เหนือสิ่งอื่นใด
- เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี 9 มิถุนายน 2559
- พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) ณ วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๙
- The 60th Anniversary Celebrations of his Majesty King Bhumibol Adulyadej's Accession to the Throne
- 63 ปี "พระเจ้าอยู่หัว ร.๙" ผู้นำที่ไม่เหมือนใครในโลก นำพาประเทศ "อยู่ดีมีสุข"
- Supreme Artist
- เศรษฐกิจพอเพียง : Sufficiency Economy พ.ศ. ๒๕๖๓
- ทศพิธราชธรรม ๑
- ทศพิธราชธรรม ๒
- ๑๐๐ ปี สวรรคตกาลสมเด็จพระปิยมหาราช
- ร.๙ ทรงห่วงเหตุการณ์ประเทศเพื่อนบ้าน
- พระบรมราโชวาท ร.๙
- "พูดแล้วต้องทํา" พระบรมราโชวาท "ในหลวง ร.๙" ทรงเตือน-ครม.
- ร. ๙ ทรงพระราชทานแก่พลเอกสุจินดา คราประยูร และพลตรีจำลอง ศรีเมือง
- ร.๙ ทรงรับสั่งรมต.ถวายสัตย์ฯ
- ร.๙ ทรงมีพระบรมราโชวาทแก่ตุลาการทหาร
- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.9 ทรงป้องกันน้ำท่วม ปีพุทธศักราช ๒๕๓๘
- “ในหลวง ร.๙” ทรงฝากองคมนตรีปลูกฝังคนไทยเอื้อเฟื้อ นึกถึงส่วนรวม
- “ในหลวง ร.๙” เสด็จฯ ทอดพระเนตรดนตรีที่ศิริราช
- "ในหลวง ร.๙" เสด็จเปิดประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์-สะพานภูมิพล 1,2
- ในหลวง ร. ๙ เสด็จฯทอดพระเนตรคอนเสิร์ตแจ๊ส
- ๕ ธันวาคม ๒๕๕๒
- น้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณ"ในหลวง ร.๙"กับ"ภูมิสารสนเทศ"
- ในหลวง ร.๙ ทรงพระราชทาน ส.ค.ส.2554 แก่พสกนิกรชาวไทย
- 'ในหลวง ร.๙' ทรงมีพระราชดำรัสให้คนไทย ทำหน้าที่ ไม่ประมาท มีสติ : ๕ ธันวาคม ๒๕๕๓
- วันฉัตรมงคล (ร.๙)
- ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๙
- พระราชดำรัสสุดท้าย ในหลวง รัชกาลที่ 9
- ๑๒ สิงหา วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
- "สมเด็จย่า"
- เจ้านายเล็กๆ ยุวกษัตริย์
- อาลัยพระพี่นางฯ
- ในหลวงรัชกาลที่ ๙ โปรดให้นายโคฟี อันนัน เฝ้าถวายรางวัลฯ (๒๕ พ.ค.๔๙)
- "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร" มีพระราชดำรัสเกี่ยวกับการวิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์
- พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล
- ศิลปาชีพ : ประจักษ์พยานของความรัก ผูกพัน และห่วงใย
- เพลงสรรเสริญพระบารมี
- ชีวิตที่หมุนไปไม่หยุดยั้ง...พระอารมณ์ขันของพระเทพฯ
- ถ้าเดินเรื่อยไปย่อมถึงปลายทาง นิทรรศการภาพถ่ายฝีพระหัตถ์สมเด็จพระเทพรัตนฯ
- สมเด็จพระเทพฯ กับการส่งเสริมไอที เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
- สมเด็จพระเทพฯ สนพระทัยเมล็ดพันธุ์ช่วยหล่อเลี้ยงประชากร
- เครือข่ายกาญจนาภิเษก
- สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- ทรงพระเจริญ
- ของขวัญจากก้อนดิน
- ต้นไม้ของพ่อ
- รูปที่มีทุกบ้าน
- นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ
- ติโต
- ไม่มีวันไหนที่ไม่คิดถึงในหลวงรัชกาลที่ ๙
- พระราชนิพนธ์ พระมหาชนก ที่ทุกคนพึงอ่าน
- โครงการแก้มลิง
- ทำไมเรารัก "พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร"
Custom Search
Aug 19, 2009
"วันสันติภาพไทย"วันที่แสนอาภัพ
วรากรณ์ สามโกเศศ
มติชน
วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2552
16 สิงหาคม เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของชาติไทย
โดยมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า "วันสันติภาพไทย"
วันนั้นเป็นสัญลักษณ์ของความพร้อมใจของคนไทย
ในการรวมกำลังกันต่อสู้ผู้ รุกรานอย่างประสบความสำเร็จ
ถึงจะสำคัญอย่างไรในประวัติศาสตร์ แต่ก็มีผู้รู้จักวันนี้น้อยมาก
แม้แต่ภาครัฐก็แทบไม่ให้ความสำคัญเลย
16 สิงหาคม 2552 เป็นวันครบ 64 ปีของเหตุการณ์สำคัญนั้น
นั่นก็คือการประกาศสันติภาพตามประกาศประธานสภาผู้ แทนราษฎร
นายปรีดี พนมยงค์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
ในวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ.2488
วันนั้นมีความเป็นมาอย่างไรและสำคัญอย่างไร
ผมขอนำข้อเขียนของคุณอุทัย สุจริตกุล หนึ่งในเสรีไทย
ซึ่งตีพิมพ์ในหนังสือที่ระลึก "64 ปี วันสันติภาพไทย" มาสื่อสารต่อดังนี้
".....ประเทศไทยโดยรัฐบาลขณะนั้นได้ประกาศสงคราม กับสหราชอาณาจักร
และสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2485
รวมทั้งประกาศเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่นร่วมทำสงครามเอเชียบูรพา
สหราชอาณาจักรได้ประกาศตอบทำสงครามกับไทย
แต่สหรัฐมิได้ประกาศตอบ ต่อมาเมื่อญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้ฝ่ายสัมพันธมิตร
ประเทศไทยได้ประกาศสันติภาพทันที
ที่ญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้และสัมพันธมิตรโดยมี
สหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา
ประกาศยอมรับการประกาศสันติภาพของประเทศไทย
เรื่อง นี้ ได้มีข้อสงสัยและคำถามจากบุคคลหลายกลุ่ม
หลายคณะ ว่าอะไรเป็นเหตุให้สัมพันธมิตรยอมรับ
การประกาศสันติภาพและไม่ถือว่าไทยเป็น ผู้แพ้สงคราม
เบื้องหลังของเรื่องนี้จะต้องมีกลไก กิจกรรม ที่สำคัญๆ มากมาย
มีผลเป็นที่พอใจและเชื่อถือต่อสัมพันธมิตรตลอดเวลาสงคราม
สิ่งเหล่านี้คืออะไร? .....ในการประกาศสันติภาพนั้น
ดร.ปรีดี พนมยงค์ หัวหน้าขบวนการเสรีไทยประกาศว่า
การประกาศสงครามของประเทศไทยต่อ
สหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกานั้นเป็นโมฆะ
เพราะขัดกับเจตนารมณ์ของคนไทยทั้งประเทศ
.......ขบวนการเสรีไทยซึ่ง ประกอบด้วยคนไทยและต่างชาติ
ทั้งภายในและภายนอกประเทศ เช่น สหราชอาณาจักร
และสหรัฐอเมริกา ได้ร่วมมือและประสานงานกันอย่างใกล้ชิด
โดยมีอุดมคติและจุดประสงค์เดียวกันคือร่วมมือกับฝ่ายสัมพันธมิตร
ต่อต้านและขับไล่กองทัพญี่ปุ่นออกจากประเทศไทย
