Custom Search

Sep 11, 2012

พลเอก จรัล กุลละวณิชย์

พลเอก จรัล กุลละวณิชย์

เกิด 6 กรกฎาคม 2479
คุณวุฒิ วิทยาศาสตรบัณฑิต (ทบ.) โรงเรียนนายร้อย จปร.
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ. รุ่นที่ 30)
อาชีพ ข้าราชการ
ตำแหน่ง เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ
สถานที่ทำงาน สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
โทร. 281-2300, 282-2755 โทรสาร 280-1681
ประสบการณ์ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง 2522, 2523
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ 2534
สมาชิกวุฒิสภา 2535
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช., ม.ว.ม., ท.จ.
กีฬา กอล์ฟ

เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2555 เวลา 10.00 น.
ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ณ หอประชุมศรีบูรพา
กลุ่มภาคีเครือข่ายต่อต้านทุจริตคอรัปชั่น (ภตช.)
ได้จัดสัมมนาหัวข้อ "ชาติเดินต่อไปอย่างไร
เมื่อนาวาไทยหลงทิศ ผู้ที่ทำหน้าที่ไม่ทำหน้าที่"
โดยเชิญตัวแทนจากฝ่ายการเมืองเข้าร่วม
ประกอบด้วย
นายพีระพันธ์ สาลีรัฐวิภาค อดีตรมว.ยุติธรรม 
นายนิพิฏฐ์ อินทนสมบัติ อดีตรมว.วัฒนธรรม
นายพีรพันธ์ พาลุสุข
คณะทำงานฝ่ายกฎหมายพรรคเพื่อไทย
และนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีตสมาชิกวุฒิสภา
โดยที่พลเอกจรัล กุลละวณิชย์ เป็นประธานในพิธีเปิดฯ







http://teetwo.blogspot.com/2012/01/blog-post_12.html

From T2
http://www.facebook.com/ThaiAntiCorruption 


จดหมายสำคัญจาก พล.อ.จรัล กุลละวณิชย์ ถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี

