Custom Search

Jul 1, 2021

กำพล วัชรพล (2462 - 2539)

 


ที่มา : วิกิพีเดีย

จ่าโท กำพล วัชรพล

(27 ธันวาคม พ.ศ. 2462 - 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539)

ผู้ก่อตั้ง

-หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ,

-ข่าวภาพ,

-เสียงอ่างทอง และ

-มูลนิธิหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

อีกทั้งยังเป็น ผู้อำนวยการหนังสือพิมพ์ไทยรัฐคนแรก

ประวัติ

นายกำพล วัชรพล เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2462 ตรงกับวันขึ้น 6 ค่ำ เดือนยี่ ปีมะแม

ที่อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร เป็นบุตรคนที่สี่ (คนสุดท้อง)

ของนายหลี และ นางทองเพียร มีพี่น้องร่วมมารดา 3 คน คือ


นางนกแก้ว ทรัพย์สมบูรณ์,

นายสยม จงใจหาญ และ

นายวิมล ยิ้มละมัย


นายกำพล จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนวัดดอนไก่ดี อำเภอกระทุ่มแบน

และไม่มีโอกาสได้ศึกษาต่อ เนื่องจาก

มารดามีอาชีพค้าข้าวเรือเร่ จำเป็นต้องพาลูกขึ้นเรือล่องไป

ตามแม่น้ำสายต่างๆ คือ

แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน และ แม่น้ำแม่กลอง

และใช้ชีวิตส่วนใหญ่บนเรือ


การงาน

ราวปี พ.ศ. 2477 เมื่ออายุได้ 15 ปี นายกำพล

เริ่มต้นการทำงานของตนเอง

โดยเป็นพนักงานเก็บค่าโดยสาร เรือเมล์ปล่องเขียว

วิงระหว่าง ประตูน้ำอ่างทอง ถึง ประตูน้ำภาษีเจริญ

ระหว่างนั้นได้คบหาเป็นเพื่อนสนิท กับ นายวสันต์ ชูสกุล

ต่อมา เมื่อนายกำพลสอบเป็นนายท้ายเรือได้

ก็เข้าทำงานเป็นนายท้ายเรือ ชื่อ “พันธุ์ทิพย์” 

โดยมีนายวสันต์ เป็นพนักงานเก็บค่าโดยสาร


เมื่อปี พ.ศ. 2483 นายกำพล เข้ารับราชการทหารเรือ

โดยเริ่มจากเข้าศึกษาที่ โรงเรียนชุมพลทหารเรือ

จังหวัดสมุทรปราการ

ต่อมา ได้บรรจุเข้าประจำเรือหลวงสีชัง

นอกจากนี้ นายกำพล ยังได้เข้าร่วมรบ

ในราชการสงครามครั้งใหญ่ 2 ครั้ง คือ สงครามอินโดจีน

ในกรณีพิพาทระหว่างเขตแดนของไทยกับอินโดจีนฝรั่งเศส

และ สงครามมหาเอเชียบูรพา (สงครามโลกครั้งที่ 2)

ในยุทธภูมิครั้งหลังนี้ ส่งผลให้ นายกำพล

ได้รับพระราชทาน “เหรียญชัยสมรภูมิ” เหรียญกล้าหาญ

และได้รับการเลื่อนยศขึ้นเป็น จ่าโท

จากนั้น นายกำพล ได้ลาออกจากราชการ

ในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2489 เมื่ออายุ 28 ปี


งานหนังสือพิมพ์

ราวเดือน มีนาคม พ.ศ. 2490 นายกำพล ได้เข้าทำงานเป็นผู้สื่อข่าว หนังสือพิมพ์หลักไทย ในสมัยที่

นายเลิศ อัศเวศน์ เป็นบรรณาธิการ อยู่ในระยะเวลาหนึ่ง

ระหว่างนั้นได้ถูกทดสอบให้เป็นพนักงานหาโฆษณา

ไปพร้อมกันด้วย

ต่อมา นายกำพล ได้ชวน นายเลิศ และ นายวสันต์

ออกหนังสือฉบับพิเศษ ชื่อ “นรกใต้ดินไทย”

ที่นายเลิศเขียนเป็นตอนๆ ลงในหนังสือพิมพ์หลักไทย โดยใช้เงินลงทุน จำนวน 2,000 บาท

ที่มาจากทุนส่วนตัว รวมกับการหยิบยืม เมื่อพิมพ์จำหน่าย หักกลบลบหนี้แล้ว

แบ่งเงินกันเป็นสามส่วน นายกำพลยังมีเงินเหลือไว้เป็นกองกลางอีก 6,000 บาท

จากนั้น นายกำพล ปรึกษากับ นายเลิศ และ นายวสันต์ ว่า น่าจะออกหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์สักฉบับหนึ่ง

จึงไปจดทะเบียนหนังสือพิมพ์ กับกองบัญชาการตำรวจสันติบาล

ใช้ชื่อว่า “ข่าวภาพ” รายสัปดาห์ โดยใช้ตราเป็นรูป กล้องถ่ายภาพ สายฟ้า และ ฟันเฟือง