เพื่อให้สงครามยุติโดยเร็วที่สุด"
ขบวนการเสรีไทยมีพลพรรคใต้ดินหลาย หมื่นคน
อันประกอบด้วยข้าราชการ นักเรียนไทยในอังกฤษ
และสหรัฐอเมริกา รวมทั้งประชาชน
นักศึกษามหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นักเรียนเตรียมนายเรือ
กลุ่ม "นักเรียนนายสิบสารวัตรทหาร"
ซึ่งมาจากนักเรียนเตรียมอุดมจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
และนักเรียนเตรียมปริญญา
ของมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ฯลฯ
ภาย ใต้การนำอย่างลับๆ ของนายปรีดี พนมยงค์
ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ แอบฝึกอาวุธกัน
โดยใช้อาวุธที่ลักลอบนำเข้าจากฝ่ายสัมพันธมิตร
และฝึกสอนโดยกลุ่มเสรีไทยจาก
ต่างประเทศบางส่วนและทหารฝ่ายสัมพันธมิตร
จุดประสงค์ของขบวนการเสรี ไทยก็คือการต่อต้านผู้รุกราน
โดยแสดงเขี้ยวเล็บไม่ให้เห็นว่าเป็นคนขี้ขลาดเพื่อไม่ให้เสียประโยชน์มาก
เกินไปจากการที่รัฐบาลไทยยอมให้ญี่ปุ่นเคลื่อนทัพผ่านไทยและไทย
เข้าร่วมเป็น มิตรกับญี่ปุ่นเพื่อรบกับพันธมิตร
ด้วยการเห็นการณ์ไกลของนายปรีดี พนมยงค์
จึงต้องการให้ความร่วมมือและให้ความช่วยเหลือ
ฝ่ายสัมพันธมิตรในการทำสงคราม กับญี่ปุ่น
เพื่อให้ประจักษ์ว่าโดยใจจริงแล้วคนไทยส่วนหนึ่งอยู่ข้างสัมพันธมิตร
ทั้งนี้เพื่อว่าเมื่อญี่ปุ่นแพ้สงคราม
ไทยจักได้ไม่กลายเป็นผู้แพ้สงครามไปด้วย
การเป็นผู้แพ้สงครามนั้น หมายถึงการสูญเสียเอกราช
การอาจถูกยึดครองโดยกองกำลังต่างชาติ
ทรัพย์สมบัติของชาติอาจถูกปล้นหรือยึด
คนของชาติอาจถูกข่มเหงรังแก ฆ่าข่มขืน
ดินแดนอาจถูกแบ่งแยกหรือถูกยึดครองเป็นส่วนๆ
อีกทั้งต้องใช้หนี้สงครามเป็นเงินทอง ทรัพยากร สินแร่
พื้นที่แผ่นดิน ตลอดจนถูกเอาเปรียบสารพัดรูปแบบได้
ดังที่เราได้เห็นกันในประวัติศาสตร์
เมื่อ ญี่ปุ่นถูกบอมบ์ด้วยระเบิดปรมาณู
โอกาสทองของขบวนการเสรีไทยที่เสี่ยงตายเพื่อชาติก็มาถึง
คุณอุทัย สุจริตกุล เขียนต่อว่า
".......ก่อนการประกาศยอมแพ้ของญี่ปุ่น
ทางกองบัญชาการทหารสูงสุดของ พล.ร.อ.เมาท์แบตเตน
ได้ให้คำแนะนำให้ ดร.ปรีดีฯ ประกาศโดยด่วน
ยกเลิกการประกาศสงครามตลอดจนสัญญาและข้อตกลงต่างๆ
ที่รัฐบาลไทยทำไว้กับญี่ปุ่น
โดยกระทรวงการต่างประเทศอังกฤษให้แจ้งว่า
หาก ดร.ปรีดีฯ ดำเนินการตามข้อแนะนำ
อังกฤษก็พร้อมที่จะไม่บังคับให้ไทยยอมจำนน
เยี่ยงผู้แพ้สงคราม เพราะขบวนการเสรีไทยได้
ให้ความสนับสนุนภารกิจสงคราม
แก่ฝ่ายสัมพันธมิตรเป็นอย่างดีตลอดมา
เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2488
สมเด็จพระจักรพรรดิญี่ปุ่นประกาศให้ประชาชนและกองทัพญี่ปุ่นยอมจำนนต่อ
สัมพันธมิตร พล.ร.อ.เมาท์แบตเตน
ได้ส่งวิทยุด่วนถึง ดร.ปรีดีฯ แจ้งเรื่องนี้ในวันที่ 16 สิงหาคม
และในวันเดียวกันนี้เองประเทศไทยก็ได้ประกาศสันติภาพ
สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา
ประกาศยอมรับการประกาศสันติภาพของไทยทันที......."
