Custom Search

Feb 5, 2010

ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม เถ้าแก่ธุรกิจบันเทิงแบบสบาย…สบาย





นิตยสารผู้จัดการ( สิงหาคม 2530) 


ทุกข้อต่อการเติบโตของไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม
ทั้งในชีวิตคนโฆษณา นักการตลาด คนทำหนังสือ
จนถึงวันที่ก้าวขึ้น เป็นผู้ประกอบการเต็มตัวมีคนมากมายหยิบยื่นโอกาสให้
และเขาไม่พลาดที่จะคว้าโอกาสนั้นอย่างถูกจังหวะ
เขาเป็นคนโชคดี แต่ในธุรกิจบันเทิง
ที่ต้องทำงานเกี่ยวข้องกับคนเป็นหลัก
ปฏิเสธไม่ได้ว่าเขาเก่งที่สามารถจัดการ
ให้คนเหล่านั้นผลิตงานบันเทิงออกมา ได้อย่างที่เห็นภายใต้นาม
"แกรมมี่เอ็นเตอร์เทนเม้นท์" เช่นทุกวันนี้
ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม กรรมการผู้จัดการบริษัท แกรมมี่เอ็นเตอร์เทนเม้นท์
หรืออีกนัย "เถ้าแก่" แห่งแกรมมี่ฯ ชื่อเสียงหน้าตาของเขาเป็นที่รู้จักน้อยกว่าศิลปิน ในสังกัดหลายสิบเท่า
ไม่ว่าจะเทียบกับ ธงไชย แมคอินไตย์ ชรัส เฟื่องอารมณ์ 
ฐิติมา สุตสุนทร
หรือ นันทิดา แก้ว บัวสาย ฯลฯ
แต่เมื่อมองย้อนกลับไป
ถ้าไพบูลย์ไม่ตั้งแกรมมี่ฯ ศิลปินมีชื่อเหล่านี้อาจจะไม่มีชื่อ
หรือมีชื่อไม่เท่าทุกวันนี้ หรือถึงมีชื่อก็อาจไม่เป็นที่รู้จักเท่าไพบูลย์ก็เป็นได้
คงไม่ผิดถ้าจะกล่าวว่าไพบูลย์มีความสำคัญ
เพราะเขาให้กำเนิดแกรมมี่ฯ ทำให้แกรมมี่ฯ
ผลิตเทปเพลงและรายการโทรทัศน์ พร้อม ๆ กับสร้างศิลปินชื่อดังมากมาย
หลายคนออกมาสร้างสรรค์ความบันเทิงเริงใจให้ ประชาชนไม่ขาดสาย
ไพบูลย์เป็นเถ้าแก่ในธุรกิจบันเทิงประเภทผู้ผลิตเทป
และรายการโทรทัศน์ที่แตกต่างไปจากเถ้าแก่ค่ายอื่น ๆ
เขามีความรู้พื้นฐานทางด้านสื่อสารมวลชนที่ดี
เขาเรียนรู้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจบันเทิง
และนำมาปรับใช้ได้อย่าง วิเศษ ไม่ว่าจะเป็นโฆษณาการตลาด
หรือความเป็นศิลปินจากการทำหนังสือ
รวมทั้งในงานบริหารและจัดการ ประสบการณ์เหล่านี้ทำให้ไพบูลย์เข้าใจธุรกิจบันเทิง ระบบตั้งแต่ต้น
ประกอบกับมีพื้นฐานงานด้าน CREATIVE
ยิ่งทำให้เขาเข้าใจงานและคนใน FIELD นี้มากขึ้น
เขาต่างจากเถ้าแก่คนอื่นๆ
ที่หลายคนบางครั้งพูดภาษาไทยไม่ชัด และระดับของวัฒนธรรมไม่ถึง
ศักยภาพในตัวไพบูลย์ไม่เพียงพอ แต่ทำให้เขาต่างจาก เถ้าแก่ค่ายอื่น ๆ
ทั้งยังมีส่วนทำให้งานของแกรมมี่ต่างไปจากงานค่ายอื่น ๆ ด้วย
