Custom Search

May 12, 2009

"ทักษิณ ชินวัตร" เส้นทางชีวิต-วิสัยทัศน์ บนคลื่นแห่งการเปลี่ยนแปลง

24 พย. 2004
แหล่งข้อมูล: http://www.thaksin.net/life_T.html

ในฐานะผู้ประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว
ในธุรกิจโทรคมนาคมจนได้รับสมญาว่า
“อัศวินคลื่นลูกที่สาม” เท่าๆกับที่รู้กันทั่วไปว่า
วันนี้เขาเป็นนักธุรกิจรุ่นใหม่ที่ประกาศตัว
เข้ามาทำงานการเมืองอย่างเปิดเผย
จนหลายคนตั้งคำถามว่าเขาจะสามารถเป็น
"อัศวินขี่ม้าขาว" เข้ามาช่วยแก้ไข
ปัญหาของประเทศชาติได้หรือไม่
มองข้างหน้าตลอดเวลาแต่ไม่ลืมอดีต
การย่ำอยู่กับอดีตนี่ผมถือว่าเป็นการเสียเวลา
แต่ลืมไม่ได้เพราะการลืมอดีตคือการลืมตัว”


เบ้าหลอมวัยเยาว์ เรียนรู้จากชีวิตจริง
26 กรกฎาคม 2492
เป็นบุตรคนที่ 2 ของคุณเลิศ-ยินดี ชินวัตร
“ชุ่นเส็ง แซ่คู” พ่อค้าและอดีตนายอากรที่
อพยพจากจันทบุรีมาตั้งรกราก
เริ่มต้นธุรกิจหลายๆ
ประเภทในเมืองเชียงใหม่
แตกแขนงการทำธุรกิจออกไป
บางส่วนขยับขยายมาทำการค้าใน
อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ “เลิศ ชินวัตร” ก็เป็นสายหนึ่งของตระกูล
ที่มาปักหลักที่สันกำแพง
ตอนผมเกิดบ้านผมยังอยู่ที่หน้าตลาดสันกำแพง
เป็นเรือนไม้ห้องแถวสองชั้น . . .
เรียนที่สันกำแพงอยู่จนถึงอายประมาณ 15 ปี
ถึงย้ายเข้ามาอยู่ในตัวเมืองเชียงใหม่”
ดร.ทักษิณเล่าถึงชีวิตในวัยเด็ก
เขาพบว่าตัวเองเป็นคนชอบคิด
คิดเร็ว เรียนเร็ว ใฝ่รู้เรื่องต่างๆ คนหนึ่งเหมือนกัน
ครูควายเลยละ…….
ผมชอบเรื่องเลขแกก็สอนผมเพลินเลยนะ
สอนวิธีหารยาวจนก่อนเข้าป. 1
ผมก็หารยาวเป็นแล้วนะ”
ที่มงฟอร์ตเชียงใหม่
แม้จะเสียเปรียบเนื่องจากไม่ได้เรียนภาษาอังกฤษมาก่อน
(ที่โรงเรียนมงฟอร์ตจะสอนภาษาอังกฤษตั้งแต่ชั้นประถม 1)
แต่ ด.ช.ทักษิณก็ทำข้อสอบได้ถึง 75%
กลายเป็นข้อเด่น ของ ดร.ทักษิณ
ที่ญาติพี่น้องรวมถึงคนใกล้ชิดต่างยอมรับ
และไม่แปลกใจเลย
เมื่อในเวลาต่อมาเขาสามารถสอบเข้า
โรงเรียนเตรียมทหารสำเร็จในปี พ.ศ. 2510
และจบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจรุ่นที่ 26
