Custom Search

Aug 8, 2009

พระตำหนักดอยตุง บ้านแสนรักของนักปลูกต้นไม้



 
ดอกไม้ซึ่งยาวตลอดแนวของพระตำหนัก มอร์นิ่ง กลอรี่และดอกรักเร่

คอลัมน์ บันทึกเดินทาง
วิภาวี จุฬามณี
มติชน
วันที่ 09 สิงหาคม พ.ศ. 2552




บ้านหลังนั้นอิงแอบอยู่หว่างเนินดินบนขุนเขา
สี น้ำตาลไหม้ของไม้สนภูเขาที่ทาบทับอยู่บนผนัง
ขับให้มวลดอกไม้ที่เบ่งบานอยู่รายรอบดูสวยสดยิ่งขึ้น
บนส่วนยอดของตัวบ้านนั่นเล่า กาแลแกะสลัก
ศิลปะพื้นบ้านล้านนายังยืนเด่นเป็นสง่า
ราวกับว่าไม่เคยสะทกสะท้านไหว
ไม่ว่าจะกี่คราวที่ลมหนาวมาเยือน
บ้านหลังนั้น
"บ้านของสมเด็จย่า"หรือชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า 

"พระตำหนักดอยตุง"
สร้างขึ้นบนเนื้อที่กว่า 29 ไร่
บนดอยสูงของจังหวัดเชียงราย
ประกอบด้วยตัวอาคารไม้ 2 ชั้น
และลานกว้างหน้าพระตำหนัก
งดงามอ่อนหวานด้วยสถาปัตยกรรมแบบล้านนา
แต่ทว่าเรียบง่ายอย่างบ้านปีกไม้
สถาปัตยกรรมพื้นบ้านของสวิส

ตามประสาคนรักต้นไม้ และฝันใฝ่อยากจะมีบ้าน
ที่แวดล้อมไปด้วยกลิ่นอายของธรรมชาติบ้างสักหลัง

บ้านของสมเด็จย่าหลังนี้จึงเป็นดังภาพฝัน
ที่ถูกเนรมิตให้เกิดขึ้นแล้วจริง ตรงหน้า
"ไม่ใช่ความหรูหราใหญ่โตที่ทำให้ที่นี่กลายเป็น
"บ้านหลังแรก" ของแม่ฟ้าหลวงแห่งแผ่นดิน หากแต่น่าจะเป็นเพราะบ้านหลังนี้
เหมาะจะเป็นที่อยู่ของหัวใจ ของผู้ซึ่งหลงใหลในธรรมชาติเสียมากกว่า"

สมเด็จ พระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ
ทรงเล่าไว้ในหนังสือ ""เวลาเป็นของมีค่า""
ถึงความเป็นนักนิยมธรรมชาติของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีไว้ว่า


" แม่ชอบดอกไม้ ต้นไม้มานานแล้ว เมื่ออายุประมาณ 10 ขวบ
และอยู่บ้านคุณหญิงสงวนแม่ไปขุดดินหลังบ้าน
และปลูกพริกโดยไม่มีใครขอให้ทำ
เมื่ออยู่ฮาร์ทฟอร์ด (Hartford) กับมิสซิสสตรอง (Mrs.Strong)
แม่ได้รับแบ่งที่ดินเล็กๆ ให้ทำสวน แม่ปลูกดอกไม้
เช่น ดอกคอสมอส (cosmos)
เมื่ออยู่ที่วิลลาวัฒนามีสวนใหญ่ แม่ชอบทำสวนเอง
เมื่อย้ายไปอยู่แฟลตที่อาว็องโปสต์ (Avant-Poste)
ไม่มีสวน แม่จึงต้องทำสวนบนเฉลียง"


มุมมองจากระเบียงไม้
Cr Tui Laksi

"จุดเริ่มต้นของการสร้างบ้านแห่งแรกบนดอยตุงนี้
ก็เพื่อว่าจะได้เป็นที่ประทับพักผ่อนแทน
การเสด็จแปรพระราชฐานไปยังต่าง ประเทศ
และจะได้สะดวกในการทรงงานดูแลสนับสนุน
การฟื้นฟูสภาพป่าในโครงการพัฒนาดอยตุง ที่ทรงริเริ่มขึ้น"



