Custom Search

Jul 28, 2009

''ตั้งใจ และจริงใจ จึงมีวันนี้'' ของ คีรี กาญจนพาสน์



ฐานเศรษฐกิจ
วันพฤหัสบดีที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2551


หลังพายุสงบ ท้องฟ้าก็จะสดใส
คำเปรียบเทียบนี้
ถือว่าเหมาะสมกับเส้นทางชีวิต
ที่พลิกผันของ คีรี กาญจนพาสน์
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท
ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด(มหาชน)
หรือ บีทีเอส และประธานกรรมการบริหาร
บริษัท ธนายง จำกัด(มหาชน)
ที่แบกภาระหนี้จากธุรกิจทั้งสองบริษัท
รวมกันกว่า 1.4 แสนล้านบาท
ผลจากวิกฤตเศรษฐกิจตั้งแต่ปี 2540 มาถึงวันนี้
เขากำลังนำพาธุรกิจก้าวพ้นวิกฤตและ
พร้อมที่จะเดินต่อไปด้วยความมั่นใจที่
มากกว่าเดิมอีกครั้ง

กิจการรถไฟฟ้า บีทีเอส
ที่ทำให้เขาตกอยู่ภายใต้แรงกดดัน
จากภาระหนี้มูลค่ากว่า 7 หมื่นล้านบาท
มานานถึง 8 ปีเต็ม
โดยไม่เคยคิดท้อแท้ หรือคิดที่จะทิ้งภาระ
และยังพยายามทำอย่างดีที่สุดจนทำให้วันนี้ได้เห็น
รอยยิ้มบนใบหน้าของคีรีจาก
ความสำเร็จอย่างน้อย 3 สิ่งที่เกิดขึ้น

หนึ่งทำให้คนไทยตื่นตัวว่า รถไฟฟ้าเป็นสิ่งจำเป็น
ดูจากตัวเลขผู้โดยสารใช้บริการเฉลี่ยวันละกว่า
4 แสนคน ชี้ให้เห็นแล้วว่า
สิ่งที่เขาต่อสู้มาเมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว
อย่างน้อยที่สุดก็ไม่ได้ผิด
และสอง บีทีเอส สามารถให้บริการกับสังคมได้จุดหนึ่ง
ด้วยมาตรฐานต่างๆ
เพียงแต่นึกเสียดายที่ 8 ปีมาแล้ว
ยังไม่สามารถเพิ่มเครือข่ายบริการได้เท่าที่ควร
และสาม สามารถสร้างองค์กรที่มี
ความรัก สามัคคี และตั้งใจให้บริการกับประชาชน

เขาจึงรู้สึก ผูกพันและยอมรับว่า
นับตั้งแต่เริ่มทำงานมาตั้งแต่เด็ก
มีบริษัทนี้เท่านั้นที่เขารู้สึกภูมิใจ
และดีใจกับการให้ความร่วมมือและสามัคคีของพนักงาน
ที่มีอยู่กว่า 1,200 คน ผมถือว่าความสำเร็จนี้มีมูลค่ามหาศาล
สามารถผลิตบุคลากรออกมา
ขยายกิจการทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ซึ่งสิ่งที่ผมต้องทำต่อไปคือ
ขยายงานเพื่อเลื่อนตำแหน่งให้พนักงานเหล่านี้

ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถือเป็นผลที่เกิดขึ้น จากการที่เขาตัดสินใจเข้ามา
ทำระบบขนส่งมวลชนด้วยเหตุผลที่เขาย้อนอดีตให้ฟังว่า
ตอนนี้นมองเห็นถึงความต้องการ
และต้องการทำเพื่อเสริมโครงการอสังหาริมทรัพย์
ซึ่งพูดง่ายแต่ทำยาก แต่เมื่อถามว่าทำไมถึงกล้าทำ
ในชีวิตผมค่อนข้างที่จะกล้าลงทุน
เพราะมีความมั่นใจเกินตัว เลยมองอะไรง่ายไปหน่อย
ผมกล้าบอกได้เลยว่าในตระกูลกาญจนพาสน์
ไม่ใช่ตระกูลที่กล้าทำอย่างนี้
มีแต่ผมที่กล้าจะทำ

