- http://moreartists.blogspot.com/2016/11/kamol-tassananchalee-thai-national.html
- http://moreartists.blogspot.com/2016/11/thawan-duchanee-kamol-tassananchalee.html
Art & Living
วันที่ 31 มกราคม 2554
โดย : ชาธิป สุวรรณทอง
นิทรรศการ '67 ปี กมล ทัศนาญชลี ศิลปินสองซีกโลก'
ที่หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
ตั้งแต่ 4 กุมภาพันธ์ - 29 มีนาคม 2554
หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้า สิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
จัดนิทรรศการ '67 ปี กมล ทัศนาญชลี ศิลปินสองซีกโลก'
นิทรรศการศิลปกรรมเพื่อเชิดชูเกียรติศิลปินแห่งชาติในวาระครบรอบอายุ 67 ปี
ของ ดร.กมล ทัศนาญชลี ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์
(จิตรกรรมและสื่อผสม) ประจำปีพ.ศ.2540
โดยมีผลงานซึ่งเป็นรูปแบบศิลปะร่วมสมัย ทั้งประเภทจิตรกรรมสื่อผสม
งานประติมากรรม งานจัดวาง รวมถึงงานเครื่องปั้นดินเผา (เซรามิกส์) รวมกว่า 200 ชิ้น
ดร.กมล ทัศนาญชลี เกิดเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2487
ที่ย่านฝั่งธนบุรี กรุงเทพฯ จบการศึกษาจากวิทยาลัยเพาะช่างในปี 2507
และเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร
จากนั้นได้รับทุนศึกษาต่อระดับปริญญาโทด้านศิลปะที่
Otis Art Institute of Los Angeles
ในประเทศสหรัฐอเมริกา จนกระทั่งสำเร็จการศึกษาในปี 2520
ตลอดระยะเวลายาวนานกว่า 40 ปี อาจารย์กมล
พำนักและสร้างสรรค์ผลงานศิลปะใน สหรัฐอเมริกา
และเดินทางกลับมาประเทศไทยทุกปี โดยทุกครั้งที่เดินทางกลับมา
ก็มักจะได้สร้างสรรค์ผลงานไว้เสมอ
จากการอุทิศตนให้กับการสร้างสรรค์ศิลปะอย่างต่อเนื่อง
ทำให้อาจารย์กมลเป็นที่ยอมรับในฐานะศิลปินคนสำคัญและดีเด่น
ในด้านจิตรกรรมและสื่อผสมร่วมสมัย
ทั้งจากแวดวงศิลปะในประเทศไทยและในระดับนานาชาติ
ในนิทรรศการ '67 ปี กมล ทัศนาญชลี ศิลปินสองซีกโลก'
พื้นที่ทั้ง 4 ชั้นของหอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถจะถูกใช้ในการนำเสนอผลงานของอาจารย์กมล โดยพื้นที่บนชั้นที่ 4 'หลอดสีและทะเลทราย'บอกเล่าการสร้างสรรค์ผลงานของอาจารย์กมลในช่วงปีพ.ศ.2518-2519 ที่สร้างสรรค์ผลงานจากความประทับใจในธรรมชาติยิ่งใหญ่ของสหรัฐอเมริกาที่ ทะเลทรายโมฮาเว อาจารย์กมลมองเห็นผืนทะเลทรายขาวโพลนเสมือนผืนผ้าใบขนาดยักษ์ จึงเกิดความคิดที่จะทำงานศิลปะโดย นำเอาหลอดสีที่พิมพ์จากภาพพิมพ์ นำมาปักลงดินพื้นทะเลทราย แล้วโรยด้วยสีฝุ่นผสมกับการขุดดินเป็นทางยาวไหลออกมาจากหลอดสีต่างๆ ต่อมาได้นำสีฝุ่นมาโปรยลงพื้นทะเลทรายโดยให้ลมพัดพาสีเป็นแนวทางยาว