ในปีพ.ศ. 2516โดยสอบได้คะแนนเป็นที่ 1 ของรุ่น
อย่างไรก็ตามดร.ทักษิณก็มิใช่ “เด็กเรียน”
ที่จมอยู่กับกองตำราอย่างเดียว
อีกด้านหนึ่งของชีวิตวัยเยาว์ในฐานะ “ลูกพ่อค้า”
ทำให้ดร.ทักษิณผ่านประสบการณ์การทำงาน ค้าขาย
เรียนรู้การทำธุรกิจจากการติดตามผู้เป็นบิดาไป
เกือบทุกที่ทุกแห่ง
หลังเวลาเรียน เขากลายเป็นเด็กเดินขายหวานเย็น
ช่วยขายมอเตอร์ไซด์-ขายอะไหล่หน้าร้าน
ออกไปติดตามทวงหนี้
ช่วยงานบัญชีที่ธนาคารเป็นพนักงานโรงหนัง
แม้กระทั่งงานปล่อยรถ-ขับรถเมล์ก็เคยทำมาแล้ว
ส่วนหนึ่งเนื่องเพราะ “คุณพ่อเลิศ” เป็นคนที่สนใจทำธุรกิจหลายประเภท
ตั้งแต่ลงทุนทำสวนส้ม ช่วงหนึ่งไปเป็นกัมปะโด(หัวหน้าแผนกสินเชื่อ)
ทำโรงภาพยนตร์ศรีวิศาลเป็นตัวแทนจำหน่ายรถจักรยานยนต์รถยนต์ ฯลฯ
ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ “คุณพ่อเลิศ”เป็นคนทันสมัย
ใจกล้าที่จะลงทุนนำสินค้าใหม่ๆ
มาขายหรือเลือกธุรกิจใหม่ๆมาทำอยู่ตลอดเวลา
“นายเลิศนั้นเป็นบุคคลที่มีความคิดก้าวหน้า
ชอบความทันสมัย...
คนทั้งสันกำแพงเห็นตู้เย็นเครื่องแรก
ที่ร้านกาแฟนายเลิศ
เครื่องปั่นมะพร้าวก็เหมือนกัน . . .
ตอนทำสวนลงทุนสั่งรถแทร็กเตอร์
ซึ่งเป็นเครื่องจักรทุ่นแรง
ที่ทันสมัยมากมาใช้เป็นคนแรก”
ชอบเรียนรู้ทดลองทำด้วยตัวเองจน
ทำให้เขาเข้าใจถึงความเป็น “นักปฏิบัติ” แล้ว
แบบอย่างจากบิดาซึ่งเป็นนักธุรกิจที่มองไกล
สนใจความรู้วิทยากรใหม่อยู่เสมอ
ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งเขา
ได้รับการถ่ายทอดติดตัวมาชีวิตที่พลิกผัน
จากราชการ-ธุรกิจแม้ตลอดช่วงวัยเด็ก
ดร.ทักษิณ จะมีโอกาสใกล้ชิดสัมผัสกับธุรกิจของครอบครัว
มาตลอด แต่เขาก็ยังมิได้ตกลงปลงใจว่า
จะเดินตามสูตรสำเร็จของลูกพ่อค้าในยุคนั้น
ที่มักจะรับช่วงสานต่อธุรกิจของครอบครัว
หรือกิจการอื่นๆในตระกูลด้วย
ความที่เป็นคนเรียนเก่งและชอบเรียน
เมื่อจบชั้นมัธยมที่โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย เชียงใหม่แล้ว
ดร.ทักษิณจึงมองโอกาสและแนวทางศึกษาต่อ
กระทั่งในที่สุดก็เลือกสอบเข้าโรงเรียนเตรียมทหารซึ่งเป็นที่นิยมมาก
สำหรับนักเรียนชายในยุคนั้น

