สถาบันศิลปสถาปัตยกรรมไทยเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยศิลปากร
เนื่องในงานวันศิลปี พีระศรี ประจำปี พ.ศ.๒๕อ๔
เรื่อง "สานสร้างทางไทย"
โดยอาจารย์วนิดา พึ่งสุนทร
ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะสถาปัตยกรรม (แบบประเพณี) ประจำปี พ.ศ.๒๕๔๖
อาจารย์และสถาปนิกที่มีความเชี่ยวชาญด้านสถาปัตยกรรมไทยแบบประเพณี
วันพุธที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๖๔ เวลา ๑๓.๓๐ น.
ณ หอประชุม มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ กรุงเทพ ฯ
การสืบทอดผ่านครูและศิษย์
คำว่าครูในที่นี้ ไม่ได้หมายถึงความเป็นครูในแบบที่มีตัวตนอย่างเดียว งานสถาปัตยกรรมไทยไม่ได้มองแค่ปัจจุบัน จะเรียกว่าเป็นงานที่มีต่อเนื่องกันมา มีการวิวัฒนาการมาตั้งแต่โบราณจนกระทั่งปัจจุบัน ฉะนั้นจึงเป็นศิลปะประจำชาติของไทยเรา ถึงเรียกว่า ‘สถาปัตยกรรมไทย’ ฉะนั้นที่เรียกว่าครู งานที่ยังใช้ประโยชน์มาแต่ดั้งเดิมไม่ว่าจะเหลือแต่ซาก หรืองานสถาปัตย์อยู่ ก็จะเป็นครูทั้งนั้น
ประเทศไทยเราไม่มีตำรา ไม่มีงานที่จดบันทึกเอาไว้แต่โบราณ ฉะนั้นเราจะต้องศึกษาจากก้อนอิฐ จากซากต่างๆ นั่นคือครู แต่ว่าในปัจจุบันที่มีการเรียนการสอนจากครูที่มีตัวตน เป็นผู้ที่นำความรู้ที่ได้จากครูมาสอนศิษย์อีกทีหนึ่ง ฉะนั้นจะเรียกว่าสืบทอดผ่านครู อย่างเช่น กรมพระยานริศ หรือพระพรหมพิจิตร ท่านก็ศึกษาผ่านครูเหมือนกันซึ่งไม่ใช่เพียงแต่ครูที่มีตัวตนเพียงอย่างเดียว เป็นครูที่เป็นโบราณสถานหรือโบราณวัตถุท่านก็ศึกษา แล้วท่านเอามาสอนลูกศิษย์ต่ออีกที
คำว่าครูในที่นี้ ไม่ได้หมายถึงความเป็นครูในแบบที่มีตัวตนอย่างเดียว งานสถาปัตยกรรมไทยไม่ได้มองแค่ปัจจุบัน จะเรียกว่าเป็นงานที่มีต่อเนื่องกันมา มีการวิวัฒนาการมาตั้งแต่โบราณจนกระทั่งปัจจุบัน ฉะนั้นจึงเป็นศิลปะประจำชาติของไทยเรา ถึงเรียกว่า ‘สถาปัตยกรรมไทย’ ฉะนั้นที่เรียกว่าครู งานที่ยังใช้ประโยชน์มาแต่ดั้งเดิมไม่ว่าจะเหลือแต่ซาก หรืองานสถาปัตย์อยู่ ก็จะเป็นครูทั้งนั้น
ประเทศไทยเราไม่มีตำรา ไม่มีงานที่จดบันทึกเอาไว้แต่โบราณ ฉะนั้นเราจะต้องศึกษาจากก้อนอิฐ จากซากต่างๆ นั่นคือครู แต่ว่าในปัจจุบันที่มีการเรียนการสอนจากครูที่มีตัวตน เป็นผู้ที่นำความรู้ที่ได้จากครูมาสอนศิษย์อีกทีหนึ่ง ฉะนั้นจะเรียกว่าสืบทอดผ่านครู อย่างเช่น กรมพระยานริศ หรือพระพรหมพิจิตร ท่านก็ศึกษาผ่านครูเหมือนกันซึ่งไม่ใช่เพียงแต่ครูที่มีตัวตนเพียงอย่างเดียว เป็นครูที่เป็นโบราณสถานหรือโบราณวัตถุท่านก็ศึกษา แล้วท่านเอามาสอนลูกศิษย์ต่ออีกที