เป็นการสร้างงานโดยอาศัยธรรมชาติเป็นส่วนสำคัญ มีลมเสมือนกับพู่กันหรือแปรงขนาดใหญ่ วาดสีลงบนพื้นทรายขนาดใหญ่โตยาวเกือบกิโลเมตร เป็นงานศิลปะที่ชวนให้นึกถึงความเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติและชีวิต ก่อนที่อาจารย์กมลจะขยายความคิดไปทำงานศิลปะกับธรรมชาติยิ่งใหญ่ที่แกรนด์ แคนยอน รวมถึงการทำงานบนพื้นที่ท้องนาและชายทะเลในประเทศไทยอีกด้วย พื้นที่ชั้นที่ 3 ของหอศิลป์ฯ 'ผลงานสื่อผสมบนกระดาษทำเอง' นำเสนอผลงานช่วงปีพ.ศ.2518-2519 เช่นกัน ในช่วงเวลาดังกล่าวอาจารย์กมลได้ทดลองทำกระดาษขึ้นใช้เองเนื่องจากมีวัสดุ เหลือจากภาพพิมพ์ และได้เยื่อ 'กระดาษสา' จากประเทศไทย จึงได้นำมาผสมกันทำกระดาษใช้เอง และนำมาพิมพ์, เขียน, ทำสื่อผสม, บนกระดาษ พื้นผิวของกระดาษมีเสน่ห์ในตัวของมันและขอบรอบๆ เป็นความอิสระไม่ถูกตัดตรงเหมือนกระดาษทั่วไป รวมถึงต่อมาได้นำกระดาษมาเย็บด้วยจักร เพิ่มเติมวัสดุ ไม้ โลหะ สี ฯลฯ แสดงความตัดกันของวัสดุ มีทั้งอ่อนนุ่ม พื้นผิวของกระดาษกับโลหะ ไม้ เหล็กต่างๆ ทำความขัดแย้งให้เป็นความงาม ใช้สีเป็นตัวผสานให้เกิดความกลมกลืน
"ผมยังคงทำผลงานสื่อผสมบนกระดาษต่อเนื่องมายาวนาน
เพราะสามารถนำไปแสดงในประเทศต่างๆ ได้คล่องตัว
ไม่ว่าจะเป็นที่เยอรมนี ญี่ปุ่น และในมลรัฐต่างๆ ของสหรัฐอเมริกา
ทุกครั้งที่กลับมาทำงานกระดาษใหม่ ผมจะนำประสบการณ์ในอดีตผสมกับปัจจุบัน
ผสมผสานความคิดของตะวันออกและตะวันตก รวมถึงเรื่องราวใหม่ๆ
ที่เพิ่มเติมเข้าไป ผมยังคงสนุกที่จะทำงานชุดนี้อยู่เสมอ
จากยุคหลอดสี ลูกกลิ้ง พิมพ์ลงในกระดาษทำเอง
ก็เป็นยุคหนังใหญ่ใช้โครงไม้ แผ่นทองคำ พระพุทธบาท
วิถีชีวิตอีสาน หนังสติ๊ก ลูกคิด คอมพิวเตอร์
อันเป็นเรื่องราวที่สอดแทรกลงไปในผลงานยุคต่างๆ"
อาจารย์กมล อธิบาย
ขณะที่พื้นที่ชั้น 2 'สื่อผสมบนผ้าใบและกระดาษ'
นำเสนอผลงานชุดจิตรกรรมสื่อผสมบนผ้าใบ-ไม้
ชุด 'หนังใหญ่' ที่เกิดขึ้นในปีพ.ศ.2525
"ในงานชุดนี้ผมนำจิตวิญญาณความเป็นศิลปินไทย
และมีประสบการณ์ทำงาน ยาวนานแต่อดีต
ความเป็นตะวันออกมาใช้ในตะวันตก
ซึ่งเป็นชีวิตจริงๆ ที่อาศัยอยู่กับเทคโนโลยีสมัยใหม่ในอเมริกาและ
ในโอกาสกรุงเทพฯ ฉลอง 200 ปี ก็ตรงกับนคร Los Angeles
ฉลอง 200 ปี เช่นกัน และชื่อเมืองของทั้งสองก็มีความหมายตรงกัน
(เมืองแห่งนางฟ้า และกรุงของเทพเจ้า)
ผมจึงได้จัดนิทรรศการใหญ่ฉลองโดยเห็นชอบจากเอกอัคราชทูตไทยที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี.
โดยจัดนิทรรศการศิลปะร่วม สมัยของประเทศไทยแสดงที่พิพิธภัณฑ์ Pacific Asia Museum
เมือง Pasadena และหอศิลป์ต่างๆ ของเมือง Los Angeles
ไปถึงมลรัฐ Texas และกรุงวอชิงตัน ดี.ซี.