ผ่านไปอย่างราบรื่นและรวดเร็ว
หลังจากสอบเข้าโรงเรียนเตรียมทหาร
เขาเลือกเรียนต่อที่
โรงเรียนนายร้อยตำรวจสวนสามพราน
จนสำเร็จการศึกษาในปี 2516
และสอบได้คะแนนเป็นอันดับ 1
ที่เขาเริ่มชีวิตข้าราชการตำรวจเป็นครั้งแรก
แต่ทำงานได้เพียงระยะหนึ่ง
ในปี พ.ศ. 2517 ก็ได้ทุนจากรัฐบาลไปศึกษาต่อที่สหรัฐอเมริกา
จนจบปริญญาโท สาขา Criminal Justice จาก
Eastern Kentucy University
ในปี พ.ศ. 2518 หลังจากนั้นยัง
กลับไปเรียนที่สหรัฐอีกครั้งหนึ่งในสาขาเดิมจนกระทั่งจบปริญญาเอก
จากSAM Houston State University ในปี พ.ศ. 2521
ได้พบพานกับสิ่งสำคัญ 2 ประการ
ดร.ทักษิณได้เข้าพิธีวิวาห์กับ
คุณพจมาน ดามาพงศ์
ภริยาคู่ชีวิตที่ได้ร่วมฝ่าฟันธุรกิจ
จนประสบความสำเร็จมาถึงปัจจุบัน
และศึกษาเกี่ยวกัคอมพิวเตอร์
ในระหว่างเรียนปริญญาเอก
ซึ่งเขานำความรู้ในเรื่องดังกล่าวกลับมา
ใช้กับหน่วยงานในกรมตำรวจและกับ
ธุรกิจของเขาเองในช่วงเวลาต่อมา
เป็นอาจารย์ที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
เป็นสารวัตรปราบปรามประจำสน.พระราชวัง
เป็นนายตำรวจติดตามรัฐมนตรี
(นายปรีดา พัฒนถาบุตร)
เป็นรองผู้กำกับศูนย์ประมวลข่าวสาร ฯลฯ
ดร.ทักษิณใช้เวลาอยู่ในหน่วยงานนี้นานมากกว่า
หน่วยอื่นๆเขานำเอาความรู้ เกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์
เข้ามาพัฒนาระบบฐานข้อมูของกรมตำรวจ
ให้ก้าวหน้าทันสมัยมากขึ้น
จนอาจกล่าวได้ว่าเป็นรากฐานสำคัญ
ของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
ในกรมตำรวจยุคต่อๆมา
ไม่ว่าจะเป็นระบบฐานข้อมูล
สถิติอาชญากรรมทะเบียนรถยนต์
ประวัติอาชญากร ซึ่งเป็นการนำเทคโนโลยี
และข้อมูลมาใช้สนับสนุนงานป้องกัน
และปราบปรามอาชญากรรมเป็นครั้งแรกๆ
ดำเนินไปพร้อมกับความก้าวหน้า
ในตำแหน่งหน้าที่ ทว่าขณะเดียวกับ
ความเคลื่อนไหวทางธุรกิจ
เริ่มดึงดูดความสนใจเขาได้มากขึ้นๆ
ขณะครองยศพันตำรวจตรีในตำแหน่งรองผู้กำกับการนโยบายและแผนงาน
กองบังคับการอำนวยการ กองบัญชาการตำรวจนครบาล
เหตุผลสำคัญในการเปลี่ยนแปลงเส้นทาชีวิตตัวเองในคราวนั้น
ดร.ทักษิณอธิบายว่าส่วนหนึ่งเป็นพราะอึดอัดกับ
ระบบขั้นตอนหลายลำดับขั้นของราชการ
ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเขาต้องการเข้ามาทำงานธุรกิจเต็มตัวหลังจากเริ่มต้นมา
แล้วระยะหนึ่งโดยมี คุณพจมาน ชินวัตร ภรรยาดูแลรับผิดชอบอยู่
“ผมไม่ถึงกับเบื่อ แต่ระบบตำรวจมันเหมือนระบบราชการทั่วไป
คือเสียเวลากับเรื่องที่ไม่โพรดักทีฟมากเกินไปประชุมในเรื่องไร้สาระ
ผมเป็นคนใจร้อน ต้องการการตัดสินใจที่รวดเร็วต้องเทคแอคชั่นทันทีผมอึดอัด. . .
พอดีที่ธุรกิจมันโตขึ้นมาด้วยเลยต้องลาออกมา”
“ตอนที่ผมลาออกจากตำรวจผมใช้เวลาตัดสินใจเพียงวันเดียว” พ.ศ. 2530
ในวัย 33 ปี ดร.ทักษิณก้าวเดินสู่ถนนธุรกิจ ด้วยความพร้อม
ความเชื่อมั่นในความรู้ประสบการณ์ และวิสัยทัศน์
จากจุดเริ่มต้นทางธุรกิจที่ดร.ทักษิณและคุณพจมานร่วมกันก่อตั้ง
ห้างหุ้นส่วนจำกัดไอซีเอสไอ.เมื่อปี 2525 ต่อมาขยับขยายเป็น
บริษัท ชินวัตรคอมพิวเตอร์ ดร.ทักษิณ ใช้พื้นฐานความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์
ประกอบกับความเข้าใจขั้นตอนในระบบราชการ
ดำเนินธุรกิจขาย-บริการให้เช่าเครื่องคอมพิวเตอร์แก่หน่วยงานรัฐ
จนประสบความสำเร็จมาเป็นลำดับ
กระทั่งถึงปัจจุบันสามารถพัฒนาบริษัทในเครือให้ครอบคลุม
เกือบจะครบทุกด้านของธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคมและสารสนเทศ
สรกล อดุลยานนท์ ผู้เขียน “ทักษิณ ชินวัตร อัศวินคลื่นลูกที่สาม”
อธิบายปัจจัยอันทำให้ ดร.ทักษิณ
ประสบความสำเร็จทางธุรกิจอย่างรวดเร็วว่า
ประการที่ 1 เป็นเพราะความกล้าในการตัดสินใจอย่างรวดเร็ว
กล้าทดลองลงทุนในธุรกิจใหม่ๆ
ขณะเดียวกันก็กล้าที่จะปรับทิศทางธุรกิจในเครือ
จากการค้าคอมพิวเตอร์มาเป็นธุรกิจโทรคมนาคม
ได้ในจังหวะที่เหมาะสม
ประการที่ 2 เพราะความเป็นนักเจรจา
ประกอบกับความกว้างขวางในการสร้างพันธมิตร
บริหารสายสัมพันธ์
จนสามารถประสานได้กับทุกฝ่ายอย่างลงตัว
ประการที่ 3 วิสัยทัศน์ที่มองไปข้างหน้า
ประเมินสถานการณ์ได้ถูกต้อง
พร้อมกับกำหนดกลยุทธ์ได้ตรงกับ
ความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
ช่วงเวลาไม่ถึง 10 ปีหลังลาออกจากกรมตำรวจ
ดร.ทักษิณประสบความสำเร็จทางธุรกิจได้รับการยอมรับ
จากทั้งในและนอกประเทศมากมาย