เมื่อก้าวเข้าไปในตัวบ้าน ความรู้สึกแรกที่สัมผัสได้
คือความเรียบง่ายนั้นช่างงดงามอย่างประหลาด
ไม่มีเครื่องตกแต่งอันหรูหราฟู่ฟ่า
ไม่มีแม้เครื่องอำนวยความสะดวกอันเกินเลยไป
จากความจำเป็นพื้นฐานของชีวิต
หากแต่มองไปมุมไหนก็เห็นงานประดิษฐ์ชิ้นเล็กชิ้นน้อยที่
ผู้เป็นเจ้าของบรรจง จัดแต่งไว้เป็นที่เพลิดเพลินใจแก่ผู้ที่ได้มาพบเห็น

เรื่องความเป็น คนช่างคิดช่างประดิษฐ์ของสมเด็จย่านี้ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ
เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ ได้เคยกล่าวไว้ในหนังสือเล่มเดียวกันว่า
ท่านมักจะเก็บดอกไม้ภูเขาแล้วนำมาจัดใส่ในภาชนะเล็กๆ ต่างๆ
เช่นถ้วยน้ำตาล ถ้วยแยม หรือถ้วยล้างมือ แล้วนำไปวางไว้ตามโต๊ะอาหารของผู้ที่ท่านรู้จัก
ปีหนึ่งนักเขียนชาวฝรั่งเศส ชื่อ ดานิโนส์ ไปพักอยู่โรงแรมเดียวกันกับที่ท่านไปพักทุกปี
เขาได้เขียนลงในหนังสือของเขาถึงหญิงสาวคนหนึ่งที่ได้พบที่นั่น
ซึ่งคาดว่าหมายความถึงสมเด็จย่า ซึ่งเขาไม่รู้จัก
"มีผู้หญิงสาว คนหนึ่งที่น่ารักมาก ซึ่งเก็บดอกไม้ที่ภูเขาและจัดช่อเล็กๆ
ซึ่งเธอแอบไปวางไว้บนโต๊ะของคนหนุ่มสาว
เธอเป็นคนจำพวกที่รู้จักชื่อของทุกสิ่งทุกอย่าง ต้นไม้เล็ก ต้นไม้ใหญ่
ทะเลน้ำแข็ง ตอนค่ำบนเฉลียงของโรงแรม
เธอท่องชื่อดาวให้ฟัง และให้ความรู้แก่คนอย่างฉันซึ่งนอกจากดาวจระเข้แล้วไม่รู้เรื่องเลย"


ความต่อเนื่อง" ประติมากรรมกลางสวนดอยตุง

Cr. MGRonline



นอกจากสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีจะสนพระทัย
เรื่องของต้นไม้ดอกไม้แล้วยัง
สนพระทัยเรื่องของดวงดาวด้วยเช่นกัน
สังเกตได้จากพระตำหนักในส่วนของท้องพระโรงนั้น
แทนที่จะประดับเพดานด้วยดวงไฟย้อยระย้า
กลับแกะสลักเป็นรูปราศีต่างๆ
แล้วฝังดวงไฟเป็นสัญลักษณ์แทนดวงดาวตามราศีหรือหมู่ดาวนั้นๆ
จินตนาการเอาเถิดว่า
ยามค่ำคืนเมื่อรอบกายมืดสนิทแลเห็น
เพียงดวงดาวจำแลงส่องแสงอยู่ใกล้แค่เอื้อมจะโรแมนติคชวนฝันสักแค่ไหน

ภายในห้องเดียวกันนั้นยังประดับด้วยภาพเขียนสีน้ำมันขนาดใหญ่ 2 ภาพ
ภาพหนึ่งวาดอยู่ในโทนสีเหลืองส้ม ใต้ภาพเขียนไว้ว่าพระธาตุดอยตุงยามตะวันชิงพลบ
อีกภาพหนึ่งในโทนสีน้ำเงินเข้มแขวนอยู่ฝั่งตรงข้ามกัน บรรยายใต้ภาพไว้ว่า
พระธาตุดอยตุงยามราตรีสงัด

