เกิดวันพฤหัสบดีที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ.๒๔๕๔
บนเรือที่ลอยลำกลางน้ำเจ้าพระยา จังหวัดสิงห์บุรี
เป็นโอรสคนสุดท้องของ
พลโทพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าคำรบ
กับหม่อมแดง (บุนนาค) ปราโมช ณ อยุธยา
มีพี่ร่วมบิดามารดา คือ
ม.ร.ว.หญิงบุญรับ พินิจชนคดี
ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช
ม.ร.ว. หญิงอุไรวรรณ ปราโมช และ
ม.ร.ว.ถ้วนเท่านึก ปราโมช
สมรสกับ ม.ร.ว.หญิงพักตร์พริ้ง ทองใหญ่ พ.ศ.๒๔๗๙
มีบุตรธิดา ๒ คน คือ
ม.ล.รองฤทธิ์ ปราโมช และ
ม.ล.หญิงวิสุมตรา ปราโมช
การศึกษา
เริ่มต้นเรียนเขียนอ่านที่บ้าน มี ม.ร.ว.หญิงบุญรับ
พี่สาวเป็นผู้สอนจนอ่านหนังสือไทยออกเมื่อ ๔ ขวบ
จึงไปเข้าโรงเรียนวัฒนาวังหลัง
และศึกษาต่อชั้นมัธยมศึกษาที่สวนกุหลาบวิทยาลัย
ก่อนจบขั้นมัธยมปีที่ ๘ ไปเรียนต่อ ณ ประเทศอังกฤษ
โดยศึกษาชั้นมัธยมที่อ๊อกซ์ฟอร์ด
สำเร็จปริญญาตรีเกียรตินิยม
สาขาปรัชญาการเมืองและเศรษฐศาสตร์
กลับคืนสู่สยามเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๖
ธรรมเนียมผู้สำเร็จปริญญาตรีเกียรตินิยมของอ๊อกซ์ฟอร์ด
เมื่อสำเร็จไปแล้ว ๓ ปี จะได้รับปริญญาโทด้วย
แต่ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ได้รับปริญญาโท เมื่อ พ.ศ.๒๕๒๕
ขณะไปเยี่ยมหลานที่อังกฤษ
สำหรับการศึกษา อบรมตามธรรมเนียมลูกผู้ชายไทย
คือ การบวชเรียนได้อุปสมบทถวาย
เป็นพระราชกุศลแด่รัชกาลที่ ๘
เมื่อเดือนเมษายน ๒๔๙๓ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร
สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์
เป็นพระอุปัชฌาย์ ลาสิกขา
ภายหลังงานถวายพระเพลิงรัชกาลที่ ๘
รวมเวลาอุปสมบท ๕๐ วัน
การทำงาน
ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ เคยรับราชการครั้งแรก
กองภาษีประเมิน กรมสรรพากร
แล้วลาออกไปเป็นผู้ช่วยสมุหบัญชี
สำนักงานกลางของธนาคารสยามกัมมาจล
จากนั้นจึงไปเป็น
ผู้จัดการธนาคารสาขาลำปาง เป็นเวลา ๘ ปี
จนเมื่อ พ.ศ.๒๔๘๖
ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
ขอตัว ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ มาดำรงตำแหน่ง
หัวหน้าฝ่ายสำนักผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
แล้วลาออกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๙
มีบทบาทก่อตั้งธนาคารพาณิชย์สองแห่งคือ
ธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชยการ
หุ้นส่วนใหญ่เป็นของ ม.ร.ว.บุญรับ พี่สาว
กับร่วมก่อตั้งธนาคารแหลมทองของ กลุ่มนันทาภิวัฒน์
การรับราชการทหาร
ขณะทำธนาคารที่ลำปาง
ถูกเกณฑ์ทหารสองครั้งในสงครามอินโดจีน
และสงครามมหาเอเชียบูรพา
รับพระราชทานยศสิบตรี
ต่อมาเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๑
รับพระราชทานเลื่อนยศเป็น
พลตรี นายทหารพิเศษ
ประจำกรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์
ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ เคยรับราชการครั้งแรก
กองภาษีประเมิน กรมสรรพากร
แล้วลาออกไปเป็นผู้ช่วยสมุหบัญชี
สำนักงานกลางของธนาคารสยามกัมมาจล
จากนั้นจึงไปเป็น
ผู้จัดการธนาคารสาขาลำปาง เป็นเวลา ๘ ปี
จนเมื่อ พ.ศ.๒๔๘๖
ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
ขอตัว ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ มาดำรงตำแหน่ง
หัวหน้าฝ่ายสำนักผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
แล้วลาออกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๙
มีบทบาทก่อตั้งธนาคารพาณิชย์สองแห่งคือ
ธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชยการ
หุ้นส่วนใหญ่เป็นของ ม.ร.ว.บุญรับ พี่สาว
กับร่วมก่อตั้งธนาคารแหลมทองของ กลุ่มนันทาภิวัฒน์
การรับราชการทหาร
ขณะทำธนาคารที่ลำปาง
ถูกเกณฑ์ทหารสองครั้งในสงครามอินโดจีน
และสงครามมหาเอเชียบูรพา
รับพระราชทานยศสิบตรี
ต่อมาเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๑
รับพระราชทานเลื่อนยศเป็น
พลตรี นายทหารพิเศษ
ประจำกรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์
งานการเมือง
เป็นผู้เริ่มก่อตั้งพรรคการเมืองพรรคแรกของไทย คือ
พรรคก้าวหน้า เมื่อ พ.ศ.๒๔๘๘ สมัคร สส.
