Custom Search

Dec 27, 2008

Happy New Year!


คอลัมน์ English Today
สถาบันภาษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
มติชน
28 ธันวาคม 2551

ในวันส่งท้ายปีเก่า (New Year"s Eve) คือวันที่ 31 ธันวาคมนั้น
ผู้คนทั่วโลกต่างพากันเฉลิมฉลองเทศกาลแห่งความสุขนี้กันอย่างเต็มที่
เพื่อต้อนรับปีใหม่ที่จะมาถึง โดยจัดงานเลี้ยงหรืองานนับถอยหลังเข้าสู่วันปีใหม่
ตอนใกล้เที่ยงคืนของวันที่ 31 ธันวาคม (เคานต์ดาวน์)
งานฉลองเทศกาลปีใหม่ที่ทั่วโลกจับตามองมากที่สุดงานหนึ่งคือ
งานปีใหม่ที่ย่านไทม์สแควร์ ใจกลางมหานครนิวยอร์ก
ซึ่งมีผู้คนนับล้านคนมาร่วมงานในแต่ละปี โดย 1 นาทีก่อนถึงเวลาเที่ยงคืน
ลูกบอลขนาดใหญ่จะค่อยๆ ถูกหย่อนลงมา
พร้อมกับการนับถอยหลังของฝูงชนและ
เมื่อลูกบอลลงมาแตะพื้น
ข้อความปีใหม่บนจอภาพดิจิตอลขนาดยักษ์จะสว่างขึ้น
และผู้คนที่มาร่วมชุมนุมกันอยู่บริเวณนั้นจะสวมกอด จุมพิต
และกล่าวอวยพร Happy New Year!
ซึ่งกันและกันสำหรับเพลงที่นิยมร้องกัน
ในตอนเที่ยงคืนของวันขึ้นปีใหม่คือ
เพลงโอลด์ แลง ซาย (Auld Lang Syne)
ซึ่งในบ้านเรานำมาใส่เนื้อร้องเป็นเพลงสามัคคีชุมนุมที่น้องๆ หลายคนคงเคยได้ยินกัน
ส่วนชื่อเพลง Auld Lang Syne นั้น
มีความหมายว่า "the good old days"
หรือช่วงวันเวลาที่ดีๆ ในอดีตค่ะ
ส่วนในวันที่ 1 มกราคม ซึ่งเป็นวันขึ้นปีใหม่ (New Year"s Day)นั้น
คนอเมริกันมีความเชื่อดั้งเดิมว่า
ผู้ที่มาเยือนในวันปีใหม่สามารถนำโชคดี (good luck)
หรือโชคร้าย (bad luck) มาให้ตลอดทั้งปี
และถ้าคนแรกเป็นชายผมดำรูปร่างสูงแล้วล่ะก็
จะโชคดีเป็นพิเศษทีเดียว
ส่วนอาหารที่ชาวอเมริกันจำนวนมากนิยมบริโภคในวันปีใหม่
เพราะถือว่าจะนำโชคดีมาให้ได้แก่ถั่วแบล๊คอาย (black-eyed peas)
หมู (hog) และกะหล่ำปลี (cabbage)
ซึ่งสองอย่างหลังนี้ถือเป็นสัญลักษณ์ของความเจริญรุ่งเรือง (prosperity) ค่ะ
ถึงตรงนี้ขอถือโอกาสกล่าวสวัสดีปีใหม่กับน้องๆ ว่า
May you have a very happy and prosperous New Year!
(ขอให้มีความสุขและความเจริญรุ่งเรืองในวันปีใหม่) นะคะ
หน้า 24