นับจากช่วงปี 2535
เป็นต้นมาได้รับเกียรติได้
รับรางวัลจากสถาบันต่างๆ
อย่างต่อเนื่องอาทิ รางวัล
“1992 Asean Business Man of the Year”
จาก Asean Institute ประเทศอินโดนิเซีย
(พ.ศ.2535)
รางวัล“บุคคลดีเด่นผู้พัฒนาโทรคมนาคมเพื่อสังคมของประเทศไทยประจำปี 2536″
ได้รับการยกย่องจากหนังสือพิมพ์Singapore Business Times ให้เป็น
1 ใน 12นักธุรกิจผู้นำของเอเชีย (พ.ศ.2537)
ดร. ทักษิณยังคงมองไปข้างหน้าหากว่าเป้าหมายของเขา
ขยับเปลี่ยนจากการผลักดัน
บริษัทในเครือไปสู่การผลักดันประเทศไทย
ซึ่งในความคิดของ ดร.ทักษิณ
น่าจะก้าวไปในทิศทางที่ดีกว่า
สามารถยืนหยัดแข่งขันกับนานาประเทศได้อย่างเข้มแข็ง
ระหว่างปี พ.ศ.2537-2540
ดร.ทักษิณมีโอกาสได้เข้าไปทำงานการเมือง
บริหารประเทศในต่างกรรม ต่างวาระ
และในตำแหน่งที่แตกต่างกัน
2537 เข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
พ.ค. 2538
เข้ารับตำแหน่งหัวหน้าพรรคพลังธรรม
ก.ค. 2538เข้ารับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี
ในรัฐบาลนายบรรหาร ศิลปอาชา
2540 เข้ารับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี
ในรัฐบาล พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ
ประสบการณ์ จากงานเพื่อสังคมและ
งานด้านการเมืองในช่วงที่ผ่านมา
ดูจะเป็นแรงผลักดันให้ ดร.ทักษิณ เกิดความคิด
ความมุ่งมั่นที่จะร่วมพัฒนาประเทศไทยไปสู่ทิศทางใหม่
ด้วยระบบวิธีคิดแบบใหม่ ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
วิสัยทัศน์ของเขามองผ่านไปยังภาพการเมืองไทยปี 2000
ด้วยความเชื่อมั่นว่าหากจะปรับทิศประเทศไทยให้ถูกทางระบบการเมืองไทยและ
นักการเมืองไทยต้องมีความโปร่งใส
มองไปข้างหน้าอย่างมีวิสัยทัศน์
พร้อมกับ
การคิดอย่างมีกลยุทธ์
คำถามที่ว่า ดร.ทักษิณจะสามารถเป็น
“อัศวินขี่ม้าขาว”
ที่เข้ามากอบกู้ประเทศไทยได้หรือไม่
จึงเป็นคำถามที่ยังติดอยู่ในกรอบวิธีคิดแบบเก่า
ที่หวังให้ผู้นำเพียงคนเดียว เข้ามาแก้ไปัญหา
ขณะที่สำหรับดร. ทักษิณแล้ว
การทำงานการเมืองในยุคโลกาภิวัตน์นั้น
ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของการมีอุดมการณ์ร่วมกัน
และทำงานอย่างเป็นทีมพรรคการเมือง
จะต้องเป็นพรรคมหาชนโดยแท้จริง
ด้วยวิสัยทัศน์ดังกล่าว ดร.ทักษิณ
พร้อมจะเสนอตัวอีกครั้งในภารกิจแสวงหาคำตอบ
และทิศทางใหม่ให้กับประเทศไทยวันพรุ่งนี้