เทปเพลงและรายการโทรทัศน์ภายใต้ชื่อแกรมมี่ฯ เป็นเหมือนเครื่องหมายรับประกันว่าเทปขายได้ ศิลปินดัง
รายการโทรทัศน์ดีมีคนดู (สปอนเซอร์ชอบ)
เทปเพลงผลงานศิลปินสังกัดแกรมมี่ฯ ไม่ว่าจะเป็นนกแล
ธงไชย แมคอินไตย์ นันทิดา แก้วบัวสาย ฐิติมา สุตสุนทร
ชรัส เฟื่องอารมณ์ เรวัต พุทธินันทน์ ฯลฯ
เป็นที่ยอมรับของบริษัทจัดจำหน่าย
แผงขายเทปรวมทั้งผู้ซื้อ
ศิลปินสังกัดแกรมมี่ฯ
เปิดคอนเสิร์ตบัตรเข้าชมจำหน่ายหมดล่วงหน้าการแสดง
มิวสิควิดีโอของแกรมมี่ฯ สร้างความแปลกใหม่ให้วงการ
กระตุ้นให้ค่ายอื่น ๆ พัฒนางานของตนเอง
ล่าสุดมีหลายเพลงที่ได้รางวัล BAD AWARD
รายการโทรทัศน์ของแกรมมี่มี RATING สูง
เป็นที่ยอมรับของสปอนเซอร์ ไม่ว่าจะเป็นรายการตามไปดู
แชมป์ชิงแชมป์ถนนสายดนตรี คอนเสิร์ตลืมโลก
ทุกวันนี้ไพบูลย์ ยังคงเดินหน้าพาพนักงานสนุกไปด้วยกัน
บนถนนธุรกิจบันเทิงสายทำเทปเพลง และรายการโทรทัศน์
ตลอดเวลา 16-18 ชั่วโมงในแต่ละวัน ที่ประสาทหูและตายังตื่น
ไพบูลย์จะสนใจฟังเพลงทุกชนิดที่ประสาทหูรับเสียงได้
จะดูรายการโทรทัศน์ทุกรายการที่สายตาแวบผ่านไปเห็น
และถ้าสมองยังตื่นอยู่ด้วยเขาจะคิด คิด คิด
เกี่ยวกับเพลงและรายการนั้น ๆ เพลงที่ได้ฟังใครร้อง
ทำนองจังหวะจำง่าย เป็นของคู่แข่งรายไหน แกรมมี่ฯ
จะทำได้หรือไม่ รายการโทรทัศน์นั้นของใคร
ทำไมสนุก มีเสน่ห์ตรงไหนใครเป็นสปอนเซอร์
ยิ่งเมื่อได้พบเพื่อนร่วมงาน หรือคนในวงการเทปหรือ
รายการโทรทัศน์ การพูดคุยถกเถียงวิเคราะห์อย่างลุ่มลึกแตกฉาน
เป็นการสร้างสรรค์จนเกิดไอเดีย แปลกใหม่ตามมา
"เดี๋ยวนี้วัน ๆ ผมไม่ค่อยได้ทำอะไร คิด คิด คิด
แล้วก็คุย คุย คุย เป็นส่วนใหญ่" ไพบูลย์บอก "ผู้จัดการ"
ถึงกิจวัตรประจำวัน ของการเป็นเถ้าแก่เต็มตัวที่แกรมมี่เอ็นเตอร์เทนเม้นท์


ไพบูลย์เป็นลูกชายคนเดียวของนายซิมเพียว และนางตั้งสี แซ่อึ้ง
เจ้าของร้านประภัสสรสโตร์ ย่านประตูน้ำ
เขาก็เหมือนลูกชายชาวจีนโพ้นทะเลทั่วไป
ที่เมื่อแรกการศึกษาต้องเรียน โรงเรียนจีน
ไพบูลย์เรียนชั้นประถมที่โรงเรียนเผยอิง
มัธยมปลายที่สวนกุหลาบ
จบปริญญาตรีที่นิเทศศาสตร์ จุฬาฯ
สมัยเรียนที่จุฬาฯ ไพบูลย์เป็นนักทำกิจกรรมตัวยง
รู้จักเพื่อนต่างคณะมาก
ยังผลให้ในชีวิตการทำงาน เขาได้เพื่อนช่วยเหลือมาก
พอ ๆกับได้ช่วยเหลือเพื่อน ๆ
เมื่อเรียบจบเขาเข้าทำงานทันทีที่ฟาร์อีส แอ๊ดเวอร์ไทซิ่ง
ซึ่งขณะนั้นเพิ่งเริ่มก่อตั้งเป็น IN HOUSE AGENCY