จากข้อมูลของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน
ได้รายงานประวัติการสัมปทานปิโตรเลียมในประเทศไทย
นับตั้งแต่การเปิดสัมปทานปิโตรเลียมครั้งแรก
เมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2514
มาจนถึงการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมครั้งที่ 20
เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ.2550 นั้น
ตลอดระยะเวลาเกือบ 36 ปี
ได้มีออกสัมปทานไปแล้วทั้งสิ้น 110 สัญญา
รวมจำนวนแปลงสัมปทานทั้งสิ้น 157 แปลง
ซึ่งในจำนวนนี้ยังคงเหลือดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน
63 สัญญา 79 แปลงสัมปทาน
ที่น่าสนใจก็คือการสัมปทานปิโตรเลียมที่ผ่านมา
ประเทศไทยได้ค่าตอบแทนจากเอกชน
ที่ได้รับค่าภาคหลวงเพียงประมาณร้อยละ 12.5
ของปริมาณปิโตรเลียมทุกชนิดที่ขายหรือ
จำหน่ายปิโตรเลียม
ซึ่งถือว่าผลตอบแทนที่ให้กับรัฐนั้นต่ำมาก
เปรียบเทียบกับประเทศโบลิเวีย
ซึ่งผลิตก๊าซธรรมชาติและน้ำมันน้อยกว่าประเทศไทย
แต่ก็ได้รับผลตอบแทนให้กับรัฐสูงถึงร้อยละ 82
เปรียบเทียบกับประเทศคาซัคสถาน
ได้รับผลตอบแทนจากการขุดเจาะสำรวจปิโตรเลียม
จากเอกชนได้สูงถึงร้อยละ 80 รัสเซีย
ได้รับผลตอบแทนจากเอกชนในการขุดเจาะสำรวจปิโตรเลียมสูง
ถึงร้อยละ 90 ของรายได้ในส่วนที่ราคานั้น
สูงกว่า 25 เหรียญต่อบาร์เรล ประเทศไทย
จึงได้รับค่าภาคหลวงอยู่ในระดับที่ต่ำมาก
แต่ประชาชนคนไทยกลับต้องใช้ราคาพลังงานที่สูงยิ่งในราคา
ที่อ้างว่าเป็นไปตามกลไกลตลาดโลก
เพื่อสร้างกำไรสูงสุดให้กับกลุ่มธุรกิจพลังงาน
ที่จำกัดความร่ำรวยเอาไว้เพียงไม่กี่คน
ประเทศไทยจึงเสียระโยชน์ถึง 2 ด้าน
ด้านหนึ่งประชาชนคนไทยยังคงต้องใช้พลังงานแพง
เพื่อประโยชน์ของกลุ่มทุนพลังงานเหมือนเดิม
ในขณะที่อีกด้านหนึ่งรัฐไทยกลับได้ผลตอบแทนต่ำติดดิน
ทรัพยากรน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ
จึงไม่ก่อให้เกิดประโยชน์กลับใครทั้งสิ้น
เพื่อประโยชน์ของกลุ่มทุนพลังงานเช่นกัน
ปัจจุบันส่วนแบ่งปริมาณปิโตรเลียมที่พิสูจน์แล้ว
ในการสัมปทานของประเทศไทยที่ผ่านมา
กลุ่มบริษัทเชฟรอนได้มากที่สุดเป็นลำดับที่ 1
สูงถึงร้อยละ 50.5 ของปริมาณสัดส่วนปิโตรเลียม
รองลงมาเป็นอันดับที่ 2 ก็คือกลุ่มบริษัท ปตท.
มีสัดส่วนร้อยละ 29.2 แต่ผลประโยชน์ใน ปตท.
ร้อยละ49 ก็ตกอยู่กับผู้ถือหุ้นคนไทยเพียงไม่กี่คนอยู่ดี
นิตยสารและเว็บไซต์ฟอร์จูน 500
ได้จัดอันดับเชฟรอนให้เป็นบริษัทที่มี
รายได้สูงเป็นอันดับ 8 ของโลก
โดยมีรายได้ต่อปีสูงถึง 245,621 ล้านเหรียญสหรัฐ
(7.37 ล้านล้านบาท) และมี “กำไร”สูงเป็นอันดับ 3 ของโลก
สูงถึง 26,895 ล้านเหรียญสหรัฐ (806,850 ล้านบาท)
ในขณะที่ ปตท. ก็ได้ถูกเลื่อนจากอันดับที่ 128 ของโลก
มาเป็นอันดับ 95 ของโลกด้วยรายได้
7,969 ล้านเหรียญสหรัฐ (2.39 ล้านล้านบาท)
และมีกำไรสุทธิ 3,456 ล้านเหรียญสหรัฐ (103,680 ล้านบาท)
มีแต่คนไทยและประเทศไทยที่กลับไม่ได้ผลประโยชน์
จากการที่ประเทศไทยมีทรัพยากรน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ
เป็นจำนวนมาก แต่ล่าสุดการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21
ก็กำลังจะดำเนินการต่อไปในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2555 นี้
โดยเป็นการเปิดสัมปทานทั้งหมด 11 แปลง
