อ.วนิดา พึ่งสุนทร
เกิดเมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๘๐ ที่กรุงเทพมหานคร
จบการศึกษาปริญญาศิลปบัณฑิต (สถาปัตยกรมไทย)
และได้รับประกาศนียบัตรชั้นสูง(สถาปัตยกรรมไทย)
จากมหาวิทยาลัยศิลปากร
เข้ารับราชการตำแหน่งอาจารย์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
เป็นอาจารย์และสถาปนิกที่มีความเชี่ยวชาญ
ด้านสถาปัตยกรรมประเพณี
อาจารย์วนิดา พึ่งสุนทร ได้สร้างสรรค์ผลงานไว้มากมาย
ล้วนเป็นที่ยอมรับ สะท้อนถึงเอกลักษณ์
ของสถาปัตยกรรมไทยที่โดดเด่นและมีคุณค่า
ผลงานมีการพัฒนาโดยนำเทคโนโลยีสมัยใหม่
มาผสมผสานเป็นรูปแบบที่มีลักษณะเฉพาะตน
เพื่อสนองประโยชน์ใช้สอยได้อย่างเหมาะสม
กับความต้องการในยุคสมัยปัจจุบัน
ผลงานที่สำคัญ
เช่น พระมหาธาตุเฉลิมราชย์ศรัทธา
(ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ)
วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ สาธารณรัฐอินเดีย
พระมหาธาตุเจดีย์ศรีจันเสน
และห้องสมุดเฉลิมราชกุมารี วัดจันเสน จังหวันครสวรรค์
พิพิธภัณฑ์บ้านวัดม่วง
จังหวัดราชบุรีโรงเรียนพระปริยัติธรรม
และพระตำหนักสมเด็จพระสังฆราชฯ
วัดนาควัชรโสภณ (วัดช้าง)จังหวัดกำแพงเพชร
เมรุลอยเพื่อพระราชทานเพลิง
พระญาณสิทธาจารย์ (หลวงปู่สิม พุทธาจาโร)
สำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง จังหวัดเชียงใหม่
และสถาปัตยกรรมแบบประเพณีอื่น ๆ อีกมากมาย
นอกจากนี้ ยังได้ศึกษาค้นคว้ารูปแบบสถาปัตยกรรมไทยท้องถิ่น
เขียนเป็นบทความทางวิชาการถ่ายทอด
และเผยแพร่ให้ความรู้แก่นักศึกษา เช่น
การศึกษารูปแบบสถาปัตยกรรมบริเวณทะเลสาบสงขลา
พื้นที่ถิ่นภาคใต้เป็นเอกสารประกอบการ
สัมมนาทางวิชาการความหลากหลายของเรือนพื้นถิ่นไทย เป็นต้น
เคยได้รับประกาศเกียรติคุณผู้อนุรักษ์มรดกไทยดีเด่น
ด้านสถาปัตยกรรมไทยประเภทบุคคลจาก
เกิดเมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๘๐ ที่กรุงเทพมหานคร
จบการศึกษาปริญญาศิลปบัณฑิต (สถาปัตยกรมไทย)
และได้รับประกาศนียบัตรชั้นสูง(สถาปัตยกรรมไทย)
จากมหาวิทยาลัยศิลปากร
เข้ารับราชการตำแหน่งอาจารย์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
เป็นอาจารย์และสถาปนิกที่มีความเชี่ยวชาญ
ด้านสถาปัตยกรรมประเพณี
ล้วนเป็นที่ยอมรับ สะท้อนถึงเอกลักษณ์
ของสถาปัตยกรรมไทยที่โดดเด่นและมีคุณค่า
ผลงานมีการพัฒนาโดยนำเทคโนโลยีสมัยใหม่
มาผสมผสานเป็นรูปแบบที่มีลักษณะเฉพาะตน
เพื่อสนองประโยชน์ใช้สอยได้อย่างเหมาะสม