ในเครือสหพัฒนพิบูล
"ผมรู้สึกจะเป็น COPY WRITER คนที่ 2
อยู่ได้ 6 เดือนก็ได้เป็นหัวหน้าไปรวบรวมเพื่อน ๆ น้อง ๆ
ที่คณะมาเป็นลูกน้อง
ผมโชคดีที่นายห้างเทียมเมตตาเลยได้เป็นหัวหน้าง่ายๆ"
ไพบูลย์เล่าให้
"ผู้จัดการ"ฟังถึงการเริ่มงานครั้งแรกเมื่อปี 2513
ช่วงแรกในวัยหนุ่มเขาเหน็ดเหนื่อย
เพื่อแลกด้วยความรู้ใหม่ประสบการณ์
และสายสัมพันธ์กับคนในวงการต่าง ๆ
เพื่อจุดมุ่งหมาย "อยากรวย" แต่เขาก็ยังไม่รวมสักที
เมื่อเริ่มชีวิตทำงานไพบูลย์ก็โชคดีแล้ว
ที่สหพัฒนฯ นายห้างเทียม โชควัฒนา
สอนงานทุกอย่างให้ทีมงานโฆษณาทีมแรกของสหพัฒนฯ
ให้โอกาสไพบูลย์ได้เข้าร่วมประชุมโรงงาน
ฝ่ายขาย ฝ่ายตลาด เรียนรู้
ตั้งแต่กระบวนการผลิตจนถึงการจัดจำหน่ายสินค้าในเครือ
"บางครั้งนายห้างมีเวลาจะมานั่งประชุม
ถกเถียงเรื่อง CREATIVE กับพวกเรา"
เขาบอก "ผู้จัดการ" ว่าสหพัฒนฯ
เป็นเหมือนโรงเรียนอีกแห่งหนึ่งในชีวิตการทำงาน
ที่ให้ประสบการณ์มีค่าแก่เขา
ทีมโฆษณาของไพบูลย์ทีมนี้
ฝากผลงานที่ติดปากผู้บริโภคมาถึงทุกวันนี้คือ
"มาม่าอร่อย" ระหว่างทำงานที่ฟาร์อีสฯ
ไพบูลย์กับเพื่อนต่างคณะ
เมื่อครั้งทำกิจกรรมที่จุฬาฯด้วยกันเปิดบริษัท FOUR AIDS
ให้บริการด้านต่าง ๆ เช่น ด้านโฆษณาไพบูลย์รับผิดชอบ,
ด้านอาคิเตค มล.ชายนิมิตร เนาวรัตน์ กับ มานพ พงศทัต รับผิดชอบ,
งานวิจัย ไพฑูรย์ แสงสว่าง รับผิดชอบ เขาเริ่มเป็นเถ้าแก่กลาย ๆ
ที่นี่ กลางวันทำงานที่ฟาร์อีสฯ กลางคืนมานั่งที่ FOUR AIDS
แต่ทำได้เพียง 2 ปี ก็รู้ว่ายังขาดประสบการณ์และเพื่อน ๆ ก็เห็นด้วย
ต่างจึงแยกย้ายกันไปเรียนต่อ
เวลานั้น BR GROUP ของบุรินทร์ วงศ์สงวน
สถาปนิกผู้มีบทบาทสำคัญคนหนึ่ง
ในการดำเนินการหมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์
กำลังเป็นที่ฮือฮาในธุรกิจหนังสือ
นอกจากนิตยสาร BR แล้ว
นิตยสารโป๊อย่างมีศิลปะพอมีสาระ "MAN"
ก็กำลังจะเกิด สำหรับนิเทศศาสตร์บัณฑิตรุ่น 4 คนนี้
ความฝันยิ่งใหญ่ที่อยากทำที่สุดขณะนั้นมี 3 อย่าง
คือ งานโฆษณา การตลาด และทำหนังสือ ที่สหพัฒน์ฯ
และ FOUR AIDS ตอบสนอง 2 ประการแรกได้ 
มื่อบุรินทร์จะทำหนังสือ MAN เขาคว้าโอกาสนั้นทันที
ทั้ง ๆ ที่ขณะนั้นมีคนทักท้วงมากมาย แต่ไพบูลย์ก็ทำ
เขาเพียรพยายามแจกแจงความคิดยืนยันว่าไม่ได้
ทำสิ่งเลวร้ายแต่ทำในสิ่งสวยงาม
โดยสื่อเรื่องที่มีสาระเข้าไปด้วย
กระทั่งสามารถรวบรวมนักเขียน ACTIVIST