ภาคกลาง 6 แปลงและอ่าวไทย 5 แปลง
ด้วยผลตอบแทนให้กับรัฐต่ำติดดินเหมือนเดิม
จะว่าไปแล้วนี่คือการสัมปทานครั้งใหญ่เท่าที่มีเหลืออยู่ในประเทศไทย
ส่วนที่เหลือหลังจากการสัมปทานครั้งที่ 21 แล้ว
ก็จะเหลือเพียงแค่พื้นที่อ้างสิทธิ์การทับซ้อนเขตไหล่ทวีป
ระหว่างไทย-กัมพูชา ที่ทางสหรัฐอเมริกา
กำลังหาทางลดความขัดแย้งระหว่างไทย-กัมพูชา
เพื่อเข้าไปแบ่งเค้กทางพลังงานในอ่าวไทยด้วย
ค่าภาคหลวงต่ำๆให้มากที่สุดและเร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้
ที่น่าสนใจก็คือนักการเมืองในพรรคการเมืองทุกพรรค
ไม่ว่าฝ่ายค้านหรือรัฐบาลต่างพร้อมใจกันเงียบกริบ
ไม่สนใจและทำเป็นไม่รู้เรื่องดังกล่าว
ทั้งๆ ที่เรื่องการให้สัมปทานพลังงานของชาติ
เป็นผลประโยชน์ของประชาชนคนไทยทุกคน
ไม่แบ่งพรรค ไม่แยกสี แต่สังเกตดูเอาเถิดว่า
มีนักการเมืองคนใด หรือ แกนนำมวลชนกลุ่มใดบ้าง
ที่สนใจเรื่องผลประโยชน์ของชาติครั้งนี้
จะมีก็แต่ภาคประชาชน
สมาชิกวุฒิสภาบางส่วน
และนักวิชาการ ตลอดจนพันธมิตรประชาชน
เพื่อประชาธิปไตยจะได้เคลื่อนไหว
ในเรื่องดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ยังมี พลเอกจรัล กุลละวณิชย์
ในฐานะเป็นประธานคลังสมอง วปอ. เพื่อสังคม
(วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรไทย)
จึงได้ทำหนังสือถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
เมื่อสัปดาห์ที่แล้วเพื่อขอให้ระงับชั่วคราว
การเปิดประมูลสัมปทานสำรวจ
และขุดเจาะปิโตรเลียมรอบที่ 21
โดยเนื้อหาของหนังสือดังกล่าวมีดังนี้
"ด้วยคลังสมอง วปอ.เพื่อสังคม
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรสาธารณะประโยชน์
ดำเนินงานวิเคราะห์ปัญหาด้านยุทธศาสตร์
ให้แก่สังคม โดยไม่หวังผลตอบแทนมาตั้งแต่ พ.ศ.2555
ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการบริหารจัดการธุรกิจพลังงาน
ที่จะทำให้ประเทศไทยพัฒนาไปอย่างสมดุล มั่นคง และยั่งยืน
จึงได้ดำเนินการศึกษาข้อมูลจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน
และจากแหล่งต่างๆในประเทศและต่างปะเทศ
โดยมีผลการศึกษาที่ใคร่ขอนำเสนอให้รัฐบาลพิจารณา ดังนี้
1. ในปัจจุบันเป็นที่ประจักษ์แล้วว่า
ประเทศไทยรวมถึงอาณาเขตทางทะเลของประเทศไทย
เป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติทั้งน้ำมันและก๊าซ
ที่มีความอุดมสมบูรณ์ระดับสูงของโลกอาณาเขตหนึ่ง
และแหล่งข้อมูลทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ได้ประมาณว่าประเทศไทยมีปริมาณปิโตรเลียมจำนวนมาก
เป็นอันดับค่อนข้างสูงของโลก
และสามารถส่งออกได้ในปริมาณที่มากกว่า
ประเทศในกลุ่ม OPEC บางประเทศ
ซึ่งทำให้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมเป็นสินค้า
ส่งออกอันดับหนึ่งของไทยเป็น
มูลค่าปีละกว่า 3.5 แสนล้านบาท
ทั้งนี้เป็นผลจากการให้สัมปทานการสำรวจ
และขุดเจาะปิโตรเลียมในผืนแผ่นดินไทย
ใน 20 รอบที่ผ่านมา
ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ไม่ได้
มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติของชาติ
ที่เป็นสมบัติของไทยทุกคนในระดับที่ควรจะเป็น
2. การเปิดประมูลสัมปทานสำรวจ
และขุดเจาะปิโตรเลียมครั้งใหม่รอบที่ 21
(ตามสิ่งที่ส่งมาด้วย)
ประกอบไปด้วยสัมปทานบนบก 17 แปลง