เพื่อ ความสมบูรณ์ของข้อเขียน ผู้เขียนขอนำบางส่วนของ
"ประกาศสันติภาพ" มาให้อ่านกันดังนี้
"โดยที่ประเทศไทยเคยถือนโยบายอันแน่วแน่ที่
จะรักษาความเป็นกลางอย่างเคร่งครัด
และจะต่อสู้การรุกรานของต่างประเทศทุกวิถีทาง
ดังปรากฏเห็นได้ชัดจากการที่ได้มีกฎหมาย
กำหนดหน้าที่คนไทยในเวลารบ
เมื่อพุทธศักราช 2484 อยู่แล้วนั้น
ความจำนงอันแน่วแน่ดังกล่าวนี้ได้แสดงให้เห็นประจักษ์แล้ว
ในเมื่อญี่ปุ่นได้ ยาตราทัพเข้าในดินแดนประเทศไทย
ในวันที่ 8 ธันวาคม พุทธศักราช 2484
โดยได้มีการต่อสู้การรุกรานทุกแห่ง และทหาร ตำรวจ
ประชาชนพลเมืองได้เสียชีวิตไปในการนี้เป็นอันมาก
เหตุการณ์อันปรากฏ เป็นสักขีพยานนี้ได้แสดงให้เห็นอย่างแจ่มแจ้งว่า
การประกาศสงครามเมื่อวันที่ 25 มกราคม พุทธศักราช 2485
ต่อบริเตนใหญ่และสหรัฐอเมริกา
ตลอดทั้งการกระทำทั้งหลายเป็นปฏิปักษ์ต่อสหประชาชาตินั้น
เป็นการกระทำอันผิดจากเจตจำนงของประชาชนชาวไทย
และฝ่าฝืนขืนขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญและกฎหมายบ้านเมือง
ประชาชนชาวไทยทั้งภายในและภายนอกประเทศ
ซึ่งอยู่ในฐานะที่จะช่วยเหลือสนับสนุนสหประชาชาติ
ผู้รักที่จะให้มีสันติภาพในโลกนี้
ได้กระทำการทุกวิถีทางที่จะช่วยเหลือสหประชาชาติ
ดังที่สหประชาชาติส่วนมาก ย่อมทราบอยู่แล้ว
ทั้งนี้เป็นแสดงเจตจำนงของประชาชนชาวไทยอีกครั้งหนึ่ง
ที่ไม่เห็นด้วยต่อการ ประกาศสงครามและการกระทำ
อันเป็นปฏิปักษ์ต่อสหประชาชาติดังกล่าวมาแล้ว
บัด นี้ ประเทศญี่ปุ่นได้ยอมปฏิบัติตามคำประกาศของสหรัฐอเมริกา
บริเตนใหญ่ จีน และสหภาพโซเวียต ซึ่งได้กระทำ
ณ นครปอตสดัมแล้ว สันติภาพจึงกลับคืนมาสู่ประเทศไทย
อันเป็นความประสงค์ของประชาชนชาวไทย
ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
จึงขอประกาศโดยเปิดเผยแทนประชาชนชาวไทยว่า
การประกาศสงครามต่อสหรัฐอเมริกาและบริเตนใหญ่
เป็นโมฆะไม่ผูกพันประชาชนชาวไทย
ในส่วนที่เกี่ยวกับสหประชาชาติ
ประเทศไทยได้ตัดสินใจที่จะให้กลับคืนมา
ซึ่งสัมพันธไมตรีอันดีอันเคยมีมากับสหประชาชาติ
เมื่อก่อนวันที่ 8 ธันวาคม พุทธศักราช 2484
และพร้อมที่จะร่วมมือเต็มที่ทุกทางกับ
สหประชาชาติในการสถาปนาเสถียรภาพในโลก นี้"
วันที่ 16 สิงหาคม จึงเป็นวันสำคัญในทางสัญลักษณ์
แห่งความสำเร็จจากความเสียสละเพื่อชาติของคน
ไทยที่ต่อต้านผู้รุกรานจนเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก
ในวันที่ 8 ธันวาคม 2484 และพลพรรคเสรีไทยของประชาชนไทย