กับความต้องการในยุคสมัยปัจจุบัน
ผลงานที่สำคัญ
เช่น พระมหาธาตุเฉลิมราชย์ศรัทธา
(ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ)
วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ สาธารณรัฐอินเดีย
พระมหาธาตุเจดีย์ศรีจันเสน
และห้องสมุดเฉลิมราชกุมารี วัดจันเสน จังหวันครสวรรค์
พิพิธภัณฑ์บ้านวัดม่วง
จังหวัดราชบุรีโรงเรียนพระปริยัติธรรม
และพระตำหนักสมเด็จพระสังฆราชฯ
วัดนาควัชรโสภณ (วัดช้าง)จังหวัดกำแพงเพชร
เมรุลอยเพื่อพระราชทานเพลิง
พระญาณสิทธาจารย์ (หลวงปู่สิม พุทธาจาโร)
สำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง จังหวัดเชียงใหม่
และสถาปัตยกรรมแบบประเพณีอื่น ๆ อีกมากมาย
เขียนเป็นบทความทางวิชาการถ่ายทอด
และเผยแพร่ให้ความรู้แก่นักศึกษา เช่น
การศึกษารูปแบบสถาปัตยกรรมบริเวณทะเลสาบสงขลา
พื้นที่ถิ่นภาคใต้เป็นเอกสารประกอบการ
สัมมนาทางวิชาการความหลากหลายของเรือนพื้นถิ่นไทย เป็นต้น
เคยได้รับประกาศเกียรติคุณผู้อนุรักษ์มรดกไทยดีเด่น
ด้านสถาปัตยกรรมไทยประเภทบุคคลจาก
คณะกรรมการอำนวยการวันอนุรักษ์มรดกไทยดีเด่น
ด้านสถาปัตยกรรมไทยประเภทบุคคล
จากคณะกรรมการอำนวยการวันอนุรักษ์มรดกไทย
ศิลปินดีเด่นกรุงเทพมหานคร สาขาศิลปะสถาปัตยกรรม
จากคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
ปัจจุบัน หลังเกษียณอายุราชการแล้วได้รับแต่งตั้ง
เป็นอาจารย์ผู้ชำนาญพิเศษทางด้านสถาปัตยกรรมไทย
มหาวิทยาลัยศิลปากร และยังคงสร้างสรรค์ผลงานการออกแบบ
ให้ความรู้ทางวิชาการสถาปัตยกรรมไทย
และเป็นแบบอย่างแก่อนุชนรุ่นหลังได้ดำเนินรอยตามต่อไป
อาจารย์วนิดา พึ่งสุนทร
จึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ
สาขาศิลปะสถาปัตยกรรม (แบบประเพณี)
ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๔๖
ด้านสถาปัตยกรรมไทยประเภทบุคคล
จากคณะกรรมการอำนวยการวันอนุรักษ์มรดกไทย
ศิลปินดีเด่นกรุงเทพมหานคร สาขาศิลปะสถาปัตยกรรม
จากคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
ปัจจุบัน หลังเกษียณอายุราชการแล้วได้รับแต่งตั้ง
เป็นอาจารย์ผู้ชำนาญพิเศษทางด้านสถาปัตยกรรมไทย
มหาวิทยาลัยศิลปากร และยังคงสร้างสรรค์ผลงานการออกแบบ
ให้ความรู้ทางวิชาการสถาปัตยกรรมไทย
และเป็นแบบอย่างแก่อนุชนรุ่นหลังได้ดำเนินรอยตามต่อไป
อาจารย์วนิดา พึ่งสุนทร
จึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ
สาขาศิลปะสถาปัตยกรรม (แบบประเพณี)
ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๔๖
