ราคา 219 บาท
http://www.facebook.com/pages/Li-Zenn-Publishing-Limited/119829358032875
http://teetwoblog.webs.com/doc25530518165943.pdf
‘สำนักพิมพ์ ลายเส้น’ ตั้งใจจัดพิมพ์หนังสือ ‘คุยกับสถาปนิกต้นแบบ’
โดยคาดหวังไว้ว่า หนังสือเล่มนี้จะเป็นบันทึกของบทสนทนาในเนื้อหางานสถาปัตยกรรมในประเทศไทย
ที่ถูกถ่ายทอดผ่านความคิดที่ตกผลึกแล้ว
ของสถาปนิกต้นแบบกลุ่มหนึ่งที่ได้รับ
การยอมรับโดยทั่วไปว่ามีคุณูปการ
ในการพัฒนาวิชาชีพสถาปนิกในประเทศไทยมา
อย่างต่อเนื่องเป็นเวลายาวนานกว่า 30 ปี
เราจึงอยากเชิญชวนสถาปนิกทุกท่าน
โดยเฉพาะสถาปนิกรุ่นลูกรุ่นหลาน
ที่ปัจจุบันได้รับการเปิดโลกทัศน์ด้วยสื่อหลากหลายประเภท
และเชิดชูสถาปนิกต่างประเทศในการสร้างแรงบันดาลใจ
ได้หันมามองเห็นศักยภาพทางความคิด
และการต่อสู้ชีวิตของสถาปนิกในประเทศไทย
ซึ่งน่าจะเป็น ‘ต้นแบบ’ ในการนำแนวคิดเหล่านั้น
ไปปฏิบัติได้จริงในการประกอบสัมมาอาชีพ
และเป็นแรงใจที่ดีในการช่วยกัน
สร้างมาตรฐานการทำงานให้เป็นที่ประจักษ์สืบไป
ประธานกรรมการผู้ถือหุ้น บริษัท ดีไซน์ 103 อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
- "สถาปนิกไทยต้องเป็นใหญ่ในแผ่นดินไทย ในอดีตเราเคยเป็นลูกน้องเขา
ถึงเวลาแล้วที่คนต่างชาติก็มีสิทธิ์ที่จะมาเป็นลูกน้องคนไทยได้เหมือนกัน"
ผู้อำนวยการ อาศรมศิลป์สถาปนิกชุมชนและสิ่งแวดล้อม
"สถาปัตยกรรมทุกชิ้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับขนาด แต่ขึ้นอยู่กับการให้คุณค่า
ฉะนั้น เราต้องหาคุณค่าของงานที่เราทำให้เจอ แล้วก็ตั้งใจทำให้บรรลุ"
กรรมการผู้จัดการ บริษัท สถาปนิก 110 จำกัด
"สถาปนิกส่วนใหญ่คงไม่มีใครอยากหยุดทำงาน
ถ้าคนที่ร่วมทำงานด้วยยังเห็นคุณค่าของเรา"
Managing Director,
Robert G. Boughey and Associates Co., Ltd.
"You really have to know the contry well
to design somthing successful and approproate."
ศิลปินแห่งชาติ สาขาสถาปัตยกรรมร่วมสมัย ปี 2541
"สถาปัตยกรรมเป็นกวีนิพนธ์
ซึ่งใช้เหล็ก ปูน ไม้ แก้ว เป็นสร้อยคำ"
ศาสตราจารย์พิเศษกิตติมศักดิ์
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ และ ม.ศิลปากร
"คงจะอยู่วงการนี้ไปจนตาย
ส่วนใหญ่สถาปนิกก็ทำงานจนวันตายทั้งนั้น"
เจาะใจ "รังสรรค์ ต่อสุวรรณ" สถาปนิกผู้ทรงอิทธิพล
เบื้องหลังคดีอื้อฉาว ตึกสูงที่สุดในโลก พระเครื่อง
ครั้งนี้ สถาปนิกผู้ทรงอิทธิพล เผยความในใจเรื่องวิชาชีพสถาปนิก
คดีจ้างวานฆ่าประธานศาลฎีกา ความใฝ่ฝันเรื่องตึกสูง 180 ชั้น และการวางมือ
21 กันยายนที่ผ่านมา ศาลอุทธรณ์ พิพากษากลับศาลชั้นต้น ยกฟ้อง
รังสรรค์ ต่อสุวรรณ คดีจ้างวานฆ่าประธานศาลฎีกา
ก่อนหน้านี้ ศาลอาญาสั่งจำคุก สถาปนิกรุ่นใหญ่ 25 ปี
มาวันนี้สิ่งที่"รังสรรค์"รอคอยมาตลอด 17 ปีกำลังถูกเปิดเผย
ก่อนหน้านี้ เพียงไม่กี่วัน หนังสือ
"คุยกับสถาปนิกต้นแบบ"
CONVERSATIONS WITH ARCHITECT S SERIES
ได้วางจำหน่าย หนึ่งในสถาปนิกต้นแบบมีชื่อ รังสรรค์ ต่อสุวรรณ
ประชาชาติธุรกิจ ได้รับอนุญาตจาก บรรณาธิการ "ประภากร วทานยกุล"
สำนักพิมพ์ ลายเส้น (Li-Zenn Publishing Limited)
นำบทสัมภาษณ์ บางส่วน มาเผยแพร่
ต่อไปนี้คือ บทสัมภาษณ์ของ"รังสรรค์" ครั้งแรก
หลังจากเขา ปิดปากเงียบมาตลอดหลายปี
ความน่าสนใจของบทสัมภาษณ์ สะท้อนมุมมอง มากมาย
