
ต่อมาก็ตีได้เมืองไรและเมืองเชียงคำ
แล้วถอดเจ้าผู้ครองนครออก ตั้งขุนนางให้อยู่รั้งเมืองแทน
นับแต่นั้นมา หัวเมืองน้อยใหญ่ทั้งหลาย
ก็เข้ามาสวามิภักดิ์ต่อหิรัญนครเงินยางหมดสิ้น
เมื่อพระองค์รวบรวมหัวเมืองต่าง ๆ ทางฝ่ายเหนือหมดแล้ว
ก็จึงคิดจะยกกองทัพไปปราบบรรดาหัวเมืองทางฝ่ายใต้
และได้เสด็จไปประทับอยู่ที่เมืองลาวกู่เต้า
โอรสองค์ใหญ่ก็ได้ประสูติ ณ
ที่เมืองลาวกู่เต้านั่นเอง ในปี พ.ศ. 1833
พ่อขุนมังงรายได้ทรงยกทัพไปตีเมืองพุกาม
แต่พระเจ้าอังวะได้ให้ราชบุตรนำเครื่องบรรณาการมาต้อนรับ
มาขอเป็นไมตรีด้วย เมื่อพ่อขุนมังรายเสด็จกลับ
จึงขอช่างฝีมือต่าง ๆ จากชาวพุกาม
เพื่อนำไปฝึกให้ชาวล้านนาไทย
พระเจ้าอังวะได้โปรดพระราชทานช่างฆ้อง
ช่างทองและช่างเหล็กให้ ซึ่งศิลปะต่างๆ ที่เป็นของพุกาม
จึงมีเหลืออยู่ที่ล้านนาไทยในปัจจุบัน
ในปี พ.ศ. 1835 พระองค์ได้เสด็จ
ไปสร้างเมืองใหม่ที่เชียงใหม่ที่เชิงดอยสุเทพ
พระองค์ทรงสร้างเมืองใหม่จนถึง พ.ศ.1839
จึงสำเร็จและสถาปนานครนี้ว่าเชียงใหม่
ในระหว่างที่พระองค์ทรงสร้างนครเชียงใหม่อยู่นั้น
พระยายีบา กษัตริย์ขอมเจ้าเมืองหริภุญชัย
ซึ่งหลบหนีไปอยู่กับพระยาเบิกผู้เป็นบุตรนครเขลางค์ (ลำปาง)
เมื่อคราวพ่อขุนเม็งรายไปตีเมืองหริภุญชัย
ได้ยกทัพขอมกลับมาเพื่อจะตีหริภุญชัยคืน
พ่อขุนมังรายจึงโปรดให้เจ้าขุนคราม
พระโอรสยกทัพออกไปรบกับพระยาเบิก
และจับพระยาเบิกสำเร็จโทษเสีย
พระยายีบารู้ข่าวจึงทิ้งเมืองเขลางค์นครหนีไปพึ่งพระยาพิษณุโลก
เจ้าขุนครามจึงได้เมืองเขลางค์นครไว้อีกเมืองหนึ่ง
จึงนับว่าพ่อขุนมังรายได้
ทรงมีอำนาจครอบงำไปทั่วดินแดน
ทางภาคเหนือและยังตีได้ดินแดน
ต่างประเทศคือหงสาวด ีและพุกามไว้ในครอบครองอีกด้วย
ในปีต่อมา พ่อขุนเม็งรายได้ยกทัพไปตีเมืองพะเยา
แต่พระยางำเมืองแห่งเมืองพะเยา
ได้เสด้จออกมารับด้วยความมีไมตรี
จึงรับไว้เป็นมิตร พระองค์ได้พยายาม
ขยายอาณาเขตออกไปในดินแดน
ซึ่งขอมไปครอบครองอยู่ คือเมืองหริภุญชัย
เมื่อปี พ.ศ. 1824 แล้วได้สร้างเมืองขึ้นอีกเมืองหนึ่ง
เมื่อปี พ.ศ. 1829 ตั้งชื่อเมืองว่า กุมกาม (เมืองกุมกาม)
ปัจจุบันนี้เป็นอำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่นั่นเอง
ต่อมาในปี พ.ศ 1831
พ่อขุนเม็งรายได้ยกกองทัพไปเมืองหงสาวดี
เจงพยุเจง เจ้าเมืองหงสาวดีเกรงพระบารมี
จึงได้แต่งเครื่องราชบรรณาการออกมาถวายขอเป็นไมตรี
และยกพระราชธิดาคือนางปายโค
ให้เป็นบาทจาริกาแก่พระองค์ ในปีเดียวกัน
ได้มีพระเถระรูปหนึ่งชื่อ
พระกัสสปเถระพร้อมด้วยศิษย์สงฆ์ 5 รูป
มาบำเพ็ญรุกขมูลอยู่ใต้ต้นมะเดื่อใหญ่
พระองค์ทรงเลื่อมใสศรัทธามาก
จึงโปรดให้สร้างพระอารามถวาย
และโปรดให้หล่อพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ 5 องค์
สูงใหญ่ขนาดเท่าพระวรกายของ พ่อขุนเม็งราย
ประดิษฐานไว้ที่พระอารามนั้น
ซึ่งเมื่อพระองค์ได้มาสร้างเมืองเชียงใหม่ในเวลาต่อมา
ก็ได้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ในเมืองเชียงใหม่
(ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่วัดพระเจ้ามังราย
หรือวัดกาละก๊อก เชียงใหม่)
เมื่อปีจอ พ.ศ. 1805 และขนานนามว่าขุนเครื่อง
ในปี พ.ศ. 1805 นี้เอง พระองค์ได้สร้างเมืองเชียงรายขึ้น
และได้เสด็จมาประทับที่เมืองเชียงรายถึง 3 ปี
ก็ได้โอรสอีกองค์หนึ่งขนานนามว่า เจ้าขุนคราม (ขุนสงคราม)
และจากนั้นมาอีก 3 ปี ก็ได้เสด็จไปประทับอยู่เมืองฝาง
และยกทัพไปตีได้เมืองผาแดงเชียงของ ซึ่งมีเจ้าคำเรืองครองอยู่
และเป็นเชื้อพระวงค์ลวะจักราชเหมือนกัน
จากนั้นจึงได้กลับมาประทับอยู่ที่
เมืองฝางตามเดิมและได้โอรสอีกองค์หนึ่ง
ขนานพระนามว่าขุนเครือ ในปี พ.ศ. 1818 เจ้าขุนเครื่อง
โอรสองค์ใหญ่ได้ครองเมืองเชียงราย
และเชื่อถ้อยคำขุนใสเรืองซึ่งยุยงให้คิดกบฏต่อพระบิดา
เมื่อความทราบถึงพระองค์ จึงแต่งอุบายเรียกให้มาเฝ้าที่เมืองฝาง
แล้วให้อ้ายเผียน นักแม่นธนูอาบยางน่องยิงขุนเครื่องสิ้นพระชนม์ไป
พ่อขุนมังรายจึงเสด็จกลับมาครอง
เมืองเชียงรายอีกดังนั้นพ่อขุนมังราย
จึงสมควรที่จะได้รับการยกย่องให้เป็น
มหาราชของกษัตริย์ไทยอีกพระองค์หนึ่ง
พ่อขุนมังรายเสด็จสวรรคตเมื่อปี พ.ศ. 1890
ขณะที่กำลังเสด็จประพาสกลางเมืองเชียงใหม่
โดยได้ถูกอสุนีบาตตกต้องพระองค์
พ่อขุนมังรายมีพระชนมายุได้ 80 พรรษา