หลายคนมาร่วมงาน
เช่น สุทัศน์ ศกุนรัตนเมธี (ทำ MAN จนวาระสุดท้าย)
ชัย ราชวัตร สิงห์ กิตติวัฒน์ วิสา คัญทัพ เป็นต้น
แม้เขาจะทำหน้าที่ประสานงาน
จัดการทั้งหมดทั้งปวงให้ MAN
กว่า 10 ฉบับ
แต่ตำแหน่งบรรณาธิการบริหารในหนังสือ
ที่ควรมีชื่อเขากลับไม่มี
ไพบูลย์เพียงให้เหตุผลสั้น ๆ ว่า
"ไม่อยากให้บาดใจฟาร์อีสฯ

ช่วงแรกในวัยหนุ่มเขาเหน็ดเหนื่อยเพื่อ
แลกด้วยความรู้ใหม่ ประสบการณ์
และสายสัมพันธ์กับคนในวงการต่าง ๆ
เพื่อจุดมุ่งหมาย "อยากรวย" แต่เขาก็ยังไม่รวยสักที
ไพบูลย์อยู่ฟาร์อีสฯ ได้ 7 ปี ทำงาน SIDELINE
ควบคู่ไปด้วยหลายอย่าง
สัญชาตญาณเถ้าแก่ในกายเขาซ่อนเร้นต่อไปไม่ได้
ทั้งที่ตัวเขาเองไม่มีปัญหาอะไรที่สหพัฒนฯ
ยังไม่มีโครงการที่แน่นอนในอนาคต ไม่มีเงินทุน
แต่เขาต้องการทำกิจการของตนเอง
สำหรับคนหนุ่มวัย 29 มันร้อนรนนัก
ไพบูลย์ลาออกจากฟาร์อีสฯ พร้อมลูกน้อง 4 คน
พันเลิศ ใบหยก (เจ้าของใบหยกทาวเวอร์)
บุษบา ดาวเรือง (กรรมการบริหารแกรมมี่ฯ)
กิตติศักดิ์ ช่วงอรุณ (กรรมการบริหารแกรมมี่ฯ)
มาเปิด AGENCY เล็ก ๆ
รับงานโฆษณาทุกอย่าง ทำได้ประมาณ 3 เดือน
ไพบูลย์เริ่มคิดไกลไปข้างหน้าว่าจะไปได้สักกี่น้ำ
เพราะตนเองไม่มีฐานทั้งเงินทุนเครดิต
และประสบการณ์ก็ยังมีไม่มากนัก
แล้วไพบูลย์ก็โชคดีอีกเมื่อ มล.ชายนิมิตรเพื่อนเก่า
ซึ่งเข้าไปทำโครงการสินค้าแปลก ๆ เช่น
ถังส้วมไม่มีวันเต็ม
ให้พรีเมียร์โปรดักส์ ซึ่งอยู่ในเครือของ
GENERAL FINANCE (GF) ของสุวิทย์ โอสถานุเคราะห์
ซึ่งคุ้นเคยกันตั้งแต่เมื่อครั้ง FOUR AIDS
รับงานทำโฆษณาให้หมู่บ้านเสรี
"เขาชวนผมว่าคุณสุวิทย์อยากสนับสนุนคนหนุ่ม ๆ
ให้เปิดกิจการใหม่ ๆ โดยจะช่วยเหลือด้านเงินทุน
ส่วนกิจการนั้นให้ดูแลเองทุกอย่าง" ไพบูลย์บอก "ผู้จัดการ"
ว่าตอนนั้นเขาก็หวั่น ๆ
ในกิจการที่ทำอยู่ทั้งไม่อยากเป็นลูกจ้างใคร
สุวิทย์ยื่นโอกาสทองให้เขาโดยแท้
ไพบูลย์เขียนโครงการทางด้านโฆษณาการตลาด
และสำนักพิมพ์เสนอไป
"ผมเสนอไปแล้วทางคุณสุวิทย์โอเคผมก็จัดการเองหมดตั้ง
เงินเดือน หาคนทำเหมือนเป็นของผมเอง
แต่คุณสุวิทย์จ่ายเงินผมก็พาลูกน้องเก่ามาด้วยกัน
ขนโต๊ะเก้าอี้จากสำนักงานซอย 39 มาที่ตึก GF"
ต่อถึงกำเนิดพรีเมียร์ มาร์เก็ตติ้ง
เมื่อปี 2520 เมื่อเริ่มพรีเมียร์มาร์เก็ตติ้ง
งานโฆษณาของไพบูลย์เป็นไปด้วยดี
เพราะลูกค้าเก่าของเขายังมีอยู่