จากวันนั้นถึงวันนี้ คีรีเชื่อว่า ทั้งตัวเขาและองค์กรบีทีเอส
มีความพร้อมที่จะก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นใจกว่าเดิม
จากประสบการณ์ 8 ปีเต็มและแรงกดดันที่เชื่อว่า
ไม่เคยมีใครเจอมาก่อนเหมือนเขาอีกแล้ว

ย้อนไปดูเส้นทางก้าวสู่ความยิ่งใหญ่ในธุรกิจของคีรี
ที่คิดและทำไม่เหมือนใครหากเทียบกับ
คนใน
ตระกูล กาญจนพาสน์ ด้วยกัน
คีรี เกิดเมื่อ 18 ตุลาคม 2493 มีชื่อภาษาจีนว่า

หว่อง ซง ซาน เริ่มเรียนประถมที่โรงเรียนกรุงเทพฯคริสเตียน
แต่ไปจบระดับมัธยมปลายที่ฮ่องกง
ตอนเด็กค่อนข้างจะเกเร เข้าสู่ชีวิตการทำงานด้วยการเป็น
พนักงานบริษัทของพ่อในฮ่องกง
เริ่มต้นทำงานจริงจังตอน 19 ปี และกลายเป็นคนมีชื่อเสียง
ตอนเป็นผู้จัดการทีมฟุตบอลที่มีคนดูมากที่สุด
หนังสือพิมพ์กล่าวถึงมากที่สุด

คนฮ่องกงเรียกเขาว่า ฟี ซาน แปลว่าเด็กอ้วน
และลูกทีมฟุตบอล

เรียกเขาว่าลูกพี่ซาน(ซานก่อ)
ทีมฟุตบอลมีชื่อว่า ทีมไซโก้

เพราะสมัยนั้นพ่อของคีรีเป็น
ตัวแทนจำหน่ายนาฬิกาแบรนด์ดัง

ในเอเชียแปซิฟิกรวมถึงไซโก้ด้วย
เขากลับมาทำธุรกิจในไทยยุคเศรษฐกิจรุ่งเรืองพร้อมกับพี่ชาย
อนันต์
กาจนพาสน์ และนายมงคล ผู้พ่อ
โดยขยายอาณาจักรธุรกิจครอบคลุมทุกรูปแบบ
โดยเฉพาะอสังหาริมทรัพย์ จากการตั้งบริษัท ธนายง จำกัด
เปิดโครงการยักษ์ ธนาซิตี้ ถนนบางนา-ตราด
และขยายมาประมูลสัมปทานรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนสกายเทรน
หรือ บีทีเอส

ครอบครัวกาญจนพาสน์ ขยายเครือข่ายอาณาจักรธุรกิจ
สร้างชื่อเสียงโด่งดัง และร่ำรวย จนติด 400
ลำดับอภิมหาเศรษฐีโลก
จากการจัดอันดับของนิตยสารฟอร์จูนในปี 2534

คีรี กล่าวว่าสมัยเริ่มทำโครงการ บีทีเอส ว่า
ต้องเจอกับแรงกดดันจากกระแสต่อต้านทุกรูปแบบ
โดยเฉพาะช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ เครียดมาก ใครไม่เครียดก็บ้าแล้ว
ก็ได้กำลังใจจากครอบครัว และก็มีเจ้าหนี้คอยเตือนทุกวันว่า
ฆ่าตัวตายจะเจอบาปหนัก รวมทั้งได้ข้อคิดที่ว่า
ภาระที่มีไม่ใช่สิ่งที่ทิ้งไปแล้วจะหมดภาระ บวกกับพลังจากทีมงาน
จนสามารถดำเนินงานมาได้ด้วยดี
มีคนเคยบอกผมหลายครั้งให้เลิกทำเสียดีกว่า
แต่ผมไม่คิดเลิก และยิ่งทำก็ยิ่งมีความรู้สึกว่า
กูไม่ยอมแพ้มึงหรอก
และก็สู้ตายจริงๆ กว่าจะพ้นมาถึงวันนี้ได้

