วีรกร ตรีเศศ
มติชนรายสัปดาห์ 16 กรกฎาคม 2545
ผมได้เคยเขียนถึงนักเศรษฐศาสตร์
รุ่นหนุ่มชื่อดังคนหนึ่งคือ Mattew Rabin
คนที่เป็นนักจิตวิทยา และหันมาเป็นนักเศรษฐศาสตร์
ในภายหลังโดยไม่เคยเรียนเศรษฐศาสตร์
อย่างเป็นทางการมาก่อนเลย
ผมได้เขียนถึงคำอธิบายของเขาที่ว่าเหตุใด
มนุษย์จึงชอบผัดวันประกันพรุ่งเสมอ
ยังมีนักเศรษฐศาสตร์รุ่นหนุ่ม ชื่อดังอีกคนหนึ่ง
เป็นนักฟิสิกส์ แต่สนใจกฎหมาย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเศรษฐศาสตร์
โดยไม่เคยเรียนมาเหมือนกัน
มีชื่อว่า David Friedman
ทั้งสองคนเป็นอเมริกัน เชื้อสายยิว
ชื่อ Friedman นั้นดังระเบิดในเศรษฐศาสตร์ระดับโลก
เพราะ Milton Friedman นั้นเป็นนักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบิล
คนนี้ก็คือลูกชายของเขา ซึ่งแม่ของเขาก็เป็นนักเศรษฐศาสตร์
มีชื่อเหมือนกัน ความคิดของ David Friedman
เกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์นั้นค่อนข้างแหวกแนว
เพราะเขาคิดว่า เศรษฐศาสตร์มิได้เป็น
เพียงเรื่องของการจ้างงาน หุ้น เงินเฟ้อ การผลิต
การบริโภค ฯลฯ เท่านั้น หากเป็นหนทาง
ของการเข้าใจพฤติกรรมของมนุษย์ ภายใต้สมมุตฐานว่า
มนุษย์มีเหตุมีผล อย่างมีวัตถุประสงค์
เศรษฐศาสตร์สำหรับเขานั้น
คือแบบแผนของวิธีการคิด
ตัวอย่างแรกของวิธีการคิดแบบเศรษฐศาสตร์ ก็คือ
กฎของการทำห้องน้ำชายของเขา
(ห้องน้ำชาย จะอยู่ชิดติดกับ ห้องน้ำหญิงเสมอ
ไม่ด้านใดด้านหนึ่ง ก็ข้างบน หรือข้างล่าง )
พฤติกรรมของคนสร้างห้องน้ำไว้ในตำแหน่งดังกล่าว
เข้าใจได้ไม่ยาก เพราะเจ้าของต้องการลดต้นทุนก่อสร้าง
( การวางท่อน้ำดี และน้ำเสียร่วมกัน จะประหยัด )
จึงสร้างห้องน้ำสองประเภทไว้ใกล้กันเสมอ
การจะสร้างห้องน้ำชายสองห้องติดกัน
ไม่สะดวกต่อการใช้ จึงต้องเอาห้องน้ำหญิงมาไว้ข้าง ๆ
และเอาห้องน้ำชายอีกห้องวางไว้ชั้นบน
หรือไม่ก็ชั้นล่าง ดังนั้น ถ้าเห็นห้องน้ำหญิงเมื่อใด
ก็เดาได้ว่าห้องน้ำชายจะอยู่ในทิศใด
อีกตัวอย่างก็คือ บุคคลหนึ่งมีการตัดสินใจหนึ่ง
เลือกซื้อรถยนต์ และสอง เลือกนักการเมืองที่จะลงคะแนนให้
ในทั้งสองกรณี เขาสามารถมี
การตัดสินใจที่เหมาะสมมากขึ้น โดยทุ่มแรง
และเวลาให้กับการค้นหาข้อมูลเพื่อตัดสินใจ
สำหรับในกรณีรถยนต์ เขาเลือกอะไรก็ได้อย่างนั้นแน่นอน
แต่สำหรับการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งนั้น แตกต่างออกไป
เพราะไม่แน่ว่า เมื่อเลือกแล้ว จะได้รับเลือกตั้ง
คะแนนเสียงของเขาเพียงหนึ่งเสียง มีโอกาสน้อยมาก ๆ
ที่จะเป็นตัวตัดสินว่า จะชนะหรือแพ้
ถ้าคนที่เขาเลือก ได้รับเลือกตั้ง
โดยเขาไม่ไปเลือก ก็แสดงว่าการเลือกของเขา
เสียเวลาเปล่า ๆ และถ้าเขาลงคะแนน
และคนทีเขาเลือกแพ้
ก็แสดงว่าเขาเสียเวลาไปเปล่า ๆอีกเหมือนกัน
อย่างนี้เศรษฐศาสตร์ จะพยากรณ์พฤติกรรมของเขาได้ว่า
เขาจะใช้เวลาในการตัดสินใจเลือกรถยนต์
มากกว่าเป็นแน่ เพราะผลตอบแทนสำหรับตัวเขานั้น
ภายใต้คำจำกัดความดั้งเดิมนี้ Milton Friedman