แต่งานทางด้นการตลาดเขายังมีอยู่
แต่งานทางด้านการตลาดพรีเมียร์มาร์เก็ตติ้งยังไม่รู้เหนือรู้ใต้
ไม่มีสินค้าจัดจำหน่าย และทางพรีเมียร์ฯ
ก็ไม่มีนโยบายลงทุนผลิตสินค้าเองด้วย
ไพบูลย์ไม่รู้จะเริ่มอย่างไร จะหาพนักงานขายก่อน
หรือจะหาสินค้าก่อน พรีเมียร์ มาร์เก็ตติ้ง ไม่มีเครดิต
ไม่มีชื่อเสียง
ไม่มีสินค้าที่มีชื่อตัวใดอยากให้พรีเมียร์ฯจัดจำหน่าย
ในขณะที่งานการตลาดมีปัญหา
ไพบูลย์ดึง วัฒนะ นิมมานวรดิษฐ์
นักการตลาดมือดี
ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทสหพลัง
บริษัทในเครือสหพัฒนฯ เข้ามาช่วย
แล้วจ้างพนักงานขายเข้ามา
ในขณะยังหาสินค้าไม่ได้ไพบูลย์
เอาขนมปังปี๊บมาใส่กล่องและใส่การ์ตูนเป็นของ
แถมตั้งชื่อเก๋ ๆ
"ดั๊ฟฟี่ โจ๊กเกอร์"
แล้วอัดโฆษณาออกขาย
พอมีกิจกรรมการตลาดทำบ้าง
ทั้ง ๆ ที่ขณะนั้นนักการตลาด
หลายคนเตือนไพบูลย์เสมอว่าการทำสินค้าโปรโมชั่นนั้น
เป็นการเสี่ยง
แต่ไพบูลย์ไม่มีทางเลือกเขาพาให้พรีเมียร์ฯ
ขาดทุนไปเรื่อย ๆ
อีกด้านหนึ่งสำนักพิมพ์ พรีเมียร์ พับบลิชชิ่ง
ไพบูลย์ได้สุจิตต์ วงษ์เทศ มาช่วยออก
"เศรษฐกิจการเมือง รายสัปดาห์"
ออกนิตยสาร "เพื่อนเดินทาง"
และพ็อกเก็ต บุ๊ค

"สำนักพิมพ์ทำให้นานทุนเดือดร้อนเสียค่าใช้จ่ายมาก
สุดท้ายต้องยอมเล็กลงเหลือเพื่อนเดินทางเพียงฉบับเดียว"
ไพบูลย์ ยอมรับว่าทำหนังสือไม่ได้ดี

ขณะเดียวกันทางด้านการตลาดก็เป็นปัญหาหนักอก
ขณะนั้นเป็นกรรมการผู้จัดการพรีเมียร์ มาร์เก็ตติ้ง ได้ 4 ปี
ไพบูลย์รู้สึกไร้ความสามารถและท้อถอย
จนกระทั่งวันหนึ่งเขาติดต่อจนได้น้ำส้มสายชูของ อสร.
มาจัดจำหน่าย ด้วยความมั่นใจในคุณภาพสินค้า
ทำให้เขาต้องเคลื่อนไหว เพราะกำลังการผลิตของ อสร.
ไม่มากพอที่จะเป็นสินค้า MASS PRODUCTION
ที่จะลงทุนโฆษณาและการตลาดไพบูลย์ต้องหาทางเพิ่มการผลิต
แม้ทางพรีเมียร์ มาร์เก็ตติ้ง
จะไม่มีนโยบายลงทุนผลิตสินค้าเอง
แต่ไพบูลย์ขอให้ทาง GF ให้เป็นรูปเงินกู้แก่ทาง อสร.
เพื่อซื้อเครื่องจักรมาเพิ่มการผลิตแทน และทุกอย่างก็ได้ผล
ว่ากันว่าเงินกู้ 3 ล้านบาทงวดนั้น ทำให้ อสร.
ผลิตน้ำส้มออกมามากมายจนไม่มีโกดังเก็บ
ไพบูลย์ต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นค่าเช่าโกดังเก็บน้ำส้มเพิ่มขึ้นอีก
แต่ด้วยสินค้าที่มีคุณภาพ โฆษณาที่ดี
ไพบูลย์มีเพื่อนเป็นคอลัมนิสต์มากมาย
ต่างช่วยกันประโคมข่าวพิษ ร้ายของน้ำส้มที่ใช้กรมน้ำส้ม อสร.