เขายังเชื่อว่าสิ่งที่เกิดขึ้น ไม่ใช่ความผิดพลาด
แต่เป็นเรื่องที่ใครก็คาดการณ์ไม่ได้ และถ้าพูดใหม่ในวันนี้
ยังไงก็ต้องลงทุนเพราะไม่มีใครรู้อนาคตว่าจะเป็นอย่างไร
แต่การลงทุนทำวันนี้ ต้นทุนจะสูงกว่ากันมาก

นอกจากความคิดที่ไม่ เปลี่ยนแปลงแล้ว
บุคลิกของเขาที่เป็นคนใจร้อน เสียงดังก็ยังไม่เปลี่ยนเช่นกัน
ความจริงผมเสียงดังไปอย่างนั้นเอง และไม่มีใครกลัวผมด้วย
เพราะถ้าเขาเสียงดังกลับมาผมก็เงียบ
ยิ่งที่บ้านผมกลัวเขาหมด แม้กระทั่งหลาน

คีรีย้ำว่า ไม่คิดจะเปลี่ยนอาชีพไปทำอย่างอื่น
แต่จะเดินหน้าทุ่มเทให้กับบีทีเอสต่อไป
หลังจากหาเงิน 600 ล้านดอลลาร์สหรัฐมาคืนหนี้แล้ว
เขาเตรียมสร้างบีทีเอส ก้าวไปสู่จุดเปลี่ยนครั้งใหญ่
ด้วยความมั่นใจว่า เมื่อออกจากแผนฟื้นฟู
ในอีกสองเดือนข้างหน้าแล้ว
องค์กรบีทีเอสจะแข็งแรง และ
บุคลากรก็มีความพร้อมที่สามารถจะเดินหน้าต่อ
ทั้งแผนขยายบริการเสริมให้กับโครงข่ายบีทีเอสในไทย
และการขยายออกไปทำในต่าง ประเทศ
ซึ่งมีหลายประเทศเชิญชวนและให้เงื่อนไขที่ดี

ตอนนี้ยิ่งมี ความมั่นใจมากขึ้น และความกล้ายังมีพร้อม
อีกทั้งการได้ผ่านสิ่งต่างๆมา ทำให้ความคิดสุขุมขึ้น
และมองอะไรค่อนข้างที่จะทะลุกว่าที่ผ่านมา
เมื่อก่อนอาจจะมั่นใจในแบบว่า ชนะอยู่เสมอไม่เคยแพ้สักครั้ง
แต่ครั้งนี้เหมือนขึ้นไปตึก 3-4 ชั้นตกลงมาเจ็บเป็นบ้าเลย

โดยเฉพาะ องค์กรบีทีเอส ที่คีรีกล่าวว่าภูมิใจมากเพราะ
สามารถสร้างองค์กรบีทีเอส ก้าวมาถึงวันนี้ได้
น่าจะเป็นเพราะนิสัยที่ได้มาสมัยเป็นผู้จัดการทีมฟุตบอล
ที่เน้นในเรื่องความสามัคคี ทีมเวิร์ค
และตัวเขาเองให้ความจริงใจและตั้งใจ
กับการสร้างองค์กร และพนักงานเองก็จริงใจกับบริษัท
ซึ่งผมถือเป็น asset ที่มีค่ามหาศาล

ซึ่งความคิดสร้างองค์กรนี้คีรี เชื่อว่าเขาได้แบบมาจากพ่อ
ซึ่งไม่เคยทำให้ใครผิดหวัง และ
เมื่อถามถึงข้อคิดฝากให้กับนักธุรกิจรุ่นใหม่
คีรี ย้ำเพียง2 คำ ความตั้งใจ และจริงใจ กับงานที่ทำอยู่
เมื่อเคารพในงานที่ทำ จะทำให้รู้ได้เองว่าต้องทำอย่างไร
แต่ถ้าหลอกตัวเอง หรือสร้างภาพขึ้นมาเพื่อจะกู้เงิน
ก็มีแต่ตายอย่างเดียว