ซ้อนกันอยู่ในวงกลม เป็นสัญลักษณ์ของหนังสือพิมพ์ที่นายกำพลเป็นเจ้าของตลอดมา

อุปสมบทในระหว่างทำหนังสือพิมพ์ “ข่าวภาพ” รายวัน นายกำพลได้เข้าอุปสมบท

ที่วัดลาดบัวขาว ถนนตก กรุงเทพมหานคร โดยมอบหมายให้ นางประณีตศิลป์ ภรรยา

และ นายวสันต์ ร่วมกันบริหาร และเมื่อลาสิกขาบทแล้ว ได้กลับเข้ามาบริหาร หนังสือพิมพ์ “ข่าวภาพ” ต่อไป


ข่าวภาพ → เสียงอ่างทอง → ไทยรัฐ


เกียรติยศ

ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง

สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2516,

สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และ

สมาชิกวุฒิสภา 3 สมัยติดต่อกัน

ได้รับพระราชทาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์สูงสุด

ชั้นมหาปรมาภรณ์ช้างเผือก เมื่อ พ.ศ. 2533

ได้รับพระราชทาน เหรียญกาชาดสรรเสริญ ชั้นที่ 1


หนังสือ “เปเปอร์ ไทเกอร์ส” (Paper Tigers)

ที่เขียนโดย นายนิโคลัส โคลริดจ์ นักเขียน และ

นักหนังสือพิมพ์ ชาวอังกฤษ

กล่าวชื่นชม นายกำพล ไว้ในบทความเรื่อง

“25 คนหนังสือพิมพ์ผู้ยิ่งใหญ่ของโลก

พร้อมวิถีทางแห่งชัยชนะ”


หนังสือ “ฮู’ ส ฮู อิน เดอะ เวิร์ลด์”

(Who’s Who in the World)

ที่จัดพิมพ์โดย บริษัท คิงส์ พอร์ท รัฐเทนเนสซี

สหรัฐอเมริกา ฉบับปี ค.ศ. 1976-1977

ได้นำประวัติของนายกำพลไปตีพิมพ์ พร้อมกันนี้

ได้มอบเกียรติบัตรในนามของคณะกรรมการการพิมพ์

มาร์ควิส อีกด้วย


นิตยสาร “อินเวสเตอร์” รายเดือน ภาษาอังกฤษ

ฉบับประจำเดือน ตุลาคม พ.ศ. 2512 ได้กล่าวยกย่อง

นายกำพล ในบทความเศรษฐกิจเรื่อง

“กำพล วัชรพล: ลอร์ด ทอมสัน แห่งประเทศไทย”

มูลนิธิหนังสือพิมพ์แห่งเอเชีย ที่มีสำนักงานใหญ่

อยู่ใน กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ ได้เชิญ

นายกำพล ให้ร่วมเป็น กรรมการบริหารมูลนิธิดังกล่าว


วิสัยทัศน์

นายกำพล เป็นคนแรก ที่ตั้งอาคารริมถนนวิภาวดีรังสิต (ตั้งแต่ยังเป็น ถนนกรุงเทพฯ-สระบุรี)

เป็นการย้ายสำนักงานหนังสือพิมพ์ออกสู่ชานเมืองเป็นฉบับแรก

ส่งผลให้มีสำนักงานหนังสือพิมพ์ย้ายมาอยู่บนถนนสายนี้ อีกไม่น้อยกว่า 5 ฉบับ

นายกำพล ยังเป็นผู้บุกเบิกในด้านเทคโนโลยีการผลิตหนังสือพิมพ์หลายอย่าง

เช่น เครื่องพิมพ์ ระบบเรียงพิมพ์ การจัดจำหน่ายด้วยตนเอง เป็นต้น


มูลนิธิไทยรัฐ

โรงเรียนไทยรัฐวิทยา


ครอบครัว

นายกำพล สมรสกับ คุณหญิงประณีตศิลป์ วัชรพล

(นามสกุลเดิม ทุมมานนท์) เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2493 มีบุตร-ธิดา รวม 3 คน คือ


-นางยิ่งลักษณ์ วัชรพล,

-นายสราวุธ วัชรพล และ

-นางอินทิรา วัชรพล


นอกจากนี้ นายกำพล ยังมีบุตร-ธิดา กับภรรยาอื่นอีก 5 คน คือ

-นายฟูศักดิ์ วัชรพล,

-นางนำพร วัชรพล,

-นายเกรียงศักดิ์ วัชรพล,

-นายพีระพงษ์ วัชรพล

-นางเพ็ชรากรณ์ วัชรพล


อนิจกรรม

นายกำพล เข้ารับการตรวจรักษาทั่วไปเป็นครั้งแรก

ที่โรงพยาบาลวิชัยยุทธ เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2538

เนื่องจากมีอาการอึดอัดแน่นท้อง คณะแพทย์ตรวจพบเนื้องอกที่ไต

และได้เข้าผ่าตัดเนื้อร้ายทิ้งถึง 2 ครั้ง แต่อาการกลับทรุดลงตามลำดับ

จนถึงแก่อนิจกรรมอย่างสงบ เมื่อเวลา 01.45 น.

วันพุธที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539

ขณะมีอายุ 76 ปี 1 เดือน 25 วัน