จึงได้ประโยชน์เต็มที่
น้ำส้มขายดีอย่างที่ไพบูลย์เองก็ไม่คาดคิดมาก่อน
ร้านค้าต้องมาเข้าคิดวรอ ซื้อน้ำส้มที่บริษัทกันคิวยาวเหยียด
ครั้งนั้น ไพบูลย์พอรู้สึกได้บ้างว่าตนเอง
มีความสามารถทางการตลาดอยู่เหมือนกัน
เขายืนยันว่าการทำการตลาดน้ำส้มสายชู อสร. สำเร็จ
เป็นกำลังใจครั้งสำคัญให้เขาสู้กับอุปสรรคครั้งต่อๆไป
ไม่ท้อถอย และได้บทเรียนว่า
การลงทุนผลิตสินค้าเป็นปัจจัย
ที่จะโยงไปสู่ความสำเร็จทาง การตลาด
เมื่อทำน้ำส้มสายชูสำเร็จ
เขาติดต่อหาสินค้าอื่นเข้ามาจำหน่ายอีก
คราวนี้เขาไปไต้หวันชักชวนให้ผู้ผลิตปลาเส้น "ทาโร่"
เข้ามาร่วมทุนตั้งโรงงานในเมืองไทย
งานนี้เขาโชคดี 2 ชั้น นอกจากติดต่อปลาเส้นทาโร่
เข้ามาลงทุนผลิตขายในเมืองไทยได้แล้ว
เขายังได้พบกับ "ลี เม" และแต่งงานกับเธอในที่สุด
เพราะเธอสนิทสนมกับครอบครัวเจ้าของปลาเส้นทาโร่
ที่เขาไปติดต่อ
แล้วจุดปรับเปลี่ยนครั้งสำคัญในชีวิตไพบูลย์ก็มาถึง
แม้ที่พรีเมียร์มาร์เก็ตติ้งเขาจะไม่ประสบความสำเร็จสูงสุด
ทั้งยังทิ้งรอยขาดทุนไว้ให้ด้วย
เขาต้องเป็นผู้ประกอบการเต็มตัว
จากวันแรกที่เข้าไปก่อตั้งพรีเมียร์มาร์เก็ตติ้ง
ไพบูลย์จัดให้มีงานโฆษณา การตลาดและสำนักพิมพ์
จะว่าไปอาณาจักรนี้ก็ยิ่งใหญ่ไม่น้อย
แต่ในวันที่จากมาดูเหมือนจะมีกิจการหลัก
เพียงการจัดจำหน่ายเท่านั้น
(ขณะนี้เป็นบริษัทจัดจำหน่ายสินค้าให้เครือโอสถสภาฯ)
ไพบูลย์คิดว่าถึงเวลาแล้วที่ต้องทำธุรกิจที่ตัวเองชอบ
ได้ใช้ทั้งการโฆษณา เขาว่า "เพลง"
และ "รายการโทรทัศน์"
เหมาะสมที่สุด ขณะนั้นปี 2526
เทปเพลงเป็นธุรกิจหนึ่งซึ่งกำลังบูม
ชื่อ แกรนด์ เอ๊กซ์ รอยัล สไปรท ดอกไม้ป่า กำลังดัง
ไม่เว้นแม้แต่หนุ่มนาข้าวสาวนาเกลือ
ก็ติดปากร้องกันได้ทั้งเมือง

ไพบูลย์โชคดีอีกเมื่อได้พบศิลปินอย่าง
เรวัต พุทธินันทน์
ซึ่งรู้จักกับบุษบา ดาวเรือง
ไพบูลย์และเรวัต
ต่างเข้าใจแนวคิด
การทำธุรกิจบันเทิงเหมือนกัน
คือคุณภาพ
ศิลปะและการตลาดต้องไปด้วยกัน


แล้วทุกอย่างก็ลงตัวไพบูลย์ให้กำเนิดแกรมมี่
ด้วยทุนจดทะเบียน 5 แสนบาท ในปี 2526
หอบหิ้วลูกน้องเก่า ทั้งบุษบา ดาวเรือง
(กรรมการบริหารคุมทางด้านรายการโทรทัศน์)
และกิตติศักดิ์ ช่วงอรุณ
(กรรมการบริหารคุมทางด้านเทปเพลง)
และคนอื่น ๆ อีกประมาณ 10 คน
ขนข้าวของขึ้นไปอยู่บนชั้น 9 อาคารอาคารวานิช
เมื่อแรกทำรายการโทรทัศน์และ
รับจ้างโปรโมชั่นเทปเพลงเป็นหลัก
ที่แกรมมี่ฯ ไพบูลย์พิสูจน์ความสามารถของเขาเต็มที่
เขาไม่ใช่เส้นสาย เขาใช้ความสามารถ