http://thefasa.com/2007/10/talk-wanida/
บทสัมภาษณ์ อ.วนิดา พึ่งสุนทร
เมื่อวันก่อน โอ๋(45) ได้มีโอกาสพูดคุยกับ อ.วนิดา
เกี่ยวกับเกร็ดสนุกๆ ของอาจารย์ ที่อ่านไปก็เพลินไป
ไม่เชื่อลองดูครับ เมษายน 2548
สัมภาษณ์ อ.วนิดา พึ่งสุนทร โดยโอ๋ รุ่น 45
เข้าเรียนที่นี่ได้ไงคะ อาจารย์
เมื่อครูจบจากราชินี ครูตั้งใจจะเข้าธรรมศาสตร์ แต่ไม่มีเพื่อนเรียน เห็นว่า มหาวิทยาลัยศิลปากรมีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ก็เลยมาสมัครสอบ
ปี 2500 ตอนนั้น อ.พระพรหมเป็นคณบดี ได้เรียนกับอาจารย์พระพรหม อ.หม่อมมิตร อ.ชม้อย ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญของกรมศิลป์ เมื่อได้เข้ามาตอนนั้นนักศึกษาน้อย รุ่นนึงก็ 8-9 คน ครูเป็นรุ่นที่ 3 พี่ม้าเป็นรุ่นแรก แต่ครูเป็นผู้หญิงรุ่นแรกของคณะฯ เป็นโชคดีที่ได้เรียนกับ อ.ผู้เชี่ยวชาญจากกรมศิลป์ทั้งหมด
3 ปีแรก อ.พระพรหมเป็นคณบดี เป็นช่วงสถาปัตยกรรมไทย พอช่วงปี 4-5 อ.อัน เป็นคณะบดี มีการเปลี่ยนแปลงหลักสูตร เรียนทั้งสองอย่าง คือ เรียนทางสถาปัตยกรรมไทยด้วย และเรียนทางสากลด้วย เพราะว่าช่วงแรกที่เปิดนั้นเปิดเฉพาะอนุปริญญา เพราะฉะนั้นพวกพี่ม้า พี่หลอง พี่เวศ (อ.ประเวศ) รุ่นนั้นยังไม่จบปริญญา ก็จบแค่อนุปริญญา แล้วใครที่จะมาเรียนต่อปริญญาก็ต้องมาต่อปี 4 พร้อมครู
เพราะฉะนั้น พี่ม้า อ.ประเวศ พี่หลอง พี่งาม ก็จะเป็นรุ่นพี่แล้วมาเป็นรุ่นเดียวกันด้วย
เมื่อก่อนตอนเข้าเรียนมีประเพณีรับน้องไหมคะ
ประเพณีรับน้องก็จะเป็นแบบรวมทั้งมหาวิทยาลัย ตอนนั้นมหาวิทยาลัยยังเล็กจะรับน้องรวมกันทั้งหมด ทั้งจิตรกรรม ถาปัด โบราณ เดคคอเรท ตอนนั้นมีแค่นี้
แล้วมีกิจกรรมแปลกๆ ตอนรับน้องไหมคะ
ไม่มีอะไรแปลกๆ ก็ขึ้นไปแสดงบนเวที ให้บอกชื่อ ไม่มีอะไรมากมาย
มีเฮฮาไหมคะอาจารย์
มีเฮฮาเหมือนกัน แต่ไม่ได้มีการละเล่นอะไรมากมายนัก มีอาหาร ปาร์ตี้เล็กน้อย
มีไปมีตติ้ง หรือไปต่างจังหวัดกันไหมคะ
ไม่มี มีเลี้ยงกันถึงกลางคืน เพราะสมัยก่อนรุ่นครูกับคณะอื่นๆ จะสนิทกัน นอกจากมีรับน้องด้วยกันแล้ว เวลาเรียนหนังสือ มีวิชาพื้นฐานเรียนด้วยกัน เช่นทฤษฎีสี ประวัติศาสตร์ เรียนด้วยกันกับคณะอื่นๆ ซึ่งเรียนกับท่าน อ.ศิลป์ พีระศรี เพราะฉะนั้นก็จะสนิทกัน และคนน้อยด้วย
อยากรู้เรื่องสนุกๆ สมัยวัยเรียน
คือสนิทกันก็จริง แต่คณะถาปัดกับจิตรกรรมจะไม้เบื่อไม้เมากัน บางทีก็ยกพวกตีกัน ไม่ใช่เรื่องตลกหรอก ไม่ถึงกับตีกัน ทะเลาะกัน
สมัยนั้นเค้าฮิตไปเที่ยวไหนกันคะ
ในสมัย อ.อัน ?