วันนี้จึงควรเป็นวันแห่งการจดจำและสั่งสอนลูกหลานไทยให้เอาเยี่ยงอย่าง
เมื่อชาติไทยจะอยู่อีกนานเท่านาน
ใครจะกล้ารับประกันได้บ้างว่าไทยจะไม่ถูกใครรุกรานอีก
ถ้าคนไทยปัจจุบันไม่สามารถทำให้ลูกหลานรักหวงแหนชาติ
เมื่อเกิดเหตุการณ์รุกรานขึ้นอีกบ้านเมืองของเราจะเป็นอย่างไร
หนังสือ ที่ระลึกวันที่ 16 สิงหาคม 2552
ได้เขียนไว้อย่างชัดเจนว่า
"ความสำเร็จในการรักษาเอกราช
อธิปไตยตลอดจนเกียรติศักดิ์และเกียรติภูมิของชาติไทย
ภายหลังสงครามโลกครั้ง ที่ 2
มิได้เกิดการอภินิหารของสิ่งลึกลับใดๆ
และมิได้เกิดจากการใช้เล่ห์เหลี่ยมทางกฎหมาย
หรือนโยบายการเมืองการทูตแต่ อย่างใด
ประเทศไทยคงเอกราชและอธิปไตยไว้ได้ด้วยการต่อสู้"
คุณอุทัย สุจริตกุล ได้จบข้อเขียนด้วยข้อความที่กินใจว่า
"......ตลอดมานับจากวันประกาศสันติภาพในปี 2488
ทุกๆ วันที่ 16 สิงหาคม พวกเราเสรีไทยได้ประกอบพิธีทางศาสนา
เพื่อระลึกถึงและทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้
เสรีไทยทุกท่านที่ได้สละชีวิตรับใช้ชาติ
พิธีการก็ได้กระทำอย่างเรียบง่ายเท่าที่โอกาส
และฐานะจะอำนวยให้ จนกระทั่งเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2538
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้หลักการกำหนดให้
วันที่ 16 สิงหาคม เป็นวันสันติภาพไทย
และคุณพิจิตต รัตตกุล ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครขณะนั้น
และคุณสมคาด สืบตระกูล เลขานุการผู้ว่าราชการฯ
ได้เห็นคุณค่าและความเสียสละของขบวนการเสรีไทย
ได้ดำเนินการขออนุมัติงบประมาณจำนวนหนึ่งเพื่อ
ก่อสร้างอาคารเสรีไทยอนุสรณ์ ณ สวนเสรีไทย เขตบึงกุ่ม
มีการประกอบพิธีทางศาสนาอุทิศส่วนกุศลเป็นประจำ
โดยอดีตผู้ว่าคนต่อๆ มา ได้มอบให้ ผอ.เขตบึงกุ่มให้ความร่วมมือ
กับฝ่ายปฏิบัติงานของสถาบันปรีดีพนมยงค์
เป็นผู้จัดทำตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นมา
ปีหน้า พ.ศ.2553 จะเป็นวันครบรอบปีที่ 65
ของการประกาศสันติภาพของประเทศไทย
กระผมขออนุญาตเสรีไทยทุกท่านพูดในนามเสรีไทย
เสนอ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี
ได้โปรดให้ความสำคัญแก่วันดังกล่าวนี้ให้มากขึ้น
และหากเป็นไปได้ขอเรียนเสนอให้ท่านนายกรัฐมนตรี
ได้โปรดมอบหมายหรือสั่งการ
ให้หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องกับวันสำคัญนี้ให้เป็นผู้อุปถัมภ์
และจัดงานระลึกถึงวันสำคัญนี้
โดยมีเขตบึงกุ่มและสถาบันปรีดี พนมยงค์
เป็นที่ปรึกษาและประสานงานเป็นประจำทุกปี......"
หน้า 6