เขามีความรู้พื้นฐานทางด้านสื่อสารมวลชนที่ดี
เขาเรียนรู้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจบันเทิง
และนำมาปรับใช้ได้อย่างวิเศษ
ไม่ว่าจะเป็นโฆษณาการตลาด
หรือความเป็นศิลปินจากการทำหนังสือ
รวมทั้งในงานบริหารและจัดการ เวลาทางโทรทัศน์แรกมมี่ฯ
ได้มาด้วยการทำ PRESENTATION
รายการไปเสนอทางสถานีอย่างละเอียด
เหมือนกับทำ PRESENTATION
โฆษณาเสนอลูกค้าไม่ว่าจะเป็นรายการยิ้มใส่ไข่ (ช่อง 9)
มันกว่าแห้ว (ช่อง 5) เสียงติดดาว (ช่อง 7)
"ช่วงแรกนอกจากรายการจะเชยแล้วยงขาดทุนย่อยยับอีกด้วย
ดีที่ได้โปรโมทเทปเพลงแต่ละค่ายได้เทปนั้น
โฆษณาในรายการพอถูกไถไปได้"
ไพบูลย์ บอก "ผู้จัดการ"
ว่านอกจากนั้นเขายังโชคดีที่เจ้านายเก่า
ทั้งที่สหพัฒนฯ และพรีเมียร์ มาร์เก็ตติ้ง
สนับสนุนสปอนเซอร์ให้ สำหรับเทปเพลงในช่วงแรก ๆ
แกรมมี่ฯ
รับทำโปรโมชั่นเป็นส่วนใหญ่ ไม่วาจะเป็นอาร์เอสซาวด์
รถไฟดนตรี ฯลฯ และก็มาถึงวันที่เริ่มทำเองคือชุด
"นิยายรักจากก้อนเมฆ"
ของ พญ.พันทิวา รัชตานันท ชุดนี้เล่นเอาแกรมมี่ฯ
ซึมเอาเหมือนกัน จากนั้นจึงค่อย ๆ เกิดจากเต๋อ 1 หนูแหวน
บาราคูดัส คาราบาว นกแล ธงไชย แมคอินไตย์
นันทิดา คาราวาน อัสนี (ป้อม)
กรณีเทปเพลงของแกรมมี่ฯ เกือบทุกชุดประสบความสำเร็จ
นอกเหนือจากความสามารถของโปรดิวเซอร์
ซึ่งตัวหลักคือเรวัต พุทธินันทน์
แล้วยังเป็นการรวมกันอย่างได้สัดส่วน
ของการตลาดและโฆษณา
"องค์ประกอบหลักที่ทำให้เทปเพลง
ประสบความสำเร็จ ตัวเพลงต้องดี เนื้อหากินใจผู้ฟัง
สามารถเกิดความรู้สึกร่วมได้ จากนั้นจึงเป็นที่ตัวศิลปินและการโปรโมท"

ครั้งหนึ่งกิตติศักดิ์ ช่วงอรุณ คนรับผิดชอบเรื่องเทปแกรมมี่ฯ
กล่าวถึงพื้นฐานเทปเพลงที่แกรมมี่ฯ ต้องทำ
ด้านรายการโทรทัศน์แกรมมี่ฯ
พยายามปรับรายการให้เข้ากับความนิยมของวัยรุ่น
และรองรับการโปรโมทเทปเพลง เช่น คอนเสิร์ตลืมโลก
ถนนสายดนตรี ส่วนรายการบันเทิงแปลกใหม่ได้สาระคือ
ตามไปดูรายการที่ให้ผู้ชมเกิดความรู้สึกมีส่วนร่วมมาก ๆ
คือ แชมป์ชิงแชมป์ เหล่านี้ทำให้ RATING สูงขึ้น
แต่แกรมมี่ฯ ก็แลกมาด้วยการลงทุนสูงเช่นกัน
แกรมมี่เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ของไพบูลย์อาจจะไม่ใหญ่นัก
ไม่มีทรัพย์สินถาวร
หรืออุปกรณ์ที่ต้องลงทุน
ไม่มีการสืบทอดทางธุรกิจที่ยาวนานเหมือนกันตนา
หรือรัชฟิล์มที่ต้องลงทุนนอก จาก "คน" แกรมมี่ฯ เช่า
ทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นห้องอัดเสียง สตูดิโอทำรายการ