เวลาเรียนสมัยก่อน ครูเรียนในโรงเรียน เป็นอาคารเรียนชั้นเดียวหลังคามุงสังกะสี แล้วเพื่อนครู จากโรงเรียนราชินี ไข่มุก (คุณไข่มุก ชูโต) เขาเรียนประติมากรรม อยู่ตึกสองชั้นข้างๆ ที่นี่พวกถาปัด ก็ส่งเสียงหนวกหู เขาก็เอากระป๋องสีปาลงมาบนหลังคา ก็เป็นที่รู้กัน คือเป็นไม้เบื่อไม้เมากัน แต่ส่วนตัวแล้วก็สนิทกัน มีพี่ๆ ที่จิตรกรรม แยะที่เข้ามาคุมสอบ เวลาสอบคนคุมสอบก็คือรุ่นพี่ที่คณะจิตรกรรม ..พี่หยัด (อ.ประหยัด)
พอปิดเทอมที่จะไปต่างจังหวัดเนี่ย สมัย อ.อัน เข้ามาแล้ว อ.อัน ก็จะพาไป ส่วนใหญ่ก็จะพาไปเชียงใหม่ พอปิดเทอมทีนึงก็จะพากันไป ไปปีละครั้งสองครั้ง
สมัยนี้เค้าไปเที่ยวเธคกัน สมัยก่อนมีที่เที่ยวอะไรแนวนี้บ้างไหมคะ
ไม่มีเลย ครูไม่เคยรู้จักเลย เธคเค้าเป็นยังไงกัน
แล้วมีเต้นลีลาศไหมคะ
ไม่มีเลย เพราะฉะนั้นครูเลยเต้นรำไม่เป็น เดี๋ยวนี้ก็ยังเต้นไม่เป็น สมัย อ.อัน เข้ามาเป็นคณบดี อ.อันก็….
ที่บอกว่าเรียนสากลด้วยนี่ก็จะมี อ.เรืองศักดิ์ อ.ประสม รังสิโรจน์ เข้ามาสอนทางด้านสถาปัตยกรรมหลัก ตอนเรียนจบแล้ว อ.เรืองศักดิ์ ก็จะมีให้ไปช่วยงานที่บ้าน พอง่วงๆ อ.เรืองศักดิ์ก็เอาโต๊ะเขียนแบบออก เอาห้องเขียนแบบเนี่ยมาเป็นห้องเต้นรำ แล้วก็จะสอนครูเต้นรำ ครูเต้นไม่เป็นก็เลยไม่เต้น
แล้วตอนนั้นเค้าฟังเพลงแนวไหนกันคะ
เพลงสุนทราภรณ์ .. สมัยนั้นสนุก สมัน อ.อัน เสาร์-อาทิตย์ก็จะมาทำงานที่คณะ บางที อ.อัน ก็จะเอารถไปเที่ยว ไปที่มวกเหล็กบ้าง ไปเช้าเย็นกลับ ไปเที่ยวธรรมชาติ
สมัยนี้เค้ามีกิ๊ก สมัยนั้นมีไหมคะ
สมัยก่อนจะว่ามีหรือไม่มีมันก็ มีบ้างอะนะ แต่ว่าสมัยก่อนนั้นเค้าไม่เปิดโอกาสที่จะไปไหนสองคน เพราะว่าเรียนกันอยู่ห้องนึงมีแค่ 8-9 คน ไปไหนทีก็ไปกันหมด 9 คน ไปไหนๆ ก็ 9 คน มี อ.คณะอื่นจะเข้ามาคุยก็ พวกเพื่อนๆ รุ่นพี่ พี่ม้าเนี่ยก็จะคอยกัน เพราะฉะนั้นทางจิตรกรรมก็จะเรียกพวกพี่ม้า อ.ประสงค์ ว่าเป็นพวกไม้กันหมา ก็ไม่มีโอกาสจะไปไหนลำพัง บางที่ก็ไม่ใช่ 9 คน 10 คน บางทีมีรุ่นพี่ เวลาไปไหนก็ไปกันหมด ตอนครูเรียนปี 5 ยังไม่ทันจบ อ.อัน ก็บรรจุครูให้เป็นอาจารย์ด้วย ตอนนั้นวุฒิอนุปริญญา ได้เงินเดือน 750 เอง เรียนไปด้วยได้เงินเดือนไปด้วย เสาร์-อาทิตย์ก็มาช่วย อ.อันเขียนแบบ ทำตึกเรียนของโรงเรียนนาฏศิลป์ คณะรับมาทำ ก็อย่างที่บอกว่างๆ ก็ไปเที่ยวด้วยกัน