(ภาคกลางและ ภาคเหนือ 6 แปลง
ตะวันออกเฉียงเหนือ 11 แปลง)
และอ่าวไทย 5 แปลง รวมพื้นที่กว่า 45,000
ตารางกิโลเมตรนั้น เป็นการหยิบยื่นให้โอกาสแก่
ผู้ยื่นขอสัมปทาน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบริษัทฯข้ามชาติ
ซึ่งจากข้อมูลที่ได้รับน่าจะทำให้รัฐฯขาดรายได้
อย่างน้อยปีละ 1 แสนล้านบาท
จากการให้สัมปทานในครั้งนี้
ซึ่งโดยรวมแล้วประเทศไทยจะขาดรายได้
ตลอดอายุสัมปทาน 25 ปี เป็นเงินจำนวนทั้งสิ้น
2.55 ล้านล้านบาท เป็นอ่างต่ำ
ทั้งนี้ยังไม่รวมส่วนต่ออายุอีก 10 ปีอีกด้วย
3. การกำหนดกฎระเบียบ วิธีการ
ในรูปแบบของการสัมปทานและ
การกำหนดค่าภาคหลวงตลอดจนผลประโยชน์อื่นๆ
ที่ประเทศควรจะได้รับในอดีตถูกกำหนด
ภายใต้บทสรุปที่ว่า “ประเทศไร้พลังงานธรรมชาติ”
หรือ “มีแต่ไม่คุ้มค่าในการสำรวจ”
เป็นผลให้รัฐบาลที่ผ่านมากำหนดเก็บค่าภาคหลวง
ปิโตรเลียมเข้ารัฐ ในอัตราค่อนข้างต่ำ
เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ
ระหว่างร้อยละ 5-15 ซึ่งในทางปฏิบัติ
สามารถเก็บค่าภาคหลวงเข้ารัฐฯ
ได้เพียงประมาณร้อยละ 12 เท่านั้น
4. หากประเทศไทยเปลี่ยนการเก็บค่าภาคหลวงใหม่
ให้อยู่ในระดับใกล้เคียงกับประเทศผู้ให้สัมปทาน
ที่เก็บค่าภาคหลวงระดับสูงเช่น ประเทศเวเนซูเอลา
หรือประเทศโบลิเวีย น่าจะมีรายได้
จากการเก็บค่าภาคหลวงเพิ่มขึ้นปีละ
ประมาณ 3-4 แสนล้านบาท
ซึ่งจะทำให้รัฐบาลมีงบประมาณเพิ่มขึ้น
และเพียงพอในการดำเนินนโยบายรัฐสวัสดิการ
ได้อย่างราบรื่นโดยไม่จำเป็นต้องกู้เงินจากแหล่งต่างๆ
5. การผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมของไทยที่ผ่านมา
ได้มีส่วนค้ำจุนระบบเศรษฐกิจไทยให้เข้มแข็งมา
โดยตลอดมาและหน่วยงานเอกชนไทยสามารถ
สร้างหน่วยธุรกิจด้านการสำรวจแหล่งปิโตรเลียม
ขึ้นมาได้ซึ่งทำให้ประเทศไทยมีศักยภาพ
และสมรรถนะในการสำรวจแหล่งปิโตรเลียม
ในประเทศได้เอง
สมควรได้นำความสามารถดังกล่าวมา
ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด คลังสมอง วปอ.เพื่อสังคม
จึงใคร่ขอกราบเรียนเสนอแนะให้รัฐบาลกรุณาพิจารณา
โดยเร่งด่วนดังนี้
1. ควรเปิดโอกาสให้ประชาชนทุกภาคส่วน
ได้มีส่วนร่วมและรับรู้ใน
การกำหนดแนวทางการบริหารจัดการปิโตรเลียมของชาติ
เพื่อความโปร่งใสและ
เพื่อประโยชน์ของลูกหลานไทย
ในอีกหลายทศวรรษข้างหน้า
2. ควรระงับชั่วคราวการเปิดประมูลสัมปทานสำรวจ
และขุดเจาะปิโตรเลียมรอบที่ 21 นี้ไว้ก่อน
เพื่อทบทวนมาตรการต่างๆ ให้ประเทศไทย
และประชนชาวไทยได้รับประโยชน์สูงสุด
จากทรัพยากรเชื้อเพลิงธรรมชาติ ได้แก่
2.1 ทบทวนกฎระเบียบและประกาศที่
กำหนดการเก็บค่าภาคหลวงร้อยละ 5-15
และปรับปรุงวิธีการเก็บค่าภาคหลวงใหม่ทั้งระบบ
โดยพิจารณาเพื่อเปรียบเทียบ (Benchmark)
กับประเทศที่เก็บค่าภาคหลวง
(เช่น ประเทศเวเนซูเอลา และประเทศโบลิเวีย เป็นต้น)
เป็นพื้นฐานในการอ้างอิง
2.2 ทบทวนระบบการแบ่งกำไรจากผู้รับสัมปทาน
เพื่อให้ประเทศไทยได้รับผลประโยชน์อย่างเหมาะสม
2.3 พิจารณาให้หน่วยงานของคนไทยมีสิทธิ
และหน้าที่หลักในการสำรวจและขุดเจาะปิโตรเลียม
ในอาณาเขตประเทศไทยเพื่อรักษา
ความมั่นคงด้านพลังงานของชาติในระยะยาว
จึงกราบเรียนมาเพื่อโปรดกรุณาพิจารณา
ขอแสดงความนับถือ
พลเอกจรัล กุลละวณิชย์
ประธานคลังสมอง วปอ. เพื่อสังคม"