หรือธุรกิจที่เกี่ยวข้องเช่นโรงงานผลิตเทป บริษัทจัดจำหน่าย
ไพบูลย์เก่งที่สามารถจัดการให้ คนหนุ่มสาวกว่า 50
คนที่มีความคิด มีอารมณ์สร้างสรรค์ที่แปลกแยกกันออกไป
ใช้ความคิดสร้างสรรค์นั้น
ผลิตงานบันเทิงคุณภาพออกมาอย่างที่เห็น
"80% ของพนักงานเป็นพวกที่เกี่ยวข้องกับ
งาน CREATIVE
ทั้งในระดับบริหารและ PRODUCTION"
คนในแกรมมี่ฯบอก

ทุกวันนี้ ไพบูลย์ทำทั้งหน้าที่บริหารจัดการควบคู่ไปกับ
การเป็น CREATIVE
เขาจะเข้าร่วมประชุมกับพนักงานบริษัทเพื่อคิดงานใหม่
เขาสร้างบรรยากาศที่แกรมมี่ฯ ให้เหมือนครอบครัว
พนักงานไม่เรียกเขา "เฮีย" หรือ "ผู้จัดการ"
แต่เรียก "พี่บูลย์"
เขาให้โอกาสน้อง ๆ ทุกคนในการทำงาน
ไม่ว่าจะผิดพลาดอย่างไร
ทุกคนมีสิทธิ์ลองใหม่และเรียนรู้ต่อ ไปได้ไม่จบ
แม้ว่าแกรมมี่ฯ จะไม่มีทรัพย์สินถาวรมาก


แต่ไม่เกินสิ้นปีนี้สำนักงานใหม่ที่สุขุมวิท 39
อาคาร 5 ชั้น
ในเนื้อที่ 1 ไร่
มูลค่าไม่ต่ำกว่า 10 ล้าน
จะเป็นทรัพย์สินชิ้นแรก ๆ ของแกรมมี่ฯ
ประสบการณ์ธุรกิจทำให้ไพบูลย์
ฉลาดเขาไม่ลงทุนอะไรกับ
สิ่งถาวรหรือลงทุนโดยไม่ชำนาญ
เขาไม่ขยายธุรกิจออกไปในแนวนอน ไม่เป็นโรงงานผลิต
ไม่เป็นผู้จัดจำหน่าย
ไม่มีห้องอัดเสียง ไม่มีสตูดิโอ
เขาพัฒนาในแนวตั้งให้เติบโตในคุณภาพ
ทั้งเทปเพลงและรายการโทรทัศน์
"ทำให้มันหลากหลายแต่มีคุณภาพ" เขาเน้น
วันนี้คงกล่าวไม่ผิดหรอกว่าเขารวยแล้วอย่างที่เคยคิดฝัน
ด้วยวัย 39 ผมดำมีแซมผมสีดอกเลาเล็กน้อย
ร่างสูงใหญ่ของเขาประกอบไปด้วยเสื้อผ้าดีไซน์อย่างดี
รองเท้าหนังราคาแพง นาฬิกา PIAGET ล้อมเพชร
นั่งเบ๊นซ์ 230 อย่างสง่า กินอาหารดี ๆ
ได้รับแต่สิ่งบริการดี ๆ และใช้ชีวิตสุขสบายสมฐานะ
ไพบูลย์บอกว่าเขามีความสุขตลอดเวลาที่แกรมมี่ฯ
ตั้งแต่วันแรกเขารู้สึกเป็นอิสระไม่มีใครยืนอยู่เหนืออีกต่อไป
อยากจะทำอะไรกับกิจการของเขาก็ได้
เขารู้สึกมีความสุขที่ได้เห็นเด็กทำงานอย่างสนุกสนาน
ได้บอกในสิ่งที่เขารู้ ให้น้อง ๆ ได้ทำ ให้โอกาสน้อง ๆ
เหมือนที่มีคนอื่น ๆ เคยให้เขา
ครั้งหนึ่ง ลี เม ภรรยาของเขาเคยบอกเขาว่า
รายการบันเทิงที่นี่แย่สู้ที่ไต้หวันไม่ได้
เมื่อถึงวันนี้ คนทั่วไปรวมทั้ง ลี เม
ยอมรับว่าไม่ด้อยไปกว่าเลย
โดยเฉพาะในวงการเพลงและรายการโทรทัศน์
ซึ่งแกรมมี่ฯ มีส่วนอยู่ไม่น้อยในการเป็นตัวเร่งตัวหนึ่ง
ที่ทำให้เกิดการแข่งขันและ
การพัฒนาไปสู่ความบันเทิงที่มีคุณภาพมากขึ้น
และนั่นดูเหมือนจะเป็นสิ่งที่ไพบูลย์มีความสุขใจที่สุด