ชื่อ-สกุล : พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ นามสกุล ชินวัตร

นามแฝง/ฉายา : แม้ว

วันที่เกิด : 26 กรกฎาคม 2492

บิดา : นายเลิศ ชินวัตร (ถึงแก่กรรม 23 ต.ค.2540 ศาลา 7 วัดมกุฎกษัตริยาราม)

มารดา : นางยินดี ระมิงค์วงศ์ (ถึงแก่กรรม)

ถิ่นกำเนิด : จังหวัดเชียงใหม่

เกิดปีฉลู ราศีกันย์ เป็นบุตรคนที่ 2 ในจำนวนพี่น้อง 10 คน

ของนายเลิศ และนางยินดี ชินวัตร

ชื่อพี่น้อง

- 1. นางเยาวลักษณ์ ชินวัตร (เสียชีวิต) สมรสกับ

พ.อ.(พิเศษ) ศุภฤกษ์ คล่องคำนวณการ (หย่า)

มีธิดา 2 คน ชื่อ น.ส.ปณิตา คล่องคำนวณการ และ

น.ส.นัทชฤทัย คล่องคำนวณการ

- 2. พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร สมรสกับ คุณหญิงพจมาน ดามาพงศ์

หย่า14 พ.ย.2551 ใช้นามสกุลเดิม ดามาพงศ์ 8 ธ.ค.2551)

(บุตรของ พล.ต.ท.เสมอ ดามาพงศ์)

มีบุตร-ธิดา 3 คน

ชื่อบุตร-ธิดา

1. นายพานทองแท้ ชินวัตร (โอ๊ค)

2. น.ส.พินทองทา ชินวัตร (เอม) เดิมชื่อ พิณทองทา ชินวัตร

3. น.ส.แพทองธาร ชินวัตร (อิ้ง)

- 3. นางเยาวเรศ ชินวัตร สมรสกับนายวีระชัย วงศ์นภาจันทร์ (หย่า)

มีบุตร-ธิดา 3 คน เป็นชาย 2 คน หญิง 1 คนชื่อ

1. น.ส.ชยิกา วงศ์นภาจันทร์ (แซน)

2. นายรัตนะ วงศ์นภาจันทร์ (ซัน)

3. นายธนวัต วงศ์นภาจันทร์ (ซูน)

- 4. นางปิยนุช ลิ้มพัฒนาชาติ

- 5. นายอุดร ชินวัตร (เสียชีวิต)

- 6. นางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ (แดง) สมรสกับ

นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ มีบุตร-ธิดา 3 คน ชื่อ

1. นายยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ (เชน)

2. น.ส.ชินณิชา วงศ์สวัสดิ์ (เชียร์)

3. น.ส.ชยาภา วงศ์สวัสดิ์ (เชอรี่)

- 7. นายพายัพ ชินวัตร สมรสกับพอฤทัย มีบุตรชาย 4 คนชื่อ

1. นายฤภพ ชินวัตร (ไนท์)

2. นายพิรุณ ชินวัตร (นิกกี้)

3. นายพอพงษ์ ชินวัตร (ต๋อง)

4. นายพีรพัฒน์ ชินวัตร

- 8. นางมณฑาทิพย์ โกวิทเจริญกุล (แป๋ว) เดิมชื่อ เยาวมาลย์

สมรสกับ นพ.สมชัย โกวิทเจริญกุล มีธิดา 2 คน

- 9. นายทัศนีย์ ชินวัตร (แป๋ม) เสียชีวิต

- 10. นางยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (ปู) สมรสกับนายอนุสรณ์ อมรฉัตร (ป๊อป)

มีบุตรชาย 1 คน ชื่อ ด.ช.ศุภเสกข์ อมรฉัตร (ไปป์)