และรับเลือกตั้งเป็น สส. ในการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ.๒๔๘๙
ภายหลังริเริ่มก่อตั้งพรรคประชาธิปัตย์
โดยยุบพรรคก้าวหน้าเข้ารวมกันเป็นพรรคใหญ่
เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๐ นายควง อภัยวงศ์
เป็นหัวหน้าพรรคคนแรก
และม.ร.ว.คึกฤทธิ์ เป็นเลขาธิการพรรคคนแรก
และตั้งพรรคกิจสังคมเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๗
เป็นหัวหน้าพรรค ตำแหน่งทางการเมืองที่สำคัญคือ
ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ๒๕๑๖ - ๒๕๑๗
และเป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๘
ยุติชีวิตทางการเมือง
เมื่อลาออกจาก
หัวหน้าพรรคกิจสังคมเป็นการถาวร เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๔
งานวรรณกรรมและหนังสือพิมพ์
เริ่มเขียนหนังสือเผยแพร่ตั้งแต่
ยังเรียนที่อังกฤษเป็นบรรณาธิการ "สามัคคีสาร"
วารสารของสามัคคีสมาคมนักเรียนไทยในอังกฤษ
ภายหลังคืนสู่ไทยเริ่มเขียนบทความภาษาอังกฤษ
ลงพิมพ์ใน น.ส.พ. ลิเบอร์ตี้ของค่ายศรีกรุง
และแปลเป็นภาษาไทยสำหรับลงหนังสือพิมพ์ ศรีกรุง
ต่อมาเขียนบทความภาษาไทยลงที่หนังสือพิมพ์เกียรติศักดิ์
เริ่มชีวิตนักหนังสือพิมพ์จริงจัง
เมื่อก่อตั้งหนังสือพิมพ์สยามรัฐ
เมื่อวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๔๙๓
โดยเป็นเจ้าของผู้อำนวยการ
และนักเขียนประจำ มี นายสละ ลิขิตกุล
เป็นบรรณาธิการคนแรก
งานเขียนของม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ในเวทีสยามรัฐ
มีทั้งบทบรรณธิการ บทความ กวีเรื่องสั้น และนวนิยายสามารถเขียนติดต่อกันยาวนาน
เป็นที่นิยมและทรงพลังในระดับที่แน่นอน
ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช
เริ่มสร้างผลงานเขียนด้านเริงรมย์ครั้งแรก
ด้วยเรื่องสั้นชื่อ "จนกว่าเพลิงจะมอด"
พิมพ์ในปิยมิตรรายสัปดาห์ ฉบับที่ ๘๙
วันอาทิตย์ที่ ๒๐ มีนาคม ๒๔๙๒ ปีเดียวกัน
เขียนนวนิยายเบ้งเฮ็ก,
สามก๊ก ฉบับนายทุน ตอนโจโฉ นายกฯ ตลอดกาล,
พ.ศ.๒๔๙๓ เขียนเรื่อง ฮวนนั้ง,
๒๔๙๔ เขียนสี่แผ่นดิน,
๒๔๙๖ เขียน หลายชีวิต,
๒๔๙๗ เขียน ไผ่แดง,
๒๕๐๐ เขียน ฝรั่งศักดินา,
๒๔๑๔ เขียนเรื่อง โครงกระดูกในตู้,
๒๕๓๐ เขียนเรื่อง กาเหว่าที่บางเพลงและ
๒๕๓๒ เขียนเรื่อง ขุนช้างขุนแผนฉบับอ่านใหม่
ทั้งนี้ไม่นับรวมผลงานเขียนสารคดีหรือบทความที่รวมเล่ม เช่น
ฉากญี่ปุ่น, เซ็น หรือ ธรรมะแห่งอาริยะ เป็นต้น
เช่นเดียวกับวรรณกรรมที่เป็นรวมเรื่องสั้น,
บทละครโทรทัศน์และอื่นๆ
งานเขียนของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์
ไม่ว่าจะเป็นประเภทใดก็มีความน่าอ่าน
ด้วยลีลาภาษาสละสลวย มีอารมณ์ขัน
ชวนคิดและสามารถทำเรื่องยากให้เข้าใจได้ง่าย
ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ มีลักษณะของ
ครูผู้มีเมตตาต่อศิษย์และเป็นศิลปินใหญ่
ได้รับการประกาศเกียรติคุณว่า
เป็นศิลปินแห่งชาติ
มีบทบาทสำคัญในการก่อตั้งคณะศิลปศาสตร์
ก่อตั้งสถาบันไทยคดีศึกษาธรรมศาสตร์
ริเริ่มและอำนวยการสร้างโขนธรรมศาสตร์ เล่นโขน,
ละครได้อย่างเข้าถึงบท รวมทั้งเคยแสดงทีวี
ทั้งไทยและบีบีซี. อังกฤษ
ทั้งอยู่ระดับดาราสำคัญในการแสดงภาพยนตร์ฮอลิวู้ดกับ
พระเอก มาลอน แบรนโด
ความสำคัญของศิลปะการแสดงของไทย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงพระกรุณาฯ ครอบครูพระพิราพ
นับว่าสำคัญยิ่งใหญ่ของครูโขนละครไทย
การยกย่อง ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช
จากประชาคมทางวิชาการ
มหาวิทยาลัยมีชื่อของไทยหลายแห่ง
โดยสภามหาวิทยาลัยมีมติ
ให้มอบปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ อาทิ
วารสารศาสตร์ ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ศาสตราจารย์ พลตรี ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช
ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ ๙ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๓๘
สิริรวมอายุ ๘๔ ปี ๕ เดือน ๒๐ วัน