โดยใช้งบประมาณส่วนตัว กับการสนับสนุนของนักสะสมศิลปะใน Los Angeles
ให้ยืมผลงานศิลปะของศิลปินไทย
ทั้งจิตรกรรม ประติมากรรม
ภาพพิมพ์รวมศิลปินที่แสดงงาน 27 คนด้วยกัน"
ครั้งนั้น อาจารย์กมลสร้างงานชุด 'หนังใหญ่' โดยนำโครงร่าง
และจิตวิญญาณของหนังใหญ่ผสมผสานกับชีวิตจริงที่อยู่ตะวันตก
โดยใช้กระดาษทำขึ้นเอง ผ้าใบ ไม้ โลหะ
และวัสดุใกล้ตัวต่างๆ ที่สะสมไว้ อาทิ ลูกคิด และเครื่องคอมพิวเตอร์
ส่วนพื้นที่ 'ชั้น1' นำเสนอ '67 ปี ของข้าพเจ้ากับชีวิตศิลปินสองซีกโลกในวันนี้'
บอกเล่าเรื่องราวชีวิตของอาจารย์กมลที่เกิดและเติบโตในตระกูลช่างสิบหมู่
และเดินสายตรงบนเส้นทางศิลปะมาตลอดชีวิตไม่เคยเปลี่ยนแปลง
มีครูอาวุโส เพื่อนศิลปินไทย และศิลปินนานาชาติเป็นกัลยาณมิตร
ส่วนพื้นที่ 'ชั้น1' นำเสนอ '67 ปี ของข้าพเจ้ากับชีวิตศิลปินสองซีกโลกในวันนี้'
บอกเล่าเรื่องราวชีวิตของอาจารย์กมลที่เกิดและเติบโตในตระกูลช่างสิบหมู่
และเดินสายตรงบนเส้นทางศิลปะมาตลอดชีวิตไม่เคยเปลี่ยนแปลง
มีครูอาวุโส เพื่อนศิลปินไทย และศิลปินนานาชาติเป็นกัลยาณมิตร
นอกจากจะจัดแสดงผลงานตลอดทั้ง 4 ชั้น
ของหอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าฯ
ในนิทรรศการเชิดชูเกียรติศิลปินแห่งชาติ
'67 ปี กมล ทัศนาญชลี ศิลปินสองซีกโลก'
ยังมีการบรรยายพิเศษ สัมมนาวิชาการทางศิลปะและทำกิจกรรม
Art Work Shop โดยเปิดโอกาสให้นิสิต นักศึกษา ครู อาจารย์
และผู้สนใจเข้าฟังและชมเพื่อให้ได้ศึกษาค้นคว้า
เห็นการทำงาน ชีวิต ปรัชญา และอุดมการณ์ของศิลปินไทย
ที่ได้รับการยอมรับทั้งสองซีกโลกตะวันออกและตะวันตก
วันเสาร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ ดร.กมล ทัศนาญชลี และถวัลย์ ดัชนี
นำชมนิทรรศการตลอด 4 ชั้น วันอาทิตย์ที่ 27 กุมภาพันธ์
สาธิตการปฏิบัติการทางศิลปะ โดย กมล ทัศนาญชลี
และศิลปินรับเชิญ วัน อาทิตย์ 13 มีนาคม เสวนา 67 ปี
โดย กมล ทัศนาญชลี และศิลปินรับเชิญ
และวันอาทิตย์ที่ 27 มีนาคม พบศิลปิน กมล ทัศนาญชลี
(ทุกรายการเริ่มเวลา 14.00 น.)
“ชีวิตประจำวันของผมคือ การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ
การทำงานศิลปะเป็น ชีวิตของผมมายาวนานและ
ยังคงเป็นอยู่ในปัจจุบัน
ผมเดินอยู่ระหว่างสองซีกโลกตะวันออกและ
ตะวันตกด้วยปรัชญามุ่งมั่นและมั่นใจในตนเอง
พอใจกับการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ
เดินอยู่ในเส้นทางศิลปะอย่างมีความสุขกายสบายใจ
การได้พบกับตนเองที่ยังมุ่งมั่นกับงานศิลปะเช่นเดิม
ถือเป็นโชคมหาศาลบนเส้นทาง 67 ปีของผม"
นิทรรศการ '67 ปี กมล ทัศนาญชลี ศิลปินสองซีกโลก'
จัดแสดงเต็มพื้นที่หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
ตั้งแต่ 4 กุมภาพันธ์ - 29 มีนาคม 2554
เปิดให้เข้าชม ทุกวัน (ยกเว้นวันพุธ)
ตั้งแต่เวลา 10.00 - 19.00 น.
สอบถามเพิ่มเติมโทร.0-2281