การศึกษา และดูงาน :
- 2498 ประถมที่โรงเรียนประชาบาลสันกำแพง
- 2503 มัธยมศึกษา ที่โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย จ.เชียงใหม่ (รุ่น 08)
- 2512 โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่น 10
- 2516 โรงเรียนนายร้อยตำรวจ สามพราน นครปฐม รุ่น 26 (สอบได้คะแนนที่ 1)
- ปริญญาโทสาขา CRIMINAL JUSTICE จาก
EASTERN KENTUCKY UNIVERSITY สหรัฐอเมริกา
เน้นหนักทางด้าน POLICE ADMINISTRATION ได้ GPA 4.0
- ปริญญาเอกสาขา CRIMINAL JUSTICE จาก
SAM HOUSTON STATE UNIVERSITY สหรัฐอเมริกา

การทำงาน และตำแหน่งหน้าที่ :
- ปี 2516
ประจำกองกำกับการ สนันสนุนทางอากาศตำรวจตระเวนชายแดน
- ปี 2518
อาจารย์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
- ปี 2519
รองสารวัตรป้องกันปราบปรามสถานีตำรวจนครบาลพระราชวัง
- ปี 2522
หัวหน้าแผนก 6 (แผนกแผน) กองวิจัย และวางแผนกรมตำรวจ
อาจารย์ โครงการอาชญาวิทยา คณะสังคมศาสตร์
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
- ปี 2523
รองผู้อำนวยการศูนย์ประมวลข่าวสารกรมตำรวจ
- ปี 2524
รองผู้กำกับการศูนย์ประมวลข่าวสาร
- ปี 2529
อาจารย์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
- 2 ตุลาคม 2530
รองผู้กำกับการนโยบายและแผนงาน กองบัญชาการตำรวจนครบาล
(ลาออกจากราชการเพื่อประกอบธุรกิจส่วนตัว ปี 2530)

ทางด้านการเมือง :
- 25 ตุลาคม 2537
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ คนที่ 32 (ลาออก 11 ก.พ.2538)
- 31 พฤษภาคม 2538
หัวหน้าพรรคพลังธรรม (ลาออก)
- 2 กรกฎาคม 2538
ส.ส. กทม. เขต 2 พรรคพลังธรรม (ยุบสภา 27 ก.ย.2539)
- 18 กรกฎาคม 2538
รองนายกรัฐมนตรี (ลาออก 24 พ.ค.2539)
- 28 พฤษภาคม 2539
รองนายกรัฐมนตรี
(ถอนตัวจากการร่วมรัฐบาลนายบรรหาร ศิลปอาชา 13 ส.ค.2539)
- 15 สิงหาคม 2540
รองนายกรัฐมนตรี (หัวหน้าทีมเศรษฐกิจทั้งหมด)
- 14 กรกฎาคม 2541
หัวหน้าพรรคไทยรักไทย (ลาออก 3 ต.ค.2549)
- 6 มกราคม 2544
ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ พรรคไทยรักไทย
- 9 กุมภาพันธ์ 2544
นายกรัฐมนตรี คนที่ 23
- 14 มิถุนายน 2544
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
(แทนนพ.เกษม วัฒนชัย) (ลาออก 9 ต.ค.2544)
- 6 กุมภาพันธ์ 2548
ส.ส. ปาร์ตี้ลิสต์ พรรคไทยรักไทย
- 9 มีนาคม 2548
นายกรัฐมนตรี คนที่ 23 (ยุบสภา 24 ก.พ.2549) (เว้นวรรค 4 เม.ย.2549)
(กลับมาทำงานใหม่ 22 พ.ค.2549)
(สิ้นสุดเนื่องจากรัฐบาลถูกยึดอำนาจจาก คปค. 19 ก.ย.2549)
- 2 เมษายน 2549
ส.ส. ปาร์ตี้ลิสต์ พรรคไทยรักไทย

เครื่องราช :
- 2517
เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย (บ.ม.)
- 2519
จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย (จ.ม.)
- 2523
จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก (จ.ช.)
- 2528
ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)
- 2537
ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)
- 2538
มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
- 2539
มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
- 2544
ปฐมดิเรกคุณาภรณ์ (ป.ภ.)
- 5 พฤษภาคม 2545
ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.)
- 10 ตุลาคม 2544 ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์
เดอะ รอยัล ออร์เดอร์ ออฟ สหไมตรี ชั้น แกรนด์ ครอส
จากสมเด็จเจ้านโรดม สีหนุ พระมหากษัตริย์แห่งกัมพูชา