ผู้พ่อ ได้ให้กฎหนึ่งที่รู้จักกันดี ในชื่อของ Friedman Law
ที่ว่า โลกนี้ ไม่มีอะไรฟรี
(There is no such thing as a Free Lunch)
ซึ่งมีคนเข้าใจผิดอยู่ไม่น้อยว่าเป็นกฎแห่งความงก
เพราะหมายถึงไม่ยอมให้อะไรแก่กันอย่างไม่คิดเงิน
เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องของกฎนี้
ผมขอนำส่วนหนึ่งของข้อเขียน
ในมติชนรายวันเมื่อเร็ว ๆ นี้มาลงอีกสักครั้ง
เข้าใจว่าวลี Free Lunch มาจากการที่โรงเตี๊ยม
แบบมีที่พัก และขายอาหารในอังกฤษสมัยโบราณ
ประกาศว่า มีเลี้ยงอาหารกลางวันฟรี (Free Lunch)
แต่ถ้าใครกินอาหาร แล้วไม่สั่งเครื่องดื่มด้วย
ก็จะถูกไล่ออกมา ดังนั้น นักเศรษฐศาสตร์
จึงรับเอาวลีว่า No Free Lunch มาใช้
เพื่อหมายถึงว่า ไม่มีผลประโยชน์ที่ได้มา
โดยไม่มีการต้องจ่ายในขั้นสุดท้าย
โลกนี้ไม่มีอะไรฟรี มิได้หมายถึงว่า
ทุกอย่างในโลกนี้ ต้องคิดราคากัน จะให้กันฟรี ๆ ไม่ได้
และมิได้หมายความว่า ทุกอย่างในโลกนี้
ต้องคิดกันเป็นเงินเป็นทอง
โลกนี้ไม่มีอะไรฟรี หมายถึงว่าทุกอย่างในโลกนี้
มีต้นทุนด้วยกันทั้งสิ้น
ไม่มีอะไรเลย แม้แต่สักอย่าง ที่ไม่มีต้นทุน
และเมินข้อความประเภทพูดถึงข้อเท็จจริง
( ดังที่เรียกว่า Positive Statement
ซึ่งหมายถึงอธิบาย What it is)
มิได้เป็นข้อความประเภทพูดถึงสิ่งที่ควรจะเป็น
( ดังที่เรียกว่า Normative Statement
ซึ่งหมายถึง พูดว่ามันควรจะเป็นอย่างไร )
โลกนี้ไม่มีอะไรฟรี มิได้เกี่ยวพันกับความงก
เงินเงินทองของมนุษย์ มิได้เกี่ยวพัน
กับการควรจะคิดทุกอย่าง เป็นเงินเป็นทองโดย
ไม่ให้อะไรที่ฟรีแก่กัน มิได้เป็นคำแนะนำ
ให้ทุกอย่างต้องมีราคาเป็นเงินเป็นทอง
ประโยคนี้ เพียงแต่ย้ำว่า ทุกอย่างในโลกนี้ ราคา
หรือ ต้นทุน ทั้งสิ้น ซึ่งราคามิจำเป็น
ต้องเป็นเงินเป็นทอง อาจเป็นโอกาสที่เสียไป
ความเจ็บปวด จากความลำบาก ต้องอดทน และทนอด
การเสียหยาดเหงื่อ และน้ำตาก็เป็นได้
ดังเช่นกรณีที่ผู้ที่ต้องการเรียน
ให้จบปริญญาโททุกคนต้องประสบ
สำหรับเขาเหล่านั้น ราคา
ที่ต้องจ่ายนั้นมากมายกว่าค่าเล่าเรียนนัก
เพราะไม่มีโอกาสที่ได้ มีชีวิตสุขสบายเป็นปกติสุข
เหมือนเพื่อนคนอื่น ๆ
ที่มิได้เรียนชั่วระยะเวลาหนึ่ง
คนที่ฉ้อฉลคอร์รัปชั่น ก็มิได้เงินมาอย่างฟรี
ไม่มีต้นทุน ราคา ที่ต้องจ่ายก็คือ
ความหวาดกังวลว่า ผู้คนจะจับได้ตลอดอายุความ
มีโอกาสเสียชื่อเสียง หรือติดคุก
ต้องนอนกังวลคิดหาวิธีแอบซ่อนเงินทองที่ฉ้อโกงมา
และอาจเสียเงินทอง หาวิธีป้องกัน
ปิดบังความชั่วของตนเอง ความทุกข์กังวล
เหล่านี้ก็คือ ราคา หรือ ต้นทุน ของคอร์รัปชั่น
ส่วน ต้นทุน ที่สังคมต้องจ่าย
สำหรับการฉ้อฉลของเขานั้น ยิ่งใหญ่กว่ามาก
เพราะการคอรัปชั่น มิใช่เป็นเพียง
การทำให้ประชาชน มิได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่
จากการเสียภาษีของเขาเท่านั้น
ยังเป็นการบ่อนทำลายสิทธิ เสรีภาพ
ซึ่งเป็นรากฐาน ของประชาธิปไตยอีกด้วย
เพราะคอร์รัปชั่น ทำให้คนบางคน
มีสิทธิเหนือกว่าคนอื่น อย่างไม่เป็นธรรม