ดุษฎี สนเทศ
มติชน
วันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2552
เมื่อ เอ่ยถึง "เศรษฐศาสตร์" หลายคนคงนึกถึงภาพนักวิชาการหน้าตาคงแก่เรียน
แต่งตัวภูมิฐาน จึงไม่น่าแปลกที่หนังสือเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์มักถูกละเลย
เพราะคนทั่วไปคิดว่าหนังสือประเภทนี้เข้าใจยาก และน่าเบื่อ "
หนังสือเล่มนี้สนุกสุดยอด" นี่คือคำกล่าวของบรรณาธิการข่าวเศรษฐกิจ BBC
ที่กล่าวถึง "เศรษฐศาสตร์แห่งชีวิต" หนังสือเศรษฐศาสตร์อ่านง่ายที่เขียนโดย
"ทิม ฮาร์ฟอร์ด" นักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษและคอลัมนิสต์จอมลีลาประจำหนังสือพิมพ์
"ไฟแนนเชียล ไทมส์" แปล โดย สฤณี อาชวานันทกุล
นักแปลฝีมือดีที่เพิ่งมีผลงาน "นายธนาคารเพื่อคนจน" และ "ความมั่งคั่งปฏิวัติ"
เศรษฐศาสตร์ แห่งชีวิต หนังสือที่ลบล้างภาพลักษณ์ว่า
เศรษฐศาสตร์เป็นวิชาที่น่าเบื่อและอ่านยาก
ด้วยการอธิบายว่าทุกเรื่องในชีวิตล้วนมีที่มาที่ไปและอธิบายได้ด้วยหลักเศรษฐศาสตร์
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการปฏิวัติ การเลือกตั้ง ไปจนกระทั่ง
เรื่องใกล้ตัวอย่างปัญหาเด็กวัยรุ่นก่อคดีปล้นชิง สิงห์อมควันจุดบุหรี่สูบ
โสเภณียอมร่วมเพศโดยไม่สวมถุงยางฯ ด้วยสำนวนการเขียนที่สนุกสนาน
ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องสนุก จนถึงขั้นอ่านแล้ววางไม่ลง จึงไม่แปลกหาก
"เศรษฐศาสตร์แห่งชีวิต" เป็นหนังสือเศรษฐศาสตร์ที่อ่านสนุกและทันสมัยที่สุดในยุคนี้
สฤณี อาชวานันทกุล นักเขียนและนักแปลอิสระ
จบการศึกษาปริญญาตรีด้านเศรษฐศาสตร์ และปริญญาโทด้านบริหารธุรกิจจากสหรัฐอเมริกา
นักท่องเว็บส่วนใหญ่รู้จักสฤณีในชื่อ "คนชายขอบ" หรือ "Fringer"
จากบล็อก http://www.fringer.org (not active 7/3/2021) และการเขียนบล็อกนี่เอง
ได้นำไปสู่การเป็นคอลัมนิสต์ประจำเว็บไซต์โอเพ่นออนไลน์,
คอลัมน์ "ทุนนิยมที่มีในหัวใจ" ในนิตยสารมติชนสุดสัปดาห์,
คอลัมน์ "ล่องคลื่นโลกาภิวัตน์" ในหนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ
และคอลัมน์ "คนไม่สำคัญ" ในนิตยสารสารคดี
หน้า 3