พอเรียนจบแล้ว มีความรู้สึกประทับใจอะไรที่เกิดขึ้นระหว่างเรียนบ้างไหมคะ
ระหว่างเรียนก็… เรียกว่าทั้งคณะรุ่นนึงมี 5 คนมั่ง 8 คนมั่ง จนรุ่น อ.อร เข้ามา ตอนนั้น อ.อร ปี 1 ครูปี 5 รุ่นนั้นมาหน่อย ก็ 10 กว่าคน ทุกคนก็เลยสนิทสนมกันหมด เป็นกันเองหมด
หลังจากนั้นคนเข้าเรียนก็เริ่มเยอะขึ้นเรื่อยๆ
ใช่ ครูเกือบจะไปอยู่คณะจิตรกรรม อ.คณะจิตรกรรม บอกว่าผู้หญิงเรียนถาปัดไม่ไหวหรอก มันยาก ชวนให้ไปเรียนจิตรกรรม ประติมากรรม แล้ว อ.ศิลป์ ก็ยินดีจะรับ พอ อ.พระพรหมรู้ข่าวเท่านั้น อ.พระพรหม เรียกมาสวดเลย
พอจบแล้ว อ.ทำอะไรต่อคะ
ก็เป็นอาจารย์มาตลอด สอนมาตั้งแต่ 2505 จนตอนนี้ก็ 45 ปี จะว่าจำเจมั๊ย สอนก็ไม่ได้จำเจอะไร ต้องค้นคว้าอยู่ตลอด และสิ่งที่ไม่จำเจคือก็จะเปลี่ยนหน้าลูกศิษย์มาเรื่อยๆ
อาจารย์ก็เห็นการเปลี่ยนแปลงของคณะมาตลอด ..อาจารย์ว่าเป็นยังไงบ้าง
สมัยก่อนเนี่ย อาจารย์กับลูกศิษย์สนิทกันมาก พวกลูกศิษย์จะเรียก ?แม่นิด แม่นิด? สนิทกันมากๆ ?แม่นิดไม่มีตังค์กินข้าวขอตังค์ไปกินข้าว? อะไรแบบนี้ ลูกศิษย์ก็จะเข้ามาคุยตลอด สนิทกันมากกว่าปัจจุบัน คนมันน้อย เดี๋ยวนี้เยอะแยะไปหมด อาจจะเรียนวิชาการมาหน่อย สมัยก่อนมีวิชาปูนปั้น แกะสลักไม้ ลายรดน้ำด้วย แล้วไปไหนก็น้อยคน ไปไหนไปกันหมด ทั้งอาจารย์ ลูกศิษย์ ไปต่างจังหวัดกันเรื่อย
แล้วประเพณีรับน้องมันเริ่มตั้งแต่สมัยไหน
ครูก็ไม่แน่ใจนะ พอมีนักศึกษาแต่ละคณะมากขึ้น จะรับพร้อมกันหมดก็ไม่ไหว กว่าจะเรียกชื่อ กว่าจะรายงานตัว เมื่อสามสี่คณะ จิตรกรรมเปิดเป็นคณะแรก ถาปัดกับโบราณเปิดพร้อมกัน และก็มัณฑนศิลป์ ช่วงครู อย่างรุ่นครู 8 คน แต่ละคณะปีนึงรวม 4 คณะ ก็ยังไม่เท่าร้อยคนเหมือนปัจจุบัน น้องใหม่ 40-50 คน จะรับรวมกัน เวลารับก็จะใส่กระโปรงและผ้าผูกสีเวอริเดี้ยน คือชุดรับน้อง
แล้วมีแต่งชุดไทยไหมคะ
ชุดไทยตอนนั้นรู้สึกว่ายังไม่มีนะ มีแค่กระโปรงและผ้าผูกสีเวอริเดี้ยน และทุกคณะจะเป็นแบบนี้หมด ไม่มีการแบ่งแยก เรียนก็เรียนด้วยกัน ประวัติศาสตร์ศิลป์ ทฤษฎีสี เรียนกับ อ.ฝรั่ง ก็คือ อ.ศิลป์ แต่ก่อนเรียกกัน อ.ฝรั่ง
ช่วงรับน้องและตอนเรียนแต่งตัวยังไงคะ