สถาปนิกที่ทรงอิทธิพลที่สุดคนหนึ่งของวงการ
ชื่อเสียงของอาจารย์รังสรรค์ เริ่มต้นขณะเป็นนิสิตที่คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ
ด้วยพรสวรรค์ในการเขียนภาพ perspective
ก่อนที่จะไปศึกษาต่อปริญญาโทที่ MIT
(Massachusetts Institute of Technology) สหรัฐอเมริกา
แล้วกลับมาสอนที่จุฬาฯ ตั้งแต่ พ.ศ. 2510
กระทั่งรีไทร์เมื่อ พ.ศ. 2535 ระหว่างนั้นได้เปิดสำนักงานรังสรรค์ สถาปัตยกรรม
ร่วมบุกเบิก และทำให้สังคมไทยรู้จักงานสถาปัตยกรรมยุคใหม่
โดยการนำสไตล์กรีก โรมัน มาประยุกต์ใช้ในการออกแบบ
เมื่อเดินเข้าสู่วงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ก็กลายเป็นหนึ่งในนักธุรกิจ
ที่ประสบความสำเร็จสูงสุดปัจจุบันในวัย 71 ปี
อาจารย์รังสรรค์ยังคงมีความฝันและจินตนาการในการรังสรรค์โครงการใหม่ๆ
อันน่าตื่นตาตื่นใจ ร่วมกับลูกชาย พรรษิษฐ์ ต่อสุวรรณ
รังสรรค์ เปิดบทสนทนาประโยคแรกกับ บก.ประภากร ว่า
" ก่อนอื่นผมต้องบอกก่อนว่า ทำไมถึงให้สัมภาษณ์
เพราะ ปกติแล้ว ผมไม่ค่อยให้สัมภาษณ์สักเท่าไหร่
แต่นี่ถือว่า เป็นการคุยกับน้องๆ คุยกับลูกศิษย์ มีอะไรหลายอย่างใน
ระบบมหาวิทยาลัย ที่เห็นว่าต้องแก้ไขให้ถูกต้อง
ถ้าขืน ปล่อยไว้อย่างนี้ วิชาชีพของเราก็คงตกต่ำลงไปทุกวันๆ
สิ่งที่ผมพูดในวันนี้ หวังว่าจะสะท้อนไปถึงหูพวกอาจารย์บ้าง
ให้จงระวังกับเทคโนโลยีชั้นสูงทั้งหลายที่เอามาใช้กัน
เพราะ มันมีทั้งส่วนที่ดี และส่วนที่ทำลายความรู้ความสามารถ ของเรา"
....คดีจ้างวานฆ่าประธานศาลฎีกา (ประมาณ ชันซื่อ)
ยังไม่จบเลยผมเพิ่งถูกศาลตัดสินจำคุก 25 ปี แต่สิ่งเหล่านี้ผมไม่ค่อย
ตื่นตกใจเท่าไหร่ เพราะว่าผมไม่ได้ทำจริงๆ
วันที่ตำรวจจะมาจับผม มีผู้ใหญ่ท่านหนึ่งรวบรวมเงินมาให้
บอกว่าให้หนีอ อกนอกประเทศ หรือ บางคนก็ช่วยหาลู่ทางเตรีย
สำหรับพาผมหลบหนี ผมบอกว่า ขอบคุณพี่มา
แต่ผม ไม่ไปไหนทั้งนั้น ลูกผู้ชายจะหนีทำไม
ถ้าหนีก็เท่ากับว่า ผิดจริง ต่อให้เอาผมไปยิงเป้า
ผมก็จะไม่ร้องเพราะผมไม่ได้ทำอะไรผิด
*ทุกวันนี้ยังเป็นทุกข์ใจอยู่ไหมครับ ?
ไม่ เราต้องสู้คดีกันไป คุณรู้ไหมว่าคดีนี้ เกิดจากอะไร
เกิดจาก เรื่องวิชาชีพนี่ล่ะ ที่ผมไปฟ้องคุณอุเทน (อุเทน เตชะไพบูลย์)
เรื่องโครงการก่อสร้างเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์
ซึ่งแต่เดิมทำสัญญาว่าจ้างให้ผมเป็นผู้ออกแบบ แต่ก็เกิดเปลี่ยนใจ
ให้สถาปนิกต่างชาติมาทำ สุดท้ายผมจึงต้องทำเรื่องฟ้องร้อง
เรียกค่าเสียหาย 200 ล้านบาท ฐานผิดสัญญาว่าจ้าง
เพราะผมชนะนี่ล่ะ เขาถึงโมโหและมาเล่นงานผมทีหลัง
เห็น ไหมว่าการต่อสู้กับ คุณธรรมต้องแลกด้วยชีวิต
ที่ผมจะต้องออกแบบก็ทิ้งหมดเลย ไม่เอา อย่างโรงแรมแชงกรีล่า
ซึ่งผมเป็นดีไซเนอร์ของแชงกรีล่า นายห้างสุธี อัษฎาธร
เรีย กผมไปออกแบบทุก อย่างให้ เสร็จ
แล้วหุ้น ส่วน ชาวสิงคโปร์กอยากจะเอาสถาปนิกญี่ปุ่น
มาทำงานร่วมกับผม
แต่ผมบอกว่า ไม่เอา ผิดกฎหมาย ผมทำไม่ได้ อย่าให้ผมเป็น
คนผิดคุณธรรมเลย เห็นไหมว่าเรื่องพวกนี้มันมีเยอะ
ถ้าผมจะทำจริงๆ ก็คงได้งานเต็มมือไปหมด
ไม่มีใครสู้ได้หรอกแล้วค่าแบบแค่ 5%
ผมไม่ทำนะ ผมคิดแพงๆ ทั้งนั้นล่ะ (หัวเราะ)
(คลิกอ่านต่อที่
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1285243240&grpid=02&catid=no )