ทั้งสองภาพนี้มีวิธีการมองที่ออกจะ แปลกอยู่สักหน่อย
คือให้เริ่มจากการยืนอยู่ด้านใดด้านหนึ่งของภาพ
มองตรงไปยังตัวพระธาตุในรูปวาด จากนั้นค่อยๆ ก้าวเดินเป็นรูปครึ่งวงกลมอย่างช้าๆ
จากด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่งของภาพวาด ความมหัศจรรย์ที่เกิดขึ้นคือ
จะมองเห็นแสงเงาของพระธาตุค่อยๆ เคลื่อนคล้อยเปลี่ยนทิศทางไปตามจังหวะที่ก้าวผ่าน
และในภาพพระธาตุดอยตุงยามราตรีสงัดนั้น
ดวงดาวในภาพก็คล้ายกับว่าได้พากันแขวนตัวเองไว้บนผืนฟ้าทีละดวงๆ

เรื่องเล่าเกี่ยวกับพระธาตุดอยตุงนี้ ตามตำนานสิงหนวัติเล่าไว้ว่า
พระเจ้าอชุตราชเจ้าผู้ครองดินแดนแถบนี้ได้สร้างพระสถูปบรรจุพระสารีริกธาตุ
ไว้บนยอดดอย แล้วปักธงตะขาบ หรือตุงตะขาบยาว 3,000 วาไว้เช่นกัน
ด้วยเหตุนี้จึงเรียกที่แห่งนี้ว่า "ดอยตุง" ต่อมาในสมัยพระเจ้ามังราย
ก็ได้มีการสร้างพระสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ เคียงคู่ขึ้นอีกองค์หนึ่ง

ถัดออกมาทางขวามือของท้องพระโรง มีระเบียงไม้ทอดตัวยาวไปตามแนวของตัวบ้าน
ระเบียงนี้ถูกออกแบบให้มีลักษณะเป็นกระบะที่สามารถปลูกดอกไม้ได้ตลอดแนว

จาก มุมนี้มองออกไปไกลลิบตา คือภาพของทิวเขาน้อยใหญ่ที่เรียงตัวลดหลั่นกันไป
จากใกล้ไปไกล จากที่เห็นแจ่มชัดไปยังที่เห็นเพียงเลือนรางอยู่ท่ามกลางสายหมอก

ระเบียง ดอกไม้นี้นี่แหละ ที่น่าจะเป็นมุมโปรดของสมเด็จย่า
เมื่อครั้งที่ยังมีพระชนม์ชีพอยู่พระองค์มักจะเสด็จออกมาดูแลต้นไม้ ทรงลิดกิ่ง
ทรงพรวนดิน และทรงตัดดอกไม้สำหรับใส่แจกันด้วยพระองค์เองอยู่เสมอ

สุดแนวระเบียง คือสวนสวยบนลานกว้างหน้าพระตำหนัก
ในลมหนาวที่พัดผ่านมาเป็นระลอก ดอกไม้หลากสียังชูช่ออวดกลีบสวยอย่างไม่ขวยเขิน
สีชมพูสดของดอกรักเร่ สีส้มแดงของสแน็พดราก้อน สีฟ้าครามของมอร์นิ่ง กลอรี่
แต่งแต้มให้ที่แห่งนี้เป็นมากกว่าแค่ที่อยู่อาศัย

หากจริงอย่างที่ ว่า "สวนคือที่อยู่ของหัวใจ" ตอนนี้ใครต่อใครที่ได้มาเยือนที่แห่งนี้
คงมีหัวใจที่แย้มยิ้ม เบิกบานและงดงามยิ่งกว่าดอกไม้สีใดๆ

สุดปลาย แผ่นฟ้าตรงหน้า เบื้องล่างบนผืนดินสีเขียวกว้างไกล
ก่อกำเนิดโครงการพระราชดำริที่สานต่อความตั้งใจของ "แม่"
เพื่อพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎรในพื้นที่สูง

"โครงการพัฒนาดอย ตุง สถานีวิจัยโครงการหลวงอินทนนท์
สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง เพื่อการพลิกดอยฝิ่นสู่ดอยคำ ฯลฯ
ในวันวาน 30 ปีให้หลังออกดอกผลเป็นโครงการ "ปิดทองหลังพระ" ในวันนี้"

หน้า 23