ก็ชุดเวอริเดี้ยนเฉพาะตอนรับน้อง ตอนเรียนธรรมดาก็กระโปรงดำ เสื้อขาว แต่งฟอร์มตลอดปี
มีแฟชั่นไหมคะ
อาจเพราะครูเป็นผู้หญิงคนเดียวก็เลยไม่รู้จะแฟชั่นไปทำไม ชุดเป็นข้อบังคับของมหาวิทยาลัย มีเข็มขัด มีกระดุม เสื้อ กระโปรง หัวเข็มขัดกับกระดุมเป็นพระพิฆเนศ รู้สึกจะเป็นอย่างนั้น
มีเรื่องเล่าที่เป็นความลับไม่มีใครรู้ไหมคะ
ความลับยังไง
ก็แบบว่าแอบไปทำหรือเล่นอะไรในคณะ หรือเรื่องเด็ดที่เพื่อนๆ แอบเฮฮากัน
ไม่มีหรือจำไม่ได้ เพราะสมัยนั้นไม่โลดโผนหรอก ไปไหนทีก็แทบทั้งคณะ ทั้งคณะก็ไม่กี่คน ตอนครูเพิ่งเริ่มเป็นอาจารย์ พวก อ.อัน ก็ให้ผู้หญิงบางคนที่ขี่จักรยานไม่เป็นนั่งรถไฟไปรอรับที่เชียงใหม่ แล้วมีพวกผู้ชายที่แข็งแรงหน่อยขี่จักรยานจากกรุงเทพฯ ไปเชียงใหม่ แต่ขากลับขี่ไม่ไหวต้องเอาขึ้นรถกลับ (หัวเราะ… ทางนั้นก็มาสัมภาษณ์ลงหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นพวกที่ขี่จักรยาน ว่านักศึกษาขี่จักรยานมาจากกรุงเทพฯ ก็สนุกสนาน
ไปแทบทุกเทอมเลยไหมคะ
ก็ไปแทบทุกเทอมเลย โดยเฉพาะช่วงสงกรานต์ อ.อัน จะมีรถ 6 ล้อ รถกระบะ ถังน้ำ 20 ลิตร สองสามถังตั้งบนรถ 6 ล้อ แล้วก็เล่นน้ำกัน ของเรารถสูงด้วย สนุกสนานกัน แล้วไปถึง ปีนึงอยู่บ้านในเมือง ปีนึงอยู่บ้านนอกเมือง ปีนึงอยู่บ้านริมปิง บางครั้งก็อยู่บนดอยสุเทพด้วย บ้าน อ.อัน มีกี่แห่ง พวกครูไปอยู่กันหมด พวกครูอยู่บ้าน อ.อัน แล้วพวกผู้ชายอยู่บ้าน อ.อัน ตรงเชิงสะพานนวรัตน์ จะมีตึก 3 ชั้น เป็นตึกของทางราชการเหมือนไปอยู่วัด คือบ้าน อ.อัน เล็ก อยู่กันหมดไม่พอ ผู้ชายไปอยู่ทางนู้นหมด แล้วก็มองจากบ้าน อ.อัน ไปก็เห็น บางที่เค้าใส่ผ้าขาวม้าตัวเดียววิ่งกัน (หัวเราะ… พอเวลาไปถึงนู้น พวกผู้ชายเค้าไปจีบนางงามกัน เพราะบ้าน อ.อัน ชื่อบ้านเวฬุวันมั้ง อันนั้นจะมีปลูกต้นไม้แยะ มีดอกไม้ เขาก็จะเก็บดอกไม้หอมๆ เอามาห่อใบไม้ไปให้ แต่ก็ไม่กล้าเอาไปให้สาวขายผ้าไหม ครูจะเป็นคน ?อ้ะ เอาดอกไม้มาให้ คนนั้นเค้าฝากมานะ? ครูเป็นทูตไปช่วยเค้าจีบ สมัยก่อนก็สนุกสนานกัน
เมื่อก่อนมีการทำงานที่สตูดิโอคณะแบบข้ามคืนเหมือนสมัยนี้ไหม
