(ขอบพระคุณ รร.สาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร เอื้อเฟื้อข้อมูล)
ศิลปวิชาการ พรุ่งนี้ก็สายเสียแล้ว
ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี
มีคำกล่าว เป็นสามัญว่า
มนุษย์นั้นประกอบเป็นตนขึ้นได้ก็ด้วย มีร่างกายและ
ร่างกายอาศัยสิ่งที่มี รูปร่างเป็นเครื่องหล่อเลี้ยง
ส่วนใจก็มีอาหารของใจเป็นเครื่องบำรุง เลี้ยง ได้แก่
ศาสนา ความรู้ ว่าอย่าง ทั่วไปและศิลปะ ว่าโดยเฉพาะ
ศาสนาถ้าขาดความรู้ก็ก่อ ให้เกิดคติความเชื่อที่งมงาย
เป็น ไปตรงกันข้ามกับคติธรรมที่สูงไม่ ว่า
คติอะไร ความรู้ถ้าขาดสิ่งซึ่งค้ำจุนจิตใจ
ย่อมก่อให้เกิดความเชื่อทางวัตถุธรรมว่ามี
และเป็น ที่สุดเพียงนั้น ( โลกายัต)
สะพาน ซึ่งเชื่อมคติความเชื่อทางวัตถุ
กับทางจิตใจให้ติดต่อถึงกัน ได้แก่ ศิลป
เพราะผู้ใดเข้าใจและรู้คุณค่าของศิลปแล้ว
ผู้นั้นย่อมเข้าถึงสิ่งซึ่งเป็นอนันตะ คือ
พรหม สามารถรู้ได้อย่างแน่แก่ใจ
ซึ่งความสุขที่แท้จริง ( นิรามิสสุข)
มนุษย์อาจได้รับความบันเทิงใจเพราะ
มั่งมีทรัพย์สิน หรือเป็นที่รักที่เมตตา
แก่เพื่อนผู้เป็นสหาย หรืออาจรู้สึกว่า
มีความสุขมากเพราะมีฐานะสูงในสังคม
แต่ความสุขชนิดนี้ เป็นความสุขที่เห็นแก่ ตัวและ
เป็นปัจจัยก่อให้เกิด คติถือตน เป็นที่ตั้ง ( อหังการ)
เพราะไม่มีใครอยากให้เพื่อนร่วมเกิดได้รับส่วน
ในความรักความเมตตาที่ตนได้ รับอยู่
ไม่อยากให้ใครร่วม ใช้ทรัพย์สินของตน
และไม่อยากให้ใครมีส่วนร่วมฐานะสูง ในสังคม
ซึ่งเป็นเอกสิทธิ์ของตน แต่เมื่อว่าทางศิลปะแล้ว
ก็เป็นเรื่องอยู่ตรงกันข้ามที่เดี ยวกับที่กล่าวมาแล้วนี้
ความจริงเมื่อเราฟังเสียงดนตรีที่ไพเราะ
อ่านหนังสือที่ประพันธ์ดี
หรือดูภาพจิตรกรรมที่งดงาม
จะรู้สึกโดยไม่รู้ตัว อยากให้ ผู้อื่นได้ร่วมอารมณ์
ให้สะเทือนใจไปกับเราด้วย
และยิ่งไปกว่านี้ เรายังปราถนาให้บุคคล เหล่านั้นได้ฟัง
ได้อ่านหรือได้ดูศิลปกรรมอย่างเดียวกับเรา
ทั้งนี้ก็เพราะว่าถ้ามีความรู้สึกเห็นคุณค่าของศิลปกรรมร่วมกัน
ย่อม เพิ่มความสุขความสบายใจให้แก่เรายิ่งขึ้น
เพราะเหตุดังนี้
ศิลปจึงเป็นปัจจัยที่สนับสนุนความสัมพันธ์
อย่างเห็นอกเห็นใจกันในระหว่าง
เพื่อนมนุษย์ และอำนวยความสุข
ความบันเทิงที่แท้และถาวรแก่มนุษยชาติ
อันที่จริงศาสนาก็ให้ความสุขซึ่งไม่
ถือตนเป็นที่ตั้งแก่เราเหมือน กัน
แต่ความสุขที่สันโดษทางจิตใจนี้
ย่อมมีอยู่ตามส่วนสัมพันธ์กับความรู้สึกดีชั่วของเรา
เพราะเป็นเรื่องราวของ เอกชน กล่าวคือ
เป็นความรู้สึกภายในตัวเรา
รู้สึกอย่างไรก็อย่าง นั้นไม่มีผันแปร
แต่เรื่องอารมณ์ให้สะเทือนใจที่เกิด
จากศิลปะมีแปลก ๆ ต่าง ๆ
ไม่มีขอบเขตเป็นที่สุด และเป็นความรู้สึกที่มาจากภายนอกตัวเรา
และเราจะเกิดมีอารมณ์ให้สะเทือนใจได้แค่ไหน
ก็แล้วแต่ลักษณะของศิลปกรรมที่มากระทบความรู้สึกของเรา
แต่ทว่าศิลปนั้นเราจะรู้สึกเห็นคุณค่าด้วยตนเองไม่ได้
นอกจากจะได้รับอบรมทางจิตใจของเราให้เข้าใจ
เพราะด้วยเหตุดังนี้ นานาอารยประเทศแทบทั้งหมดจึงให้เด็ก ๆ
ในชาติของเขาได้รับการศึกษาอบรมทางสุนทรียะ
ที่ในภาษาฝรั่งเรียกว่า Aesthetic Equcation
มาตั้งแต่อายุยังน้อย ขณะที่แรกเริ่มรับการศึกษาเล่าเรียน
เพื่อปลูกฝังจิตใจให้รู้จักความงาม
ความไพเราะมาตั้งแต่เล็ก
พระยาอนุมานราชธน : แปล ,
วันศิลป์ พีระศรี 15 กันยายน 2525
มหาวิทยาลัยศิลปากร , 2525