ก็มีแต่ไม่ถึงกับอยู่ค้าง แต่พวกผู้ชายเค้าคงจะอยู่บ้างเหมือนกัน ช่วงหลังๆ แต่พวกครูอยู่อย่างมาก็แค่ห้าทุ่มสองยาม เพราะว่าครูสมัยก่อนครูขึ้นรถเมล์ไม่เป็น จากโรงเรียนราชินีมานี่มีที่บ้านมารับมาส่ง เพราะฉะนั้นเค้าจะต้องมารับมาส่ง ก่อนสร้างตึนี้ตึกจิตรกรรมมันยาวเข้ามา เป็นตึกเก่า แล้วเค้าบอกว่าผีดุ แต่ก็มีพวกค้าง แต่ครูไม่ได้ค้าง
สุดท้ายนี้ อาจารย์มีอะไรฝากถึงนักศึกษาปัจจุบันหรือนักศึกษาที่กำลังเข้ามาใหม่บ้างไหม คะ ทั้งในแง่ของการเรียนและการใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย
ในเรื่องของนักศึกษาปัจจุบันนี้ไม่ค่อยสนิทกับครูบาอาจารย์มากเท่าไร มีสารทุกข์สุกดิบอะไรก็ไม่รู้ สมัยก่อนจะรู้หมดสารทุกข์สุขดิบของนักศึกษา คนนี้ไม่มีเงินกินข้าวนะ เอาล่ะ เดี๋ยวมาไถครูแล้ว บางทีจะไปเที่ยวกันนะ รุ่นหลังๆ เนี่ย ก็ไม่ถึงกับรุ่นหลังๆ รุ่นกลางๆ รุ่นอ้อ อารยา เชาว์กระจ่าง ว่าจะไปเที่ยว ?แม่นิดขอเงินห้าร้อยจะไปเที่ยวกัน? อะไรเงี่ย ชอบมาไถ ก็จะสนิทกันเหมือนลูกหลาน เพราะฉะนั้นก็จะเหมือนกับดูแล มีสารทุกข์สุกดิบก็จะมาเล่าอะไรยังไงกัน ปัจจุบันคนแยะ เพราะฉะนั้นก็จะไม่ค่อยได้ทราบสารทุกข์สุกดิบของนักศึกษาเท่าไหร่ ครูก็ไม่มีโอกาสที่จะช่วย เพราะไม่รู้คนนี้เป็นยังไง ขัดสนอะไร ช่วงนี้เงินยังไม่ส่งมา ต้องใช้เงิน ก็ไม่รู้ เพราะนักศึกษาแยะมาก ก็เลยไม่ได้ดูแลทั่วถึง สมัยก่อนคนน้อยดูแลทั่วถึง เพราะฉะนั้นนักศึกษาปัจจุบันนี้มีอะไรให้ช่วยก็มาบอก อย่างสมัยก่อนที่บอกสนิทอาจารย์ก็ดูแลได้ สมัยนี้ต้องปกครองตัวเอง บางทีพ่อแม่ก็อยู่ต่างจังหวัด ต้องทำมาหากิน ไม่ได้ดูแลทั่วถึง เพราะฉะนั้นต้องดูแลตัวเองนะ ฝากไว้ด้วย อย่าเที่ยวมากต้องแบ่งเวลาให้เป็น แล้วเวลาจะทำงานมีโปรเจกต์ ฉมังนักล่ะพวกนี้ ให้งานแรกๆ ค่อยมาตรวจกัน จะมาตรวจเอาอาทิตย์สุดท้าย ตรวจจนกระทั่งถึงทุ่มกว่า สองทุ่ม ตรวจกันจนมืดค่ำ แล้วบางทีก็พัฒนาแบบไม่ทัน ถ้าเมื่อเราเขียนแบบสักแต่ว่าพอสอบได้มันไม่มีความชำนาญ พอเราพัฒนาแบบไม่ได้ เราก็ไม่รู้ว่าจะทำยังไง ไม่รู้จะพัฒนาไปทางไหน ก็เพราะแบบนี้ ก็ขอให้ขยันๆ ดูแลตัวเองด้วย และขอให้โชคดีทั้งนักศึกษาเก่า ใหม่ หรือเพิ่งจบอย่างเราอะนะ ให้มีความสุขความเจริญต่อๆ ไป
ขอบคุณค่ะอาจารย์ ถ่ายรูปสวยๆ สักรูปนะคะ
หนึ่ง ส่อง ซ้าม…! ขอบคุณค่ะ
ค่ะ :22:
archsu